![]() |
![]() |
||
|
|||
©
หนึ่งคือประพฤติศุภะสำรวม จิตะมุ่งมนูญผล จาก พระนลคำหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ตลอดมาว่า ทรงเคร่งครัดในการรักษาศีล และทรงมีน้ำพระทัยนับถือพระพุทธศาสนาโดยบริสุทธิ์ ดังจะเห็นได้จากการเสด็จออกทรงผนวชรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเมื่อทรงผนวชแล้วได้เสด็จมาประทับรักษาศีลตามพุทธบัญญัติ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยประทับ ณ "พระตำหนักปั้นหย่า" แล้วจึงเสด็จมาประทับ ณ "พระตำหนักทรงพรต" ตามขัตติยราชประเพณี แม้เมื่อทรงลาผนวชแล้ว พระองค์ยังคงเสด็จมาประทับนั่งสมาธิกรรมฐานเป็นครั้งคราว ณ พระตำหนักทรงพรตนี้ ตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช ทรงดำรงพระองค์ได้งดงามบริสุทธิ์ สมควรแก่การเป็นพุทธสาวก จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา แก่พสกนิกรโดยทั่วหน้า เมื่อทรงลาผนวชมาอยู่พระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราชแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงประพฤติอยู่ในศีลโดยบริสุทธิ์ กล่าวคือ ทรงประพฤติพระราชจริยาในทางพระวรกายและในทางพระวาจาให้สะอาดงดงามถูกต้องอยู่เป็นนิจ
ไม่เคยบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นศีลในการปกครอง หรือศีลในทางศาสนาก็ตาม
ส่วนศีลในทางศาสนา อย่างน้อยคือศีลห้าอันเป็นศีลหรือกฎหมายที่ใช้ในการปกครองแผ่นดินมาตั้งแต่อดีตก่อนพุทธกาลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ที่มิได้นับถือพุทธศาสนา พระองค์ทรงสนับสนุนให้ยึดมั่นตามคำสอนแห่งศาสนาอันตนศรัทธา ด้วยทรงตระหนักว่าทุกศาสนามีหลักคำสอนที่นำไปสู่การประพฤติดี ศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันของชนหมู่มาก แม้บัดนี้ในการปกครองจะมีกฎหมายอยู่แล้วก็ยังต้องอาศัยศาสนาเป็นเครื่องอุปการะ ด้วยกฎหมายบังคับได้เพียงแค่กาย ส่วนศาสนาสามารถเข้าถึงจิตใจ น้อมนำไปปฏิบัติตามโดยไม่ต้องบังคับ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองบ้านเมืองด้วยกฎหมายและศาสนา ประกอบกับการที่ทรงสมาทานศีลอย่างเคร่งครัดดังปรากฎในที่ทุกสถาน ชาวไทยจึงมีความสุขสงบและวัฒนาด้วยศีลบารมีแห่งพระองค์ ©
ด้วยท้าวประพฤติศุภะสำรวม จิตะมุ่งมนูญผล .......................................................... |
|||
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |