๘. กัณฑ์กุมาร :: พระเวสสันดรตรัสเรียกลูกกัณหาชาลีขึ้นจากสระ เพื่อนำไปให้ทานแก่ชูชก
|
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่า จึงเข้าเฝ้าเพื่อขอสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จใจสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า ช้าๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก
๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้, ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประนามและเฆี่ยนตีชาลี-กัญหา ต่อเฉพาะพระพักตร์
๔. วิสัยหญิงนั้น แม้จะมากอยู่ด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องทุกข์แก่ผู้อื่นก็จริงอยู่ แต่เว้นอย่างเดียวที่ผู้หญิงนั้นไม่มีวันจะสละสิ่งนั้นคือ ลูก
|
|
ให้คะแนนภาพนี้ (คะแนนตอนนี้ : 1.7 / 5 with 90 votes) |

|

|

|

|

|

|