Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 Koknam at pantip.com/cafe/religious/ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Hero
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 24 ม.ค. 2007
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 24 ม.ค. 2007, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

a.. b.. and then.. c

ที่จะเขียนต่อไปนี้อาจจะผิดนะครับ พี่อย่าเชื่อผม ผมเขียนจากมุมมองของผมเองนะครับ

ผมสังเกตพี่เสมอ ผมเข้าใจว่า พี่เคยผ่านการฝึกแบบสมถะมาก่อน พี่จึงค่อนข้างใส่ใจสภาวะที่มันเกิดกับพี่ใช่ไหมครับ พี่พยายามหาคำตอบบางอย่าง ให้กับสิ่งที่เกิดกับพี่ใช่ไหมครับ

อย่างที่พี่ถามผมว่า หรือเล่าให้ผมฟังว่า ลูกพี่ล้มลงมานอนทับ หรือ รู้สึกว่าความมีตัวตนมันได้หายไปชั่วขณะ หรือการที่พี่ตอบใครในกระทู้ก็ตามว่า ปฏิบัติไปซักระยะ เราจะรู้ขึ้นมาเองว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา ไม่มีอะไรที่เป็นเรา อะไรลักษณะนั้น

สิ่งที่ผมเป็นไม่ใช่อย่างนั้นเลยครับ ผมเคยมีความเข้าใจอย่างพี่ แต่มาถึงจุดนึงมันไม่ใช่ครับ ความเข้าใจมันเปลี่ยนครับ เพราะมันได้เข้าไปรู้ความจริงในขั้นต่างๆ

พี่อ่านดีดีนะครับ การที่เราฝึกความรู้สึกตัวนั้น ไม่ใช่ว่า เราฝึกเพื่อที่เราจะทำให้มันต่อเนื่องตลอดเวลานะครับ ความรู้สึกคนเรามันมีของมันต่อเนื่องตลอดเวลาอยู่แล้วครับ ถ้าไม่มีก็คือคนตาย

ผมพูดแบบซัดเป้าหมายหลักเลยนะครับ

เราฝึกความรู้สึกตัวเพื่อ ตามความคิดของเราให้ทัน เพราะความคิดมันเร็วมาก ไม่มีอะไรไปจับ ไปรู้ทันมันได้ นอกจากการมี ความรู้สึกตัวที่ไวมาก การรู้สึกตัวอันนี้ที่ผมเข้าใจ ไม่ใช่รู้สึกแขนขา โน่นไหวนี่ขยับจากร่างกายนะครับ

มันถูกอยู่ครับ แต่พี่ควรปล่อยให้มันเป็นรอง การรู้สึกตัวเมื่อฝึกมากเข้ามากเข้า มันจะไปรู้สึกถึงการขยับของความคิดครับ การไหวของอารมณ์ภายใน สิ่งเหล่านี้ละเอียดกว่า การรู้สึกภายนอกมากครับ ทุกข์ ที่แก้ได้ มันเกิดตรงนี้ครับ มันไม่ได้ไปเกิดที่กาย มันเกิดที่ข้างใน

จุดที่พี่ไม่เข้าใจอยู่ตรงนี้ครับ เมื่อเรารู้สึกตัวมากเข้ามากเข้า มันจะมาถึงทางแยกครับ คือ แยกไปอัดให้มีความรู้สึกมากขึ้นมากขึ้น กับแยกไปรู้สึกเฉยๆ ครับ ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจครับ

ผมจะอธิบายเท่าที่ทำได้นะครับ ระยะหลังนี้ผมพูดไม่ค่อยได้ คือความรู้มันไม่ประมวลเป็นคำพูดน่ะครับ มันหลอมเป็นความเข้าใจโดยไม่ต้องพูดครับ

การแยกไปอัดให้รู้มากขึ้นมากขึ้นนั้น เพราะพี่ได้หลงลืมไปแล้ว ว่า อะไรคือทุกข์ มันเกิดจากการบังคับตัวเองให้ทำ คือเราอยู่ภายใต้ความคิดที่มันสั่งให้เรารู้สึกตัว ให้เราทำ ให้เราฝึก มันไม่เป็นธรรมชาติครับ และการรู้สึกมากขึ้นมากขึ้นแบบนั้นนั่นเอง มันจะมีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้นมาเอง ที่เกิดกับผมนะครับ ตัวจะเบา สมองจะว่างเปล่า โล่งๆ ลอยๆ

จากนั้นความคิดจะเข้าเล่นงานทันที .. “อย่างนี้เอง ไม่มีตัวตน”

มันก็ดีนะครับ แต่ผมกลับพบว่า มันมีเวลาจำกัด มันจะคงสภาวะอยู่ในช่วงเวลาใด ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ตามที่ผมเข้าใจ สภาวะอย่างนั้น ไม่มีประโยชน์บนพื้นฐานของการใช้ชีวิตตามความเป็นจริง

คำว่า “ไม่มีตัวตน” ที่ผมเข้าใจ ไม่ใช่การพูดออกมาจาก สภาวะทางร่างกายที่ไร้ตัวตน แต่เป็นการพูดเปรียบเทียบเชิงอุปมา กับสภาวะที่เราไม่ได้ไปอยู่กับความไม่รู้อีกแล้ว (may be I am wrong)

“ตัวเราไม่มีอีกแล้ว” “หลุดจากอัตตา” สำหรับผมมันหมายถึง การไม่ขึ้นกับความคิดตัวเองอีกแล้ว สภาวะขาดไปแล้ว (condition, which follow any thought) ความคิดไม่มีบทบาทอะไรกับตัวเราอีกแล้ว or You don’t have something to glue. Or you don’t have any conditions to care.

แต่ถ้าพี่เอาคำคำนี้ไปเปรียบเทียบกับ สภาวะที่เกิด พี่จะวนอยู่ในความไม่รู้ครับ

ส่วนการแยกไปรู้สึกเฉยๆ นั้น มันมาจากการเข้าใจว่า ทุกข์คืออะไร และจะวางตัวกับมันเช่นไร มันเป็นการดูความคิด รู้สึกถึงการไหวแบบภายในล้วนๆ ครับ ไม่ได้มีสภาวะพิสดารอะไรให้ไปเปรียบเทียบกับอะไร มันเพียงรู้ทุกข์ ละทุกข์ มันเป็นขั้นตอนที่เกิดพร้อมกัน

ที่มันเป็นอย่างนั้น เพราะ คนเรามันไม่เข้าใจครับ มันไม่รู้ทิศทาง มันใช้ความรู้สึกตัวไม่เป็น มันรู้แต่ว่า ต้องให้รู้สึก ให้รู้สึก ผมถึงบอกพี่อยู่เสมอว่า มันขึ้นอยู่กับว่า ความเข้าใจของพี่ต่อสิ่งที่เรียกว่า ทุกข์ อยู่ที่ระดับไหน

พี่จำได้ไหมครับ พี่เคยถามผมว่า ผมเคยมีสภาวะอย่างนั้น อย่างนี้เกิดขึ้นกี่ครั้ง สำหรับพี่ 2 ครั้ง สำหรับผมมันเป็นคำถามที่ตลกมาก ผมไม่ทราบว่า มันเกิดกี่ครั้ง ผมไม่ได้สนใจ สภาวะที่เกิดกับผม มันเกิดบ่อยๆ เกิดอยู่เสมอ และมันไม่ได้พิสดารอะไร ที่ต้องไปจดจำว่า มันเกิดมาแล้วกี่ครั้ง ผมไม่เคยนับเลย

ในกรณีของพี่ หรือระยะของพี่ จิตมันกำลังสนใจเรื่องของสภาวะที่เกิด มันไม่เป็นอิสระต่อสภาวะที่เกิดครับ

แต่พี่ครับผมอาจจะผิดก็ได้

ขอโทษนะครับที่ผมไม่ใช่อรหันต์ จะได้ชี้ผั๊วะๆ ไปเลยว่า นั่นผิด นี่ถูก

Schoenen Tag noch
จากคุณ : koknam - [ 9 ม.ค. 50 17:53:47 ]
 

_________________
รู้ทุกอย่างที่จิตรู้ แต่อย่าติดในรู้นั้น
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Hero
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 24 ม.ค. 2007
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 24 ม.ค. 2007, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“รู้” ไม่ใช่ “ทำให้รู้”

“การทำให้รู้” คือขั้นตอนเริ่มแรกที่สุดของระยะหัดเดิน ถ้าท่านยังไม่เข้าใจว่า อะไรคือ “รู้” แล้วท่านเป็นคนหนึ่งที่สนใจจะฝึกฝน คนส่วนใหญ่โดยมากจะสอนให้ท่าน จับเอาอะไรบางอย่างมาเป็นฐานของการระลึกรู้ ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกเรียกรวมๆ ว่า “ฝึกสติ”

โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าเข้าใจว่า ถ้าคนคนนั้นเป็นคนที่รู้จัก “พลิก” มันเป็นการเริ่มต้นที่ไม่เลวนัก แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า คนส่วนใหญ่พลิกไม่เป็น เมื่อท่านถูกสอนให้จับเอาอะไรบางอย่างเป็นฐานของสติ ท่านก็จะจับมันอยู่นั่นล่ะ ท่านจะจี้เข้าจี้เข้า เน้นเข้าทะลวงเข้า โดยที่ท่านจะไม่รู้จักอย่างอื่นเลย ท่านจะรู้แต่เพียง สิ่งที่ท่านถูกสอนให้จับเท่านั้น และตามความเข้าใจของข้าพเจ้า ท่านกำลังยืนอยู่ที่ปากทางของ “สมถะ” มันคือการ “ไปทำให้รู้ ในสิ่งที่มันเข้าใจเอาเองว่า นี่ล่ะถูก”

ชีวิตของท่าน ในขณะที่ท่านกำลังรู้ในสิ่งที่ท่านเข้าใจว่า “ใช่” นั้น จะไม่มีอะไรเลยเกิดขึ้นเลยนอกจากความสงบ และสภาวะพิสดารต่างๆ ทำไมมันถึงสงบ เพราะมันเป็นธรรมชาติของจิต ที่จับจ้องอยู่กับอะไรบางอย่างเป็นเวลานานนาน แต่.....

“ท่านกำลังรู้อย่างไม่รู้”

ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ฝึกด้วยวิธี “ทำให้รู้” ท่านคงตอบตัวเองได้อย่างตรงไปตรงมา ว่า โทสะ โมหะ โลภะ ของท่านมันจืดลงไปหรือไม่ ในเหตุการณ์อย่างเดียวกันท่านต้องใช้กำลังอย่างมากเพื่อสะกดมันไว้ หรือว่า มันอ่อนแรงโดยตัวของมันเอง มันไม่เกิดขึ้นมาเอง หรือท่านกำลังหลอกตัวเองและคนอื่นว่า มันไม่เกิด

และนี่คือต้นเหตุ ที่ท่านไม่เข้าใจว่า ทำไมท่านถึงสะดุ้ง ใจสั่น เพราะว่าสภาวะตามธรรมชาติของการ “ทำให้รู้” ของมนุษย์ ยังอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ท่านไม่มีทางจะ “จับ” อะไรให้รู้ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีอะไรที่มีกำลังแรงกว่ากำลังของการเข้าจับที่ท่านมีอยู่ สภาวะจิตจะสะบัดตัวออก ซึ่งท่านเรียกมันว่า “สะดุ้ง”

และนี่คือข้อเสียของลักษณะของสมถะ ที่ข้าพเจ้าได้ประสบรู้มาจากตัวเอง สภาวะอย่างนั้นเป็นสภาวะ ที่คนส่วนใหญ่พยายามจะตะกายมาให้ถึงด้วยซ้ำ โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่า มันไม่ได้มีอะไรวิเศษเลย นอกจากความสงบในระยะเวลาช่วงหนึ่ง มันจะดิ่งสงบมากขึ้นมากขึ้น แต่ไม่มีทางสงบได้ตลอดชีวิต เพราะท่านเป็นสิ่งมีชีวิต

และมันจะต้องใช้กำลังอย่างมาก ที่จิตจะตะกายเข้าไปรู้สภาวะอย่างนั้น ซึ่งมันต่างกันอย่างมากกับการให้ตัวรู้ที่มีอยู่แล้ว ในสิ่งมีชีวิตทุกสิ่ง ได้แสดงตัวของมันออกมาชัดๆ ไม่ต้องทำตัวรู้ขึ้นมา สิ่งที่ท่านต้องทำคือ หมั่นฝึกให้รู้ ตัวที่รู้สึกขึ้นเองนี่อยู่เสมอ แล้วตัวรู้มันจะพัฒนาตัวขึ้นมาเอง

ส่วนการ “รู้” คือขั้นตอนที่พัฒนาตัว ต่อมาจากการทำให้รู้

รู้นี้ รู้อะไร มันคือการ “รู้” สิ่งที่ “ชีวิตมันรู้สึก” ไม่ต้องไปทำให้มันรู้ เพราะถ้าท่านเป็นสิ่งมีชีวิต ท่านจะรู้สึกอยู่แล้ว “ให้มันรู้ ให้ตัวรู้มันอยู่ที่นั้น ที่ที่มันรู้สึก”

ท่านต้องไปอยู่กับการรู้ที่ชีวิตมันมีอยู่แล้ว ..... ไม่ใช่ไปอยู่กับการรู้ที่ท่านสร้างขึ้นมา

การรู้ความรู้สึกนี้ ท่านไม่ต้องไปพยายามทำให้มันต่อเนื่อง เพราะมันต่อเนื่องของมันอยู่แล้ว ยิ่งท่านไปพยามจะรู้ ท่านจะไม่รู้ เพราะมันเป็นการรู้ในสิ่งที่ท่านสร้างขึ้นเอง ไม่ใช่รู้ในสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ ท่านแค่ต้องให้มันรู้ในสิ่งที่มันรู้สึกออกมาเอง ซึ่งสิ่งๆนี้จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่อยู่นิ่ง สลับไปๆมาๆอยู่เสมอ มันมีอะไรให้ท่านรู้ เป็นร้อยเป็นพันอย่าง ไม่ใช่รู้อยู่แค่อย่างเดียว อย่างที่ท่านส่วนใหญ่ยึดเอาลมหายใจมาใช้กำกับตัวเอง

ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ปัญญาเกิดแล้ว ท่านจะสามารถเข้าใจบทความนี้ได้ว่า เจ้าบ้านี่กำลังพูดอะไร มันเป็นอะไรที่ต่างกันมาก จะเรียกว่า คนละขั้นก็ได้ การรู้ในลักษณะที่รู้อยู่บนความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง อันเป็นลักษณะตามธรรมชาติของไตรลักษณ์นี่เอง ความสามารถในการรู้ของท่านจะเร็วมากมาก เพราะไตรลักษณ์มันเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว มันไม่ได้ชากระด้างอยู่แค่อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง

อะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ ให้มันรู้เท่านั้น ไม่มีการเลือกรู้ ไม่มีจริต ไม่มีการบอกตัวเองว่า ชั้นเกิดราศีนี้ ชั้นถูกโฉลกกับการฝึกแบบนั้นแบบนี้ และด้วยการรู้แบบนี้นี่เอง สิ่งที่ท่านรู้ จะจบตัวเองลงไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่การพยายามกดข่มมันไว้ แต่มันเกิดไม่ได้ มันไปไม่ได้ เพราะเป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ ที่มันเป็นอย่างนั้น

ยกตัวอย่างเช่น อาการสะดุ้ง เมื่อท่านเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกถึงทุกอาการที่เกิดอยู่อย่างเสมอ อาการสะดุ้งที่เกิด จะมาพร้อมกับการรู้เสมอ ให้ท่านเข้าไปรู้ เข้าไปเข้าใจอาการขณะที่ท่านไปรู้อาการสะดุ้ง ตรงนั้นนั่นล่ะ ท่านจะไม่สะดุ้งอีกเลย

จับจุดตายนี้ให้ดี

ท่านรู้อาการสะดุ้งได้ เพราะท่านมีชีวิตใช่หรือไม่ ให้ท่านไป “รู้” ตัวที่รู้อาการสะดุ้งนั่นล่ะ (จริงๆ แล้วมันเป็น รู้ ตัวเดียวกัน แต่ข้าพเจ้าอธิบายด้วยภาษาได้แค่นี้) แต่คนส่วนใหญ่ใช้การรู้ไม่เป็น มันช้าการรู้ไป 2-3 ก้าวแล้ว มันไปติดอยู่ที่อาการที่เกิด เพราะมันไม่ทันสภาวะที่รู้พร้อมอาการปรมัตถ์

จงรู้สภาวะปรมัตถ์แรกของมันให้ชัด ให้ชิน เมื่ออะไรก็ตามเกิดขึ้น แล้วมีตัวรู้ไปรู้อยู่ด้วย สิ่งนั้นจะจบตัวเองลงในทันที มันหยุดตัวเองโดยความเป็นธรรมชาติของมัน ไม่ใช่ว่าไปพยายามทำให้มันหยุด ถ้าท่าน “เป็น” ท่านไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น มันทำหน้าที่ของมันเอง

คนที่เข้าใจ ธรรม จึงเป็นคนที่รู้จักใช้หลักลักษณะตามธรรมชาติ ไม่ใช่ไปพยายามสร้างธรรมชาติขึ้นมา สิ่งที่ท่านสร้างขึ้นมาจะไม่มีวันเป็นธรรมชาติ

และขอโทษด้วยที่ท่านจะไม่มีวันเข้าใจบทความเฉกเช่นนี้ได้ ถ้าท่านยังไม่เป็น ก่อนที่ท่านจะเป็น ปัญญาจะต้องเกิดขึ้นกับท่านก่อน และปัญญาอันนี้ไม่ใช่เกิดแล้ว ท่านจะรู้ทุกขั้นทุกตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ท่านจะรู้ทีละเรื่อง ทีละอย่างซึ่งจะร้อยต่อเป็นเรื่องเดียวกันเอง และเมื่อปัญญาเกิดกับท่านมากเข้ามากเข้า ท่านจะไม่เชื่อถืออะไรทั้งนั้น แต่ไม่ใช่การปฏิเสธคอยขัดโน่นขวางนี่ไปเรื่อย หาเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง มันเป็นการไม่เชื่อในลักษณะของ การไม่ยึดถือไม่สนใจหรือเฉยๆ และนี่คือ หลักทั้งหมดของกาลามสูตร ที่ท่านทั้งหลายท่องกันได้ติดปาก แปลกันเอาเองตามชอบใจแต่ไม่เข้าใจและทำไม่ได้

ถ้าปัญญายังไม่เกิดกับท่าน ท่านก็จะเดาเอาส่งเดชว่า มันคงจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะความรู้มันท่วมหัว มีอะไรบ้าง ที่ท่านกล้าบอกตัวเองว่า ท่านรู้ขึ้นมาเอง โดยปราศจากอิทธิพลจากการอ้างอิงจากตำรา หรือคำพูดของคนอื่น เป็นการรู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง ใช้เองล้วนๆ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียกว่า ธรรม ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ท่านรู้แจ้งขึ้นเอง ข้าพเจ้าเรียกสิ่งนั้นว่า “ปัญญา”

ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่ง ที่อ่านหนังสือออกมากกว่าหนึ่งภาษา แต่ข้าพเจ้าแทบจะไม่สนใจความรู้จากการอ่านและการฟัง ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้านี่มันอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ถึงได้ปฏิเสธการเรียนการสอน ธรรม จากตำรา ข้าพเจ้าพูดได้เลยว่า สำหรับข้าพเจ้าตำราไม่มีความหมายอะไรเลย เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการฝึกฝน ไม่มีประโยชน์ต่อการชี้แนวทางใดๆ นอกจากจะทำให้หลงผิดมากขึ้นๆ แต่มันไม่ใช่ความผิดของตำรา แต่เป็นเพราะท่านใช้ความคิดของท่านเข้าถอดรหัสมันต่างหาก เมื่อท่านเป็น ท่านก็จะเข้าใจว่า อะไรกันแน่คือสิ่งที่ตำราพยายามจะบอก และเมื่อท่านเข้าใจ ท่านก็จะไม่สนใจมันอยู่ดี เพราะมันกระด้างเหลือเกิน

ถ้าปัญญาเกิดกับท่านแล้ว ท่านจะเป็นคนหนึ่งที่ “ตอบได้” ว่า “ทำไม” และ “อย่างไร” ไม่ใช่เป็นการตอบได้เพราะไปท่องพระสูตรมา หรือ ไปลอกคำพูดใครมา แต่เป็นการตอบได้เพราะว่า ท่านผ่านมา หลุดมา

ข้าพเจ้าจะถามท่านเล่นๆก็ได้ ถ้าท่านมีปัญญาจะตอบได้นะว่า

“ทำไมต้องรู้ล้วนๆ ?”
“ทำไมต้องทิ้งสิ่งที่รู้ ?”
“ทำไม การรู้ ถึงเป็นหัวใจของการฝึกฝน ?”

สำหรับคนที่ “เอาจริง” และเป็น “คนจริง” ท่านจะสามารถค้นพบ “วิถีของท่าน” ด้วยตัวของท่านเอง จงยืนด้วยขาตัวเองบนทางของท่านเอง

สุดท้ายนี้ ถ้าท่านกำลังคิดจะตอบคำถามของข้าพเจ้าข้างบน ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่า ท่านเป็นคนหนึ่งที่ไม่รู้เรื่อง และอย่าไปพยายามแสดงภูมิของท่านออกมาเลย

สำหรับข้าพเจ้า ผู้ที่เข้าใจจะไม่พยายามหาคำตอบต่อคำถามข้างบนนั่นให้ตัวเอง มันรู้โดยที่ไม่ต้องตอบ “มันเป็นคำถามโง่ๆ ที่ไม่น่าถาม”

และมีแต่คนโง่อย่างข้าพเจ้าเท่านั้น ที่เที่ยวตอบคำถามโง่ๆ ให้กับคนอื่น


ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป
จากคุณ : koknam - [ 22 ม.ค. 50 16:31:10 ]

..................................

ถ้าท่านเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าท่านจะขยับเขยื้อน ไม่ว่าท่านจะคิดอะไร ไม่ว่ากิเลสมันจะเกิดหรือไม่ ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นด้วยเสมอ มันเป็นธรรมชาติที่ท่านจะต้องมีความรู้สึกเพราะท่านมีชีวิต

มันง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ มันง่ายเกินไป แต่มันจะง่ายกับท่านต่อเมื่อ ท่าน “ข้ามความคิด” ของท่านได้ เพราะสิ่งที่ท่านคิด จะบดบังความรู้สึกลักษณะนี้ของท่านเอาไว้ เมื่อท่านข้ามไม่พ้นความคิดของท่านขณะไหนเวลาใด ท่านจะถูกความคิดของท่าน ลากไปตามสิ่งที่มันคิด และลากไปตามเรื่องตามอารมณ์ของมัน และเมื่อนั้นท่านจะล่วงลงสู่ความไม่รู้

ท่านไม่จำเป็นต้องไปสร้างตัวรู้ขึ้นมา แต่ให้เข้าไปรู้ สิ่งที่ชีวิตมันรู้สึกของมันเอง

ให้ท่านฝึกโดยการ “เข้าไปรู้” ความรู้สึกที่เกิดเองอันนี้ จงวิ่งไปรู้ ตัวรู้สึกตัวแรก ที่มันเกิดพร้อมสภาวะใดใดก็ตาม ฝึกรู้อย่างนั้น แล้วท่านจะเข้าใจเองว่า อะไรคือความหมายของ “การจบตัวเอง” หรือ “มันไปไม่ได้”

จากคุณ : koknam - [ 23 ม.ค. 50 00:28:29 ]

..................................
 

_________________
รู้ทุกอย่างที่จิตรู้ แต่อย่าติดในรู้นั้น
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2007, 2:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
 
เจ๊เป็นตุ๊ด
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 พ.ย. 2006
ตอบ: 60
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยสอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 ม.ค. 2007, 6:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมมีมุมมองที่แตกต่างออกไป อยากนำเสนอให้ทุกท่านลองนำไปพิจารณาประกอบกับความรู้เดิมที่ท่านมีอยู่

หลักพุทธ คือ สำคัญที่ใจ อย่าง สมถะ อย่าง สันโดษ หรืออย่างอื่นอีกหลายประการ ล้วนสำคัญที่ใจ ผู้บวชแล้วก็อยู่สมถะได้ กษัตริย์เองก็อยู่สมถะได้ เศรษฐีเองก็อยู่สมถะได้ บัณฑิตเองก็อยู่สมถะได้ คนยากไร้ก็อยู่สมถะได้ สำคัญคือที่ใจ แม้มีเพรชพลอยประดับกายแต่ใจประดับไม่มี แม้มีความรู้รอบประดับกายแต่ใจประดับไม่มี ไม่ได้สร้างเป็นตนให้ยึดไว้ใจประดับจึงไม่มี เหตุที่พระผู้บวชห้ามมีนั่นมีนี่นั้น ด้วยต้องระวังความคิดของผู้ถือศรัธทาเป็นใหญ่ แต่กล่าวโดยความจริงแล้ว พระผู้บวชนั้น ใจประดับไม่มี

ฆราวาสผู้ไม่ได้ครองเพศบรรพชิตแต่ถือธรรมไว้ ก็เช่นว่ามา คือสำคัญที่ใจ ข้อผูกมัดมีน้อยกว่า เทียบได้ระหว่าง ฆราวาสกระทำ พระกระทำ ผลที่เกิดย่อมแตกต่างกัน ในสายตาของผู้พบเห็น

ขอนำกล่าวถึง ประโยดนี้ที่คุณ koknam วางไว้

คำว่า “ไม่มีตัวตน” ที่ผมเข้าใจ ไม่ใช่การพูดออกมาจาก สภาวะทางร่างกายที่ไร้ตัวตน แต่เป็นการพูดเปรียบเทียบเชิงอุปมา กับสภาวะที่เราไม่ได้ไปอยู่กับความไม่รู้อีกแล้ว (may be I am wrong)

ประโยคนี้ในทางธรรมอาจเรียกได้ว่า การหลุดออกอย่างหยาบ

อ่านดูแล้วเหมือนคุณยังเข้าใจไม่ชัดเจน ถึง คำว่า อนัตตา ขอให้อ่าน โศลกนี้ของท่านเว่ยหลาง กล่าวไว้ถึง อนัตตา ในการนำมาใช้ประโยชน์ประกอบการดำเนินชีวิต ท่านกล่าวว่า

เว่ยหลาง ไม่มีวิธี และเครื่องมือ ที่จะกั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง อารมณ์ต่าง ต่าง ย่อมกลุ้มรุมจิตของข้าพเจ้าอยู่เสมอ และข้าพเจ้าสงสัยว่าต้นโพธิจะงอกงามได้อย่างไรกัน

ประโยคนี้ ถ้าต้นโพธิงอกงาม ต้นโพธิจะกลายเป็นอัตตา ท่านเว่ยหลางได้กล่าวโศลกนี้ขัดท่านออหลุนไว้ ด้วยเห็นว่ายังติดอยู่กับความเชื่องช้า

ดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ อารมณ์เปรียบดั่งศร เมื่อรู้ทันจะโดนฤา หากท่านเข้าใจดีแล้ว จะกล่าวไปไยให้มากมาย

สาธุ กระทำทุกสิ่งด้วยวิชชา โยนิโสมนสิการที่ฝึกมาดี แล้ว เมื่อเข้าใจจริง จะหายสงสัยถึงประโยนช์ของมันเอง สวัสดีครับ
 

_________________
ปัญญาอยู่ไหน ที่ไหนมีขายบ้าง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง