วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 07:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ

มักมีแนวความคิดดังนี้

1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย)
(พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน)
-- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ

2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด)

3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์



อ้างคำพูด:
บางทีอาจเป็นหัวข้อที่ท่านที่ศึกษางานจะต้องมาช่วยกันวิเคราะห์ ถกเถียง และอย่างน้อยก็ไม่ด่วนตัดสิน เพราะว่าแนวคิดของท่านที่มองอะไรกว้างขวางและผลงานเยอะ มีความเสี่ยงภัยเหมือนกัน คือบางคนไปจับอะไรมอง ได้ยินอะไร หรือว่าไปอ่านหนังสือของท่านบางเล่มเห็นข้อความบางอย่างจับเอาเลยว่าท่านคิดเห็นอย่างนั้น จริงอยู่ท่านกล่าวจากความคิดของท่าน แต่เรามองอย่างไม่รู้ความเป็นมาเป็นไปเดิม ไม่รู้แนวคิดพื้นฐานกว้างๆ ของท่าน เราก็มองไปแต่เป็นไปตามความคิดความรู้สึกของเราเอง มันทำให้เกิดปัญหาเหมือนกัน

การมองแนวคิดของท่านพุทธทาส ถ้ามองขั้นที่ ๑ เรามองที่เจตนาก่อน เจตนาของท่านเป็นอย่างไร อันนี้เห็นได้ค่อนข้างชัด แม้แต่ชื่อท่านเอง ท่านก็เรียกว่าพุทธทาส แปลว่าทาสของพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าพูดอย่างภาษาเราง่ายๆ ท่านมุ่งอุทิศชีวิตของท่านในการสนองงานของพระพุทธเจ้าอะไรล่ะ สนองงานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับพระสงฆ์ย้ำบ่อยมาก

ท่านมีเจตนาพื้นฐานเพื่อจะสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำให้โลกอยู่ร่มเย็นเป็นสุข อันนี้จริงไหม ถ้าเรายอมรับเราตกลง แล้วเราแน่ใจ เราก็ได้ไปในขั้นเจตนา เมื่อเราได้เจตนาก็ได้ขั้นพื้นฐานเลยมันเป็นตัวนำจิต เพราะว่าจิตของเรากับจิตของท่านจะสอดคล้องกัน ที่นี้เราแน่ใจไหม มันก็ได้ไปส่วนสำคัญ ที่นี้เมื่อมามองงานของท่านที่มีมากมาย อย่างที่พูดเมื่อกี้ ถ้าเราไม่ได้ชัดเจนกับตัวเอง เรื่องของแนวคิดของท่านที่เป็นไปตามเจตนานี้ มันก็เป็นไปในทิศทางที่จะทำให้โลกอยู่เย็นเป็นสุข พอมีแนวคิดพื้นฐานแบบนี้จะช่วยให้การแปลความหมายดีขึ้น เราจะยอมรับไหมว่าแนวคิดนี้แน่ใจ

ต่อไปก็มองที่ตัวหนังสือบ้าง คำพูด คำเทศนาของท่าน อาตมาจะยกตัวอย่างเลย บางที่บางคนไปจับเฉพาะบางแง่บางส่วน แล้วจะทำให้เกิดปัญหา เช่น บางทีบางคนอาจจะไปยกคำของท่านมา ที่บอกว่าพระไตรปิฎกนี่ต้องฉีกออกเท่านั้นเปอร์เซ็นต์ เหมือนกับว่ามีส่วนที่ไม่ควรใช้ ไม่ควรเชื่อถือหลายเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวท่าน ตั้งแต่เจตนาพื้นฐาน บางคนก็อาจจะเข้าใจเลยไปว่าพระไตรปิฎกไม่น่าเชื่อถือ บางคนก็ยกไปอ้างในทำนองนี้ หรือเป็นว่าเป็นแนวคิดของท่าน

อันนี้ถ้าเราดูพื้นจากที่เป็นมา อย่างที่อาตมาเล่า อาตมามอง เริ่มจากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แล้วก็ต่อมาท่านพุทธทาสออกหนังสือกลุ่มจากพระโอษฐ์เยอะมาก ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์, อริยสัจจากพระโอษฐ์, ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ท่านมีหนังสือแบบนี้แสดงว่าท่าทีหรือว่าทัศนคติของท่านต่อพระไตรปิฎกเป็นอย่างไร อย่างน้อยท่านเอาจริงเอาจังมากกับพระไตรปิฎก ท่านอยู่กับพระไตรปิฎกมามากมาย และตั้งใจค้นคว้า ศึกษาจริง

เราจะเห็นข้อความที่ท่านใช้อ้าง แม้แต่ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท เหมือนกับว่าด้านหนึ่งท่านเป็นผู้เอาจริงเอาจัง ซื่อสัตย์ต่อพระไตรปิฎก ไว้ใจพระไตรปิฎกมาก แต่พร้อมกันนั้นท่านก็มีท่าทีให้มีเหตุผลไม่เชื่อเรื่อยเปื่อย หรือเชื่องมงาย ว่าอะไรที่อยู่ในชุดที่เรียกว่าพระไตรปิฎกจะต้องเชื่อตามไปหมด อันนี้เป็นทัศนคติที่พอดีๆ ที่ศึกษาอย่างมีเหตุผล

อาตมาจะอ่านให้ฟังสักนิดเป็นการโควทท่านหน่อย ในหนังสือโอสาเรปนะธรรม หน้า ๔๒๓ บอกว่า "ดังนั้นในการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ต้องถือเอาบาลีเดิมเป็นหลัก" นี้แสดงว่าท่านยึดพระไตรปิฎก คำว่า "บาลี" เป็นคำทางพระหมายถึงพระไตรปิฎก อย่ามอบตัวให้กับอรรถกถาอย่างไม่ลืมหูลืมตา อันนี้ก็พูดถึงอรรถกถา ซึ่งประเดี๋ยวก็ต้องพูดกันอีก มาถึงเรื่องฉีก ท่านก็ยังพูดถึงเรื่องฉีก ในหนังสือพระธรรมปาติโมกข์ เล่ม ๒ หน้า ๑๒๓ ท่านพูดถึงเว่ยหลาง

"ฉะนั้นการที่เขาฉีกพระสูตรนี้ มันถูกที่สุด เดี๋ยวนี้เรามีห้องสมุด มีหนังสือแยะ ที่เราก็มี เขาให้อะไรเยอะแยะ เป็นตารางที่ขังความโง่ของคนไว้อย่าให้ไปครอบงำใคร...ฉะนั้นห้องสมุดของผมที่ชั้นบนนี้ ผมจึงไม่ให้ใครเอาหรือขึ้นไปใช้มัน เพราะเป็นความโง่ของคนทั้งโลกที่ผมขังไว้ อย่าให้ไปครอบงำคนอื่น บางชุดซื้อมาตั้งหมื่น นั้นคือความโง่ ไม่กี่เล่ม เอามาขังไว้ในนี้ไปครอบงำใครได้ นี้ยิ่งทำยิ่งโง่ ยิ่งอ่านยิ่งโง่ ยิ่งเรียนมากยิ่งโง่"

ถ้าคนมาจับความแค่นี้ก็จะบอกว่าท่านเป็นปฏิปักษ์กับเรื่องหนังสือ ไม่สนับสนุนให้อ่านให้ค้นคว้า อันนี้ก็ไม่อยากให้ไปจับเอาเฉพาะแง่เฉพาะมุมนิดๆ หน่อยๆ ต้องดูทั้งหมดว่าท่านมองอย่างไร คิดอย่างไร บางทีมันเป็นเรื่องเฉพาะกรณี เราก็ต้องดูว่าขณะนั้นท่านกำลังพูดเรื่องอะไร ท่านต้องการให้ผู้ฟังได้แง่คิดอะไรในเรื่องนี้

เมื่อกี้พูดถึงว่าให้เอาบาลี หรือพระไตรปิฎกเป็นหลัก อย่าไปมอบตัวให้กับอรรถกถา ทีนี้บางทีท่านพูดถึงเรื่องอรรถกถาในหลายกรณีก็จะมีเรื่องพูดในแง่ที่ไม่ค่อยดี คล้ายๆ กับไม่น่าไว้ใจ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องอย่างนั้น แต่นี้บางคนไปถึงขนาดที่ว่าอรรถกานี้ไว้ใจไม่ได้ อาตมาอ่านหนังสือบางเล่มเขาดูถูกอรรถกถา ไม่เชื่ออรรถกถา ถ้าเราดูท่านพุทธทาส อาจจะถือเป็นความพอดีก็ได้ งานของท่านจะพูดถึงอรรถกถาเยอะแล้วท่านก็ใช้ประโยชน์จากอรรถกถา เรื่องราวต่างๆ ท่านก็เอาจากอรรถกถามา

เราไม่ต้องไปพูดเฉพาะท่านหรอก คืออย่างคำแปลพระไตรปิฎก ฉบับโน้นฉบับนี้เราก็มาอ้างกันว่าเป็นพระไตรปิฎก และที่ใช้ในเมืองไทยก็ต้องแปลเป็นภาษาไทย โดยมากก็จะคัดมา อ้างอิงมาจากฉบับแปลเป็นภาษาไทย เราไม่ได้อ้างอิงมาจากฉบับภาษาบาลีมาอ้างอิงโดยตรง และหลายคนก็ไม่สามารถแปลได้ด้วย

ที่เราบอกว่าพระไตรปิฎกๆ นั้น คำแปลเขาอ้างจากอรรถกถานะ พระไตรปิฎกฉบับ ๒๕ ศตวรรษพิมพ์ครบชุดครั้งแรกในประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วต่อมาก็กลายเป็นฉบับกรมการศาสนา ฉบับมหามกุฏฯ มหาจุฬาฯ คนแปลไม่ได้รู้ไปหมด ต้องค้นหากัน เวลาค้นๆ กันที่ไหน ก็ค้นจากอรรถกถา จากฎีกา แล้วก็แปลไปตามนั้น

คนที่บอกว่าไม่เชื่ออรรถกถา ไม่รู้แปลพระไตรปิฎกเอาตามอรรถกถา ใช้อรรถกถามาเป็นสิ่งที่ตัวเองยึดถือเลย โดยอ้างอิงพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นพระไตรปิฎกแปลไม่ได้แปลตรงไปตรงมาหรอก แปลตามอรรถกถาอธิบาย เพราะพระไตรปิฎกนั้นเรารู้อยู่แล้วว่าเก่ากว่าอรรถกถามาก ที่นี้ศัพท์ที่เก่าขนาดนั้น บางทีรูปประโยคดูไม่ออกเลยว่าหมายความว่าอย่างไร การแปลจึงต้องหาอุปมาช่วย ก็ได้อรรถกถานี้แหละที่เก่ารองจากพระไตรปิฎก จึงไปเอาอรรถกถาว่าท่านอธิบายบาลีองค์นี้ไว้อย่างไร ถ้าอธิบายความแล้วยังไม่ชัดอยากจะได้ความที่ชัดยิ่งขึ้นก็ไปค้นคัมภีร์รุ่นต่อมา หรือฎีกา หรืออนุฎีกาต่างๆ มาพิจารณาประกอบ จะถือเอาตามนั้นหรือจะตัดสินอย่างไรก็ตามแต่ รวมแล้วก็คือต้องอาศัยคัมภีร์เก่า

แต่บางคนก็อ้างพระไตรปิฎกโดยไม่รู้ว่าความจริงว่าแม้แต่คนแปลเขาก็อ้างอรรถกถา กลายเป็นว่าที่ตัวเอาๆ มาจากอรรถกถา อันนี้เป็นตัวอย่างที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านศึกษามาก ต้องยอมรับว่าท่านบวชตั้งแต่เมื่อไร ท่านอุทิศชีวิตกับการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกาอะไรต่างๆ เวลาท่านอธิบายท่านก็ยกมาอ้าง เวลาท่านบอกไม่ให้เชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ไม่ให้เราเชื่อเรื่อยเปื่อยงมงายไป

ในหนังสือพุทธิกะจริยธรรม หน้า ๒๓๓ "ฉะนั้นเราต้องมีธรรมที่เหมาะสมแก่วัย ที่วัยนั้นจะพอรับเอาได้ หรือเข้าใจได้" ข้อนี้ท่านเปรียบไว้ในอรรถกถาว่า "ขืนป้อนข้าวคำใหญ่ๆ แก่เด็กซึ่งปากยังเล็กๆ" ก็หมายความว่าเด็กจะรับไม่ได้ ท่านได้ยกคำอรรถกถามาใช้ แต่ที่เป็นอภินิหารท่านก็บอกว่าอันนี้เป็นเรื่องน่าเชื่อไม่น่าเชื่อ

ฉะนั้นการที่จะไปพูดเรื่องมองอนาคตอะไร แนวคิดผลงานของท่านอันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ บางทีเราอาจจะก้าวเลยไปก็ได้ บางทีคนที่มาพูดมองอนาคตนั้นผ่านชีวิตของท่าน แต่ละคนก็มีในใจของตัวเอง มองแนวคิดของท่านไว้คนละอย่าง เสร็จแล้วอาจจะพูดไปคนละทางสองทาง การมองเรื่องที่ตั้งไว้ว่าเราจะช่วยให้มันเป็นอย่างไร โดยผ่านแนวคิดของท่านพุทธทาส เราก็ต้องชัดด้วย อย่างที่อาตมาบอกว่าให้มองตั้งแต่เจตนาของท่านที่แน่นอนเลย ที่จะสนองพุทธประสงค์ ที่จะรับใช้พระพุทธเจ้า ถ้าเรามีเจตนาแบบนี้ก็ต้องอนุโมทนาว่าเรามีเจตนาที่เป็นกุศล เราศึกษางานของท่าน เพื่อเอามาใช้ เอามาสอน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ถ้าทำได้อย่างนี้จะเป็นส่วนที่เราได้สนองท่านพุทธทาสด้วยนะ ท่านพุทธทาสสนองงานพระพุทธเจ้า โดยที่ว่าเราก็จำกัดลงมาในแง่สนองรับใช้ท่านพุทธทาส เราก็ได้รับใช้ทั้งสองเลย

เอาเป็นอันว่าหลวงพ่อพุทธทาสตั้งเจตนาเลย ท่านอุทิศชีวิตสนองงานพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ชื่อตัวเอง ที่ท่านเรียกตัวเองว่าพุทธทาสภิกขุ บทบาทที่เด่นของท่านก็สมานสัมพันธ์กับยุคสมัย อย่างที่บอกว่าคนไทยห่างไกลพุทธศาสนามาก ความเชื่ออะไรก็เป็นไปตามปรัมปรา ที่สืบต่อกันมา ก็ค่อยๆ คลาดเคลื่อน ค่อยๆ เพี้ยนไป อันนี้เป็นปัญหาของสังคมไทยที่เป็นสังคมพุทธ เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ต้องอาศัยกัน ไม่ใช่ศาสนาที่สำเร็จด้วยศรัทธา ที่จะบอกเลยว่าให้มีหลักความเชื่ออย่างไร"

แม้โลกวันนี้จะแสนวิปริตเพียงใด หากท่านมองผ่านฐานแนวคิดของท่านพุทธทาส จะเห็นว่าไม่ได้เป็นเรื่องของความทุกข์เพียงด้านเดียว แต่ยังเป็นบุญ เป็นโชค ดังคำกล่าวของท่านที่ว่า "โชคดีมีบุญที่ได้มาเกิดในโลกนี้ ในสภาพปัจจุบันนี้ที่แสนจะวิปริต เพราะว่ามีอะไรให้ศึกษามาก...คิดดูถ้าไม่มีเรื่องให้ศึกษามากแล้วมันจะฉลาดได้อย่างไร"
วิเคราะห์แนวคิดท่านพุทธทาส

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ส่วนหนึ่งของเสวนา

"มองอนาคตผ่านรากฐานความคิดและชีวิตท่านพุทธทาส ‘แล้วเราจะอยู่ในโลกอันแสนวิปริตนี้ได้อย่างไร’"

เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์

ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คัดลอกมาจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 07

วิภา จิรภาไพศาล /ในโลกอันแสนวิปริต กับฐานความคิดท่านพุทธทาส /





ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลท่านพุทธทาส เครือข่ายธรรมโฆษณ์ พุทธทาส ๑๐๐ ปี ได้จัดงานพุทธทาส ๑๐๐ ปี : ร้อยใจ ฟื้นไทย ให้คืนธรรม เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพระไพศาล วิสาโล, ดร. ณรงค์ เพชรประเสริฐ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ร่วมเสวนาในหัวข้อ "มองอนาคตผ่านรากฐานความคิดและชีวิตท่านพุทธทาส 'แล้วเราจะอยู่ในโลกอันแสนวิปริตนี้ได้อย่างไร'"




ขณะที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เริ่มการเสวนาจากการวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของท่านอาจารย์พุทธทาสว่า

"ถ้าจะให้อาตมาพูดผ่านแนวคิดของท่าน ในแง่ ๑. คือตนอาจจะอ่านไม่เพียงพอ ๒. การที่จะบอกว่าท่านผู้นั้นเป็นเรื่องยากและที่ต้องระวังมาก ที่นี้แม้แต่ชื่อที่บอกว่ามองอนาคตผ่านแนวคิดและชีวิตของพุทธทาสก็แปลความหมายได้หลายอย่าง

แปลง่ายๆ ก็ให้มองอนาคตของมนุษย์ ของสังคม หรือของอะไรก็แล้วแต่ว่าจะเป็นอย่างไร เราเพียงแต่ดูว่ามันจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็น เราไม่ค่อยเกี่ยวข้อง แต่แทนที่จะมองอย่างนั้น อาตมาคิดว่าเราน่ามองแบบมีส่วนรวมว่าอนาคตของโลกควรเป็นอย่างไร แล้วเราจะช่วยทำให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร อาตมาคิดว่าถ้ามองแบบนี้จะมีความหมายสำคัญมากกว่า

ส่วนแนวคิดและชีวิตของท่านพุทธทาสซึ่งจะโยงมาหาการที่เราจะต้องเข้าใจแนวคิดชีวิตของท่านพุทธทาส ว่าเราเข้าใจอย่างไร เราก็จะไปมองเรื่องอนาคตที่ว่านั้นจะจัดการไปตามนั้น ตอนนี้มันเป็นเรื่องสำคัญว่าเรามองแนวคิดของท่านพุทธทาสอย่างไร ไม่ใช่ว่าเรามองตรงกันนั้นถูกต้องแล้ว อันนี้เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน มันกลับมาสู่ปัญหาพื้นฐานเลยว่าตัวแนวคิดของท่านเป็นอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญมาก

บางทีอาจเป็นหัวข้อที่ท่านที่ศึกษางานจะต้องมาช่วยกันวิเคราะห์ ถกเถียง และอย่างน้อยก็ไม่ด่วนตัดสิน เพราะว่าแนวคิดของท่านที่มองอะไรกว้างขวางและผลงานเยอะ มีความเสี่ยงภัยเหมือนกัน คือบางคนไปจับอะไรมอง ได้ยินอะไร หรือว่าไปอ่านหนังสือของท่านบางเล่มเห็นข้อความบางอย่างจับเอาเลยว่าท่านคิดเห็นอย่างนั้น จริงอยู่ท่านกล่าวจากความคิดของท่าน แต่เรามองอย่างไม่รู้ความเป็นมาเป็นไปเดิม ไม่รู้แนวคิดพื้นฐานกว้างๆ ของท่าน เราก็มองไปแต่เป็นไปตามความคิดความรู้สึกของเราเอง มันทำให้เกิดปัญหาเหมือนกัน

การมองแนวคิดของท่านพุทธทาส ถ้ามองขั้นที่ ๑ เรามองที่เจตนาก่อน เจตนาของท่านเป็นอย่างไร อันนี้เห็นได้ค่อนข้างชัด แม้แต่ชื่อท่านเอง ท่านก็เรียกว่าพุทธทาส แปลว่าทาสของพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าพูดอย่างภาษาเราง่ายๆ ท่านมุ่งอุทิศชีวิตของท่านในการสนองงานของพระพุทธเจ้าอะไรล่ะ สนองงานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับพระสงฆ์ย้ำบ่อยมาก

ท่านมีเจตนาพื้นฐานเพื่อจะสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำให้โลกอยู่ร่มเย็นเป็นสุข อันนี้จริงไหม ถ้าเรายอมรับเราตกลง แล้วเราแน่ใจ เราก็ได้ไปในขั้นเจตนา เมื่อเราได้เจตนาก็ได้ขั้นพื้นฐานเลยมันเป็นตัวนำจิต เพราะว่าจิตของเรากับจิตของท่านจะสอดคล้องกัน ที่นี้เราแน่ใจไหม มันก็ได้ไปส่วนสำคัญ ที่นี้เมื่อมามองงานของท่านที่มีมากมาย อย่างที่พูดเมื่อกี้ ถ้าเราไม่ได้ชัดเจนกับตัวเอง เรื่องของแนวคิดของท่านที่เป็นไปตามเจตนานี้ มันก็เป็นไปในทิศทางที่จะทำให้โลกอยู่เย็นเป็นสุข พอมีแนวคิดพื้นฐานแบบนี้จะช่วยให้การแปลความหมายดีขึ้น เราจะยอมรับไหมว่าแนวคิดนี้แน่ใจ

ต่อไปก็มองที่ตัวหนังสือบ้าง คำพูด คำเทศนาของท่าน อาตมาจะยกตัวอย่างเลย บางที่บางคนไปจับเฉพาะบางแง่บางส่วน แล้วจะทำให้เกิดปัญหา เช่น บางทีบางคนอาจจะไปยกคำของท่านมา ที่บอกว่าพระไตรปิฎกนี่ต้องฉีกออกเท่านั้นเปอร์เซ็นต์ เหมือนกับว่ามีส่วนที่ไม่ควรใช้ ไม่ควรเชื่อถือหลายเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวท่าน ตั้งแต่เจตนาพื้นฐาน บางคนก็อาจจะเข้าใจเลยไปว่าพระไตรปิฎกไม่น่าเชื่อถือ บางคนก็ยกไปอ้างในทำนองนี้ หรือเป็นว่าเป็นแนวคิดของท่าน

อันนี้ถ้าเราดูพื้นจากที่เป็นมา อย่างที่อาตมาเล่า อาตมามอง เริ่มจากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แล้วก็ต่อมาท่านพุทธทาสออกหนังสือกลุ่มจากพระโอษฐ์เยอะมาก ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์, อริยสัจจากพระโอษฐ์, ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ท่านมีหนังสือแบบนี้แสดงว่าท่าทีหรือว่าทัศนคติของท่านต่อพระไตรปิฎกเป็นอย่างไร อย่างน้อยท่านเอาจริงเอาจังมากกับพระไตรปิฎก ท่านอยู่กับพระไตรปิฎกมามากมาย และตั้งใจค้นคว้า ศึกษาจริง

เราจะเห็นข้อความที่ท่านใช้อ้าง แม้แต่ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท เหมือนกับว่าด้านหนึ่งท่านเป็นผู้เอาจริงเอาจัง ซื่อสัตย์ต่อพระไตรปิฎก ไว้ใจพระไตรปิฎกมาก แต่พร้อมกันนั้นท่านก็มีท่าทีให้มีเหตุผลไม่เชื่อเรื่อยเปื่อย หรือเชื่องมงาย ว่าอะไรที่อยู่ในชุดที่เรียกว่าพระไตรปิฎกจะต้องเชื่อตามไปหมด อันนี้เป็นทัศนคติที่พอดีๆ ที่ศึกษาอย่างมีเหตุผล

อาตมาจะอ่านให้ฟังสักนิดเป็นการโควทท่านหน่อย ในหนังสือโอสาเรปนะธรรม หน้า ๔๒๓ บอกว่า "ดังนั้นในการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ต้องถือเอาบาลีเดิมเป็นหลัก" นี้แสดงว่าท่านยึดพระไตรปิฎก คำว่า "บาลี" เป็นคำทางพระหมายถึงพระไตรปิฎก อย่ามอบตัวให้กับอรรถกถาอย่างไม่ลืมหูลืมตา อันนี้ก็พูดถึงอรรถกถา ซึ่งประเดี๋ยวก็ต้องพูดกันอีก มาถึงเรื่องฉีก ท่านก็ยังพูดถึงเรื่องฉีก ในหนังสือพระธรรมปาติโมกข์ เล่ม ๒ หน้า ๑๒๓ ท่านพูดถึงเว่ยหลาง

"ฉะนั้นการที่เขาฉีกพระสูตรนี้ มันถูกที่สุด เดี๋ยวนี้เรามีห้องสมุด มีหนังสือแยะ ที่เราก็มี เขาให้อะไรเยอะแยะ เป็นตารางที่ขังความโง่ของคนไว้อย่าให้ไปครอบงำใคร...ฉะนั้นห้องสมุดของผมที่ชั้นบนนี้ ผมจึงไม่ให้ใครเอาหรือขึ้นไปใช้มัน เพราะเป็นความโง่ของคนทั้งโลกที่ผมขังไว้ อย่าให้ไปครอบงำคนอื่น บางชุดซื้อมาตั้งหมื่น นั้นคือความโง่ ไม่กี่เล่ม เอามาขังไว้ในนี้ไปครอบงำใครได้ นี้ยิ่งทำยิ่งโง่ ยิ่งอ่านยิ่งโง่ ยิ่งเรียนมากยิ่งโง่"

ถ้าคนมาจับความแค่นี้ก็จะบอกว่าท่านเป็นปฏิปักษ์กับเรื่องหนังสือ ไม่สนับสนุนให้อ่านให้ค้นคว้า อันนี้ก็ไม่อยากให้ไปจับเอาเฉพาะแง่เฉพาะมุมนิดๆ หน่อยๆ ต้องดูทั้งหมดว่าท่านมองอย่างไร คิดอย่างไร บางทีมันเป็นเรื่องเฉพาะกรณี เราก็ต้องดูว่าขณะนั้นท่านกำลังพูดเรื่องอะไร ท่านต้องการให้ผู้ฟังได้แง่คิดอะไรในเรื่องนี้

เมื่อกี้พูดถึงว่าให้เอาบาลี หรือพระไตรปิฎกเป็นหลัก อย่าไปมอบตัวให้กับอรรถกถา ทีนี้บางทีท่านพูดถึงเรื่องอรรถกถาในหลายกรณีก็จะมีเรื่องพูดในแง่ที่ไม่ค่อยดี คล้ายๆ กับไม่น่าไว้ใจ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องอย่างนั้น แต่นี้บางคนไปถึงขนาดที่ว่าอรรถกานี้ไว้ใจไม่ได้ อาตมาอ่านหนังสือบางเล่มเขาดูถูกอรรถกถา ไม่เชื่ออรรถกถา ถ้าเราดูท่านพุทธทาส อาจจะถือเป็นความพอดีก็ได้ งานของท่านจะพูดถึงอรรถกถาเยอะแล้วท่านก็ใช้ประโยชน์จากอรรถกถา เรื่องราวต่างๆ ท่านก็เอาจากอรรถกถามา

เราไม่ต้องไปพูดเฉพาะท่านหรอก คืออย่างคำแปลพระไตรปิฎก ฉบับโน้นฉบับนี้เราก็มาอ้างกันว่าเป็นพระไตรปิฎก และที่ใช้ในเมืองไทยก็ต้องแปลเป็นภาษาไทย โดยมากก็จะคัดมา อ้างอิงมาจากฉบับแปลเป็นภาษาไทย เราไม่ได้อ้างอิงมาจากฉบับภาษาบาลีมาอ้างอิงโดยตรง และหลายคนก็ไม่สามารถแปลได้ด้วย

ที่เราบอกว่าพระไตรปิฎกๆ นั้น คำแปลเขาอ้างจากอรรถกถานะ พระไตรปิฎกฉบับ ๒๕ ศตวรรษพิมพ์ครบชุดครั้งแรกในประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วต่อมาก็กลายเป็นฉบับกรมการศาสนา ฉบับมหามกุฏฯ มหาจุฬาฯ คนแปลไม่ได้รู้ไปหมด ต้องค้นหากัน เวลาค้นๆ กันที่ไหน ก็ค้นจากอรรถกถา จากฎีกา แล้วก็แปลไปตามนั้น

คนที่บอกว่าไม่เชื่ออรรถกถา ไม่รู้แปลพระไตรปิฎกเอาตามอรรถกถา ใช้อรรถกถามาเป็นสิ่งที่ตัวเองยึดถือเลย โดยอ้างอิงพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นพระไตรปิฎกแปลไม่ได้แปลตรงไปตรงมาหรอก แปลตามอรรถกถาอธิบาย เพราะพระไตรปิฎกนั้นเรารู้อยู่แล้วว่าเก่ากว่าอรรถกถามาก ที่นี้ศัพท์ที่เก่าขนาดนั้น บางทีรูปประโยคดูไม่ออกเลยว่าหมายความว่าอย่างไร การแปลจึงต้องหาอุปมาช่วย ก็ได้อรรถกถานี้แหละที่เก่ารองจากพระไตรปิฎก จึงไปเอาอรรถกถาว่าท่านอธิบายบาลีองค์นี้ไว้อย่างไร ถ้าอธิบายความแล้วยังไม่ชัดอยากจะได้ความที่ชัดยิ่งขึ้นก็ไปค้นคัมภีร์รุ่นต่อมา หรือฎีกา หรืออนุฎีกาต่างๆ มาพิจารณาประกอบ จะถือเอาตามนั้นหรือจะตัดสินอย่างไรก็ตามแต่ รวมแล้วก็คือต้องอาศัยคัมภีร์เก่า

แต่บางคนก็อ้างพระไตรปิฎกโดยไม่รู้ว่าความจริงว่าแม้แต่คนแปลเขาก็อ้างอรรถกถา กลายเป็นว่าที่ตัวเอาๆ มาจากอรรถกถา อันนี้เป็นตัวอย่างที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านศึกษามาก ต้องยอมรับว่าท่านบวชตั้งแต่เมื่อไร ท่านอุทิศชีวิตกับการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกาอะไรต่างๆ เวลาท่านอธิบายท่านก็ยกมาอ้าง เวลาท่านบอกไม่ให้เชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ไม่ให้เราเชื่อเรื่อยเปื่อยงมงายไป

ในหนังสือพุทธิกะจริยธรรม หน้า ๒๓๓ "ฉะนั้นเราต้องมีธรรมที่เหมาะสมแก่วัย ที่วัยนั้นจะพอรับเอาได้ หรือเข้าใจได้" ข้อนี้ท่านเปรียบไว้ในอรรถกถาว่า "ขืนป้อนข้าวคำใหญ่ๆ แก่เด็กซึ่งปากยังเล็กๆ" ก็หมายความว่าเด็กจะรับไม่ได้ ท่านได้ยกคำอรรถกถามาใช้ แต่ที่เป็นอภินิหารท่านก็บอกว่าอันนี้เป็นเรื่องน่าเชื่อไม่น่าเชื่อ

ฉะนั้นการที่จะไปพูดเรื่องมองอนาคตอะไร แนวคิดผลงานของท่านอันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ บางทีเราอาจจะก้าวเลยไปก็ได้ บางทีคนที่มาพูดมองอนาคตนั้นผ่านชีวิตของท่าน แต่ละคนก็มีในใจของตัวเอง มองแนวคิดของท่านไว้คนละอย่าง เสร็จแล้วอาจจะพูดไปคนละทางสองทาง การมองเรื่องที่ตั้งไว้ว่าเราจะช่วยให้มันเป็นอย่างไร โดยผ่านแนวคิดของท่านพุทธทาส เราก็ต้องชัดด้วย อย่างที่อาตมาบอกว่าให้มองตั้งแต่เจตนาของท่านที่แน่นอนเลย ที่จะสนองพุทธประสงค์ ที่จะรับใช้พระพุทธเจ้า ถ้าเรามีเจตนาแบบนี้ก็ต้องอนุโมทนาว่าเรามีเจตนาที่เป็นกุศล เราศึกษางานของท่าน เพื่อเอามาใช้ เอามาสอน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ถ้าทำได้อย่างนี้จะเป็นส่วนที่เราได้สนองท่านพุทธทาสด้วยนะ ท่านพุทธทาสสนองงานพระพุทธเจ้า โดยที่ว่าเราก็จำกัดลงมาในแง่สนองรับใช้ท่านพุทธทาส เราก็ได้รับใช้ทั้งสองเลย

เอาเป็นอันว่าหลวงพ่อพุทธทาสตั้งเจตนาเลย ท่านอุทิศชีวิตสนองงานพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ชื่อตัวเอง ที่ท่านเรียกตัวเองว่าพุทธทาสภิกขุ บทบาทที่เด่นของท่านก็สมานสัมพันธ์กับยุคสมัย อย่างที่บอกว่าคนไทยห่างไกลพุทธศาสนามาก ความเชื่ออะไรก็เป็นไปตามปรัมปรา ที่สืบต่อกันมา ก็ค่อยๆ คลาดเคลื่อน ค่อยๆ เพี้ยนไป อันนี้เป็นปัญหาของสังคมไทยที่เป็นสังคมพุทธ เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ต้องอาศัยกัน ไม่ใช่ศาสนาที่สำเร็จด้วยศรัทธา ที่จะบอกเลยว่าให้มีหลักความเชื่ออย่างไร"

แม้โลกวันนี้จะแสนวิปริตเพียงใด หากท่านมองผ่านฐานแนวคิดของท่านพุทธทาส จะเห็นว่าไม่ได้เป็นเรื่องของความทุกข์เพียงด้านเดียว แต่ยังเป็นบุญ เป็นโชค ดังคำกล่าวของท่านที่ว่า "โชคดีมีบุญที่ได้มาเกิดในโลกนี้ ในสภาพปัจจุบันนี้ที่แสนจะวิปริต เพราะว่ามีอะไรให้ศึกษามาก...คิดดูถ้าไม่มีเรื่องให้ศึกษามากแล้วมันจะฉลาดได้อย่างไร"

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของบุญมี แนบ

จะก่อให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป

เวลานีเหลิมศิษย์เอกของขุญมีก้บแนบก็เริ่มด่าพระแล้ว

เริ่มจากท่านพุทธทาส อาจารย์มั่น อาจารย์ดุลย์ อาจารย์ถาวรฯลฯ



Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย
และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes
ท่านพุทธทาสยึดพระไตรปิฎก

อย่ามาบิดเบือน


คุณ mes ครับ อาจารย์ใหญ่ของคุณ ยึดถือเพียง ๔๐ % ที่เหลือก็มีปลอมปนเยอะ

เอาเป็นว่า คุณ mes ยึดถืออัตตโนมติของอาจารย์คุณแทน พระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาท แล้วกัน

เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.org/html/life-wor ... r6-04.html

อาจารย์ครับ แม้แต่ระยะหลังที่อาจารย์เสนอให้ฉีกพระไตรปิฎก อาจารย์ก็อาศัยหลักอันเดียวกันนี้มาตลอด หรือมีหลักอย่างอื่นด้วย เวลาวินิจฉัยว่าอันไหนควรจะฉีก อันไหนไม่ควรฉีก

อย่างนั้นใช้หลักอย่างที่ว่า ที่เห็นชัดว่ามันไม่เกี่ยวกับความทุกข์ที่มันไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ เช่นเรื่องสุริยคราส จันทรคราส ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ แต่เป็นการสร้างความเชื่อในหมู่คนที่ไร้การศึกษาสมัยนั้นให้หันมาสนใจพระพุทธเจ้า ถ้าเพียงแต่ออกชื่อพระพุทธเจ้า ราหูก็ต้องปล่อยพระจันทร์ เข้าใจว่าในอินเดียหรือในลังกา สมัยที่เติมสูตรนี้เข้ามา คนมันเชื่ออย่างนั้นมาก เลยเอามาพูดไว้เสียเลย มาบรรจุไว้ในพระไตรปิฎกเสียเลย เรื่องยักษ์ก็เหมือนกัน คนกลัวยักษ์กันมาก ฉะนั้น ถ้ามีเรื่องที่ไม่ต้องกลัวยักษ์ มันก็มีประโยชน์แก่มหาชน ท่านเหล่านี้คงมองถึงประชาชนชั้นที่ต่ำสุด ชั้นที่ไร้การศึกษา เขาเชื่อเทวดากันอยู่อย่างนั้นโดยมากถือโอกาสเอาเทวดามาเป็นเครื่องชักจูงให้เขาหันมาถือพุทธศาสนา โดยใจความสำคัญว่า แม้แต่เทวดาก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า คนธรรมดาทำไมจะไม่ต้องยอมรับนับถือ ในพระสูตรเรื่องอริยสัจแท้ ๆ เรื่องมรรคมีองค์ ๘ แท้ ๆ ยังต้องเอาเทวดามาช่วยสนับสนุน ว่าสิ่งวิเศษเกิดขึ้นแล้วในโลก บอกกันทุกชั้น ๆ ของเทวดา ธรรมะที่ใคร ๆ ไม่อาจจะคัดค้านได้เกิดขึ้นแล้ว ประชาชนได้ยินถึงเรื่องเทวดาก็ยอมด้วย เพราะเขาฝากกันไว้กับเทวดาอยู่เป็นพื้นฐาน ใช้คำว่าฉีกรู้สึกมันหยาบคาย แต่ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไร

อาจารย์หมายความว่าอย่างไรครับ คำว่าฉีกของอาจารย์

ปลดออก ระงับเสีย สำหรับเมื่อจะแสดงแก่คนชนิดไหน ถ้าจะมีสำหรับคนทั่วไป คนพื้นฐานที่ไร้การศึกษาก็ไม่ต้องฉีกออก และไม่มีอะไรที่จะต้องฉีกออก แต่ถ้าจะแสดงแก่นักวิทยาศาสตร์แท้จริง นักโบราณคดีแท้จริง ต้องปลด ๆ ออกเสีย ๖๐% เหลือ ๔๐% จึงจะสะอาด สะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เหลือแต่แกนกับแก่น เหลือแต่เพชรเหลือแต่ทองคำ (หัวเราะ)

---------------------------------------------------

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณ mes
ท่านพุทธทาสยึดพระไตรปิฎก

อย่ามาบิดเบือน


คุณ mes ครับ อาจารย์ใหญ่ของคุณ ยึดถือเพียง ๔๐ % ที่เหลือก็มีปลอมปนเยอะ

เอาเป็นว่า คุณ mes ยึดถืออัตตโนมติของอาจารย์คุณแทน พระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาท แล้วกัน

เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.org/html/life-wor ... r6-04.html

อาจารย์ครับ แม้แต่ระยะหลังที่อาจารย์เสนอให้ฉีกพระไตรปิฎก อาจารย์ก็อาศัยหลักอันเดียวกันนี้มาตลอด หรือมีหลักอย่างอื่นด้วย เวลาวินิจฉัยว่าอันไหนควรจะฉีก อันไหนไม่ควรฉีก

[color=#FF0000]อย่างนั้นใช้หลักอย่างที่ว่า ที่เห็นชัดว่ามันไม่เกี่ยวกับความทุกข์ที่มันไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ เช่นเรื่องสุริยคราส จันทรคราส ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ แต่เป็นการสร้างความเชื่อในหมู่คนที่ไร้การศึกษาสมัยนั้นให้หันมาสนใจพระพุทธเจ้า ถ้าเพียงแต่ออกชื่อพระพุทธเจ้า ราหูก็ต้องปล่อยพระจันทร์
เข้าใจว่าในอินเดียหรือในลังกา สมัยที่เติมสูตรนี้เข้ามา คนมันเชื่ออย่างนั้นมาก เลยเอามาพูดไว้เสียเลย มาบรรจุไว้ในพระไตรปิฎกเสียเลย เรื่องยักษ์ก็เหมือนกัน คนกลัวยักษ์กันมาก ฉะนั้น ถ้ามีเรื่องที่ไม่ต้องกลัวยักษ์ มันก็มีประโยชน์แก่มหาชน ท่านเหล่านี้คงมองถึงประชาชนชั้นที่ต่ำสุด ชั้นที่ไร้การศึกษา เขาเชื่อเทวดากันอยู่อย่างนั้นโดยมากถือโอกาสเอาเทวดามาเป็นเครื่องชักจูงให้เขาหันมาถือพุทธศาสนา โดยใจความสำคัญว่า แม้แต่เทวดาก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า คนธรรมดาทำไมจะไม่ต้องยอมรับนับถือ ในพระสูตรเรื่องอริยสัจแท้ ๆ เรื่องมรรคมีองค์ ๘ แท้ ๆ ยังต้องเอาเทวดามาช่วยสนับสนุน ว่าสิ่งวิเศษเกิดขึ้นแล้วในโลก บอกกันทุกชั้น ๆ ของเทวดา ธรรมะที่ใคร ๆ ไม่อาจจะคัดค้านได้เกิดขึ้นแล้ว ประชาชนได้ยินถึงเรื่องเทวดาก็ยอมด้วย เพราะเขาฝากกันไว้กับเทวดาอยู่เป็นพื้นฐาน ใช้คำว่าฉีกรู้สึกมันหยาบคาย แต่ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไร

อาจารย์หมายความว่าอย่างไรครับ คำว่าฉีกของอาจารย์

ปลดออก ระงับเสีย สำหรับเมื่อจะแสดงแก่คนชนิดไหน ถ้าจะมีสำหรับคนทั่วไป คนพื้นฐานที่ไร้การศึกษาก็ไม่ต้องฉีกออก และไม่มีอะไรที่จะต้องฉีกออก แต่ถ้าจะแสดงแก่นักวิทยาศาสตร์แท้จริง นักโบราณคดีแท้จริง ต้องปลด ๆ ออกเสีย ๖๐% เหลือ ๔๐% จึงจะสะอาด สะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เหลือแต่แกนกับแก่น เหลือแต่เพชรเหลือแต่ทองคำ (หัวเราะ) [/color]
---------------------------------------------------


สาธุท่านพุทธทาสกล่าวได้ถูกต้องแล้ว

เราต้องไม่เป็นพวกมงคลตื่นธรรมอย่างสำนักนอกศาสนาอย่างอภิธรรมที่แอบอ้างอภิธรรมในพระไตรปิฎกไปอ้าง

สำนักสงฆ์ประกาศเมื่อปี2511ว่าไม่ใช่เป็นพุทธศาสนาพราะอวดอ้างตัวเองวิเศษ

นี่ถึงว่าระฆังยิ่งแคะยิ่งดัง

นี่แหละความประเสรฐของพุทธธรรมพุทธทาส

ท่านยึดพระไตรปิฎกมามากกว่าผู้ที่โจมตีท่านตามคกล่าวของท่านประยุกต์โต

ฉนั้นผู้ใดโจมตีท่าน

เท่ากับโจมตีพระพุทธเจ้าด้วย


ขอนำสัจจพจน์พระพุทธทาสมาฝากครับ

อ้างคำพูด:
มองแต่แง่ดีเถิด

.

เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา

จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่

เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู

ส่วนที่ชั่ว อย่างไปรู้ ของเขาเลย

.

จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว

อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย

เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย

ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8


"ยูเนสโก" ยกย่อง "ท่านพุทธทาส" 1 ใน 63 บุคคลสำคัญของโลก
การประชุมสมัยสามัญองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 พิจารณาการยกย่องเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี 2549-2550 รวม 63 คน/สถาบัน รวมถึงท่านพุทธทาสภิกขุ ถือได้ว่าท่านเป็นคนไทยคนที่ 18 ที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8


โดยท่านมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมด และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือต้องการให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ ท่านจึงได้ตั้งปณิธานในชีวิตไว้ 3 ข้อ คือ

ให้พุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน
ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม
ซึ่งก็มีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน หาว่าท่านจาบจ้วงพระพุทธศาสนาหรือรับจ้างคนคริสต์มาทำลายล้างพระพุทธศาสนา แต่ผลจากการอุทิศชีวิตถวายแด่พระศาสนาของท่าน ทำให้ท่านได้รับการนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยท่านพุทธทาสภิกขุมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุได้ 87 ปี และเป็นพระทั้งหมด 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่แทนตัวท่านให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาปณิธานของท่านต่อไป ดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตลอดชีวิตของท่านพุทธทาสได้ย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่" ที่ทั้งทางฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณของมนุษย์ และท่านได้ทำหน้าที่ในฐานะทาสผู้ซื่อสัตย์ของพระพุทธเจ้า จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าผลงานที่ท่านได้สร้างสรรค์ไว้เพื่อเป็นมรดกทางธรรมนั้นจะมีมากมายสักปานใด ซึ่งมีผลงานหลักๆ ดังนี้

1. การจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรมสวนโมกขพลาราม และสวนโมกข์นานาชาติ

2. การร่วมกับคณะธรรมทานในการออกหนังสือพิมพ์ "พุทธสาสนา" ราย 3 เดือน ซึ่งนับเป็นหนังสือพิมพ์ทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลารวมถึง 61 ปี และนับเป็นหนังสือพิมพ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีอายุยืนยาวที่สุดของไทย

3. การพิมพ์หนังสือ ชุด "ธรรมโฆษณ์" ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมจากปาฐกถาธรรมที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และงานหนังสือเล่มอื่นๆ ของท่าน แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ

หมวด "จากพระโอษฐ์" เป็นเรื่องที่ท่านค้นคว้าจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีโดยตรง
หมวด "ปกรณ์พิเศษ" เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติ
หมวด "ธรรมเทศนา" เป็นคำบรรยายแบบเทศนาในเทศกาลต่างๆ
หมวด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" เป็นคำขยายความข้อธรรมะเพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง
หมวด "ปกิณกะ" เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ
4. การปาฐกถาธรรมของท่านก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่วิธีการ และการตีความพระพุทธศาสนา ซึ่งกระตุ้นให้ผู้คนกลับมาสนใจธรรมะมากขึ้น ครั้งที่สำคัญๆ ได้แก่ การปาฐกถาธรรมเรื่อง "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม", "อภิธรรมคืออะไร", "ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร", "จิตว่างหรือสุญญตา", "นิพพาน", "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" และ "การศึกษาสุนัขหางด้วน" เป็นต้น

5. งานประพันธ์ของท่านเอง เช่น "ตามรอยพระอรหันต์", "ชุมนุมเรื่องสั้น", "ชุมนุมเรื่องยาว", "ชุมนุมข้อคิดอิสระ", "บทประพันธ์ของสิริวยาส" (เป็นนามปากกาที่ท่านใช้ในการเขียนกวีนิพนธ์)

6. งานแปลจากภาษาอังกฤษของท่านเล่มสำคัญคือ "สูตรของเว่ยหล่าง" และ "คำสอนของฮวงโป" ทั้งสองเล่มเป็นพระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนานิกายเซ็น




[แก้ไข] หัวข้อธรรมในคำกลอน
เรื่องรสคำประพันธ์นั้น ท่านพุทธทาสเขียนไว้ใน “มุ่งธรรมรส-งดกวี” ว่า รสคำประพันธ์อาจไม่จำเป็นต้องไพเราะ อ่อนช้อยในเชิงกวี แต่ต้องให้แสดงธรรมะได้แจ่มชัด ใช้ชุบชูจิตใจผู้อ่าน เน้นสาระในรสธรรมมากกว่ารสคำกวี

ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเล่าถึงที่มาของบทกวีธรรมะของท่านพุทธทาสว่า “เมื่อท่านมีความคิดอะไรแวบขึ้นมาหรือเห็นประเด็น เหตุการณ์ที่น่าสนใจ ท่านจะมีคำคม ๆ ขึ้นมาคำหนึ่ง แล้วเอามาบรรยายขยายความในการเทศน์ แล้วอีกไม่เกินสัปดาห์ท่านจะแต่งเป็นบทกลอน ธรรมะเรื่องหนึ่งท่านจะแต่งเป็นกลอน ๘-๑๒ วรรค ให้ใจความจบลงในนั้น” ต่อมางานชุดนี้ถูกรวบรวมนำมาตีพิมพ์เป็นเล่มชื่อ หัวข้อธรรมในคำกลอน (ฉบับสมบูรณ์) งานชิ้นสำคัญที่มักถูกนำมาพิมพ์ซ้ำบ่อยครั้งก็เช่น การงาน, มองแต่แง่ดีเถิด, อาจารย์ไก่, ตายก่อนตาย, พุทธทาสจักไม่ตาย













ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

- วิกิพีเดีย

- คลังปัญญาชนสยาม

- พุทธทาส.คอม

- พุทธทาสศึกษา

- ธรรมะไทย

- นิตยสารสารคดี

- หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 22 ตุลาคม 2548

- หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ วันที่ 30 ตุลาคม 2548

Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8"
ประเภทของหน้า: พระสงฆ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของพุทธทาสภิกขุ

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป

พระพุทธศาสนา คือ วิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตรงที่เป็นจริง ว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวงมีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพระพุทธศาสนามีวิธีปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตัดการยึดติด การยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่น นั้นมีสิ่งที่ลงเกาะ หรือจับยึดคือ ขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่าย คลายความอยาก ไม่ยึดอะไร คิดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า เป็นอยู่ชอบ คือ ให้วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำ ที่ดี ที่งาม ที่ถูกต้อง อยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไปจนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้เกิดผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่ มีความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือ ความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล


พุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มรดกที่ ๑. ทุกคนสามารถเป็นพุทธทาสได้ ถ้าเขาต้องการโดยบริสุทธิ์ใจ คือ รับใช้ในการเผยแผ่พุทธศาสนา ด้วยการทำตัวอย่างในการปฏิบัติให้ดู มีความสุขให้ดู จนผู้อื่นพากันทำตาม

มรดกที่ ๒. ปณิธาน ๓ ประการ ควรแก่ผู้ที่เป็นพุทธทาสทุกคน ถือเป็นหลักในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่โลก คือ

๑. พยายามทำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตนๆ
๒. พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม
๓. พยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา

มรดกที่ ๓. ปณิธานข้อแรก คือ การทำให้ทุกคน เข้าถึง หัวใจของพุทธศาสนา เพื่อให้เกิด การปฏิบัติดี-ตรง-เป็นธรรม-สมควรแก่ การหลุดพ้น เพื่อสนองพุทธประสงค์ โดยตรง ได้อย่างแท้จริง

มรดกที่ ๔. ปณิธานข้อที่สอง คือ การทำโลก ให้ออกมาเสียจาก อำนาจของวัตถุนิยม หรือ รส อันเกิดจาก วัตถุทางเนื้อหนังนั้น ควรเป็นกิจกรรม แบบสหกรณ์ ของคนทุกคนในโลก และทุกศาสนา เพื่อโลกจะเป็นโลก สะอาด-สว่าง-สงบ จากสภาพที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน

มรดกที่ ๕. ปณิธานข้อที่สาม คือ การทำความเข้าใจ ระหว่างศาสนา นี้เป็นสิ่งจำเป็น ต้องทำ เพราะโลกนี้ ต้องมีมากศาสนา เท่ากับ ชนิดของคนในโลก เพื่อจะอยู่ร่วมโลกกันได้ โดยสันติ และทุกศาสนา ล้วนแต่สอน ความไม่เห็นแก่ตัว จะต่างกันบ้าง ก็แต่วิธีการณ์ เท่านั้น

มรดกที่ ๖. สวนโมกข์ คือ สถานที่ให้ความสะดวก ในการเป็นเกลอ กับธรรมชาติ ทั้งฝ่ายจิต และฝ่ายวัตถุ, ควรจัดให้มีกัน ทุกแห่งหน เพื่อการศึกษาธรรมชาติ โดยตรง, เพื่อการรู้จัก กฏของธรรมชาติ, และเพื่อการชิมรส ของธรรมชาติ จนรู้จักรักธรรมชาติ ซึ่งล้วนแต่ ช่วยให้เข้าใจธรรมะ ได้โดยง่าย

มรดกที่ ๗. สวนโมกข์ คือ มหรสพทางวิญญาณ เป็นสิ่งจำเป็น ต้องมี สำหรับ สัตว์ที่มี สัญชาตญาณ แห่งการต้องมี สิ่งประเล้าประโลมใจ อันเป็นปัจจัย ฝ่ายวิญญาณ เพิ่มเป็นปัจจัยที่ห้า ให้แก่ ปัจจัยทั้งสี่ อัน เป็นฝ่ายร่างกาย, ขอให้ช่วยกันจัดให้มีขึ้นไว้ สำหรับใช้สอย เพื่อประโยชน์ ดังกล่าวแล้ว แก่คนทุกคน.

มรดกที่ ๘. สวนโมกข์ นานาชาติ สำหรับ แสงสว่างทางวิญญาณ ของเพื่อนมนุษย์ ต่างชาติ ต่างภาษา โดยเฉพาะ, เป็นความคิด ที่เกิดขึ้นมา เมื่อมองเห็น คนเหล่านั้น ดิ้นรน เสาะแสวงหา เพื่อให้พบ ตัวของตัวเอง. ขอฝากไว้ ให้ช่วยกัน จัด และ รักษา ที่จัดแล้ว ไว้สืบไป.

มรดกที่ ๙. มหรสพทางวิญญาณ เพื่อความเพลิดเพลินทางวิญญาณ ด้วยรสแห่งธรรมะ เป็นสิ่งจำเป็นต้องมี เพื่อแทนที่มหรสพทางเนื้อหนัง ที่ทำมนุษย์ให้เป็นปีศาจชนิดใดชนิดหนึ่ง อยู่ตลอดเวลา มนุษย์ต้องมี ความเพลิดเพลิน (Entertainment) เป็นปัจจัยที่ห้า ของชีวิต จำเป็นที่จะต้องจัดหาให้ ให้ดีๆ.

มรดกที่ ๑๐. สัญญลักษณ์เสาห้าต้นบนหลังคา หมายถึง นิวรณ์ห้า ปัญจุปาทานขันธ์ห้า พละห้า อินทรีย์ห้า ธรรมสาระห้า มรรคผลนิพพานห้า แม้ที่สุดแต่ นิ้วมือทั้งห้า ของตนเอง ล้วนแต่เป็นเครื่องเตือนใจ ในเรื่อง การกำจัดความทุกข์ ของคนเราทั้งสิ้น.





คัดจากหนังสือ อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์ จาก ท่านพุทธทาสภิกขุ ในหัวข้อ ฟ้าสางทางมรดก ที่ขอฝากไว้ พิมพ์โดย ธรรมทานมูลนิธิ และ สนพ. สุขภาพใจ พิมพ์ครั้งที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๐

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ 4 ข้อ (ท่าน ว.วชิรเมธี)

1. อย่าเป็นนักจับผิด คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง 'กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก' คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส 'จิตประภัสสร' ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี' แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข' 2. อย่ามัวแต่คิดริษยา 'แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน' คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า 'เจ้ากรรมนายเวร' ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอนความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น 'ไฟสุมขอน' (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเรา โดยใช้วิธี 'แผ่เมตตา' หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป 3. อย่าเสียเวลากับความหลัง 90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 'ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น' มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วยความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ 'อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน' 'อยู่กับปัจจุบันให้เป็น' ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี 'สติ' กำกับตลอดเวลา 4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ 'ตัณหา' ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ 'ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม' ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรู คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์ เราต้องถามตัวเองว่า 'เกิดมาทำไม' คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน 'ตามหา 'แก่น' ของชีวิตให้เจอ คำว่า 'พอดี' คือ ถ้า 'พอ' แล้วจะ 'ดี' รู้จัก 'พอ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข'

ขอบคุณบทความจาก ลานธรรมจักร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หนุกดี เชิญพี่เหลิมไปถกกันที่นั่นบ้างครับ คุณ mes (เปิดห้อง) โพสต์ข้อเขียนท่านพุทธทาสมากมายเลยที่นี่ ไปครับ :b41: :b1:

http://fws.cc/whatisnippana/index.php

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
ขณะที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เริ่มการเสวนาจากการวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของท่านอาจารย์พุทธทาสว่า

"ถ้าจะให้อาตมาพูดผ่านแนวคิดของท่าน ในแง่ ๑. คือตนอาจจะอ่านไม่เพียงพอ ๒. การที่จะบอกว่าท่านผู้นั้นเป็นเรื่องยากและที่ต้องระวังมาก ที่นี้แม้แต่ชื่อที่บอกว่ามองอนาคตผ่านแนวคิดและชีวิตของพุทธทาสก็แปลความหมายได้หลายอย่าง


คุณ mes ครับ ท่านเจ้าคุณ ก็ออกตัวแล้วนี้ครับ ว่าท่านอาจจะอ่าน อัตตโนมติ ของท่านพุทธทาส ไม่เพียงพอ

เพราะท่านพุทธทาส แสดงอัตตโนมติ วิจารณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างมากมาย เช่น

วิจารณ์พุทธวิสัย ของพระพุทธเจ้าในเรื่องแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาบนเทวโลก
http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 30962.html

คิดแทนพระพุทธเจ้าว่า เอออวยกับศาสนาพราหมณ์ ในเรื่อง นรก สวรรค์ เพราะคนโง่สมัยนั้นเยอะมาก
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

วิจารณ์พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท
http://www.pantip.com/cafe/religious/to ... 88838.html




ผมว่า อัตตโนมติของท่านพุทธทาส ท่านเจ้าคุณ ฯ คงจะไม่เอออวยตามท่านพุทธทาส หรอกครับ

อนึ่งคุณ mes กล่าวอ้างท่านเจ้าคุณ เพื่อจะใช้อ้างอิงว่า อัตตโนมติของอาจารย์ใหญ่ของคุณถูกต้องแล้ว

ผมว่าคงไม่เหมาะสมครับ


ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187

อ้างคำพูด:
จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ

มักมีแนวความคิดดังนี้

1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย)
(พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน)
-- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ

2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด)

3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์


ไม่น่าเชื่อว่าคนที่อ้างว่าตัวเองเป็นนักอภิธรรมกล้าตัดเอาคำกล่าวของนักพระไตรปิฎกอย่างท่านปรัยุกต์โตมา

บิดเบือนอย่างนี้

สำนักอภิธรรมนอกรีตที่สอนผิดเพี้ยนศิษย์จึงกล้าทำสิ่งเลวทรามต่ำช้า

นี่หลักฐานตำตาเลย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=inhale&id=14


(จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 453 )

เรื่องเหนือสามัญวิสัย: ปฏิหาริย์-เทวดา

ถ้าถามว่า ในทัศนะของพระพุทธศาสนา อิทธิปาฏิหาริย์ ก็ดี

เทวดาหรือเทพเจ้าต่างๆ ก็ดี มีจริงหรือไม่

และถ้าตอบตามหลักฐานในคัมภีร์มีพระไตรปิฎกเป็นต้น โดยถือตามตัวอักษร ก็ต้องว่า มี

หลักฐานที่จะยืนยันคำตอบนี้มีอยู่มากมายทั่วไปในคัมภีร์ จนไม่จำเป็นจะต้องยกมาอ้างอิง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับความมีหรือไม่มี และจริงหรือไม่จริงของสิ่งเหล่านี้

เป็นสิ่งยากที่จะทำให้คนทั้งหลาย ตกลงยอมรับคำตอบเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกันได้

และหลายท่าน มองเห็นโทษของความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ว่า ทำให้เกิดผลเสียหายมากมาย

หลายประการ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้จะถือตรงตามตัวอักษรว่า สิ่งเหล่านี้มีและเป็นจริงอย่างนั้น พระพุทธศาสนาก็มีหลัก

การที่ได้วางไว้แล้วอย่างเพียงพอที่จะปิดกั้นผลเสีย ซึ่งจะพึงเกิดขึ้น ทั้งจากการติดข้องอยู่กับ

การหาคำตอบว่ามีหรือไม่ จริงหรือไม่จริง และทั้งจากความเชื่อถืองมงายในสิ่งเหล่านั้น

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มนุษย์จำนวนมากตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน มีความเชื่อถือ

หรือ ไม่ก็หวั่นเกรงต่ออำนาจผีสางเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ

พระพุทธศาสนากล้าท้าให้สิ่งเหล่านั้นมีจริงเป็นจริง โดยประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์

ท่ามกลางความมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น

พระพุทธศาสนา ได้วางหลักการต่างๆไว้ ที่จะทำให้มนุษย์ได้รับผลดีในการเกี่ยวข้อง

กับเรื่องเหนือสามัญวิสัย อย่างน้อยก็ให้มีผลเสียน้อยกว่าการที่จะมัวไปวุ่นวายอยู่กับปัญหาว่า

สิ่งเหล่านั้นมีจริงหรือไม่ จุดสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า เราเข้าใจหลักการที่พระพุทธศาสนาวางไว้และ

ได้นำมาใช้ปฏิบัติกันหรือไม่

สรุปเบื้องต้นในตอนนี้ว่า พระพุทธศาสนาไม่สนใจกับคำถามว่าอิทธิปาฏิหาริย์มีจริงหรือไม่

เทวดามีจริงหรือไม่ และไม่วุ่นวายไม่ยอมเสียเวลากับการพิสูจน์ความมีจริงเป็นจริง

ของสิ่งเหล่านี้เลย สิ่งที่พระพุทธศาสนาสนใจ ปัญหาว่าผีสางเทวดา อำนาจลึกลับ

อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มีอยู่จริงหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับปัญหาว่า ในกรณีที่มีอยู่จริง

สิ่งเหล่านั้นมีฐานะอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และอะไรคือความสัมพันธ์อันถูกต้อง

ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหล่านั้น

อาจมีบางท่านแย้งว่า ถ้าไม่พิสูจน์ให้รู้แน่เสียก่อนว่ามีจริงหรือไม่ จะไปรู้ฐานะและวิธีปฏิบัติ

ต่อสิ่งเหล่าได้อย่างไร

ก่อนจะตอบ ควรแย้งกลับเสียก่อนว่า เพราะมัวเชื่อถือและยึดมั่นอยู่ว่าจะต้องพิสูจน์เสียก่อนนี้

แหละ จึงได้เกิดข้อผิดพลาดในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ขึ้นแล้วมากมาย

โดยที่จนกระทั่งบัดนี้ ก็ยังพิสูจน์กันไม่เสร็จ

คำตอบในเรื่องนี้แยกออกได้เป็นเหตุผล 2 ข้อใหญ่

ประการแรก

เรื่องเหนือสามัญวิสัยเหล่านี้ ทั้งเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ก็ดี เทพไท้เทวา ก็ดี

จัดเข้าในประเภทสิ่งลึกลับ ที่พูดอย่างรวบรัดตามความหมายแบบชาวบ้านว่า พิสูจน์ไม่ได้

คือ เอามาแสดงให้เห็นจริง จนต้องยอมรับโดยเด็ดขาดไม่ได้ ทั้งในทางบวกและในทางลบ

หมายความว่า

ฝ่ายที่เชื่อ ก็ไม่อาจพิสูจน์จนคนทั่วไปเห็นจะแจ้งจนหมดสงสัยต้องยอมรับกันทั่วทั้งหมด

ฝ่ายที่ไม่เชื่อ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดแจ้งเด็ดขาดลง ไปจนไม่ต้องเหลือเยื่อใยไว้ในใจ

ของคนอื่นๆ ว่ายังอาจจะมี

ทั้งสองฝ่ายอยู่เพียงขั้นความเชื่อ คือเชื่อว่ามี หรือเชื่อว่าไม่มี หรือไม่เชื่อว่ามี

(ถึงว่าได้เห็นจริง ก็ไม่สามารถแสดงให้คนอื่นเห็นจริง อย่างนั้นด้วย)


ยิ่งกว่านั้น ในสภาพที่พิสูจน์อย่างสามัญไม่ได้นี้ สิ่งเหล่านี้ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง

คือ เป็นของผลุบๆ โผล่ๆ หรือลับๆ ล่อๆ หมายความว่า

บางทีมีเค้าให้ให้ตื่นใจว่าคราวนี้ต้องจริง แต่พอจะจับให้มั่น ก็ไม่ยอมให้สมใจจริง

ครั้นทำบางอย่างได้สมจริง ก็ยังมีแง่ให้เคลือบแคลงต่อไป เข้าแนวที่ว่า ยิ่งค้นก็ยิ่งลับ

ยิ่งลับก็ยิ่งล่อให้ค้น ค้นตามที่ถูกล่อก็ยิ่งหลงแล้วก็หมกมุ่นวนเวียนอยู่กับสิ่งเหล่านั้น

จนชักจะเลื่อนลอยออกไปจากโลกของมนุษย์

ในเมื่อเป็นสิ่งที่ไม่อาจพิสูจน์ เป็นสิ่งลับล่อและมักทำให้หลงใหลเช่นนี้

การมัววุ่นวายกับการพิสูจน์สิ่งเหล่านั้น ย่อมก่อให้เกิดโทษหลายอย่างทั้งแก่บุคคลและสังคม

นอกจากเสียเวลาและเสียกิจการเพราะความหมกมุ่นวุ่นวายแล้ว เมื่อต้องมัวรอกันอยู่จนกว่า

จะพิสูจน์ได้ว่ามีจริงหรือไม่ และก็พิสูจน์กันไม่เสร็จสักที


ผู้ที่เชื่อและไม่เชื่อก็ต้องมาทุ่มเถียงหาทางหักล้างกัน แตกสามัคคีทะเลาะวิวาทกันเพราะเรื่อง

ที่ไม่ชัดเจน และในระหว่างนั้น แต่ละพวกละฝ่ายต่างก็ปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นไปตามความเชื่อ

และไม่เชื่อของตน ไม่มีโอกาสที่จะแก้ไขการปฏิบัติต่างๆที่เกิดโทษก่อผลเสียแก่ชีวิตและ

สังคม เพราะต้องรอให้พิสูจน์เสร็จก่อน จึงจะยุติการปฏิบัติให้ลงเป็นอันเดียวกันได้

ซึ่งก็ยังพิสูจน์กันไม่เสร็จจนบัดนี้ จึงเป็นอันต้องยอมรับผลเสียกันอย่างนี้เรื่อยไป

ไม่เห็นที่สิ้นสุด ฯลฯ

อีกอย่างหนึ่ง


ในเมื่อสิ่งเหล่านี้อยู่เพียงในระดับแห่งความเชื่อของปุถุชน ก็ย่อมผันแปรกลับกลายได้

ดังจะเห็นได้ว่า บางคนเคยไม่เชื่อถือสิ่งเหนือสามัญวิสัยเลย

(คือ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีไม่เป็นจริง)

และดูถูกดูหมิ่นความเชื่อนั้นอย่างรุนแรง ต่อมาได้ประสบเหตุการณ์ลับล่อที่เป็นเงื่อน

ต่อแห่งความเชื่อนั้นเข้า ก็กลับกลายเป็นคนที่มีความเชื่ออย่างปักจิตฝังใจตรงข้ามไปจากเดิม

และเพราะเหตุที่ไม่มีหลักส่องนำทางในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น ก็กลายเป็นผู้หมกมุ่น

หลงใหลในสิ่งเหล่านั้นยิ่งไปกว่าคนอื่นๆ อีกมากมายที่เขาเชื่ออย่างนั้นแต่เดิมมา

ในทำนองเดียวกัน บางคนที่เคยเชื่อถือมั่นคงอยู่ก่อน ต่อมาได้ประสบเหตุการณ์ที่ส่อว่า

สิ่งที่เชื่อจะไม่เป็นไปสมจริงหรือไม่แน่นอน ความเชื่อนั้นก็กลับสั่นคลอนไป หรือบางที

อาจกลายเป็นผู้ไม่เชื่อไปเสียก็มี


ในกรณีเหล่านี้ มนุษย์ทั้งหลายล้วนแต่มัววุ่นวายกับปัญหาว่า มีหรือไม่มี จริงหรือไม่จริง

เชื่อหรือไม่เชื่อเท่านั้น พากันขาดหลักการในทางปฏิบัติที่จะเตรียมป้องกันผลเสียต่อชีวิต

และสังคมจากความ เชื่อหรือไม่เชื่อของพวกตน

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ มุ่งสอนสิ่งที่ทำได้ ให้มนุษย์ได้รับประโยชน์

พอกับทุกระดับแห่งความพร้อมหรือความแก่กล้าสุกงอมของตนๆ

สำหรับเรื่องเหนือสามัญวิสัยเหล่านี้ พระพุทธศาสนาก็ได้วางหลักการในทางปฏิบัติไว้อย่าง

ชัดเจนว่า เมื่อสิ่งเหล่านั้นมีจริง มนุษย์ควรวางตัวหรือปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร

และที่วางตัวหรือปฏิบัติอย่างนั้นๆ ด้วยเหตุผลอะไร เหมือนดังพูดว่า ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ก็ตาม แต่ท่านควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นให้ถูกต้อง ผู้ที่เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม สามารถและ

สมควรทำตามหลักปฏิบัติที่พระพุทธศาสนาแนะนำไว้นี้ได้ เพราะตามหลักการปฏิบัตินี้

ทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อจะประพฤติตนต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย

จะผิดแปลกกันบ้าง ก็เพียงในสิ่งหยุมหยิมเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้นยังเป็นวิธีปฏิบัติที่ทำ

ให้เกิดผลดีแก่ทุกฝ่าย โดยที่ทั้งผู้เชื่อและไม่เชื่อต่างก็มีความเอื้อเฟื้อเอื้อเอ็นดูต่อกัน

ผู้ที่เชื่อก็ปฏิบัติไปโดยไม่เกิดผลเสียแก่ชีวิตและสังคม

ผู้ไม่เชื่อ ก็สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่เชื่อได้ถูกต้องและสามารถแนะนำผู้ที่เชื่อให้ปฏิบัติต่อสิ่ง

ที่เขาเชื่อในทางที่จะเป็นประโยชน์ ทั้งสองฝ่ายต่างมีเมตตาเคารพซึ่งกันและกัน

หลักการในทางปฏิบัติหรือความเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัตินี้แหละที่เป็นคุณพิเศษ

ของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธศาสนาได้ริเริ่มขึ้นใหม่ อันทำให้ต่างจากศาสนาปรัชญา

ทั้งหลายอื่น ตลอดจนลัทธินิยมอุดมการณ์ทั้งหลายแม้ในสมัยปัจจุบัน

หลักการจำเพาะในกรณีนี้ คือ สำหรับสิ่งที่ไม่อาจพิสูจน์และมิใช่ธรรมสำหรับเข้าถึง

ให้ใช้การวางท่าทีหรือวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อคนทั้งหลายปฏิบัติตามหลักการที่

พระพุทธศาสนาและนำไว้แล้วอย่างนี้

ถ้ายังมีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดสนใจที่จะค้นคว้าพิสูจน์ความมีจริงเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ต่อไป

ก็นับว่าเป็นงานอดิเรกของคนเหล่านั้น ซึ่งคนทั่วไปอาจวางใจเป็นกลาง และปล่อยให้เขาทำ

ไปเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ แก่สังคม เปรียบได้กับนักค้นคว้าวิจัยในวิชาการสาขาต่างๆ

อย่างอื่นๆ
เท่าที่กล่าวมา เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า เหตุผลในข้อแรกมุ่งที่ประโยชน์ในทางปฏิบัติของมนุษย์

ทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม การที่พระพุทธศาสนาไม่สนใจปัญหาเกี่ยวกับความมีอยู่จริง หรือไม่ของ

ฤทธิ์ปาฏิหาริย์และเทพเจ้าทั้งหลาย จนถึงขั้นที่ว่าเมื่อวางท่าทีและปฏิบัติตนถูกต้องแล้ว

ใครจะสนใจค้นคว้าพิสูจน์เรื่องนี้ต่อไป ก็ปล่อยเขาไปตามเรื่องนั้น

ท่าทีเช่นนี้ย่อมเกี่ยวเนื่องถึงเหตุผลประการที่สอง ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับหลักการขั้นพื้นฐาน

ของพระพุทธศาสนาด้วย กล่าวคือ ความมีอยู่จริงหรือไม่ของสิ่งเหล่านี้ ไม่กระทบต่อหลักการ

สำคัญของพระพุทธศาสนา หมายความว่า

ถึงแม้ว่าอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และเทพเจ้าจะมีจริง แต่การปฏิบัติตามหลักการและการเข้าถึง

จุดหมายของพระพุทธศาสนาย่อมเป็นไปได้ โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือสามัญวิสัย

ทั้งสองประเภทนั้นแต่ประการใดเลย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีสำนักอภิธรรมในอดีต

เหมือนกับกรณีธรรมกายในปัจจุบัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร