วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 18:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส



ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา
[๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
กาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า
เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.
[๙๘๗] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง
กำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
มีใจไม่กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น.
คำว่า ภิกษุนั้นพึงกำจัด
ความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือ
ราคะ ความมืดคือโทสะ ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส
ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ ดับปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก
ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง. ชื่อว่า
ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลาย
เสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส. เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงแจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่ง
ธรรมรัตนะ. เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรง
อบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มี
พระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียง
กึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออก
เร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มี
พระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูป
สมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘
อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค
ทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปาณสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา
พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้
เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่ง
อรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์
ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้
ฉะนี้แล.
จบ สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖.
จบ สุตตนิทเทส ๑๖ นิทเทสในอัฏฐกวรรค.
-----------------------------------------------------

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กาเลน โส สมฺมา ธมฺมํ ปริวิมํสมาโน ภิกษุนั้นพึงพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล คือ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาสังขตธรรมทั้งปวง โดยนัยมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ตามกาลที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ.
บทว่า เอโกทิภูโต วิหเน ตมํ โส ภิกษุเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืดเสีย คือ ภิกษุนั้นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง พึงกำจัดความมืดมีโมหะทั้งหมดเป็นต้นเสีย ไม่มีความสงสัยในข้อนี้.
บทว่า อุทฺธเต จิตฺเต เมื่อจิตฟุ้งซ่าน คือ เมื่อจิตไม่สงบด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์.
จริงอยู่ ความเพียรมีกำลัง สมาธิอ่อน ย่อมครอบงำความฟุ้งซ่าน เพราะความเพียรเป็นฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านอย่างนี้.
บทว่า สมถสฺส กาโล คือ เป็นกาลแห่งความเจริญสมาธิ.
บทว่า สมาหิเต จิตฺเต คือ เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารและอัปปนา.
จริงอยู่ สมาธิมีกำลัง ความเพียรอ่อน ย่อมครอบงำความเกียจคร้าน เพราะสมาธิเป็นฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน. สมาธิอันวิริยะผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตกไปในความเกียจคร้าน. วิริยะอันสมาธิผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน. เพราะฉะนั้น ทั้งสองอย่างนั้นพึงทำให้เสมอกัน. เพราะความที่ธรรมทั้งสองเสมอกัน จึงเป็นอัปปนา.
บทว่า วิปสฺสนาย กาโล เป็นกาลแห่งวิปัสสนา คือ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ เป็นกาลแห่งวิปัสสนาหลายอย่างด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะเป็นต้น. ศรัทธาแม้มีกำลังก็ควรแก่ผู้ประกอบสมาธิ. เมื่อเชื่อคือเชื่อมั่นอย่างนี้ ย่อมถึงอัปปนา. ศรัทธามีกำลังในสมาธิและปัญญา ย่อมควร เพราะผู้ประกอบสมาธิมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
จริงอยู่ ผู้นั้นย่อมถึงอัปปนาด้วยอาการอย่างนี้. ปัญญามีกำลังย่อมควรแก่ผู้ประกอบวิปัสสนา. เพราะผู้นั้นย่อมบรรลุการแทงตลอดลักษณะด้วยประการฉะนี้. แม้เมื่อทั้งสองอย่างเสมอกัน ก็เป็นอัปปนาแท้.
บทว่า กาเล ปคฺคณฺหติ จิตฺตํ ประคองจิตไว้ในกาลอันควร คือในสมัยใด จิตหดหู่เพราะความเพียรย่อหย่อนยิ่งนักเป็นต้น ในสมัยนั้น ประคองจิตไว้ด้วยการตั้งอยู่ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์.
บทว่า นิคฺคณฺหาติ ย่อมข่ม คือ ในสมัยใด จิตฟุ้งซ่านด้วยปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัยนั้น ข่มจิตไว้ด้วยตั้งอยู่ในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
บทว่า สมฺปหํสติ กาเลน ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล คือ ในสมัยใด จิตไม่มีอัสสาทะ (ความยินดี) เพราะความขวนขวายด้วยปัญญาอ่อน หรือเพราะไม่ได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบ ในสมัยนั้น ให้เกิดความสังเวชด้วยพิจารณาสังเวควัตถุ (วัตถุให้เกิดความสังเวช) ๘ ประการ.
สังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ รวมเป็น ๔ ทุกข์ในอบายเป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีตเป็นที่ ๖ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคตเป็นที่ ๗ ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบันเป็นที่ ๘. ทำจิตให้เกิดความเลื่อมใสด้วยระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย. นี้เรียกว่าให้จิตรื่นเริงตามกาล.
บทว่า จิตฺตํ สมาทเห พึงตั้งจิตไว้ คือ สมัยใด ความที่ศรัทธาและปัญญา สมาธิและวิริยะ เสมอกัน สมัยนั้นพึงตั้งจิตคือพึงให้ถึงอัปปนา.
บทว่า อชฺฌุเปกฺขติ กาเลน วางเฉยตามกาล คือ สมัยใด จิตอาศัยสัมมาปฏิบัติ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีอัสสาทะ เป็นไปเสมอในอารมณ์ ดำเนินสู่วิถีแห่งสมาธิ สมัยนั้น จิตนั้นย่อมไม่ถึงความขวนขวายในการประคอง ข่ม ให้ร่าเริง เหมือนสารถี เมื่อม้าวิ่งเรียบก็วางเฉยได้ นี้เรียกว่าวางเฉยตามกาล.
บทว่า โส โยคี กาลโกวิโท โยคีผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล คือ โยคีผู้นั้นเป็นผู้ประกอบแล้วในกรรมฐานมีประการดังกล่าว เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมในกาล คือ ยกย่อง ข่ม ให้ร่าเริง ตั้งมั่นและวางเฉย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตามกาลมีการประคองเป็นต้น ด้วยพระดำรัส มีอาทิว่า กิมฺหิ กาลมฺหิ ในกาลไหน ดังนี้. บัดนี้ เมื่อจะทรงวิสัชนากาลมีการประคองเป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ลีเน จิตฺตมฺหิ เมื่อจิตหดหู่ ดังนี้.
เมื่อจิตถึงความหดหู่เพราะความเพียรย่อหย่อนยิ่งนักเป็นต้น เป็นกาลที่ควรประคองไว้ด้วยการตั้งอยู่ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์.
บทว่า อุทฺธตสฺมึ วินิคฺคโห เมื่อจิตฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านเพราะปรารภความเพียรเกินไป เป็นกาลที่ควรข่มด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
บทว่า นิรสฺสาทคตํ จิตฺตํ สมฺปหํเสยฺย ตาวเท โยคีพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น คือ โยคีพึงยังจิตที่เว้นจากความแช่มชื่น เพราะขวนขวายทางปัญญาอ่อน หรือเพราะไม่ได้รับสุขอันเกิดแต่ความสงบ ให้รื่นเริงด้วยพิจารณาสังเวควัตถุ ๘ ประการ หรือด้วยระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในขณะนั้น.
บทว่า สมฺปหฏฺฐํ ยทา จิตฺตํ จิตรื่นเริงในกาลใด คือในกาลใด จิตเป็นธรรมชาติรื่นเริงตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า อลีนํ ภวติ นุทฺธตํ จิตเป็นธรรมชาติ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน คือ จิตเว้นจากความหดหู่และฟุ้งซ่าน เพราะผูกไว้ด้วยวิริยะและสมาธิ.
บทว่า สมถนิมิตฺตสฺส ของสมถนิมิต คือ สมถะและนิมิตของกาลนั้น ชื่อว่าสมถนิมิต.
บทว่า โส กาโล คือ กาลที่ท่านกล่าวถึงกาล ที่เว้นจากความหดหู่และฟุ้งซ่าน.
บทว่า อชฺฌตตํ รมเย มโน ใจพึงยินดีในภายใน คือ จิตสัมปยุตด้วยฌาน พึงยินดีพึงให้อภิรมย์ในภายในอารมณ์มีกสิณเป็นต้น.
บทว่า เอเตน เมวุปาเยน โดยอุบายนั้นนั่นแล คือ โดยอุบายดังที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. ม อักษร ท่านกล่าวด้วยบทสนธิ.
บทว่า อชฺฌุเปกฺเขยฺย ตาวเท พึงวางเฉยในกาลนั้น คือ ในกาลใด จิตนั้นตั้งมั่นด้วยอุปจารและอัปปนา ในกาลนั้น ชื่อว่าจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น โยคีรู้แล้วไม่พึงทำความขวนขวายในการประคอง การข่ม การให้ร่าเริง ควรกระทำการวางเฉยอย่างเดียวในขณะนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงย่อคาถาที่พระองค์ตรัสถามว่า กิมฺหิ กาลมฺหิ ปคฺคาโห ความประคองจิตควรมีในกาลไหน จึงตรัสพระดำรัส มีอาทิว่า เอวํ กาลวิทู ธีโร ธีรชนผู้รู้แจ้งกาลอย่างนี้ ดังนี้.
บทว่า กาเลน กาลํ จิตฺตสฺส นิมิตฺตมุปลกฺขเย พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิตตลอดกาลตามกาล. ความว่า พึงกำหนดเข้าไปกำหนดอารมณ์ของจิตอันสัมปยุตด้วยสมาธิตามกาลอันสมควร.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.


จบอรรถกถาสารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖
จบอรรถกถาอัฏฐกวรรคในมหานิทเทส
อรรถกถามหานิทเทส จบบริบูรณ์
-----------------------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ ๑๖. สาริปุตตสุตตนิทเทส จบ.
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒]

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุจิตที่ได้รับการอบรมมาดีแล้วกายและจิตสงบร่มเย็นเป็นสุขดังต้นไม่ที่มีกิ่งก้านสมบูรณ์

:b8: :b16: อนุโมทนาสาธุ :b19: :b19:

:b42: :b43: เทพบุตร :b42:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะวิปัสสนาเป็นกิจอันเดียวกัน

หากไร้สมถะ วิปัสสนา จะเป็นเพียงการคิดฟุ้งซ่านคือ อุธัจจะกุกุจจะ

มีบางสำนักที่กล่าวเกินพระพุทธเจ้าถึงการยกจิตจากสมถะสู่การวิปัสสนาจึงเป็นเรื่องไร้เดียงสาของผู้ตั้งตนเป็นวิปัสสนาจารย์หลอกให้คนอื่นเชื่อเท่านั้น แท้จริงเป็นแค่จินตนาการความคิดธรรมดา

สมถะต้องเป็นอัปนาสมาธิ ไม่ใช่ขนิกกสมาธิหรือสมาธิทอดกล้วยทอด อย่างที่สำนักแม่ค้ากล้วยทอดชอบอ้างถีงการวิปัสสนาโดยใช้ขนิกกสมาธิ

จะไม่ได้ทั้งสมถะและสมาธิ กล้วยทอดก็ไม่ได้

เพราะเป็นแค่ยายแก่ขี้โม้คนหนึ่งเท่านั้น


ดูพระพุทธพจน์ดีกว่าครับ

Quote Tipitaka:
คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
กาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หากไร้สมถะ วิปัสสนา จะเป็นเพียงการคิดฟุ้งซ่านคือ อุธัจจะกุกุจจะ

มีบางสำนักที่กล่าวเกินพระพุทธเจ้าถึงการยกจิตจากสมถะสู่การวิปัสสนาจึงเป็นเรื่องไร้เดียงสาของผู้ตั้งตนเป็นวิปัสสนาจารย์หลอกให้คนอื่นเชื่อเท่านั้น แท้จริงเป็นแค่จินตนาการความคิดธรรมดา

สมถะต้องเป็นอัปนาสมาธิ ไม่ใช่ขนิกกสมาธิหรือสมาธิทอดกล้วยทอด อย่างที่สำนักแม่ค้ากล้วยทอดชอบอ้างถีงการวิปัสสนาโดยใช้ขนิกกสมาธิ


พหุสจฺจญฺ จ สิปฺปญฺ จ วินโย จ สุสิกขิโต เอตมฺมงฺคลมุตฺตมงฺ
การทรงธรรม ความมีศิลป และอยู่ในวินัยอันศึกษาไว้ดี เป็นเหตุแห่งความเจริญ

อนุโมทนาครับคุณ mes :b8:

เสริมอีกนิดหนึ่ง สมถะจะเริ่มตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ คือสมาธิใกล้ปฐมฌาน พร้อมกับวิปัสสนาอ่อนๆ
ไม่มีขนิกสมาธิ ในพระธรรมวินัยนี้

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร