วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 07:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมา) มีประโยชน์สองด้าน คือ

ทางด้านร่างกาย และ ด้านจิตใจ

ทางด้านร่างกาย จงกรมช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ช่วยย่อยอาหาร บรรเทาการเมาอาหาร

บรรเทาถีนมิทธะ (แก้ง่วง) รักษาโรคบางอย่างได้

ส่วนด้านจิตใจ ช่วยปรับสภาพนามธรรมให้เกิดสมดุล ที่เรียกว่า ปรับอินทรีย์

การปรับอินทรีย์มีความสำคัญ ของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน


จงกรมมีผลพลอยได้ หรือ ที่เรียกว่า อานิสงส์ ๕ อย่าง ดังเช่น พุทธพจน์ที่ว่า

“.....ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการ

๕ ประการอะไรบ้าง ?

-เป็นผู้อดทนต่อการเดินทาง ๑ - (ร่างกายแข็งแรง)

-เป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ -(ไม่รู้สึกเหนื่อย)

-เป็นผู้มีโรคน้อย ๑

-อาหารที่กินเข้าไปย่อมย่อยง่าย ๑ - (ช่วยย่อยอาหาร)

- สมาธิที่เกิดขณะจงกรมตั้งอยู่ได้นาน ๑ - (มีผลเนื่องถึงตอนนั่งภาวนาจิตจะแน่วแน่ต่ออารมณ์

ที่กำหนดได้ยาวนาน)


จังกมสูตร ป. อํ. (๒๙)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ธ.ค. 2016, 18:20, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พื้นที่ที่ใช้เดินจงกรมยาวขนาดห้องนอนก็พอได้ (8-10 ก้าว) ยาวกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ควรสั้นเกินไป
เพราะจะรู้สึกอึดอัด
แต่โดยทั่วๆ ไป เราออกเดินไปไหนๆ กำหนดรู้ดูทันอิริยาบถที่เดินไป คือเดินอย่างมีสติรู้ตัวอยู่กับกาย
คือ ใช้กายเป็นกรรมฐาน ก็ได้ก็ดี เพราะจิตจะอยู่กับรูปนามได้เร็วขึ้น สติเป็นต้นจะเจริญเร็วขึ้น
ก้าวเดินไปตามปกติเหมือนเดินทั่วๆไป ไม่ควรก้มหน้ามองเท้า แต่ใช้ความรู้สึกจับอาการก้าวไป
แต่ละก้าวๆ

แต่เพื่อการทรงตัวมั่น คือ ไม่ให้ร่างกายโงนเงน ควรเก็บมือไว้ข้างหน้า หรือ ไพล่หลังก็ได้
ตามถนัด หรือบางครั้งเมื่อยแขนนักก็ ห้อยแขนแนบลำตัวเดินก็ได้ เรื่องนี้ไม่ตายตัวยืดหยุ่นได้
จุดประสงค์ คือ ใช้อาการเดิน ยืน เป็นอารมณ์ของจิตให้จิตทำงานอยู่บนฐานกายนี้ :b1:

จะก้าวเท้าข้างไหนก่อนก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




12.gif
12.gif [ 8.54 KiB | เปิดดู 8509 ครั้ง ]
จงกรมมี 6 ระยะ (๖ ระยะพอแล้ว - บางแห่งไปสร้างเป็น ๗ ระยะ เพิ่มไม่คิด..เข้ามาอีก)

ดังนี้


ระยะที่ 1

ขวา … (เท้าข้างไหนก้าวก่อนก็ได้ไม่ตายตัว)
ย่าง … (ก้าวเดินรู้ตัว)
หนอ … (ถึงพื้น)
ซ้าย …(สติจับที่เท้าซ้าย...พร้อมยกขึ้น)
ย่าง ... (รู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเดิน)
หนอ ...(ถึงพื้น)

ระยะที่ 2

ยกหนอ… (ยกเท้าพร้อมก้าวเดิน)
เหยียบหนอ... (เหยียบพื้น)

ระยะที่ 3

ยกหนอ…(พร้อมยกเท้าขึ้น)
ย่างหนอ (ก้าวเดิน)
เหยียบหนอ... (เหยียบพื้น)

ระยะที่ 4

ยกส้นหนอ… (ยกเฉพาะส้นเท้าขึ้น)
ยกหนอ … (ยกเท้าขึ้น)
ย่างหนอ ...(ก้าวเดิน)
เหยียบหนอ... (เหยียบพื้น)

ระยะที่ 5

ยกส้นหนอ
ยกหนอ
ย่างหนอ
ลงหนอ…(หย่อนเท้าลง)
เหยียบหนอ…(เหยียบพื้น)

ระยะที่ 6

ยกส้นหนอ
ยกหนอ
ย่างหนอ
ลงหนอ…(หย่อนเท้าลง แต่ค้างอยู่ ยังไม่แตะกับพื้น)
ถูกหนอ…(เฉพาะปลายนิ้วเท้ายันพื้น)
กดหนอ …(กดส้นเท้ากับพื้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 15:05, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเดินสุดพื้นที่แล้ว หยุดยืน เอารูปยืนทั้งหมดทั้งองคาพยพเป็นกรรมฐาน จะเริ่มจากล่างขึ้นข้างบน
จากเบื้องบนลงเบื้องล่างก็ได้ ไม่เป็นปัญหา ไม่มีกฎตายตัวในข้อนี้ ภาวนาในใจ “ยืนหนอ” “ยืนหนอ” สบายๆ ไม่ต้องเร่ง ผูกจิตไว้กับรูปยืนนั้น “ยืนหนอ”
แต่เมื่อจิตคิดไปไหนต่อไหน ไม่อยู่กับรูปยืน รู้สึกตัว “คิดหนอ” สะด้วย
จะยืนนานเท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่

เมื่อต้องการเดินต่อ หมุนตัวกลับหลัง “กลับหนอ” พร้อมหมุนตัวกลับ “กลับหนอ”
ตรงที่ตรงทางแล้วเดินต่อไป :b1:

ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนหมุนตัวกลับธรรมดาๆนี่เอง แต่มีบางแห่งทำเสียเกิดความสับสนว่า ต้องเท่านั้นเท่านี้องศา ไม่ต้องละเอียดถึงขนาดนั้น เป็นปลิโพธเปล่าๆ


ข้อคิด จงกรม โยคีใช้อิริยาบถ ยืน, เดิน เป็นกรรมฐานแล้ว
ส่วนอิริยาบถนั่ง “นั่งหนอ” ได้ใช้ขณะนั่งกำหนดอาการพอง-ยุบ ตัวอย่าง เช่น พองหนอ ยุบหนอ
นั่งหนอ
รูปนั่ง นั่งหนอ ให้นำมาเป็นอารมณ์หลังจากปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง คือ เมื่อจิตเริ่มสงบลงแล้วค่อยเพิ่ม

-กายานุปัสสนา การตามดูรู้ทันกาย ยืน เดิน นั่ง เข้าครบหมด
ขณะทำงานประจำวันก็ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐานได้ เทียบหลักอิทธิบาทตามลิงค์

viewtopic.php?f=2&t=20241

ขณะใช้อิริยาบถนั่ง กำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ
กำหนด เวทนา เป็นต้นว่า สุขหนอ ทุกข์หนอ
กำหนด (จิต)ความคิด คิดหนอ
กำหนด ธรรม ฟุ้งซ่านหนอ เป็นต้น สภาวะใดเกิดก็กำหนดสภาวะนั้น ตามที่เป็น รู้สึกอย่างไร กำหนดตามนั้น อย่างนั้น ปฏิบัติทำนองนี้ แต่ละวันเวลา สติปัฏฐานเข้าครบสูตร แล้วไม่ต้องคิดหาชื่อธรรมอื่นใด มีสติเป็นต้นตามที่ได้ยินได้ฟังมาอีก เพราะธรรมชาตินั้นเกิดแล้วในขณะที่กำหนดทันขณะปัจจุบัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อ่านแล้วดูเหมือนง่าย แต่ยากจริงๆนะ k.กรัชกราย เพราะใจมันคอยฟุ้งซ่านอยู่ตลอด :b5:
เราจะถามว่า ถ้านั่งสมาธิอย่างเดียว จนใจสงบ แบบว่ารู้สึกว่า o.k.แล้วค่อยมาหัดเดินจงกรม
จะดีกว่า หรือว่าฝึกทั้ง 2 อย่างพร้อมๆกันดีคะ รบกวนเอาแบบละเอียดนะคะ :b31: :b31:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


การเดินจงกรม

ถ้าที่เดินอำนวยก็เดินไปทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกแล้วให้เข้าทางจงกรมทิศตะวันตกผินหน้ามาทางทิศตะวันออก แล้วยกมือใส่หัว

ส่วนความนึกคิดก็หวังจะทำเพื่อพระนิพพาน คือเจตนาที่เดินจงกรมเบื้องแรก และการเดินเอามือซ้ายเหยียดลงที่ใต้ท้องน้อยแบมือขวาหย่อนลงมาประกบกัน เงยหน้าพอดีจะก้าวขาขวา หรือซ้ายก่อนก็แล้วแต่สะดวก

แต่ขอให้เรามีสติอยู่ว่าเราก้าวขวาหรือซ้าย

ส่วนก้าวยาวหรือสั้นนั้นก็ก้าวพอดีๆ เราดีๆ นี้เองเร็วหรือช้าก็พอดีเรา และก็มีตาทอดลงพอสมควร

ทางนั้นยาวหรือสั้นข้อนี้แล้วแต่สถานที่จะอำนวยแต่ไม่ให้สั้นเกินไป
เพราะจะกลับวกเวียนลำบากเวลากลับซ้ายหรือขวาก็แล้วแต่สะดวก

แต่ขอให้มีสติรู้ตัวว่าเรากลับซ้ายหรือขาว เวลาเดินจะยกขาซ้ายหรือขาขวาก่อนก็ไม่เป็นปัญหา แต่ขอให้เรารู้ว่าเรายกขาขวาหรือขาซ้ายก่อน

โดยใจความก็คือให้มีสติติดอยู่กับตัวไม่ได้หลงทำ…การกำหนดบริกรรมก็บริกรรมในกรรมฐานที่เราชอบนั่นเอง

ส่วนทางยาวนั้นในพระไตรปิฏก บางแห่งยาว 60 ศอกก็มี

แต่บางแห่งบางกรณีกอดต้นเสากุฏิเดินเวียนก็มี
และก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ด้วย ที่ว่านี้หมายความว่าภิกษุณีบางองค์ ชะรอยในเวลานั้นคงจะมีการขัดข้องไม่สะดวกจึงได้กอดต้นเสาเดิน

หรือหากท่านขัดข้องอะไรก็ไม่บอกชัด และทางเดินจงกรมนั้นนอกจากทิศตะวันตกแล้วก็มีทิศตะวันออกเฉียงเหนือตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สองทางเท่านั้น ให้เข้าใจว่าถ้าที่ไม่อำนวยก็เดินไปได้ทุกทิศ เวลาเดินไปสุดทางจงกรมใช้หมุนตัวกลับแล้วเดินต่อ แต่ไม่หมุนกลับแบบทหารปึงปัง หรือไม่รีบกลับ จะยืนพิจารณาอยู่บ้างก็ได้ ในขณะเดินจงกรมมีบางช่วงหยุดเดิน แต่ยังบริกรรมอยู่คล้ายกับรำพึง วิธีนี้ก็มีอยู่บ้าง

การเดินจงกรมกับนั่งสมาธิจะว่าอันไหนดีกว่านั้น

มันก็ขึ้นอยู่ความสะดวกของแต่ละราย

แต่ท่านทรงสรรเสริญว่าผู้เก่งทางเดินจงกรมร่างกายจะกระปี้กระเปร่าเดินทางไกลได้ทน
เพราะเป็นการบริหารอยู่ในตัว

สมาธิที่เกิดขึ้นในทางเดินจงกรมตั้งอยู่ได้นานอาพาธก็จะมีน้อย
และพระบรมศาสดาพระองค์ท่านกล่าวว่าเราตถาคตเดินก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ( หมายถึงนอนไม่หลับ )ภาวนาได้เสมอกันทั้งนั้น

ส่วนสาวกสาวิกาบางจำพวกบางบุคคลเก่งทางยืนภาวนา เดินภาวนา นั่งภาวนา แปลว่าได้อิริยาบถ 3 บางบุคคล ได้แต่เดินกับนั่งกับนอน ( นอนไม่หลับ ส่วนหลับก็ให้เป็นเรื่องของการหลับไปซะ ) บางท่านอนภาวนาไม่ได้ พอล้มนอนก็หลับไปซะ ไม่นานพอห้าหรือสิบนาที มีปัญหาถามพิเศษว่า ยืน เดิน นั่ง นอน ทำชั่วได้หรือไม่ ขอตอบว่าทำชั่วได้เหมือนกัน

เพราะสามารถนึกถึงกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกได้ เมื่อเป็นดังนี้ก็ได้ความชัดว่า ยืนเดินนั่งนอนภาวนาได้ทั้งนั้น ส่วนหลับแล้วมันเป็นเรื่องของหลับไม่ต้องปรารภ เช่นฝันว่าได้บุญมันก็ไม่ได้ ฝันว่าได้บาปมันก็ไม่ได้ แต่ฝันบางชนิดเกี่ยวกับธรรมะก็มีอยู่มาก

เช่นพระบรมศาสดาฝันว่านอนผินหัวไปทางทิศเหนือทางหัวจรดขอบจักรวาลทางเท้าจรดขอบจักรวาล มือด้านหนึ่งก็จรดขอบจักรวาลด้านหนึ่งอีกก็จรดขอบจักรวาล

และปรากฏว่าได้เดินจงกรมในภูเขาหนอน แต่เท้าของพระองค์ไม่เปื้อนมูตรคูถ และมีนกมาเคารพทั้ง 4 ทิศในเวลาจวนจะสว่าง ( ได้แก่พุทธบริษัททั้ง 4 จะเคารพพระองค์ตอนเมื่อตรัสรู้แล้วจะได้เทศนาสั่งสอนเอาตามบุญกรรมแต่ละท่าน ) คงเป็นระหว่างตี 3 แล้วพระองค์ทายตนเองว่าจะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็เป็นจริงดังที่ท่านแก้เอง แปลว่าก่อนรับข้าวมธุปยาสของนางสุชาดาหนึ่งวัน

..คัดจากหนังสือ หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ตอบปัญหาธรรมะ...

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ่านแล้วดูเหมือนง่าย แต่ยากจริงๆนะ k.กรัชกาย เพราะใจมันคอยฟุ้งซ่านอยู่ตลอด
เราจะถามว่า ถ้านั่งสมาธิอย่างเดียว จนใจสงบ แบบว่ารู้สึกว่า o.k.แล้วค่อยมาหัดเดินจงกรม
จะดีกว่า หรือว่าฝึกทั้ง 2 อย่างพร้อมๆกันดีคะ รบกวนเอาแบบละเอียดนะคะ


อ่านแล้วดูเหมือนง่าย แต่ยากจริงๆนะ k.กรัชกาย เพราะใจมันคอยฟุ้งซ่านอยู่ตลอด

เปลี่ยนมุมมองใหม่ ก็เพราะมันฟุ้งซ่านสินะครับ เราจึงต้องฝึกจับมาฝึกให้เชื่อง เพื่อเอาไว้ใช้งาน เหมือนสัตว์พาหนะมีช้างม้า เป็นต้น ยังไม่ถูกฝึกจนเชื่องแล้วล่ะก็ เจ้าของจะใช้ประโยชน์จากช้างหรือม้า
นั้นไม่ได้เลย พอเราโดดขึ้นหลัง ก็จะพยศหกหน้าหกหลังสบัด จนเจ้าของหล่นแอ๊กกองกับพื้น

กว่าจะฝึกให้สัตว์พาหนะตัวนั้นเชื่องเชื่อฟังคำสั่งได้ คงต้องใช้เวลาใช้ความอดทนบ้าง แต่เมื่อฝึกอบรมจน
เชื่องแล้ว จะเชื่อฟังคำสั่งเราก็นับว่าคุ้ม
การฝึกจิตก็ฉันนั้นแหละครับ ธรรมชาติของจิตย่อมดิ้นรนกลับกลอกพยศ มากด้วยมายา :b1:
ตนเองต้องศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของมัน แล้วฝึกตามวิธีที่ถูกต้อง อาศัยเวลาหมั่นสังเกต
แล้ววันหนึ่งก็เชื่องเอง จะเชื่อฟังคำสั่งเรา อยู่ในอำนาจของเรา เป็นผู้รับใช้เรา สั่งให้หยุดก็หยุด
สั่งให้ไปก็ไป สั่งให้นอนก็นอน สั่งให้หลับก็หลับ สั่งให้ลุกก็ลุก เป็นเสมือนทาสผู้ซื่อสัตย์ต่อเจ้านาย
เป็นเหมือนมิตรสหายที่แสนดี อยู่เคียงข้างเราคอยให้คำปรึกษาทุกเวลาที่เราต้องการความช่วย
เหลือ :b12:


จงกรมมี ๖ ระยะก็จริงครับ แต่ไม่จำต้องเดินให้ครบ ๖ ระยะในเวลาอันสั้น
เดินระยะแรกนั่นแหละให้คล่อง ให้ขึ้นใจ ควบคู่กับนั่งนั่นแหละจะทำให้จิตสงบเร็วขึ้น
เพราะอะไร ?
เพราะกายหยาบกว่าลมเข้าออก จิตเกาะง่ายกว่า จึงสงบเร็วขึ้น และเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวมด้วย
อีกทั้งช่วยปรับอินทรีย์ ๕ ให้สมดุลกันด้วย

โดยเริ่มอย่างนี้ครับ
สมมุติว่า วันนั้นๆ เรามีเวลาว่าง ๒๐ นาที แบ่งเวลาหาร ๒ เดิน ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ ฯลฯ ๑๐ นาที แล้วลงนั่งพิจารณาลมเข้าลมออก หรือ พองหนอ ยุบหนอ ๑๐ นาที เท่านี้
โอเค.แล้วครับวันนั้น :b11: ค่อยฝึก ค่อยทำไป
หรือเหลือเวลาไว้สวดมนต์บ้างก็ได้
เห็นไหมครับ เราปรับเพื่อความสะดวกได้
เอ้า...วันนั้นเหนื่อยนัก ก็นอนพิจารณากายบ้างลมบ้างรวมๆกัน คือ ให้จิตเกาะอยู่กับหลักจนหลับก็
ได้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2009, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b23: เราพอจะรู้แล้วนะว่าเราน่าจะปฏิบัติผิดตรงที่:b48: ตรงที่เรามีเวลาน้อยในตอนเช้าค่ะ :b10:
:b16: คือเราจะเริ่มด้วยสวดมนต์ หลายบทมากๆเลยจะใช้ เวลาประมาณ ครึ่งชั่วโมง :b32:
:b16: แล้วก็จะนั่งสมาธิ อีก 20 นาที จะเดินจงกรมอีก 15นาที เสร็จแล้วแผ่เมตตาอีก :b5:
:b6: คือเราคิดว่าต้องทำให้ครบชุดแบบนี้น่ะค่ะ บางวันเวลาน้อยก็จะกังวล เดี๋ยวไม่ทัน :b23:
:b9: เลยพาลให้ใจกระสับกระส่ายไม่สงบ รีบด้วย..... :b5:
:b48: พอช่วงเย็น เราก็จะทำเหมือนตอนเช้า แต่ลดบทสวดมนต์ มาสวดอิติปิโสเท่าอายุ+1 แทน
บางวันรู้สึกเหนื่อยมาก แต่ก็ฝืนทำให้ได้ กลัวทำไม่ถูกแล้วไม่ได้บุญน่ะค่ะ :b9:
:b48: เราก็สงสัยนะคะ ตอนเราไปปฏิบัติธรรม 7 วัน พอพักเที่ยงเข้ามา พระอาจารย์ก็จะให้เดินจงกรม
10 นาที แล้วต่อด้วยนั่งสมาธิ 20 นาที แต่ไม่เห็นมีสวดมนต์เลย จะมีก็แค่สวดมนต์เช้า-เย็น
:b10: :b10: :b10: แบบนี้ถ้าเราแบ่งเวลาเป็นสวดมนต์ 10-นั่ง10-เดิน10ก็คงน่าจะใช้ได้มังคะ
รู้สึก :b3: อายท่านผู้อ่านเจอโพสต์นี้จังค่ะ แบบว่าเรานี่ช่างไม่รู้อะไรเลย มาถามเรื่องนี้ มันอาจดูน่า
:b10: แต่สำหรับคนไม่รู้ มันก็ไม่รู้จริงๆนะคะ
:b53: ขอถามนะคะ คือการสวดมนต์นี่ เราสลับสวดในแต่ละวัน แต่ละบทก็ได้ใช่ไหมคะ
คือเราอ่านหนังสือบทสวดต่างๆ ก็จะเหมือนกับบุญที่จะได้รับจะมีความหมายไม่เหมือนกัน
เช่น บทพาหุง ...ก็จะสติสัมปชัญญะดี เจริญรุ่งเรือง.....
บทยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก....ก็จะเป็นมหากุศลยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน อนาคต ถึงลูกหลาน
:b53: แล้วแบบนี้เราควรสวดบทอะไรล่ะคะ จะได้บุญแบบหมดเลยน่ะค่ะ
:b53: แล้วเวลาที่จะเดินจงกรม+นั่งสมาธิ แบบแค่ตั้งนะโม 3 ครั้งได้ไม๊คะ ไม่ต้องสวดมนต์
:b53: แล้วหลังนั่งสมาธิเสร็จ ต้องกรวดน้ำ+แผ่เมตตาทุกครั้งไม๊คะ
เพราะเราสวดมนต์ในตอนเช้า+กรวดน้ำ+แผ่เตตาแล้ว
พอตอนเย็นก็แค่เดินจงกรม+นั่งสมาธิแค่นี้ได้ไม๊คะ
:b8: ช่วยแนะนำทุกข้อนะคะ :b8: :b32: ถามแบบบังคับตอบน่ะค่ะ :b29: :b29:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งเป็นกระทู้ให้ใหม่ เพื่อที่เราจะได้สนทนากันเป็นเอกเทศ ไม่ปะปนกัน ง่ายต่อการอ่านของผู้อื่นด้วย
คำถามนี้ ตอบให้แล้วครับที่

viewtopic.php?f=1&t=20711

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2009, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งการปฏิบัติธรรม คือการปรับอินทรีย์ สำคัญอย่างไร พิจารณาดูพุทธพจน์ ดังนี้


ในพุทธพจน์แสดงปฏิปทา ๔ ว่า ด้วยแนวทางปฏิบัติธรรม ของบุคคลที่แตกต่างกันไปเป็น ๔ ประเภท คือ

บางพวกปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า
บางพวกปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว
บางพวกปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า
บางพวกปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว

พระพุทธองค์ทรงชี้แจงว่า ตัวการที่กำหนดให้รู้ช้าหรือเร็วก็คืออินทรีย์ ๕ กล่าว คือ
ถ้าอินทรีย์ ๕ อ่อนไปก็รู้ช้า

(องฺ. จตุกฺก.21/161-3/200-4)

ถ้าอินทรีย์ ๕ แก่กล้าก็รู้ได้เร็ว

แม้แต่การที่พระอนาคามีแตกต่างกันออกไปเป็นประเภทต่างๆ ก็เพราะอินทรีย์ ๕ เป็นตัวกำหนดด้วย

(องฺ. จตุกฺก.21/169-3/209) หรือ

กว้างออกไปอีก ตามปกติ ความพรั่งพร้อมและความหย่อนแห่ง อินทรีย์ ๕ นี้แล

เป็นเครื่องกำหนดความสำเร็จ เป็นอริยบุคคลขั้นต่างๆทั้งหมด กล่าว คือ

เพราะอินทรีย์ ๕ เต็มบริบูรณ์ก็เป็นพระอรหันต์

อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระอนาคามี

อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระสกทาคามี

อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระโสดาบันประเภทธัมมานุสารี

อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระโสดาบันประเภทสัทธานุสารี ดังนี้ เป็นต้น

ตลอดจนว่า ถ้าไม่มีอินทรีย์ ๕ เสียเลยโดยประการทั้งปวง ก็จัดเป็นพวกปุถุชนคนภายนอก


มีคำสรุปว่า ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ ทำให้มีความแตกต่างแห่งผล

ความแตกต่างแห่งผล ทำให้มีความแตกต่างแห่งบุคคล หรือว่า

อินทรีย์ต่างกันทำให้ผลต่างกัน ผลต่างกันทำให้บุคคลต่างกัน

(สํ. ม. 19/876-900/265-271)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 19:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เครื่องวัดความพร้อม


หลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อม และ บ่งชี้ความก้าวหน้าช้า หรือ เร็วของบุคคล

ในการปฏิบัติธรรม ได้แก่ อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

หลักธรรมชุดนี้ ใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมได้ทั่วไป ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด

มิใช่ใช้เฉพาะสำหรับการเจริญสมาธิเท่านั้น


อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่

อย่างหนึ่งๆ

ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่ กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม

เช่น ความเพียรกำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงาน และ ปฏิบัติธรรมก้าว

หน้าไปได้ ความหมายของอินทรีย์ ๕ อย่างนั้น

ท่านแสดงไว้พอสรุป ได้ดังนี้


๑. ศรัทธา (เรียกเต็มว่า สัทธินทรีย์ – สัทธา+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน โสดาปัตติยังคะ ๔

ว่าโดยสาระ ก็คือ ศรัทธาในตถาคตโพธิ หรือ ตถาคตโพธิสัทธานั่นเอง

กิจ หรือ หน้าที่ของศรัทธา คือ ความน้อมใจดิ่ งหรือ เด็ดเดี่ยว (อธิโมกข์)

ความหมายสามัญว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริง ความดีของสิ่งที่นับถือ

หรือปฏิบัติ


๒. วิริยะ (เรียกเต็มว่า วิริยินทรีย์ – วิริยะ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สัมมัปปธาน ๔

บางแห่งว่า ความเพียรที่ได้ด้วยปรารภสัมมัปปธาน ๔ หรือ ตัวสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง

บางทีก็พูดให้สั้นลงว่า ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม และทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

การมีความแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม

หน้าที่ของวิริยะ คือ การยกจิตไว้ (ปัคคาหะ)

ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้าไม่ท้อถอย


๓.สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์ – สติ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สติปัฏฐาน ๔

บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภสติปัฏฐาน ๔ หรือ ตัวสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

บางทีให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัวที่ยวดยิ่ง

สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำ คำที่พูดแล้วแม้นานได้

หน้าที่ของสติ คือ การดูแลหรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน)

ความหมายสามัญว่า การระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง


๔. สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์ – สมาธิ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ในฌาน ๔

บางแห่งว่า หมายถึงตัวฌาน ๔ นั่นเอง หรือ พูดอย่างง่าย ได้แก่ การทำภาวะปล่อยวางให้เป็น

อารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต

หน้าที่ของสมาธิ คือ การทำจิตไม่ให้ส่าย (อวิกเขปะ)

ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่น แน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด


๕.ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์ – ปัญญา+อินทรีย์) พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔

คือการรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การมีปัญญา ความประกอบด้วยปัญญา ที่หยั่งถึงความเกิดขึ้น

และความเสื่อมสิ้นไป ซึ่งเป็นอริยะ ทำลายกิเลสได้ อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

หน้าที่ของปัญญา คือ การการเห็นความจริง (ทัสสนะ)

ความหมายสามัญว่า ความรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้สิ่งที่ทำ ที่ปฏิบัติ หยั่งรู้ หรือ รู้เท่าทันสภาวะ

(สํ.ม.19/852-875/259-265)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


( ต่อ)


มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ ๕ อย่างนี้

ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ

ศรัทธา ทำให้เกิดความเพียร

ความเพียร ช่วยทำให้สติมั่นคง

เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ ก็จะได้สมาธิ

เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจ มองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชา ตัณหา

ที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ

มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืด แห่งอวิชชา และความทุรนทุราย

แห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม

ครั้นเมื่อ รู้ชัดแล้ว เข้าใจแจ่มแจ้ง ด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธา

ที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่ง หรือ ยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็น สัทธินทรีย์อีก

ดังพุทธพจน์ท่อนสุดท้ายว่า

“ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้

ครั้นเพียรพยายามแล้ว ก็ระลึกอย่างนี้

ครั้นระลึกแล้ว ก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้

ครั้นตั้งจิตมั่นแล้ว ก็รู้ชัดอย่างนี้

ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็เชื่อยิ่งอย่างนี้

ธรรมทั้งหลาย ที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล

ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา อยู่ในบัดนี้”


(สํ.ม. 19/1010-1022/297-300)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)



คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้เสมอกัน

โดยย้ำว่า ถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่

อินทรีย์อื่นเหล่านั้น ก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน เช่น

ถ้าศรัทธาแรงไป

วิริยะ ก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้

สติ ก็ไม่สามารถดูแลจิต

สมาธิ ก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว

ปัญญา ก็ไม่สามารถเห็นตามเป็นจริง

ต้องลดศรัทธาเสีย ด้วยการใช้ปัญญา พิจารณาสภาวะแห่งธรรม หรือ

มนสิการในทางที่ไม่เป็นการเพิ่มกำลังให้แก่ศรัทธา

ตามหลักทั่วไป ท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ

ให้ศรัทธาสมหรือเสมอกับปัญญา

และให้สมาธิสมหรือเสมอกับวิริยะ

ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน ก็เลื่อมในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส

ถ้าปัญญากล้า ศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดี เป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

ถ้าสมาธิกล้า วิริยะอ่อน โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้านก็เข้าครอบงำ

เพราะสมาธิเข้าพวกกันได้กับโกสัชชะ

แต่ถ้าวิริยะแรง สมาธิอ่อน ก็เกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ

เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ

เมื่ออินทรีย์ ๒ คู่นี้เสมอกันดี การปฏิบัติธรรมก็เดินหน้าได้ผลดี


ส่วนสติเป็นข้อยกเว้น ท่านว่า ยิ่งสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยองค์ธรรมข้ออื่นๆได้ดียิ่งขึ้น

ช่วยรักษาจิต ไม่ให้ตกไปทั้งข้างอุทธัจจะ และ ข้างโกสัชชะ

การยกจิต ข่มจิต ต้องอาศัย สติ ทั้งนั้น


:b41: ................. :b41:



เรื่องการปรับอินทรีย์ให้เสมอกันนี้จับความมาจาก วิสุทธิ.1/164-5 ท่านตั้งเค้าจากพุทธพจน์ว่า

ให้ตระหนักชัดถึงความสมเสมอกันแห่งอินทรีย์ที่ วินย.5/2/7; องฺ.ฉกฺก.22/326/320.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 20:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




30.jpg
30.jpg [ 87.61 KiB | เปิดดู 8616 ครั้ง ]
จัดอินทรีย์เข้าคู่กันเพื่อให้เห็นภาพ

วิริยะ+สมาธิ

ปัญญา+ศรัทธา

สติเป็นกรณียกเว้น ยิ่งมากก็ยิ่งดี

จงกรมมี ๖ ระยะ ดังกล่าวแล้ว

จงกรมระยะที่ ๑-๓ เพิ่มวิริยะ คือ จงกรมระยะต่ำก็ปลุกจิตเร้าจิตให้ตื่นตัว

จงกรม ระยะที่ ๔-๖ เพิ่มสมาธิ ระยะยิ่งสูง จะช่วยให้จิตเกิดสมาธิเร็วขึ้น และอิริยาบถนั่ง

กำหนดอารมณ์ด้วย



พึงปรับ วิริยะ+สมาธิ ให้เสมอกัน หรือใกล้เคียงกัน หมายความว่า เมื่อสมาธิมากเกินวิริยะ

ก็เดินจงกรมระยะที่ ๑หรือ ๒ หรือ ๓ หรือเดินทั้ง ๓ ระยะควบไปด้วยกัน

เมื่อวิริยะมากเกินสมาธิ พึงเดินจงกรมระยะสูงๆ คือ ระยะ ๔ หรือ ๕ หรือ ๖ หรือเดินควบไปด้วยกัน

หรือใช้ปรับเวลานั่งกำหนดอารมณ์ให้มากว่าเดินจงกรมด้วยก็ได้



ศึกษาวิธีฝึกอบรมตัวอย่างจริงจากสองลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=24320&start=0


.viewtopic.php?f=2&t=24709

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 20:47, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)
.....

[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา
และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็น
อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ


หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ
ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเรา
ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ
ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอ
ย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ

(อาการการเดิน การนั่ง การยืน การนอน จงกรม พึงอ่านเพิ่มเติมที่จารสูตร และศีลสูตร)


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 21:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร