รูปภาพ - พระพุทธศาสนา :: Dhammajak.net

รายการอัลบั้ม อัพโหลดล่าสุด ความเห็นล่าสุด แสดงมากสุด คะแนนสูงสุด My Favorites ค้นหา

 

หน้าหลัก > ภาพพระพุทธศาสนา > พระเจดีย์

พระธาตุดอยสุเทพ
ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
ถ.ศรีวิชัย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
 
stupa006.jpg  stupa005.jpg  stupa002.jpg  t_P24.jpg  101_0127.jpg 
 
ให้คะแนนภาพนี้ (คะแนนตอนนี้ : 0.9 / 5 with 66 votes)
แย่มาก
ต้องปรับปรุง
พอใช้
ดี
ดีมาก
โอ้ว..พระเจ้าจอร์ช!!  มันยอดมาก...
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:06 AM]
?พระธาตุดอยสุเทพ? สร้างขึ้นในสมัย ?พระเจ้ากือนาธรรมิกราช? เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๙ โดยพระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระ นำมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งได้ขุดพบจากนิมิตฝันของพระมหาสุมนเอง เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสู่เชียงใหม่แล้ว พระธาตุได้แยกเป็นสองส่วน พระเจ้ากือนาทรงเลื่อมใส ได้อัญเชิญบรรจุไว้ที่ ?พระธาตุวัดสวนดอก?
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:11 AM]
ส่วนองค์ที่สอง ได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างเพื่อเสี่ยงทายว่า ช้างหยุดที่ใด ก็จะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นั่น แล้วปล่อยช้างไป ช้างได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ขึ้นไปยังดอยสุเทวะฤาษี หรือดอยสุเทพปัจจุบัน แล้วมาหยุดที่ยอดดอยสุเทพ พระเจ้ากือนาจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ ณ ที่นั้น มีขนาดสูง ๕ วา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๖
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:15 AM]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๘ พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ของเชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะพระเจดีย์ โดยได้นิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิ จากลำพูนมาเป็นประธานการบูรณะ โดยขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม สูง ๑๑ วา กว้าง ๖ วา ที่ปรากฏทุกวันนี้
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:21 AM]
รอบองค์พระธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการ ได้แก่..... (๑) ฉัตร ๔ มุม ทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง ๔ ทิศ
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:25 AM]
(๒) สัตติบัญชร หรือรั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของ "โทณพราหมณ์" เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่ง โดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระธาตุ
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:27 AM]
(๓) หอยอ ลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้านของพระธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:33 AM]
(๔) หอท้าวโลกบาล ซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระธาตุ หมายถึงที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระธาตุ ได้แก่.....๑. ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ.....๒. ท้าวธตรัฐ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก.....๓. ท้าววิรูฬปักข์ มีฝูงนาคเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก.....๔. ท้าววิรุฬหก มีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้
dhammajak [เม.ย. 22, 2006 at 09:37 AM]
(๕) ไหดอกบัว หรือปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่า เต็ม, สมบูรณ์ ; ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย
123456 [พ.ค. 18, 2006 at 01:24 PM]
:roll: เคยไปมาแล้ว
  • หน้าแรกธรรมจักร  • เว็บบอร์ด  • ห้องสนทนา  • หนังสือธรรมะ  • บทสวดมนต์  • กฏแห่งกรรม  • รวมเว็บ