วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ แนวทางพองหนอ ยุบหนอของคุณ ที่อ้างสืบทอดกันมาว่า เป็น วิปัสสนา นั้น ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยครับ
มีแต่ทำให้สงบอยู่กับคำภาวนา สงบแล้วก็ไปตันอยู่แค่นั้น แม้จะภาวนาว่า รู้หนอ ๆ ๆ



ขอหน่อยนึงนะครับท่านกรัชกาย
ท่าน จขกท ครับ วิธีการของท่านก็คือ ไปอ่านหนังสือแล้วก็ใช้ติ่งหูพิจารณา แล้วก็ตัดสินใจว่าแบบนั้นถูกหรือผิด ในสิ่่งที่ยังไม่ได้ลองปฏิบัติ หรือในกรณีบางท่านที่มีปัญญามาก สามารถเรียนจนจบเปรียญเก้า พอจบแล้วสึกไปมีภรรยาก็เยอะแยะไป ผมจึงเห็นว่าถ้าใช้แค่จินต กับสุตมยปัญญา ไม่ใช้ภาวนามยปัญญาก็คงไม่พบคำตอบหรอกครับ ขอให้สอบได้ที่ 1 นะครับ

เจริญธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่าน จขกท ครับ วิธีการของท่านก็คือ ไปอ่านหนังสือแล้วก็ใช้ติ่งหูพิจารณา แล้วก็ตัดสินใจว่าแบบนั้นถูกหรือผิด ในสิ่่งที่ยังไม่ได้ลองปฏิบัติ หรือในกรณีบางท่านที่มีปัญญามาก สามารถเรียนจนจบเปรียญเก้า พอจบแล้วสึกไปมีภรรยาก็เยอะแยะไป ผมจึงเห็นว่าถ้าใช้แค่จินต กับสุตมยปัญญา ไม่ใช้ภาวนามยปัญญาก็คงไม่พบคำตอบหรอกครับ ขอให้สอบได้ที่ 1 นะครับ



คุณอายะครับ วิธีการปฏิบัติของผม คือ ใช้ ปัญญา พิจารณาสภาพ รูปธรรม นามธรรม ขณะปฏิบัติวิปัสสนา ครับ

ติ่งหู เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ ตัวปัญญา ที่จะไปใช้ พิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ ) ให้เป็นอาหารของปัญญาได้


ครูบาอาจารย์ ท่านจึงแนะนำให้ใช้โยนิโสมนสิการมาก ๆ เวลาเข้าปฏิบัติวิปัสสนา

คุณอายะ ผมก็ฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนาเหมือนกันครับ หาได้แต่กระทำ คันถธุระ (ปริยัติ) เพียงอย่างเดียว

อาจารย์แนบท่านแนะนำเสมอว่า เมื่อเรียนแล้ว ต้องปฏิบัติ เหมือนกาว่ายน้ำ ครับ จะว่ายเป็นก็ต้องลงไปในสระ ไปหัดว่ายน้ำด้วย

ธุระ, กิจในพระศาสนา

หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ
๑. คันถธุระ หมายถึง ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียนปริยัติ
(ท่านอุปมาเหมือนการศึกษาแผนที่ ก่อนเดินทาง เพื่อที่จะได้ไม่หลงทาง)
๒. วิปัสสนาธุระ หมายถึง ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญ
ภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าใน
วิปัสสนาโดยฐานเป็นส่วนคลุมยอด
ธุระ ๒ นี้ มาในอรรถกถา
# ธ.อ.๑/



การบรรยายเรื่อง วิสุทธิ ๗ โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://larndham.org/index.php?/topic/19 ... %E0%B8%B4/


ปัญญา ๓

ฉะนั้นในตอนนี้จึงจะขอทำความเข้าใจกันในเรื่องของปัญญากันอีกหน่อยก่อนว่า ปัญญานั้นมี ๓ อย่างหรือ ๓ ขั้น คือ
๑. สุตมยปัญญา
๒. จินตามยปัญญา
๓. ภาวนามยปัญญา

และในปัญญาทั้ง ๓ นี้ต้องเป็นปัจจัยซึ่งกันละกัน สุตมยปัญญานั้นเป็นปัญญาที่เกิดจากศึกษา คือมาจากการได้ยินได้ฟัง เป็นต้น และมีความเข้าใจถูกในเรื่องราวนั้น ๆ จินตามยปัญญานั้นก็คือ มีโยนิโสมนสิการ คือมีความเข้าใจในเวลาที่ทำการงาน หรือเวลาที่ปฏิบัติเป็นต้น ถ้าไม่มีความเข้าใจหรือไม่มีโยนิโสให้ถูกต้องแล้ว ก็จะทำถูกหรือให้สำเร็จผลที่ดีนั้นไม่ได้ ส่วนภาวนามยปัญญานั้น เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ คือการเข้าไปทำการพิสูจน์จนได้ความจริงของวัตถุที่ถูกพิสูจน์นั้น ความรู้ในขั้นนี้เป็นความรู้ถูกต้องและแน่นอนที่สุด เพราะเป็นความรู้ที่ได้มาจากที่ตนได้เข้าไปพิสูจน์มาแล้วด้วยตนเอง ความรู้ขั้นนี้เองที่เรียกว่า “ วิปัสสนาปัญญา” จึงจะทำลายความเห็นที่เข้าใจว่ามีตนหรือเป็นตนนั้นได้ ดังเช่นทิฏฐิวิสุทธิที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ ก็ต้องเข้าถึงปัญญาขั้นภาวนานี้จึงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิได้

เพราะความหมายของทิฏฐิวิสุทธินี้ ก็หมายความว่าเป็นความบริสุทธิ์ในขั้นปัญญาที่เข้าไปพิจารณาจนรู้แน่ใจแล้วว่ารูปนามนี้ ไม่ใช่ตัวใช่ตน และไม่มีตัวตนอื่นจากรูปนาม หรือทั้งโลกนี้ก็เช่นเดียวกัน มีแต่รูปนามเท่านั้นในเวลานั้นและธรรมะทั้งหลายจะเป็นกุศลและอกุศลก็ตาม หรือสิ่งที่ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศลก็ตามก็เป็นธรรมะทั้งหมด และธรรมะทั้งหมดในโลกหรือในพระไตรปิฏกเมื่อย่อลงแล้วก็ได้แก่นามรูปนั้นเองที่มีเป็นของจริงปรากฏอยู่ในปัญญาคือทิฏฐิวิสุทธินั่นเอง

ทิฏฐิวิสุทธินี้เป็นวิสุทธิขั้นต้นของปัญญาใน ๕ วิสุทธินั้น และทิฏฐิวิสุทธินี้ก็ได้มาจากเหตุคือ วิปัสสนาปัญญา ที่ชื่อว่า “ นามรูปปริจเฉทญาณ “ คือเป็นที่รู้จักนามรูปด้วยการปฏิบัติ และปัญญาขั้นนี้เป็นผู้ถึงความเข้าใจถูกดีแล้วทั้งปริยัติและปฏิบัติ และก็เข้าถึงพร้อมแล้วด้วยปัญญาทั้ง ๓ มีสุตมยปัญญา เป็นต้น ได้เข้าถึงภาวนามยปัญญา มีนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น

--------------------------------------------

คุณอายะ ครับ คติธรรม เกี่ยวกับเรื่อง ปริยัติ-ปฏิบัติ จากหลวงพ่อเสือครับ

บันไดสู่สติปัฏฐาน
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/bundai1.doc

หน้า ๕

หลักของพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ทุกคนหนีไปบวชไปเรียน สอนทั้งอยู่บนทางโลกและทางธรรม มีชีวิตอยู่ในโลกียะ ก็ให้รู้ว่าเป็นโลกียะ ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

ให้มีการกระทำที่มีเหตุ มีผลมีการประมาณอยู่ตลอดเวลา ต้องมีหลักประพฤติและปฏิบัติด้วย ไม่ใช่ทำตามเขา เราแย่ เรากลัวแก่ เราเจอตาย เรางมงาย เราก็เพ้อฝัน

การเรียนธรรมะใครๆ ก็เรียนได้ ไม่เคยเรียน ก, ข, ค, ง ก็สามารถเรียนได้เพราะฟังได้ มีทวารหูอยู่ แต่ถ้าจะปฏิบัติแล้ว จะต้องตั้งเป้าหมาย สอนไปแล้วว่า

ประการที่ ๑ ตั้งเป้าหมายก่อนว่า มาที่นี่เพื่ออะไร? เพื่อหาปัญญา
ประการที่ ๒ ตั้งเป้าหมายต่อมาว่า เอาปัญญาไปเพื่ออะไร? เพื่อหลุดพ้น

เป้าหมายของทุกคนที่มียังไม่มีเข็มทิศที่ถูกต้อง เพราะมาฟัง บ้างก็จดจบ บางก็อัด (เทป) จบ บ้างก็จำจบ บ้างก็ท่องจบ แต่ไม่รวมการปฏิบัติจบ

หน้า ๒๙

วิธีที่จะทำให้เกิดความระงับได้ในความโลภต่างๆ มานะ ต่างๆ ก็คือ “มองทางโลกให้มองทางต่ำ มองทางธรรมให้มองทางสูง”

หมายถึงอะไร เรามีบ้านหลังแค่นี้ เรามีเสื้อผ้าซื้อได้ในราคาขนาดนี้ เรามีฐานะความเป็นอยู่ขนาดนี้ คนที่อดอยากยากแค้น ต้องดิ้นรนมากกว่าเรา ไม่มีงานทำเท่าเรายังมีมาก มันจะได้คลายความยินดี ทะเยอทะยานได้ออกไป มันจะได้เกิดการรู้จักคำว่า “พอ”

คำว่า “พอดี” รู้จักพอจึงเรียกว่าดี คำว่าพอดีนี่แยกกัน “พอแล้วจึงดี” ไม่ใช่ “ดีแล้วจึงพอ”
ทางโลกให้มองทางต่ำ เปรียบเทียบว่าเราก็ยังดีกว่าผู้ที่อดอยากมากกว่าเรา
ส่วนทางธรรมให้มองทางสูงกว่า คือ ความรู้ธรรมชาติ คือความเป็นจริงนั้น ยังมีอีกมากมายนักที่เรายังไม่รู้ เรียนพระอภิธรรมแล้วจะรู้ว่าในชีวิตของเรายังมีสิ่งที่เรายังไม่รู้อีกมาก ยังต้องศึกษาหาความจริงอันเป็นสัจธรรมอีกมาก

คนที่เก่งกว่าเรา พระอรหันต์ พระโสดาบัน ผู้ที่เขาเป็นอาจารย์สอนทั้งที่ปฏิบัติได้ยังมีอีกเยอะแยะ มันจะได้ลดมานะว่าฉันนี่ยอดแล้ว ความอวดดื้อถือดีนั้นคือฝ่ายอกุศล ทำให้จิตใจหยาบกระด้าง และเป็นตัวการทำให้เกิดการปิดประตูต่อความดีทั้งปวง เพราะคิดว่าตัวเองนี่ดีแล้ว นั่นคือ

“มองทางโลกให้มองทางต่ำ มองทางธรรมให้มองทางสูง”


--------------------------------------

อ้างคำพูด:
ผมจึงเห็นว่าถ้าใช้แค่จินต กับสุตมยปัญญา ไม่ใช้ภาวนามยปัญญาก็คงไม่พบคำตอบหรอกครับ ขอให้สอบได้ที่ 1 นะครับ


หลวงพ่อสอนไว้ว่า เรียน จดจบ ฟังจบ แต่หากการปฏิบัติไม่จบ ก็ยังไม่พ้นจากวัฏฏะสงสารครับ

ชีวิตจะยุติการเกิดได้อย่างไร ?
http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจในพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งย่อมรู้สึกว่า การเกิดเป็นทุกข์ แม้จะเกิดในภพภูมิของมนุษย์ก็ตาม และการเวียนว่ายตายเกิดเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าชีวิตในภพชาติต่อๆไป จะไม่พลาดถลำลงต่ำไปเกิดในทุคติภูมิ นอกจากบุคคลผู้นั้นได้ปฏิบัติตนเข้าถึงพระอริยสัจธรรมนำชีวิตเข้าสู่พระอริยบุคคลแล้ว เพราะว่าบุคคลนับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้นที่อบายภูมิจะปิดสนิทสำหรับชีวิตของท่าน และการเวียนว่ายตายเกิดที่จะมีต่อไปในสุคติภูมินั้น ย่อมมีได้ไม่เกิน ๗ ชาติ จึงนับได้ว่าพระโสดาบัน ท่านเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่สร้างหลักประกันภัยในการเวียนว่ายตายเกิดให้กับชีวิตได้แล้ว แต่สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนทุกคนต้องยอมรับว่าอนาคตชาติในการเวียนว่ายตายเกิดของตนนั้นต้องมีต่อไปเป็นอนันตังไม่มีที่สิ้นสุด เพราะปุถุชนคือบุคคลที่ยังหนาแน่นด้วยกิเลส และ กิเลส นี่เองที่เป็นตัวการ ผลักพาให้เกิดการกระทำกรรม เมื่อมีกรรมย่อมเป็นที่แน่นอนว่า วิบาก คือ รูปขันธ์ และนามขันธ์ ย่อมต้องเกิด ฉะนั้นวัฏฏะทั้งสาม คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ ที่หมุนวน ย่อมทำให้สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดไม่อาจสิ้นสุดหยุดลงได้ และทุกภพชาติที่เกิด กำเนิดของสัตว์ย่อมวิจิตร เพราะจิตย่อมวิจิตรในการสั่งสมกรรม และกิเลส
---------------------------------------

อ้างคำพูด:
ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจในพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งย่อมรู้สึกว่า การเกิดเป็นทุกข์


คุณอายะครับ ผมเป็นเพียงผู้เริ่มต้นในการศึกษา ยังไม่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร :b1:

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 06:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่าน จขกท ครับ วิธีการของท่านก็คือ ไปอ่านหนังสือแล้วก็ใช้ติ่งหูพิจารณา แล้วก็ตัดสินใจว่าแบบนั้นถูกหรือผิด ในสิ่่งที่ยังไม่ได้ลองปฏิบัติ หรือในกรณีบางท่านที่มีปัญญามาก สามารถเรียนจนจบเปรียญเก้า พอจบแล้วสึกไปมีภรรยาก็เยอะแยะไป ผมจึงเห็นว่าถ้าใช้แค่จินต กับสุตมยปัญญา ไม่ใช้ภาวนามยปัญญาก็คงไม่พบคำตอบหรอกครับ ขอให้สอบได้ที่ 1 นะครับ


คุณอายะครับ นอกจากผมจะไม่ใช้ ติ่งหู คิดแล้ว ผมก็ยังไม่ใช้ สมองคิด ด้วยนะครับ

ผมใช้ จิตคิด ครับ ( หลังจากที่เรียนทางวิทยาศาสตร์ มานาน แล้วเข้าใจว่าใช้ สมองคิด ไม่เรียน พุทธศาสตร์ ไม่รู้นะ จะบอกให้)


สมองไม่ใช่จิต โดย ท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://larndham.org/index.php?s=c48476e ... ntry365437


“ผมได้แสดงออกโดยการบรรยายอยู่เสมอ และเขียนไว้ในหนังสือหลายเล่มด้วยกัน ยืนยันถึงผลร้ายที่สั่งสอนกันอยู่โดยทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่กว้างขวางไพศาลไปทั่วโลก คือสอนกันว่า…มันสมองนั้นเป็นตัวจิตใจ สมองสั่งให้ร่างกายทำอะไร หรือสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ สมองเป็นตัวการที่มีความรู้สึกนึกคิด และจดจำทุกๆอย่างได้
เมื่อผมเป็นนักเรียนก็ได้เรียนมาเช่นนี้ ครั้นต่อมาเป็นครูก็สอนนักเรียนเช่นนี้ต่อไปอีกถึง ๑๐ กว่าปี แล้วจะให้ประชาชนทั่วไปในโลกเขาเข้าใจเป็นอย่างอื่นไปกระไรเล่า การสอนว่าสมองเป็นจิตใจ ก็เป็นเสมือนหนึ่งสอนว่าชาติหน้าไม่มี การทำบุญทำบาปจะก่อให้เกิดเป็นผลไปในชาติหน้าไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายลงแล้วก็ถูกฝังจมเป็นดิน หรือถูกเผาเป็นเถ้าถ่านไป…”

...ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักศึกษาพระอภิธรรมคนหนึ่ง …คือเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร และอาจารย์บุษกร เมธางกูร …ได้พบเห็นว่าทั้งสองท่านต้องฟันฟ่าอุปสรรคอย่างมากมาย เพื่อจุดมุ่งหมายในการสร้างความเห็นถูกให้เกิดขึ้นกับพุทธศาสนิกชน ด้วยการพยายามนำพระอภิธรรมมาเผยแผ่ให้กว้างไกลออกไป โดยไม่ย่นย่อต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่มากระทบ…

...จึงมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสืบสานงานของท่านต่อไป โดยการนำธรรมะที่ท่านอาจารย์บุญมีได้บรรยายขยายพระอภิธรรมออกมาเป็นหลักวิชาการ เปรียบเทียบกับทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะท่านอาจารย์บุญมีเองก็เคยเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์มาก่อนในอดีต และเมื่อท่านมาเป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรม ก็ได้มีลูกศิษย์มากมาย ซึ่งลูกศิษย์บางท่านเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียง และใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับสายงานด้านวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น ศาสตราจารย์ยศ บุนนาค อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ (ปีพ.ศ. ๒๕๑๐) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุธีรา อังคทะวานิช แผนกกายวิภาคศาสตร์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ (ปี พ.ศ. ๒๕๑๒) ซึ่งทั้งสองท่านนี้เมื่อได้เรียนพระอภิธรรมแล้ว ก็ได้ช่วยเขียน และบรรยาย พระอภิธรรม ออกมาในแง่ของวิทยาศาสตร์ นับได้ว่าสมัยนั้นท่านอาจารย์บุญมีได้มีกำลังอันสำคัญช่วยงานการเผยแผ่ธรรมะให้กับอภิธรรมมูลนิธิ
เพราะในขณะนั้นท่านอาจารย์บุญมีได้จัดตั้ง“โครงการหนังสือพระพุทธศาสนา เพื่อชีวิตและสังคม” ขึ้น…เพื่อสร้างความเห็นถูกให้กับบุคคลทั่วไป โดยท่านเองก็ยังได้เขียนหนังสือออกมาหลายรูปแบบ บางเล่มได้เขียนในแนวตีแผ่พุทธศาสน์เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น ความมหัศจรรย์ของชีวิต ความมหัศจรรย์ของจิต ชีวิตภายหลังความตาย เป็นต้น

ท่านอาจารย์ได้เขียนคำปรารภไว้ในหนังสือความมหัศจรรย์ของจิตว่า

“ วิทยาศาสตร์มีอุดมคติที่สอนให้เรารู้ความจริงของธรรมชาติทั้งหลายในโลกตามความจริง แต่ทางวิทยาศาสตร์นั้นเน้นหนักไปในเรื่องวัตถุ
ส่วนธรรมะ เฉพาะอย่างยิ่งทางพระอภิธรรมปิฏกก็เป็รวิทยาศาสตร์ มีอุดมคติที่จะสอนให้เรารู้ความจริงของธรรมชาติตามความจริงแท้ปราศจากสมมติเช่นเดียวกัน …แต่ธรรมะนั้นเน้นหนักไปในทางจิตใจมาก ส่วนทางวัตถุนั้นรองลงมา

วิทยาศาสตร์ได้นำเอาความลับมืดของธรรมชาติออกตีแผ่ แล้วยักย้ายถ่ายเทเปลี่ยนแปลง หรือพลิกแพลงธรรมชาติให้เป็นสิ่งประดิษฐ์แปลกๆ ใหม่ๆ มาบำรุงบำเรอความสุขให้แก่เราทางร่างกายภายนอก ถ้าเราไม่รู้ความจริงของธรรมะ เราก็จะหลงเตลิดเพลิดเพลินไปกับวัตถุอันไม่มีขอบเขตจำกัดมากขึ้นๆ ในที่สุดก็ติดจมกับโลก กับวัตถุ

ธรรมะสอนให้รู้ความจริงของธรรมชาติ แสดงให้เห็นความจริงของโลก ของวัตถุ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีสาระแก่นสาร เมื่อมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไร้สาระแก่นสารอันจะบังคับได้แล้ว ก็ย่อมเอาเป็นที่พึ่งมิได้ ก็ย่อมเป็นทุกข์โทษภัยอันมหาศาล ความปรารถนาโลก ปรารถนาวัตถุนั้น เป็นปัจจัยที่จะนำเราให้ต้องเกิดแล้วเกิดอีก ทุกข์แล้วทุกข์อีก ตายแล้วตายอีกต่อไป เพื่อรับความทุกข์ทนหม่นหมอง และความตายอย่างไม่รู้จักจบสิ้น…”
.......

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




927411043l1.gif
927411043l1.gif [ 3.09 KiB | เปิดดู 3647 ครั้ง ]
สวัสดีครับท่านเฉลิมฯ คุณรอบรู้ทั้งคันธธุระ และวิปัสสนาธุระ ตามที่ท่านศาสดีของ

คุณบอกไว้

จึงอยากถามคุณสักหน่อยนะครับ คุณอ่านก่อนแล้วค่อยตอบ




อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก

พอนั่งสมาธิแล้วจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว ลมหมายใจเริ่มหายไป แผ่วเบา

พอเริ่มรู้ว่แผ่วเบา ก็เลยกังวล ว่าหายใจอยู่ปะเนี๊ย

และรู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก ต้องกลับมาหายใจตามปกติเหมือนเดิม

ทุกที เป็นอย่างเงี้ย ประจำเลย



http://board.palungjit.com/f4/นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก-หายใจไม่ออก-13243.html


คุณจะแนะนำเขายังไงแล้วอยู่ในธุระไหน ในสองธุระนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ม.ค. 2010, 09:14, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณอายะ ผมก็ฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนาเหมือนกันครับ หาได้แต่กระทำ คันถธุระ (ปริยัติ) เพียงอย่างเดียว

ผมก็ขออนุโมทนาด้วยที่ท่านปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามควรจะปฏิบัติให้จริงจังเสียก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าอย่างไหนถูกผิด เช่น ประมาณว่าไปอยู่วัดที่ปฏิบัติอย่างเดียวซัก 7-15 วัน สามารถอยู่กับเวทนาทางกายและทางจิตได้ นั่งให้ได้บัลลลังก์เดียวซัก 2-3 ชม วันละ 3 - 4 บัลลังก์ โดยไม่เปลี่ยนอริยาบท ลองตรวจสอบสภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติดูซิว่ามันเหมือนกับที่เขาว่าไหมหลังจากปฏิบัติเสร็จ แล้วค่อยมาพิจารณาอีกทีว่าจริงหรือไม่จริง ส่วนในเรื่องของฌาณนั้น การปฏิบัติแบบยุบหนอพองหนอนี้ในบางท่านที่สมาธิแรงก็เผลอไหลเข้าฌาณได้ แต่ครูอาจารย์ท่านจะคอยเตือนเพราะจะทำให้หยุดการพัฒนาสติ
ผมขอยกตัวอย่างพระสารีบุตรที่ท่านจะต้องลองทำด้วยตัวเองเสียก่อนจึงจะเชื่อหรือไม่เชื่อ แม้พระพุทธเจ้าจะเป็นผู้ตรัสให้ฟังก็ตาม ส่วนเรื่องสมองไม่ใช่จิต ควรจะลืมมันไปซะถ้าคิดจะให้การปฏิบัติประสบผลสำเร็จ ข้อเสียของการรู้ปริญัติมากก็คือปรุงแต่งมากทำให้กีดขวางการปฏิบัติ โดยส่วนตัวผมจะสนใจแค่เรื่องนิวรณ์ 5 และการปรับอินทรีย์ น่าจะเป็นปริญัติที่เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติ

เจริญธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โปราณาจารย์ท่านเรียงลำดับการศึกษาไว้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ = ศีล สมาธิ ปัญญา

เบื้องต้นควรเรียนรู้จากคัมภีร์หรือตำรา (ที่ถูกต้อง) บ้างไม่มากก็น้อย รู้เพื่อปรับฐานความคิดให้ถูกต้องเป็น

สัมมา (สัมมาทิฐิ) ขั้นที่หนึ่ง

ต่อมาคือภาคปฏิบัติ ก็คือการลงมือทำตามขั้นที่หนึ่ง เพื่อพิสูจน์สัจธรรม หรือ ขั้นที่สร้างเหตุปัจจัยให้เกิดปฏิเวธ


ลิงค์ปริยัติ (สมถะ- วิปัสสนา)

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=85.0

เปิดใจกว้างๆอ่าน พิจารณาหลายๆมุม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 18:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านบทความที่ท่านนักปราชญ์ราชบัณฑิตกล่าว


เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ

ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิม และ แตกต่างกันไปได้หลายอย่าง เพราะผู้ถ่ายทอดสืบต่อ

มีพื้นความรู้ การศึกษาอบรมสติปัญญาแตกต่างกัน ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง นำเอาความรู้

ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่นเข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง

อิทธิพลศาสนา และวัฒนธรรม ในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง

คำสอนบางแง่เด่นขึ้น บางแง่เลือนลง เพราะการย้ำ และเลี่ยงความสนใจ ตามความโน้มเอียง และความถนัด

ของผู้รักษาคำสอนบ้าง


ทำให้เกิดความแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นมหายานกับเถรวาท ตลอดจนนิกายย่อยๆ

ในสองนิกายใหญ่นั้น

สำหรับเถรวาทนั้น

แม้จะได้ชื่อว่า เป็นนิกายที่รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ ก็มิใช่จะพ้นไปจากความ

แปรเปลี่ยนได้โดยสิ้นเชิง

คำสอนบางส่วน แม้ที่อยู่ในคัมภีร์เอง ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่นปัจจุบัน ต้องนำมาถกเถียงคิดค้น

หาหลักฐานยืนยัน หรือปฏิเสธความเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม ยิ่งความรู้ความเข้าใจที่ประชาชนเชื่อถือ

และปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมีได้มากและชัดเจนยิ่งขึ้น

บางกรณีกับเสมือนเป็นของตรงข้ามกับคำสอนเดิม หรือเกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่น ที่คำสอนเดิม

คัดค้านแล้วก็มี


ฯลฯ

viewtopic.php?f=2&t=19015


สมกับพุทธศาสนายุคหลังกึ่งพุทธกาลโดยแท้ อ่านแล้วได้ใจจริงๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 12:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมก็ขออนุโมทนาด้วยที่ท่านปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามควรจะปฏิบัติให้จริงจังเสียก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าอย่างไหนถูกผิด เช่น ประมาณว่าไปอยู่วัดที่ปฏิบัติอย่างเดียวซัก 7-15 วัน สามารถอยู่กับเวทนาทางกายและทางจิตได้ นั่งให้ได้บัลลลังก์เดียวซัก 2-3 ชม วันละ 3 - 4 บัลลังก์ โดยไม่เปลี่ยนอริยาบท ลองตรวจสอบสภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติดูซิว่ามันเหมือนกับที่เขาว่าไหมหลังจากปฏิบัติเสร็จ แล้วค่อยมาพิจารณาอีกทีว่าจริงหรือไม่จริง ส่วนในเรื่องของฌาณนั้น การปฏิบัติแบบยุบหนอพองหนอนี้ในบางท่านที่สมาธิแรงก็เผลอไหลเข้าฌาณได้ แต่ครูอาจารย์ท่านจะคอยเตือนเพราะจะทำให้หยุดการพัฒนาสติ


คุณอายะ ครับ เคย สมัยก่อนเคยลองไปปฏิบัติ แบบยุบหนอ พองหนอดูแล้วครับ

ทนอยู่กับทุกขเวทนาได้นานพอสมควร จนความปวด ชา หายบ้างเป็นบางครั้ง

แต่ก็ไม่ได้ความชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติ

แต่สิ่งที่เกิดกับจิต คือ ได้อัตตาเพิ่มขึ้นครับ ไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ อย่างแท้จริง

ภายหลังจึงได้มาทดลองแนวทางอื่น ได้ลองปฏิบัติดู

ทุกข์และการกำหนดทุกข์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm

ความทุกข์นั้นเกิดในอิริยาบถเก่า ส่วนตัณหาก็เอื้อมไปเกิดในอิริยาบถใหม่ ยินดีในอิริยาบถใหม่ เห็นว่า อิริยาบถใหม่เป็นสุข จึงควรรู้ควรเข้าใจในอิริยาบถใหม่ คืออิริยาบถนอนนี้ว่าเป็น สุขวิปลาส

ถ้าเราไม่เข้าใจในการปฏิบัติ หรือไม่มนสิการให้ถูกต้อง ก็จะกันกิเลสออกจากอิริยาบถใหม่ไม่ได้เลย ส่วนอิริยาบถเก่า ก็เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่ตัณหาจะไม่อาศัย

แต่มีความไม่พอใจเข้าอาศัย คือ โทสะ จะเข้าอาศัยในอิริยาบถเก่านั้น ส่วนตัณหาจะกันออกจากอิริยาบถใหม่ไม่ได้เลย ดังนั้น โยนิโสมนสิการจึงเป็นความสำคัญมากในเรื่องนี้

กุศลทั้งปวง จะเป็นทางสมาธิก็ตาม หรือวิปัสสนาก็ตาม จะต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ เป็นประการสำคัญ ที่จะให้เกิดผล หรือให้เกิดปัญญา นี่ท่านผู้ฟังก็พอจะเข้าใจแล้วว่า วิปัสสนานั้น เห็นทุกข์อะไร ? และเห็นแล้ว จะได้ประโยชน์อย่างไร ?

ทุกขเวทนานั้น เมื่อเวลาไปเจริญวิปัสสนา ถ้าสมาธิมาก ๆ แล้ว ทุกขเวทนาก็ไม่มี ก็จะทำให้ไม่เห็นทุกขเวทนา และสังขารทุกข์ก็จะยิ่งไม่เห็นเลย เพราะอะไร ? เวลานั้นนั่งนิ่ง ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง แล้วการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ จะเห็นได้อย่างไร ? ก็ยังไม่เห็น ความไม่เที่ยง หรือความเป็นทุกข์ก็ดี ปัญญา เราจะไม่แลเห็นเลยในสมาธิ เพราะละเอียดมาก จะเข้าไปเห็นในสมาธิว่า เกิด-ดับ อยู่ในที่นั้น ยากนักหนา

เมื่อไม่เห็น แล้วจะเห็นอะไร เห็นว่า เที่ยง เห็นว่า ดี นี่โดยมากเป็นอย่างนี้ เมื่อทำสมาธิมาก ๆ เข้า ทุกขเวทนาก็หายไป

ท่านคงเคยได้ยินบางท่านผู้ปฏิบัติกล่าวว่า เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาก็พยายามปฏิบัติให้ทุกขเวทนานั้นหมดไป อย่างนี้ ท่านผู้นั้นเข้าใจว่าอย่างไร ? ที่จริงทุกขเวทนา เป็นตัวสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งการบรรลุมรรค ผล นิพพาน เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น ท่านผู้นั้นก็กำหนดให้ทุกขเวทนานั้นหายไปด้วย

วิธีกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ อย่างนี้ เวลาที่ภาวนากำหนดทุกข์หนอนั้น ใจก็มุ่งลงไปมนสิการ จะให้ทุกข์เวทนานั้นหมดไป ความเข้าใจอย่างนี้ หรือความรู้สึกอย่างนี้ เป็นการเข้าใจผิด เพราะอนัตตานั้น ท่านกล่าวบังคับไม่ได้

ฉะนั้น ความรู้สึกที่ตั้งใจจะให้ทุกขเวทนาหายไป จึงเป็นอัตตาเต็มที่ เพราะเขาเข้าใจว่า เขาทำให้หายได้ ให้หมดไปได้ เช่นนี้แล้ว เขาจะเข้าถึงทุกขสัจได้อย่างไร ? ทุกขสัจ เป็นของจริง แก้ไม่ได้เลย


-------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ผมขอยกตัวอย่างพระสารีบุตรที่ท่านจะต้องลองทำด้วยตัวเองเสียก่อนจึงจะเชื่อหรือไม่เชื่อ แม้พระพุทธเจ้าจะเป็นผู้ตรัสให้ฟังก็ตาม ส่วนเรื่องสมองไม่ใช่จิต ควรจะลืมมันไปซะถ้าคิดจะให้การปฏิบัติประสบผลสำเร็จ ข้อเสียของการรู้ปริญัติมากก็คือปรุงแต่งมากทำให้กีดขวางการปฏิบัติ โดยส่วนตัวผมจะสนใจแค่เรื่องนิวรณ์ 5 และการปรับอินทรีย์ น่าจะเป็นปริญัติที่เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติ



คุณอายะครับ ในเรื่องแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา แนวสมถยานิกะ ผมเชื่อว่าปฏิบัติได้จริง แต่เนื่องด้วย สภาพแวดล้อมหลาย ๆ , จริต

ผมจึงได้เลือกปฏิบัติแนวทาง วิปัสสนายานิกะ

อิริยาบถบรรพะ
http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0

แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180


ต่างจาก ที่อ้างว่าเป็นนักปฏิบัติ ที่ไม่อาศัย คันถธุระ ที่เดินทางผิดโดยไม่รู้ตัว ก็มีเยอะนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สวัสดีครับท่านเฉลิมฯ คุณรอบรู้ทั้งคันธธุระ และวิปัสสนาธุระ ตามที่ท่านศาสดีของ

คุณบอกไว้

จึงอยากถามคุณสักหน่อยนะครับ คุณอ่านก่อนแล้วค่อยตอบ




อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก

พอนั่งสมาธิแล้วจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว ลมหมายใจเริ่มหายไป แผ่วเบา

พอเริ่มรู้ว่แผ่วเบา ก็เลยกังวล ว่าหายใจอยู่ปะเนี๊ย

และรู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก ต้องกลับมาหายใจตามปกติเหมือนเดิม

ทุกที เป็นอย่างเงี้ย ประจำเลย



http://board.palungjit.com/f4/นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก-หายใจไม่ออก-13243.html


คุณจะแนะนำเขายังไงแล้วอยู่ในธุระไหน ในสองธุระนั้น



จะกดอ้างอิง ไปกดแก้ไข ขออภัยที

คุณเฉลิมฯ ครับ คุณคุยกับกรัชกายบ้างสิครับ เออน่ะ อะไรๆก็อายะๆๆ

ที่ถามคุณข้างบนนั่นน่า คุณตอบหน่อยครับ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 3572 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คุณอายะ ครับ เคย สมัยก่อนเคยลองไปปฏิบัติ แบบยุบหนอ พองหนอดูแล้วครับ

ทนอยู่กับทุกขเวทนาได้นานพอสมควร จนความปวด ชา หายบ้างเป็นบางครั้ง

แต่ก็ไม่ได้ความชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติ

แต่สิ่งที่เกิดกับจิต คือ ได้อัตตาเพิ่มขึ้นครับ ไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ อย่างแท้จริง



คุณเฉลิมศักดิ์คร้าบบบ :b12:

คุณอายะยกไว้ก่อน คุณมาคุยกับกรัชกายดีกว่า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอประธานอภัยท่านกรัชกายด้วยนะครับ
เอาไว้ท่านเฉลิมศักดิ์สนทนากับกับกรัชกายเสร็จแล้วค่อยสนทนากับผมนะครับ

เจริญธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




869.gif
869.gif [ 12.15 KiB | เปิดดู 3555 ครั้ง ]
อายะ เขียน:
ขอประธานอภัยท่านกรัชกายด้วยนะครับ
เอาไว้ท่านเฉลิมศักดิ์สนทนากับกับกรัชกายเสร็จแล้วค่อยสนทนากับผมนะครับ

เจริญธรรม



เมื่อคุณอายะเปิดโอกาสให้คุณเฉลิมศักดิ์คุยกับกรัชกายก่อน

คุณอายะสังเกตนะครับ คุณเฉลิม ฯ จะหายไป เพราะท่านแถกับกรัชกายไม่สะดวก คุณอยู่ด้วยท่านจึงแกล้ง

มองไม่เห็นคำถามที่กรัชกายถาม ท่านเฉลิมฯ ตอบคำถามไม่ได้ครับ :b12: :b32:

สูตรนี้กรัชกายให้ชื่อว่า คันถชาลสูตร สูตรว่า ด้วยตาข่ายดักนักปริยัติ เช่นคุณเฉลิมศักดิ์โดยเฉพาะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




a599397540.gif
a599397540.gif [ 33.65 KiB | เปิดดู 3549 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ ฟังเพลงบ้างครับ

http://jukebox.pleng.com/player_song.php?song_id=22693

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณเฉลิมฯ ครับ คุณคุยกับกรัชกายบ้างสิครับ เออน่ะ อะไรๆก็อายะๆๆ

ที่ถามคุณข้างบนนั่นน่า คุณตอบหน่อยครับ :b32:


:b32: :b32: :b32:

คงยังไม่พร้อมมั๊งครับ..ผมว่า

ยังไม่รู้ว่า..มันอยู่เล่มไหน?..
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
สวัสดีครับท่านเฉลิมฯ คุณรอบรู้ทั้งคันธธุระ และวิปัสสนาธุระ ตามที่ท่านศาสดีของ

คุณบอกไว้
จึงอยากถามคุณสักหน่อยนะครับ คุณอ่านก่อนแล้วค่อยตอบ

อ้างอิงคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก

พอนั่งสมาธิแล้วจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว ลมหมายใจเริ่มหายไป แผ่วเบา

พอเริ่มรู้ว่แผ่วเบา ก็เลยกังวล ว่าหายใจอยู่ปะเนี๊ย

และรู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก ต้องกลับมาหายใจตามปกติเหมือนเดิม

ทุกที เป็นอย่างเงี้ย ประจำเลย




http://board.palungjit.com/f4/นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก-หายใจไม่ออก-13243.html

http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%99 ... 13243.html


คุณจะแนะนำเขายังไงแล้วอยู่ในธุระไหน ในสองธุระนั้น



คุณกรัชกายครับ คงต้องให้กลับไปศึกษา คันถธุระ อีกครั้งหนึ่ง ว่าการจะเจริญวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐานนั้น มี ๒ แบบ คือ
1. แบบสมถะยานิกะ ที่ทำสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ ให้ได้ฌานก่อน แล้วยกองค์ฌานขึ้นพิจารณารูป นาม
2. แบบวิปัสสนายานิกะ ที่ใช้ขณิกสมาธิ พิจารณา รูปนาม ขันธ์ ๕ ที่เป็น ปัจจุบันอารมณ์ โดยตรง

กรณีของเจ้าของกระทู้ เป็นการทำสมาธิในแบบ อานาปานสมาธิ ซึ่งในเบื้องต้น ดูจะสงบ นิ่งได้ง่าย แต่ในระยะหลัง ขาด สติ ปัญญา , อินทรีย์ ๕ ไม่สมดุลย์กัน ก็จะเกิดเหตุการณ์ตามที่เจ้าของกระทู้ได้ถาม

และ อานาปานสมาธินี้ แท้ที่จริงเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ยาก เหมาะแก่ผู้มี สติ ปัญญา มาก

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... =10&A=6257
อรรถกถา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.
!
!
ในการกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะนั้น ภิกษุประกอบกัมมัฏฐานในลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมกำหนดรูปอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุ กรัชกาย ชื่อว่าวัตถุ มหาภูตรูป ๔ กับอุปาทายรูป ชื่อว่ากรัชกาย ต่อแต่นั้น จึงกำหนดในนามธรรม ซึ่งมีผัสสะเป็นที่ ๕ (๑. เวทนา ๒. สัญญา ๓. เจตนา ๔. วิญญาณ ๕. ผัสสะ) มีรูปนั้นเป็นอารมณ์.
ครั้นกำหนดนามรูปนั้นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ค้นหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้นอยู่ เห็นปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ว่านี้เป็นเพียงปัจจัย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปกับทั้งปัจจัย ขึ้นสู่พระไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนาอยู่ ย่อมบรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นทางปฏิบัติออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.
ภิกษุผู้เจริญฌานกัมมัฏฐาน กำหนดนามรูปว่า องค์ฌานเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุรูป กรัชกายชื่อว่าวัตถุรูป องค์ฌานจัดเป็นนาม กรัชกายจัดเป็นรูป เมื่อจะแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น จึงเห็นปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น จึงข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นมุขของการออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง
.
---------------------------------------------------------
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค .สมถะ-วิปัสสนา
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/001.htm

จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค .สมถะ-วิปัสสนา.

ว่าด้วยอุบายนำลมมา

ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบอุบายเป็นเครื่องนำลมมา คือว่าภิกษุนั้นรู้ว่ากรรมฐาน คือ ลม ไม่ปรากฏแล้ว พึงใคร่ครวญว่าธรรมดาลมหายใจเข้าออกเหล่านี้ มีอยู่ในที่ไหน ไม่มีในที่ไหน มีอยู่แก่ใคร ไม่มีอยู่แก่ใครดังนี้ ทีนั้นเมื่อเธอใคร่ครวญอยู่อย่างนี้ก็จะทราบว่าลมอัสสาสะ ปัสสาสะเหล่านี้ ไม่มีในสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ไม่มีแก่พวกที่ดำน้ำทั้งอสัญญีสัตว์ทั้งหลาย บุคคลผู้ตายแล้ว ผู้เข้าจตุตถฌานสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภพ อรูปภพ ผู้เข้านิโรธสมาบัติ ดังนี้แล้ว พึงเตือนตนเองนั่นแหละว่า ดูก่อนบัณฑิต ขณะนี้เจ้ามิใช่อยู่ในครรภ์มารดา มิใช่เป็นคนดำน้ำ มิใช่อสัญญีสัตว์ มิใช่ผู้ตายแล้ว มิใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน มิใช่ผู้เกิดในรูปภพ และอรูปภพ มิใช่ผู้เข้านิโรธสมาบัติมิใช่หรือ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะของเจ้าต้องมีอยู่โดยแท้ แต่เจ้ามิอาจกำหนดได้ เพราะเป็นผู้มีปัญญาน้อยดังนี้



คุณกรัชกายครับ จะเห็นได้ว่า ในการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะ วิปัสสนาธุระ นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ยิ่งขาด คันถธุระด้วย โอกาสที่จะเข้าใจผิดก็มีมาก ๆ

จึงขอแนะนำคุณกรัชกาย กระทำคันถธุระ ให้ดีก่อน ก่อนที่จะมาตั้งตัวเป็นอาจารย์แนะนำกรรมฐานผู้อื่น

เพราะตัวคุณกรัชกายเอง จะเป็นตัวอันตราย คอยบั่นทอนพุทธศาสนาเสียเอง



viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร