วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 05:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




y1pzCtueIutJFnkmR2dMwXNbYYn6-HsE76zN9oEu2mMgyaXaywXEPA7_ZQPQLi103Ag-_4-bKJgrRM.jpg
y1pzCtueIutJFnkmR2dMwXNbYYn6-HsE76zN9oEu2mMgyaXaywXEPA7_ZQPQLi103Ag-_4-bKJgrRM.jpg [ 61.31 KiB | เปิดดู 6644 ครั้ง ]
ธัมมุธัจจ์ แปลว่า ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม

ธัมมุธัจจ์ มาจากคำว่า ธัมมุทธัจจะ หรือ ธรรมุทธัจจะ (ธรรม+อุทธัจจ์ - ความฟุ้งซ่าน)

อรรถกถาเรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส (องฺ.อ.2/447; วิสุทธิ.3/267)

ธัมมุทธัจจ์ = ความฟุ้งซ่านธรรม

หรือ วิปัสสนูปกิเลส = เครื่องเศร้าแห่งวิปัสสนา มี ๑๐ อย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 6644 ครั้ง ]
วิปัสสนูปกิเลส หรือ ธรรมุทธัจจ์ มี ๑๐ อย่าง คือ

1. โอภาส- แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกว่างามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสว อย่างไม่เคยมีมาก่อน

2. ญาณ-ความหยั่งรู้ ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่า จะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

3. ปีติ- ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่งทั้งตัว

4. ปัสสัทธิ -ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่า ทั้งกายและใจสงบสนิท เบานุ่มนวล คล่องแคล่ว

แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญ

ขัดขืนใดๆ เลย

5. สุข-มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่ง แผ่ไปทั่วทั้งตัว

6. อธิโมกข์- เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใส

อย่างเหลือเกิน

7.ปัคคาหะ –ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

8.อุปัฏฐาน-สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่ว

ชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด


9. อุเบกขา-ภาวะจิตที่ราบเรียบเที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

10. นิกันติ-ความพอใจติดใจ ที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริง

เป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่า เป็นกิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 15:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar248281_3.gif
avatar248281_3.gif [ 27.92 KiB | เปิดดู 6634 ครั้ง ]
คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่ง

อย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ เกิดมีโอภาส (แสงสว่าง)

ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น)

สุข อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือศรัทธาแก่กล้า)

ปัคคาหะ (ความเพียรพอดี)

อุปัฏฐาน (สติชัดหรือสติกำกับอยู่)

อุเบกขา (จิตเรียบเสมอเป็นกลาง)

หรือนิกันติ (ความติดใจ) ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาส เป็นต้นนั้น ว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผล หรือนิพพาน)

เพราะการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ

ผู้ปฏิบัติ มีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง

ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะที่เป็นทุกข์ โดยภาวะที่เป็นอนัตตา

ดังนั้น จึงเรียกว่า มีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์

แต่ครั้นมีเวลาเหมาะ ที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ

มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้

วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาส

เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้

เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว

จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไปเสื่อมเสีย


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

พึงกำหนดรู้หรือทำปริญญาตามเป็นจริง หรือ ตามที่มันเป็น ก็เป็นอันพ้นจากธัมมุธัจจ์

หรือ วิปัสสนูปกิเลส จิตก็บริสุทธิ์ก้าวหน้าเรื่อยไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 19:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




q1.jpg
q1.jpg [ 30.13 KiB | เปิดดู 6613 ครั้ง ]
ธัมมุธัจจ์ หรือ วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะเกิดขึ้นแก่ผู้ได้วิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) ภาวะทั้งสิบนี้ เป็นสิ่ง

น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุมรรค

ผลแล้ว

ถ้าเข้าใจอย่างนั้น ก็เป็นอันคลาดออกนอกวิปัสสนาวิถี คือพลาดทางวิปัสสนาแล้ว ก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย

นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง

วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ ให้รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้ ญาณนี้

ฯลฯ หรือ นิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง

เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น) จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นต้น จนมองเห็น

ว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วไม่ตื่นเต้นหวั่นไหวไปกับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้น

เป็นอันสางอุปกิเลสเสียได้ ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคาที่ถูกต้องต่อไป จนบรรลุมรรคผล

(ดูรายละเอียดวิสุทธิ.3/267-274; องฺ.อ.2/447/ ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมุธัจจ์ หรือ วิปัสสนูปกิเลสแต่ละอย่างๆ มีภาวะน่าตื่นตาตื่นใจแก่โยคีทั้งสิ้น เพราะตน

ไม่เคยประสบมาก่อน เมื่อพบเห็นเข้าแล้วก็ตื่นใจหลงติดเข้าใจผิด กลายเป็นอุปกิเลสไปฉะนี้แล

ผู้ใช้คำภาวนารูปแบบต่างๆ ธรรมุธัจจ์จะปรากฏค่อนข้างเร็วกว่า ผู้คิดนึกตรึกหัวข้อธรรมตามแนว

เหตุผล เพราะจิตรวมตัวได้เร็วกว่ากัน

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือว่า ผู้ที่ใช้คำบริกรรมพุทโธ หรือ อื่นๆ จากนี้ มักติดข้องวนเวียน

กับธรรมุธัจจ์นี้เอง

ด้วยผู้ใช้คำภาวนาพุทโธ ถูกแนะนำกันต่อๆมาว่าให้ภาวนาเฉพาะพุทโธๆ อารมณ์เดียวเท่านั้น

แม้เมื่อสภาวะอื่นใดปรากฏจะปล่อยไม่กำหนดจิตจึงยึดอาการนั้นๆไว้

เมื่อคิดฟุ้งซ่านก็พล่านไปตามอารมณ์ปรารถนา จึงทิ้งกรรมฐาน หลงความคิดปรุงแต่งไปต่างๆ

ในบางรายถึงหลุดโลกปัจจุบันไปก็มี

บ้างก็คิดว่า เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้ เป็นนิพพานไปบ้าง - (นิพพานก็เข้าใจว่า เป็นสถานที่หนึ่งหรือดิน

แดนหนึ่ง) ก็ทิ้งกรรมฐาน คิดเพลินกับอดีตารมณ์ ทิ้งปัจจุบันอารมณ์แต่ละขณะๆ ตามไม่ทัน

ส่วนผู้ใช้พอง-ยุบ เป็นกรรมฐาน แม้ถูกสอนให้กำหนดอารมณ์ที่กระทบ ได้ทุกอย่าง

คือ รู้สึกอย่างไรให้กำหนดจิตอย่างนั้น เกิดอาการอย่างไรก็กำหนดจิตอย่างนั้น

ตามที่เห็น ตามที่ได้ยิน ฯลฯ ก็มีโยคีข้องอยู่กับธรรมุธัจจ์ด้วยเช่นกัน เพราะตนตื่นในธัมมุธัจจ์

หรือผู้แนะนำไม่เข้าใจ :b1:

แต่เมื่อสิ่งใดที่เกิดขึ้นตามนั้นเสีย ก็ไม่เป็นธัมมุจจ์ กรรมฐานก็จะรุดหน้าไปเรื่อยๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 15:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดชัดขึ้น เชิญทัศนาตัวอย่างสักสองสามตัวอย่าง
อ่านแล้ว สังเกตอาการและความรู้สึกของเขา ด้วยว่าเป็นอย่างไร




อาการแบบนี้เรียกว่าหลงผิดเรื่องสติปัฏฐานสี่ หรือเปล่าคะ (วอนผู้รู้ช่วยตอบ)


ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบศึกษาเรื่องศาสนาและปรัชญามานาน จนกระทั่งวันหนึ่งได้นั่งวิปัสสนากรรมฐานจน

กระทั่งจู่ ๆ เกิดเสียงดังก้องในโสตประสาทราวกับเสียงสวรรค์ (ใช่หรือไม่ก็ไม่ทราบ) ตรัสว่า อันทุกสิ่งในโลก

นี้ล้วนเกิดจากธรรมชาติ เกิดขึ้นและดับลงทุกสิ่งล้วนว่างเปล่าไร้ซึ่งอัตตาวินาทีนั้น

ดิฉันรู้สึกปลื้มปิติราวกับได้พานพบกับโลกแห่งแสงสว่าง ถึงขั้นที่ว่าไม่ยอมลุกจากที่นั่ง ไม่รับรู้สิ่งภายนอก

ไร้ซึ่งอารมณ์ทุกอย่างล้วนว่างเปล่าไปหมด

ตอนนั้นดิฉันยอมรับว่าหลงคิดไปว่า นี่แหล่ะคือสุขแท้ คือความว่าง คือนิพพานที่เฝ้าค้นหา

จนระยะหลังเกิดยึดติดกับความปิตินี้ จึงถึงขั้นไม่สามารถรับรู้โลกภายนอกได้อีกต่อไป เวลามีใครมาเรียกดิฉัน

ก็จะไม่ได้ยิน ไม่ตอบสนอง หรือถ้าตอบก็จะตอบเพียงสั้น ๆ และล้วนแต่เป็นหลักธรรมคำสอนไปเสียหมด

(ใครไม่เคยเห็นก็จะหลงเข้าใจไปว่าเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ไปโน่น)

อาการของดิฉันเป็นหนักมาก

จนภายหลังต้องเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลและใช้เวลานานกว่าจะหายเป็นปกติ

ภายหลังเคยเห็นผู้รู้ท่านหนึ่ง มาตั้งกระทู้ไว้เกี่ยวกับข้อควรระวังเรื่องหลงผิดเรื่องสติปัฏฐานสี่

จึงทำให้รู้ว่า อาการของตนนั้นน่าจะเกิดจากการนั่งวิปัสสนาแบบผิด ๆ และรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ดังกล่าว

ไม่ทราบว่า ผู้ใดเคยมีอาการแบบดิฉันบ้างคะ และถ้ามีควรจะแก้ไขอย่างไร เคยมีคนบอกว่า นั่งวิปัสสนาต้อง

ควบคู่ไปกับสติ แต่ดิฉันก็ไม่ทราบว่ามันคืออะไร

ทุกวันนี้ยังนึกกลัวอยู่ว่า ถ้านั่งแล้วเกิดความรู้สึกอย่างเดิมอีก แล้วจะดึงตัวเองกลับคืนสู่โลกแห่งความจริง

ได้หรือเปล่า และถ้าปล่อยไปจะเป็นอะไรไหม เพราะตอนนั้นยอมรับว่ามีความสุขมาก จนถึงขั้นยอมตาย

เลยก็ว่าได้ดิฉันควรทำยังไงดีคะ


http://board.palungjit.com/f4/อาการแบบนี้เรียกว่าหลงผิดเรื่องสติปัฏฐานสี่-หรือเปล่าคะ-วอนผู้รู้ช่วยตอบ-193828.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 00:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


โอ้.... :b20:

ยังคิดสงสัยอยู่เลยว่าเห็นนั่นเห็นนี่ มันจะดีอย่างไร
เพราะยังไงมันก็ต้องกลับมาอยู่กับโลกเดิม
จะแตกต่างจากความฝันยังไง

แบบนี้เอง พอจะเข้าใจขึ้นมาบ้าง
ขอบคุณค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาส เป็นต้น

ซึ่งเป็นเหตุให้จิต กวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้

เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์

ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไปเสื่อมเสีย



แล้วเราจะรู้ได้ยังไงคะ
เพราะกิเลสทั้ง 10 ข้อทีว่ามา บางข้อก็ดูเหมือนจะดี บางข้อถ้าเกิดขึ้นมาก็อาจจะไม่รู้ตัวก็ได้
จะรู้เท่าทันกันได้ยังไงคะ ดูๆแล้วยากเหมือนกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงคะ
เพราะกิเลสทั้ง 10 ข้อทีว่ามา บางข้อก็ดูเหมือนจะดี บางข้อถ้าเกิดขึ้นมาก็อาจจะไม่รู้ตัวก็ได้
จะรู้เท่าทันกันได้ยังไงคะ ดูๆแล้วยากเหมือนกันนะ



คำถามนี้ ตอบสั้นๆครั้งก่อนว่า เราก็ไม่ยึดติดถือมั่น หลงผิดคิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เท่านี้ก็ไม่เป็นกิเลสแล้วครับ
แต่กลายเป็นเครื่องสำหรับรู้ไปแล้ว

ที่มันเป็นอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิต เครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา เพราะโยคีหลงผิดแล้วยึดเอาสภาวะนั้นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฌาน เป็นมรรคผลนิพพาน
ในบางรายหลงหนักว่า ตนเป็นพระอรหันต์แล้ว ที่เขาเป็นๆกันก็เป็นกันแถวๆป่าอุปกิเลสนี่ล่ะคร้าบ :b1:

ก็เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของมันอย่างนั้น โยคีรู้สึกตัวก็กำหนดรู้ตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นเสีย
จิตก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นภาวะนั้น ก็จะบริสุทธิ์ก้าวต่อไป เป็นการชำระจิตให้หมดจดผ่องแผ้วถึงที่สุดเท่าที่มันจะเป็น
ของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณแทนขวัญพูดถูก บางข้อดูเหมือนจะดี ตัวอย่าง เช่น ปัสสัทธิ ญาณ ฯลฯ
ปัสสัทธิ เป็นโพชฌงค์ด้วย
ก็อย่างที่บอกข้างบน ยึดก็เป็นอุปกิเลสกิเลส ไม่ยึดติดถือมั่นภาวะนั้นๆ ก็เป็นอุปกรณ์สำหรับรู้ สำหรับใช้
เดินทางต่อไป สิ่งที่ว่าดีนั้นก็เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง หรือเป็นอาหารยามเดินทาง

ตัวอย่างข้อ ๑ มิใช่เห็นแค่เห็นแค่สีแสงแดงเหลือง เป็นต้น เท่านั้นนะ เห็นทุกอย่างในขณะนั้นๆ จะเป็นคน สัตว์ สถานที่ พระ เถร เณร ชี ฤๅษีชีไพร นรกสวรรค์วิมารแมนแดนสุชาวดี เทวดา อินทร์ พรหม
ยม ยักษ์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นกิเลสทั้งสิ้น

พึงกำหนดจิสตตามที่เห็น “เห็นหนอๆๆ” (ให้แนวทางปฏิบัติไว้ .... เมื่อได้ยินเสียง ๆ อะไรก็ตาม
ในขณะนั้น “เสียงหนอๆๆ” ทันทีที่ได้ยิน ...ได้เห็น) จิตก็พ้นจากอุปกิเลสนั้นๆ


อ้างคำพูด:
บางข้อถ้าเกิดขึ้นมาก็อาจจะไม่รู้ตัวก็ได้
จะรู้เท่าทันกันได้ยังไงคะ ดูๆแล้วยากเหมือนกันนะ


ระยะแรกๆ ผู้ปฏิบัติต้องมีผู้เข้าใจคอยชี้แนะว่าอะไรทาง ภาวะใดไม่ใช่ทาง
ไม่อย่างนั้นแล้วเขาจะติดจะยึดสิ่งที่เห็นที่ได้ยิน ที่เขาเข้าใจว่าเป็น...ยิ่งภาวนาไปปฏิบัติไปก็ยิ่งเข้าใจผิดมากขึ้นๆเป็นเงาตามตัว เพราะสิ่งที่เขาเห็น ได้ยินจะแจ่มชัดเหมือนจริงมากขึ้นๆ ความเห็นผิดก็เพิ่มพูนขึ้นๆ ตามรายวันรายชั่วโมงที่เขาภาวนาๆ
คราวนี้ล่ะยากแล้ว เพราะวิถีจิตจะเสพอารมณ์เช่นนั้นๆแน่นขึ้นๆ จนเป็นอุปนิสัยใหม่เขาไปเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.ค. 2009, 20:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



จะ Reply สิ่งที่ปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานดังกล่าวก่อนหน้าให้คุณแทนขวัญดูอีกครั้ง
และพึงทราบว่า วิปัสสนูปกิเลส ไม่ได้เกิดตามลำดับ ๑-๑๐ อย่างในหนังสือ
ระยะเวลาที่นั่งกำหนดรูปนามอยู่นั้น อาจเกิดทุกข้อสลับไปสลับมา
แล้วก็เป็นอย่างที่คุณตั้งข้อสังเกต ธัมมุธัจจ์มีส่วนดีมีส่วนจริง หากไม่ยึด (กำหนดตามนั้นเสีย)
ก็เป็นความรู้ เป็นอาหารของจิต เป็นประสบการณ์ (ความรู้ ความถูกต้องท่านก็ไม่ให้ยึดติดถือมั่น นี่คือความบริสุทธิ์แห่งจิตแนวพุทธธรรม)

แต่ถ้ายึดติดเป็นอุปาทาน เป็นกิเลสทันที

ตัดๆ มานะครับ




ฯลฯ จนกระทั่งวันหนึ่งได้นั่งวิปัสสนากรรมฐานจนกระทั่งจู่ ๆ เกิดเสียงดังก้องในโสตประสาทราวกับเสียงสวรรค์ ตรัสว่า อันทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเกิดจากธรรมชาติ เกิดขึ้นและดับลง ทุกสิ่งล้วนว่างเปล่าไร้ซึ่งอัตตา


เขาได้เสียงดังกึกก้องในโสตประสาท (พึงกำหนดจิตว่า “เสียงหนอๆๆ” ทันที)

มาบอกเขาว่า...(สีน้ำเงิน) ที่เขาได้ยิน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่เป็นตามนั้น...ทุกสิ่งในโลกเป็น

ธรรมชาติ เกิดขึ้นแล้วดับไป ว่างเปล่าไร้อัตตาตัวตน -(แม้จะจริง ก็พึงกำหนด “รู้หนอๆๆ” ขณะนั้นทันที)

กำหนดจิตตามนั้นแล้วๆปล่อย (ไม่ใช่ไปคิดคิดถามตนเองว่า เสียงอะไร เป็นอะไร ไม่ใช่) ให้ดึงสติ

อยู่กับกรรมฐาน คือ พอง-ยุบ พองหนอ ยุบหนอ ต่อไป หรือ ลมหายใจเข้าออก อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน

เสีย ฯลฯ

เมื่อมีสิ่งใดอื่นกระทบอีก รู้สึก พึงละจากพอง-ยุบ กำหนดสิ่งนั้นๆ ตามที่รู้สึกอีก ฯลฯ

เมื่อไม่กำหนดจิตตามที่มันเป็น ตามที่ปรากฏ ตามที่รู้สึก จิตจะอุปาทานต่อสิ่ง นั้นๆทันที

ดังที่เขาเข้าใจผิดว่า เป็นนั่นเป็นนี่ ว่าเป็นนิพพานเป็นต้นไป

V

วินาทีนั้น ดิฉันรู้สึกปลื้มปีติราวกับได้พานพบกับโลกแห่งแสงสว่าง ถึงขั้นที่ว่าไม่ยอมลุกจากที่นั่ง

ไม่รับรู้สิ่งภายนอก ไร้ซึ่งอารมณ์ทุกอย่างล้วนว่างเปล่าไปหมด

ตอนนั้น ดิฉันยอมรับว่า หลงคิดไปว่า นี่แหล่ะคือสุขแท้ คือ ความว่าง คือ นิพพานที่เฝ้าค้นหา

จนระยะหลัง เกิดยึดติดกับความปีตินี้ จึงถึงขั้นไม่สามารถรับรู้โลกภายนอกได้อีกต่อไป

เวลามีใครมาเรียกดิฉันก็จะไม่ได้ยิน ไม่ตอบสนอง หรือ ถ้าตอบก็จะตอบเพียงสั้น ๆ และล้วนแต่เป็นหลักธรรม

คำสอนไปเสียหมด (ใครไม่เคยเห็น ก็จะหลงเข้าใจไปว่า เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ไปโน่น)

อาการของดิฉันเป็นหนักมาก

จนภายหลัง ต้องเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาล และ ใช้เวลานานกว่าจะหายเป็นปกติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ระยะแรกๆ ผู้ปฏิบัติต้องมีผู้เข้าใจคอยชี้แนะว่าอะไรทาง ภาวะใดไม่ใช่ทาง
ไม่ อย่างนั้นแล้วเขาจะติดจะยึดสิ่งที่เห็นที่ได้ยิน ที่เขาเข้าใจว่าเป็น...ยิ่งภาวนาไปปฏิบัติไปก็ยิ่งเข้าใจผิดมากขึ้นๆเป็นเงา ตามตัว เพราะสิ่งที่เขาเห็น ได้ยินจะแจ่มชัดเหมือนจริงมากขึ้นๆ ความเห็นผิดก็เพิ่มพูนขึ้นๆ ตามรายวันรายชั่วโมงที่เขาภาวนาๆ
คราวนี้ล่ะยากแล้ว เพราะวิถีจิตจะเสพอารมณ์เช่นนั้นๆแน่นขึ้นๆ จนเป็นอุปนิสัยใหม่เขาไปเลย


แล้วจะหาผู้เข้าใจ หรือไม่เข้าใจได้จากไหนคะ
และก็ไม่รู้ว่าผู้เข้าใจนั้นเข้าใจถูกหรือผิดกันแน่
เห็นได้จากกระทู้อื่นๆที่มีถามตอบกันในลักษณะอาการที่เกิดขึ้นต่างๆเหล่านี้

บางทีผู้ชี้แนะเองก็ยังชี้แนะให้ว่าจะต้องให้เป็นแบบนั้นแบบนี้
เห็น แสง เห็นดวงแก้ว เห็นแล้วถึงจะดีเลยค่ะ
แทนขวัญตามอ่าน ตามที่คุณกรัชกาย ยกตัวอย่างมา
หลายๆตัวอย่างก็น่ากลัวเหมือนกัน

แทนขวัญถ้าไม่ได้อ่านว่ามีธัมมุธัจจ์ ก็ยังไม่รู้เช่นเดียวกันค่ะ
ว่ามีกิเลส ของการนั่งวิปัสสนาแบบนี้ด้วย
เพียงแต่กิเลสบางข้อก็ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่ามันน่าจะยังไม่ใช่ทางที่ถูก
แต่บางข้อก็อย่างที่ว่าค่ะ ดูเหมือนจะดี หรือบางข้อเกิดขึ้นมาก็อาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้

แบบนี้คนที่เริ่มสนใจ ที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ ที่อาจจะทดลองฝึกอยู่ที่บ้านเอง
เรายังควรจะฝึกฝนกันเองอยู่มั้ย หรือว่าควรจะเริ่มต้นยังไงดี
หรือจะต้องหาผู้ที่เข้าใจถูกจริงๆคอยแนะนำก่อน แต่ตรงนี้จะหาจากไหนคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามนั้น ท่อนท้ายมีแง่มุมควรรู้อีกหน่อย =>



อ้างคำพูด:
มีผู้รู้ท่านหนึ่งว่า ควรระวังเรื่องหลงผิดเรื่องสติปัฏฐานสี่ จึงทำให้รู้ว่า อาการของตนนั้นน่าจะเกิดจากการนั่งวิปัสสนาแบบผิด ๆ และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ดังกล่าว
ไม่ทราบว่า ผู้ใดเคยมีอาการแบบดิฉันบ้างคะ และถ้ามี ควรจะแก้ไขอย่างไร เคยมีคนบอกว่า
นั่งวิปัสสนาต้องควบคู่ไปกับสติ แต่ดิฉันก็ไม่ทราบว่า มันคืออะไร

ทุกวันนี้ยังนึกกลัวอยู่ว่า ถ้านั่งแล้วเกิดความรู้สึกอย่างเดิมอีก แล้วจะดึงตัวเองกลับคืนสู่โลกแห่งความจริงได้
หรือเปล่า และถ้าปล่อยไปจะเป็นอะไรไหม เพราะตอนนั้นยอมรับว่า
มีความสุขมาก จนถึงขั้นยอมตายเลยก็ว่าได้


สติปัฏฐานสี่ มีผู้เข้าใจไขว่เขวอยู่มากดังที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์กล่าวไว้ ที่

viewtopic.php?f=2&t=21861


ที่เขาสงสัย =>

นั่งวิปัสสนาต้องควบคู่ไปกับสติ แต่ดิฉันก็ไม่ทราบว่า มันคืออะไร


ลิงค์ดังกล่าวมีเฉลยข้อสงสัยเขาด้วย จะนำมาให้ดูสั้นๆพอเห็นเค้าว่า สติทำงานร่วมกับปัญญาอย่างไร
แล้วอะไรเป็นวิปัสสนา =>


... สติ ไม่ใช่ตัว วิปัสสนา
ปัญญา หรือ การใช้ปัญญาต่างหากเป็น วิปัสสนา แต่ปัญญา จะได้โอกาสและจะทำงานได้อย่างปลอดโปรงเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วย
การฝึกสติ จึงมีความสำคัญมากใน วิปัสสนา


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติเพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือ เป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง

ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และ สติจะมีกำลังกล้าแข็ง หรือ ชำนาญ
คล่องแคล้วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน


ปัญญา ที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆ ไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญา ยังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ
การพูดจากล่าวขาน มักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลัก หรือ ตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ ปัญญา พินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา
สติ จะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ ปัญญา

ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาพที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้น
เป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้อ มีแง่มุมที่ควรรู้อีก =>


อ้างคำพูด:
ทุกวันนี้ยังนึกกลัวอยู่ว่า ถ้านั่งแล้วเกิดความรู้สึกอย่างเดิมอีก แล้วจะดึงตัวเองกลับคืนสู่โลก
แห่งความจริงได้หรือเปล่า และถ้าปล่อยไปจะเป็นอะไรไหม เพราะตอนนั้นยอมรับว่า
มีความสุขมาก จนถึงขั้นยอมตายเลยก็ว่าได้


ศีลธรรมของสังคมจะมั่นคงแท้จริง ก็ต่อเมื่อคนเข้าถึงสิ่งที่เป็นหลักประกัน

ของศีลธรรม ๒ อย่าง ซึ่งทำให้มีศีลธรรมขึ้นมาเองโดยอัตโนวัติ คือ จิตที่พ้น และ สุขที่ประณีต

ซึ่งไม่ขึ้นต่ออามิส




ใครก็ตามที่เคยภาวนาไปๆ จนลุถึงความสุขภายในประมาณนั้น ค่อนข้างยากที่จะถอนจิตให้ลืมภาวะ

ที่ตนเคยประสบเคยเสพมาได้ เป็นความสุขที่ประณีต ไม่ขึ้นต่อกามคุณ ๕ เป็นนิรามิสสุข

นี่เขาอยากทำอยากปฏิบัติอีก แต่อีกความรู้สึกหนึ่งก็กลัวว่าจะมีอาการเหมือนเดิมจนหลุดโลกแห่ง

ปัจจุบันไปอีก

ความจริงเขาภาวนาตรงจุดแล้ว แต่...แต่ขาดอยู่อย่างเดียว คือ ไม่กำหนดรู้ภาวะนั้นๆ ตามเป็นจริง

ทุกๆขณะจิต

เมื่อเขาไม่กำหนดรู้ตามเป็นจริงที่เกิดขึ้นทุกๆขณะ ตัณหาอุปาทานก็เกิดเป็นวงจรไม่จบสิ้น

(วงจรความคิด = วงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายก่อทุกข์)

ความสุขในขณะนั้นแรงมาก ขนาดยอมตายได้เลย

ความสุข เป็นคุณธรรมฝ่ายกุศล หากไม่ยึดไม่ติด (สุขหนอๆๆ -ทันที่ ก็ไม่ติด)

แต่ถ้าติดยึตก็เป็นกิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต (เป็นวิปัสสนูปกิเลส)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 15:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วจะหาผู้เข้าใจ หรือไม่เข้าใจได้จากไหนคะ
และก็ไม่รู้ว่า ผู้เข้าใจนั้นเข้าใจถูกหรือผิดกันแน่
เห็นได้จากกระทู้อื่นๆที่มีถามตอบกันในลักษณะอาการที่เกิดขึ้นต่างๆเหล่านี้

บางทีผู้ชี้แนะเองก็ยังชี้แนะให้ว่าจะต้องให้เป็นแบบนั้นแบบนี้
เห็น แสง เห็นดวงแก้ว เห็นแล้วถึงจะดีเลยค่ะ
แทนขวัญตามอ่าน ตามที่คุณกรัชกาย ยกตัวอย่างมา
หลายๆตัวอย่างก็น่ากลัวเหมือนกัน



คุณแทนขวัญ พึงเข้าใจเป้าหมายขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนาก่อน แล้วจะเข้าใจคำแนะนำอื่นๆนั้นว่า
ยังอยู่ในระดับใด
คำสอนสูงสุดท่านสอนให้รู้เท่าทันความยินดียินร้าย (ละความยินดียินร้าย, ไม่ติดในสุขและทุกข์)

รู้สึกยินดีพอใจก็ผิดหลัก ยินร้ายไม่พอใจหงุดหงิดงอแงก็ผิดหลัก เพราะทั้งความยินดียินร้าย ฯลฯ ล้วนไม่แน่นอนเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปตามกฎของมัน (กฏธรรมชาติ)

ดังนั้น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป้าหมายสูงสุด คือ เพือให้จิตรู้เข้าใจธรรมชาติ ดับทุกข์ได้ จิตใจเป็นอิสระเหนือสุขและทุกข์ อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ใช้ชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์ ในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ ตราบสิ้น
ชีวิต :b12:

มิใช่ปฏิบัติไปๆก็คิดหนีไปโลกอื่น ฟุ้งไปในโลกแห่งจินตนาการ :b7:

อย่างที่บอกก่อนหน้า เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดเพราะเหตุปัจจัยของมัน ได้เหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด หมดเหตุ
ก็ดับตามสภาพของมัน

โยคีพึงกำหนดจิตรู้เท่ารู้ทันมัน ก็ไม่เป็นอุปกิเลส แต่หากยินดีหมกติดอยู่ก็เป็นตัณหาอุปาทาน
เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองไป ความรู้สึกนึกคิดจะวนๆอยู่

อ้างคำพูด:
แทนขวัญถ้าไม่ได้อ่านว่ามีธัมมุธัจจ์ ก็ยังไม่รู้เช่นเดียวกันค่ะ
ว่ามีกิเลส ของการนั่งวิปัสสนาแบบนี้ด้วย
เพียงแต่กิเลสบางข้อก็ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่ามันน่าจะยังไม่ใช่ทางที่ถูก
แต่บางข้อก็อย่างที่ว่าค่ะ ดูเหมือนจะดี หรือบางข้อเกิดขึ้นมาก็อาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้


บางข้อก็อย่างที่ว่าค่ะ ดูเหมือนจะดี หรือบางข้อเกิดขึ้นมาก็อาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้

รู้ครับ โยคีรู้ว่า ตนยินดีหรือยินร้ายต่อสภาวะนั้นๆ รู้เพราะตนติดตามกรรมฐานคืออาการท้องพองท้องยุบ หรือ ลมเข้าลมออกอยู่ เมื่ออารมณ์ใดๆเกิดรู้เลย รู้ว่าตนยินดีหรือไม่


นึกไม่ออกจะยกตัวอย่างให้ดู สมมุติว่า เรากำลังเดินไต่เส้นลวดที่ขึงอยู่กลางอากาศ ขณะนั้น แต่ละขณะๆจิตใจ จะมุ่งแน่วต่อการเดินไต่ไปบนเส้นลวดทีละก้าวๆๆๆ
หากแวบคิดถึงแฟนที่บ้าน ตนเองรู้เลยว่า คิดแล้ว...หากไม่ดึงความคิดให้กลับมาอยู่กับงานปัจจุบันคือไต่เส้นลวดอยู่ คิดเพลินไปว่าเออหนอ เขาทำอะไรอยู่หนอ เขาจะคิดถึงเราบ้างไหมหนอ ฯลฯ
ตกเลยครับ หัวทิ่มเลย หล่นแอ๊กลงมาแล้ว สำนึกว่า แหม!เมื่อกี้คิดเพลินไปหน่อย :b32:

อ้างคำพูด:
แบบนี้คนที่เริ่มสนใจ ที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ ที่อาจจะทดลองฝึกอยู่ที่บ้านเอง
เรายังควรจะฝึกฝนกันเองอยู่มั้ย หรือว่าควรจะเริ่มต้นยังไงดี
หรือจะต้องหาผู้ที่เข้าใจถูกจริงๆคอยแนะนำก่อน แต่ตรงนี้จะหาจากไหนคะ



ผู้ที่เข้าใจถูกจริงๆคอยแนะนำก่อน แต่ตรงนี้จะหาจากไหนคะ

นี่เป็นประเด็นหนึ่ง ที่กรัชกายไม่แนะนำใครทางเน็ต ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน มาเริ่มกันที่นี่
จะด้วยคำภาวนาอื่นใดก็ตาม กรัชกายไม่แนะนำ เกรงเขาจะสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก เกิดสุ่มห้าสุ่มหก
นำไปปฏิบัติเองผลเสียอาจเกิดได้

แต่จะชี้แนะ เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติมาก่อนแล้วๆ มีปัญหาไต่ถาม จึงจะบอกทางออกให้ แต่ก็ต้องถามที่มาที่
ไปก่อน
เมื่อรู้เขาทำโดยวิธียึดติดถือมั่นวิปัสสนูปกิเลสมาแล้วหลงเข้าใจว่าดีว่าถูกทาง จะปล่อยให้เขาดำเนินไปตามวิถี
ของเขา แล้ววันหนึ่งจะรู้โทษของอุปาทานด้วยตัวของเขาเอง :b1:


ส่วนที่ว่า =>

คนที่เริ่มสนใจ ที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ ที่อาจจะทดลองฝึกอยู่ที่บ้านเอง
เรายังควรจะฝึกฝนกันเองอยู่มั้ย หรือว่าควรจะเริ่มต้นยังไงดี


เท่าที่สังเกต พวกเราไม่เอาจริงเอาจังเท่าไหร่ อย่างนี้จิตไม่ทันสงบ เมื่อจิตยังฟุ้งซ่านอยู่ อุปกิเลสหรือ
สภาวะก็ปรากฏไม่ชัด ก็ฝึกๆ หัดๆทำๆกันไปได้
แต่ก็พึงจำหลักอย่างที่ย้ำไว้ทุกๆครั้งว่า ขณะนั้นตนรู้สึกอย่างไรกำหนดจิตอย่างนั้น มีอาการอย่างไรไม่ว่าทางกายหรือทางใจ กำหนดจิตอย่างนั้น ตามนั้น ไม่ปล่อยหรือเพิกเฉย เพราะอารมณ์ที่กำหนดนั่นๆ คือ
ฐานเกิดของสติ (สติปัฏฐาน)
เมื่อกำหนดตามนั้น ทุกๆขณะจิต ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลมากนักครับ :b1:


อนึ่ง ที่เขาเป็นๆถามๆกัน ที่กรัชกายนำตัวอย่างมาบ่อยๆ เพราะปล่อยทำเฉย ไม่กำหนดอาการ/อารมณ์นั้น
ตามที่รู้สึก จึงหลงความคิด :b25: หลงอารมณ์ตนเอง :b25: (ถูกความคิดเจือกิเลสหลอก)
ก็จึงยึดติดถือมั่น เป็นจริงเป็นจัง :b25:



คุณแทนขวัญดูคลิปนี้หรือยังครับ

http://www.youtube.com/watch?v=yMvbgckInow

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร