Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปรินิพพาน คืออะไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปาน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2006, 11:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปรินิพพาน หมายถึงอะไร
 
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2006, 2:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือ การดับกิเลสตัณหาได้โดยสิ้นเชิง พ้นความทุกข์ทั้งปวง ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ยิ้ม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2006, 9:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วใครเข้าถึงปรินิพพาน เข้าอย่างไร ถึงอย่างไร อะไรเข้า อะไรถึง
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2006, 11:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แล้วใครเข้าถึงปรินิพพาน เข้าอย่างไร ถึงอย่างไร อะไรเข้า อะไรถึง


การที่วิญญาณของพระอรหันต์ไม่มีการเกิดอีกต่อไป (ปรินิพพาน) ก็เพราะหมดสิ้นเหตุปัจจัยในการเกิดใหม่ คือ อวิชชาได้หมดไป จึงไม่มีการกระทำกรรม เมื่อสิ้นการกระทำกรรม รูปนามจึงดับลง วงจรแห่งการเกิดภพชาติจึงสิ้นสุดลง

ในพระพุทธศาสนาปัญญาเกิดขึ้นได้โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อ อวิชชาหมดไปวิญญาณก็จะเป็นอิสระ หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นแห่งโลกิยธรรมทั้งหลาย จึงมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ดังนั้นในกรณีนี้ ปัญญาคือผู้เข้าถึงพระนิพพาน
 
ยิ้ม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2006, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญาเข้าถึง หมายถึงปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นไปอยู่ในนิพพานหรือ? หรือว่าอย่างไรเรียกว่าเข้าถึง ถามอย่างนี้ถามได้ไหม ซึ้ง
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2006, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ปัญญาเข้าถึง หมายถึงปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นไปอยู่ในนิพพานหรือ? หรือว่าอย่างไรเรียกว่าเข้าถึง ถามอย่างนี้ถามได้ไหม


ปัญญาเข้าถึงในที่นี้หมายถึง ปัญญาที่เห็นโลกตามความเป็นจริง และกำจัดกิเลสต่าง ๆ ให้เป็นสมุจเฉทได้โดยสิ้นเชิง
 
เยี่ยมชม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2006, 5:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญาเข้าถึงนิพพาน ปัญญาเห็นโลกตามความเป็นเจริง ปัญญากำจัดกิเลสโดยหมดสิ้นไม่เหลือ

เป็นปัญญาอย่างเดียวกัน หรือปัญญาคนละอย่าง ?

เป็นปัญญาเกิดคราวเดียวพร้อมกัน หรือปัญญาเกิดคนละคราวไม่พร้อมกัน?
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2006, 8:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ปัญญาเข้าถึงนิพพาน ปัญญาเห็นโลกตามความเป็นเจริง ปัญญากำจัดกิเลสโดยหมดสิ้นไม่เหลือ เป็นปัญญาอย่างเดียวกัน หรือปัญญาคนละอย่าง ?
เป็นปัญญาเกิดคราวเดียวพร้อมกัน หรือปัญญาเกิดคนละคราวไม่พร้อมกัน?


ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาในโลกุตตรจิตเป็นปัญญาอย่างเดียวกัน

เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นทีละขณะ แต่ต่อเนื่องกัน
 
เยี่ยมชม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2006, 2:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โลกุตรจิตนี่เป็น มรรคจิต หรือผลจิต
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2006, 3:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
โลกุตรจิตนี่เป็น มรรคจิต หรือผลจิต


โลกุตตรจิตมีความหมายว่าเป็นจิตที่กำลังประหารและประหารแล้วซึ่งกิเลส หมายความว่าโลกุตตรจิตหรือ มัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่

โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต เป็นจิตที่เสวยผลที่มัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด อันทำให้กิเลสนั้นๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมอง เร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2006, 8:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นและดับแล้ว ผลจิตก็จะเกิดติดต่อกันในทันทีทันใดนั้นเอง โดยไม่มีระหว่างคั่น คือไม่มีจิตใดมาคั่นเลย ดังนั้นจึงเรียกมัคคจิตว่า อกาลิโก เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาลรอเวลาเลย
 
เยี่ยมชม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2006, 9:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อโลกุตรจิตดังกล่าวเป็นมรรคจิต ทำไมจึงกล่าวว่าปัญญาที่เป็นมรรคจิตที่เกิดต่อเนื่องกันหลายขณะ เหตุใดไม่กล่าวว่าเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นในขณะจิตเดียว
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2006, 7:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เมื่อโลกุตรจิตดังกล่าวเป็นมรรคจิต ทำไมจึงกล่าวว่าปัญญาที่เป็นมรรคจิตที่เกิดต่อเนื่องกันหลายขณะ เหตุใดไม่กล่าวว่าเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นในขณะจิตเดียว


การประหารกิเลศได้อย่างเด็ดขาด ไม่สามารถทำการประหารได้ภายในขณะจิตเดียว เพราะว่ากิเลศมีมายมายเหลือเกิน

กิเลส คือ ธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อกิเลสเกิดพร้อมกับจิตใดหรือประกอบกับจิตใดแล้ว ก็ทำให้จิตนั้นเศร้า หมองและเร่าร้อนไปด้วย กิเลสนี้ประกอบเฉพาะอกุศลจิตเท่านั้น ดังนั้นการประหารกิเลสก็เท่ากับประหารอกุศลจิตนั่นเอง
 
เยี่ยมชม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2006, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่ออรหัตมรรคเกิดขึ้น ชื่อว่าโลกุตรจิตประหารกิเลสหรือไม่

หรือว่ายังมีโลกุตรจิตอื่นที่ประหารกิเลส

ถ้ามีโลกุตรจิตอื่น คืออะไร หรือเป็นอย่างอื่น
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2006, 2:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โลกุตตรกุศลจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากโลก เป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส มีจำนวน ๔ ดวง คือ

๑. โสดาปัตติมัคคจิต
๒. สกทาคามิมัคคจิต
๓. อนาคามิมัคคจิต
๔. อรหันตตมัคคจิต


โลกุตตรวิบากจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ผลจิต เป็นจิตที่เป็นผลแห่งโลกุตตรกุศลจิต
เป็นจิตที่พ้นแล้วจากโลก เป็นจิตที่ได้ประหารแล้วซึ่งกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน

เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นและดับแล้ว ผลจิตก็จะเกิดติดต่อกันในทันทีทันใดนั้นเอง โดยไม่มีระหว่างคั่น คือไม่มีจิตใดมาคั่นเลย ดังนั้นจึงเรียกมัคคจิตว่า อกาลิโก เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาลรอเวลาเลย ผลจิตมีจำนวน ๔ ดวง คือ

๑. โสดาปัตติผลจิต
๒. สกทาคามิผลจิต
๓. อนาคามิผลจิต
๔. อรหัตตผลจิต

โสดาปัตติมัคคจิต คู่กับ โสดาปัตติผลจิต

สกทาคามิมัคคจิต คู่กับ สกทาคามิผลจิต

อนาคามิมัคคจิต คู่กับ อนาคามิผลจิต

อรหัตตมัคคจิต คู่กับ อรหัตตผลจิต

คัดมาบางส่วน คู่มือการศึกษา จิตปรมัตถ พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่๑
 
ถามอีกนิด
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2006, 4:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญาเข้าถึงในที่นี้หมายถึง ปัญญาที่เห็นโลกตามความเป็นจริง และกำจัดกิเลสต่าง ๆ ให้เป็นสมุจเฉทได้โดยสิ้นเชิง


เมื่อปัญญาเป็นสมุจเฉท ดังที่อ้างนั้น อ้างว่าเป็นโลกุตรจิตด้วย แสดงว่าโลกุตรจิตอื่น เช่น โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ก็ไม่เป็นปัญญาสมุจเฉท

ดังนั้นมีแต่อรหัตมรรค เป็นปัญญาสมุจเฉท ทำไมจึงกล่าวว่าปัญญานั้นเกิดหลายขณะจิตเล่า
 
ยุทธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2006, 5:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ปัญญาเข้าถึงในที่นี้หมายถึง ปัญญาที่เห็นโลกตามความเป็นจริง และกำจัดกิเลสต่าง ๆ ให้เป็นสมุจเฉทได้โดยสิ้นเชิง


เมื่อปัญญาเป็นสมุจเฉท ดังที่อ้างนั้น อ้างว่าเป็นโลกุตรจิตด้วย แสดงว่าโลกุตรจิตอื่น เช่น โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ก็ไม่เป็นปัญญาสมุจเฉท

ดังนั้นมีแต่อรหัตมรรค เป็นปัญญาสมุจเฉท ทำไมจึงกล่าวว่าปัญญานั้นเกิดหลายขณะจิตเล่า


ผมเริ่มสับสนกับคำตอบที่ผมตอบในกระทู้นี้แล้วละครับ

จากการทบทวนคำตอบที่ผมตอบไปผมมีข้อผิดพลาดอยู่

ตอบคำถามไม่รอบคอบ เพราะปัญญาเป็นเจตสิก ส่วน โลกุตรจิตเป็นจิต

และที่ผมเข้าใจว่า มัคคจิต เกิดขึ้นหลายขณะเพราะผมคิดว่ากิเลสมีมากมาย

ขอบคุณผู้ตั้งคำถามทุกท่าน ครับ สาธุ

เชิญท่านผู้รู้ที่ผ่านมากรุณาไขความกระจ่างด้วยครับ ผมสับสนจริง ๆ ครับ
 
เยี่ยมชม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2006, 5:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความจริงแล้วเป็นคำตอบที่ตอบยาก

ทั้งนี้เพราะการถามมุ่งเจาะจงมากขึ้น บางทีเราไม่นึกว่าตอบพลาด นึกว่าน่าจะถูก เมื่อถามเจาะจงลงไปให้เห็นจึงรู้ว่า บางทีคำถามนั้นยังไม่ควรตอบ หรือควรถามผู้ถามก่อนว่าจะให้ตอบในส่วนไหนให้ชัด

โดยเฉพาะการเห็นนิพพาน การเข้าถึง อาจต้องค้นคว้าว่าเข้าถึงอย่างไร เพราะเป็นเรื่องชัดและละเอียด

แต่ที่ตอบมานั้นถือว่าตอบได้ดีแล้ว แต่ถ้าผู้ถามถามลึกลงไปๆ ก็จะกำหนดกรอบแคบเรื่อยๆ ให้อยู่อย่างเจาะจงเพื่อให้ความจริงปรากฏ
 
เยี่ยมชม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2006, 4:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มรรคจิต เป็นเหตุทำให้เกิดผลจิต เมื่อเกิดผลจิตแล้ว จึงเข้าถึงนิพพาน ปัญหาก็คือว่าผู้ถามถามว่าอะไรเข้าถึง

คำถามนี่เหมือนกับถามว่า เห็น หรือรู้นิพพานได้ยังไง ซึ่งก็น่าจะรู้ด้วยมนายตนะ

ถ้าถูกถามในลักษณะนี้จะตอบยังไง ยิ้มเห็นฟัน อายหน้าแดง
 
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2006, 6:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองดูนิพาน2ประเภทของพระอรหันต์ตามที่ท่านผู้รู้ท่านประมวลไว้น่ะครับ

จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ,
ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่,
นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ;
เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สอุปาทิเสสนิพพาน

อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ,
ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต,
นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ;
เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุปาทิเสสนิพพาน




จาก มหาปรินิพพานสูตร

http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=10&lstart=1888&lend=3915&word1=พระอนุรุทธ&word2=อนุปาทิเสสนิพพาน

“……..อานนท์ ในกาลทั้งสองกายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก
ในกาลทั้งสองเป็นไฉน คือ
ในราตรีที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑
ในราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
ในกาลทั้งสองนี้แล กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก
ดูกรอานนท์ ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้แล ความปรินิพพานของตถาคตจักมีในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในสาลวันอันเป็นที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ในเมืองกุสินารา ……”



และเคยอ่านเจอกรณีที่พระอนุรุทธเถระท่านกล่าวว่า “……จักนิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ…..”

จาก http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=26&lstart=7834&lend=7898&word1=พระอนุรุทธ&word2=อนุปาทิเสสนิพพาน

“…….เราได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้วปลงภาระอันหนักลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ภายใต้พุ่มกอไม้ไผ่ใกล้บ้านเวฬุวคามแห่งแคว้นวัชชี……”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง