Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การปฏิบัติธรรมตอนที่ 2 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2005, 5:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การหวังผลในการฝึกเพื่อให้ได้อภิญญา นั้น เป็นความหลงอย่างละเอียด แต่การฝึกตนในทางศาสนาพุทธ ที่ถูกต้องย่อมต้องผ่านอภิญญา คือย่อมต้องมีอภิญญา จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ มีเป้าหมายอยู่ที่การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ถือเอา นิพพานเป็นสุดยอดแห่งการฝึก

จุดเริ่มต้นแห่งการฝึกนั้น ท่านทั้งหลาย ต้องมีความรู้ความเข้าใจในทางที่ถูกต้อง ต้องรู้และทำความเข้าใจว่า ศาสนามีเป้าหมายให้เราท่านทั้งหลาย รู้และเข้าใจในธรรมชาติ [SIZE=13]มิใช่ให้เราท่านฝืนธรรมชาติ มิใช่ให้เราท่านฝืนธรรมชาติ

การที่เราได้รู้และเข้าในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ย่อมเป็นความรู้ในทางที่ถูกต้องและเป็นชั้นพื้นฐาน อันนับตั้งแต่ตัวเราเป็นต้นไป เป็นหนทางที่จะนำเราท่านทั้งหลายมุ่งไปสู่จุดหมาย ในทางศาสนาพุทธสูงสุดคือชั้นนิพพาน อย่างไม่ได้เลย ก็สามารถขจัดอาสวะได้เป็นบางส่วน ก็นับว่าดีเลิศ การทำความเข้าใจและรู้ในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนั้น ย่อมต้องมีความรู้ความเข้าใจตามกฎเกณฑ์กติกาแห่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ย่อมต้องรู้และเข้าใจตามสภาพสังคม ,เศรษฐกิจ,สภาพสิ่งแวดล้อม, ต้องรู้และเข้าใจตามลักษณะอาชีพ ลักษณะเพศ รวมไปถึงการขัดเกลาทางสังคมและกรรมพันธุ์

การที่เราเรียนรู้และทำความเข้าใจในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จะเป็น ญาณ คือ ความปรีชาหยั่งรู้ หากจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ เกิดประสบการณ์ และย่อมนำไปสู่การเกิด ความจำ ความรู้สึก การปรุงแต่ง

การเรียนรู้และทำความเข้าใจในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนี้ จะทำให้เราเกิดสมาธิหรือเป็นการฝึกสมาธิอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้เกิดปัญญาตามมาอย่างแน่นอน ที่กล่าวไปแล้วนี้ เป็นแบบเรียนชั้นพื้นฐานที่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าที่จะทำความเข้าใจและรู้อย่างถ่องแท้

การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตนั้น ต้องมองจากตัวเราออกไป มองจากภายในตัวเราออกไปสู่ภายนอก แล้วเปรียบเทียบภายนอกกับภายในตัวเรา เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และประการที่สำคัญ ต้องมองภายนอกอย่างธรรมชาติจริงๆ ไม่ใช่มองอย่างฝืนธรรมชาติ อย่ามองในแง่ปทัสฐานของสังคมทั่วไป เช่น ดี หรือไม่ดี แต่ให้มองว่า ธรรมชาติแห่งการดิ้นรนของสรรพสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดย่อมเป็นอย่างนั้น เช่นเชื้อโรค ย่อมทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นี้เป็นการยกตัวอย่างของสัตว์หรือพืชชั้นต่ำที่เราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนที่เราท่านทั้งหลายสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีอีกมากมายศึกษาดูเถิด

หลักสูตรอภิญญา ตอนที่ 2 เรื่องธรรมชาตินี้ ย่อมมีประโยชน์ต่อทุกท่าน และเป็นบันไดก้าวที่ 2 ต่อจากตอนที่หนึ่ง ที่ผู้ฝึกตน ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจก่อนที่จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไป

 
ทิดแฉ่ง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2005, 7:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บทความทั้งสามนี้ ดีมากๆคับ ขอเชิญให้เขียนทำนองนี้ส่งมาอีกเพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการฝึกปัญญาสัมมาทิฐิ ชาวพุทธเราเมื่อได้อ่านแล้วจะเสริมปัญญาทางธรรมให้ยิ่งๆขึ้นไป ปัญญาทางธรรมนี้ ครอบคลุมรวมไปถึงปัญญาทางโลกด้วย จะอยู่ในโลก อย่างสงบสุขปลอดภัย ไม่ต้องพึ่งยาระงับประสาท และไม่ถูกพาลฉ้อฉลหลอกลวง ยิ่งพาลในวงพุทธศาสนาแล้ว นับวันจะมีชุกชุมขึ้นทุกวัน พวกนี้เกาะชายผ้าเหลืองพระพุทธเจ้าหาความมั่งคั่งใส่ตัวและพวกพ้อง พวกนี้ไม่ชอบให้ชาวพุทธฉลาดและรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมพาล หากมีกัลยาณมิตร เสนอบทความเสริมปัญญาให้ชาวพุทธมีความเฉลียวฉลาดแล้วละก็ พวกพาลเหล่านั้น จะเข้าไปเสนอคความเห็นป่วน เบี่ยงเบนประเด็น เพื่อดิสเครดิต และลดความน่าเชื่อถือของบทความนั้นๆให้ตกขอบไป พวกนั้นทำสำเร็จมาหลายงานนับไม่ถ้วน ดังนั้น ถ้าส่งบทความดีๆอย่างนี้มาอีก แล้วถูกเหยียบย่ำ(กะทู้นี้เหมือนยังไม่โดน ก็ดีแล้ว) อย่าเพิ่งท้อใจหxxxำลังใจเลิกทำไปนะครับ ขอให้เห็นแก่ชาวพุทธแท้ๆที่กำลังพัฒนาจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และอย่างน้อยท่านก็จะได้บารมีด้วย ผู้ฉลาดทางโลกแต่เพียงอย่างเดียวไม่เสมอไปที่จะฉลาดทางธรรม อาจพลาดไปสร้างอกุศลกรรม ให้เดือดร้อนแก่ตนเองภายหลังได้





:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::



ข้อความที่จะพิมพ์นี้ ลอกมาจากบทความข้างบนกะทู้ ซึ่งตรงหลักธรรมที่สุด " การที่เราได้รู้และเข้าใจในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง(ความเห็นทิดแฉ่ง คือ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นธรรมนูญสูงสุดในแปดหมื่นสี่พันพระธรรม) ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ย่อมเป็นความรู้ในทางที่ถูกต้องและเป็นขั้นพื้นฐาน อันนับตั้งแต่ตัวเราเป็นต้นไป เป็นหนทางที่จะนำเราท่านทั้งหลายไปสู่จุดหมาย ในทางพุทธสูงสุด คือ ขั้นนิพพาน อย่างไม่ได้เลย ก็สามารถขจัดอาสวะได้เป็นบางส่วน ก็นับว่าดีเลิศ"



*****************************************************************************************************

ข้อความข้างบนนี้ เป็นหลักธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ออกจากวังวน ที่จะพูดต่อไปนี้ ซึ่งนักปราชญ์ ท่านปรารภลักษณะสัตว์โลกในวังวนไว้ ว่า <> <> <> <> <> ~~~~~~นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ ชาวโลกไม่เห็นโลก อวิชชาพาให้ติดข้องอยู่ในภพทั้งสาม ชั่วกัปชั่วกัลป์~~~~~~~<> <> <> <><>



คติพจน์ประจำค. ห.นี้ คือ คนโง่และคนเกียจคร้านย่อมตกเป็นเหยื่อของหมู่พาลฉ้อฉล ผู้มีปัญญาสัมมาทิฐิเท่านั้น จีงจะเอาตัวรอดได้
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง