Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขรัวตาหัวดื้อ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 8:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องเล่าจากพระสูตร



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ เรื่องมีอยู่ว่า



พระติสสเถระนั้น เป็นโอรสพระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า บวชตอนแก่ บริโภคลาภสักการะอันเกิดขึ้นแล้วในพระพุทธศาสนา มีร่างกายอ้วนพี มีจีวรอันรีดเรียบร้อยแล้ว นั่งอยู่ที่โรงฉันกลางวิหาร พระอาคันตุกะที่มีอาวุโสกว่ามา ก็ไม่ลุกรับ วางท่าว่าเป็นพระเถระภายหลังพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านแล้วถาม ถึงเรื่องพรรษา ได้ความว่าท่านบวชเมื่อตอนแก่ ยังไม่มีพระพรรษา จึงกล่าวเป็นเชิงขู่ว่า ท่านไม่รู้จักประมาณตนพระเถระมาก็ไม่ลุกรับ เป็นต้น



ฝ่ายพระติสสเถระนั้นก็โกรธ ด้วยถือตนว่าเป็นเจ้า ไม่ควรที่ใครๆ จะมาลบหลู่ดูหมิ่น จึงร้องไห้ไปเฝ้าพระศาสดา ขอให้พระองค์ทรงชำระความ ก็ได้ความว่าพระติสสเถระนั้นเองเป็นฝ่ายผิด แต่กลับถือว่าเป็นเจ้าแล้วทรงลงโทษให้ขอขมาพระที่มีอาวุโสกว่า ซึ่งพระติสสเถระแสดงอาการกระด้างกระเดื่องไว้ และก็หาทำตามพระพุทธบัญชาไม่ คงดื้อดึงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ติสสภิกษุนี้จะเป็นผู้ดื้อด้านใน บัดนี้ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เคยเป็นผู้ดื้อด้านมาแล้ว ดังนี้แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า



ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพาราณสี เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี ดาบสชื่อเทวละ อยู่ในหิมวันตประเทศ ๘ เดือนประสงค์จะเข้าไปอาศัยพระนครอยู่ ๔ เดือน เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงมาจากหิมวันตประเทศ เข้าไปยังพระนคร ไปขออา ศัยอยู่ที่โรงช่างหม้อ และในเวลาอันไล่เลี่ยกันนั้น ก็มีดาบสรูปหนึ่งนามว่า นารทะ มาจากหิมวันตประเทศเช่นเดียวกันก็เข้าไปขออาศัยที่โรงช่างหม้อสักราตรีหนึ่ง นายช่างหม้อจึงบอกว่า ในโรงหม้อของตนนั้นมีดาบสอื่นมาขอ อาศัยอยู่ก่อนแล้ว ขอให้ท่านไปถามดาบสรูปนั้นว่า ท่านจะพอใจให้พักด้วยหรือไม่ ถ้าท่านไม่ขัดข้อง ก็ขอให้พระคุณเจ้าจงพักตามอัธยาศัยเถิด



นารทดาบส จึงเข้าไปหาเทวลดาบส บอกความ ประสงค์ของตนแก่ท่านดาบส เทวลดาบสไม่ขัดข้อง ยอมให้นารทดาบสพักอา ศัยอยู่ด้วยกัน ดาบสทั้งสองรูปพูดจาปราศรัยกันให้ระลึกถึงกันและกัน ในเวลาจะนอนนารทดาบสกำหนดที่นอนแก่เทวลดาบสว่าให้นอนหันศีรษะและปลายเท้าไปทิศทางใด และกำหนด ว่าประตูอยู่ทางไหน จึงเข้านอน



ส่วนเทวลดาบสนั้น ครั้นถึงเวลานอน หาได้นอนในที่ของตนไม่ แต่ไพล่ไปนอนขวางประตูเสียนี่ แล้วก็หันศีรษะและทิศทางไปในทิศตรงข้าม นารทดาบสตื่นขึ้นมาในตอนดึกจะออกไปข้างนอก จึงเหยียบเข้าที่ชฏาของเทวลดาบส เทวลดาบสตื่นขึ้นมาก็โกรธด่าว่าพึมพำส่วนนารทดาบสก็ขอโทษว่า



“ท่านอาจารย์ ผมไม่ได้เจตนาเหยียบท่าน เมื่อตอน ที่ผมจะนอนก็กำหนดทิศทางว่าท่านอา จารย์นอนตรงไหนหันศีรษะและเท้าไปทางไหน ผมก็เดินมาทางปลายเท้าของท่าน ไม่ทราบว่าท่านได้เปลี่ยนที่นอนเสียใหม่จากทิศทางเดิม จึงทำให้ผมเหยียบชฎาของท่านอาจารย์”



ขณะที่เทวลดาบสบ่นพึมพำอยู่นั้น นารทดาบสก็ได้ออกไปข้างนอกแล้ว เทวลดาบสจึงคิดว่า “ถ้าเราจะนอนหันศีรษะตามเดิม เดี๋ยวเจ้าดาบสนั่นก็จะเหยียบ หัวเราเป็นแน่” ดังนี้แล้วจึงหันศีรษะกลับไปทางเท้า เอาเท้ามาอยู่ทางศีรษะ



ฝ่ายนารทดาบส เมื่อจะกลับเข้ามายังโรงช่างหม้อ ก็คิดว่า เมื่อกี้เราออกมาเหยียบชฎาของเทวลดาบส คราวนี้เราจะเข้าไปทางปลายเท้าของเทวลดาบส คิดดังนี้แล้วจึงเดินเข้าไปยังโรงช่างหม้อ จึงเหยียบเข้าที่คอ ของเทวลดาบส ทำให้เทวลดาบสโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เพราะโดนเหยียบถึงสองครั้งสองคราสุดจะอดกลั้นไว้ได้จึงด่าทอนารทดาบสโดยประการต่างๆ ฝ่ายนารทดาบสก็ขอโทษเพราะไม่ทราบว่า ท่านเทวลดาบสนั้นนอนกลับ ทางจึงทำให้ตนเหยียบเข้าที่คอ จะร้องขอให้เทวลดาบสอดโทษตน อย่าโกรธตนเลย เพราะตนไม่ได้แกล้ง



แต่เทวลดาบสไม่ยอมฟังเสียงร้องขอของนารทดาบส จึงแช่งนารทดาบสว่า



“พระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน มีเดชตั้งร้อย เป็นผู้ขจัด ความมืด เมื่ออาทิตย์อุทัยขึ้นแต่เช้า ขอศีรษะของท่าน แตกออกเป็น ๗ เสี่ยง”



เมื่อเทวลดาบสกล่าวแช่งนั้นแล้ว นารทดาบสจึง กล่าวว่า



“ท่านอาจารย์ ผมไม่มีความผิด เมื่อผมพูดไม่ทัน ขาดคำท่านก็แช่งแล้ว เอาเถิด..ผู้ใดผิด ศีรษะของผู้นั้นจงแตกเถิด ศีรษะของผู้ไม่มีความผิดอย่าแตกเลย” แล้วได้กล่าวแช่งเหมือนเทวลดาบสนั้น



นารทดาบสเป็นผู้มีอานุภาพมาก ระลึกชาติได้ ๘๐กัป คือในอดีต ๔๐ กัป ในอนาคต ๔๐ กัป ดังนั้นจึงสามารถตรวจดูได้ว่า คำสาปแช่งจะตกไปอยู่กับใครหนอเมื่อทราบแน่ว่าถูกเทวลดาบส จึงอาศัยความเอ็นดูต่อเทวลดาบส ห้ามมิให้พระอาทิตย์ขึ้นด้วยกำลังฤทธิ์ ของตน



ชาวพระนคร เมื่อไม่เห็นอรุณขึ้น จนผิดเวลา จึงพากันไปสู่ประตูพระราชวัง คร่ำครวญร้องทุกข์ต่อพระราชาขอให้พระองค์ทรงทำ ให้พระอาทิตย์ขึ้นมา พระราชาตรวจดูกายกรรมแล้ว ไม่ทรงเห็นสิ่งใดจะเป็นการไม่สมควร จึงทรงดำริว่า น่าจะเป็นการทะเลาะวิ วาทกันในพวกบรรพชิตผู้มีฤทธิ์ จึงตรัสถามพวกราชบริพารว่า ในพระนครนี้มีพวกบรรพชิตอยู่บ้างหรือไม่ เมื่อพวกเขากราบทูลว่า เมื่อเย็นวานนี้ มีดาบสมาอาศัยอยู่ที่โรงช่างหม้อ พระราชาจึงได้เสด็จไป มีพวกราชบริพารถือคบเพลิงนำเสด็จ ครั้นถึงแล้วก็ทรงนมัสการนารทดาบส และประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหน้า ตรัสว่า



“ข้าแต่นารทะผู้เป็นเจ้า การงานทั้งหลายของชาวชมพูทวีปเป็นไปไม่ได้ โลกมืดมนไปเพราะเหตุใด? ท่านอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดบอกเหตุที่โลกมืดมน แก่ข้าพเจ้า”



นารทดาบสเล่าเรื่องทั้งปวงถวายแล้ว และขอให้พระราชาตรัสสั่งให้เทวลดาบสขอโทษตน ตนก็จะถอนคำแช่ง อรุณก็จะขึ้นตามปกติ ทั้งเทวลดาบสก็จะพ้นคำสาป ศีรษะจะไม่แตกออกเป็น ๗ เสี่ยง



พระราชาจึงรับสั่งให้เทวลดาบสขอโทษนารทดาบสเสีย แต่ด้วยความเป็นคนหัวดื้อ จึงไม่ยอมขอโทษ ท้ายที่สุดพระราชาต้องสั่งให้ราชบริพารจับคอจับศีรษะของเทวลดาบสให้ก้มลงเพื่อขอโทษนารทดาบส ถึงกระนั้นก็ไม่ยอมกล่าวคำขอโทษโดยสมัครใจ



นารทดาบสจึงกราบทูลว่า เมื่อเทวลดาบสไม่ยอม ขอโทษโดยความสมัครใจ คำสาปแช่งจะไม่เสื่อมไป ขอให้พระองค์รับสั่งให้ราชบริพารทั้งหลายเอาดินเหนียว โปะลงบนศีรษะของเทวลดาบส แล้วให้ยืนอยู่ในที่สระน้ำ แล้วกดคอให้ศีรษะจมน้ำ อาตมภาพจะถอนฤทธิ์ ในเวลาที่อาตมภาพคลายฤทธิ์นั้น ให้เทวลดาบสดำน้ำไปโผล่อีกด้านหนึ่ง



พระราชารับสั่งให้ราชบริพารทำตามคำของนารทดาบสแล้ว และเวลาที่เทวลดาบสถูกจับกดน้ำ นารทดาบสก็คลายฤทธิ์ พระ อาทิตย์ก็ขึ้นแล้ว เทวลดาบสก็ดำน้ำไปโผล่อีกฟากหนึ่ง เมื่อศีรษะกระทบแสงพระอาทิตย์ ดินเหนียวที่พอกไว้ก็แตกออกเป็น ๗ เสี่ยง เทวลดาบสก็ดำน้ำหนีไปที่อื่นแล้ว



พระศาสดาครั้นได้แสดงพระเทศนานี้แล้ว ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระราชาในกาลนั้นเป็นพระอานนท์ เทวลดาบสเป็นพระติสสะ นารทดาบสได้เป็นเราเอง ถึงในครั้งนั้นติสสะนี้ก็เป็นผู้ว่ายากอย่างนี้เหมือนกัน แล้วทรงตักเตือนพระติสสะด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า



“ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธว่า ผู้โน้นได้ด่า เรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่ระงับได้ ชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นว่า ผู้โน้นด่าเรา ผู้โน้นได้ตี เรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับได้”



เมื่อจบเทศนา ภิกษุแสนหนึ่งได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์ต่อมหาชน และพระติสสะก็กลายเป็นผู้ว่าง่าย ดังนี้แล



จากเรื่องราวนี้ มีข้อน่าคิดอยู่ไม่น้อยคือ นักบวชนั้นมีหน้าที่สรงประทีปคือ สั่งสอนธรรมแก่ชาวบ้าน ถ้า นักบวชทะเลาะกันเสียแล้ว โลกก็มืดเท่านั้นเอง



-------------------------------------------------

คัดลอกมาจาก
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000147172



 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
นิดหน่อย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2005, 12:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ให้ข้อคิด และสาระดีมากเลยค่ะ



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง