Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิบากกรรมจากพระไตรปิฎก-อรรถกถา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วิบากกรรมจากพระไตรปิฎก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2007, 5:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

ว่าด้วยบุพจริยาของพระองค์เอง
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=7850&Z=7924&pagebreak=0

กรรมและวิบาก
http://www.geocities.com/toursong1/kam/kam.htm

พระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/009.htm
อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า

ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น

ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน

เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก

ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย

มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม

ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง

มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย

มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก

ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา

บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก

กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ

ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง

ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย

อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก

--------------------------------------------------------

อกุศลกรรมบถ

ผลที่อกุสลกรรมบถ ๑๐ ส่งให้ในปวัตติกาล
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/072.htm

--------------------------------------------------------

ผลของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (รวมไปถึงการทำร้ายสัตว์ด้วยแม้ไม่ถึงตายก็ตาม)
มี ๙ ประการ คือ

๑. พิการ
๒. รูปไม่งาม
๓. กำลังกายอ่อนแอ
๔. กำลังกายเฉื่อยชา
๕. เป็นคนขลาด
๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
๗. โรคภัยเบียดเบียน
๘. ความพินาศของบริวาร กำลังปัญญาไม่ว่องไว
๙. อายุสั้น

ผลของการขี้ขโมยมี ๖ ประการ คือ

๑. ด้อยทรัพย์
๒. ยากจน
๓. อดอยาก
๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. พินาศในการค้า
๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น

ผลของการแย่งคนรักของชาวบ้าน มี ๑๑ ประการ คือ

๑. มีผู้เกลียดชังมาก
๒. มีผู้ปองร้ายมาก
๓. ขัดสนทรัพย์
๔. ยากจนอดอยาก
๕. เป็นหญิง (เป็นหญิงที่อับโชค)
๖. เป็นกระเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

ผลของการขี้ปด มี ๘ ประการ คือ

๑. พูดไม่ชัด
๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
๓. ปากเหม็นมาก
๔. ไอตัวร้อนจัด
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

ผลของการชอบพูดซุบซิบนินทา มี ๔ ประการ คือ

๑. ตำหนิตนเอง
๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง
๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
๔. แตกมิตรสหาย

ผลของการพูกเพราะความโกรธ(การด่า) มี ๔ ประการ คือ

๑. พินาศในทรัพย์
๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ
๓. มีกายและวาจาหยาบ
๔. ตายด้วยอาการงงงวย

ผลของการพูดเพ้อเจ้อ เช่น การล้อเล่น ,พูดจาไม่มีประโยชน์, พูดเล่น ฯลฯ
มี ๔ ประการ คือ

๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน
๓. ไม่มีอำนาจ
๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต

ผลของความอยากได้ อยากมีในทรัพย์ของผู้อื่นมี ๔ ประการ คือ

๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๒. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
๓. มักได้รับคำติเตียน
๔. ขัดสนในลาภสักการะ

ผลในปวัตติกาลของพยาบาท (ความเพ่งเล็ง จับผิด คิดร้าย
อยากให้ผู้อื่นเสียหาย เช่น ขอให้ตายไวไวเป็นต้น) มี ๔ ประการ คือ

๑. มีรูปทราม
๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
๓. อายุสั้น
๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

ผลของความเห็นผิด มี ๔ ประการ คือ

๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม
๒. มีปัญญาทราม
๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

ผลของเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ

๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
๔. เสื่อมเกียรติ
๕. หมดยางอาย
๖. ปัญญาเสื่อมถอย

มาที่ส่วนของการทำดีบ้าง
ทางของการกระทำ คือ บุญกริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่

๑. ทานมัย การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
๒) เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง
๓) ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
๔) ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
๕) ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีผู้อื่นไว้ได้
๖) ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์น่านับถือ
๗) ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
๘) ทำให้เข้ากับสังคมอื่นได้คล่องแคล่ว
๙) มีบุคลิกองอาจ สง่าผ่าเผย
๑๐) ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
๑๑) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

๒. สีลมัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ
๒) ทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้
๓) ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่หวาดระแวง
๔) ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
๕) ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ
๖) ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมชน
๗) ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
๘) ตายแล้วไปเกิดในสุคตภูมิ

๓. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์

๑) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
๒) มีผิวพรรณผ่องใส
๓) มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
๔) มีความจำดี และกำลังปัญญาว่องไว
๕) เป็นคนใจคอเยือกเย็น
๖) เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
๗) มีบุคลิกอันน่าศรัทธา
๘) เกิดในตระกูลดี
๙) มีบุคลิกสง่างาม
๑๐) มีมิตรสหายมาก
๑๑) เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป
๑๒) เป็นที่ชื่นชอบของบัณฑิต
๑๓) สมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔
๑๔) ปราศจากอกุศลทั้งปวง
๑๕) ปลอดภัยจากศาสตราวุธ
๑๖) มีอายุยืน
๑๗) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

๔. อปจายนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ที่ควรเคารพนบนอบ
(คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ)
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) เกิดในตระกูลสูง
๒) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
๓) มีมิตรสหายดี
๔) ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ
๕) มีความสมบูรณ์ในทรัพย์
๖) ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. เวยยาวัจจะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการช่วยเหลือกิจการงานที่ชอบ
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
๑) มีความเป็นอยู่ดี สุขกายสุขใจ
๒) มีมิตรสหายมาก
๓) มีไหวพริบความจำดี
๔) มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง

๖. ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น (การแผ่เมตตา)
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) ไม่มีความอดอยาก ยากจน
๒) ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
๓) มีบริวารดี
๔) เป็นที่รักของผู้พบเห็น
๕) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
๖) มีอายุยืน

๗. ปัตตานุโมทนา บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) มีสุขภาพสมบูรณ์
๒) มีฐานะดี
๓) มากไปด้วยลาภสักการะ
๔) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ

๘. ธัมมสวนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) เกิดในตระกูลสูง
๒) มีสติปัญญาดี
๓) มีมิตรสหายดี
๔) มีความเชื่อมั่นในตนเอง

๙. ธัมมเทสนา บูญที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) ไม่มีกลิ่นปาก
๒) มีฟันขาวเรียบ
๓) บุตรบริวารมีความเชื่อฟัง
๔) มีบุคลิกสง่างาม
๕) มีความจำดี
๖) เป็นที่ไว้วางใจแก่ผุ้พบเห็น

๑๐.ทิฏฐุชุกรรม บุญที่สำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
๑) มีปัญญาดี
๒) ไม่อดอยาก
๓) ไม่ยากจน
๔) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
๕) มีบุคลิกสง่างาม
๖) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ
๗) มีฐานะความเป็นอยู่ดี
๘) มีบริวารมาก
๙) มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น

บุญกริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในทาน ศีล ภาวนา ได้ดังนี้คือ

ทาน ปัตติทานะ ปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน
ศีล อปจายะ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ใน ศีล
ภาวนา ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา ทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ใน ภาวนา
 
ไม้อ่อน
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2007
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 25 เม.ย.2007, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
Image
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง