วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการที่เกิดจากสมาธิเกินหรือสมาธิมากได้แก่อะไรบ้างคะ นอกจากง่วงกับไม่กระฉับกระเฉงไม่กระปรี้กระเปร่า (ขี้เกียจ) ก็ดูไม่ออกเลยค่ะ แต่ถ้าเป็นอาการจากอินทรีย์อื่นๆ คิดว่ายังพอดูออกนะคะ

การที่สมาธิเกินมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันไมคะ ถ้าเกิดไม่อยากทำงานบางอย่างทั้งๆ ที่งานนั้นสำคัญมาก แต่งานอื่นนอกจากนี้ก็ยังทำ ยังรับผิดชอบ มีแต่งานนี้งานเดียวที่ไม่อยากทำ ไม่มีอะไรจูงใจให้ทำ แบบนี้เกิดจากสมาธิเกินหรือเปล่าคะ หรือเพราะเราอคติกับงาน

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อาการที่เกิดจากสมาธิเกินหรือสมาธิมากได้แก่อะไรบ้างคะ นอกจากง่วงกับไม่กระฉับกระเฉงไม่กระปรี้กระเปร่า (ขี้เกียจ) ก็ดูไม่ออกเลยค่ะ แต่ถ้าเป็นอาการจากอินทรีย์อื่นๆ คิดว่ายังพอดูออกนะคะ



(ก่อนหน้ากรัชกายอาจพูดละเอียดไปหน่อย ความคิดขณะหนึ่งๆ หากเรามีสตินึกได้ตามทันอิริยาบถ ยืน เดิน

นั่ง ฯลฯ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงความคิดได้ ขณะยกมือ ยกเท้าก้าวเดิน ลุกนั่ง ฯลฯ กายจะหนักๆเบาๆ

จะอืดอาดปลอดโปร่ง ฯลฯ ก็เกิดจากจิตเกิดจากความคิดที่หนักที่เบาด้วย (ความคิดเปลี่ยนกายเปลี่ยน

กายเปลี่ยนความคิดเปลี่ยน) ความคิดโยงถึงกาย แม้แต่เราหาว เกิดจากจิตจากความคิดก่อน

เกิดจากง่วงนอนก็ได้ เกิดจากความคิดเบื่อหน่ายๆสิ่งที่กำลังดูกำลังฟังอยู่ก็ได้ )


คุณรินมีเวลาก็ค่อยๆอ่านลิงค์สมาธิ (สัมมาสมาธิ) นี้

viewtopic.php?f=2&t=26901

สัมมาสมาธิเป็นหนึ่งในองค์มรรค (เป็นนามธรรม) ก็สำคัญ หากไม่มีสมาธิจิตใจก็ขาดความมุ่งมั่นต่อสิ่งที่

กำลังทำ ดังนั้นสมาธิก็จำเป็นครับ


เอางี้ดีไหม เพื่อไม่ให้กังวลใจ กรัชกายจะพูดใหม่ ....หากเรายังมีความมุ่งมั่นต่อสิ่งที่กำลัง

ทำเฉพาะหน้า ยังกำหนดอารมณ์กรรมฐานได้ชัดอยู่ ยังมีความมุ่งมั่นต่องานประจำวันที่รับผิดชอบอยู่ถือว่า

ใช้ได้

แม้จะง่วงบ้าง รู้สึกอืดอาดไปบ้าง ขี้เกียจบ้าง แต่รู้ว่ามันเป็นยังงั้นคิดยังงี้ แต่เราก็ทำงานตรงหน้านั้นให้

ดำเนินต่อไป


งานคือกรรมฐานก็ดำเนินไปได้ รู้ทันความคิด รู้ทันอารมณ์ที่กระทบ

งานที่รับผิดชอบก็ดำเนินไปได้ รู้ทันความคิด รู้ทันอารมณ์ที่กระทบ อยู่กับงานก็ใช้ได้

สรุปก็คือทั้งงานด้านใน งานด้านนอกไม่เสีย

ชีวิตมีสองด้านครับ


อ้างคำพูด:
การที่สมาธิเกินมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันไมคะ ถ้าเกิดไม่อยากทำงานบางอย่างทั้งๆ ที่งานนั้นสำคัญมาก แต่งานอื่นนอกจากนี้ก็ยังทำ ยังรับผิดชอบ มีแต่งานนี้งานเดียวที่ไม่อยากทำ
ไม่มีอะไรจูงใจให้ทำ แบบนี้เกิดจากสมาธิเกินหรือเปล่าคะ หรือเพราะเราอคติกับงาน
เรื่องงานประจำวัน



ไม่มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรอกครับ แต่ขณะทำงานไม่มีสมาธิมีผลเสียตามสมควรต่องาน

ที่รับผิดชอบ ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวอาจทำงานไม่ได้ดีเท่าที่ควรจะเป็นผิดๆพลาดๆ

ยกตัวอย่างพอแลเห็น เช่น กำลังพิมพ์/กำลังเขียนหนังสืออยู่ หากขาดสมาธิ(ยังมีองค์ธรรมอื่นอีกตาม

สมควร) อาจเขียนๆพิมพ์ๆ ผิดพลาดตกๆหล่นๆ


ข้อที่ว่างานสำคัญ พึงพิจารณาว่า เกี่ยวข้องกับเราแค่ไหนเพียงไร ทำไม่ทำมีผลได้ผลเสียถึงตัวเราไหม

เป็นอุปสรรคต่อตำแหน่งหน้าที่ไหม เมื่อไตร่ตรองโดยรอบคอบแล้ว มีผลดีมากกว่าเสีย แล้วเราก็ทำได้

ก็พึงทำ


ใช้งานประจำวันเจริญธรรม (เจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท) ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=20241

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ธ.ค. 2009, 10:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการที่กำหนดเพ่งพิจารณานั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่ ให้รู้เห็นตามที่มันเป็นในขณะนั้น คือ ดู-เห็น-เข้าใจ

ว่าอะไร กำลังเป็นไปอย่างไร ปรากฏผลอย่างไร เข้าเผชิญหน้า รับรู้ พิจารณา เข้าใจ ตามดูมันไปให้ทัน

ทุกขณะเท่านั้น ไม่สร้างปฏิกิริยาใดๆ ขึ้นในใจ ไม่มีการกำหนดค่า ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัยว่า

ดีชั่ว ถูกผิด เป็นต้น

ไม่ใส่ความรู้สึก ความโน้มเอียงขึ้นในใจ ความยึดมั่นต่างๆลงไปว่า ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ เป็นต้น

เห็นเข้าใจตามที่มันเป็น ของสิ่งนั้น อาการนั้น แง่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ไม่สร้างความคิดผนวกว่า ของเรา

ของเขา ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย ข. เป็นต้น เช่น พิจารณาเวทนาในใจของตนเอง ขณะนั้น

มีทุกข์เกิดขึ้น ก็รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร กำลังจะหมดสิ้นไปอย่างไร

หรือพิจารณาธรรมารมณ์ เช่น มีความกังวลใจเกิดขึ้น เกิดความกลุ้มใจขึ้น ก็จับเอาคามกลุ้มหรือกังวลใจนั้น

ขึ้นมาพิจารณาว่า มันเกิดขึ้นอย่างไร เป็นมาอย่างไร

หรือเวลาเกิดความโกรธ พอนึกได้รู้ตัวว่าโกรธ ความโกรธก็หยุดหายไป จับเอาความโกรธนั้นขึ้นมาพิจารณาคุณ

โทษ เหตุเกิดและอาการที่มันหายไป เป็นต้น

กลายเป็นสนุกไปกับการศึกษาพิจารณาวิเคราะห์ทุกข์ของตน และทุกข์นั้นจะไม่มีพิษสงอะไรแก่ตัวผู้พิจารณา

เลย เพราะเป็นแต่ตัวทุกข์เองล้วนๆ ที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดับไป ไม่มีทุกข์ของฉัน ฉันเป็นทุกข์ ฯลฯ



แม้แต่ความดี ความชั่วใดๆ ก็ตามที่มีอยู่ หรือปรากฏขึ้นในใจขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้ามัน

ไม่ยอมเลี่ยงหนี เข้ารับรู้ตามดูมันตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่มันปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเอง แล้วก็ตามดูสิ่งอื่น

ต่อไป

เหมือนดูคนเล่นละคร หรือดุจเป็นคนข้างนอกมองเข้ามาดูเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นท่าทีที่เปรียบได้

กับแพทย์ที่กำลังชำแหละตรวจดูศพ หรือ นักวิทยาศาสตร์ที่กำลังสังเกตดูวัตถุที่ตนกำลังศึกษา

ไม่ใช่ท่าทีแบบผู้พิพากษาที่กำลังพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย

เป็นการดูเห็นแบบสภาววิสัย (objective) ไม่ใช่สกวิสัย (subjective)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการที่เป็นอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน

หรือมีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบัน กล่าวคือสติกำหนดตามทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นอยู่หรือกระทำอยู่ในขณะนั้นๆ

แต่ละขณะๆ ไม่ปล่อยให้คลาดกันไป ไม่ติดข้องค้างคาหรืออ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว

ไม่ลอยคว้างไปข้างหน้า เลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มาและยังไม่มี

ไม่เลื่อนไหลถอยลงสู่อดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต


หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงจัดทำในอนาคต ก็เอาสติกำหนดจับสิ่งนั้นมาให้ปัญญาพิจารณา

อย่างมีความมุ่งหมาย ทำให้เรื่องนั้นๆ กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอยละห้อย

เพ้อของความเป็นอดีตหรืออนาคต


การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้ ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา ไม่ถูกตัณหาล่อไว้หรือชักจูงไปนั่นเอง

แต่เป็นการอยู่ด้วยปัญญา ทำให้พ้นจากอาการต่างๆของความทุกข์ เช่น ความเศร้าซึมเสียดาย ความร้อนใจ

กลุ้มกังวลเป็นต้น และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใสเบาสบายของจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณกรัชกาย

ช่วงนี้เวลานั่งปฏิบัติอยู่ พออาการหายใจเร็วและเเรงหายไปแล้ว ตัวจะนิ่งมาก นิ่งกว่าที่เคยเป็น เหมือนตัวจะแข็งทื่อเลยค่ะ (ก่อนหน้านี้จะนิ่งแป๊บเดียว แต่ช่วงนี้นิ่งนานขึ้น แล้วกลับมาหายใจเร็วและแรงต่อสลับกัน) เลยกำหนด นั่ง+ถูก+นิ่ง เพราะจับลมหายใจไม่ได้ แต่ถ้าปล่อยไว้อย่างงั้นจะเป็นไรไหมคะ
และมีบางครั้งหมือนหลับไปสัก 1-2 นาที แต่ไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วหลับหรือเปล่านะคะ และมีความรู้สึกว่ามือหายไปด้วยค่ะ

ช่วงนี้ไม่ได้ปฏิบัติทุกวันจะทำให้การปฏิบัติถอยหลังไหมคะ (แต่พยายามเจริญสติในชีวิตประจำวัน) กลัวการปฏิบัติจะถอยหลังมากค่ะ

ตอนนี้อยากไปปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมแบบอยู่ยาว หรือไม่กลับออกมาอีกเลย เพราะถ้ายังอยู่แบบนี้จะไม่มีเวลาปฏิบัติเท่าไหร่ อาการแบบนี้ผิดปกติหรือเปล่าคะ เพราะดูจะเป็นเอามาก แต่ถ้าจะให้ทำแบบนี้จริงๆ คิดว่าทำได้นะคะ เพราะปกติเป็นคนไม่ชอบเที่ยว หรือไปงานเลี้ยงรื่นเริง ชอบอยู่เงียบๆ แต่ไม่ถึงกับไม่ไปไหนเลยนะคะ แต่ถึงยังไงก็ติดตรงที่ต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่ ต้องเรียนหนังสือ เรียนจบก็ต้องทำงาน ก่อนหน้านี้ประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา จะแค่กลัวจะต้องกลับมาเกิดใหม่อีกกี่ชาติก็ไม่รู้ เและจะเกิดเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือน ถ้าเป็นคนอาจจะไม่พบพระพุทธศาสนา ถึงพบก็อาจจะไม่ศรัทธาการปฏิบัติ ความกลัวนี้ทำให้ทิ้งการปฏิบัติไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าอาการรุนแรงนะคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 11:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีค่ะ คุณกรัชกาย

ช่วงนี้เวลานั่งปฏิบัติอยู่ พออาการหายใจเร็วและเเรงหายไปแล้ว ตัวจะนิ่งมาก นิ่งกว่าที่เคยเป็น เหมือนตัวจะแข็งทื่อเลยค่ะ (ก่อนหน้านี้จะนิ่งแป๊บเดียว แต่ช่วงนี้นิ่งนานขึ้น แล้วกลับมาหายใจเร็วและแรงต่อสลับกัน) เลยกำหนด นั่ง+ถูก+นิ่ง เพราะจับลมหายใจไม่ได้ แต่ถ้าปล่อยไว้อย่างงั้นจะเป็นไรไหมคะ



ครับ สวัสดีครับ คุณริน

ไม่เป็นไรหรอก ยังรู้ตัวรู้ทันอยู่ ตัวแข็งตัวอ่อนธรรมดา กำหนดตามที่เป็น ตามที่รู้สึก


อ้างคำพูด:
และมีบางครั้งหมือนหลับไปสัก 1-2 นาที แต่ไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วหลับหรือเปล่านะคะ และมีความรู้สึกว่ามือหายไปด้วยค่ะ



เพียงความรู้สึกว่า หายเท่านั้น มือ เป็นต้นก็ยังอยู่ที่เดิมนั่นแหละ

รู้สึกว่ามือเป็นต้นหาย กำหนด “หายหนอๆๆ” ตามที่รู้สึก ตามที่เป็นแล้ว ใช้ได้แล้ว

หากเรากำหนดนามรูปอยู่ อยู่ๆเหมือนหลับไปเองก็ไม่เป็นไร รู้สึกตัวขึ้นมาก็กำหนดไปใหม่


อ้างคำพูด:
ช่วงนี้ไม่ได้ปฏิบัติทุกวันจะทำให้การปฏิบัติถอยหลังไหมคะ (แต่พยายามเจริญสติ ในชีวิตประจำวัน)
กลัวการปฏิบัติจะถอยหลังมากค่ะ



อย่ากลัวเลย หากนึกกลัว "กลัวหนอๆๆ" นี่แก้อาการกลัว

รู้สึกตัวขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันทำงานประจำวันตามหน้าที่ หยิบจับนั่นนี่ เป็นต้น ก็ใช้ได้แล้ว


อ้างคำพูด:
ตอนนี้อยากไปปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมแบบอยู่ยาว หรือไม่กลับออกมาอีกเลย เพราะถ้ายังอยู่แบบนี้จะไม่มีเวลาปฏิบัติเท่าไหร่ อาการแบบนี้ผิดปกติหรือเปล่าคะ เพราะดูจะเป็นเอามาก แต่ถ้าจะให้ทำแบบนี้จริงๆ คิดว่าทำได้นะคะ เพราะปกติเป็นคนไม่ชอบเที่ยว หรือไปงานเลี้ยงรื่นเริง ชอบอยู่เงียบๆ แต่ไม่ถึงกับไม่ไปไหนเลยนะคะ แต่ถึงยังไงก็ติดตรงที่ต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่ ต้องเรียนหนังสือ เรียนจบก็ต้องทำงาน



ช่วงสภาวะเบื่อๆก็เป็นแบบนี้แหละ กำหนดครับ นึกเบื่อ “เบื่อหนอๆๆ” จบ :b16:

คุณรินครับ ต่อให้เราเป็นอริยชน เป็นพระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว ก็ยังต้องอยู่ในโลกใบนี้

กิน นอน ขับถ่าย ฯลฯ อยู่บนโลกใบนี้ อยู่กับความเป็นจริง อยู่กับปัจจุบัน จนกว่าชีวิตจะหาไม่

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในป่า ยังเข้าเมืองเลยครับ



อ้างคำพูด:
ก่อนหน้านี้ประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา จะแค่กลัวจะต้องกลับมาเกิดใหม่อีกกี่ชาติก็ไม่รู้ เและจะเกิดเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือน ถ้าเป็นคนอาจจะไม่พบพระพุทธศาสนา ถึงพบก็อาจจะไม่ศรัทธาการปฏิบัติ ความกลัวนี้ทำให้ทิ้งการปฏิบัติไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าอาการรุนแรงนะคะ



กำหนดครับ อย่างที่บอกถึงช่วงเบื่อๆ ก็อารมณ์นี้ ให้อยู่กับปัจจุบัน กำหนดความรู้สึกครับ เพื่อก้าวต่อไป

เรื่องชาติหน้าชาติไหนจะเกิดไหมหรืออย่างไร เป็นเรื่องอนาคต

กำหนดความรู้สึกครับ คิดหนอ เบื่อหนอ กลัว... (จะเป็นงั้นเป็นงี้...) หนอ

คิดไงกำหนดยังงั้น ตามที่คิดครับ

สาธุครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ :b8:

มีคำถามเพิ่มเติมเรื่องการเดินจงกรมค่ะ

:b44: เคยมีคนถามว่าทำอย่างอื่นที่ทำให้เกิดสมาธิ เช่น ปักครอสติช เป็นต้น แทนการเดินจงกรมได้ไหม เพราะทำให้เกิดสมาธิเหมือนกัน แถมยังได้ภาพปักครอสติชซึ่งเอาไปตกแต่งห้องหรือเอาไปขายได้ด้วย แต่หนูตอบไม่ได้ว่าแทนกันได้ไหม ตอบได้แค่ว่าการเดินจงกรมมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ

- เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
- เป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
- เป็นผู้มีโรคน้อย
- อาหารที่กินเข้าไปย่อมย่อยง่าย
- สมาธิที่เกิดขณะจงกรมตั้งอยู่ได้นาน

แต่หนูคิดว่าไม่น่าจะทำอย่างอื่นแทนการจงกรมได้นะคะ และการปักครอสติชเห็นผลเป็นรูปธรรมมากกว่าเดินจงกรมกระมังคะ (ภาพปักครอสติชซึ่งเอาไปตกแต่งห้องหรือเอาไปขายได้) เขาเลยคิดอย่างนี้ และถ้าใครไม่เดินจงกรมก็จะไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง


:b44: ถ้าเดินจงกรมต่อเนื่องโดยไม่หยุดจนกว่าจะหมดเวลาเดินจะได้ไหมคะ เพราะถ้าเดินวนรอบลานกว้างๆ หรือวนรอบอะไรสักอย่างที่มีระยะทางไม่สั้นเกินไป จะไม่ต้องหยุดยืนแล้วกลับหลังหันกลับมาเดินต่อเหมือนเดินในที่แคบๆ เลยรู้สึกว่าเดินแบบนี้อารมณ์ต่อเนื่องดีกว่าค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 12:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เคยมีคนถามว่า ทำอย่างอื่นที่ทำให้เกิดสมาธิ เช่น ปักครอสติช เป็นต้น แทนการเดินจงกรมได้ไหม เพราะทำให้เกิดสมาธิเหมือนกัน แถมยังได้ภาพปักครอสติชซึ่งเอาไปตกแต่งห้องหรือเอาไปขายได้ด้วย
แต่หนูตอบไม่ได้ว่า แทนกันได้ไหม
ตอบได้แค่ว่าการเดินจงกรมมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ

- เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
- เป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
- เป็นผู้มีโรคน้อย
- อาหารที่กินเข้าไปย่อมย่อยง่าย
- สมาธิที่เกิดขณะจงกรมตั้งอยู่ได้นาน

แต่หนูคิดว่าไม่น่าจะทำอย่างอื่นแทนการจงกรมได้นะคะ
และการปักครอสติชเห็นผลเป็นรูปธรรมมากกว่า เดินจงกรมกระมังคะ
(ภาพปักครอสติชซึ่งเอาไปตกแต่งห้องหรือเอาไปขายได้)
เขาเลยคิดอย่างนี้ และถ้าใครไม่เดินจงกรมก็จะไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง




สมาธิเกิดได้ทุกที่หากเข้าใจเรื่องสมาธิ เข้าใจวิธีการ นั่งพิมพ์นี่ก็เกิดสมาธิ

อ่านหนังสือก็ได้สมาธิ (เคยให้ลิงค์อิทธิบาทไปแล้ว นั่นใช้งานสร้างสมาธิ)

นับลูกประคำก็ได้สมาธิ นั่งเย็บปักถักร้อยก็เกิดสมาธิ

ปักภาพครอสติชก็ได้สมาธิ กินข้าวก็ได้สมาธิ อาบน้ำก็ได้สมาธิ ฯลฯ


คุณเข้าใจถูกที่ว่าเป็นรูปธรรมภายนอกล้วนๆ

ต่างจากเดินจงกรมครับ เดินจงกรมมุ่งที่กายโดยตรงเลย (กายานุปัสสนา)

แล้วกายนี้ก็มีธรรมชาติธรรมดาของมัน คือ ความเปลี่ยนแปลง

เมื่อเห็นกายเปลี่ยน (หากสติ สัมปชัญญะสมาธิ ฯลฯ ละเอียดหน่อย) จะเห็นความเปลี่ยนแปลง

ความคิดด้วย

เอางี้สิครับ หากคุณรินประสงค์จะปักภาพดังกล่าวก็ทำได้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เมื่อเข้าใจวิธีแล้ว

อ้างคำพูด:
ถ้าเดินจงกรมต่อเนื่องโดยไม่หยุดจนกว่าจะหมดเวลาเดินจะได้ไหมคะ เพราะถ้าเดินวนรอบลานกว้างๆ หรือวนรอบอะไรสักอย่างที่มีระยะทางไม่สั้นเกินไป จะไม่ต้องหยุดยืนแล้วกลับหลังหันกลับมาเดินต่อเหมือนเดินในที่แคบๆ เลยรู้สึกว่าเดินแบบนี้อารมณ์ต่อเนื่องดีกว่าค่ะ



ได้ครับ เดินจากเชียงใหม่ไปสุไหงโก-ลก ก็ได้ ไม่มีอะไรขัดข้อง :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕

หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ ที่จะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป

ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท

คือ มีอยู่ในรูปกระแสแห่งเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน

ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้น

แล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่าง

มีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยภาวะเช่นนี้ ขันธ์ ๕ หรือ ชีวิต จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ

อยู่ในภาวะแห่งอนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนได้

ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้

เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้ (ด้วยอวิชชา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 22:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา ความไม่รู้, ไม่เห็นตามความเป็นจริง, ไม่รู้เท่าทันตามสภาวะ,

หลงไปตามสมมุติบัญญัติ, ความไม่รู้ที่แฝงอยู่กับความเชื่อถือต่าง ๆ, ภาวะขาดปัญญา,

ความไม่เข้าใจเหตุผล, การไม่ใช้ปัญญา, หรือปัญญาไม่ทำงานในขณะนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 17:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนธรรมฝ่ายก่อทุกข์ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา ไม่รู้จึงติด

กระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ คือ วิชชา วิมุตติ พอรู้ก็หลุด


ในฝ่าย อวิชชา - ตัณหา องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาเข้าไป หรือ นำไปสู่ ชาติ ภพ ก็คือ อุปาทาน ที่แปลว่า

ความถือมั่น ความยึดมั่น หรือความยึดติดถือมั่น


ส่วนในฝ่าย วิชชา วิมุตติ องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาออกไป หรือ เป็นจุดแยกออกจากสังสารวัฏ ได้แก่

นิพพิทา แปลกันว่า ความหน่าย คือ หมดใคร่ หายอยาก หรือ หายติด


อุปาทาน เกิดจาก อวิชชา ที่ไม่รู้จักสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะที่แท้จริง

เปิดทางให้ตัณหาอยากได้ ใคร่จะเอามาครอบครองเสพเสวย แล้วเอาตัวตนเข้าผูกพันถือมั่นถือ

หมายว่า ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ ที่เรียกว่า อุปาทาน


นิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจ สิ่งที่เคยยึดติดถือมั่นไว้นั้นตามสภาวะ ว่ามีข้อเสียข้อบกพร่อง

ไม่ปลอดภัยอย่างไรๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่าและไม่อาจจะเอาตัวเข้าไปผูกพันไว้ แล้วเกิดความหน่าย

หมดความเพลิดเพลินติดใจ อยากจะผละออกไปเสีย

จะเห็นว่า อุปาทาน เกิดสืบเนื่องมาจากอวิชชา ความไม่รู้สภาวะ

ส่วน นิพพิทา เกิดจากความรู้ เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งท่านมีศัพท์เฉพาะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่ นิพพิทา จะเกิดขึ้น หรือ การที่จะถอนทำลายอุปาทานได้นั้น

เป็นเรื่องที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจ คือ เมื่อรู้เข้าใจสภาวะแล้ว นิพพิทา ก็เกิดเอง

อุปาทาน ก็หมดไปเอง เป็นเรื่องของกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย หรือ ภาวะที่เป็นไปเอง ตามเหตุปัจจัย

ของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมาธิเกิดได้ทุกที่หากเข้าใจเรื่องสมาธิ เข้าใจวิธีการ นั่งพิมพ์นี่ก็เกิดสมาธิ

อ่านหนังสือก็ได้สมาธิ (เคยให้ลิงค์อิทธิบาทไปแล้ว นั่นใช้งานสร้างสมาธิ)

นับลูกประคำก็ได้สมาธิ นั่งเย็บปักถักร้อยก็เกิดสมาธิ

ปักภาพครอสติชก็ได้สมาธิ กินข้าวก็ได้สมาธิ อาบน้ำก็ได้สมาธิ ฯลฯ


คุณเข้าใจถูกที่ว่าเป็นรูปธรรมภายนอกล้วนๆ

ต่างจากเดินจงกรมครับ เดินจงกรมมุ่งที่กายโดยตรงเลย (กายานุปัสสนา)

แล้วกายนี้ก็มีธรรมชาติธรรมดาของมัน คือ ความเปลี่ยนแปลง

เมื่อเห็นกายเปลี่ยน (หากสติ สัมปชัญญะสมาธิ ฯลฯ ละเอียดหน่อย) จะเห็นความเปลี่ยนแปลง

ความคิดด้วย

เอางี้สิครับ หากคุณรินประสงค์จะปักภาพดังกล่าวก็ทำได้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เมื่อเข้าใจวิธีแล้ว


หมายความว่าถ้าทำอย่างอื่นแทนเดินจงกรมได้ในแง่ที่ทำให้เกิดสมาธิได้เช่นกันหรือคะ
คือว่ามีคนคิดแบบนี้จริงๆ ค่ะ ถ้าเขาพูดถึงเรื่องนี้อีก จะได้อธิบายถูกค่ะ เพราะตอนแรกไม่รู้จะอธิบายยังไงค่ะ

ความจริงก็พอทราบว่าค่ะไม่ว่าจะทำอะไร ถ้าใจจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิ
จะไม่ได้ยินเสียงอะไร บางทีมีคนเดินมาอยู่ข้างๆ ก็ยังไม่รู้สึกตัว และรู้สึกสงบด้วย

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 08:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร