Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
  ตอบหน่อย ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ใฝ่ธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2005, 9:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากรู้ลักษณะของพระพุทธศาสนา ช่วยตอบหน่อยยยยยยยย
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2005, 10:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อริยสัจสี่ครอบคลุมหลักการของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น



- หลัก "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์"

- หลัก "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

- หลัก "เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์" หรือ

- หลัก "อิปัปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทกับนิพพาน"



ทุกหลักรวมอยู่ในหลักอริยสัจสี่ ทั้งนั้น



ขอย้ำว่า "อริยสัจสี่" คือ หลักที่โยงความจริงในธรรมชาติมาสู่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพราะลำพังกฎธรรมชาติเอง ตามธรรมดาถ้าเราไม่รู้วิธีปฏิบัติ ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้ลำดับ เราก็สับสน



พระพุทธเจ้าทรงต้องการให้เราได้ประโยชน์จากกฎธรรมชาติโดยสะดวก จึงนำมาจัดรูป ตั้งแบบ วางระบบไว้ให้ เรียกว่า อริยสัจสี่ โดยลำดับให้เห็นชัดเจน เป็นทั้งวิธีสอน วิธีแก้ปัญหา และวิธีลงมือทำ เมื่อทำตามหลักอริยสัจสี่ ความจริงของธรรมดาที่ยาก ก็เลยง่ายไปหมด




อ่านต่อ...http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/page01.php
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2005, 10:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/index.php?Category=d_book&No=247
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2005, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อริยสัจ 4 ดังที่คุณปุ๋ยบอกมานั่นแหละครับ คือ

1. ทุกชีวิตมีความทุกข์ครับ ไม่ว่าจะยากดีมีจน ล้วนมีความทุกข์ และความทุกข์ที่สำคัญที่สุด คือ ความทุกข์จากใจของเราเอง

2. ทุกชีวิตสามารถพัฒนาจิตใจตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งๆ ขึ้น จนสามารถพ้นทุกข์ได้ครับ

ด้วยรายละเอียดวิธีการในอริยสัจ 4 ย่อแล้วเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละครับ
 
ปิงปอง ม.ราม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2005, 7:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในความเห็นของผมพุทธศาสนามีคำสอนใน 2 เรื่องใหญ่คือหลักธรรมกับกฎแห่งกรรม ในเรื่องหลักธรรมนั้นจะสอนหลักปฏิบัติที่มีลักษณะใช้ในชีวิตประจำวันเช่นอิทธิบาท4 สังคหวัตถุ4เป็นต้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขในการดำรงชีวิตประจำวันซึ่งเป็นประโยชน์ในชาตินี้ และสอนเรื่องการทำบุญทำความดีเพื่อเป็นเสบียงสำหรับบุคคลที่ยังทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้เป็นประโยชน์ในชาติหน้า เรื่องอริยสัจ 4การนั่งสมาธิ นั่งวิปัสสนาเพื่อกำจัดกิเลสเพื่อประโยชน์สูงสุดคือหxxxิเลสไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เรื่องต่อไปคือเรื่องกฎแห่งกรรม หรือกฎแห่งการกระทำในวันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บำเพ็ญเพียรในวัน ขึ้น15 ค่ำเดือน 6เมื่อมีอายุ 35 พรรษาได้พบความจริงในคืนที่ตรัสรู้ว่า ที่คนเราเกิดมามีสภาพแตกต่างกันทั้งในเรืองรูปร่างหน้าตา ฐานะ ผิวพรรณ บริวาร เพราะว่ามีการกระทำที่แตกต่างกันในอดีตชาติ บุคคลที่เกิดมามีรูปงามเพราะทำกรรมมาประเภทหนึ่ง ส่วนคนทีเกิดมามีฐานะร่ำรวยก็ทำกรรมมาประเภทหนึ่ง ไม่มีสิ่งที่เกิดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีสาเหตุ
 
ใฝ่ธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2005, 10:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกคน หลงประเด็นในคำถามกัน คำถาม ถามถึงลักษณะของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หลักคำสอน แต่ถึงยังไงก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้ความเห็น





ขออนุโมทนา



ใฝ่ธรรม
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง