Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทางดำเนินของจิต….ต่างกันหรือไม่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผู้น้อย….
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ธ.ค.2004, 2:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับท่านผู้ใฝ่ในธรรม กระผมมีคำถามที่จะเรียนถาม ? ทุกท่านเกี่ยวกับ

ทางดำเนินของจิตที่ท่านแบ่งไว้ 2 ทางว่าการดำเนินของจิตจะต่างกันหรือไม่ครับ

1 . สมถยานิก ( คือทำสมาธิก่อนแล้วค่อยออกพิจารณากาย )

2 . วิปัสสนายานิก คือเจริญสติตามสาย มหาสติปัฏฐาน 4 ไปเละคือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

ทางดำเนินของจิตทั้ง 2 ทางนี้จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ครับ ?

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ธ.ค.2004, 4:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คิดว่าการเจริญสติทำให้เกิดสมาธิ

ถ้าจะทำให้เกิดสมาธิก่อนอย่างเดียว คิดว่าเป็นวิธีการเพ่งกสินจึงเป็นสมาธิก่อน เช่นการเพ่งดิน เพ่งน้ำ อันนี้ไม่น่าจะเป็นสัมมาสมาธิ เป็นสมถะล้วนๆ



แต่เมื่อพิจารณาดูการเพ่งดิน ดินคือหนึ่งในมหาภูตรูปสี่ เพราะเมื่อเห็นธาตุดินได้ด้วยสมถะ ย่อมเห็นธาตุดินในกายสักแต่ว่าธาตุได้เหมือนกัน



จึงสามารถแยกกายนี่ว่าเป็นธาตุและเกิดปัญญาได้ แต่เกิดปัญญาหลังเจริญกสินแล้ว



แต่การเจริญกสินใช่ว่าในชาติหนึ่ง จะมีคนทำได้ เจริญตั้งแต่เด็กจนแก่ก็อาจไม่ได้อุคหนิมิต นอกจากมีฌานลาภี อันนี้ผู้รู้ทั้งหลายจึงเตือนว่าเสียเวลา



แต่ถ้าเจริญสติ จะได้สมาธิก็เป็นไปเอง เป็นสัมมาสมาธิ เพราะผู้มีอุปนิสัยเจริญสตินั้น จะมีสติตามรู้สิ่งต่างๆอยู่เป็นอุปนิสัย จะได้ฌานหรือไม่ได้ฌานสำหรับผู้เจริญสติแล้วมิได้เป็นสิ่งจะต้องวิตก เพราะอุปนิสัยxxxแห่งปัญญาย่อมมีแก่ผู้นั้นอยู่ตลอด
 
ขออนุญาติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ธ.ค.2004, 1:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามส่วนตัวของผมนะครับ.....

สามารถทำได้ทั้ง2แนวทางครับแล้วแต่จริตของแต่ละบุคคลครับว่าชอบทางไหน

ถ้าจะทำทางแรก ทำสมาธิแล้วพิจารณาหลังสมาธิก็ได้ สายพระป่าท่าน ทำแนวนี้ แต่สมาธิของท่าน ท่านทรงไว้ตลอดในทุกอริยาบท และการพิจารณาที่พระป่าทำบ่อยๆคือ การเดินจงกลมแล้วพิจารณากายคตานุสติกรรมฐาน

จุดสำคัญของพระป่าที่จะสามารถเกิดปัญญาได้ จะเกิดจากการเดินจงกลม คือทำสามาธิถึงที่สุด เสวยอารมณ์ในสมาธิ แล้ว ลุกขึ้นเดินจงกลมพิจารณา ทำให้จิตมีกำลังมากในการพิจารณา แต่พอเลิกนั่ง และเดิน แล้ว ช่วง ผ่อนคลายอริยาบท ท่านก็พุทโธ เบาๆในจิตไปเรื่อยๆ ไม่หนักมาก สมาธิอ่อนๆ

ช่วงนี้ท่านก็ จะพิจารณาดูอะไรไปเรื่อย เช่นความไม่เที่ยงของธรรมชาติ หรืออะไรก็ได้ที่อยู่รอบท่าน

ส่วนสายที่2 นั้น ใช้การพิจารณาไปเรื่อยๆ คือใช้การนึกอย่างที่คุณว่านั้นแหละ ใช้ทุกอย่างที่เข้ามากระทบจิต พิจารณาอยู่ตลอด จนเป็นสมาธิไปเอง

ส่วนใหญ่เป็นแนวทางของพระบ้าน และสมาธิ อย่าว่าพระบ้านท่านไม่มีนะครับท่านใช้การสวดมนต์จนเป็นสมาธิไปเอง สังเกตดู พระบ้านท่านเก่งสวดมนต์มาก สวดที ยาวเลย พอสวดเสร็จก็คุยกับโยม ตอนนี้แหละที่ท่านจะต้องพิจารณาถึงกิเลสที่มากระทบท่าน เพราะกำลังจากการสวดมนต์ที่เป็นสมาธิก็ยังมีอยู่ การพิจารณาก็ไปเรื่อยๆ ไม่ดูดุเดือดเหมือนทางพระป่า ตามที่หลวงปู่ชาท่านนิยมสอนลูกศิษย์ ให้ใช้ทุกอย่างที่ผ่านมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มาเป็นตัวพิจารณา ทางพระบ้านมีพระดีๆอยู่มาก เราไม่ค่อยรู้เพราะท่านดูเป็นธรรมดา เหมือนปกติ เพราะท่านมาแนวเรียบง่ายสบายๆ ไม่หนักสมาธิมาก ถ้าจบกิจ แล้ว ฤทธิ์ มันมีมาเองอยู่แล้วเหมือนสมัยพุทธกาล ที่จบกิจก็มีฤทธิ์เลย ดังนั้น พระเหล่านี้ ถึงท่านมีฤทธิ์ท่านก็ไม่ใช้เพราะอยู่กับคนมาก และพื้นเดิมที่ท่านมาเรียบง่ายด้วย

ผมพิจารณาในด้านของผมนะครับ ผิดถูกอย่างไร ขอ ขมามานะที่นี้นะครับ ด้วยผมก็ยังมีอวิชชาอยู่
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ธ.ค.2004, 5:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องสมาธิต้องพูดให้ชัด จริงอยู่การปฏิบัติไม่เหมือนการพูด แต่ถ้าทำสมาธิด้วยการเดินจงกรม ก็ต้องมองว่าหลักของการเดินจงกรมคืออะไร (ได้สมาธิหรือวิปัสนาหรืออย่างไร โดยความจริงจะได้อะไรก็ได้)



หลัการเดินจงกรม คือหลักของอิริยาบถ ในอิริยบรรพของสติปัฏฐานสี่



เมื่อเป็นหลักของอิริยาบถ การเดินจงกรมคือการเตริญสติรู้ตัวในการก้าว การย่าง การเหลียบ การยก หลักใหญ่คือรู้ว่าก้าวเท้าซ้าย และก้าวเท้าขวา ตลอดเวลา



การเจริญสติรู้ตัวในทำนองนี้จะมีผลอย่างไรในการปฏิบัติ? การรู้ตัวจะทำให้สติเจริญขึ้น อาจพัฒนาเป็นสมาธิได้ถ้าจิตรวมลง แต่ถ้าจิตไม่รวมลงละ? ก็อาจบอกว่าเป็นสมาธิอ่อนระดับขณิกสมาธิ



ก็ขณิกสมาธินี้นำไปเพื่อใช้ทำอะไรละ ? ก็เพื่อพิจารณาเจริญสติไปเรื่อยๆ ก็ต้องเดินไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยแบบนี้จะรู้อะไร ถ้าอารมณ์ละเอียดมีโอกาสจะรู้อะไรบ้าง



คำตอบก็เห็นชัดว่าระหว่างก้าวเท้าขวา กับก้าวเท้าซ้ายไม่เหมือนกัน การก้าวเท้าขวาเป็นรูปลักษณะหนึ่ง การก้าวเท้าซ้ายก็เป็นรูปในลักษณะหนึ่ง



ทำไมรูปจึงเปลี่ยนไปในขณะที่กำหนดอิริยาบถ ก็เพราะรูปหนึ่งดับ รูปหนึ่งก็เกิดขึ้นใช่ไหม นี่เป็นการเกิดดับของรูปที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก็กำหนดการเกิดดับของรูปนี่ให้เป็นวิปัสสนาญาณ หรือไม่ก็ให้จิตทันอารมณ์ไปให้ทัน



จะไปพิจารณาอะไรไปเรื่อยตามอารมณ์ไม่ได้ เพราะจะต้องมีสติอยู่ที่การเดิน และไม่ยินดียินร้ายที่จะพิจารณาเรื่องอื่น ขณะเดินจงกรมเป็นอย่างนั้น



คือการเดินจงกรมกรมก็เป็นปัจจัยต่อการเกิดปัญญา โดยไม่จำเป็นจะต้องพิจารณากายคตาสติก็ได้ ใช่ว่าจะเดินจงกรมเพื่อให้เกิดสมาธิแบบสมถะ



ในขณะเดียวกันการพิจารณากายคตาสติ (อาการ 32) ที่เราเห็นว่าเป็นปัญญานั้น ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ในการพลั้งเผลอ เพราะกายคตาสตินั้นในหลักการพิจารณา ต้องพิจารณาในทำนองเดียวกับอสุภะ



เมื่อเรานึกในอาการสามสิบสองนี่ เช่นนึกถึงกระดูก บางครั้งกระดูกสีขาวปรากฏในอุคหนิมิตจริงๆ ซึ่งจะมีภาพเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติไม่มากก็น้อย เมื่อเกิดกรดูกสีขาวสว่างขึ้นเรื่อยๆ



เราไม่ได้พิจารณา ลืมไป เพราะไปเห็นรูป จึงเพ่งนิ่งอยู่ จิตเป็นสมาธิ แบบเพ่งกสินเลย คือกสินนั้นมีการเพ่งสีขาว และแสงสว่าง



แต่เมื่อเพ่งกาบคตาสติอารมณ์ได้แค่ปฐมฌานเป็นอย่างสูง แต่เมื่อกระดูกกลายเป็นสิ่งเพ่งแบบกสินอารมณ์สมาธิจะสูงสุดถึงจตุตถฌาน ตามอำนาจของกสิน ก็ย่อมเผลอมีสมาธิได้ โดยไม่ทำให้แยบคายเป็นปัญญา



หลักการที่ว่ากรรมฐานอย่างใดเป็นสมาธิ อย่างใดเป็นวิปัสสนานั้น หลักการพิจารณาเป็นวิปัสสนาหมด ส่วนกสินเป็นสมาธิหมด



แต่เมื่อฉลาดในการพิจารณา ว่ากายเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ และดินน้ำนี่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะร่างกายมีทุกข์ เป็นอนิจจัง ธาตุดินน้ำลมไฟเป็นทุกข์ด้วย ก็เห็นอนิจจังในสิ่งที่ธาตุไปประกอบเป็นรูป



การพิจารณาว่าอะไรเป็นสมาธิหรือปัญญา อยู่ที่ปัญญาของผู้ปฏิบัติ และความชำนาญในการภาวนา



เมื่อเราภาวนาว่าพุทโธ ตามหลักยังไม่ได้เกิดปัญญา แต่เป็นพุทธานุสติ แต่เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาได้



การพิจารณามรณัสติเนืองๆ เป็นผู้ไม่หลงตาย บทสวดมนต์ว่า วิปัสสนาอันควรบำเพ็ญ ชื่อว่าจตุรารักข์ คือ

1 พุทธานุสติ

2 เมตตา

3 อสุภ

4 มรณัสติ



การเจริญภาวนาทั้งสี่อย่างนี้อยู่เสมอ ก็บรรลุโสดาปัตติผลได้



การภาวนาต้องทำแบบโน้นบ้างแบบนี้บ้าง เพื่อให้ตรงกับจริต ทำให้มากจะทำแบบไหนก็ได้ ให้ทำตามหลักที่วางไว้ให้ถูกต้อง ไม่ต้องมีความหวังอะไรเลย เพราะไม่รู้จะไปหวังอะไร นอกจากความสงบใจ ความปลอดภัยไม่ตกไปในที่ชั่ว ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย



ที่ท่านข้างบนว่ามาไม่มีอะไรผิด และไม่ต้องกลัวใครๆที่อยู่ในโลกนี้ต่างมีอวิชชาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าคุณไม่ว่าผม คือใครชอบอย่างไหนถูกใจอย่างไหนก็ทำอย่างนั้น แต่หลักก็ให้รู้การเจริญสติไว้ ถึงรู้แล้วเราก็เผลอผิดพลาดบ่อยๆได้ แต่เมื่อทำมากต้องเป็นนิสัยแน่นอน
 
คนไทย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2004, 10:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จุดหมายเดียวกัน แต่วิธีไปต่างกัน บางวิธีเป็นวิธีที่หลงง่าย บางวิธีเป็นวิธีที่รู้ธรรมเป็นขั้น แล้วแต่ชอบแบบไหน ทางสายเดียวมีอยู่ ก็สติปัฎฐาน 4 นั่นเอง เพราะว่าจะได้เห็นธรรมะ ทุกอิริยาบถ มันก็มีสมถไปด้วยครับแต่ว่าจะหนักไปทางด้านวิปัสสนามากกว่า ท่านก็หมายเอาว่าเป็นวิปัสสนา ส่วนสมถนั้น จะมีแต่นิ่งและสงบอย่างเดียว

 
ผู้น้อย...
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2004, 10:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





สาธุคุณคนไทยครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง