Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปฏิบัติวิปัสสนา ๔ เดือน..ปิดประตูนรกได้สนิท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2007, 6:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชาติหน้ามีจริงหรือ?

พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(1) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(2) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(3)

......อ้างอิง...ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงการราชิวิทยาลัย (เล่มที่ / หน้าที่ )
1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๓
2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๗
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕๐-๓๖๕


นรกเป็นเช่นไร?
นรก คือ ภพที่มีแต่ความร้อนรนทุกข์ทรมานหลบหนีไม่ได้ พระเถระท่านหนึ่งกล่าวเปรียบไว้น่าฟังว่า “ ท่านเคยฝันร้ายที่ต้องถึงกับสะดุ้งตื่นหรือเปล่า? ความรู้สึกในนรกก็เหมือนกันกับฝันร้ายอย่างสุดๆ ต่างกันแต่ในนรกไม่มีโอกาศผวาตื่นเท่านั้นเอง!”

อ้างอิง : คัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ - เล่มที่ ๒๘ หน้า ๒๕๑ ( เนมิราชชาดก )
- เล่มที่ ๒๘ หน้า ๔๗ ,๕๓ ( สังกิจจชาดก ) - เล่มที่ ๒๙ หน้า ๔๘๒
- เล่มที่ ๑๔ หน้า ๒๔๒
- เล่มที่ ๒๘ หน้า ๕๒
- เล่มที่ ๑๔ หน้า ๒๕๙
- เล่มที่ ๑๙ หน้า ๖๒๕
- เล่มที่ ๒๖ หน้า ๑๖๘




มีวิธีการไหนบ้างที่ทำให้ไม่ต้องตกนรกอีก ทั้งที่ได้เคยทำบาปอกุศลไว้ มาก ?

ตอบ. มีซิ! ...ต้องบรรลุโสดาบันให้ได้ภายในชาตินี้(1) ต้องเจริญวิปัสสสนา กรรมฐานจนผ่านญาณที่ ๑๓ ไปให้ได้...

อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1.ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้า ๑๘๖



โสดาบันคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร?

ตอบ. โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแสที่จะไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง(1) (เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว) เป็นมรรคขั้นต้นของมรรคทั้ง ๔ ( โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค) ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสำคัญที่สัตว์ทั้งมวล ผู้รักสุขเกลียดทุกข์และต้องการ สุขแท้สุขถาวร ควร/ต้องไปให้ถึงให้ได้ภายในชาตินี้ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้วิปัสสนาญาณเกิดไปตามลำดับจนครบ ๑๖ ขั้น ก็จะสำเร็จเป็นพระโสดาบันโดยสมบูรณ์(2)

…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ หน้า ๑๔๑
2. ดูรายละเอียดใน คัมภีร์อรรถกถา สังยุตนิกาย (บาลี) เล่มที่ ๒ หน้า ๑๔๓





วิปัสสนาคืออะไร? ทำไมต้องปฏิบัติ?

.........ตอบ. วิปัสสนา แปลว่า เห็น(รู้อย่างเข้าใจ)แจ่มแจ้งในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจ ของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบ เย็น(นิพพาน)ได้(1) ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวร ที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น
..........ความรู้สึกของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า “การปฏิบัติสมถกรรมฐาน ดีกว่า วิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมถฝึกแล้วทำให้เหาะได้ รู้ใจคนอื่นได้ เสกคาถาอาคม ได้ ส่วนวิปัสสนาทำไม่ได้” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็น เพียงปุถุชนที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้ ยังต้อง ตกอบายทรมานในนรกอีก ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้ เสกคาถา ไม่ขลัง แต่ก็เหลือภพชาติเพียงแค่ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปก็จะไม่ตกอบายอีกเลย ไม่ว่าอตีดจะเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม

อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๐๑




ปฏิบัติวิปัสสนาทำไมต้องกำหนดท้อง“พองหนอ-ยุบหนอ” พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกมิใช่หรือ?

............ตอบ. การปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดพอง-ยุบ เผยแผ่โดยท่านมหาสีสยาดอ (โสภณะมหาเถระ) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ ในประวัติของท่านเล่าว่า ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกามาก ต่อมาท่านต้องการปฏิบัติวิปัสสนาซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง จึงเที่ยวสืบค้นหาสำนักปฏิบัติวิปัสสนาที่มีหลักการสอดคล้องกับคัมภ์ที่ได้ศึกษามา ในที่สุดท่านได้เลือกปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนด “พองหนอ ยุบหนอ”กับพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง จนเห็นผลจริงว่า วิปัสสนามิใช่มีอยู่แต่ในตำรา การกำหนดดูอาการท้องพอง ท้องยุบอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง นี่แหละเป็นการเจริญวิปัสสนาให้บรรลุถึงมรรคผลได้จริงอีกวิธีหนึ่ง ( ที่สำคัญคือ ปฏิบัติง่าย ได้ผลเร็วในระยะเวลาเพียง ๓-๔เดือนเท่านั้นเอง)

...........ความสอดคล้องกันระหว่างการปฏิบัติสติปัฏฐานที่กำหนดดูอาการพอง-ยุบของท้องกับหลักการในพระคัมภีร์ผู้สนใจหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง “วิปัสสนานัย”ซึ่งเขียนโดยตัวท่านเอง อ้างหลักฐานที่มาของแต่ละข้อความไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเล่มที่แปลเป็นภาษาไทยโดยพระคันธสาราภิวังส์ (วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง)นั้นได้ระบุเชิงอรรถไว้ด้วยว่าข้อความนั้นๆ นำมาจากคัมภีร์ชื่ออะไร เล่มที่เท่าไหร อยู่หน้าไหน? ท่านผู้ใคร่ในการศึกษาและปฏิบัติโปรดพิสูจน์ สอบสวนเอาด้วยตนเองเถิด..







การปฏิบัติวิปัสสนา มีวิธีการอย่างไรบ้าง?

...........ตอบ มีขั้นตอนปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้
..........๑) เดินจงกรม เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆยกขึ้น ค่อยๆย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้นๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบาๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอยๆ เบาๆ เมื่อ๒-๓ วินาทีก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆแข็งๆด็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆๆ” จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อยๆเคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า “เดินจงกรม” ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

..........๒) นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆนั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า “พองหนอ” ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น “รู้หนอๆๆ” หรือ “นิ่งหนอๆๆ” บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น “รู้หนอๆๆ” ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆ” แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป “รู้หนอๆๆ” แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด

ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า “ปวดหนอๆๆ” พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆรุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผลแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด..

[/b]
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
p.boon
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 30 พ.ย. 2007
ตอบ: 10

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2007, 12:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พอจะบอกสำนักปฎิบัติธรรมวิปัสนาได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2007, 1:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนาธรรมโมลี ปากช่อง เขาใหญ่ ครับ

หรือที่ วัดพิชัยญาติ..คลองสาน ก่อนก็ได้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง