วันเวลาปัจจุบัน 16 มิ.ย. 2024, 14:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้รู้ช่วยอธิบายให้ฟังด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 05:27
โพสต์: 49

อายุ: 0
ที่อยู่: www.ccagthailand.com

 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบ พอดีกับคำถาม

นก อยากรู้เื่รื่องของ ปลา ก็ลองไปเป็นปลาดู ครับ
ปลา อยากรู้เรื่องของ นก ก็ลองไปเป็นนกดู ครับ


นิพพานเป็นสิ่งที่ อยู่
นอกเหตุเหนือผล
นอกเกิดเหนือตาย
นอกสุขเหนือทุกข์

ผมไม่อยากให้เอามาตั้งกระทู้แล้วถามตอบ กันแบบมั่วๆ ตามที่ได้ยินมา
อยากจะไปอยากจะรู้ แต่ไม่เดินตามมรรค ที่ตถาคตวางเอาไว้
:b8: :b8:

.....................................................
ธาตุ๔ ขันธ์ ๕ ทวาร ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เลยยิ่งสงสัยหนักเข้าไปใหญ่ครับ

ที่ท่านกล่าวว่า
อ้างคำพูด:
เดินตามมรรค
ทำอย่างไรหรือครับ
หรือว่ามันคือ
อ้างคำพูด:
ละสมมุติ เพื่อไป วิมุตติ
แล้วมันเกี่ยวกับมรรคอย่างไรครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 05 ส.ค. 2010, 20:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 05:27
โพสต์: 49

อายุ: 0
ที่อยู่: www.ccagthailand.com

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ทราบ ครับ

.....................................................
ธาตุ๔ ขันธ์ ๕ ทวาร ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คงจะเป็นสำนวนที่คุณอายะตั้งกท. ถามเพื่อขอความหมายที่ลึกซึ้ง

แต่สำหรับผมคิดว่า คำพูดที่ว่านี้คงหมายถึงว่า ชาตินี้น่าจะเข้าถึงนิพพาน โดยไม่ต้องใช้เวลาที่นาน
จนเกินไป ส่วนจะเวลาไหนวัยไหนก้อีกเรื่องหนึ่ง ตามความพร้อมบริบูรณ์ของคุณธรรมที่สะสมไว้ในจิต

หรืออาจพูดว่า ไม่ขอเกิดชาติหน้าอีก อะไรทำนองกระม้ง............
:b32: :b24: :b26:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัดไป 1ครับ ขอบคุณครับท่าน ท่านอินทรีย์ 5 (สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑) :b11:

อ้างคำพูด:
นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้

เหมือนเคยได้ยินมานานแล้วอะครับ เห็นท่าน Mes เอามาเป็น สะแลนโก ก็เลยสงกะสัยมันเป็น รูปแบบการปฏิบัติ หรือเป็นอะไรกันแน่ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 21:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
ผู้รู้ช่วยอธิบายให้ฟังด้วยครับ


ผู้ไม่รู้..คุยด้วยได้ไหมครับ??

ก็เห็น..อย่างนี้..
ccag เขียน:
นก อยากรู้เื่รื่องของ ปลา ก็ลองไปเป็นปลาดู ครับ
.............
ผมไม่อยากให้เอามาตั้งกระทู้แล้วถามตอบ กันแบบมั่วๆ ตามที่ได้ยินมา
อยากจะไปอยากจะรู้ แต่ไม่เดินตามมรรค ที่ตถาคตวางเอาไว้


กลัวหงายหลัง.. :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/nippan_now93.html


นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้
เอ้า, ทีนี้ก็มาพูดถึง ที่ว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ กันดีกว่า:

เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่ทำให้ผมถูกด่า จนไม่รู้ว่าจะด่าอย่างไรแล้ว
ว่าเอาพระนิพพาน มาทำให้สำเร็จประโยชน์ที่นี่และเดี๋ยวนี้. ในเมื่อ
เขาต้องการ ให้ตายแล้วเกิด, ตายแล้วเกิด, ตายแล้วเกิด, ร้อยชาติ
พันชาติ หมื่นชาติ แสนชาติ แล้วจึงจะนิพพาน. แล้วเรามาทำให้
เป็นว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้ก็มีนิพพาน เขาก็โกรธ ไม่รู้ว่ามันจะไปขัด
ประโยชน์ ของเขาหรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ

เขาหาเรื่องว่า เรามาหลอกคนว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ หรือ
ทำให้ นิพพานนี้ด้อยค่าลงไป เพราะทำได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ เขา
ให้ถือว่าหมื่นชาติ แสนชาติ จึงจะได้; ถ้าอย่างนั้น ค่ามันก็มากซิ;
พอมาทำได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ กลายเป็นของง่ายไป เขาคัดค้าน ก็ด่า;
ไม่เป็นไร, เราไม่ได้ต้องการแก่คนพวกนี้ เราต้องการให้คนทั่วไป
ต่างหาก ได้รับประโยชน์จากนิพพาน

จิตถึงนิพพานได้ ต้องละอุปาทาน

มันมีหลักอยู่ว่า เมื่อใดเกิดอุปาทาน เมื่อนั้นไม่นิพพาน คือ
จิตของเรา ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด คุณรู้ความหมายว่า จิตของเรา
กำลังยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตนในสิ่งใด เมื่อนั้นนิพพานไม่ได้;
เมื่อใด จิตไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดอยู่ เมื่อนั้นนิพพานเอง
เป็นนิพพาน ในทิฏฐิธรรมนี้ด้วย.

จะเล่าเรื่องก็คือว่า มีคนที่เป็นนักคิดนักศึกษา ที่เป็นฆราวาสทั้งนั้น
ไม่มีพระเลย เป็นพระอินทร์ก็มี เป็นอุบาสก เป็นคนร่ำรวยอะไรก็มี
ก็มาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ทำไมคนจึงไม่นิพพาน ในทิฎฐธรรม?
คือทำไม คนไม่บรรลุนิพพาน ในความรู้สึก ของตัวเอง ที่รู้สึกได้
ที่นี่และเดี๋ยวนี้?

ทิฎฐิธรรมนั้น หมายความว่า รู้สึกอยู่กับใจของตัวเอง

เขาถามว่า ทำไมคนจึงไม่บรรลุนิพพาน
ชนิดที่รู้สึกอยู่กับใจเอง ที่นี่และเดี๋ยวนี้?
ทิฎฺเฐว ธมฺเม - ในธรรมอันตนเห็นแล้วเทียว,
คือในความรู้สึกที่ตนกำลังรู้สึกอยู่เทียว;
ไม่ใช่ต่อตายแล้ว, ตายแล้ว จะรู้สึกอย่างไรได้
ก็คือ ที่นี่และเดี๋ยวนี้.

พระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสตอบว่า มันเป็นอย่างนั้น, คือ ท่านยกมา
ทั้งกระบิ ทั้งระบบ เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่าง แล้วท่าน
ก็ ตรัสทีละอย่าง

ท่านก็ต้องตรัสว่า เรื่องตานี่ เห็นรูปก่อน เป็นเรื่องแรก.
รูปที่ตาเห็นนั้น เป็นอิฎฺฐา แปลว่าน่าปรารถนาอย่างยิ่ง,
กนฺตา - ยั่วให้เกิดความรัก. กนฺตา เป็นภาษาไทย มาเป็น กานดา,
นางกานดา คือ นางสาวที่น่ารัก. กนฺตา - น่ารักอย่างยิ่ง, มนาปา -
น่าพอใจอย่างยิ่ง. ปิยรูปา - มีลักษณะน่ารัก, กามูปสญฺหิตา -
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งกาม. รูปชนิดนั้นเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
แห่งกาม คือ ความใคร่. รชนียา - ย้อมจิต.

รูปนั้น อิฎฺฐา, กนฺตา, มนาปา, ปิยรูปา, กามูปสญฺหิตา, รชนียา;
หมายความว่า รูปนั้น น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ลักษณะชวนรัก
ก็เป็นที่เข้าไปตั้ง แห่งความใคร่ แล้วก็น้อมจิต จับจิตอย่างยิ่ง
รูปนั้นมีลักษณะอย่างนั้น

ทีนี้ บุคคลนั้นเห็นเข้าแล้ว; ถ้าเขาชอบใจอย่างยิ่ง อภินนฺทติ -
ชอบอย่างยิ่ง, อภิวทติ - พร่ำสรรเสริญ อยู่อย่างยิ่ง. พร่ำสรรเสริญ;
ก็คุณนึกดูว่า พอมันถูกอะไร อร่อยอะไรนี้ มันทำเสียงสูดปาก
อะไรบ้างนี้; อภิวทติ - พร่ำสรรเสริญ เหมือนกับคนบ้า เพราะสิ่งนั้น
มันอร่อย มันสวย. แล้วก็ อชฺโฌสาย ติฎฺฐติ - ฝังจิตใจเข้าไปหมก
อยู่ในสิ่งนั้น.

อย่าฟังแต่เสียงนะ คือ นึกถึงของจริง ที่มันสวยอย่างยิ่ง, แล้วมันก็
เพลินอย่างยิ่ง, แล้วมันก็พร่ำแสดงทางปากนี่, ว่าพอใจอย่างยิ่ง,
แล้วจิตมันก็ฝังลงไป ในสิ่งนั้นอย่างยิ่ง, คือ กายมันก็เป็นไป วาจา
มันก็เป็นไป จิตมันก็เป็นไปในทางที่จะเข้าไปหลงใหลในสิ่งนั้น. นี้
เรียกว่า เขามันเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมก อยู่อย่างนี้นะ.

วิญญาณของเขา ก็เป็นวิญญาณ ที่กิเลสเหล่านั้น เข้าไปอาศัยแล้ว,
กิเลส คือ ความรัก ความหลงใหล ความกำหนัด เข้าไปอาศัยอยู่ใน
จิตของเขา ในวิญญาณ ในจิตของเขา นี่ ความที่จิตมันถูกกิเลส
เข้าไปอาศัยนี้ ก็เรียกว่า อุปาทาน- ยึดมั่นถือมั่น ว่าสวย ว่าหญิง
ว่าชาย, ว่าอะไรก็ตาม แล้วก็ของกู เพื่อตัวกู, เพื่อของกูนี้เรียกว่า
อุปาทาน.

ความที่วิญญาณนั้น ถูกกิเลสเข้าไปอาศัยแล้ว กิเลสมันไปจับจิต
นั้นแล้ว ก็คือจิตมันฝังอยู่ในอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า อุปาทาน
ผู้ที่มีอุปาทานไม่ปรินิพพานในความรู้สึกของตน คือ
ในทิฎฐธรรม ไม่นิพพาน.

เอ้า, ทีนี้ ก็ไปเปรียบเองเองในทางที่ตรงกันข้าม: เมื่อรูปที่มัน
น่าใคร่ น่ารักน่าพอใจ เป็นที่ตั้งแห่งกาม ย้อมจิตย้อมใจ มาถึง
เข้า. ทีนี้คนคนนั้นหรือภิกษุนั้นก็ตาม มีธรรมะพอมีสติปัญญาพอ
เขาก็เห็นว่า โอ๊ย! มันแค่นั้นแหละ, มันเท่านั้นแหละ,
มันปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ อย่างนั้นแหละ.

ถึงแม้ว่า น่ารักนี้ มันก็เป็นเรื่องที่เขาสมมติ รู้สึกอย่างนี้ ว่าน่ารัก
มันเห็นเป็นอย่างนั้นเอง. แล้วยังเห็นลึกไป โดยรายละเอียดอะไร
ก็ได้ ว่าไม่เที่ยง ว่าอนัตตา ว่าเป็นทุกข์: เมื่อคนๆนี้ เขามีความรู้พอ
เขาจะศึกษามาอย่างไร ก็ไม่ได้พูด โดยรายละเอียด แต่คนคนนี้
เขามีความรู้สึกพอ มีสติพอ มีปัญญาพอ เขาก็ไม่หลงเพลิดเพลิน
ไม่หลงพร่ำสรรเสริญ ด้วยปาก ใจของเขาก็ไม่ฝังลงไป.

เมื่อเป็นอย่างนี้ วิญญาณ หรือจิตของคนคนนั้น ก็ไม่ถูกกิเลสอาศัย,
กิเลสไม่เข้าไป อาศัยได้ในจิต นั้นคือไม่มีอุปาทาน. ผู้ที่ไม่มี
อุปาทาน ย่อมปรินิพพานในทิฎฐธรรม ในความรู้สึกของตนเอง
ที่นี่และเดี๋ยวนี้.

มันสำคัญอยู่ที่คำว่า อุปาทาน; อย่าให้เป็นตัวภาษาหนังสือจดไว้
ในสมุด หรือหูฟังว่า อุปาทาน; ไม่พอ, ไปรู้จักอุปาทานที่เรา
มีอยู่จริง. ทุกๆคนมีอยู่จริง มีอุปาทาน ในรูป ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม,
ในเสียง ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, ในกลิ่น ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, ในรส
ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, สัมผัสผิวหนังที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, ความรู้สึก
หรือสัญญาอะไร ที่มันเป็นที่ตั้งแห่งกาม ในใจนี้.

ส่วนใหญ่ ตามที่พระพุทธเจ้า ท่านได้ตรัสไว้ มันเป็นเรื่องเพศ
ตรงกันข้ามทั้งนั้นแหละ. ของเพศตรงกันข้ามทั้งนั้น : รูป เสียง
กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ ที่เนื่องกันอยู่กับเพศตรงกันข้าม
นี้ จับจิตยิ่งกว่าสิ่งใด, เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานยิ่งกว่าสิ่งใด. ฝ่ายหญิง
ก็เป็นแก่ชาย ฝ่ายชายก็เป็นแก่หญิง. นั่นอุปาทาน มันมาจาก
๖ ประการนี้ ที่มันมีอำนาจรุนแรง

แล้วเราก็ไปดูของจริงซิ: อย่าดูตัวหนังสือ, ดูของของจริงนั้น,
ดูที่มันเกิดแก่ใจ ของเราจริงๆ เราก็จะรู้จัก อุปาทาน. เราก็
จะรู้จัก อุปาทาน, เราก็จะรู้จักว่า พอมีอุปาทานแล้ว จิตใจนี้ก็
เหมือนกับ ถูกอัดไว้ด้วยไฟ, บอกไม่ถูกดอก มันเหมือนกับว่า
ถูกทิ่ม ถูกแทง ถูกเผา ถูกลน ถูกมัด ถูกครอบงำ ถูกอะไรทุก
อย่าง; มีอุปาทาน ก็ไม่มีนิพพาน คือ ไม่ว่าง ไม่เย็น. ทีนี้ ถ้าจิต
ใจมันเป็นอิสระ มันไม่เป็นอย่างนั้นได้ มันก็ว่าง มันก็เย็น.

ต้องควบคุม รู้ทัน ผัสสะ และเวทนา เพื่อไม่เกิดอุปาทาน

นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ได้ เพราะเราสามารถควบคุมสิ่งที่มาสัมผัส
ด้วย ไม่ให้สร้างความเพลิดเพลินพร่ำสรรเสริญหรือเมาหมกขึ้นมา
ในใจ เราได้. มันมีเท่านี้ ถ้าคุณทำได้ เรื่องนิพพานนี้ ก็เป็นของจริง
ไม่ใช่ของพูดไว้ พูดเฉยๆ ไม่หลอกใคร. เราก็จะเป็นพุทธบริษัทจริง
เพราะเรารู้จักนิพพาน และเราทำให้มีนิพพาน เสวยรสของพระ
นิพพานได้.

ฉะนั้นก็ไปต่อสู้กับสิ่งที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ;
เอาชนะได้ไม่มีการตกลงไปเป็นทาสของสิ่งนั้น ก็เรียกว่า
ไม่มีอุปาทานผูกพัน; เมื่อนั้นก็ นิพพาน คือว่างจากกิเลส,
แล้วก็เย็นอยู่ตามธรรมชาติของ จิตประภัสสร,

นี่นิพพานที่นี่ และเดี๋ยวนี้ มันเป็นอย่างนี้.

ถ้าจะเกี่ยงให้บำเพ็ญบารมี หมื่นชาติแสนชาติก็ได้ เพราะว่า
เกิดตัวกู ในอารมณ์ครั้งหนึ่ง เรียกว่าชาติหนึ่ง
เดือนหนึ่งอาจเกิดได้หลายร้อย
ปีหนึ่งอาจเกิดได้หลายพัน หลายหมื่น
ยี่สิบสามสิบปีก็เกิดได้หลายแสน

พอแล้ว, พอแล้ว อย่าให้มันมากกว่านั้นเลย
มันควรจะเข็ดหลาบแล้ว.
นี้ บำเพ็ญบารมีกัน หมื่นชาติแสนชาติ
ได้ก่อนแต่ที่จะเข้าโลง มันก็ไม่ค้านกันดอก.

หลักที่เขาว่า ให้บำเพ็ญบารมีหมื่นชาติแสนชาติเสียก่อน
จึงจะนิพพาน; ของเราปฏิบัติได้อย่างนี้,

แต่ของเขา มันจะเหลวคว้าง.
เขาต้องรอเข้าโลงแล้ว หมื่นครั้งแสนครั้ง
เดี๋ยวก็ลืมหมด ขี้เกียจพูดกัน เข้าโลงตั้งแสนครั้ง:
เราไม่ทันจะเข้าโลงสักที
เรามีการเกิดตาย แห่งตัวกูนี้ ตั้งแสนครั้ง เหมือนกัน.

เป็นอันว่า มันไม่ขัดกันละ,
ที่ว่าจะต้องสร้างบารมี แสนชาติ จึงจะนิพพาน ถูกแล้ว;
แต่ว่าที่นี่และเดี๋ยวนี้ เราสร้างได้แสนชาติ, แล้วหลังจากนั้น
มันมีการเข็ดหลาบ มันฉลาดพอที่จะทำไม่ให้กิเลสเกิด คือ
เราทำอยู่ ตลอดแสนชาติ นั่นแหละ ไม่ให้เกิดกิเลส.
อนุสัยลดๆๆๆ เดี๋ยวก็หมดอนุสัย กิเลสเกิดไม่ได้
มันก็เป็นนิพพาน โดยสมบูรณ์.

ฉะนั้น เมื่อคุณบังคับความรู้สึกได้ครั้งหนึ่ง เมื่อนั้นแหละ
คือสร้างบารมี ครั้งหนึ่ง. ถ้าคุณปล่อยจิต ไปตามอารมณ์
ก็เพิ่มๆๆๆ บวกๆๆๆ อนุสัย; บังคับจิตไว้ได้, กูไม่ไปอร่อยกับมึง.
บังคับจิตไว้ได้อย่างนี้ ทีหนึ่ง มัน ลบๆๆๆหนึ่งๆๆ อนุสัยมันเป็นลบ;
ไม่เท่าไรมันก็หมด มันไม่มีพื้นฐานรากฐาน ไม่มีเดิมพันที่จะเกิด
กิเลส ก็เป็นนิพพานโดยสมบูรณ์

ระวังทำให้อุปาทานลดลง จะถึงนิพพานโดยลำดับ

นี่พูดกัน ในชีวิตประจำวัน คุณจะต้องถือเป็น เรื่องประจำวัน;
เพราะว่าเรื่องที่จะมาทำให้เกิดกิเลส มันมาทุกวันๆ; เรื่องที่
จะกำจัดมันเสีย ก็ต้องเป็นเรื่องทุกวันๆ ประจำวัน;

อย่าได้ไปหลงรักหลงเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมก
จิตไม่ถูกกิเลสอาศัยไม่มีอุปาทาน ก็จะเป็นนิพพานในทิฎธรรม
อยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้. นี่คือเรื่องนิพพาน.

เอ้า, ตอนท้ายนี้ อยากจะพูดอีกนิดหนึ่งว่า นิพพานนี้ให้เปล่า
ไม่คิดสตางค์; พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อย่างนั้น

ลทฺธา มุธา นิพฺพุติ ภุญฺชมานา - ให้เปล่า ไม่คิดสตางค์กับใคร.
นี่น่าจะขอบใจนิพพาน หรือ พระพุทธเจ้า ไม่เรียกไม่ร้อง อะไร
ไม่เรียกคิดค่าอะไร.

ระวังอย่าให้อุปาทานเกิดขึ้นมันก็เป็นนิพพานเอง
ไม่ยากลำบาก ไม่เหลือวิสัย แล้วก็ไม่คิดสตางค์,
แล้วก็ทำให้เสร็จเสียก่อนเข้าโลง.
ผมจึงพูดคำพูดขึ้นมาใหม่อีกคำหนึ่งว่า

"ตายก่อนตาย คือนิพพาน";
แต่ผมก็ได้ยินจากคนเฒ่าคนแก่อีกทีหนึ่ง
ผมลืมเสียแล้วว่าใครพูด คือ มันเนื่องมากับที่ว่า

สวรรค์ในอกนรกในใจ นิพพานอยู่ที่ตายก่อนตาย.

นี่ปู่ย่าตายายของเรา ไม่ใช่เล่น
สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ; ไม่เรียกว่า อยู่ใต้ดิน อยู่บนฟ้าอะไร
เหมือนที่เขาพูดกันแต่ก่อนแล้ว

นิพพานนั้นอยู่ที่ตายเสียก่อนตาย คือ ตัวกูๆๆ. ที่เคยเกิดวันละ
หลายๆหน ให้มันตายสนิทเสียก่อน แต่ที่ร่างกายนี้จะตายเข้าโลง
มันยิ่งแสดงว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้; ก่อนแต่ที่ร่างกายจะตายจะเข้าโลงนี้
ตัวกู-ของกู แห่งอุปาทาน ให้มันหมดเสียก่อน นั่นแหละคือนิพพาน.

นิพพาน คือตายเสียก่อนตาย ทำได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ แล้วก็ให้เปล่า
ไม่คิดสตางค์ใครยังไม่เอาอีกคนนั้นโง่กี่มากน้อยไปคำนวณเอาดู

นี่ผมพูดเรื่องที่ผมถูกด่าให้คุณฟัง.
พอผมพูดว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ แล้วก็ถูกด่า,
แล้วมันเปลี่ยนไม่ได้. จะด่าก็ด่าไปเถอะ มันเป็นเรื่องจริง อย่างนี้
มีหลักฐาน ในพระพุทธภาษิตอย่างนี้
ก็มันมีการทดสอบด้วยใจจริงอย่างนี้;
แล้วมันก็เห็นชัดๆ อยู่อย่างนี้ เป็นสันทิฎฐิโก อยู่อย่างนี้.
มันก็คงสภาพอย่างนี้ไว้, ก็คงพูดว่าอย่างนี้ : นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้.

เอาไปศึกษาเพิ่มเติม ความรู้เรื่องพุทธศาสนาให้เต็ม.
ผมได้บอกมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งต้น ครั้งแรกว่า ผมจะเลือกสรรมา
แต่เรื่องที่จำเป็น เป็นเนื้อหาเป็นสาระทั้งหมดทั้งสิ้น
ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงที่สุด มาพูดด้วยคำพูดเพียงไม่กี่คำ;
อย่างที่ผมกำลังทำอยู่นี้.

เรื่องนิพพานนี้ จะพูดกันเป็นเดือนๆ ก็ได้;
แต่นี้เอามาแต่เนื้อหาสาระ หัวข้อที่เป็นหลัก
มันก็พูดเดี๋ยวนี้ ชั่วโมงกว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้,
แล้วก็คาบเกี่ยวไปถึงเรื่องอื่นด้วย ที่มันคาบเกี่ยวกันอยู่เป็นธรรมดา,
อะไรเป็นเหตุให้ไม่นิพพาน อะไรเป็นเหตุให้นิพพาน
ก็ต้องพูดถึงด้วย.

เอาละเลิกกันทีนะ
เลิกว่านิพพานนี้เหลือวิสัย นิพพานไม่มีประโยชน์ นิพพานจืดชืด
นิพพานต้องรอเข้าโลง หมื่นหน แสนหน นี่เลิก.

เอาเป็นนิพพานที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ก็จะเป็น พุทธบริษัทที่แท้จริง,
มีพระนิพพานได้จริง, มีพุทธศาสนาจริง คือมีนิพพาน
เป็นพุทธบริษัทจริง คือ รู้เรื่องนิพพาน.

เอ้า, ขอยุติการบรรยาย ชั่วโมงนี้ไว้เพียงเท่านี้ แล้วก็ปิดประชุม.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ระวังอย่าให้อุปาทานเกิดขึ้นมันก็เป็นนิพพานเอง
ไม่ยากลำบาก ไม่เหลือวิสัย แล้วก็ไม่คิดสตางค์,
แล้วก็ทำให้เสร็จเสียก่อนเข้าโลง.
ผมจึงพูดคำพูดขึ้นมาใหม่อีกคำหนึ่งว่า


อ้างคำพูด:
เมื่อเป็นอย่างนี้ วิญญาณ หรือจิตของคนคนนั้น ก็ไม่ถูกกิเลสอาศัย,
กิเลสไม่เข้าไป อาศัยได้ในจิต นั้นคือไม่มีอุปาทาน. ผู้ที่ไม่มี
อุปาทาน ย่อมปรินิพพานในทิฎฐธรรม ในความรู้สึกของตนเอง
ที่นี่และเดี๋ยวนี้.



ขอความรู้ท่าน mes ช่วยอธิบายต่อด้วยครับว่า
นอกจากพระขีนาสพแล้วบุคคลผู้ยังตัดสังโยชน์ไม่ได้จะตัดตัวกูของกูได้หรือครับ (เห็นส่วนตัวว่าเป็นสักกายทิฏฐิ) เพราะว่าต่อให้อยากละอย่างไรถ้ายังมีสังโยชน์อยู่ก็ตัดบ่ได้ ครับ
แต่ถ้ามองในมุมที่ว่าให้เพียรปฏิบัติไปจนบรรลุธรรมเป็นพระขีนาสพแล้วอุปาทานก็จะสามารถละได้ ผมเห็นอย่างนี้ครับ
การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีผลทำให้อุปทานลดลง แต่การสำรวมอินทรีย์อย่างเดียวนั้นจะทำให้อุปทานหายไป แล้วปรินิพพาน จะเป็นไปได้หรือครับ

ทั้งนี้ผมขอกราบขอขมาท่านพุทธทาสไว้ด้วยครับ ผมมิมีเจตนาลบหลู่เพียงแต่สงสัยในธรรมเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 12:21
โพสต์: 637

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานที่นี่ และเดี๋ยวนี้


ผมคิดว่า สำหรับผมซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่
คำว่าที่นี่ คือ เราทำได้ที่นี่ คือ ที่ตัวเรานี่เอง ด้วยกาย และใจ อบรมไป
ไม่ต้องเดินทางไปที่ไหน ทำที่นี่ กายและใจของเรานี่เอง

ส่วนคำว่าเดี๋ยวนี้ สำหรับผม ที่เป็นประโยชน์กับผมเอง คำว่า เดี๋ยวนี้ หมายถึง

เราเริ่มทำได้เดี๋ยวนี้เลย คือ ต้องเดิน ตามมรรค นะครับ อันย่อได้เป็นศีลสมาธิ และปัญญา

แต่ผลจะเกิดเป็นจริงเมื่อไร เรายังคงบอกไม่ได้เสมอครับ
อาจจะชาตินี้ หรือหลายพันชาติ ข้างหน้าก็ได้

แต่ เดี่๋ยวนี้ ดีที่สุดคือ เริ่มทำแต่เดี๋ยวนี้เลย อย่าผัดผ่อนนะครับ

มีพระบางรูป ท่านพูดได้เต็มปากเลยว่า ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ คือ ท่านเห็นผลแล้วด้วย
กราบอนุโมทนากับท่านด้วย

แต่สำหรับผม ก็จะค่อยๆ เริ่มเดี๋ยวนี้ เอาไว้ก่อน เท่านั้นเองครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดับอุปาทานคือดับทุกข์ทั้งมวล
ผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพาน
(เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)


ตามลิงค์นี้ http://nkgen.com/17.htm

ขอทุกท่านเจริญในธรรมค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเริ่มต้นด้วยบทความนี้ก่อนครับ


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=54.0

หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึง หรือ สืบเนื่องมาจากหลักสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆกันโดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนและตอนกันบ้าง เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง

ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อจึงเป็นเพียงส่วนย่อยของหลักใหญ่
บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน ครอบคลุมความหมายของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดงและความมุ่งหมาย จำเพาะในการแสดงต่างกัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
ระวังอย่าให้อุปาทานเกิดขึ้นมันก็เป็นนิพพานเอง
ไม่ยากลำบาก ไม่เหลือวิสัย แล้วก็ไม่คิดสตางค์,
แล้วก็ทำให้เสร็จเสียก่อนเข้าโลง.
ผมจึงพูดคำพูดขึ้นมาใหม่อีกคำหนึ่งว่า


อ้างคำพูด:
เมื่อเป็นอย่างนี้ วิญญาณ หรือจิตของคนคนนั้น ก็ไม่ถูกกิเลสอาศัย,
กิเลสไม่เข้าไป อาศัยได้ในจิต นั้นคือไม่มีอุปาทาน. ผู้ที่ไม่มี
อุปาทาน ย่อมปรินิพพานในทิฎฐธรรม ในความรู้สึกของตนเอง
ที่นี่และเดี๋ยวนี้.



ขอความรู้ท่าน mes ช่วยอธิบายต่อด้วยครับว่า
นอกจากพระขีนาสพแล้วบุคคลผู้ยังตัดสังโยชน์ไม่ได้จะตัดตัวกูของกูได้หรือครับ (เห็นส่วนตัวว่าเป็นสักกายทิฏฐิ) เพราะว่าต่อให้อยากละอย่างไรถ้ายังมีสังโยชน์อยู่ก็ตัดบ่ได้ ครับ
แต่ถ้ามองในมุมที่ว่าให้เพียรปฏิบัติไปจนบรรลุธรรมเป็นพระขีนาสพแล้วอุปาทานก็จะสามารถละได้ ผมเห็นอย่างนี้ครับ
การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีผลทำให้อุปทานลดลง แต่การสำรวมอินทรีย์อย่างเดียวนั้นจะทำให้อุปทานหายไป แล้วปรินิพพาน จะเป็นไปได้หรือครับ

ทั้งนี้ผมขอกราบขอขมาท่านพุทธทาสไว้ด้วยครับ ผมมิมีเจตนาลบหลู่เพียงแต่สงสัยในธรรมเท่านั้น



ผมขอแสดงความเห็นรวมๆอย่างนี้ครับ

พีขีนาสพท่านพ้นทุกข์แล้ว เป็นอเสขะคือเรียนจบแล้ว

ปุถุชนที่ยังเนืองนองด้วยกิเสลที่จำเป็นต้องศึกษาหรือเสขะอยู่

แน่นอนยังตัดสังโยชน์ไม่ได้

และการบรรลุธรรมสำเร็จเป็นอรหันต์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆอย่างที่ท่านกล่าวว่ายังตัดสังโยชน์บ่ได้

คำถามของท่านที่ผมจับความได้คือท่านสงสัยว่าการสำรวมอินทรีย์จะละอุปาทานแล้วปรินิพพานได้จริงหรือ

ผมขอแก้เป็นว่าการสำรวมอินทรียอย่างเดียวสามารถสำเร็จอรหันต์ได้จริงหรือไม่จะดีกว่า

ปรินิพพานใช่กับการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต



สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควร
กล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า
ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว
ว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้
บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม
ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์
อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม
ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง
แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร
สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


จากพระไตรปิฎกจะเห็นได้ว่า

การสำรวมอินทรีย์ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์ได้ครับ

ในปรมัตถ์ ตามหลักอริยะมรรคที่มีองค์แปด

สติปฏิฐานสี่คือแนวทางปฏิบัติการสำรวมอินทรีย์ ที่จะนำสู่วิมุติ

การสำรวมอินทรีย์คือ หมวดสมาธิของอริยะมรรคที่มี่องค์แปด

อริยะมรรคที่มีองค์แปดมีสามหมวดคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

หมายความว่า

การสำรวมอินทรีย์จะยังให้เกิดวิชชาคือปัญญา

และปัญญาจะยังสู่วิมุติคือนิพพานให้บริบูรณ์นั่นเองครับ




อ้างคำพูด:
ทั้งนี้ผมขอกราบขอขมาท่านพุทธทาสไว้ด้วยครับ ผมมิมีเจตนาลบหลู่เพียงแต่สงสัยในธรรมเท่านั้น[


ท่านทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้วตามหลักกาลามสูตร

การศึกษาธรรมด้วยการพิจารณืเช่นนี้สืบสาวเช่นนี้ ควรยกย่องอย่างยิ่ง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตถึงนิพพานได้ ต้องละอุปาทาน
มันมีหลักอยู่ว่า เมื่อใดเกิดอุปาทาน เมื่อนั้นไม่นิพพาน

หมายถึง เมื่อใดมีกิเลส เมื่อนั้นย่อมไม่มีนิพพาน


ความที่วิญญาณนั้น ถูกกิเลสเข้าไปอาศัยแล้ว กิเลสมันไปจับจิต
นั้นแล้ว ก็คือจิตมันฝังอยู่ในอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า อุปาทาน

เมื่อเกิดผัสสะ แล้วเกิดการให้ค่าในผัสสะที่เกิดนั้นๆ เรียกว่า อุปทาน


ต้องควบคุม รู้ทัน ผัสสะ และเวทนา เพื่อไม่เกิดอุปาทาน


เมื่อมีสติ สัมปชัญญะ รู้เท่าทันในขณะนั้นๆ (ผัสสะ) อุปทานหรือการให้ค่า ในสิ่งที่มากระทบ ย่อมไม่เกิด
เมื่ออุปทานไม่เกิดเสียแล้ว การปรุงแต่งที่จะเกิดต่อไปย่อมไม่เกิด



ไม่มีอุปาทานผูกพัน; เมื่อนั้นก็ นิพพาน คือว่างจากกิเลส นี่นิพพานที่นี่ และเดี๋ยวนี้ มันเป็นอย่างนี้.

เมื่อไม่มีกิเลส อุปทาน ที่ทำให้เกิดการปรุงแต่งต่างๆ นั่นคือ นิพพาน


เกิดตัวกู ในอารมณ์ครั้งหนึ่ง เรียกว่าชาติหนึ่ง


ตัวกูหรือตัวผู้รู้นี่แหละ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ เหตุที่จะก่อให้เกิดภพชาติใหม่ เกิดขึ้นเมื่อนั้น



เป็นอันว่า มันไม่ขัดกันละ,
ที่ว่าจะต้องสร้างบารมี แสนชาติ จึงจะนิพพาน ถูกแล้ว;
แต่ว่าที่นี่และเดี๋ยวนี้ เราสร้างได้แสนชาติ, แล้วหลังจากนั้น
มันมีการเข็ดหลาบ มันฉลาดพอที่จะทำไม่ให้กิเลสเกิด คือ
เราทำอยู่ ตลอดแสนชาติ นั่นแหละ ไม่ให้เกิดกิเลส.
อนุสัยลดๆๆๆ เดี๋ยวก็หมดอนุสัย กิเลสเกิดไม่ได้
มันก็เป็นนิพพาน โดยสมบูรณ์.

ท่านพูดถูกทุกอย่างเลย เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี
เหตุเกิดจากกิเลส เมื่อหมดเหตุคือหมดกิเลส ผลย่อมไม่มี



ฉะนั้น เมื่อคุณบังคับความรู้สึกได้ครั้งหนึ่ง เมื่อนั้นแหละ
คือสร้างบารมี ครั้งหนึ่ง. ถ้าคุณปล่อยจิต ไปตามอารมณ์
ก็เพิ่มๆๆๆ บวกๆๆๆ อนุสัย; บังคับจิตไว้ได้, กูไม่ไปอร่อยกับมึง.
บังคับจิตไว้ได้อย่างนี้ ทีหนึ่ง มัน ลบๆๆๆหนึ่งๆๆ อนุสัยมันเป็นลบ;
ไม่เท่าไรมันก็หมด มันไม่มีพื้นฐานรากฐาน ไม่มีเดิมพันที่จะเกิด
กิเลส ก็เป็นนิพพานโดยสมบูรณ์


คำว่า บังคับของท่านั้น เป็นการท่านใช้ภาษาอนุมานให้ฟัง
ซึ่งจริงๆแล้วในแง่ของสภาวะคือ คือ ถ้ามีสติ สัมปชัญญะ รู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ( ผัสสะ )
ประกอบกับมีกำลังของสมาธิช่วยหนุน กิเลสหรืออุปทานนั้นย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

เหตุใหม่ที่จะเกิดจากอุปทาน ที่ทำให้เกิดการปรุงแต่งย่อมไม่มี เมื่อไม่มีเหตุ ผลย่อมไม่มี
หมายถึง เมื่อไม่มีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือ นิพพาน ท่านเพียงอุปมาอุปมัยให้ฟัง



นิพพานนั้นอยู่ที่ตายเสียก่อนตาย คือ ตัวกูๆๆ. ที่เคยเกิดวันละ
หลายๆหน ให้มันตายสนิทเสียก่อน แต่ที่ร่างกายนี้จะตายเข้าโลง
มันยิ่งแสดงว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้; ก่อนแต่ที่ร่างกายจะตายจะเข้าโลงนี้
ตัวกู-ของกู แห่งอุปาทาน ให้มันหมดเสียก่อน นั่นแหละคือนิพพาน.

นิพพานนั้นอยู่ที่ตายเสียก่อนตาย คือ นิพพานดิบ
อันนี้เป็นคำอุปมาอุปมัยที่นำมาใช้กัน




ตัวกู ของกู ที่ท่านพูดมาทั้งหมดนั้น ท่านเพียงอุปมาอุปมัยให้ฟัง
ตามสภาวะคือ สิ่งที่ถูกรู้ กับ สิ่งที่รู้ มันมีแค่นี้แหละ
ทีนี้ที่ว่าทำให้เกิดภพชาติ คือ เจ้าตัวอุปทานนี่แหละ

จากสิ่งที่ถูกรู้ ที่มันมี มันเกิดอยู่แล้ว มันเป็นของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีใครรู้หรือไม่รู้ก็ตาม
เมื่อมีการรู้เกิดขึ้น ในสิ่งที่ถูกรู้ แล้วมีการแทรกแทรงในสิ่งที่ถูกรู้ คือ ไปให้ค่าต่อสิ่งที่ถูกรู้
ตามเหตุ ตามปัจจัยของตัวที่เข้าไปรู้ เมื่อมีการให้ค่า เหตุย่อมเกิด เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผลตามมา
แต่ถ้าไม่มีการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เหตุย่อมไม่มี เมื่อเหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

เราจึงต้องมาฝึกเจริญสติเพราะเหตุนี้ เพื่อให้อยู่กับปัจจุบัน
นี่แหละคือ สภาวะของคำกล่าวที่ท่านบอกว่า นิพพาน ที่นี่ เดี๋ยวนี้


สภาวะ จะมี 2 แบบ คือ สภาวะที่เกิดขึ้นภายนอก และสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน
สิ่งที่ท่านพุทธทาสกล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นภายนอก

สภาวะภายนอก คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนกระทำเอาไว้
แต่เพราะความไม่รู้ จึงก่อให้เกิดเหตุใหม่เนืองๆไปด้วยความไม่รู้

ไม่ว่าจะเหตุที่คิดว่าเหตุดี หรือเหตุที่คิดว่า เหตุร้าย ล้วนเกิดจากการให้ค่า ทีเกิดจากอุปทานของแต่ละคน
อุปทานมาก การปรุงแต่งย่อมมากตามการให้ค่า อุปทานน้อย การปรุงแต่งย่อมน้อยลงตามอุปทาน

แต่ถ้ามีสติ สัมปชัญญะ รู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมไม่มีการให้ค่าใดๆต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
เมื่อไม่มีการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ( ผัสสะ ) เหตุใหม่ย่อมไม่มีเกิดขึ้น เมื่อไม่มีเหตุ ผลย่อมไม่มี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 06 ส.ค. 2010, 19:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่า
นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?
๕๘. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณห้า
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
----------------------------------------------------------------

พรหมชาลสูตรที่ ๑.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๕ - ๑๐๗๑. หน้าที่ ๑ - ๔๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1


--------------------------------------------------

หากเป็น อัตตโนมติของอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่ผมเคยอ่านมา เหมือนว่า นิพพานมีประเภทชั่วคราวด้วย คราใดที่ไม่มีความรู้สึกตัวเรา ของเรา นั้นและก็ได้นิพพานชั่วคราว แบบสบาย ๆ

ถ้าจะเข้านิพพานชั่วคราวถาวร ก็นึกว่าไม่มีตัวเรา ของเราให้มาก ก็เข้าถึงนิพพานที่นี้ เดี๋ยวนี้ แล้ว

คาดว่า ศิษย์เอกของท่านพุทธทาส อย่างคุณ mes น่าจะเข้าถึงแล้ว

------------------------------------

อนึ่ง ท่านพุทธทาส กล่าวหาพระธรรม อันสูงสุดนี้ว่า ในศาสนาอื่นก็มีอยู่ก่อนแล้ว แปลว่า เย็น,เชื่อง

ฉะนั้น สัตว์เดรัจฉาน ที่นำมาฝึกให้เชื่อง ก็ถือว่า นิพพาน ดังทิฏฐิของท่าน

http://www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.html

อ้างคำพูด:
สัตว์ป่าจับมาจากในป่า เช่น ป่า ช้างป่า อะไรป่านี่ มันดุร้ายเหลือประมาณ อันตรายเหลือประมาณ; เขาเอามาเข้าคอกเข้าที่ บังคับฝึกหัดไปจนสัตว์เหล่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว จนช้างป่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว ทำอะไรก็ได้; อย่างนี้ก็เรียกว่า มันนิพพาน



ทิฏฐิของท่านพุทธทาสอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่แสดงนิพพานผิด ๆ แบบนี้ ไม่แน่ใจว่าจะเข้ากับ ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ในหัวข้อใด

ดูแล้วท่านพุทธทาส มีทิฏฐิมากเหลือเกิน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron