Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พินิจอย่างไรว่า ฟองไหนเน่า ฟองไหนไม่เน่า อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2007, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พินิจอย่างไรว่า ฟองไหนเน่า ฟองไหนไม่เน่า

ในสมัยพุทธกาล ฆราวาส ผู้ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ฆราวาส ผู้ได้ธรรมปฏิบัติจากพระพุทธเจ้า แล้วได้บรรลุซึ่งธรรม ถึงความหลุดออก จากกิเลสอาสวะ เข้าถึงนิพพาน ผู้ถึงนิพพาน เรียกได้ว่า ถึงความเป็นอรหันต์ เมื่อปลงใจบวชเป็นสมณะ
ในพระพุทธศาสนา ก็จะเรียกสมณะผู้ถึงนิพพานนั้นว่า พระอรหันต์

ด้วยนิพพาน ไม่อาจประคองได้ ในคราบของฆราวาส เหตุว่า กิจทั้งหลายของฆราวาสนั้น มีอันให้ต้องกลับมายึดมั่นถือมั่น มีเหตุให้พบปะฆราวาส มีเหตุให้ต้องทุศีลกัน มีเหตุให้ต้องละจากการถือศีล มีเหตุให้ต้องกระทบกระทั่งกัน เมื่อศีลซึ่งถือได้ว่า เป็นทางแห่งนิพพาน เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ไม่อาจรักษาให้เสมอได้ เช่นดังเพสสมณะนั้น นิพพานที่บังเกิดแล้ว แก่ผู้มีความเพียร จึงไม่อาจประคองให้คงอยู่ได้นาน ในคราบของฆราวาส

ฆราวาสผู้ยังไม่บวช แม้ถึงความหมดสิ้นแห่งกิเลสแล้ว ก็ยังคงเป็นฆราวาสอยู่ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นพระอรหันต์ จะบอกตนให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร ด้วยยังไม่อยู่ในผ้าเหลือง ยังไม่ครองศีลของสมณะเพื่อพรหมจรรย์ ยังคงประพฤติกิจของฆราวาสอยู่ เหล่านี้ ไม่อาจพ้นจากความเป็นฆราวาสไปได้ แม้ถึงความเป็นอรหันต์แล้ว ก็ไม่ควรกล่าวว่า ตนเองเป็นพระอรหันต์ เพราะยังอยู่ในคราบของฆราวาส จะเป็นการกล่าวตู่ไป ไม่มีความน่าเชื่อถือ

เรื่องดังกล่าว เปรียบดังไข่ไก่ ฟองหนึ่งดี ฟองหนึ่งเน่า วางคละกันในถาดกลม กล่าวแก่ผู้สัญจรผ่านมาว่า ไข่ไก่ทั้งหมดในถาดนี้ ดีทุกใบ ผู้ชำนาญในการนั้น ย่อมรู้สำรวจว่า ฟองไหนดี ฟองไหนเน่า แม้นเปลือกนอกจะแลคล้ายกัน แต่ภายในย่อมแตกต่างกัน ดังเช่นฆราวาส ผู้กล่าวเสมอธัมมะธัมโม หากฆราวาสผู้นั้น ยังไม่ห่มผ้าเหลือง หรือ ฆราวาสผู้นั้น ยังไม่ออกบวช ธรรมที่กล่าวมานั้นจะน่าเชื่อถือได้อย่างไร ย่อมมีดีบ้าง มีเน่าบ้าง คละเคล้ากัน จนกว่าจะมีผู้ชำนาญการ มาแยกแยะแจกแจงให้รู้ว่า คำนี้จริงเชื่อถือได้ คำนี้ไม่จริงเชื่อถือไม่ได้ เมื่อนั้นผู้เลือกซื้อไข่ไก่ ถึงจะรู้ได้ว่า ฟองไหนดี ฟองไหนเน่า

ยิ้มขยิบตา สนใจเรื่องการดูจิตเพื่อความตื่นรู้ เชิญที่เวปไซท์นี้ครับ
www.wimutti.net
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลานดาว
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 21
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2007, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้รู้ รู้ได้เฉพาะตน

หากมั่นศึกษาหาความรู้และตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง จะพบคำตอบที่มีอยู่แล้ว
 

_________________
นิพพานโดยเร็ว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2007, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเปรียบ ผู้ชำนาญการซื้อไข่ เป็น อาจารย์สอนหนังสือ ตรวจการบ้านของนักเรียน(นักเรียนเปรียบเป็นไข่)
อาจารย์ผู้นั้นจะทราบดีว่า นักเรียนนั้นทำการบ้าน ได้หรือไม่

ดังนั้น อาจารย์ผู้นั้นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่สอนแก่นักเรียน จึงสามารถตรวจสอบนักเรียนได้

ดังนั้น พระอรหันต์เอง ก็สามารถตรวจสอบ อรหันต์เองได้ เช่นกัน ไม่ต้องเป็นห่วงว่า ไม่มีใครมองไม่เห็นพระอรหันต์นั้น

ความสูงส่ง ของพระอรหันต์ คือ ไม่คาดหวังให้ผู้ใด รับรอง หรือ ขอให้ผู้อื่นชี้ให้เห็นว่า ตนเองเป็นอรหันต์แล้ว บรรลุแล้ว
ความเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาส จึงเป็นเปลือกหุ้ม ทำให้ผู้อื่นเข้าใจตามเปลือก เช่น ขวดใส่เกลือแตกปะกระดาษแจ้งว่า น้ำตาล ขวดน้ำตาลปะกระดาษแจ้งว่า เกลือ เช่นนี้ผู้อื่นก็จะทราบต่อเมื่อมีประสบการณ์ต่อคำว่า น้ำตาลและเกลือ ต่อพระจริง พระปลอม พระลวงโลก อรหันต์ในร่างฆราวาส(ค่อนข้างหาพบได้ยากที่สุด แต่ประชาชนก็กราบไหว้ แส้สร้องสรรเสริญ อยู่มากเกือบทั้งประเทศ ก็มี)

ต่างจากเด็กนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการคะแนนจากอาจารย์ มากที่สุด ต้องการความยอมรับนับถือมากที่สุด ต้องการเงินเดือนสมกับความรู้ที่เป็นเอกกว่า มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ความเป็นอรหันต์ ข้าพเจ้าเข้าใจว่ามีหลายระดับ ต่างกัน ไม่ใช่มีรูปแบบที่เหมือนกันทั้งหมด บางอรหันต์ตั้งเป้าบรรลุเพื่อตนเองเท่านั้น ไม่คาดหวังโปรดสัตว์ใดใด เป็นปัจเจก บางอรหันต์ยังห่วงใยพระสงฆ์อื่น จึงเมตตาสั่งสอนให้ผู้อื่น ดีมากขึ้น สะอาดมากขึ้น เสมือนหนึ่งผู้ที่สอบได้ 65% ก็จะต่างจาก ผู้ที่สอบได้ 80% - 98%

แต่ตอบตรง ๆ เลย ถ้าเป็นข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่สนใจ ต่อการให้คะแนนพระอรหันต์ เพราะข้าพเจ้าไม่ใช่อาจารย์ ผู้ตรวจการบ้าน(พุทธ) ข้าพเจ้ายังคงเป็นเด็กนักเรียน ป.1 ป.2 ในด้านศาสนาพุทธ ที่ได้แต่แสดงความเห็นดั่งนี้
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2007, 4:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้บรรลุนิพพาน (กิเลสนิพพาน ไม่ต้องประคองอะไร) ท่านไม่ยึดติดถือมั่นแล้ว จิตใจท่านหลุดแล้วจากกิเลสตามขั้นของมรรคผลที่ท่านได้บรรลุ ซึ่งไม่เกี่ยวกับอาชีพ หรือกิจการอะไรๆ

พระอรหันต์ท่านก็ทำงานตามหน้าที่ ที่พระพุทธเจ้าได้มอบหมายให้ มิใด้หลบลี้หนีหายหรือปลีกตัวออกจากสังคมแต่อย่างใดเลย

รู้แล้วฟองไหนไข่เน่า ฟองไหนไข่ดี

ผู้ที่อวดตนว่าเป็นพระอรหันต์นั่นล่ะไข่เน่า เพราะยังมีอัสสมิมานะ มีอหังการ มมังการอยู่ คำพูดของผู้เช่นนี้ จะนุ่งห่มสีอะไรๆ ก็ไม่น่าเชื่อถือ คือ เชื่อถือไม่ได้

พระอรหันต์แท้ๆ ท่านสิ้นกิเลสเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่มีอะไรๆ ไว้อวดใคร ๆ เปรียบเหมือนไข่ดี ไม่มีตำหนิ สมควรที่มนุษย์และเทวดาควรทำอัญชลี สาธุ (อัญชลีกรณีโย) เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า (อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ)

คำพูดของท่านเป็นสัจวาจา เชื่อถือได้ หาเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ปกปิดความละอายแต่อย่างใดไม่ สาธุ

พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติถูกต้อง หรือท่านผู้มีปัญญาเข้าใจถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มีทั้งความยึดถือตัวตน และทั้งความยึดถือว่าไม่มีตัวตน (ตัวตนขาดสูญ) ไม่มีทั้งสิ่งที่ยึดถือเอาไว้ และทั้งสิ่งที่จะต้องละต้องปล่อยหรือต้องสลัดทิ้ง

คัมภีร์มหานิทเทสอธิบายต่อไปอีกว่า ผู้ใดมีสิ่งที่ยึดถือไว้ ผู้นั้นก็มีสิ่งที่จะต้องปล่อยละ
ผู้ใดมีสิ่งที่จะต้องปล่อยละ ผู้นั้นก็มีสิ่งที่ยึดถือไว้
พระอรหันต์ล่วงพ้นการยึดถือและการปล่อยละไปแล้ว


ขุ.ม.29/107/97; 427/297/; 721/426 ...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง