Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ยกไฟ ไปลม จมน้ำ ย่ำดิน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
สุนัน
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 10:32 am
การเจริญสติปัฏฐาณ เช่นการเดิน ผู้ปฏิบัติต้องทำความรู้สึก ให้ทราบถึงการทำงานของธาตุทั้งสี่ อย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 2:27 am
กราบสวัสดีคุณสุนัน
สปฺปาย ปริคฺคณฺหนํ สปฺปายสมฺปชญฺญํ นาม ฯ ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่ กำหนด แต่การที่ควรนั้น ได้นามว่า สัปปายสัมปชัญญะ
กมฺมฏฺฐานสฺส ปน อวิชหน เมว โคจรสมฺปชญฺญํ นาม ฯ การเจริญที่มิให้ พ้นจากอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ได้นามว่า โคจรสัมปชัญญะ
อภิกฺกมาทีสุ อสมฺมุยฺหนํ อสมฺโมหสมฺปชญฺญํ นาม ฯ ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่รู้ในการเคลื่อนไหว โดยปราศจากการเคลือบแคลงนั้น ได้นามว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ
ดังนี้ จึงแสดงความหมายแห่งสัมปชัญญะ ๔ นี้ โดยย่อ ๆ ว่า
๑. สัตถกสัมปชัญญะ พินิจประโยชน์ รู้แน่ว่ามีประโยชน์จึงทำ
๒. สัปปายสัมปชัญญะ พินิจถึงการควร รู้แน่ว่าควรทำจึงทำ
๓. โคจรสัมปชัญญะ พินิจในอารมณ์ ไม่ให้คลาดไปจากอารมณ์กัมมัฏฐาน นั้น ๆ
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ พินิจถึงไตรลักษณ์ รู้การเคลื่อนไหวโดยปราศจาก การเคลือบแคลง
การตั้งสติพินิจกาย ที่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นวิธีการเบื้องต้น ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้เห็นรูปธรรม
อันว่า กาย คือ รูปกายหรือสังขารนี้ เป็นที่ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ รูปธรรม ที่มีชื่อเรียกว่า กัมมชรูป ประการหนึ่ง จิต ที่มีชื่อเรียกว่า วิบากจิต ประการหนึ่ง และ เจตสิก ที่ประกอบกับจิตนั้น อีกประการหนึ่ง
ในชั้นต้นนี้ ให้กำหนดดูเฉพาะรูปธรรมแต่อย่างเดียวก่อน เพราะรูปเป็นของ หยาบ เห็นได้ง่าย ยังไม่ต้องพินิจพิจารณาจิตและเจตสิก ซึ่งเห็นได้ยากกว่า
การกำหนดดูรูป ก็เพื่อจะได้รู้เห็นว่า ตามที่ได้เคยยึดถือรูปกายนี้ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลมีตัวตนเราเขานั้น แท้ที่จริงก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมมาประชุมร่วมกันเป็น รูปกาย แม้การเคลื่อนไหวกาย เช่นการเดิน เป็นต้น ก็สักแต่ว่าที่ประชุมแห่งรูป คือ รูปกายนี้ สังขารนี้ กัมมชรูปนี้ เคลื่อนไหวไปด้วยอำนาจแห่งวาโยธาตุ ซึ่งก็เป็นรูป อีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากจิต หาใช่ว่าเราเดินเขาเดินไม่ การรู้เช่นนี้ ชื่อว่าได้เกิดปัญญา รู้เห็นถูกต้องตรงตามสภาพแห่งความเป็นจริงส่วนหนึ่งแล้ว
ที่ว่าการเคลื่อนไหวกายเช่น การเดิน เป็นต้น เคลื่อนไหวไปด้วยอำนาจแห่ง วาโยธาตุนั้น สติปัฏฐานอรรถกถาแสดงว่า
การเดิน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลกายสฺส ปุรโต อภินิหาโร คมนนฺติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกาย ยังให้เคลื่อนไหว นั้น เรียกว่า เดิน (คมนะ)
โก คจฺฉติ ใครเดิน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เดิน
กสฺส คมนํ อาการเดินของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา คจฺฉติ เดินเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การยืน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลกายสฺส โกฏิโต ปฏฺฐาย อุสฺสิต ภาโว ฐานนฺติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกายยังให้เคร่งตึง นั้น เรียกว่า ยืน (ฐานะ)
โก ติฏฺฐติ ใครยืน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ ยืน
กสฺส ติฏฺฐนํ อาการยืนของใคร อาการของจิตตชวาโย
กึ กรณา ติฏฺฐติ ยืนเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การนั่ง จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน เหฏฺฐิมกายสฺส สมิญฺชนํ อุปริม กายสฺส อุสฺสิตภาโว นิสชฺชนาติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่ว สกลกาย ยังให้ส่วนล่างจด และส่วนบนตั้งตรงนั้น เรียกว่า นั่ง (นิสัชชะ)
โก นิสีทติ ใครนั่ง ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ นั่ง
กสฺส นิสีทนํ อาการนั่งของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา นิสีทติ นั่งเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การนอน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลสรีรสฺส ติริยโต นิสารณํ สยนนฺติ วุจฺจติฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกาย ยังให้ยาวเหยียด นั้น เรียกว่า นอน (สยนะ)
โก สยติ ใครนอน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ นอน
กสฺส สยนํ อาการนอนของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา สยติ นอนเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
ที่แสดงเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้ตระหนักว่า การเดิน ยืน นั่ง นอน นั้นเป็นแต่ ความเคลื่อนไหวอันเกิดจากธาตุลมที่มีอยู่ในร่างกาย โดยบัญชาของจิตสั่งให้เป็นไป ไม่มีตัวตน บุคคลสัตว์มาบงการให้เป็นไปแต่อย่างใด อุปมาเช่นเดียวกันกับที่เห็น รถยนต์แล่นไปมา ซึ่งความจริงที่รถแล่นไปมาได้นั้น ไม่ใช่ความสามารถของรถยนต์ หากแต่รถนั้นแล่นไปมาด้วยอำนาจของเครื่องจักรกลที่มีอยู่ในตัวรถ โดยมีผู้ขับคอย บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการฉันใด สังขารร่าง
กายนี้ที่เคลื่อนไหวได้ ก็ อุปไมยฉันนั้น
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 2:37 am
มหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งใน ทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงไว้ว่า
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา
โทมนสฺสํฯ
แปลความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันว่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณากาย ในกายอยู่ เป็นผู้มีความขะมักเขม่น รู้ตัวอยู่ มีสติอยู่ ย่อมกำจัดซึ่ง อภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสียได้
อิติ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ฯลฯ
แปลความว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายในอยู่ด้วย ประการดังนี้ก็ดี พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายนอกอยู่ก็ดี พิจารณาเห็นกายใน กายทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกอยู่ก็ดี ฯลฯ
คำว่า " กายในกาย " และคำว่า กายในกายอันเป็นภายใน กายในกายอันเป็น ภายนอก นี้ มีอธิบายกันเป็นหลายนัย เป็นต้นว่า
๑. กาเย กายานุปัสสี เห็นกายในกาย คำว่า กาเย หมายถึง รูปกาย คือ กัมมชรูปนี้ สังขารนี้ ซึ่งมีทั้งจิต เจตสิก และรูป ส่วนคำว่า กายานุปัสสี หมาย เพียงให้เห็นให้กำหนดดูแต่รูปธรรมเท่านั้น คือให้กำหนดดูเฉพาะรูป
อย่างเดียว ไม่ใช่ให้ดูจิต เจตสิก ที่มีอยู่ในสังขารร่างกายนี้ด้วย
๒. กายในกาย หมายตรง ๆ ว่า รูปในรูป ซึ่งกล่าวเฉพาะรูปธรรมที่มีใน สังขารร่างกาย คือ กัมมชรูปนี้ ก็มากมายหลายรูป แต่ก็ให้ดูเพียงรูปเดียวในหลาย ๆ รูปนั้น เช่นการพิจารณาลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็ได้กำหนดดูวาโยธาตุแต่รูป เดียวหรือกำหนดความเย็นความร้อนของลมหายใจ คือเตโชธาตุ แต่รูปเดียวเท่านั้น
๓. ในทำนองเดียวกัน กับการพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ถ้า พิจารณาอิริยาบถเดิน คือการเคลื่อนไปแห่งสังขารร่างกายนี้ ก็ให้กำหนดดูวาโยธาตุ แต่รูปเดียว ซึ่งเป็นรูปที่สามารถทำให้กัมมชรูป คือสังขารร่างกายนี้
เคลื่อนไหวไปได้
๔. แม้ในอิริยาบถเดิน ซึ่งมีวาโยธาตุสามารถทำให้รูปกายเคลื่อนไปได้นั้น ก็ ยังมีรูปที่อุปการะให้สำเร็จในการเดินอีกหลายรูป คือ เวลายกเท้าขึ้นก็ยกด้วยอำนาจ แห่งเตโชธาตุ เวลาเคลื่อนเท้าก้าวสืบไป ก็ด้วยอำนาจแห่งวาโยธาตุ เวลาที่หย่อน เท้าลงยังพื้น ก็ด้วยอำนาจแห่งอาโปธาตุ และเวลาที่เหยียบเท้าลงถึงพื้น ก็ด้วย อำนาจแห่งปฐวีธาตุ กล่าว
อย่างสั้น ๆ ให้จำได้ง่าย ๆ ก็ว่า ยกไฟ ไปลม จมน้ำ ย่ำดิน ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ให้กำหนดดู วาโยธาตุแต่รูปเดียวในรูปทั้งหลาย ที่กล่าวแล้วนี้
๕. ส่วนคำว่า กายในกายอันเป็นภายใน และกายในกายอันเป็นภายนอกนั้น เช่นการพิจารณาลมหายใจเข้า
ลมหายใจออกที่เป็นไปในรูปกายนี้ ก็เป็นภายใน ลม หายใจเข้าลมหายใจออกที่เป็นไปในรูปกายอื่น ก็เป็นภายนอก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็เป็นไปในสังขารนี้เป็นฉันใด ที่เป็นไปใน สังขารอื่นก็เป็นฉันนั้น ดังนี้เป็นต้น
จาก อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่7 สมุจจยสังคหวิภาค หน้า44-47
สุนัน
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 6:55 am
ละเอียดมากครับขอเวลาศึกษาถ้าผมไม่เข้าใจจะมาตั้งคำถามใหม่ครับ
สาธุครับ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th