ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
นายวุฒิพงษ์ ทรัพย์ผล
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 16 มี.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): 43/4 ม.6
|
ตอบเมื่อ:
16 มี.ค.2007, 10:18 pm |
  |
ผมมีอาชีพเป็นครูครับ คือผมอยากจะทราบว่า จะนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการ
จัดการเรียนการสอนอย่างไร โดยอิงกับหลักมรรคองค์ 8 ขอชัดๆ เป็นข้อๆ
ตอบทาง Email ก็ได้
Email : Wuttipong.supp@chaiyo.com |
|
_________________ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว |
|
  |
 |
แทบเท้าพุทธองค์
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 15 มี.ค. 2007
ตอบ: 20
|
ตอบเมื่อ:
17 มี.ค.2007, 2:35 pm |
  |
อาชีพครู น่าจะใช้พรหมวิหาร 4
 |
|
_________________ รับสารอาหารทางปาก |
|
  |
 |
นายวุฒิพงษ์ ทรัพย์ผล
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 16 มี.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): 43/4 ม.6
|
ตอบเมื่อ:
05 เม.ย.2007, 8:45 pm |
  |
ผมใช้มากกว่า พรมวิหาร 4 อีก |
|
_________________ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว |
|
  |
 |
จิตงาม
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 06 มี.ค. 2007
ตอบ: 86
|
ตอบเมื่อ:
05 เม.ย.2007, 8:54 pm |
  |
เราอีกคนนึงที่อยากเป็นครูสอนเด็กตัวเล็กๆ ให้มีพื้นจิตงาม เก่ง เสียดายไม่ได้จบครู เลยไม่ได้ทำงานนี้ จากการที่เคยเป็นนักเรียน ในความรู้สึกที่รักครูคนนึง เคารพในครูคนนั้น มันอยู่ตรงที่ ครูต้องมีความเมตา ใจดีต่อศิษย์เป็นอย่างแรก ครูต้องไม่หวงวิชา ครูต้องมีวาจาที่นุ่มนวลแต่ไม่อ่อนจนศิษย์ไม่เกรง ครูต้องหาสิ่งใหม่ๆ ทันยุคฯ มาสอน เอาใจใส่ศิษย์ดั่งเป็นพ่อแม่บ้านที่สอง ก็ถือว่าเป็นครูที่ดีแล้วล่ะค่ะ เดี๋ยวนี้ ครูบ้าเยอะ ทำงานแค่เพื่อให้มีกินไปเดือน อย่างไร้จิตวิญญาณการเป็นครู |
|
|
|
  |
 |
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2007, 9:21 pm |
  |
ศีล สมาธิ ปัญญา ใช้ได้ในทุกกรณีครับ
ศีล คือ ระเบียบการปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อาจหมายรวมถึงการปฏิบัติทั้งกับเพื่อนมนุษย์และวัตถุ คือ สิ่งแวดล้อมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ การประกอบอาชีพโดยไม่ก่อให้เกิดเวรภัย เป็นหนึ่งในการรักษาศีล ซึ่งคุณวุฒิพงษ์ มีโอกาสอันดีมาก การให้ความรู้ในทางที่ถูกต้อง ใช้เครื่องใช้ไม้สอยในอย่างสมควร คือการปฏิบัติถูกต่อสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ เคารพกฎระเบียบ ซึ่งคือจรรยาบรรณในอาชีพ เป็นการรักษาศีลเช่นเดียวกัน ศีลคือเครื่องมือการปฏิบัติเพื่อความสอดคล้อง กลมกลืน ไม่เบียดเบียน การสร้างความเข้าใจอันดี ระวังสำรวม และให้สิ่งที่ดีกับศิษย์ เป็นแนวทางการรักษาศีล
สมาธิ คือ การฝึกฝนทางจิตเพื่อการพัฒนา ข้อนี้สามารถอธิบายได้ ด้วยเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ให้ความรักความปรารถนาดีกับศิษย์อย่างจริงใจ สนับสนุนให้ศิษย์พ้นจากอวิชชาคือความไม่รู้ ส่งเสริมให้ศิษย์ได้รับความก้าวหน้า และวางตัวเป็นกลาง ไม่หลงยึดติดกับคำชม คำวิจารร์ที่อาจเกิดขึ้นด้วยความเข้าใจผิด ยอมรับ เปิดกว้างในทุกความคิดเห็น ให้ความอดทน ตระหนักในคุณค่าของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา มีหิริ โอตตัปปะ ไม่ประพฤติผิดศีลธรรม จรรยาบรรณของความเป็นครู ละอายและเกรงกลัวต่อบาปด้วยการศึกษาหาความรู้ก่อนนำไปสอนศิษย์ มีฉันทะ วิระยะ จิตตะ วิมังสา อุตสาหะ สัจจะ อธิษฐาน เพื่อการผึกฝนด้วยการปวารณาดัวในการเปิดกว้าง ให้ความอดทนกับความไม่รู้ ปรารถนาให้ศิษย์เข้าถึงความจริง รู้ความจริงอย่างไม่ย่อท้อ เป็นการอาศัยความเพียร รู้สึกดีใจ พอใจ เป็นสุข เมื่อศิษย์ได้รับในสิ่งที่เป็นความรู้ที่ดีและมีโอกาสอันดีในอนาคต เป็นแนวทางในการปฏิบัติสมาธิตามธรรมชาติที่ปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ปัญญา อยู่ท้าย แต่เป็นสิ่งเริ่มต้น คือเห็นดี เห็นงาม เห็นชอบ ดีใจ พอใจ ในสิ่งที่เป็นอาชีพสุจริต ในสิ่งที่เป็นการประกอบกุศลกรรมอันดีให้กับคนหมู่มาก อานิสงส์ที่ได้รับจากอาชีพครู คือการช่วยให้คนพ้นจากความไม่รู้ ศีลเป็นกรอบ สมาธิเป็นแนวทางการปฏิบัติให้อยู่ในกรอบ การช่วยคนให้พ้นจากความไม่รู้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ คนเราควรกราบ 5 ครั้งในชีวิตประจำวัน กราบระลึกถึงคุณพระพุทธ กราบระลึกถึงคุณพระธรรม กราบระลึกถึงคุณพระสงฆ์ กราบระลึกถึงคุณบิดามารดา กราบระลึกถึงคุณครูอาจารย์ คุณมีโอกาสที่ดีครับ |
|
|
|
    |
 |
Atago
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
25 เม.ย.2007, 10:17 am |
  |
ไตรสิกขา (สิกขา=ศึกษา) เป็นไปในทางทฤษฎี
ทางปฏิบัติ (บุญกริยา=การกระทำที่เป็นบุญ) คือ ทาน ศีล ภาวนา
ทาน แปลว่า การให้ การเสียสละ การแบ่งปัน เรามุ่งช่วยเหลือผู้อื่นขณะที่ผู้อื่นมุ่งช่วยเหลือเรา
ถ้าทุกคนมีทานอยู่ในหัวใจมุ่งเป็นผู้ให้ผู้เสียสละ โดยไม่ห่วงตนเอง ท่านคิดว่าโลกนี้จะเป็นเช่นไร
ทาน เป็นการละ การวางทุกสรรพสิ่ง ไม่ต้องนำมาหิ้ว มาแบก มาหาม มีตัวกูก็ทุกข์เพราะตัวกู
ศีล มาจาก ศิลา หมายถึงการยึดมั่นในความดีไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน เป็นกฏเกณฑ์
ระเบียบ วินัย ผู้มีศีลย่อมเชื่อมั่นว่าตนไม่ได้กระทำความผิด ย่อมไม่หวาดระแวง เมื่อไม่หวาดระแวง
จิตย่อมตั้งมั่น จิตตั้งมั่นย่อมเป็นสมาธิ สมาธิภาวนาให้เกิดปัญญา ปัญญาไปให้ทานไปรักษาศีลยิ่งขึ้น (ไม่ควรแปลความหมายของศีลว่าปกติ เพราะต่อไปการโกหกทางการค้า การฆ่าสัตว์เป็นอาหารก็จะเป็นเรื่องปกติ หรือเรื่องอื่นๆ ที่เป็นปกติแต่ผิดศีลย่อมมีได้)
มรรค ๘ เป็นทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ที่บริหารเบ็ดเสร็จในอริยสัจ ๔ รู้ได้ด้วยตนเองในแต่ละขณะจิตว่า ในขณะนั้น เห็นชอบแล้ว คิดชอบแล้ว พูดชอบแล้ว กระทำชอบแล้ว เลี้ยงชีพชอบแล้ว เพียรชอบแล้ว สติชอบแล้ว สมาธิชอบแล้ว เหตุทีจะทำให้ทุกข์อีกไม่มี |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ค.2007, 3:36 pm |
  |
อาจารย์ ควรเรียนรู้ธรรมและปฏิบัติธรรมให้ปัญญาเกิดก่อน จากนั้นจึงค่อยนำปัญญาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของตน
อาชีพแตกต่างกันจึงให้คำแนะนำกันได้ไม่ชัดเจน |
|
|
|
|
 |
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 2:56 pm |
  |
คัดข้อความบางตอนจากหนังสือ เทสรังสีวจนาของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
เปลือกของศาสนาคือ ทาน ศีล และศาสนพิธีต่าง ๆ
ถ้าทำถูกต้องแล้วจะกลายเป็นกระพี้ คือทำจิตให้เบิกบาน
ยิ้มแย้มแจ่มใส จนเกิดปีติอิ่มใจ
ทาน ศีล นั้นจะเข้ามาภายในใจ หล่อเลี้ยงน้ำใจให้แช่มชื่นอยู่เป็นนิจ
นี่ได้ชื่อว่าทำเปลือกให้เป็นกระพี้
เมื่อพิจารณาไปถึงความอิ่มและความแช่มชื่นเบิกบานของใจ
ก็เห็นเป็นแต่ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากปัจจัย คือ ความพอใจเป็นเหตุ
เมื่อความพอใจหายไป สิ่งเหล่านั้นดับไป เป็นของไม่เที่ยง เป็นธรรมดา
เราจะยึดเอาไว้เป็นของตัวตนไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่มีใครเป็นใหญ่เป็นอิสระ
แล้วก็ปล่อยวาง เห็นเป็นสภาพตามความเป็นจริง
เมื่อพิจารณาถูกอย่างนี้ ได้ชื่อว่า ทำกระพี้ให้เป็นแก่นสาร
พุทธศาสนาอยู่ได้ด้วยเปลือก กระพี้ และแก่นอย่างนี้
ถ้ามีแต่แก่นอย่างเดียว หากเป็นต้นไม้ก็เรียกว่าต้นไม้ตายย่อมอยู่ไม่ได้นาน
ถ้ามีแต่กระพี้ หากเป็นต้นไม้ก็เรียกว่าต้นไม้หาสาระไม่ได้
นอกจากจะทำเป็นฟืนเท่านั้น
ถ้ามีเปลือกอย่างเดียว หากเป็นต้นไม้เช่นต้นมะละกอ พลันที่จะหักเร็วที่สุด
ในเมื่อลมพายุพัดมา
พุทธศาสนาวัฒนาถาวรได้นานปานนี้ก็ด้วยมีทั้งเปลือก กระพี้ และแก่น
ครบบริบูรณ์
.....
ให้พยายามสำรวมใจให้สงบ
เมื่อเราสำรวมใจให้สงบ จะเห็นว่าคล้าย ๆ กับมันวุ่นวายมากกว่าที่เรา
ไม่ได้สำรวม แท้ที่จริงไม่ใช่มาก ทีแรกเราไม่ได้สำรวม ไม่รู้จักใจ
ใจมันคิดส่งส่ายจนไม่มีขอบเขต ทีนี้เรามาจับตัวใจดูความสงบ
เราระวังใจ เราสำรวมเข้าสู่ความสงบ มันเลยเห็นเรื่องของใจคล้าย ๆ
กับเป็นของมาก เพราะฉะนั้น จงตั้งใจสำรวม ไม่มีมากเลย
ใจมีอันเดียว ที่มันส่งไปเป็นอาการของใจ จับตัวใจตัวเดิมให้ได้
มันมีผู้หนึ่งซึ่งเป็นของเดิม ให้จับตัวเดิม อย่าจับอาการ
จับผู้รู้ให้ได้ ถึงแม้จะภาวนาพุทโธก็ตาม
อานาปานสติก็ตาม ให้อยู่ตรงนั้น คอยดูตรงนั้น
ปีติเกิดขึ้นเพราะความสงบของใจ ความซาบซึ้งในอุบายที่ตนเห็นนั้น
คือ ก่อนที่จะเกิดปีติ เราพิจารณาถึงสิ่งใด เช่น พิจารณาถึงคุณงาม
ความดีของตน จิตใจซาบซึ้งถึงเรื่องนั้นก็สงบเกิดปีติ
พิจารณาถึงศีล สมาธิ ปัญญาของตนที่ตนทำให้มีให้เกิดขึ้นแล้ว
ทำใจให้รวมสงบลงได้ ก็ปีติขึ้นได้เหมือนกัน
.....
จิตเป็นของส่งส่ายไปทั้งในอดีตที่ล่วงมาแล้ว แต่จดจำได้ในสิ่งต่าง ๆ
ทั้งดีและชั่ว และส่งไปข้างหน้าไปปรุงแต่งที่เรียกว่าอนาคต
มันไม่อยู่ในปัจจุบัน เหตุนั้นจึงควรอบรมใจของตนให้อยู่ในปัจจุบัน
คือให้เห็นว่าอดีตล่วงไปแล้วก็แล้วไป เวลานี้ไม่มี
อนาคตก็ยังไม่มาถึง เราไม่ควรไปคำนึง เพราะคำนึงถึงมันก็ยังไม่ทันมา
ฉะนั้นจึงทิ้งเสียทั้งในอดีตและอนาคต ให้กำหนดปัจจุบันในเวลานี้
ให้จิตตั้งมั่นอยู่แต่ในพุทโธ เราเอาพุทโธเป็นเครื่องอยู่
เมื่อจิตเราแน่วแน่และเราเข้าถึงพระพุทธเจ้าแล้วนั่นแหละ
ถึงพระแล้ว ถึงธรรมแล้ว อนาคตก็ไม่มี อดีตก็ไม่มี
ความชั่วทั้งในอดีตและอนาคตหายไปหมด ยังเหลือแต่ความดี
ในปัจจุบัน จิตของเราอยู่กับธรรมอยู่กับพระ เป็นการชำระล้างบาป
ด้วยวิธีนี้ เราจะบริสุทธิ์หมดจดได้ก็เพราะอย่างนี้ ไม่มีใครจะช่วยเหลือเราได้
พระพุทธเจ้าสอนวิธีฝึกหัดชำระตนด้วยตนเอง
เรารู้แล้วเราเข้าใจ แล้วชำระด้วยตนเอง
.....
หนังสือ ปัญญวันโตบูชา กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต แห่งวัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง ได้ไปพบ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ครั้งแรกขณะหลวงปู่เทสก์ท่านไปเป็นเจ้าคณะ
จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ เมื่อหลวงปู่เข้าไปกราบหลวงปู่เทสก์
และเรียนท่านว่า "ผมตั้งใจมากราบท่านนานแล้ว"
หลวงปู่เทสก์ตอบว่า "รู้แล้ว คนจริงไม่ต้องพูดกันมาก
คำสองคำก็พอ คนไม่จริงพูดกันไม่รู้จบ"
ต่อมา เมื่อไปกราบหลวงปู่เทสก์อีก ท่านบอกว่าให้พิจารณาธาตุ
อย่างเดียวพอ หลวงปู่เปลื้องเล่าว่า ทำไมท่านรู้ล่ะว่าหลวงปู่กำลัง
พิจารณาธาตุอยู่
เมื่อหลวงปู่ไปกราบหลวงปู่เทสก์ที่วัดหินหมากเป้ง หลวงปู่เทสก์ท่าน
ไม่ยอมให้ไปบิณฑบาตกับพระอื่น ท่านให้ไปกับท่าน ไปบิณฑบาตที่
กุฏิแม่ชี ซึ่งเขาใส่บาตรแต่ข้าวเปล่า กลับมาวางบาตรแล้วหลวงปู่ไม่รับ
อาหารอื่นอีก พอประเคนอาหารคาวหวาน หลวงปู่ก็ไม่รับ
หลวงปู่เทสก์บอกให้หลวงปู่ถอนสัจจะเสียสักครั้ง
หลวงปู่ตอบหลวงปู่เทสก์ว่า "ไม่ได้ ท่านอาจารย์ พอถอนครั้งหนึ่งได้แล้ว
ก็จะถอนได้อีก ไม่เอา ตั้งสัจจะแล้วต้องทำจริง"
วันนั้นท่านฉันแต่ข้าวเปล่า วันรุ่งขึ้นพอไปรับบิณฑบาตอีก มีอาหาร
คาวหวานใส่บาตรมากมาย
_/|\_ _/|\_ _/|\_
--------------
อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ  |
|
_________________ ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 4:07 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2008, 9:19 pm |
  |
แทบเท้าพุทธองค์ พิมพ์ว่า: |
อาชีพครู น่าจะใช้พรหมวิหาร 4
 |
ชอบตรง " รับสารอาหารทางปาก " ไม่มีอะไร ธรรมะสวัสดี  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|