วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 14:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภกุมาริกาคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ตฺวเมวทานิมการี ดังนี้.

ได้ยินว่า ในตระกูลอุปฐากของพระอัครสาวกทั้งสอง
ตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี มีกุมาริกาผู้หนึ่งมีรูปสวย ถึงพร้อม
ด้วยความงามเป็นเลิศ. นางเจริญวัย ก็ได้ไปสู่ตระกูลซึ่งมีชาติ
เสมอกัน. สามีของนางไม่พอใจนางเป็นบางอย่าง จึงเที่ยวไป
ในที่อื่นตามใจชอบ. นางก็ไม่เอาใจใส่ในการที่สามีไม่ใยดีใน

ตนนั้น นิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองมาถวายทานฟังธรรม ได้ตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผล. ตั้งแต่นั้นนางก็ปล่อยให้เวลาล่วงไปด้วย
ความสุขในมรรคและผล คิดว่า แม้สามีก็ไม่ยินดีเรา เราก็ไม่มี
การงานทางฆราวาส เราจักบวช จึงบอกมารดาบิดา ออกบวช
อรหัต. การกระทำของนางนั้นได้ปรากฏในหมู่ภิกษุ. ครั้นวันหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ธิดาของตระกูลโน้นเป็นหญิงแสวงหาประโยชน์ รู้ว่าสามีไม่ใยดี
ได้ฟังธรรมของพระอัครสาวก ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ยัง
บอกลามารดาบิดาออกบวชอีก บรรลุอรหัตแล้ว ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย กุมาริกานั้นเป็นผู้แสวงหาประโยชน์อย่างนี้. พระ-
ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้
ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลธิดาผู้นั้น

เป็นผู้แสวงหาประโยชน์ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน
ก็เป็นผู้แสวงหาประโยชน์เหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติ
ให้เกิดแล้วอาศัยอยู่ ณ หิมวันตประเทศ. ในกาลครั้งนั้นพระเจ้า
พาราณสีเห็นความพรั่งพร้อมของบริวารของพรหมทัตกุมาร

ผู้เป็นโอรสของพระองค์ เกิดความระแวงพระทัย จึงเนรเทศ
โอรสออกจากแว่นแคว้น. พรหมทัตกุมารทรงพาพระเทวีของ
พระองค์พระนามว่า อสิตาภู เข้าไปสู่ป่าหิมพานต์เสวยปลา
เนื้อ และผลไม้พำนักอยู่ ณ บรรณศาลา. พรหมทัตกุมารนั้น

เห็นนางกินรีนางหนึ่ง มีจิตปฏิพัทธ์ คิดว่าจะเอานางกินรีนี้เป็น
ชายา จึงติดตามรอยเท้านางกินรีนั้นไป มิได้คำนึงถึงพระนาง
อสิตาภู. พระนางอสิตาภูเห็นพรหมทัตกุมารตามนางกินรีไป
ทรงดำริว่า พรหมทัตกุมารนี้ตามนางกินรีไปมิได้คำนึงถึงเรา.

เราจะต้องการอะไรจากพรหมทัตกุมารนี้ มีพระทัยคลายรัก
เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ นมัสการแล้ว ให้บอกการบริกรรมกสิณ
แก่ตน เพ่งกสิณยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด นมัสการพระ-
โพธิสัตว์กลับมายืนอยู่ที่ประตูบรรณศาลาของตน. แม้พรหมทัต

ก็ติดตามนางกินรีไปเที่ยวหาก็มิได้พบแม้ทางที่นางกินรีนั้นไป
หมดหวังจึงกลับมุ่งหน้ามาสู่บรรณศาลา. พระนางอสิตาภูเห็น
พรหมทัตกุมารเสด็จกลับมา ลอยขึ้นไปสู่เวหา ยืนบนพื้นอากาศ
มีสีดังแก้วมณี ตรัสว่า ข้าแต่โอรสเจ้า ข้าพเจ้าได้ความสุขนี้
เพราะอาศัยท่าน แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

พระองค์นั่นแหละได้กระทำเหตุนี้ในบัดนี้
หม่อมฉันปราศจากความรักในพระองค์แล้ว
ความรักนั้นประสานกันอีกไม่ได้ ดุจงาช้างอัน
ตัดขาดแล้วด้วยเลื่อยฉะนั้น.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวเมวทานิมกริ ความว่า ข้าแต่
ท่านผู้เป็นอัยยบุตร พระองค์นั้นแหละ ละหม่อมฉันติดตามนางกินรี
ได้ทำเหตุนี้ในบัดนี้. บทว่า ยํ กาโม พฺยคมา ตยิ ท่านแสดงความ
ว่า ซึ่งเหตุที่ทำให้ความรักของเราในตัวท่านได้ไปแล้ว คือละได้
ด้วยวิกขัมภนปหาน เราถึงความพิเศษอันนี้ก็เพราะละความรัก

ได้แล้ว. บทว่า โสยํ อปฺปฏิสนฺธิโก ความว่า ก็ความรักอันนั้น
จะกลับมาติดต่ออีกไม่ได้ คือไม่สามารถจะต่อได้ในบัดนี้. บทว่า
ขรา ฉินฺนํว เรนุกํ ความว่า เปรียบเหมือนงาช้างที่ถูกเลื่อย
ตัดขาดเสียแล้ว จะต่อติดอีกไม่ได้ คือจะเชื่อมให้สนิทเหมือนเดิม

อีกไม่ได้ฉันใด อันการจะประสานจิตของเรากับท่านอีกย่อม
มีไม่ได้ฉันนั้น. ครั้นนางกล่าวฉะนี้แล้ว ได้เหาะไปในที่อื่น ทั้ง ๆ
ที่พรหมทัตกุมารนั้นแลดูอยู่นั่นเอง.

พรหมทัตกุมาร ครั้นนางไปแล้วก็คร่ำครวญกล่าวคาถา
ที่ ๒ ว่า :-
บุคคลผู้ปรารถนาเกินส่วนย่อมปราศจาก
ประโยชน์ เพราะโลภเกินประมาณ และเพราะ
ความเมาอันเกิดจากความโลภเกินประมาณ
เหมือนเราเสื่อมจากนางอสิตาภู ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺริจฺฉา ความว่า ทะยานอยาก
หาที่สุดมิได้ กล่าวคือความปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ เรียกว่าความ
แส่หา ความโลภที่เป็นไปเกิน เรียกว่า ความโลภจัด. บทว่า
อติโลภมเทน จ ได้แก่ ความมัวเมาด้วยความโลภจัดเพราะเป็น

เหตุให้เกิดความมัวเมาในบุรุษ. บทนี้ท่านอธิบายว่า บุคคลผู้
ปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ ด้วยการแส่หา ย่อมเสื่อมจากประโยชน์
เพราะความโลภจัดและเพราะความมัวเมาด้วยความละโมภจัด
ดุจเราเสื่อมแล้วจากราชธิดา อสิตาภู ฉะนั้น.

พรหมทัตกุมารทรงคร่ำครวญด้วยคาถานี้แล้วประทับ
พระองค์เดียวอยู่ในป่า เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว จึงเสด็จไป
ครองราชสมบัติ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ราชบุตรและราชธิดาในครั้งนั้น ได้เป็นชนทั้งสองในครั้ง
นี้ ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอสิตาภุชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนักมวยปล้ำชื่อ โรชะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า สุขา ฆรา วจฺฉนขา ดังนี้.

ได้ยินว่า นักมวยปล้ำชื่อโรชะ นั้นเป็นสหายของพระ-
อานนท์. วันหนึ่ง เขาส่งข่าวไปถึงพระเถระเพื่อนิมนต์พระเถระ
มา. พระเถระจึงทูลพระศาสดาไปหา. เขานิมนต์พระเถระให้
บริโภคอาหารที่มีรสเลิศต่าง ๆ แล้วนั่งอยู่ข้างหนึ่ง กระทำ
ปฏิสันถารกับพระเถระ เชื้อเชิญพระเถระด้วยกามคุณ อันเป็น

โภคะของคฤหัสถ์ กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าพระอานนท์ รัตนะ
ทั้งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ที่เรือนของกระผมมีมากมาย
กระผมจะแบ่งให้ท่านกึ่งหนึ่ง ท่านจงมาเถิด เราจะครอบครอง
เรือนอยู่ด้วยกันทั้งสอง. พระเถระแสดงโทษในกามคุณแก่เขา

ลุกจากอาสนะกลับไปยังวิหาร พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์
เธอพบกับโรชะแล้วหรือ กราบทูลว่า พบแล้วพระเจ้าข้า ตรัส
ถามว่า เธอพูดอะไรกับเขา กราบทูลว่า โรชะ เชื้อเชิญให้
ข้าพระองค์อยู่ครองเรือน ข้าพระองค์จึงแสดงถึงโทษในการ

ครองเรือนและในกามคุณแก่เขา พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนอานนท์ นักมวยปล้ำชื่อ โรชะ มิได้ชักชวนนักบวชให้อยู่
ครองเรือนในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนก็ได้ชักชวนแล้วเหมือน
กัน พระอานนท์เถระทูลอาราธนา จึงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ในตำบล
หนึ่ง ครั้นเจริญวัย ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันตประเทศ
เป็นเวลาช้านาน ได้ไปกรุงพาราณสีเพื่อเสพของเค็มของเปรี้ยว
พักอยู่ที่พระราชอุทยาน รุ่งขึ้นได้เข้าไปยังกรุงพาราณสี. ครั้ง

นั้นเศรษฐีกรุงพาราณสี เลื่อมใสในมารยาทของพระโพธิสัตว์
จึงนำไปสู่เรือนให้บริโภคแล้วรับเอาปฏิญญา เพื่อให้อยู่ในสวน
ปรนนิบัติอยู่. ชนทั้งสองได้เกิดความรักความใคร่ต่อกันและกัน.
อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกรุงพาราณสีได้คิดอย่างนี้ด้วยความรัก

และความคุ้นเคยในพระโพธิสัตว์ว่า ชื่อว่าการบวชเป็นทุกข์
เรายังปริพาชก ชื่อว่า วัจฉนขะผู้เป็นสหายของเราให้สึก แล้ว
แบ่งสมบัติทั้งหมดออกกึ่งหนึ่ง แล้วให้แก่วัจฉนขปริพาชกนั้น
ทั้งสองก็จักอยู่ด้วยความปรองดองกัน. วันหนึ่งเศรษฐีนั้นในเวลา
สำเร็จภัตตกิจ ได้ทำปฏิสันถารอย่างอ่อนหวานกับวัจฉนขปริพาชก

แล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าวัจฉนขะ ชื่อว่าการบรรพชาเป็นทุกข์
ฆราวาสเป็นสุข มาเถิดท่าน เราทั้งสองปรองดองกัน บริโภค
กามกันอยู่เถิด แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่ท่านวัจฉนขะ เรือนทั้งหลายที่มีเงิน
และโภชนาหารบริบูรณ์เป็นเรือนมีความสุข ท่าน
บริโภคและดื่มในเรือนใด ไม่ต้องขวนขวายก็
ได้นอน.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า สหิรญฺญา คือถึงพร้อมด้วยรัตนะ ๗.
บทว่า สโภชนา คือมีของเคี้ยวของบริโภคมาก. บทว่า ยตฺถ
ภุตฺวา ปิวิตฺวา จ ได้แก่ บริโภค โภชนามีรสเลิศต่าง ๆ และ
ดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ ในเรือนซึ่งมีทั้งเงินและทั้งของบริโภค. บทว่า
สเยยฺยาสิ อนุสฺสุโก ความว่า ท่านไม่ต้องขวนขวายก็ได้นอน
บนที่นอนอันมีสิริที่ตกแต่งไว้แล้ว. ด้วยเหตุนั้นชื่อว่า การอยู่
ครองเรือนเป็นสุขอย่างยิ่ง.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ ฟังเศรษฐีแล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อน
มหาเศรษฐี ท่านเป็นผู้ติดอยู่ในกาม กล่าวคุณของฆราวาสและ
โทษของบรรพชา ก็เพราะความไม่รู้ เราจะกล่าวถึงโทษของ
ฆราวาสแก่ท่าน ท่านจงฟังในบัดนี้เถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

บุคคลผู้เป็นฆราวาสไม่มีมานะทำการงาน
ก็ดี ไม่กล่าวคำมุสาก็ดี ไม่ใช้อำนาจลงโทษผู้อื่น
การครองเรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ใคร
เล่าจะครอบครองเรือนไม่ให้บกพร่อง ให้เกิด
ความยินดีด้วยแสนยากเล่า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ฆรา นานีหมานสฺส ความว่า ขึ้น
ชื่อว่า ฆราวาสผู้ขาดมานะ ไม่พยายามทำการเพาะปลูกและเลี้ยง
สัตว์เป็นต้น ตลอดกาลไม่มี. อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าเรือนจะตั้งอยู่
ไม่ได้. บทว่า ฆรา นาภณโต มุสา ความว่า ชื่อว่าเรือนจะมีอยู่

ไม่ได้ แม้ไม่ยอมกล่าวเท็จเพื่อประโยชน์ไร่นาเรือกสวนเงิน
และทองเป็นต้น. บทว่า ฆรา ฯเปฯ อนิกุพฺพโต ความว่า ผู้ไม่
ถือท่อนไม้ วางท่อนไม้เสียแล้ว ไม่รังแกผู้อื่น เรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้.
ส่วนผู้ใดมือถือท่อนไม้ลงโทษผู้อื่นมีทาสและกรรมกรเป็นต้น

ด้วยการฆ่า จองจำ ตัดอวัยวะและเฆี่ยนเป็นต้น ตามสมควรแก่
ความผิดข้อนั้น ๆ การครองเรือนของผู้นั้นแหละย่อมมั่นคงอยู่ได้.
บทว่า เอวํ ฉิทฺทํ ฯเปฯ ปฏิปชฺชติ ความว่า เมื่อไม่มีการต้อง
โกหกเป็นต้นเหล่านี้ เมื่อเปิดช่องแก่ความเสื่อมนั้น ๆ แม้ต้อง
ทำเป็นนิจซึ่งกิจของฆราวาสให้ครบพร้อมกันได้ยาก ให้น่ายินดี

ได้ยาก เพราะต้องทำเป็นนิจทีเดียว เราก็หมดความดิ้นรนคิดจัก
ครอบครองเรือนอันให้มีครบได้ยากยิ่ง ให้บริบูรณ์ได้ยากนั้น
ด้วยเหตุนั้น ใครเล่าจักครองเรือนนั้นได้.

พระมหาสัตว์กล่าวโทษของฆราวาสอย่างนี้แล้ว ได้กลับ
คืนอุทยานดังเดิม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. เศรษฐีกรุงพาราณสีในครั้งนั้นได้เป็นนักมวยปล้ำชื่อ
โรชะ ในครั้งนี้ ส่วนวัจฉนขปริพาชก คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวัจฉนขชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ภทฺทโก วตายํ ปกฺขี ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า พระศาสดาทรงเห็นภิกษุโกหกรูปหนึ่ง
ซึ่งถูกนำตัวมาเฝ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้มิใช่
โกหกในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็โกหก แล้วทรงนำเรื่องอดีต
มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นปลามีบริวารมากอาศัยอยู่ใน
สระแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ. ครั้งนั้นมีนกยางตัวหนึ่ง คิดว่า
จักกินปลา จึงยืนก้มหัวกางปีกทำเซื่อง ๆ มองดูปลาในที่ใกล้
สระ คอยดูปลาเหล่านั้นเผลอ. ขณะนั้นพระโพธิสัตว์แวดล้อม

ด้วยฝูงปลาเที่ยวหาเหยื่อกินไปถึงที่นั้น. ฝูงปลาเห็นนกยางนั้น
จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
นกมีปีกตัวนี้ดีจริงหุบปีกทั้งสองไว้ ง่วง
เหงาซบเซาอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มนฺทมนฺโท ว ฌายติ ได้แก่ นกยาง
ซบเซาอยู่ตัวเดียว เหมือนจะหมดแรง ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อะไร
ทั้งนั้น.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์มองดูนกยางนั้น กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
เจ้าทั้งหลาย ไม่รู้จักกิริยาของมัน พวกเจ้า

ไม่รู้จึงพากันสรรเสริญ นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครอง
รักษาพวกเราดอก เพราะเหตุนั้นนกตัวนี้จึงไม่
เคลื่อนไหวเลย.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺญาย แปลว่าไม่รู้. บทว่า
อเมฺห ทิโช น ปาเลติ ความว่า นกนี้ไม่รักษา ไม่คุ้มครองพวก
เรา ครุ่นคิดอยู่แต่ว่าในปลาเหล่านี้ เราจะจิกตัวไหนกิน. บทว่า
เตน ปกฺขี น ผนฺทติ ด้วยเหตุนั้น นกตัวนี้จึงไม่เคลื่อนไหวเลย.

เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้ ฝูงปลาก็พ่นน้ำให้นกยาง
หนีไป.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. นกยางในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุโกหกในครั้งนี้ ส่วนพญาปลา
คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาพกชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดา เมื่อประทับอาศัยเมืองสาเกตทรงปรารภ
สาเกตพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ โข
ภควา เหตุ ดังนี้.
ส่วนเรื่องราวในชาดกนี้ ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันกล่าวไว้
ในเอกนิบาตในหนหลังแล้ว.

ก็ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลายทูล
ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า ความรักนี้ตั้งอยู่ได้อย่างไร
กล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไรหนอ
เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ
หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้าก็เลื่อมใส.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุให้บุคคล
บางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าเท่านั้นหัวใจก็สงบนิ่งสนิท คือ
เยือกเย็นดังเอาน้ำหอมพันหม้อมารด บางคนไม่สงบ บางคน
พอเห็นกันเข้าเท่านั้นก็มีจิตผ่องใสอ่อนลมุนละไม เยื่อใยต่อกัน
ด้วยอำนาจความรัก บางคนก็ไม่เยื่อใยต่อกัน.

ลำดับนั้นพระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความรัก
แก่ภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสอง
ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑
ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ เหมือน
ดอกอุบลเมื่อเกิดในน้ำย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ
สองประการ คือน้ำและเปือกตม ฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา
ความรักนี้ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการ คือได้เป็นมารดา บิดา
ธิดา บุตร พี่น้องชาย พี่น้องหญิง สามี ภรรยา หรือสหายมิตร
กันในภพก่อน เคยอยู่ร่วมที่เคียงกันมา ความรักนั้นย่อมไม่ละ
คงติดตามไปแม้ในภพอื่น เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน

อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะความเกื้อกูล
กันในปัจจุบันอันได้ทำในอัตภาพนี้. ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้น
ด้วยเหตุสองประการฉะนี้ เปรียบเหมือนอุบลในน้ำฉะนั้น คือ
เหมือนอุบลและบุปผชาติที่เกิดในน้ำต่าง ๆ เกิดในน้ำก็ได้อาศัย
เหตุสองอย่าง คือน้ำและเปือกตมฉันใด ความรักก็ย่อมเกิดด้วย
เหตุสองประการนี้ฉะนั้น.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้นได้เป็นชนทั้งสองนี้
ในครั้งนี้ ส่วนบุตร คือเราตถาคตแล.
จบ อรรถกถาสาเกตชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภกุฎุมพีคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิงฺฆ เอกํ ปทํ ตาต ดังนี้.

ได้ยินว่า กุฎุมพีผู้หนึ่งชาวกรุงสาวัตถี. อยู่มาวันหนึ่ง
บุตรของเขานั่งอยู่บนตัก ได้ถามปัญหาชื่อว่า อัตถทวาร คือ
ปัญหากล่าวถึงประตูไปสู่ประโยชน์. เขาคิดว่าปัญหานี้เป็น
ุพุทธวิสัย คนอื่นจักไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ จึงพาบุตรไปสู่
เชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ทารกนี้นั่งอยู่บนตักของข้าพระองค์ ได้ถาม
ปัญหาชื่อ อัตถทวาร ข้าพระองค์ไม่ทราบปัญหานั้นจึงมา ณ ที่นี้
ข้าแต่พระองค์ขอพระองค์ตรัสบอกปัญหานี้เถิด. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก ทารกนี้เป็นผู้แสวงประโยชน์ในบัดนี้
เท่านั้นก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนก็เป็นผู้แสวงหาประโยชน์ ได้ถาม

ปัญหานี้กะบัณฑิต. แม้โบราณกบัณฑิตก็ได้บอกแก่ทารกนั้น
แล้ว แต่เขากำหนดไว้ไม่ได้ เพราะไปสู่ภพขีดขั้นไว้ ทรงนำเรื่อง
อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐี. ครั้งนั้น
กุมารน้อยผู้เป็นบุตรของพระโพธิสัตว์ถามขึ้นว่า ข้าแต่พ่อ
ขอพ่อจงบอกบทบทหนึ่งอันเป็นทางให้ถึงประโยชน์ไม่ใช่น้อย
เพียงเหตุเดียวเท่านั้นแก่ลูก ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

คุณพ่อครับ เหตุอย่างเดียวทำให้ได้
ประโยชน์หลายอย่างมีอยู่หรือไม่ ลูกจะพึงทำ
ประโยชน์ให้สำเร็จด้วยเหตุใด ขอคุณพ่อจงบอก
เหตุนั้น ซึ่งรวมประโยชน์ได้หลายอย่างแก่ผม
เถิด.

ลำดับนั้น บิดาเมื่อจะบอกแก่กุมารน้อยนั้นได้กล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลูกเอ๋ย เหตุอย่างหนึ่งคือความขยันหมั่น
เพียร ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง เพราะความ
ขยันหมั่นเพียรนั้น ประกอบด้วยศีล ประกอบ
ด้วยขันติ อาจทำมิตรทั้งหลายให้ถึงความสุข
หรืออาจทำศัตรูทั้งหลายให้ถึงความทุกข์ได้.

อธิบายความ บทบทหนึ่ง คือความขยันได้แก่ ความเพียร
อันประกอบด้วยญาณบุคคลผู้เฉลียวฉลาด ผู้ยังลาภให้เกิด
ประกอบด้วยบทมีประโยชน์มิใช่น้อย มีศีลเป็นต้น. ก็ความ
เพียรนี้นั้นประกอบด้วยอาจาระและศีล พรั่งพร้อมด้วยอธิวาสน-

ขันติ อาจสามารถจะยังมิตรทั้งหลายให้เป็นสุขได้ ให้เกิดความ
ทุกข์แก่อมิตรทั้งหลายได้. ก็ใครเล่าผู้ประกอบด้วยกุศล วิริยะ
พรั่งพร้อมด้วยญาณอันจะยังลาภให้บังเกิด ถึงพร้อมด้วยอาจาร-
ขันติ จะไม่สามารถยังมิตรให้เป็นสุข หรือยังอมิตรให้เป็นทุกข์
ได้.

พระโพธิสัตว์กล่าวแก้ปัญหาแก่บุตรฉะนี้. บุตรนั้นได้ยัง
ประโยชน์ของตนให้สำเร็จตามนัยที่บิดาบอก ดำรงชีพไปตาม
ยถากรรมแล้ว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจธรรม ทรงประชุมชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม บิดาและบุตร
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล บุตรในครั้งนั้นได้มาเป็นบุตรคนนี้
นี่แหละ ส่วนเศรษฐีกรุงพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาเอกปทชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
พระเจ้าอชาตศัตรู ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อาสีวิสมฺปิ มํ สนฺตํ ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า พระมหาโกศลพระราชบิดาของพระเจ้า
โกศล พระราชทานพระธิดาแก่พระเจ้าพิมพิสาร ได้ประทาน
หมู่บ้านกาสีเป็นค่าสรงสนานแก่พระธิดา. พระเทวีนั้นเมื่อ
พระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรม ก็ได้สิ้นพระชนม์เพราะ
ความเสน่หาต่อพระราชาไม่นานนัก. พระเจ้าอชาตศัตรูแม้

เมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็คงครองบ้านนั้นอยู่ตามเดิม.
พระเจ้าโกศลทรงดำริว่า เราจักไม่ให้หมู่บ้านอันเป็นของตระกูล
ของเราแก่โจรผู้ฆ่าบิดา จึงรบกับพระเจ้าอชาตศัตรู. บางคราว
พระเจ้าน้าก็ชนะ บางคราวพระเจ้าหลานก็ชนะ. แต่คราวใด

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชนะ คราวนั้นก็ทรงโสมนัส ปักธงชัย
บนรถ เข้าไปสู่พระนครด้วยยศอันยิ่งใหญ่. คราวใดทรงปราชัย
คราวนั้นก็ทรงโทมนัส ไม่ให้ใคร ๆ ทราบเลย เสด็จเข้าสู่
พระนคร. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรม
ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชนะพระเจ้าน้า
แล้วดีพระทัย ทรงปราชัยก็ทรงโทมนัส.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่
แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ทรงชนะ

แล้วก็ดีพระทัย ทรงปราชัยแล้วก็ทรงโทมนัสเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดกบเขียว. ครั้งนั้น
มนุษย์ทั้งหลายได้ดักลอบเพื่อต้องการจะจับปลาในที่มีแม่น้ำ
และลำธารเป็นต้น. มีปลาเป็นอันมากเข้าไปติดอยู่ในลอบใบหนึ่ง.

ครั้งนั้นมีงูปลาตัวหนึ่ง จะกินปลาจึงเข้าไปสู่ลอบนั้น. ปลาเป็น
อันมากรวมกันเข้าไปกัดงูตัวนั้นจนเลือดออกนอง. งูปลาไม่เห็น
ที่พึ่ง กลัวตายจึงหนีออกทางปากลอบ ได้รับความเจ็บปวด

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นอนอยู่บนพื้นน้ำ. ในขณะนั้น กบเขียวขึ้นไปเกาะบนหลักลอบ.
งูเมื่อไม่ได้ที่จะตัดสินความ เห็นกบนอนอยู่บนหลักลอบนั้น
เมื่อจะถามว่า ดูก่อนสหายกบ กิริยาของพวกปลาเหล่านี้ ท่าน
พอใจบ้างไหม ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรกบเขียว ปลาทั้ง
หลายรุมกัดฉันผู้มีพิษแล่นเร็ว เข้าไปยังปากลอบ
เรื่องนี้ท่านชอบใจหรือ.

ลำดับนั้นกบเขียวจึงกล่าวกะงูว่า ดูก่อนสหาย ถูกแล้ว
ข้าพเจ้าพอใจ เพราะอะไร เพราะหากพวกปลามาถึงถิ่นของท่าน
ท่านก็ย่อมกิน ฝ่ายพวกปลาก็ย่อมกินท่านผู้ไปอยู่ถิ่นของตน
อันการจะอ่อนกำลังในถิ่นหากิน ในที่เป็นแดนของตน ๆ ย่อม
ไม่มี ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุรุษผู้มีอิสรภาพอยู่เพียงใดก็ย่ำยีผู้อื่น
ได้อยู่เพียงนั้น คนอื่นมาย่ำยีตนคราวใด คราวนั้น
ผู้ที่ถูกย่ำยีก็ย่ำยีตอบบ้าง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิลุมฺปเตว ฯเปฯ อุปกปฺปติ ความว่า
ความมีอิสรภาพย่อมสำเร็จ ย่อมเป็นไปแก่บุรุษเพียงใด เขา
ย่อมย่ำยีผู้อื่นได้เพียงนั้น. อธิบายว่า บุรุษนั้นสามารถย่ำยีได้
ตลอดกาล. บทว่า ยทา จญฺเญ วิลุมฺปนฺติ คือ คนอื่นที่มีอิสรภาพ
มาย่ำยีตนคราวใด. บทว่า โส วิลุตฺโต วิลุมฺปติ ความว่า คราว
นั้นผู้ย่ำยีนั้นย่อมถูกผู้อื่นย่ำยี.

เมื่อพระโพธิสัตว์วินิจฉัยคดีแล้ว ฝูงปลารู้ว่างูปลาอ่อน
กำลัง คิดว่าจักจับศัตรูจึงตรูกันออกจากปากลอบทำให้งูปลา
ตายในที่นั้นเอง แล้วต่างก็หลีกไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. งูปลาในครั้งนั้นได้เป็นพระเจ้าอชาตศัตรูในครั้งนี้.
ส่วนกบเขียว คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาหริตมาตชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สพฺโพ ชโน ดังนี้.

เมื่อพระเทวทัตผูกอาฆาตพระศาสดา จมลงไปในแผ่นดิน
ใกล้ซุ้มพระทวารพระเชตวันมหาวิหารล่วงไปได้เก้าเดือน ชาว
กรุงสาวัตถีและชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้น ต่างร่าเริงยินดีว่า พระ-
เทวทัตผู้เป็นเสี้ยนหนามของพระพุทธองค์ ถูกแผ่นดินสูบแล้ว
บัดนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงกำจัดศัตรูได้แล้ว. ชาวชมพูทวีป
ทั้งสิ้น และหมู่ยักษ์ ภูตและเทวดาทั้งหลาย ต่างก็พากันรื่นเริง
ยินดี กล่าวกันอย่างนั้นเหมือนกัน.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เมื่อพระเทวทัตจมลงในแผ่นดิน มหาชน
ต่างก็ดีใจว่า พระเทวทัตผู้เป็นเสี้ยนหนามของพระพุทธองค์ถูก
แผ่นดินสูบแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวทัตตาย มหาชนยินดี ร่าเริง มิใช่ในบัดนี้
เท่านั้น แม้เมื่อก่อนมหาชนก็ยินดี ร่าเริงเหมือนกัน แล้วทรงนำ
เรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า มหาปิงคละ เสวย
ราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสีโดยอธรรม ไม่เรียบร้อย ทำ
บาปกรรมด้วยอคติมีฉันทาคติเป็นต้น รีดนาทาเร้นมหาชนด้วย
อาชญา ภาษีอากรริบเงินทองเป็นต้น ดุจท่อนอ้อยที่เครื่องยนต์
หีบอ้อยฉะนั้น. พระเจ้ามหาปิงคละนั้นเป็นผู้กักขละหยาบช้า

หุนหัน. ไม่มีแม้แต่เพียงความเอ็นดูในผู้อื่นเลย. ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของพวกสตรี บุตรธิดาในพระราชวัง แม้ของ
อำมาตย์ พราหมณ์และคหบดีเป็นต้น เปรียบเหมือนธุลีเข้าตา
เหมือนกรวดที่ก้อนข้าว และเหมือนหนามที่ตำส้นเท้าฉะนั้น.
ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นโอรสของพระเจ้ามหาปิงคละ.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระเจ้ามหาปิงคละเสวยราชสมบัติมานานแล้ว ก็เสด็จสวรรคต.
เมื่อพระเจ้าปิงคละเสด็จสวรรคตแล้ว ชาวกรุงพาราณสีทั้งสิ้น
ก็ร่าเริงยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสกันยกใหญ่ เผาศพพระเจ้ามหาปิงคละ
ด้วยฟืนพันเล่มเกวียน ดับเชิงตะกอนด้วยน้ำหลายพันหม้อ แล้ว
อภิเษกพระโพธิสัตว์ขึ้นครองราชย์ ต่างก็ร่าเริงยินดีว่า เราได้

พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว เที่ยวตีกลองแห่กันครึกครื้น
ตกแต่งพระนครด้วยธงทิวต่าง ๆ ทำประรำตามประตูบ้านทุก
ประตู นั่งกินเลี้ยงกันที่ปะรำอันได้ตกแต่งแล้ว มีพื้นโปรยปราย
ด้วยข้าวตอกและดอกไม้. แม้พระโพธิสัตว์ก็ประทับนั่งทรงยศ
อันยิ่งใหญ่ ท่ามกลางบัลลังก์ซึ่งกั้นด้วยเศวตฉัตร ณ ท้องพระโรง

อันประดับประดาแล้ว. พวกอำมาตย์ พราหมณ์ คหบดี และ
เจ้าพนักงานและยามประตูเป็นต้น ต่างก็ยืนแวดล้อมพระราชา
อยู่. ลำดับนั้นมียามประตูนายหนึ่งยืนอยู่ในที่ไม่ไกล ได้ถอนใจ
สะอื้นร้องไห้อยู่. พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นยามประตูนั้น
จึงถามว่า ดูก่อนยามประตู เมื่อพระบิดาของเราสวรรคตแล้ว

ชนทั้งปวงต่างก็ร่าเริงยินดีเที่ยวเล่นมหรสพกัน. ส่วนท่านกลับ
ยืนร้องไห้ เมื่อจะตรัสถามว่า พระบิดาของเราเป็นที่รัก เป็นที่
ชอบใจของท่านนักหรือ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ชนทั้งปวงถูกพระเจ้าปิงคละเบียดเบียน
แล้ว เมื่อพระเจ้าปิงคละนั้นสวรรคตแล้ว ชน
ทั้งหลายต่างก็พากันยินดี ดูก่อนนายประตู
พระเจ้าปิงคละผู้ไม่มีพระเนตรดำ เป็นที่รักของ
ท่านหรือ เพราะเหตุไรท่านจึงร้องไห้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า หึสิโต ได้แก่ ถูกเบียดเบียนด้วย
อาชญาและภาษีอากรนานาประการ. บทว่า ปิงฺคเลน แปลว่า
มีตาเหลือง. นัยว่าพระเจ้าปิงคละนั้นมีพระเนตรทั้งสองข้าง
เหลือง มีสีเหมือนตานกพิลาป. จึงมีชื่อว่า ปิงคละ. บทว่า

ปจฺจยํ เวทยนฺติ คือพากันยินดี. บทว่า อกณฺหเนตฺโต คือมี
พระเนตรเหลือง. บทว่า กสฺมา น ตฺวํ. คือ ท่านร้องไห้ทำไม.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นายประตูนั้นฟังคำพระโพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์
มิได้ร้องไห้ เพราะพระเจ้ามหาปิงคละสวรรคต แต่ร้องไห้
เพราะเกรงว่า ศีรษะของข้าพระองค์เป็นสุขแล้ว เพราะพระเจ้า
ปิงคละเมื่อเสด็จลงและเสด็จขึ้นปราสาท ทรงเขกศีรษะข้าพระองค์
เที่ยวละแปด เที่ยวละแปด ดุจเคาะด้วยฆ้อนของช้างทองฉะนั้น

พระองค์เสด็จไปสู่ปรโลกแล้ว จะเขกศีรษะพวกนายนิริยบาล
บ้าง พญายมบ้าง เหมือนกับเขกศีรษะข้าพระองค์ ทีนั้นพวก
นายนิริยบาลคิดว่า พระเจ้าปิงคละนี้เบียดเบียนพวกเรานัก
จักนำมาปล่อยคืนที่นี้อีก เมื่อเป็นเช่นนั้นพระองค์ก็จะพึงเขก
ศีรษะข้าพระองค์อีก เมื่อจะประกาศความนี้ จึงกล่าวคาถา
ที่ ๒ ว่า :-

พระเจ้าปิงคละผู้ไม่มีพระเนตรดำจะเป็น
ที่รักของข้าพระพุทธเจ้าก็หามิได้ แต่ข้าพระ-
พุทธเจ้ากลัวว่า พระเจ้าปิงคละนั้นจะกลับมาอีก

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะตรัสปลอบใจนายประตู
ผู้นั้นว่า พระราชาพระองค์นั้นถูกเผาด้วยฟืนพันเล่มเกวียน
ถูกเอาน้ำรดตั้งร้อยหม้อ แม้บริเวณป่าช้าของพระราชานั้น ก็
ล้อมรั้วรอบแล้ว และตามปกติผู้ไปสู่ปรโลกแล้ว ก็ไปที่อื่นทีเดียว
เขาจะไม่กลับมาด้วยร่างกายนั้นอีก ท่านอย่ากลัวเลย จึงกล่าว
คาถานี้ว่า :-

พระเจ้าปิงคละนั้นพวกเราช่วยกันเผาแล้ว
ด้วยฟืนพันเล่มเกวียน รดด้วยน้ำหลายร้อยหม้อ
พื้นที่ดินนั้นเราป้องกันไว้อย่างดีแล้ว ท่านอย่า
กลัวเลย พระเจ้าปิงคละจักไม่เสด็จกลับมาอีก.

ตั้งแต่นั้นนายประตูก็ได้รับความโล่งใจ. พระโพธิสัตว์
เสวยราชสมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น แล้ว.
ก็เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระเจ้าปิงคละในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วน
พระโอรส คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถามหาปิงคลชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุปาหนชาดก ๒. วีณาถูณชาดก ๓. วิกัณณกชาดก
๔. อสิตาภุชาดก ๕. วัจฉนขชาดก ๖. พกชาดก ๗. สาเกต
ชาดก ๘. เอกปทชาดก ๙. หริตมาตชาดก ๑๐. มหาปิงคลชาดก.
จบ อุปาหนวรรคที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร