วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ กามโภคีครับ


อ้างคำพูด:
ฌานแบบฤาษีที่มีก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ (นัย ๔)

วิตก บริกรรม
วิจารณ์ ประครองใจให้อยู่ในบริกรรม
ปีติ ความอิ่มในสมาธิ
สุข ความพอใจในอารมณ์
เอกัคคตา อารมณ์เดียว


ฌาน ก็คือ ฌาน

ถ้ามีองค์ประกอบฝ่ายเหตุ2อย่าง คือ วิตก วิจาร และ มีองค์ประกอบฝ่ายผลอีก3อย่างคือ ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์.... ก็เรียกว่า ฌาน ทั้งนั้น

ต่างกันตรงที่ว่า
เหตุปัจจัยนำของฌานนั้นเป็นสิ่งใด และ ฌานนั้นนำไปสู่ผลเช่นใด





ลองย้อนกลับไปอ่าน ใน ทันตภูมิสูตรที่๕ อีกครั้ง

ในพระสูตรนั้น การเจริญสติปัฏฐาน โดยมี นิวรณ์๕ที่เบาบางลง(อันเป็นผลจาก เนกขัมมะ+ศีล+อินทรีย์สังวร).... ก็ ปรากฏผลเป็นฌาน เช่นกัน

ในพระสูตรนั้น (หัวข้อ ๓๙๖)
ไม่ได้ตรัสแสดงชัดเจน ว่า สิ่งใด เป็น วิตก วิจาร ในการเจริญสติปัฏฐาน ..และ ไม่ได้ตรัสระบุชัดเจนว่า ปฐมฌาน ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น เริ่มนับว่าเป็นปฐมฌานตรงไหน

แต่ ก็เป็นที่แน่นอนว่า ปฐมฌาน ต้องปรากฏในขั้นนี้(หัวข้อ ๓๙๖) ....ด้วยว่า ในส่วนต่อไป(หัวข้อ ๓๙๘) ทรงแสดงถึง "การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย (เวทนา จิต ธรรม)" เป็นเหตุให้ บรรลุทุติยฌาน แล้ว

และ ต่อมาก็ทรงแสดง เหตุที่ยังให้บรรลุตติยฌาน จตุตฌาน ตามลำดับ ๆลๆ



คือว่า

ในพระสูตรนี้ ก็ทรงแสดงฌาน ด้วยองค์แห่งฌาน ในลักษณะเดียวกับ ฌานของฤาษี...

แตกต่างกันตรงเหตุนำแห่งฌานนั้น(ในพระสูตรนี้ คือ เนกขัมมะ+ศีล+อินทรีย์สังวร+การเจริญสติปัฏฐาน) และ ผลของฌานนั้น(ในพระสูตรนี้ คือ วิชชาสามประการ)

แต่ ฌานของพระฤาษีไม่ว่าจะองค์ไหนๆ ก็ไม่เคยมีสติปัฏฐานเป็นเหตุนำ และ ไม่มีวิชชาสามประการเป็นผลเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อิ..อิ..ตามประสา..คนไม่มีถ่าน..นะท่าน..
เอกัคคตาในฌาณ 4 อะไรนี้นะ..ก็คือมันมีแต่จิต..จิตอย่างเดียว..ขาดจากขันธ์ 5 นะ..อิ..อิ..จิตมันมีคุณสมบัติ..รู้..คิด..จำ..และอภิชฌา..อิ..อิ..อิ..คุณสมบัติที่บริสุทธินะ..ทีนี้ก็ใช้มันสิ..ใช้มันหาความจริง..นี้พูดจาประสา..คนไม่มีถ่าน..นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
คุณหมอ คุณกามครับ

ถ้าเรามีจิตตั้งมั่นขึ้นมาเอง แต่มันไม่อยู่กับเรานาน
เราขาดหรือว่าเรามีอะไรเกินหรือเปล่าครับ


:b12: ทำไมไม่ใช้คำว่าสมาธิละจ๊ะ.....จิตตั้งมั่นอ่ะ

เลือกเอาว่าขาดอะไร

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

ส่วนที่เกินมา....ก็อารมณ์ที่มันมาพรากความตั้งมั่นไป :b2: :b2:


ผมก็ว่าไป อย่าถือสา ปัญหาเป็นเรื่องของวิสัยใครวิสัยมันคร้าบบบ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ชาติสยาม ครับ



อ้างคำพูด:
คุณหมอ คุณกามครับ

ถ้าเรามีจิตตั้งมั่นขึ้นมาเอง แต่มันไม่อยู่กับเรานาน
เราขาดหรือว่าเรามีอะไรเกินหรือเปล่าครับ





ตอบเท่าที่พอจะทราบน่ะครับ

ถูกผิดประการใด ขออภัยล่วงหน้า




อ้างคำพูด:
"จิตตั้งมั่นขึ้นมาเอง"


จิตตั้งมั่นขึ้นมาเองนั้น ผมไม่แน่ใจน่ะครับว่าจะเป็นไปได้หรือไม่

เพราะ ในหลักแห่งพระพุทธศาสนา ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นมาเองลอยๆ
สิ่งทั้งหลาย(ไม่นับรวม อสังขตธรรม หรือ พระนิพพาน) ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

สมาธิ ....ไม่ว่าจะเป็นมิจฉาสมาธิ สมาธิกลางๆ(ไม่ใช่มิจฉา แต่ ก็ไม่ใช่อริยะสัมมาสมาธิ) หรือ อริยะสัมมาสมาธิ ล้วนแต่มีเหตุปัจจัยทั้งสิ้น....

ไม่ว่า ทั้ง กิเลส และ มรรคใดๆ ก็ล้วนแต่เป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ทั้งสิ้น

เพียงแต่ ระดับเราท่าน อาจจะยังไม่มี สติที่คมพอ และ ปัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งพอ ที่จะเห็นที่มาของสิ่งเหล่านี้



อ้างคำพูด:
"แต่มันไม่อยู่กับเรานาน"


เหตุปัจจัยของมันยังดำรงอยู่ มันก็อยู่
เหตุปัจจัยของมันจบลง มันก็ดับ

มันเป็นอนัตตา จะไปบังคับมันไม่ได้หรอก...

แต่ ...การเพียรประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลที่สมควรกับเหตุนั้นๆปรากฏเอง ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

ลองอ่าน พระสูตร

Quote Tipitaka:
สตฺตก. อํ ๓๒/๓๕/๓๗

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการแล้ว ย่อมทำจิตให้อยู่ในอำนาจ
๗ ประการคือ

(๑) ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดใน สมาธิ
(๒) ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดใน การเข้าสู่ สมาธิ
(๓) ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดใน ดำรงอยู่ใน สมาธิ
(๔) ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดใน การออกจาก สมาธิ
(๕) ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดใน ความเหมาะสมแห่ง สมาธิ
(๖) ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดใน ธรรมเป็นที่โคจรแห่ง สมาธิ
(๗) ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดใน อภินิหารแห่ง สมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรม ๗ อย่างเหล่านี้แล้วย่อมทำจิตให้อยู่ในอำนาจ ได้
และภิกษุนั้น ก็ไม่ตกอยู่ในอกนาจของจิต






อ้างคำพูด:
เราขาดหรือว่าเรามีอะไรเกินหรือเปล่าครับ


อาจจะเป็นเช่นนั้น

หรือ อาจจะเป็นเพราะจริตนิสัยพื้นฐาน ของเราไม่ใช่จริตนิสัยที่จิตจะสงบง่ายๆ ก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ในพระสูตรนั้น การเจริญสติปัฏฐาน โดยมี นิวรณ์๕ที่เบาบางลง(อันเป็นผลจาก เนกขัมมะ+ศีล+อินทรีย์สังวร).... ก็ ปรากฏผลเป็นฌาน เช่นกัน


