วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 05:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาปัญญา จะต้องอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่งของสมาธิ หรือเปล่าครับ
ถ้าอยู่ เรียนถามว่าอยู่ในขั้นไหนครับ ขอบคุณครับ :b12: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 10:10
โพสต์: 104

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาขั้นสูงของพระพุทธศาสนานี้ ต้องมีสมาธิเป็นตัวหนุนแน่นอนคะ
รอฟังท่านอื่นด้วยคนนะค่ะ :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:06
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาปัญญา ก็คือ ภาวนามยปัญญานั่นเองครับ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 01:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นต่ำก็ใช้สมาธิในขั้นขณิกะ ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ ถ้าทันจิตและตามจิตได้ทัน
แต่จะว่าไปก้ควรทำสมถะกรรมฐานมาบ้างก้จะดี คือหมายถึงทำจิตให้คุ้นเคยกับความสงบ
มาบ้างแล้ว เพราะการเจริญวิปัสสนาจะว่าไปก็อาศัยความสงบของจิตเป็นพื้นในการเจริญเอาวิปัสสนา
เช่นกัน
ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา ก้มีเพียงสมถะเป็นทุ่นหรือราวหรือสะพานสำหรับให้
จิตมีที่เกาะแล้วข้ามไปสู่อีกทีหนึ่งที่มั่นคงกว่าเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ หรือ จิตตานุภาพ ก็ได้ทำ
ให้จิตสะสมพลังงานไว้ภายในรอวันเพื่อจะเอามาใช้ประโยชน์ มีประโยชน์มากในการอธิษฐานจิตและเป็นที่พักของจิตหากจิตอ่อนกำลังลง :b44:

ส่วนวิปัสสนา เป็นชื่อทางปัญญา อันเกิดการเจริญสติเพื่อดูกายกับเอาสติผนึกควบคุมจิตให้จิตคงที่เมื่อทำมากๆเข้าจะเหนการแปรผันกลับกลอกของรุปนาม ตามหลัก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เมื่อครบสามข้อนี้จะ
ทำเกิดปัญญาภายใน และเหนประโยชน์และโทษของรุปนาม และเหนสิ่งที่มาปรุงแต่งจิต กระทบจิตและ
ไล่ทันจิตได้ละเอียดยิ่งขึ้น ทำให้สติ สมาธิ และปัญญาพัฒนาตามลำดับ ซึ่งการเจริญวิปัสสนาเน้นการทำในทุกอริยาบถ :b40: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
การเจริญวิปัสสนาจะว่าไปก็อาศัยความสงบของจิตเป็นพื้นในการเจริญเอาวิปัสสนา เช่นกัน

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ สาธุ :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ขอโมทนาคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะอยู่ในขั้น อุปจารสมาธิ นะคร้าบบบ (คิดเอาเอง)
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


JJD เขียน:
วิปัสสนาปัญญา จะต้องอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่งของสมาธิ หรือเปล่าครับ
ถ้าอยู่ เรียนถามว่าอยู่ในขั้นไหนครับ ขอบคุณครับ :b12: :b8:


สวัสดี คุณ JJD
ขอโอกาสชี้แจง ตามความเห็น ดังนี้ครับว่า
ถ้าจะกล่าว วิปัสสนา ก็จะกล่าวร่วมกับ สมถะ

สมาธิ จัดเป็น สมถะ
มิจฉาสมาธิ ก็เป็นสมถะ
สัมมาสมาธิ ก็เป็น สมถะ
ซึ่งหมายความว่า จิตเป็นอกุศลก็ตาม หรือกุศลก็ตาม สมาธิย่อมเกิดขึ้นได้

แต่... วิปัสสนา แตกต่างกันออกไป วิปัสสนา เป็นเจตสิกธรรมที่เกิดกับจิตอันเป็นกุศลเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกามวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล หรือวิปัสสนาจิต มัคคจิต ผลจิต

วิปัสสนา คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ซึ่งก็มีการเปรียบเทียบโดยทำหน้าที่เป็นสองประการ ร่วมกันคือปัญญาย่อมทำลายกิเลส เพราะความสว่างกระจ่างชัด และการตัดทำลาย

ถ้าถามว่าต้องอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่งของสมาธิหรือไม่
ก็คงต้องตอบว่า วิปัสสนา ไม่ใช่การปฏิบัติ แต่เป็นคุณธรรมของจิตที่เจริญขึ้นจากการอบรมจากการภาวนา

วิปัสสนา จึงเป็นสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นในจิตที่เป็นกุศล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=28061&st=0&sk=t&sd=a&start=15>
องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนา จึงมี 4 สภาวะธรรม

1.วิปัสสนาในกามาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ทำหน้าที่ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้

2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.1.วิปัสสนา ในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในปฐมฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.2.วิปัสสนา ในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในทุติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละวิตก ละวิจารได้
2.3.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในตติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร และละปีติได้
2.4.วิปัสสนา ในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้


3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน (ที่ใช้คำว่าจตุตถฌานเพราะมีอุเบกขาและเอกคตารมณ์เหมือนในจตุตถฌานครับ) ที่ประกอบด้วย อรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้
3.1.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.2.วิปัสสนา ใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย วิญญานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.4.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละอากิญจัญญายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้


4.วิปัสสนาใน โลกุตตระกุศลจิตหรืออริยมัคคจิต 4 คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ ได้

4.1.วิปัสสนา ใน โสดาปัตติมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา และละสีลพตปรามาสได้

4.2.วิปัสสนา ใน สกทาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส และทำลายกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้

4.3.วิปัสสนาใน อนาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น

4.4.วิปัสสนา ใน อรหัตตมัคคมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะละพยาบาท ละรูปราคะ ละอรูปราคะ ละมานะ ละอุทธัจจะ และละอวิชชาได้หมดสิ้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 03 ก.ค. 2010, 14:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
วิปัสสนา ไม่ใช่การปฏิบัติ แต่เป็นคุณธรรมของจิตที่เจริญขึ้นจากการอบรมจากการภาวนา

ขอบคุณครับ :b8: ตรงนี้ยังไม่เข้าใจเท่าไร ถ้าไม่ใช่การปฏิบัติ เกิดขึ้นเองหรือ จากการภาวนาอะไร?
ขอความกรุณาให้ความกระจ่างเพิ่มหน่อยนะครับ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


JJD เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
วิปัสสนา ไม่ใช่การปฏิบัติ แต่เป็นคุณธรรมของจิตที่เจริญขึ้นจากการอบรมจากการภาวนา

ขอบคุณครับ :b8: ตรงนี้ยังไม่เข้าใจเท่าไร ถ้าไม่ใช่การปฏิบัติ เกิดขึ้นเองหรือ จากการภาวนาอะไร?
ขอความกรุณาให้ความกระจ่างเพิ่มหน่อยนะครับ :b4:


วิปัสสนา เป็นเจตสิกธรรม ที่เกิดขึ้นขณะจิตที่เป็นกุศล ตรงนี้เป็นลักษณะของสภาวะ ที่ทำหน้าที่ละกิเลสได้แล้ว (แต่กิเลสก็มีหลายระดับมาก ระดับความประณีตของวิปัสสนาก็ย่อมมีหลายระดับเช่นกัน)

ดังนั้น จิตที่อบรมบ่มเพาะให้เป็นกุศล คือมีคุณธรรมต่างๆ ที่ประกอบกัน (เจตสิกธรรมต่างๆ ที่ตกแต่งจิต)จึงมีมีมากอย่าง เช่นกัน

วิปัสสนา จึงเกิดขึ้นเองไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุปัจจัย การประกอบให้พร้อมซึ่งเหตุปัจจัยที่เป็นกุศลให้มีขึ้นเจริญขึ้น นี้เองเรียกว่า การภาวนา

การปฏิบัติธรรม จึงเป็นการให้จิตตั้งอยู่ในกุศลธรรม ทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆ เกิดขึ้นได้ต่อเนื่อง เกิดขึ้นได้นานๆ

ธัมมวิจัย, วีมังสา, สัมมาทิฐิ, สัมมาสังกัปปะ ต่างก็เป็นคุณธรรมของจิตเช่นกันที่เกื้อหนุนให้ เกิดวิปัสสนาได้

อธิศีลสิกขา ก็เป็นการภาวนา เพื่อความสะอาดทางกายวาจา
อธิจิตตสิกขา ก็เป็นการภาวนา เพื่อความบริสุทธิ์ทางใจ
อธิปัญญาสิกขา ก็เป็นการภาวนา เพื่อความหมดจดจากทิฏฐิ ตัณหา และมานะ

การฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล เพื่อหวังประโยชน์ หวังสุคติ ก็เป็นกามาวจรกุศลภาวนา
การเจริญ รูปกสิณ ก็เป็นรูปวจรกุศลภาวนา
การเจริญ อรูปกสิณ พรหมวิหาร 4 ก็เป็นอรูปาวจรกุศลภาวนา
การเจริญมัคคภาวนา ก็เป็นโลกกุตตรภาวนา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 03 ก.ค. 2010, 16:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณนะครับ :b8: ถึงผมจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร เอาว่าผมจะค่อยๆ ศึกษาไปแล้วกัน :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ คุณJJD

ผุฏฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
ความไม่โศก
ปราศจากธุลี
มีจิตเกษม

นี้เป็นอุดมมงคล

เจริญในธรรมครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนา หมายถึง การคิดแบบฉลาด การคิดเพื่อทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หรือการปฏิบัติธรรมโดยใช้ปัญญาเป็นหลักและมีสมาธิเป็นตัวหนุน มีสมาธิเป็นฐาน ทำให้ปัญญาทำหน้าเต็มความสามารถ เฉียบแหลม ว่องไว คล่องตัว

สมาธิ คือ ทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง ท่านแบ่งเป็น

๑. ขณิกสมาธิ สมาธิเล็กน้อย คือ จิตตั้งมั่นได้เล็กน้อยแล้วก็ฟุ้งซ่านสลับไปมา
๒. อุปจารสมาธิ จิตตั้งมั่น ตั้งมั่นได้นาน มีความนึกคิด วิตกวิจารณ์ได้
๓. อัปนาสมาธิ จิตสงบเป็นอุเบกขา ไม่รับรู้กับอายตนภายนอก จิตกับกายแยกกันเด็ดขาด

สมาธิ เปรียบได้กับคนมีกำลัง ร่างกายแข็งแรงล่ำสัน จับดาบ(ปัญญา) ดายหญ้า ตัดต้นไม้(กิเลส) ย่อมเป็นไปอย่างง่ายดาย รวดเร็ว ฉับพลัน ต่างจากผู้ไม่มีกำลัง ขี้โรค อ่อนแอ ถึงจะมีดาบคมกล้า ก็ยกไม่ขึ้น ดายหญ้า ตัดต้นไม้ไม่ขาด เพราะขาดสมถะหรือสมาธิ

สมาธิขั้นไหนเหมาะสำหรับการทำวิปัสสนาปัญญา ขณิกสมาธิก็ได้ แต่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคงเพราะตั้งมั่นได้ไม่นาน แต่ที่เหมาะสมที่สุด คือ อุปจารสมาธิ ถ้าเป็นอัปนาสมาธิ ท่านให้เข้าสมาธิขั้นอัปนาสมาธิก่อน แล้วให้ถอยออกมาที่ อุปจารสมาธิ ซึ่งจิตตั้งมั่นได้นาน สมาธิขั้นนี้สามารถยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาพิจารณา เพื่อสืบค้นความจริงได้

วิปัสสนา เป็นยอดของปัญญาในพระพุทธศาสนา ปัญญาที่ถอนรากถอนโคน ความเห็นผิด ความยึดมั่นถือมั่น ปัญญาที่ทำให้ปล่อยได้ ละได้ วางได้ ปัญญาที่เข้าถึงไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปัญญาที่ทำให้ เราท่านเข้าถึงความจริง เป็นพระอริยะบุคคล พ้นโลกสงสาร..

เป็นความเห็น ความเข้าใจส่วนตัว.. ความเห็นท่านอื่นอาจไม่ตรงกันก็ได้
อย่าเชื่อทันที โปรดอ่านแล้วพิจารณาก่อนก็จะดีมาก...ขอรับ :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
วิปัสนา หมายถึง การคิดแบบฉลาด การคิดเพื่อทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หรือการปฏิบัติธรรมโดยใช้ปัญญาเป็นหลักและมีสมาธิเป็นตัวหนุน มีสมาธิเป็นฐาน ทำให้ปัญญาทำหน้าเต็มความสามารถ เฉียบแหลม ว่องไว คล่องตัว

ขอโมทนาครับ สาธุ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร