วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 01:00
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาผมนั่งสมาธิผมใช้การเจริญเมตตาคือการแผ่ไปหาตัวเอง คนที่เคารพ คนที่รักใคร่มาก คนที่วางใจเป็นกลาง คนที่เป็นคู่เวร พอผมทำสีมสัมเภทได้คือการทำเมตตาให้เท่ากันผมก็เข้าขั้นอุปจารสมาธิพอหลังจากนั้นเหมือนกับว่าตัวเองลอยแต่จริงๆไม่ได้ลอยแล้วเหมือนไม่สนอารมณ์ภายนอกพอออกจากสมาธิก็นอนไม่ค่อยหลับเป็นเพราะอะไรมันคืออะไรครับทำไมถึงเป็นแบบนี้ครับบางทีพออกจากสมาธิกลายเป็นว่าเรื่องกามฉันทะผมแถบไม่สนใจความโกรธมีบ้างแต่ให้อภัยได้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะฌาณ 2 เกิดการรับรู้แปลกๆ

อ้อ อย่าเครียดเกิน ทำจิตปกติบ้าง คือทำอะไรสนุกบ้างๆ


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 11 ต.ค. 2009, 21:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังมาว่า อาการที่เป็นๆ เขาเรียกว่าเป็น ปิติ ครับ
เช่นโยก โคลง เบา อะไรต่างๆนาๆพวกนี้ คือองค์ประกอบของฌาน
หรือเรียกกันว่า องค์ฌาน

มี "วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัตคตา"
ลำดับตามนี้เลยนะ

ลองศึกษาเพิ่มจาก
- หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี

ถ้าอ่านแล้วยังยากอยู่ ก็อ่าน - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ
มีความกำจัดความฟุ้งซ่านเป็นรส
มีความไม่หวั่นไหวเป็นเครื่องปรากฏ
มีความสุขความเจริญเป็นปทัฏฐาน





คนผู้แสวงหาความสุขเพื่อตนพึงกำจัดความรำพัน
ความทะยานอยากและความโทมนัสของตน
พึงถอนลูกศร คือกิเลสของตนเสีย
เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้นแล้ว
อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยแล้ว
ถึงความสงบใจ ก้าวล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด
เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกย่อมจักเยือกเย็น ฉะนี้แลฯ ”


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


arnonwalker เขียน:
เวลาผมนั่งสมาธิผมใช้การเจริญเมตตาคือการแผ่ไปหาตัวเอง คนที่เคารพ คนที่รักใคร่มาก คนที่วางใจเป็นกลาง คนที่เป็นคู่เวร พอผมทำสีมสัมเภทได้คือการทำเมตตาให้เท่ากันผมก็เข้าขั้นอุปจารสมาธิพอหลังจากนั้นเหมือนกับว่าตัวเองลอยแต่จริงๆไม่ได้ลอย

อันนี้เป็นเรื่องปกติครับ ไปทำื่สมถะกองอื่นถ้าจิตสงบระดับหนึ่งก็เหมือนมีตัวลอยได้ครับ

arnonwalker เขียน:
พอออกจากสมาธิก็นอนไม่ค่อยหลับเป็นเพราะอะไรมันคืออะไรครับทำไมถึงเป็นแบบนี้ครับ

อันนี้แปลกอยู่เหมือนกัน เพราะว่าถ้าทำเมตตาเท่าที่เคยเจอและเกิดกับตัวผมเองจะทำให้หลับง่าย แต่อาจจะหลับน้อยลงเพราะการทำสมาธิจิตและร่างกายก็ได้การพักผ่อนดีระดับหนึ่งแล้ว ท่านน่าจะลองสังเกตุอาการดูว่าที่นอนไม่หลับนั้นรู้สึกอ่อนเพลีย หรือรู้สึกว่านอนไม่พอหรือไม่ครับ ถ้ายังรู้สึกสดชื่นอยู่ก็น่าจะปกติครับ

arnonwalker เขียน:
กามฉันทะผมแถบไม่สนใจ


กามฉันทะ นี้หมายถึงเรื่องความรู้สึกทางเพศใช่ไหมครับ อันนี้เป็นอานิสงน์ของการทำสมถะครับ ที่จะกดทับนิวรณ์ไว้แต่อย่าเพิ่งตายใจครับเมื่อไรท่านพักหรือหยุดมันโผล่มาแน่นอน แต่ถ้าตามที่ผมเข้าใจยังมี รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ อีกนะครับ ก็ลองสังเกตุดูว่ายังอยากอาหารที่ชอบเท่าเดิมไหม ยังชอบฟังเพลงไหม ทนร้อนทนหนาวได้โดยไม่หงุดหงิดได้ดีขึ้นไหม ฯลฯ ตอนผมทำเมตตาใหม่ๆ ผมก็แปลกใจทำไมมันอารมณ์ดีจังพอเผลอสติเมื่อไรอารมณ์ดีเข้ามาแทนที่ทันที ผมก็ลองไปนั่งเจริญเมตตากลางแดดตอนเที่ยงเพื่อจะทดสอบดูว่ามันยังจะอารมณ์ดียิ้มได้อีกไหม นั่งไปได้ซักประมาณชั่วโมงกว่า เมื่อมาดูความรู้สึกทางกายปรากฎว่าแสบแดดไปทั้งตัว แต่พอเจริญเมตตาต่อก็ยังยิ้มได้อยู่ดี อันนี้ผมเห็นว่าเมตตานั้นมีอานิสงฆ์มากครับ หากเจ็บไข้ไม่สบายก็สามารถหลบเข้าไปในเมตตาได้ครับ

arnonwalker เขียน:
ความโกรธมีบ้างแต่ให้อภัยได้นะครับ
อันนี้เป็นอานิสงฆ์ของการเจริญเมตตาครับ ถ้าท่านยิ่งทำท่านจะมีความโกรธน้อยลง ผมเปรียบเมตตาภาวนาเหมือนกับฟองน้ำครับเมื่อมีอารมณ์ที่ไม่ชอบใจมากระทบแรกๆ มันจะยังรองรับไว้ได้ดีครับแต่ถ้ามาบ่อยๆ แรงๆ บางทีอาจจะรองรับไว้ไม่ไหวครับ สิ่งที่ป้องกันได้ดีที่สุดนั่นก็คือสติ ผมเปรียบเหมือนกำแพง เอาน้ำมาสาดเท่าไรก็ป้องกันไว้ได้หมดครับ สตินี้่สามารถฝึกได้จากการเจริยสติปัฏฐานสี่ ครับ

เจริญธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 12 ต.ค. 2009, 19:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร