Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
พุทธบารมีแผ่ไพศาล คนทั่วโลกหันมาศรัทธาพระพุทธศาสนา
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ศายบุตร
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2005, 1:59 pm
แม้จะล่วงเลยมาถึงกว่า 2,500 ปี แต่พระธรรมคำสอนและหลักปรัชญาอันเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งของศาสนาพุทธ นอกจากจะหยั่งรากลึกเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนอย่างมั่นคงแล้ว ยังแผ่ไพศาลจนได้รับแรงศรัทธาจากผู้คนทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เว้นแม้แต่ในโลกตะวันตก
ชายผู้สอนให้ผมเข้าใจพุทธศาสนามากที่สุดไม่ใช่ภิกษุผู้ปลงผม ไม่ได้พูดภาษาสันสกฤต และไม่ได้อาศัยอยู่ในอารามแถบเทือกเขาหิมาลัย
อันที่จริงเขาไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเสียด้วยซ้ำ คนผู้นี้คือคาร์ล เทย์เลอร์ ชาวซานฟรานซิสโกแต่กำเนิดวัยสี่สิบปลายๆ ในตอนนั้น เขานั่งอยู่บนเตียงคนไข้ซึ่งถูกเข็นไปที่สวนนอกหอผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลลากูนาฮอนดา ดูจากท่าทีเหมือนเขากำลังรู้สึกหนาว แม้จะเป็นยามบ่ายของวันฟ้าใสในฤดูร้อน แต่ในเมืองนี้ ท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆอาจหมายถึงอากาศที่เย็นจับจิต เขากำลังจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ผมเข้าร่วมโครงการเซนสงเคราะห์ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ อาสาสมัครจากองค์กรพุทธศาสนานี้จะช่วยงานเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยขนาด 25 เตียงของโรงพยาบาลลากูนาฮอนดา โครงการสงเคราะห์ผู้ป่วยที่ขยายไปทั่วโลกนี้ใช้พุทธธรรม 2 ข้อ คือ สติ หรือความตระหนักรู้ในปัจจุบัน และความเมตตา เป็นเครื่องช่วยให้ผู้ป่วยภาคภูมิในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตน แต่บทเรียนที่ว่าใช่จะเรียนรู้ได้ง่ายๆ
ผมนั่งข้างๆคาร์ล และช่วยขยับเสื้อแจ๊คเก็ตคู่ใจที่เขาใช้ต่างผ้าห่มให้เข้าที่ คาร์ลปลงตกและยอมรับชะตากรรมด้วยจิตใจที่กล้าหาญ ผมพยายามชวนคุยแต่ก็ฝืดเฝือเต็มที การปลอบโยนคนที่รู้ตัวว่าจะอยู่ได้อีกไม่นานนั้นเป็นเรื่องยากจริงๆ
"คุณทำ... เอ่อ เคยทำงานอะไรหรือครับ" คาร์ลที่กำลังสูบบุหรี่นั่งเงียบโดยไม่ตอบอะไร เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้าขณะที่เราเฝ้ามองกลุ่มเมฆขาวเคลื่อนไปบนท้องฟ้า
"ผมไม่อยากพูดถึงอดีตครับ"
ไม่เป็นไร ผมนึกไล่คำถามอื่นๆเพื่อสานต่อบทสนทนา เมื่อถามถึงอดีตไม่ได้และอนาคตก็ไม่ควรถาม จึงเหลือแต่ปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งก็ไม่มีอะไรจะให้ถาม เพราะปัจจุบันขณะก็คือภาวะที่เป็นอยู่ ผมรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ เพราะเมื่อปราศจากคำถาม นักข่าวอย่างผมก็ไม่รู้จะทำอะไรดี
ทว่าเพียงแค่มีคนนั่งเป็นเพื่อน คาร์ลกลับดูสบายใจขึ้นแล้ว เมื่อยอมรับได้ว่าไม่ต้องทำอะไรและไม่ต้องรีบไปไหน ผมก็รู้สึกผ่อนคลาย คาร์ลเหลือบมองผมแล้วยิ้ม เราทั้งคู่ต่างรู้ว่าผมเพิ่งได้บทเรียนเล็กๆบทหนึ่ง
สัปดาห์นั้นผมยังได้บทเรียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาอีกหลายบท เช่น อนิจจัง หรือความไม่เที่ยงของชีวิต การยึดมั่นถือมั่นให้ทุกสิ่งเป็นไปดั่งใจและความผิดหวังเมื่อไม่สมใจ ความทุกข์ทางกายและทางใจ และคุณค่าของสิ่งที่ชาวพุทธเรียกว่าสงฆ์ ซึ่งแปลให้ใกล้เคียงที่สุดได้ว่า "หมู่หรือคณะ" แต่สิ่งสำคัญที่สุด ผมได้ประจักษ์ว่า สิ่งที่บุรุษผู้หนึ่งในอินเดียเรียนรู้เมื่อ 2,500 ปีก่อนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโลกสมัยใหม่ได้อย่างไร
ปัจจุบันมีพุทธศาสนารูปแบบใหม่เกิดขึ้นทั่วโลก มีการนำพุทธปรัชญามาใช้ในการบำบัดสุขภาพใจและกาย รวมทั้งการปฏิรูปการเมืองและสิ่งแวดล้อม ธรรมะช่วยให้นักกีฬาพัฒนาทักษะ ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงจัดการความเครียดได้ดีขึ้น ช่วยให้ตำรวจคลี่คลายเหตุการณ์วุ่นวาย และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง บทบาทร่วมสมัยเช่นนี้ทำให้พุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นใหม่ แม้แต่ในอินเดียที่พุทธศาสนาเกือบสูญหายไป หรือในประเทศจีนที่พุทธศาสนาเคยเป็นสิ่งต้องห้าม
ปัจจุบันศาสนาพุทธไม่ได้จำกัดวงอยู่ในหมู่ภิกษุ หรือเศรษฐีชาวตะวันตกที่เห่ออารยธรรมตะวันออกอีกต่อไป ชาวคริสต์และชาวยิวหันมาปฏิบัติตามหลักธรรมของพุทธศาสนา ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาฝึกสมาธิร่วมกับชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญบางคนประมาณว่าเฉพาะในสหรัฐฯ มีพุทธศาสนิกชนราว 3 ล้านคน และการวิจัยเมื่อปี 2004 พบว่า ชาวอเมริกันกว่า 25 ล้านคนเชื่อว่า คำสอนของพุทธศาสนามีผลต่อจิตวิญญาณของตนอย่างสูง
โครงการเซนสงเคราะห์ผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือตัวอย่างหนึ่งของ "พุทธศาสนาที่มีบทบาทในสังคม" ซึ่งเป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยติช นัท ฮันห์ ภิกษุเวียดนามผู้ถูกเนรเทศในทศวรรษ 1960 เพราะการต่อต้านสงครามด้วยสันติวิธี ปัจจุบันภิกษุชราวัย 79 ปียังคงทำงานเพื่อสังคม และในปีนี้ซึ่งครบรอบ 30 ปีที่พรรคคอมมิวนิสต์ยึดครองเวียดนาม ท่านใช้เวลา 3 เดือนออกเผยแผ่พุทธศาสนาไปทั่วมาตุภูมิที่ท่านเคยถูกขับไล่
ติช นัท ฮันห์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งและเจรจาสันติภาพระหว่างฝ่ายต่างๆ เช่น ชาวปาเลสไตน์และอิสราเอล ขึ้นเป็นประจำ ณ ศูนย์ฝึกสมาธิประจำหมู่บ้านพลัมทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ท่านเล่าว่า การสัมมนาเช่นนี้มักเริ่มต้นด้วยความโกรธเกลียด แต่มักจบลงด้วยอ้อมกอดเสมอ
ท่านกล่าวเรียบๆว่า "การเปลี่ยนความคิดของผู้เข้าร่วมสัมมนาล้วนเกิดจากสุภาษิตที่ว่า นิ่งเสียตำลึงทอง ในการแก้ไขปัญหาสังคมทุกอย่าง ก่อนอื่นเราต้องเรียนรู้สิ่งที่พุทธองค์ทรงเรียนรู้ นั่นคือการทำจิตให้ว่าง จากนั้นเราจะรู้เองว่าควรทำอะไรต่อไป"
อ่านเรื่องราวทั้งหมดอย่างจุใจได้จาก นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2834
นิพพาน
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 30 ต.ค. 2006
ตอบ: 34
ตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2006, 12:10 am
ชีวิตเรา ชั่งสั้นหนัก
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี
ตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2006, 8:45 pm
ดีครับ ไม่กีดกันว่านั่นเขา นี่เรา ใจกว้างขวางรับสิ่งดีแปลกใหม่ได้ สมกับเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งเรื่องของวัตถุ จิตใจ เสรีภาพความเป็นมนุษย์
นับถือน้ำใจผู้ทำบุญ
ยังรู้น้อยไม่แตกฉาน ขอศึกษา ศึกษา จนเข้าใจ
_________________
กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป
แมวขาวมณี
บัวบาน
เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307
ตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2006, 9:00 pm
ศาสนาเซน ......... มีศาสดา.......ชื่อ ...มหาวีระ ช่ายมะ
_________________
พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา
ชัยพร พอกพูล
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2006
ตอบ: 73
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
ตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2006, 8:49 pm
อ่า... เท่าที่ผมเคยอ่านมา ศาสนาเซนที่ว่านี้ ที่จริงเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน และแตกยอดทางความคิดเป็นนิกายญาณ พอเข้ามาที่ญี่ปุ่นซึ่งออกเสียงญาณไม่ได้ก็เรียกว่า"เซน"แทน แต่เนื่องจากมีวิธีการในการเข้าถึงนิพพานไม่เหมือนกับนิกายหินญาณ หรือแม้แต่ นิกายมหายานเองด้วย การพูดคุยเรื่องธรรมะระหว่างสงฆ์ด้วยกัน ก็เป็นไปแบบอ้อมๆ ไม่ตอบตรงๆ หรือสอนตรงๆ ต้องใช้ปัญญาในการปุจฉา-วิสัชนาอย่างมาก จึงทำให้ฝรั่งเห็นว่าน่าจะเรียกว่าเป็นอีกศาสนาหนึ่ง แยกจากพุทธศาสนาเรา ส่วนเรื่องพระท่านไหนเป็นผู้ตั้งนิกายนั้น ต้องขออภัยครับ จำไม่ได้จริงๆ(ขี้ลืมอะครับ-_-") แต่ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมชย์ เขียนไว้ในหนังสือ "นิกายเซน" ครับ ลองหามาอ่านดูครับ อ่านแล้วเข้าใจเซนขึ้นพอสมควรเลยครับ
_________________
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
แมวขาวมณี
บัวบาน
เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307
ตอบเมื่อ: 17 พ.ย.2006, 6:50 pm
หมายถึง ลัทธิเชนที่มีขึ้นมาพร้อมสมัยพระพุทธเจ้า
มีแนวทางปฏิบัติคล้ายกัน พระมหาวีระเกิดในสกุลกษัตริย์เจ้าลิจฉวี มีกำลังมากเป็นผู้กล้าหาญ
สละราชสมบัติออกบวชเหมือนกันแต่มีข้อแตกต่างในการปฏิบัติน่ะค่ะ
แต่คงไม่ใช่มังค่ะคงชื่อคล้ายกันต้องไปหาอ่านเพิ่มเติม
_________________
พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th