ลักขณูปนิสัชฌาน - วิปัสสนาวิธี

ตรงประเด็น เขียน:
ในพระสูตรนั้น (หัวข้อ ๓๙๖)
ไม่ได้ตรัสแสดงชัดเจน ว่า สิ่งใด เป็น วิตก วิจาร ในการเจริญสติปัฏฐาน ..และ ไม่ได้ตรัสระบุชัดเจนว่า ปฐมฌาน ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น เริ่มนับว่าเป็นปฐมฌานตรงไหน
แต่ ก็เป็นที่แน่นอนว่า ปฐมฌาน ต้องปรากฏในขั้นนี้(หัวข้อ ๓๙๖) ....ด้วยว่า ในส่วนต่อไป(หัวข้อ ๓๙๘) ทรงแสดงถึง "การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย (เวทนา จิต ธรรม)" เป็นเหตุให้ บรรลุทุติยฌาน แล้ว
และ ต่อมาก็ทรงแสดง เหตุที่ยังให้บรรลุตติยฌาน จตุตฌาน ตามลำดับ ๆลๆ


ตรงนี้น่าจะแสดงไว้เป็นนัยๆ ถึงวิธีปฏิบัติ สมถะนำ วิปัสสนานำ หรือคู่ๆกันไป



ตรงประเด็น เขียน:
คือว่า

ในพระสูตรนี้ ก็ทรงแสดงฌาน ด้วยองค์แห่งฌาน ในลักษณะเดียวกับ ฌานของฤาษี...

แตกต่างกันตรงเหตุนำแห่งฌานนั้น(ในพระสูตรนี้ คือ เนกขัมมะ+ศีล+อินทรีย์สังวร+การเจริญสติปัฏฐาน) และ ผลของฌานนั้น(ในพระสูตรนี้ คือ วิชชาสามประการ)

แต่ ฌานของพระฤาษีไม่ว่าจะองค์ไหนๆ ก็ไม่เคยมีสติปัฏฐานเป็นเหตุนำ และ ไม่มีวิชชาสามประการเป็นผลเลย


นี่ละครับ คุณเข้าใจแบบนี้ แต่คนอื่นเขาไม่เข้าใจ ก็อย่างที่บอก วิธีนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะพระพุทธองค์
คนอื่นเข้าใจฌานเพียวๆ แต่คุณมาพร้อมองค์คุณ คนอื่นอ่านว่าในคัมภีร์เป็นฌานเพียวๆ แต่คุนอ่านไป
ถึงเครื่องเคียง ก็เลยไม่ลงกัน

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มันเป็นอย่างนี้คับคุณหมอ คุณกาม

นอนตะแคงดูทีวีอยู่

อยู่ดีๆ ดูทีวีเพลินๆ มันมีเราขึ้นมา 2 เรา

เราแรก - เห็นเลยว่านี่ร่างกายเรา เป็นเราตัวนอก
แต่มีเราตัวที่สอง คือเราตัวใน

เราตัวในมันตกใจ แต่มันก็อารามตกใจด้วยดูไปด้วย ล๊อกแล๋ก

แป๊บเดียว เราตัวในก็พยามจะดิ้นๆดูว่าเราเป้นอะไร
(จะตะแคงดูว่าเราอัมพาทรับประทานหรือเปล่า)

ปกติเราจะเอี้ยวตัวปั๊บมันก็ไปทั้งองคาพยพทันที
แต่คราวนี้แปลก เอี้ยวแล้วมันไม่ไปพร้อมเรา (หน่วง) ไปแป๊บนึง แว๊บเดียว
เราตัวนอกถึงเอี้ยวไปด้วย
พอเอี้ยวมาด้านนี้ เรานอกมันก้นิ่งอยู่ เราในก็ดูต่อไปแปีบนึง

พอจะเอี้ยวครั้งที่สาม ดันหายไปแล้ว กลับมามี"เราเดียว"

ความรู้สึกนั้น เหมือนว่า เราตัวนอกมัน"ห่อ" เราตัวในไว้
เราตัวนอกนี้ไม่มีสงสัยเลยว่านี่ร่างกายของผมนี่แหละ
แต่ก็มีเราตัวในอีกเรานึง

ตัวในมันไม่มีรูปร่าง แต่รู้แก่ใจว่าเรานี่แหละ ไม่ใช่คนอื่น

แต่ก็ไม่ได้กำหนดเลย ไม่ได้ตั้งใจจะทำอะไร
เพราะแค่ดูทีวีอยู่ ผมถึงบอกว่ามันมาเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปาด...โธ่ถัง แล้วก็ไม่เล่ามาก่อน :b14: :b14: ไอ้ผมหรือก็มั่วไปตามสเตปเลย :b12:

เอ...อาการแบบนี้ ผมไม่เคยเจอนะ ส่วนมากถ้ารู้ตัวผมก็จะกำหนดสติรู้ไปตามเรื่อง
ตามราวผม นอกจากผมเผลอ ก็จะเพลินไปกับอิริยาบถที่มันสบายๆอยู่ ถ้านึกได้ก็กำหนด
อาการแบบนี้เลยไม่ทันสังเกตว่าเคยเจอหรือเปล่า

เวลานั่งสมาธิ ผมก็กำหนดจนเหลือพอง-ยุบกับสิ่งที่มากระทบและใจที่รู้
แต่ความรู้สึกในในใจตอนนั้น มันเหมือนมีรู้อย่างหนึ่งที่รู้ใจที่มันรู้อีกที
ผมไม่รู้ว่าเหมือนกันหรือเปล่า อาจมาจากสภาวะของคุณเองก็ได้
คุฯฝึกแบบไหนอยู่ ก็อาจต้องดำเนินไปตามแบบนั้น นอกจากเวลาที่ฝึก
แล้ว อาการอาจจะมีติดมาบ้างก็เป็นได้ เพราะถ้าสติอยู่ในขั้นที่พอดีขึ้นไป
บางอย่างเหมือนแยกให้เราดู

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:

นี่ละครับ คุณเข้าใจแบบนี้ แต่คนอื่นเขาไม่เข้าใจ ก็อย่างที่บอก วิธีนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะพระพุทธองค์
คนอื่นเข้าใจฌานเพียวๆ แต่คุณมาพร้อมองค์คุณ คนอื่นอ่านว่าในคัมภีร์เป็นฌานเพียวๆ แต่คุนอ่านไป
ถึงเครื่องเคียง ก็เลยไม่ลงกัน




ไม่เห็นด้วย กับ คำว่า ฌานที่ไม่ใช่ฌานเพียวๆ ซึ่ง"วิธีนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะพระพุทธองค์"น่ะครับ

เพราะ อริยะสัมมาสมาธิ (ซึ่งไม่ใช่ฌานเพียวๆ ด้วยเหตุว่า รูปฌาน๑-๔ นี้ มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม) นั้น... พระพุทธองค์ไม่ทรงสงวนลิขสิทธิ์น่ะครับ

นี่เป็นมรรค เป็นธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดง แก่สาวก ว่า "(มรรค)พึงเจริญ"

หน้าที่ของพุทธสาวกทั้งหลายพึงกระทำ คือ ศึกษาคำว่า อริยะสัมมาสมาธิ ให้ตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร และ ๆลๆ ... แล้ว น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ




ที่ผมกล่าวว่า อริยะสัมมาสมาธิเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะในพระศาสนานี้ นั้น หมายถึง พระฤาษีชีไพรนอกพระศาสนา(เว้น พระปัจเจกๆ) ไม่มีทางที่จะรู้จักอริยะสัมมาสมาธิได้เอง... ถ้าหากไม่ได้สดับพระธรรมจากพระพุทธองค์ ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


แหม๋...ก็นะ ไม่รู้คุณเข้าใจไง เอาใหม่..อธิบายใหม่

ตรงประเด็น เขียน:
ไม่เห็นด้วย กับ คำว่า ฌานที่ไม่ใช่ฌานเพียวๆ


ข้อนี้ คุณเข้าใจเอกัคคตาจิต(ของพระพุทธเจ้า) ว่า เป็นเอกัคคตาที่ประกอบด้วยมรรคอีก ๗
ซึ่งทำให้เป็นอริยสมาธิ
แต่คนอื่นเขาไม่รู้แบบนี้ เข้าเข้าใจเป็นเอกัคคตาเพียวๆ ที่ไม่มีมรรคอีก ๗ ปนอยู่ ก็เลยบอกว่า
ทำอะไรไม่ได้

คุณกับคนอื่นเลยไม่ตรงกันตรงนี้ ก็เลยสองฝ่ายว่า มีปัญญาได้ กับมีปัญญาไม่ได้

แท้จริง เอกัคคตาจิต มีทั้งที่ประกอบด้วยมรรคอีก ๗ และไม่ประกอบมรรคอีก ๗ มองกันตรงศัพท์
ตรงนี้เอง ตรงแค่ศัพท์ และผมเข้าใจว่า ไม่หาอ่านอรรถกถากันด้วย ที่อรรถกถาอธิบายไว้หลายที่
เอกัคคตาที่เวลาอ่านเจอว่าเกิดปัญญานั้น ล่วงเอกัคคตาของสมถะไปแล้ว เข้าสู่วิปัสสนาไปแล้ว
เอกัคคตาของอริยสมาธินั้น เป็นวิปัสสนาไปแล้ว เพราะเห็นไตรลักษณ์ แต่ถ้าแค่สงบ ไม่ฟุ้ง
เอกัคคตาตรงนี้ยังไม่มรรคสมังคี ยังเป็นสมถะอยู่ ลองดูในพระไตรปิฎกดีๆ พระองค์ตรัสสมถะคู่วิปัสสนา
เสมอ เพราะว่า ถ้าทำแบบกสิณเป็นต้น จะยังไม่มีมรรคสมังคี เลยต้องพ่วงวิปัสสนาไป เพื่อทำสมาธิ
ธรรมดาของกสิณให้เป็นอริยสมาธิ เรียกว่าต้องเพิ่มมรรคอีก ๗ ไปด้วย จึงปรากฏในที่ต่างๆว่า
ธรรม ๒ อย่างพึงให้เจริญคือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ที่ผมบอก บอกว่าอีกฝ่ายเข้าใจฌาน หรือเอกัคคตาเพียวๆ ส่วนความเห็นผม ถ้าผมบอก อาจตรงกับคุณ
แต่ผมไม่รู้คุณจะอธิบายเวลามรรคมังคีอย่างไร ผมทำอยู่รู้เลยว่า จะสมังคีกันอย่างไร ผมอธิบายเป็น
ภาษาปฏิบัติเลย ไม่อธิบายแบบในคัมภีร์ เพราะในคัมภีร์วางหลักไว้เท่านั้น ทำให้คนอ่านเข้าใจว่า
ต้องไปตามสเตรป เช่นถ้าผมบอกว่า แต่ละก้าวที่ผมจรงกรมอยู่ บางก้าวมรรคสมังคีเกิด เดี๋ยวได้หาว่า
ผมอวดอุตริว่าเป็นอริยะ เพราะว่าคนเข้าใจว่า เมื่อมรรคสมังคีแล้ว จะทำให้เกิดปัญญาหลุดพ้นเลยทันที
เพราะไปอ่านคัมภีร์มาว่าอย่างนั้น คือตามลำดับ แต่ความจริงแล้ว มรรคมี ๒ อย่างคือ สาสวะและ
อนาสวะ คือระดับมีอาสวะ กับไม่มีอาสวะ คนธรรมดาปฏิบัติวิปัสสนากับอริยะบุคคลตั้งแต่โสดาบัน
ขึ้นไปถึงอนาคามี จัดเป็นมรรคแบบมีอาสวะ พระอรหันต์เท่านั้นไม่มีอาสวะ
ข้อธรรมทั้งหลาย ต้องพยายามหาข้อวินิฉัยในอรรถกถาด้วย ท่านที่แต่งมาส่วนมากปฏิบัติแล้วทั้งนั้น
ไม่ใช่มานั่งวิจัยกันแบบเรา

ตรงประเด็น เขียน:
ซึ่ง"วิธีนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะพระพุทธองค์"น่ะครับ
เพราะ อริยะสัมมาสมาธิ (ซึ่งไม่ใช่ฌานเพียวๆ ด้วยเหตุว่า รูปฌาน๑-๔ นี้ มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม) นั้น... พระพุทธองค์ไม่ทรงสงวนลิขสิทธิ์น่ะครับ


ไม่ใช่หมายถึงว่า วิธีนี้ของพระพุทธเจ้าองค์เดียวหรือหวงห้าม แต่หมายถึงพระองค์ค้นพบ
และมีในศาสนาของพระองค์เท่านั้น
เข้าทำนอง วินโดว์ลิขสิทธิ์ของบิลเกตนะครับ ไม่ใช่หมายความว่าบิลเกตใช้คนเดียว

แหม๋...อย่าว่าผมนะ คุณ ตรงฯ จริงๆ :b12:


ตรงประเด็น เขียน:
นี่เป็นมรรค เป็นธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดง แก่สาวก ว่า "(มรรค)พึงเจริญ"
หน้าที่ของพุทธสาวกทั้งหลายพึงกระทำ คือ ศึกษาคำว่า อริยะสัมมาสมาธิ ให้ตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร และ ๆลๆ ... แล้ว น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ


คุณเข้าใจถูกแล้ว สมาธิมรรคล้อม ส่วนคนอื่นที่เข้าใจสมาธิเพียวๆ ก็เลยเป็นประเด็นไง ผมตามอ่าน
นานแล้ว อยู่ตรงนี้นานมาก แต่ก็ทำให้ผมได้อ่านของดีอยู่เสมอๆ ต้องขอบคุณ
ฉนั้น เมื่อเป็นหน้าที่ ต้องรีบเลย ปฏิบัติด้วย แล้วมาถกกันด้วย สนุกดี ความหมายของปฏิบัติ ไม่เอา
แค่ทำง่ายๆหรือตามชีวิตประจำวัน มันหย่อนไป

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เผื่อว่า ยังมีท่านผู้ใด ไม่เคยอ่านตรงจุดนี้

มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า เอกัคคตาจิต หรือ จิตที่มีอารมณ์เดียว ว่า
เพราะไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม จึงเป็นเหตุให้ฟังธรรมไม่เข้าใจ


ภิกษุ ท.! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็
ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
เหตุห้าอย่างอะไรเล่า? ห้าอย่างคือ
สนใจแต่คำพูด
สนใจแต่ผู้พูด
สนใจแต่ตัวเอง
มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม
และทำในใจไม่แยบคาย.
ภิกษุ ท.!
บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง
สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.


ปญฺจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต สุณนฺโตปิ สทฺธมฺมํ อภพฺโพ นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ กตเมหิ
ปญฺจหิ
กถํ ปริโภติ
กถิกํ ๑ ปริโภติ
อตฺตานํ ปริโภติ
วิกฺขิตฺตจิตฺโต ธมฺมํ สุณาติ อเนกคฺคจิตฺโต
อโยนิโส [๒]- มนสิกโรติ
อิเมหิ โข ภิกฺขเว ปญฺจหิธมฺเมหิ สมนฺนาคโต สุณนฺโตปิ สทฺธมฺมํ อภพฺโพ นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ ฯ



และ ในบทต่อมาก็กล่าวตรงกันข้ามว่า
เพราะมีเอกัคตาจิตฟังธรรม(ธมฺมํ สุณาติ เอกคฺคจิตฺโต ) จึงเป็นเหตุให้ฟังธรรมเข้าใจ



คือ เอกัคตาจิตนั้น มีอยู่หลายระดับ ในระดับต้นๆที่ยังไม่ตัดขาดจากอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อย่างสิ้นเชิงนั้น สามารถฟังธรรมได้ด้วย.(แต่ เอกัคคตาจิต ในรูปฌานที่๔ ก็เป็นที่แน่นอนว่า ย่อมไม่สามารถรับรู้ทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้. เพราะขนาดนี้ จิตจะสงบลึก ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า ไม่มีแม้นแต่ความรู้สึกแห่งลมหายใจ..แต่ ในรูปฌานที่๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิสามารถพิจารณาธรรมได้อย่างดียิ่ง...อ่านจากพุทธธรรม)


นอกจาก เอกัคคตาจิตจะมีชนิดที่สามารถฟังธรรมได้แล้ว ยังฟังธรรมได้ดีอีกด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

คือ เอกัคตาจิตนั้น มีอยู่หลายระดับ ในระดับต้นๆที่ยังไม่ตัดขาดจากอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อย่างสิ้นเชิงนั้น สามารถฟังธรรมได้ด้วย.(แต่ เอกัคคตาจิต ในรูปฌานที่๔ ก็เป็นที่แน่นอนว่า ย่อมไม่สามารถรับรู้ทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้. เพราะขนาดนี้ จิตจะสงบลึก ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า ไม่มีแม้นแต่ความรู้สึกแห่งลมหายใจ..แต่ ในรูปฌานที่๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิสามารถพิจารณาธรรมได้อย่างดียิ่ง...อ่านจากพุทธธรรม)
นอกจาก เอกัคคตาจิตจะมีชนิดที่สามารถฟังธรรมได้แล้ว ยังฟังธรรมได้ดีอีกด้วย


สาธุ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 21:07
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะเชิญคุณบัวศกลเข้ามาสนทนาในกระทู้นี้ด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


วสวัตตี เขียน:
น่าจะเชิญคุณบัวศกลเข้ามาสนทนาในกระทู้นี้ด้วยนะครับ

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่คุณถนัดไม่ใช่หรอ โดยเฉพาะเรื่องสมาธิในฌาณ ตั้งแต่อุปจารสมาธิ
ไปจนถึงปฐมฌาณ เลยไปจนถึง จตุตถฌาณ(หรือปัญจมฌาณ) และจากจตุตถฌาณถอยเรื่อยมา จนมาพักที่อุปจาระสมาธิหรือจะเรียกว่า อุปจารฌาณ ก็ไม่ผิดเหมือนกัน เป็นสมาธิที่ทำให้จิตได้พักผ่อน
คล้ายๆสมาธิตอนก่อนนอน :b40: :b40: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
วสวัตตี เขียน:
น่าจะเชิญคุณบัวศกลเข้ามาสนทนาในกระทู้นี้ด้วยนะครับ

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่คุณถนัดไม่ใช่หรอ โดยเฉพาะเรื่องสมาธิในฌาณ ตั้งแต่อุปจารสมาธิ
ไปจนถึงปฐมฌาณ เลยไปจนถึง จตุตถฌาณ(หรือปัญจมฌาณ) และจากจตุตถฌาณถอยเรื่อยมา จนมาพักที่อุปจาระสมาธิหรือจะเรียกว่า อุปจารฌาณ ก็ไม่ผิดเหมือนกัน เป็นสมาธิที่ทำให้จิตได้พักผ่อน
คล้ายๆสมาธิตอนก่อนนอน :b40: :b40: :b39:




การที่จะผ่านจากฌาน 1 ขึ้นไปสู่ฌาน 4 ได้ ต้องประกอบไปด้วยสติ

ถ้าขาดสติ ไปไม่ถึงแน่นอนค่ะ

แล้วจากฌาน 1 ไปสู่ฌาน 4 ไม่ใช่ไปในขณะเดียวกัน แต่ไปคนละขณะ

ต้องชำนาญฌานนั้นๆก่อน ถึงจะไปสู่ระดับต่อไป

แล้วอีกอย่างการถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ แต่ยังไม่ถึง อุปจารสมาธิ

ตัวนี้เรียกว่า อุปจารฌาน ..

ไม่ใช่เป็นสมาธิที่ทำให้จิตได้พักผ่อนแบบที่คุณอินทรีย์เข้าใจนะคะ

แต่เป็นสมาธิที่ตั้งมั่นได้นานกว่าอุปจารสมาธิ และไม่มีนิมิต

ถ้าอุปจาร จะมีนิมิต

อุปจารฌาน เป็นการดึงสมาธิระดับอัปปนาสมาธิมาใช้ในการทำวิปัสสนา

เพราะถ้าเป็นอัปปนาสมาธิเพียวๆ ไม่สามารถพิจรณาอะไรได้เลย มันจะดับสนิทนิ่งอยู่ในองค์ฌาน

แล้วผู้ที่จะดึงสมาธิระดับอัปปนาสมาธินี้มาใช้ได้ ต้องผ่านฌาน 4 แล้วเท่านั้นค่ะ

เพราะผู้นั้นสามารถทำให้จิตตั้งมั่นเป็น 1 ได้ตลอดเวลา ที่เขาต้องการ

เดี๋ยวนี้ถึงมีหลายๆสำนักหันมาใช้ขณิกสมาธิในการทำวิปัสสนากันเพราะเหตุนี้แหละค่ะ

เพียงเอาจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณิกสมาธิก็สามารถเกิดขึ้นได้แล้ว

และกำลังของสมาธินั้นสามารถสะสมได้ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร