วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 23:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 47, 48, 49, 50, 51, 52, 53 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แน่เจ้าวินีลกะ เจ้ามาคบมาเสพภูเขาอัน
มิใช่ภูมิภาคทำเลของเจ้า เจ้าจงไปเสพอาศัย
สถานที่ใกล้บ้านเถิด นั่นเป็นที่อยู่อาศัยของ
แม่เจ้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วินีลกะ เป็นคำเรียกนกวินีลกะ.
บทว่า ทุคฺคํ ภชสิ ได้แก่ ท่านคบแต่ซอกเขาอันเป็นที่อยู่ของนก
เหล่านี้. บทว่า อภูมึ ตาต เสวสิ ความว่า เจ้าเสพคือเข้าไปอาศัย
ภูเขาอันมิใช่พื้นเพของเจ้าซึ่งชื่อว่าซอกเขา. บทว่า เอตํ มาตาล-
ยนฺตุวํ ความว่า ที่ทิ้งหยักเยื่อ และที่ป่าช้าผีดิบชายบ้านนั่น

เป็นที่อยู่คือเป็นเรือน เป็นที่พักของแม่เจ้า เจ้าจงไปในที่นั้นเถิด.
ครั้นพญาหงส์คุกคามวินีลกะอย่างนี้แล้ว ก็สั่งลูกหงส์ว่า เจ้าจง
ไปปล่อยมันไว้ที่พื้นเพหยักเยื่อแห่งกรุงมิถิลา. ลูกหงส์ได้ทำ
ตามสั่ง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. นกวินีลกะในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. ลูกหงส์
สองตัวได้เป็นอัครสาวกทั้งสอง. พ่อหงส์ได้เป็นอานนท์. ส่วน
พระเจ้าวิเทหะได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวินีลกะชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ราโชวาทชาดก ๒. สิคาลชาดก ๓. สูกรชาดก
๔. อุรคชาดก ๕. ภัคคชาดก ๖. อลีนจิตตชาดก ๗. คุณชาดก
๘. สุหนุชาดก ๙. โมรชาดก ๑๐. วินีลกชาดก และอรรถกถา.
จบ ทัฬหวรรคที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาอินทสมานโคตตชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา ดังนี้.

เรื่องภิกษุว่ายากนั้น จักมีแจ้งในคิชฌชาดกนวกนิบาต.
พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุแม้เมื่อก่อนเธอ
ก็ไม่เชื่อฟังคำของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะเธอเป็นผู้ว่ายาก จึง
เหลวแหลกเพราะเท้าช้างตกมัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมา
ตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่
ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้น
เจริญวัยละฆราวาส ออกบวชเป็นฤๅษี เป็นครูของเหล่าฤๅษี
๕๐๐ อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. ในครั้งนั้นบรรดาดาบส
เหล่านั้น ได้มีดาบสชื่ออินทสมานโคตร เป็นผู้ว่ายากไม่เชื่อฟัง.

ดาบสนั้นเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่ง. พระโพธิสัตว์ได้ทราบข่าว
จึงเรียกดาบสนั้นมาถามว่า เขาว่าเธอเลี้ยงลูกช้างไว้จริงหรือ.
ดาบสตอบว่าจริงขอรับอาจารย์ ข้าพเจ้าเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่ง
แม่มันตาย. พระโพธิสัตว์พูดเตือนว่า ขึ้นชื่อว่าช้าง เมื่อเติบโต
มักฆ่าคนเลี้ยง. เธออย่าเลี้ยงลูกช้างนั้นเลย. ดาบสกล่าวว่า ท่าน

อาจารย์ข้าพเจ้าไม่อาจทิ้งมันได้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้า
เช่นนั้นเธอจักได้รู้เอง. ดาบสเลี้ยงดูช้างนั้น ต่อมามันมีร่างกาย
ใหญ่โต. คราวหนึ่งพวกฤๅษีพากันไปในที่ไกลเพื่อหารากไม้
และผลาผลในป่า แล้วพักอยู่ ณ ที่นั้น ๒-๓ วัน.

ช้างก็ตกมันรื้อบรรณศาลาเสียกระจุยกระจาย ทำลาย
หม้อน้ำดื่ม โยนแผ่นหินทิ้ง ถอนแผ่นกระดานแขวนทิ้ง แล้วเข้า
ไปยังที่ซ่อนแห่งหนึ่งยืนคอยมองดูทางมาของดาบส ด้วยหวังว่า
จักฆ่าดาบสนั้นแล้วไป. ดาบสอินทสมานโคตรหาอาหารไว้ให้ช้าง
เดินมาก่อนดาบสทั้งหมด ครั้นเห็นช้างนั้น จึงเข้าไปหามันตาม

ความรู้สึกที่เป็นปกติ. ครั้นแล้วช้างนั้นออกจากที่ซ่อนเอางวง
จับฟาดลงกับพื้น เอาเท้าเหยียบศีรษะขยี้ให้ถึงความตาย แล้ว
แผดเสียงดังเข้าป่าไป. พวกดาบสที่เหลือจึงแจ้งข่าวนั้นให้พระ-
โพธิสัตว์ทราบ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ไม่ควรทำความคลุกคลี
กับคนชั่ว แล้วกล่าวคาถานี้ว่า:-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับคนชั่ว
ท่านผู้เป็นอริยะ รู้ประโยชน์อยู่ไม่พึงทำความ
สนิทสนมกับอนารยชน เพราะอนารยชนนั้น
แม้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำความชั่ว
ดุจช้างผู้ทำลายดาบสอินทสมานโคตรฉะนั้น
บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับ
เรา ด้วยศีล ด้วยปัญญา และแม้ด้วยสุตะ พึงทำ
ไมตรีกับบุคคลผู้นั้นนั่นแหละ เพราะการสมาคม
กับสัตบุรุษนำมาซึ่งความสุขแท้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา ความว่า
บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา หรือความสนิท
สนมด้วยความเป็นมิตร กับคนมักโกรธที่น่าชัง. บทว่า อริโย
ในบทว่า อริโยนริเยน ปชานมตฺถํ ได้แก่ อริยะ ๔ จำพวก คือ
อาจารอริยะ ได้แก่อริยะในทางมารยาท ๑ ลิงคอริยะ อริยะใน

ทางเพศ ๑ ทัสสนอริยะ อริยะในทางความเห็น ๑ ปฏิเวธอริยะ
อริยะในทางรู้แจ้งแทงตลอด ๑. บรรดาอริยะเหล่านั้น อาจาร-
อริยะท่านประสงค์เอาในที่นี้. อธิบายว่า บุคคลผู้เป็นอริยะ
รู้จักประโยชน์ คือรู้จักผล ฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
ดำรงอยู่ในอาจาระ ไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา

หรือความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร กับคนที่มิใช่อริยะ คือ
คนทุศีลไม่มียางอาย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะคน
ที่มิใช่อริยะนั้น แม้อยู่ร่วมกันนาน ก็มิได้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน
นั้น ย่อมกระทำความชั่ว คือกระทำกรรมอันลามกเท่านั้น.
ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนช้าง ฆ่าอินทสมานโคตร

ดาบสใดกระทำความชั่ว. ในบทเป็นต้นว่า ยเทว ปญฺญา สทิโส
มมํ ความว่า พึงรู้จักบุคคลใดว่า ผู้นี้เหมือนเราโดยศีลเป็นต้น
พึงกระทำไมตรีกับบุคคลนั้นเท่านั้น การสมาคมกับด้วยสัตบุรุษ
ย่อมนำความสุขมาให้.

พระโพธิสัตว์สอนหมู่ฤๅษีว่า ธรรมดาคนเราไม่ควรเป็น
ผู้สอนยาก ควรศึกษาให้ดีแล้วให้จัดการเผาศพอินทสมานโคตร-
ดาบส เจริญพรหมวิหาร ได้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. อินทสมานโคตรในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุสอนยากนี้ใน
ครั้งนี้. ส่วนครูประจำคณะได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอินทสมานโคตรชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภการบูชาไฟ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
น สนฺถวสฺมา ปรมตฺถิ ปาปิโย.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในนังคุฏฐชาดกนั้นแล.
ภิกษุทั้งหลายเห็นชฏิลเหล่านั้นบูชาไฟ จึงทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชฏิลทั้งหลายประพฤติตบะผิด
มีประการต่าง ๆ ความเจริญในการนี้มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความเจริญไร ๆ

ในการนี้เลย แม้โบราณบัณฑิตก็สำคัญว่ามีความเจริญ เพราะ
การบูชาไฟ จึงบูชาไฟเป็นเวลานาน ครั้นเห็นไม่มีความเจริญ
ในกรรมนั้น จึงเอาน้ำดับไฟ เอากิ่งไม้เป็นต้นฟาดมิได้กลับ
มาดูอีกต่อไป แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ใน
เมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์. มารดา
บิดาเก็บไฟวันเกิดของพระโพธิสัตว์ไว้แล้ว กล่าวกะพระโพธิสัตว์
เมื่อมีอายุได้ ๑๖ ปีว่า ลูกรัก ลูกจะรับเอาไฟวันเกิดไปบำเรอ
ไฟในป่า หรือจักเรียนไตรเพท เพราะปกครองสมบัติอยู่เป็น

ฆราวาส. พระโพธิสัตว์ตอบว่า ลูกไม่ต้องการอยู่เป็นฆราวาส
ลูกจักบำเรอไฟในป่ามุ่งหน้าต่อพรหมโลก แล้วจึงรับเอาไฟ
วันเกิดไหว้มารดาบิดา เข้าไปในป่า อาศัยอยู่ในบรรณศาลา
บำเรอไฟ. วันหนึ่งพระโพธิสัตว์นั้น ไปยังที่เชิญเลี้ยง ได้ข้าว

ปายาสกับสัปปิมา คิดว่า เราจักถวายข้าวปายาสนี้แก่มหาพรหม
จึงนำข้าวปายาสนั้นมา ตั้งใจว่าเราจะบูชาไฟ ให้พระเพลิงผู้เป็น
เจ้าดื่มข้าวปายาสผสมด้วยสัปปิก่อน แล้วสาดข้าวปายาสลงไป
ในไฟ. ข้าปายาสมียางมากพอใส่เข้าไปในไฟ ไฟก็ลุกมีเปลวพุ่ง
ขึ้นไหม้บรรณศาลา. พราหมณ์ทั้งกลัวทั้งตกใจก็หนีออกไปยืนอยู่

ภายนอกบ่นว่า ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว บัดนี้ บรรณ-
ศาลาของเราซึ่งทำแสนยากถูกไฟเผาเสียแล้ว. จึงกล่าวคาถา
แรกว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิท
สนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทราม
เป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้ว
ด้วยสัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลา
ที่เราทำได้ยากให้พินาศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺถวสฺมา ความว่า ความ
สนิทสนมมีสองอย่าง คือ ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ๑ ไม่มีสิ่งอื่นที่จะเลวทราม
ต่ำช้ายิ่งไปกว่าความสนิทสนมสองอย่างนั้น. บทว่า โย สนฺถโว

กาปุริเสน ความว่า ไม่มีความสนิทสนมอื่นที่เลวทรามกว่าความ
สนิทสนมสองอย่างนี้กับคนชั่วช้าเลวทราม. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะไฟที่เราเลี้ยงให้อิ่มหนำด้วยสัปปิและข้าวปายาส
ได้เผาบรรณศาลาที่เราสร้างไว้โดยลำบาก.

ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็คิดว่าเราไม่ต้อง
การด้วยสิ่งที่ทำลายมิตร จึงเอาน้ำดับไฟนั้นเสียแล้ว เอากิ่งไม้
ฟาด เข้าไปสู่ภายในป่าหิมพานต์ พบแม่เนื้อตัวหนึ่งชื่อสามา
เลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง จึงดำริว่าไม่มี
ความประเสริฐอื่น นอกจากความสนิทสนมกับสัตบุรุษแล้ว
จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความ
สนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับสัตบุรุษ
เป็นความประเสริฐ แม่สามามฤคีเลียปากราชสีห์
เสือโคร่งและเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่
สนิทสนมกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามามุขํ เลหติ สนฺถเวน
ความว่า แม่เนื้อสามาเลียปากสัตว์ทั้งสามเหล่านี้ด้วยความ
สนิทสนม คือด้วยความเสน่หา.
ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปภายในป่า
หิมพานต์ บรรพชาเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด
ครั้นสิ้นชีพก็เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. เราได้เป็นดาบสในครั้งนั้น.
จบ อรรถกถาสันถวชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
การถวายทานตามความพอใจ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่ม
ต้นว่า กาฬา มิคา เสตทนฺตา ตว อิเม ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ในกรุงสาวัตถี บางคราวสกุลเดียว
เท่านั้นถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. บาง
คราวมากคนด้วยกันรวมกันถวายเป็นคณะ. บางคราวถวาย
ตามสายถนน. บางคราวชาวเมืองทั้งสิ้น ร่วมฉันทะกันถวายทาน.
แต่ในครั้งนี้ ชาวเมืองร่วมฉันทะกัน เตรียมถวายบริขารทุกชนิด

แบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งพูดว่า พวกเราจักถวายทาน
พร้อมด้วยบริขารทุกชนิดนี้แก่อัญญเดียรถีย์ พวกหนึ่งพูดว่า
เราจักถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. เมื่อการ
โต้เถียงกันเป็นไปเนือง ๆ อย่างนี้ พวกสาวกอัญญเดียรถีย์ก็ว่า
ถวายแก่อัญญเดียรถีย์เท่านั้น พวกสาวกของพระพุทธเจ้าก็ว่า

ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเท่านั้น ครั้นคำ
ที่ว่าเราจักกระทำมีมาก พวกที่พูดว่า เราจักถวายแด่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขก็มีมากเป็นธรรมดา ถ้อยคำของ
คนเหล่านั้นก็ยุติ. พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ไม่อาจจะทำ
อันตรายแก่ทานที่ควรถวายแด่พระพุทธเจ้าได้. ชาวเมืองจึง

นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พากันบำเพ็ญมหาทาน
ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวายเครื่องบริขารทุกชนิด. พระ-
ศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา ให้มหาชนตื่นด้วยมรรคผล แล้ว
จึงเสด็จไปยังเชตวันมหาวิหาร. เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรจึง
เสด็จประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฏีประทานสุคโตวาท แล้ว

เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี. ในตอนเย็นภิกษุทั้งหลายประชุม
สนทนาในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกสาวกของอัญญ-
เดียรถีย์ แม้พยายามจะทำอันตรายแก่ทานที่ควรถวายแด่พระ-
พุทธเจ้าก็ไม่อาจจะทำอันตรายได้. การถวายเครื่องบริขาร
ทั้งปวงนั้นมาถึงบาทมูลของพระพุทธเจ้าทั้งหมด. พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์
เหล่านี้ ได้พยายามเพื่อทำอันตรายทานที่ควรแก่เรา มิใช่ในบัดนี้
เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พยายาม อนึ่งเครื่องบริขารนั้นก็มาถึงแทบ
บาทมูลของเราทุกครั้งแล้ว ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาลที่กรุงสาวัตถี ได้มีพระราชาพระนามว่าสุสีมะ
ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีของ
ปุโรหิตของพระองค์. เมื่อพระโพธิสัตว์มีอายุได้ ๑๖ ปี บิดาได้
ถึงแก่กรรม. อนึ่งปุโรหิตนั้นขณะยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นผู้กระทำ
มงคลแก่ช้างของพระราชา. เขาได้เครื่องอุปกรณ์และเครื่อง

ประดับช้างทุกอย่างที่มีผู้นำมาในที่ทำการมงคลแก่ช้างทั้งหลาย.
ในการมงคลครั้งหนึ่ง ๆ ทรัพย์สินประมาณหนึ่งโกฏิเกิดขึ้นแก่
เขา. ต่อมาเมื่อเขาถึงแก่กรรมมหรสพในการมงคลช้างได้มาถึง.
พวกพราหมณ์อื่น ๆ เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราช มหรสพในการมงคลช้างได้มาถึงแล้ว ควรประกอบพิธี

มงคล แต่บุตรของพราหมณ์ปุโรหิตยังเด็กนัก ไม่รู้ไตรเพท
ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง พวกข้าพระพุทธเจ้าจักทำการมงคลช้าง
กันเองพระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับว่าดีแล้ว. พวกพราหมณ์
ต่างพากันรื่นเริงยินดีเดินไปมาด้วยคิดว่า พวกเราไม่ให้บุตร
ปุโรหิตทำการมงคลช้าง จักทำเสียเองแล้วก็จะได้รับทรัพย์

ครั้นถึงวันที่สี่จักมีการมงคลช้าง เพราะฉะนั้นมารดาของพระ-
โพธิสัตว์สดับข่าวนั้น จึงเศร้าโศกคร่ำครวญว่า ขึ้นชื่อว่าการ
ทำการมงคลแก่ช้างเป็นหน้าที่ของเราเจ็ดชั่วตระกูลแล้ว วงศ์
ของเราจักเสื่อม และเราจักเสื่อมจากทรัพย์ด้วย. พระโพธิสัตว์
ถามว่า ร้องไห้ทำไมแม่ ครั้นได้ฟังเหตุการณ์นั้นแล้ว จึงปลอบว่า

แม่จ๋า แม่อย่าเศร้าโศกไปเลย บางทีลูกจักทำการมงคลเอง.
มารดาพูดว่า ลูกแม่ ลูกไม่รู้ไตรเพท ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง ลูก
จักทำการมงคลได้อย่างไร. พระโพธิสัตว์ถามว่า แม่จ๋าเมื่อไร
เขาจักทำการมงคลช้างกัน. มารดาตอบว่า ในวันที่สี่จากนี้ไป
แหละลูก. พระโพธิสัตว์ถามว่า แม่จ๋า อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ไตรเพทรู้สูตรกล่อมช้างอยู่ที่ไหนเล่าแม่. มารดาบอกว่า ลูกรัก
อาจารย์ทิศาปาโมกข์เช่นว่านี้ อยู่ในเมืองตักกสิลา แคว้นคันธาระ
สุดทางจากนี้ไปร้อยยี่สิบโยชน์. พระโพธิสัตว์ปลอบมารดาว่า
แม่จ๋า ลูกจะไม่ยอมให้วงศ์ของเราพินาศ พรุ่งนี้ลูกจะไปเมือง

ตักกสิลา เดินทางวันเดียวก็ถึงเรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง
เพียงคืนเดียวเท่านั้น รุ่งขึ้นจะกลับมาทำการมงคลช้างในวันที่สี่
ในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์บริโภคอาหารแต่เช้า ออกเดินทาง
คนเดียว เพียงวันเดียวก็ถึงเมืองตักกสิลา เข้าไปไหว้อาจารย์

แล้วนั่งอยู่ข้างหนึ่ง. ลำดับนั้นอาจารย์ถามพระโพธิสัตว์ว่า เจ้า
มาจากไหนเล่าพ่อ. จากกรุงพาราณสีขอรับท่านอาจารย์. ต้อง
การอะไรเล่า. ต้องการเรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้างในสำนัก
ของท่านอาจารย์ขอรับ. ดีละ เรียนเถิดพ่อ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
ท่านอาจารย์ขอรับ งานของกระผมค่อนข้างด่วนมาก แล้วก็เล่า

เรื่องทั้งหมดให้ทราบ กล่าวว่า กระผมมาเป็นระยะทางร้อยยี่สิบ
โยชน์ เพียงวันเดียวเท่านั้น วันนี้ขอท่านอาจารย์ให้โอกาสแก่
กระผมเพียงคืนเดียวเท่านั้น ในวันที่สามจากวันนี้จักมีการมงคล
ช้าง กระผมขอเรียนทุกวิชาเพียงแต่หัวข้ออย่างเดียวเท่านั้น

ครั้นอาจารย์ให้โอกาส จึงล้างเท้าอาจารย์วางถุงทรัพย์พันหนึ่ง
ไว้ข้างหน้าอาจารย์ ไหว้แล้วนั่งลงข้างหนึ่ง เริ่มศึกษา พออรุณ
ขึ้นก็เรียนจบไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง จึงถามว่า ยังมีสิ่งอื่น ๆ
อีกหรือท่านอาจารย์ เมื่ออาจารย์กล่าวว่า ไม่มีแล้ว จบหมดแล้ว

ยังสอบทานศิลปะให้อาจารย์ฟังว่า ท่านอาจารย์ในคัมภีร์นี้มี
บทขาดหายไปเท่านี้ มีที่เลอะเลือนเพราะสาธยายไปเท่านี้ ตั้งแต่
นี้ไปท่านพึงบอกอันเตวาสิกทั้งหลายอย่างนี้ เสร็จแล้วบริโภค
อาหารแต่เช้าตรู่ไหว้อาจารย์กลับไปกรุงพาราณสีเพียงวันเดียว
เท่านั้น แล้วไปไหว้มารดา เมื่อมารดาถามว่า เรียนศิลปะจบแล้ว
หรือลูก บอกว่า จบแล้วจ้ะแม่ ทำให้มารดาปลาบปลื้มมาก.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
วันรุ่งขึ้นเขาเตรียมงานมหรสพมงคลช้างกันเป็นการ
ใหญ่ ประชาชนต่างจัดเตรียมช้างของตน ๆ สวมเครื่องประดับ
แล้วด้วยทองคำ ผูกธงแล้วด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทอง.
ตกแต่งกันที่พระลานหลวง. พวกพราหมณ์ก็ประดับประดารอท่า

ตั้งใจว่า พวกเราจักทำการมงคลช้าง. แม้พระเจ้าสุสีมะก็ทรง
เต็มยศ ให้ข้าราชบริพารถือเครื่องอุปกรณ์เสด็จไปยังมงคล
สถาน. แม้พระโพธิสัตว์ก็ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ
อย่างเด็ก มีบริษัทของตนห้อมล้อมเป็นบริวาร ไปยังสำนัก

ของพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ได้ทราบข่าวว่า
พระองค์ทรงทำวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและของพระองค์เอง
ให้พินาศแล้วได้รับสั่งว่า เราจะให้พราหมณ์อื่นทำการมงคล
ช้างแล้วมอบเครื่องประดับช้างและเครื่องอุปกรณ์ให้จริงหรือ
พระพุทธเจ้า แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่า สุสีมะ
ช้างสีดำมีงาขาวประมาณร้อยเชือกเหล่านี้ ประ
ดับด้วยข่ายทองเป็นของพระองค์ พระองค์ทรง
ระลึกถึงการกระทำของพระบิดาและพระอัยยกา
อยู่เนือง ๆ ตรัสว่า เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่
พราหมณ์เหล่าอื่นดังนี้ เป็นความจริงหรือ
พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตเต ททามีติ สุสีม พฺรูสิ
ความว่า เราให้ช้างเหล่านี้แก่ท่าน คือในสำนักของท่าน. อธิบาย
ว่า เราจะให้ช้างซึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงประมาณ
ร้อยเชือก จำพวกสีดำงาขาวแก่พราหมณ์เหล่าอื่น. ข้าแต่พระ-

ราชาสุสีมะ พระองค์ตรัสอย่างนี้เป็นความจริงหรือ. บทว่า
อนุสฺสรํ เปตฺติปิตามหานํ ความว่า ทรงระลึกถึงการกระทำของ
พระบิดาและพระอัยยกาเนือง ๆ ในวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและ
ของพระองค์เอง. ข้อนี้ท่านอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช บิดาและ

ปู่ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายกระทำมงคลช้างแก่พระชนกและ
พระอัยยกาของพระองค์จนเจ็ดชั่วตระกูล พระองค์แม้ทรงระลึก
ได้อย่างนี้ ก็ยังทำวงศ์ของข้าพระองค์ทั้งหลายและของพระองค์
ให้พินาศ นัยว่ารับสั่งอย่างนี้จริงหรือ.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระเจ้าสุสีมะทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถา
ที่สองว่า :-
ดูก่อนมาณพ ช้างสีดำมีงาขาวประมาณ
ร้อยเชือกเหล่านี้ ประดับด้วยข่ายทองซึ่งเป็น
ของเรา เราระลึกถึงการกระทำของพระบิดา
และพระอัยยกาอยู่เนือง ๆ พูดว่า ว่าเราจะให้
ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น
ความจริง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตเต ททามิ ความว่า ดูก่อน
มาณพ เราพูดว่า เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่พราหมณ์ทั้งหลาย
เป็นความจริงทีเดียว. อธิบายว่า เราพูดกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า
เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่พราหมณ์ทั้งหลายเป็นความจริง. บทว่า
อนุสฺสรํ ความว่า เรายังระลึกได้ถึงกิริยาของพระบิดาและพระ

เจ้าปู่อยู่เสมอ มิใช่ระลึกไม่ได้. พระราชารับสั่งอย่างนั้น โดย
ทรงชี้แจงว่า แม้เราระลึกได้ว่า บิดาและปู่ของเจ้ากระทำพิธี
มงคลช้าง แก่พระบิดาและพระอัยยกาของเรา ก็ยังพูดอย่างนี้
อีกเป็นความจริง.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่
มหาราช เมื่อพระองค์ยังทรงระลึกถึงวงศ์ของพระองค์และของ
ข้าพระองค์ได้ เพราะเหตุไรพระองค์จึงทิ้งข้าพระองค์เสีย แล้ว
ให้ผู้อื่นกระทำการมงคลช้างเล่าพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า

นี่แน่เจ้าพวกพราหมณ์เขาบอกเราว่า นัยว่าเจ้าไม่รู้ไตรเพท
และสูตรกล่อมช้าง. เพราะฉะนั้นเราจึงให้พวกพราหมณ์อื่นทำ
พิธี. พระโพธิสัตว์บรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่มหาราช บรรดา
พราหมณ์ทั้งหมดนี้ แม้สักคนหนึ่งผิว่าสามารถเจรจากับข้าพระองค์

ได้ในพระเวทก็ดี ในพระสูตรก็ดีมีอยู่ จงลุกขึ้นมา พราหมณ์
อื่นนอกจากข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่ารู้ไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง
พร้อมด้วยวิธีทำการมงคลช้าง ไม่มีเลยทั่วชมพูทวีป. พราหมณ์
แม้สักคนหนึ่งก็ไม่สามารถลุกขึ้นเป็นคู่แข่งกับพระโพธิสัตว์ได้.

พระโพธิสัตว์ครั้นดำรงตระกูลวงศ์ของตนให้มั่นคงแล้ว จึงกระทำ
การมงคล ถือเอาทรัพย์เป็นอันมากกลับไปยังที่อยู่.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรมแล้ว ชนบางพวก
ได้เป็นโสดาบัน. บางพวกได้พระสกทาคามี บางพวกได้เป็น
พระอนาคามี บางพวกได้บรรลุพระอรหัต. มารดาในครั้งนั้นได้

เป็นมหามายาในครั้งนี้ บิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
พระราชาสุสีมะได้เป็นอานนท์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้เป็น
โมคคัลลานะ ส่วนมาณพ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสุสีมชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุเลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ยนฺนุ คิชฺโฌ โยชนสตํ ดังนี้.
เรื่องจักมีแจ้งในสามชาดก

พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า
เธอเลี้ยงคฤหัสถ์จริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ตรัสถามว่า คฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นใคร กราบทูลว่า มารดาบิดา
ของข้าพระองค์เองพระเจ้าข้า ทรงให้สาธุการว่า ดีแล้ว ดีแล้ว

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธออย่าตำหนิโทษภิกษุนี้เลย แม้
โบราณบัณฑิตทั้งหลายก็ได้ทำอุปการะแก่ผู้มิใช่ญาติด้วยอำนาจ
บุญคุณ ส่วนมารดาบิดาของภิกษุนี้เป็นภาระแท้ แล้วทรงนำ
เรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดพญาแร้ง เลี้ยงดูมารดา
บิดาอยู่ที่คิชฌบรรพต. ต่อมาคราวหนึ่ง เกิดพายุฝนใหญ่. แร้ง
ทั้งหลายไม่สามารถทนพายุฝนได้ จึงพากันบินหนีมากรุงพาราณสี

เพราะกลัวหนาว จับสั่นอยู่ด้วยความหนาว ณ ที่ใกล้กำแพง
และคูเมือง. ในเวลานั้นเศรษฐีกรุงพาราณสีออกจากเมืองจะไป
อาบน้ำเห็นแร้งเหล่านั้นกำลังลำบาก จึงจัดให้มารวมกันที่กำบัง
ฝนแห่งหนึ่ง ก่อไฟให้ผิง แล้วส่งไปยังป่าช้าโค หาเนื้อโคมาให้

พวกแร้งแล้วจัดการอารักขา. ครั้นพายุฝนสงบแร้งทั้งหลายก็
มีร่างกายกระปรี้กระเปร่า พากันบินกลับสู่ภูเขาตามเดิม. พวกแร้ง
จับกลุ่มปรึกษากัน ณ ที่นั้นว่า เศรษฐีกรุงพาราณสี ได้ช่วยเหลือ
พวกเรามา ควรตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา เพราะฉะนั้นตั้งแต่

นี้ไป บรรดาพวกท่านผู้ใดได้ผ้าหรือเครื่องอาภรณ์ชนิดใด ผู้นั้น
พึงคาบสิ่งนั้นให้ตกลงกลางเวหาใกล้เรือนของเศรษฐีกรุงพาราณสี.
ตั้งแต่นั้นมาแร้งทั้งหลายคอยดูความเผลอเรอของพวกมนุษย์ที่
ตากผ้าและเครื่องอาภรณ์ไว้กลางแดด ต่างพากันโฉบเฉี่ยวไป

ฉับพลันเหมือนเหยี่ยวคาบชิ้นเนื้อ ทิ้งตกลงกลางอากาศใกล้
เรือนของเศรษฐีกรุงพาราณสี. เศรษฐีรู้ว่าเป็นเครื่องอาภรณ์
ของแร้ง จึงให้เก็บอาภรณ์ทั้งหมดนั้นไว้เป็นส่วน ๆ.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
มหาชนพากันไปกราบทูลพระราชาว่า แร้งทั้งหลายปล้น
เมือง. พระราชารับสั่งว่า พวกเจ้าจับแร้งได้แม้ตัวเดียวเท่านั้น
ก็จะได้ของคืนทั้งหมด แล้วให้วางบ่วงและข่ายดักไว้ในที่นั้น ๆ.
แร้งตัวที่เลี้ยงมารดาก็ติดบ่วง. ชนทั้งหลายก็จับแร้งนั้นนำไป
ด้วยคิดว่าจักถวายพระราชา. เศรษฐีกรุงพาราณสีกำลังเดิน

ไปเฝ้าพระราชา ครั้นเห็นมนุษย์พวกนั้นจับแร้งเดินไป จึงได้
ไปพร้อมกับเขาด้วยคิดว่า จักไม่ให้ผู้ใดรังแกแร้งตัวนี้. ชน
ทั้งหลายก็ถวายแร้งแด่พระราชา. พระราชาจึงตรัสถามว่า พวก
เจ้าปล้นเมืองคาบผ้าเป็นต้นไปหรือ. พญาแร้งกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า พวกเจ้าเอาไปให้แก่ใคร.
กราบทูลว่า ให้แก่เศรษฐีกรุงพาราณสีพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า
เพราะเหตุไร. กราบทูลว่า เพราะเศรษฐีนั้นได้ให้ชีวิตแก่พวก
ข้าพระองค์ การทำอุปการะตอบแก่ผู้มีอุปการะย่อมสมควร
อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์จึงให้ไป. พระราชา

รับสั่งกะพญาแร้งว่า ได้ยินว่า แร้งทั้งหลายอยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์
ย่อมเห็นซากศพ เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่เห็นบ่วงที่เขาดักจับตัว
แล้วตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

เขากล่าวกันว่าแร้งย่อมเห็นซากศพได้
ถึงร้อยโยชน์ เหตุไรเจ้ามาถึงข่ายและบ่วงจึง
ไม่รู้สึก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า นุ
เป็นนามัตถนิบาต. อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าแร้งย่อมมองเห็นซากศพ
ซึ่งตั้งอยู่เกินร้อยโยชน์. บทว่า อาสชฺชาปิ แปลว่า เข้าใกล้
คือ มาถึง. พระราชาตรัสถามว่า เจ้าแม้มาถึงข่ายและบ่วงที่
เขาดักไว้จับตัว เพราะเหตุไร จึงไม่รู้สึกเล่า.
พญาแร้งสดับพระราชดำรัสแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ความเสื่อมจะมีในเวลาใด สัตว์ใกล้จะ
สิ้นชีวิตในเวลาใด ในเวลานั้นถึงจะมาใกล้ข่าย
และบ่วง ก็รู้ไม่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปราภโว คือ ความพินาศ.
บทว่า โปโส คือสัตว์.

พระราชาครั้นทรงสดับคำของแร้งแล้ว จึงตรัสถาม
เศรษฐีว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี แร้งทั้งหลายนำผ้าเป็นต้นมาที่
เรือนของท่านจริงหรือ. กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถาม
ว่า ผ้าเป็นต้นเหล่านั้นอยู่ที่ไหน. กราบทูลว่า ขอเดชะข้าพระ-
พุทธเจ้าจัดผ้าเหล่านั้นไว้เป็นส่วน ๆ ข้าพระพุทธเจ้าจะให้แก่
ผู้ที่เป็นเจ้าของ ขอพระองค์ได้โปรดทรงปล่อยแร้งตัวนี้เถิด
พระเจ้าข้า. มหาเศรษฐีกราบทูลให้ปล่อยพญาแร้ง แล้วคืน
สิ่งของให้แก่ทุกคน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
อริยสัจ ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบอริยสัจ ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นอานนท์ใน
บัดนี้. เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เป็นสารีบุตร. ส่วนแร้งเลี้ยง
มารดา คือเราตถาคตนี้แล
จบ อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
การทะเลาะของเสณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สนฺธึ กตฺวา อมิตฺเตน ดังนี้.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในอุรคชาดก ในหนก่อน.
แม้ในเรื่องนี้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหา-
อำมาตย์สองคนเหล่านี้ มิใช่เราทำให้สามัคคีกันในบัดนี้เท่านั้น
แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำให้คนเหล่านี้สามัคคีกันเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในบ้าน
แห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เรียนศิลปะทุกแขนง ในกรุงตักกสิลา
สละเพศฆราวาสออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้
เกิด มีรากไม้และผลาผลในป่าเป็นอาหาร โดยการเที่ยวแสวง

หา พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ท้ายสุดที่จงกรมของพระ-
โพธิสัตว์ มีพังพอนอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ใกล้จอมปลวก
นั้นมีงูอาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง. งูและพังพอนทั้งสองก็ทะเลาะกัน
ตลอดกาล. พระโพธิสัตว์กล่าวถึงโทษในการทะเลาะกันและ

อานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสองนั้น แล้วสอนว่า ไม่
ควรทะเลาะกัน ควรอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทำให้สัตว์
ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน. ครั้นถึงเวลาที่งูออกไปข้างนอก พังพอน
ก็นอนอ้าปากหันหัวไปทางช่องโพลงจอมปลวก ท้ายที่จงกรม

หายใจเข้าออกหลับไป. พระโพธิสัตว์เห็นพังพอนนั้นนอนหลับ
เมื่อจะถามว่า ภัยอะไรเกิดขึ้นแก่เจ้า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงู
ผู้เป็นศัตรู ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า
ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺธึ กตฺวา คือทำความเป็น
มิตรกัน. บทว่า อณฺฑเชน ได้แก่ งูซึ่งเกิดในกะเปาะไข่. เรียก
พังพอนว่า ชลาพุชะ. ด้วยว่าพังพอนนั้นเรียกว่าชลาพุชะเพราะ
เกิดในครรภ์ บทว่า วิวริย แปลว่า อ้าปาก.

พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พังพอนจึงบอกว่า พระคุณ-
เจ้า ขึ้นชื่อว่าศัตรูไม่ควรดูหมิ่น ควรระแวงไว้เสมอ แล้วกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตร
ก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อม
ตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกยา ภยมุปฺปนฺนํ ได้แก่
ภัยไม่เกิดแก่ท่านจากโอกาสนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีภัย.
ใครจัดว่าเป็นมิตร ผู้ที่คุ้นเคยจัดว่าเป็นมิตร เพราะฉะนั้น ภัย
ย่อมเกิดขึ้นจากมิตรนั้น ย่อมตัดแม้มูลรากนั้นเสีย อธิบายว่า
ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อกำจัดมูลราก เพราะค่าที่มิตรรู้โทษทั้งหมด
แล้ว.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอนพังพอนนั้นว่า เจ้าอย่า
กลัวเลย เราได้กระทำโดยที่ไม่ให้งูทำร้ายเจ้าแล้ว ตั้งแต่นี้ไป
เจ้าอย่าได้ระแวงงูนั้นเลย แล้วสอนให้เจริญพรหมวิหารสี่มุ่ง
ต่อพรหมโลก. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม
ชาดก. งูและพังพอนในครั้งนั้นได้เป็นมหาอำมาตย์สองคนใน
บัดนี้. ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถานกุลชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 47, 48, 49, 50, 51, 52, 53 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร