Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขันธ์ 5 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
wisanumalayavej
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 31 ส.ค. 2007
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2007, 8:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่งเริ่มศึกษาธรรมมะ (ตั้งใจจะค่อยๆ เรียนรู้ครับ)

ขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร

ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ โดยเฉพาะ ความแตกต่างระหว่าง รูป กับ สังขาร
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ช่วยอธิบายให้ผู้รู้น้อยเข้าใจด้วย ขอบคุณครับ

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2007, 9:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คัดลอกมาจาก
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-03.htm

บทที่ ๒

ขันธ์ ๕

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งปวง พระองค์ทรงประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงพระมหากรุณาธิคุณ แสดงพระธรรมให้สัตว์โลกได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมโดยนัยต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจสภาพธรรมทั้งภายในและภายนอกลึกซึ้งยิ่งขึ้น สภาพธรรมทั้งหลายโดย ปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง นิพพานปรมัตถ์ เป็นวิสังขารธรรม เป็นธรรมที่ไม่เกิดและไม่ดับ ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ เป็นอนัตตา

จิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็น สังขารธรรม นั้นจำแนกได้อีกนัยหนึ่ง คือ โดยเป็นขันธ์ ๕

ขันธ์ หมายถึง กลุ่มหรือกอง ขันธ์ ๕ คือ


๑. รูปขันธ์
ได้แก่ รูปทุกรูป


๒. เวทนาขันธ์
ได้แก่ ความรู้สึก(เวทนา)


๓. สัญญาขันธ์
ได้แก่ ความจำ (สัญญา)


๔. สังขารขันธ์
ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง (ประเภท)


๕. วิญญาณขันธ์
ได้แก่ จิตทุกดวง


เจตสิก ๕๒ ดวง จำแนกเป็น ขันธ์ ๓ คือ

เวทนาเจตสิก ๑ ดวง เป็น เวทนาขันธ์

สัญญาเจตสิก ๑ ดวง เป็น สัญญาขันธ์

เจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ ดวง เป็น สังขารขันธ์ เช่น เจตนา โลภะ โทสะ โมหะ เมตตา อโลภะ และปัญญา เป็นต้น อีกประการหนึ่ง สังขารขันธ์ หมายถึง สภาพซึ่ง "กระทำ" หรือ "นามธรรมที่ปรุงแต่งจิต"

สำหรับจิตปรมัตถ์นั้น จิตทุกดวง เป็น วิญญาณขันธ์ ในภาษาบาลี คำว่า วิญญาณ มโน จิต เป็นคำที่หมายถึงสภาพธรรมอย่างเดียวกัน คือสภาพธรรมที่มีลักษณะ รู้อารมณ์ เมื่อจำแนกจิตโดยนัยของ ขันธ์ ก็ใช้คำว่า "วิญญาณ"

ฉะนั้น ขันธ์ ๕ จึงเป็นรูปขันธ์ ๑ เป็นนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๓ ได้แก่ เจตสิก ๕๒ ดวง นามขันธ์ ๑ ได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง

นิพพานไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ พ้นจากความเป็นขันธ์ ข้อความใน วิสุทธิมัคค์ ทัสสนวิสุทธินิทเทส แสดงการเกิดและดับของนามรูป



ไม่มีกองหรือที่รวมสำหรับนามรูปนี้ที่ยังไม่เกิด ในเวลาก่อนเกิดแห่งนามรูปนี้ แม้นามรูปที่กำลังเกิด ก็มิได้ชื่อว่ามาจากกองหรือที่รวม แม้นามรูปที่กำลังดับ ก็มิได้ชื่อว่าแล่นไปสู่ทิศใหญ่น้อย แม้นามรูปนี้ดับแล้ว ก็ไม่มีชื่อว่าการหยุดพัก แต่กองหรือแต่บ่อขัง หรือแต่ที่พำนักในฐานะแห่งหนึ่ง ก็เปรียบเหมือนบุคคลกำลังดีดพิณ เสียงที่เกิดขึ้นแล้วก็มิได้เก็บขังอยู่ก่อนแต่จะเกิด เมื่อเกิดก็มิได้มาจากที่เก็บขัง เมื่อดับก็มิได้แส่ไปสู่ทิศใหญ่น้อย เสียงดับแล้วก็มิได้ถูกเก็บขังตั้งอยู่ในที่ไหนๆ

อันที่แท้ เสียงย่อมอาศัยพิณ ๑ สายพิณ ๑ และความพยายามของบุรุษอันเหมาะสมกับพิณและสายพิณนั้น ๑ (เสียง) ไม่มีก็เกิดมีขึ้น มีแล้วก็หายไปฉันใด รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหมด ไม่มีก็เกิดขึ้น มีแล้วก็หายไปฉันนั้นฯ


ขันธ์มีจริง เรารู้ขันธ์ได้ เช่น เรารู้ รูปขันธ์ เมื่อรู้สึกแข็ง รูปไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป รูปขันธ์ไม่ใช่เพียงร่างกายเท่านั้น แต่สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรก็เป็นรูปขันธ์ด้วย เช่น เสียงเป็นรูปขันธ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง

เวทนาขันธ์ มีจริง เรารู้เวทนาขันธ์ได้ ความรู้สึกทุกอย่างเป็นเวทนาขันธ์ เวทนาจำแนกได้หลายนัย

บางครั้งก็จำแนกเป็น ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา)

บางครั้งก็จำแนกเป็น ๕ คือ โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา

ความรู้สึกทางกายมีกายปสาทซึ่งเป็น รูป ที่สามารถกระทบสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย ความรู้สึก เป็น นามธรรม แต่มีกายปสาทรูปเป็นปัจจัย เมื่ออารมณ์กระทบกับกายปสาท ความรู้สึกจะเป็นทุกข์หรือสุข ไม่เป็นอุเบกขา เมื่อเป็นทุกขเวทนาก็เป็นอกุศลวิบาก (ผลของอกุศลกรรม) เมื่อเป็นสุขเวทนาก็เป็นกุศลวิบาก (ผลของกุศลกรรม)

เพราะเวทนาต่างๆ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปๆ จึงยากที่จะรู้ว่า เป็นเวทนาแต่ละประเภท เช่น เราอาจปนสุขเวทนาทางกายซึ่งเป็นวิบาก กับโสมนัสเวทนาที่พอใจในสุขเวทนานั้น ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง หรืออาจเข้าใจว่า ทุกขเวทนาและโทมนัสเวทนาซึ่งเกิดขึ้นภายหลังนั้นเป็นความไม่สบายใจ ทุกขเวทนาเป็น วิบากเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับวิบากจิตซึ่งรู้อารมณ์ที่กระทบกาย โทมนัสเวทนา อาจเกิดขึ้นภายหลัง โทมนัสเวทนาเกิดร่วมกับอกุศลจิต ไม่ใช่วิบากโทมนัสเวทนาเกิดเพราะโทสะที่สะสมไว้เป็นปัจจัย แม้ว่าทุกขเวทนาและโทมนัสเวทนาเป็นนามธรรม แต่ก็เป็นความรู้สึกที่ต่างกัน เกิดเพราะปัจจัยต่างกันเมื่อดับเหตุที่ทำให้เกิดโทสะแล้ว ทุกขเวทนาก็ยังเกิดได้ แต่ไม่มีโทมนัสเวทนาอีกต่อไป พระอรหันต์ยังมีอกุศลวิบากตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีโทสะเลย

ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒ สกลิกสูตรที่ ๓ ข้อ ๔๕๒ มีข้อความว่า

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิมิคทายวัน เขตกรุงราชคฤห์ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ดหินเจาะแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย อันยิ่ง เป็นไปในพระสรีระ เป็นทุกข์ แรงกล้า เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ทรงพระสำราญ ย่อมเป็นไปแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์มีพระสติสัมปชัญญะ อดกลั้นซึ่งเวทนาเหล่านั้น ไม่กระสับกระส่ายฯ


เวทนาจำแนกเป็น ๖ โดยนัยของ ทวาร ๖ เวทนาเกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เวทนา ๖ นี้ต่างกันเพราะเกิดจากปัจจัยต่างกัน เวทนาเกิดดับพร้อมกับจิตที่เวทนานั้นๆเกิดร่วมด้วย ฉะนั้ทุกขณะจึงไม่ใช่เวทนาเดียวกันเลย

ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เคสัญญสูตรที่ ๒ มีข้อความว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอฯ

ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็สุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้นไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้เอง ก็แต่ว่าผัสสะนี้ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วแก่เรา จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้

เธอย่อมพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไปพิจารณาเห็นความสละคืน เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน ในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและในสุขเวทนาเสียได้ฯ


ข้อความเกี่ยวกับผัสสะและทุกขเวทนา...ผัสสะและอทุกขมสุขเวทนาก็โดยนัยเดียวกัน....

เวทนายังจำแนกได้อีกหลายนัย เมื่อรู้วิธีจำแนกเวทนาโดยนัยต่างๆ ก็จะทำให้เข้าใจจริงๆว่า เวทนาเป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย เรามักยึดมั่นในเวทนาที่ดับไปแล้ว แทนที่จะระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

ในวิสุทธิมัคค์ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น อุปมานามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้น เสมือนเสียงขลุ่ยซึ่งไม่ได้มาจากที่ใดเลย หรือไปดังที่ใดเลยเมื่อเสียงดับไป หรือสะสมเก็บไว้ ณ ที่ใดเลย แต่เราก็ยึดติดในเวทนานั้นเสียจนไม่รู้เลยว่า เวทนาที่ดับไปแล้วนั้นดับไปหมดไม่เหลืออยู่เลย เวทนาขันธ์ไม่เที่ยง

สัญญาขันธ์ มีจริง และจะรู้ได้เมื่อจำสิ่งใดได้ สัญญาเกิดกับจิตทุกดวง จิตแต่ละดวงเกิดขึ้นรู้อารมณ์ และสัญญาซึ่งเกิดกับจิตก็จำและหมายรู้อารมณ์นั้น เพื่อจำอารมณ์นั้นได้อีก แม้ขณะที่จำไม่ได้ จิตขณะนั้นก็รู้อารมณ์ และสัญญาที่เกิดกับจิตก็หมายรู้อารมณ์นั้น สัญญาเกิดและดับพร้อมกับจิต สัญญาไม่เที่ยง ตราบใดที่ไม่รู้ลักษณะของสัญญาตามความเป็นจริงว่า สัญญาเป็นนามธรรมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทันที ก็ยังยึดถือสัญญาว่าเป็นตัวตน

สังขารขันธ์ (เจตสิก ๕๐ ดวง เว้นเวทนาและสัญญา) มีจริงและรู้ได้ เรารู้สังขารขันธ์ได้ในขณะที่มีโสภณเจตสิก เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กรุณาหรือในขณะที่มีอกุศลเจตสิก เช่น โทสะ มัจฉริยะ สภาพธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สังขารขันธ์ไม่เที่ยง

วิญญาณขันธ์ (จิต) มีจริง รู้ได้เมื่อมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การกระทบสัมผัสทางกาย หรือการคิดนึก วิญญาณขันธ์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง สังขารธรรมทั้งหลาย (ธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย) คือ ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง

ขันธ์ ๕ ได้ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ยังยึดมั่นในขันธ์ ๕ เรายึดถือร่างกายว่าเป็นตัวตน ฉะนั้น เราจึงยึดมั่นในรูปขันธ์ เรายึดนามธรรมว่าเป็นตัวตน เราจึงยึดมั่นในเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เมื่อเรายึดมั่นในขันธ์ ๕ และไม่รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ก็ย่อมเป็นทุกข์ ตราบใดขันธ์ ๕ ยังเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นแล้ว ตราบนั้นเราก็เป็นเสมือนบุคคลที่ถูกเบียดเบียนด้วยโรคาพยาธิ

ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค นกุลปีตวรรคที่ ๑ นกุลปีตสูตร มีข้อความว่า คฤหบดี ชื่อ นกุลบิดาเป็นผู้แก่เฒ่า เจ็บป่วยเนืองๆ เข้าไปเผ้าพระผู้มีพระภาคซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็นที่นางยักษ์ชื่อ เภสกฬา อาศัยอยู่) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้เมืองสุงสุมารคิรในภัคคชนบท พระผู้มีพระภาคตรัสให้นกุลบิดาคฤหบดีพิจารณาว่า "เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย" หลังจากนั้นท่านพระสารีบุตรก็ได้อธิบายขยายความว่า

ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูกรคฤหบดี คือ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ......ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ....ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ .....ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ .... ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุนี้แล บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย

ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ดูกรคฤหบดี คืออริยสาวกในธรรมวินัยนี้.....ย่อมไม่เห็นรูปในความเป็นตน ๑....ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑....ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑....ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑.....ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑.... เมื่ออริยสาวกไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่น เมื่อวิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปเพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ฯ


ตราบใดที่ยังยึดติดในขันธ์ ๕ ก็เป็นเสมือนคนป่วยแต่ความป่วยไข้ก็อาจจะหายได้เมื่อประจักษ์แจ้งขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ จุลลปัญณาสก์ อันตวรรคที่ ๑ ทุกขสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ กะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน คำว่า ทุกข์นั้นควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน คือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่.... มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าทุกขสมุทัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธเป็นไฉนคือความดับไม่เหลือแห่งตัณหานั่นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัยดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘....ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาฯ

ตราบใดที่ยังยึดติดในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ก็จะเกิดขึ้นในภพชาติต่อไป ซึ่งก็ต้องเป็นทุกข์ เมื่ออบรมเจริญมัคค์มีองค์ ๘ ก็จะเริ่มรู้สภาพของขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงเป็นการดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ซึ่งไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกเลย ผู้ที่บรรลุอริยสัจจธรรมขั้นสุดท้าย คือ ขั้นอรหันตบุคคล เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ขันธ์ ๕ ก็ไม่เกิดอีกเลย


หมายเหตุ (คำว่า "ทุกข์" บางทีแปลว่า ความทุกข์ บางทีแปลว่า ความไม่สบาย แต่ในข้อความภาษาอังกฤษ ใช้ความหมายที่ว่าความทุกข์)
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2007, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรือเข้าไปดูที่
http://board.dserver.org/e/easydharma/00000354.html

ความคิดก็หลากหลายดี
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2007, 10:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเคยเรียน จิตวิทยา ในระดับมหาวิทยาลัย

ก็จะคล้ายที่มาของ ทฤษฎีหนึ่ง ว่าด้วยความจำได้
เช่น ช้าง หน้าตาเป็นอย่างไร กรรมวิธี ก็ต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ
1.มีรูป คือ เห็นช้าง (ตัวเป็น ๆ ) ปรากฏต่อหน้า
แล้วตนเองสัมผัส ต่อ ช้าง โดยตาดู ลิ้นคงไม่เลียชิมมันดู หูฟังเสียงของมัน ดมกลิ่นมัน สัมผัสผิวของมัน ความรู้สึกโดยรวมของตนเองของสัตว์นั้น ดี หรือ ร้าย เช่นไร น่าคบ น่าชื่นชมต่อมันอีกหรือไม่
2.มีเวทนา คือ รู้สึกกับช้าง ต่าง ๆ นานา อย่างไร หลังจากได้สัมผัส
3.มีสัญญา คือ ตนเองเริ่ม จำได้ แล้วว่า ช้าง เป็นอย่างไร คืออย่างไร
4.มีสังขาร คือ ตนเองเริ่ม ปรุงแต่ง จิตของตนเอง ว่าจะทำอะไร กับมันดี ฆ่ามันมากิน อนุรักษ์มันให้มีลูกหลานมากมาย หรือเขียนหนังสือ ทำVCD เล่าเรื่องช้างตั้งแต่มันเป็นวุ้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทำเป็นชีววิทยา โดยสรุป คือ จิตใจของคน ฟุ้งซ่านไปเรื่อย เพื่อถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับ ช้าง เรียกว่า เป็นแฟนพันธุ์แท้ หรือ ดอกเตอร์เกี่ยวกับช้าง
ซึ่งสังขารนี้แหละ ท่านพระพุทธทาส ท่านว่า ให้หยุด ไม่ปรุงแต่งมัน กิเลสก็จะหยุดลง ให้เพียงสัมผัส รับรู้ ว่า มันเป็นแบบนี้ เช่นนี้ ช้างแบบนี้ ก็จบ พอแล้ว ไม่ต่อไปไหนอีกแล้ว กิเลสจะไม่เกิดฟุ้งไปมาก
5.วิญญาณ คือ เกิดเป็นจิต เข้าใจว่า เกิดเป็นกู ของกู ขึ้นมาอย่างมาก เช่น รู้เรื่องเกี่ยวกับ ช้าง มาก จนไม่อยากตาย อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับช้าง มากกว่านี้อีก อยากอวดรู้ต่อผู้อื่นมากกว่านี้อีก ไม่อยากให้คำว่า ช้าง สาบสูญ ไปจากผู้อื่น อยากให้ผู้อื่นรู้เรื่องช้าง ทุกคน
เมื่อยกตัวอย่างช้าง มันเป็นเพียงเรื่องเดียว เมื่อยกตัวอย่างอื่น เช่น เงิน บ้าน รถ โทรศัพท์มือถือ เครื่องประดับ เสื้อผ้าราคาแพง ยศอำนาจ บารมี ความเป็นเจ้าของบริษัท สามี ภรรยา ลูก หลาน กิเลสหลายเรื่องรวมอยู่ในตนเองมากมาย ร่างกายและจิต มีขันธ์ครบทั้ง 5 คือ รู้เห็นว่าของของตน จำได้ว่า มี หรือไม่มี แล้วมีผลอย่างไร ทุกสิ่งเป็นสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมาได้ด้วยฝีมือตนเอง (ปรุงแต่งขึ้นมา) ทุกสิ่งคือของ ของกู ตัวกู(วิญญาณ) จึงทิ้งมันไม่ลง อยากมี อยากใช้มันต่อไป
ขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่แน่นอน และไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับ ร่างกาย กับ สิ่งนั้น สิ่งใดจะสูญสิ้น ก่อนกัน จิตวิญญาณของคนจะหมดลงได้(ถึงขั้นพระอรหันต์) ก็ต้องรู้จักตัด เรื่องของขันธ์ 5 ได้ทั้งหมดทั้งปวง ต้องหมั่นตรวจสอบตนเองว่า ยังยึดติดกับสิ่งใดอยู่ ยังปรุงแต่งสังขารเรื่องใดอยู่ ขอเพียงแต่สักแต่ว่า เห็นรูปนั้น ก็คือรูปนั้น อย่าได้คิด ปรุงแต่ง ต่อไปว่า จะทำอะไรกับมันดี
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
wisanumalayavej
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 31 ส.ค. 2007
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2007, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับ โดยเฉพาะการให้ค่อยๆศึกษาจนมาถึง ข้อสุดท้าย
ที่ทำให้เข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม สาธุ

ปล.วิชาจิตวิทยา คืน อ.ไปหมดแล้วครับ อิอิ. ขำ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 2:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....รูป ร่างกาย(รูปร่างหน้าตา)

...เวทนา อารมณ์ทางใจ(สุข ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ)

...สัญญา ความจำ

...สังขาร ความคิดเห็น

...วิญญาณ ความรู้สึก (ร้อน เย็น เจ็บ ปวด )ทางกาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Story Note
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2007
ตอบ: 97

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ย.2007, 2:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

O^_^O

อธิบายเห็นภาพ ได้ชัดเจน แจ่ม ค่ะ แจ่ม

ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1เอง
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2007, 11:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อธิบายเห็นเป็นภาพได้ดีเลยครับ สาธุครับคุณเลวและดี
เจริญในธรรมครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง