วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 00:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 45, 46, 47, 48, 49, 50, 51 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พญานาคผู้ประเสริฐกว่างูทั้งหลาย ต้อง
การจะพ้นไปจากสำนักของข้าพเจ้าจึงแปลงเพศ
เป็นก้อนแก้วมณี เข้าไปอยู่ในผ้าเปลือกไม้
นี้ ข้าพเจ้าเคารพยำเกรงเพศของพระคุณเจ้า ซึ่ง
เป็นเพศประเสริฐนัก แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับ
พญานาคซึ่งเข้าไปอยู่ในผ้าเปลือกไม้นั้นออก
มากินได้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อิธูรคานํ ปวโร ปวิฏฺโฐ ความว่า
พญานาคผู้ประเสริฐกว่างูทั้งหลาย เข้าไปอาศัยอยู่ในผ้าเปลือกไม้
นี้. บทว่า เสลสฺส วณฺเณน ความว่า พญานาคแปลงเพศเป็น
ก้อนแก้วมณี เข้าไปอาศัยอยู่ในผ้าเปลือกไม้. บทว่า ปโมกฺขมิจฺฉํ
ความว่า พญานาคต้องการจะพ้นจากสำนักของข้าพเจ้า. บทว่า

พฺรหฺมญฺจ วณฺณํ อปจายมาโน ความว่า ข้าพเจ้าบูชาเคารพ
ต่อท่านผู้มีเพศดังพรหม คือมีเพศประเสริฐ. บทว่า พุภุกฺขิโต
โน อิสฺหามิ โภตฺตุํ ความว่า ข้าพเจ้าแม้จะหิวก็ไม่อาจจะกิน
พญานาคนั้นซึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ในเปลือกไม้นั้นได้.

พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ในน้ำได้สรรเสริญพญาครุฑ
แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-
ท่านเคารพยำเกรงผู้มีเพศอันประเสริฐ
แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับนาค ซึ่งเข้าไปอยู่ในผ้า
เปลือกไม้นั้นออกมากินได้ ขอท่านจงเป็นผู้อัน
พรหมคุ้มครองแล้ว ดำรงชีวิตอยู่สิ้นกาลนาน
เถิด อนึ่ง ขอภักษาหารอันเป็นทิพย์จงปรากฏ
แก่ท่านเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า โส พฺรหฺมคุตฺโต ความว่า ท่านนั้น
เป็นผู้อันพรหมคุ้มครองรักษาแล้ว. บทว่า ทิพฺยา จ เต ปาตุภวนฺตุ
ภกฺขา ความว่า ขอภักษาหารอันควรแก่การบริโภคของทวยเทพ
จงปรากฏแก่ท่านเถิด. ท่านอย่าได้ทำปาณาติบาต กินเนื้อนาคเลย.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ในน้ำ กระทำอนุโมทนาแล้ว
ขึ้นนุ่งผ้าเปลือกไม้ พาสัตว์ทั้งสองไปอาศรมบทแสดงถึงคุณ
ของการเจริญเมตตา แล้วได้กระทำให้สัตว์ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน.
ตั้งแต่นั้นมาสัตว์ทั้งสองนั้นก็มีความสมัครสมาน เบิกบานกันอยู่
ร่วมกันด้วยความสุข.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วประชุม
ชาดก. พญานาคและพญาครุฑในครั้งนั้นได้เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่
ทั้งสองในบัดนี้. ส่วนดาบสได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ราชิการามซึ่งพระเจ้า-
ปเสนทิโกศล ให้จัดสร้างถวายใกล้พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การจามของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้เริ่มต้นว่า ชีว
วสฺสสตํ ภคฺค ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า วันหนึ่งพระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่าม
กลางบริษัท ๔ ที่ราชิการาม ขณะแสดงธรรมทรงจามขึ้น.
ภิกษุทั้งหลายได้พากันส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงพระชนม์เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงทรงพระชนม์เถิด. เพราะ
เสียงนั้นได้ทำให้การแสดงธรรมหยุดลง. ลำดับนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

เขากล่าวในเวลาจามว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ดังนี้ เพราะเหตุ
ที่กล่าวดังนั้น คนนั้นจะพึงเป็นอยู่ หรือจะพึงตายเป็นไปได้ไหม.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า. พระ-
ศาสดาตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอไม่ควรกล่าวใน
เวลาเขาจามว่า ขอให้ท่านเป็นอยู่เถิด. ผู้ใดกล่าว ผู้นั้นต้อง

อาบัติทุกกฏ. สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย กล่าวกะพวกภิกษุในเวลา
ที่ภิกษุเหล่านั้นจามว่า ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลายจงเป็นอยู่เถิด.
ภิกษุทั้งหลายตั้งข้อรังเกียจ ไม่พูดตอบ. พวกมนุษย์พากัน
ยกโทษว่า อย่างไรกันนี่ สมณศากยบุตรเมื่อเรากล่าวว่า ขอให้

พระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด ไม่พูดตอบเลย. จึงพากันไปกราบทูล
ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกคฤหัสถ์เขาถือมงคลกัน เมื่อคฤหัสถ์เขา
กล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด เราอนุญาตให้กล่าวตอบว่า

ขอให้พวกท่านจงเป็นอยู่เถิด. ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาการกล่าว
โต้ตอบว่าจงเป็นอยู่เถิด เกิดขึ้นเมื่อไร. พระศาสดาตรัสว่า

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาการโต้ตอบกันว่า จงเป็นอยู่เถิด
เกิดขึ้นแต่โบราณกาล แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ตระกูล
หนึ่งในแคว้นกาสี. บิดาของพระโพธิสัตว์ ทำการค้าขายเลี้ยงชีพ
บิดาให้พระโพธิสัตว์ซึ่งมีอายุได้ ๑๖ ปี แบกเครื่องแก้วมณี
เดินทางไปในบ้านและนิคมเป็นต้น ครั้นถึงกรุงพาราณสีให้หุง

อาหารบริโภคใกล้เรือนของนายประตู เมื่อหาที่พักไม่ได้ จึงถาม
ว่า คนจนมาผิดเวลาจะพักได้ที่ไหน. ครั้นแล้วพวกมนุษย์พวก
เขาว่า นอกพระนครมีศาลาอยู่หลังหนึ่ง แต่ศาลานั้นมียักษ์
ยึดครอง ถ้าท่านต้องการก็จงอยู่เถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

มาเถิดพ่อ เราจะไป อย่ากลัวยักษ์ ฉันจะทรมานยักษ์นั้นให้
หมอบลงแทบเท้าของพ่อ แล้วก็พาบิดาไปในที่นั้น. ลำดับนั้นบิดา
ของพระโพธิสัตว์นอนบนพื้นกระดาน. ตนเองนั่งนวดเท้าให้บิดา.
ยักษ์ซึ่งสิงอยู่ที่ศาลานั้น อุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ ๑๒ ปี

เมื่อจะได้ศาลานั้น ได้พรว่า บรรดามนุษย์ซึ่งเข้าไปยังศาลานี้
ผู้ใดกล่าวในเวลาที่เขาจามว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด และผู้ใด
เมื่อเขากล่าวว่าจงเป็นอยู่เถิด แล้วกล่าวตอบว่าท่านก็เหมือนกัน
ขอให้เป็นอยู่เถิด เว้นคนที่กล่าวโต้ตอบเหล่านั้นเสีย ที่เหลือ
กินเสียเถิด. ยักษ์นั้นอาศัยอยู่ที่ขื่อหัวเสา คิดว่าจักให้บิดาพระ-

โพธิสัตว์จาม จึงโรยผงละเอียดลงด้วยอานุภาพของตน. ผง
ปลิวเข้าไปในดั้งจมูกของเขา. เขาจึงจามทั้งที่นอนอยู่เหนือพื้น
กระดาน. พระโพธิสัตว์มิได้กล่าวว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด.
ยักษ์จึงลงจากขื่อหมายจะกินเขา. พระโพธิสัตว์เห็นยักษ์ไต่ลง

จึงคิดว่า เจ้ายักษ์นี้เองทำให้บิดาของเราจาม เจ้านี่คงจะเป็น
ยักษ์กินคนที่ไม่กล่าวว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิดในเวลาเขาจาม
ตนนั้นจึงกล่าวคาถาแรกเกี่ยวกับบิดาว่า :-

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่บิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี ขอ
ปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี
เถิด.

ในบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เรียกชื่อบิดาว่า ภคฺค. บทว่า
อปรานิ จ วีสติ ความว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.
บทว่า มา มํ ปิสาจา ขาทนฺตุ ความว่า ขอปีศาจจงอย่ากิน
ข้าพเจ้าเลย. บทว่า ชีว ตฺวํ สรโทสตํ ความว่า ขอให้ท่านจง
เป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด. อันที่จริง ๑๒๐ ปี เป็นการคาดคะเน แต่เป็น
แค่ ๑๐๐ ปีเท่านั้น. ในที่นี้ท่านประสงค์ ๑๐๐ ปี ให้เกินไปอีก
๒๐ ปี.

ยักษ์ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว รำพึงว่า เราไม่
สามารถจะกินมาณพนี้ได้ เพราะเขากล่าวว่าขอให้ท่านจงเป็น
อยู่เถิด แต่เราจะกินบิดาของเขา ว่าแล้วก็ไปหาบิดา. บิดาเห็น
ยักษ์ตรงมาคิดว่า เจ้ายักษ์นี่คงจักเป็นยักษ์กินคนผู้ไม่กล่าวตอบ
ว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด เพราะฉะนั้นเราจักกล่าวตอบ แล้ว
กล่าวคาถาที่ ๒ เกี่ยวกับบุตรว่า :-

แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจ
จงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิสํ ปิสาจา ได้แก่ ปีศาจจงกินยาพิษ
ที่ร้ายแรง.

ยักษ์ได้ฟังดังนั้น คิดว่าเราไม่สามารถกินได้ทั้งสองคน
จึงถอยกลับ. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ถามยักษ์นั้นว่า ดูก่อนเจ้ายักษ์
เพราะเหตุไรเจ้าจึงกินคนที่เข้าไปยังศาลานี้เล่า. ยักษ์ตอบว่า
เพราะเราอุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ถึง ๑๒ ปี แล้วได้พร. พระ-

โพธิสัตว์ถามว่า เจ้ากินได้ทุกคนหรือ. ยักษ์ตอบว่า ยกเว้นคนที่
กล่าวตอบว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด นอกนั้นเรากินหมด.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนยักษ์ เจ้ากระทำอกุศลไว้ในภพก่อน
เป็นผู้ร้ายกาจ หยาบคาย ชอบเบียดเบียนผู้อื่น แม้บัดนี้เจ้าก็

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ยังทำกรรมเช่นนั้นอีก เจ้าจักเป็นผู้ชื่อว่ามืดมาแล้วมืดไป. เพราะ
ฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้ไป เจ้าจงงดจากปาณาติบาตเป็นต้นเสีย พระ-
โพธิสัตว์ทรมานยักษ์นั้น แล้วขู่ด้วยภัยในนรก ให้ยักษ์ตั้งอยู่
ในศีลห้า ได้ทำยักษ์ให้เหมือนคนรับใช้.

วันรุ่งขึ้นพวกมนุษย์ซึ่งเดินทาง เห็นยักษ์และทราบว่า
พระโพธิสัตว์ทรมานยักษ์สำเร็จ จึงพากันไปกราบทูลแด่พระ-
ราชาว่า ขอเดชะมีมาณพคนหนึ่งทรมานยักษ์นั้นได้ทำให้เหมือน
เป็นคนรับใช้ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้หาพระโพธิสัตว์

แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเสนาบดี. และได้พระราชทานยศใหญ่
แก่บิดาของเขา. พระราชาทรงกระทำยักษ์ให้ได้รับพลีกรรม
แล้วตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ กระทำบุญมีทานเป็นต้น
บำเพ็ญทางไปสวรรค์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า คำ
โต้ตอบว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ได้เกิดขึ้นแล้วในกาลนั้น
แล้วทรงประชุมชาดก

พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ บิดาได้เป็น
กัสสป ส่วนบุตรได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาภัคคชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุคลายความเพียรรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อลีนจิตฺตํ นิสฺสาย ดังนี้.

เรื่องราวจักมีแจ้งในสังวรชาดกในเอกาทสกนิบาต. ภิกษุ
นั้นเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า เธอคลาย
ความเพียรจริงหรือ กราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อ
ก่อนเธอได้ทำความเพียรยึดเอาราชสมบัติในกรุงพาราณสี
ประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายราชกุมารหนุ่มเช่นกับชิ้นเนื้อมิใช่หรือ.
เหตุไรในบัดนี้ เธอบวชในพระศาสนาเห็นปานนี้ จึงคลายความ
เพียรเสียเล่า แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ
ในกรุงพาราณสี ได้มีบ้านช่างไม้อยู่ไม่ห่างจากกรุงพาราณสี.
พวกช่างไม้ ๕๐๐ คน อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น พวกเขาเดินเรือขึ้น
เหนือน้ำแล้วพากันเข้าไปในป่า. ตัดฟันไม้เครื่องเรือนปรุง

ปราสาทต่างชนิด มีพื้นชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น ณ ที่นั้นเอง
แล้วทำเครื่องหมายไว้ในไม้ทุกชิ้น ตั้งแต่เสา ขนไปยังฝั่งแม่น้ำ
บรรทุกเรือล่องมาถึงพระนครตามกระแสน้ำ ผู้ใดต้องการเรือน
ชนิดใดก็ปรุงเรือนชนิดนั้นแก่ผู้นั้น แล้วรับเอากหาปณะกลับไป

ขนเครื่องเรือนในที่นั้นมาอีก. เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างนี้ คราว
หนึ่งเมื่อเขาตั้งค่ายตัดฟันไม้อยู่ในป่า ในที่ไม่ไกลนักมีช้างตัวหนึ่ง
เหยียบตอตะเคียนเข้า. ตอได้แทงเท้าช้างเข้า มันเจ็บปวดเป็น
กำลัง. เท้าบวมกลัดหนอง. ช้างได้รับทุกขเวทนาสาหัส ได้ยิน

เสียงตัดฟันไม้ของพวกช่างไม้ จึงหมายใจว่าเราจักมีความสวัสดี
เพราะอาศัยพวกช่างไม้เหล่านี้ แล้วเดินสามเท้าเข้าไปหาเขา
หมอบลงใกล้ ๆ. ช่างไม้เห็นช้างมีเท้าบวม จึงตรงเข้าไปใกล้
พบตออยู่ที่เท้าแล้วใช้มีดที่คมกรีดรอบตอ ใช้เชือกดึงตอออก
บีบหนอง เอาน้ำอุ่นชะ ไม่นานนักที่พวกเขารักษาแผลให้หาย

ด้วยใช้ยาที่ถูกต้อง. ช้างหายเจ็บปวดจึงคิดว่า เราได้ชีวิต เพราะ
อาศัยช่างไม้เหล่านี้ เราควรช่วยเหลือตอบแทนเขา. ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อช่างไม้นำไม้มาถาก ช้างก็ช่วยพลิกให้ส่งเครื่องมือมีมีดเป็นต้น
ให้กับพวกช่างไม้. มันใช้งวงพันจับปลายเชือกสายบรรทัด.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในเวลาบริโภคอาหาร พวกช่างไม้ต่างก็ให้ก้อนข้าวแก่มัน
คนละปั้น ให้ถึง ๕๐๐ ปั้น. อนึ่งช้างนั้นมีลูกขาวปลอด เป็น
ลูกช้างอาชาไนย. เพราะเหตุนั้นมันจึงคิดว่า เวลานี้เราก็แก่เฒ่า
เราควรให้ลูกแก่ช่างไม้เหล่านี้ เพื่อทำงานแทนเราแล้วเข้าป่าไป.

ช้างนั้นมิได้บอกแก่พวกช่างไม้เข้าป่านำลูกมากล่าวว่า ช้างน้อย
เชือกนี้เป็นลูกของข้าพเจ้า พวกท่านได้ช่วยชีวิตของข้าพเจ้าไว้
ข้าพเจ้าขอให้ลูกนี้เป็นบำเหน็จค่าหมอของพวกท่าน ตั้งแต่นี้ไป
ลูกนี้จักทำการงานให้พวกท่าน แล้วจึงสอนลูกว่า ดูก่อนเจ้า
ลูกน้อย ตั้งแต่นี้ไปเจ้าจงทำการงานแทนเรา ครั้นมอบลูกน้อย

ให้พวกช่างไม้แล้ว ตัวเองก็เข้าป่าไป. ตั้งแต่นั้นมา ลูกช้างก็
ทำตามคำของพวกช่างไม้ เป็นสัตว์ว่านอนสอนง่าย กระทำกิจการ
ทั่วไป. แม้พวกช่างไม้ก็เลี้ยงดูลูกช้างน้อยด้วยอาหาร ๕๐๐ ปั้น
ลูกช้างน้อยทำงานเสร็จแล้วก็ลงแม่น้ำอาบเล่นแล้วก็กลับ. พวก

เด็กช่างไม้ก็จับลูกช้างน้อยที่งวงเป็นต้น เล่นกับลูกช้างทั้งในน้ำ
และบนบก. ธรรมดาชาติอาชาไนยทั้งหลาย จะเป็นช้างก็ตาม
ม้าก็ตาม คนก็ตาม ย่อมไม่ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะลงในน้ำ
เพราะฉะนั้นลูกช้างนั้นจึงไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำ

ถ่ายแต่ริมฝั่งแม่น้ำภายนอกเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ฝนตกลงมา
เหนือแม่น้ำ. คูถลูกช้างที่แห้งก็ไปสู่แม่น้ำ ได้ติดอยู่ที่พุ่มไม้
แห่งหนึ่งที่ท่ากรุงพาราณสี. ครั้งนั้นพวกควาญช้างของพระราชา
นำช้าง ๕๐๐ เชือกไปด้วยประสงค์จะให้อาบน้ำ. ช้างเหล่านั้น

ได้กลิ่นคูถของช้างอาชาไนยเข้า จึงไม่กล้าลงแม่น้ำสักตัวเดียว
ชูหางพากันหนีไปทั้งหมด. พวกควาญช้างจึงแจ้งเรื่องแก่นาย
หัตถาจารย์. พวกเขาคิดกันว่าในน้ำต้องมีอันตราย จึงทำความ
สะอาดน้ำเห็นคูถช้างอาชาไนยติดอยู่ที่พุ่มไม้ ก็รู้ว่านี่เองเป็นเหตุ

ในเรื่องนี้ จึงให้นำถาดมาใส่น้ำขยำคูถลงในถาดนั้นแล้วให้รด
จนทั่วตัวช้างทั้งหลาย. ตัวช้างก็มีกลิ่นหอม. ช้างเหล่านั้นจึง
ลงอาบน้ำกันได้. นายหัตถาจารย์ทูลเล่าเรื่องราวนั้นแด่พระราชา
แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์ควรสืบหาช้างอาชาไนยนั้น
นำมาเถิดพระเจ้าข้า.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาเสด็จสู่แม่น้ำด้วยเรือขนาน เมื่อเรือขนานแล่น
ไปถึงตอนบน ก็บรรลุถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้. ลูกช้างกำลัง
เล่นน้ำอยู่ได้ยินเสียงกลอง จึงกลับไปยืนอยู่กับพวกช่างไม้.
พวกช่างไม้ถวายการต้อนรับพระราชาแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ

หากพระองค์มีพระประสงค์ด้วยไม้ เหตุไรต้องเสด็จมา จะทรง
ส่งคนให้ขนไปไม่ควรหรือพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่ง นี่แน่
พนาย เรามิได้มาเพื่อประสงค์ไม้ดอก แต่เรามาเพื่อต้องการช้าง
เชือกนี้. พวกช่างไม้กราบทูลว่า ขอเดชะโปรดให้จับไปเถิด
พระเจ้าข้า. ลูกช้างไม่ปรารถนาจะไป. พระราชารับสั่งถามว่า

ช้างจะให้ทำอย่างไรเล่า พนาย. พวกเขากราบทูลว่า ขอเดชะ
ช้างจะให้พระราชทานค่าเลี้ยงดูแก่ช่างไม้พระเจ้าข้า. พระราชา
รับสั่งว่า ตกลงพนาย แล้วโปรดให้วางกหาปณะลงที่เท้าช้าง
ทั้ง ๔ ข้าง ที่งวงและที่หางแห่งละแสนกหาปณะ แม้เพียงนี้
ช้างก็ไม่ไป ครั้นพระราชทานผ้าคู่แก่ช่างไม้ทั้งหมด พระราชทาน

ผ้าสาฎกสำหรับนุ่งแก่ภรรยาช่างไม้ แม้เพียงนี้ก็ไม่ไป ต่อเมื่อ
พระราชทานเครื่องบริหารสำหรับเด็ก แก่เด็กชายหญิงที่เล่น
อยู่ด้วยกัน ลูกช้างจึงเหลียวไปดูพวกช่าง เหล่าสตรีและพวกเด็ก
แล้วเดินไปกับพระราชา. พระราชาทรงพาไปถึงพระนคร รับสั่ง

ให้ประดับพระนครและโรงช้าง ทรงให้ช้างกระทำปทักษิณ
พระนคร แล้วให้เข้าไปโรงช้าง ทรงประดับด้วยเครื่องประดับ
ทั้งปวง ทรงทำการอภิเษกยกขึ้นเป็นราชพาหนะ ทรงตั้งไว้ใน
ฐานะเป็นสหายของพระองค์ พระราชทานราชสมบัติกึ่งหนึ่ง

แก่ช้าง ได้ทรงกระทำการเลี้ยงดูเสมอด้วยพระองค์. ตั้งแต่ช้าง
มา ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์
ของพระราชาสิ้นเชิง.

ครั้นกาลเวลาผ่านไปอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิ
ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้น. ใน
เวลาที่พระนางทรงครรภ์แก่ พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว.
หากพญาช้างพึงรู้ว่าพระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว หัวใจของ

พญาช้างก็จะต้องแตกทำลายไป ณ ที่นั้นเอง. ดังนั้นพวกคนเลี้ยง
ช้างจึงบำรุงมิให้พญาช้างรู้ว่า พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายพระเจ้ากรุงโกศล ซึ่งมีพระราชอาณาจักรใกล้เคียงกัน
ทรงสดับข่าวว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ทรงดำริว่า นัยว่า
ราชสมบัติกรุงพาราณสีว่างผู้ครอง จึงยกกองทัพใหญ่ล้อม
พระนคร. ชาวพระนครพากันปิดประตูเมือง ส่งสาส์นถวาย
พระเจ้ากรุงโกศลว่า พระอัครมเหสีของพระราชาของพวก

ข้าพเจ้าทรงครรภ์แก่. พวกโหรทำนายว่า จากนี้ไปเจ็ดวัน
พระอัครมเหสีจักคลอดพระโอรส พวกข้าพเจ้าจักขอรบในวันที่
เจ็ด จักไม่มอบราชสมบัติให้ ขอได้โปรดทรงรอไว้ชั่วเวลา
เพียงเท่านี้. พระเจ้ากรุงโกศลทรงรับว่า ตกลง ครั้นถึงวันที่เจ็ด
พระเทวีประสูติพระโอรส. ก็ในวันขนานพระนาม มหาชนได้

ขนานพระนามพระโอรสว่า อลีนจิตราชกุมาร เพราะพระโอรส
ทรงบันดาลให้จิตท้อแท้ของมหาชนมีขวัญดีขึ้น. ตั้งแต่วันที่
พระโอรสประสูติ ชาวพระนครของพระองค์ก็สู้รบกับพระเจ้า
กรุงโกศล. เพราะขาดผู้นำ แม้จะมีกำลังต่อสู้มากมายเพียงไร
เมื่อต่อสู้ไปก็ถอยกำลังลงทีละน้อย ๆ. พวกอำมาตย์พากัน

กราบทูลความนั้นแด่พระเทวี แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า
เมื่อกำลังลดถอยลงอย่างนี้ พวกข้าพเจ้าเกรงว่าจะแพ้สงคราม.
มงคลหัตถีสหายของพระราชา มิได้รู้ว่าพระราชาสวรรคต
พระโอรสประสูติและพระเจ้ากรุงโกศลเสด็จมาทำสงคราม.

พวกข้าพเจ้าจะบอกให้พญาช้างนั้นรู้ดีไหมพระเจ้าข้า. พระเทวี
รับสั่งว่าดีแล้ว จึงตกแต่งพระโอรสให้บรรทมเหนือพระอู่บุด้วย
ภูษาเนื้อดี เสด็จลงจากปราสาท มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม เสด็จ
ถึงโรงพญาช้างให้พระโพธิสัตว์บรรทมใกล้ ๆ พญาช้าง แล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนพญามงคลหัตถี พระสหายของท่านสวรรคตเสีย
แล้ว พวกข้าพเจ้ามิได้บอกเพราะเกรงว่าท่านจะหัวใจแตก
ทำลาย นี่คือพระราชโอรสแห่งพระสหายของท่าน พระเจ้าโกศล
เสด็จมาล้อมพระนคร ต่อสู้กับพระโอรสของท่าน ไพร่พลหย่อน

กำลัง ท่านอย่าปล่อยให้พระโอรสของท่านตายเสียเลย จงยึด
ราชสมบัติถวายแก่เธอเถิด. ขณะนั้นพญามงคลหัตถีก็เอางวง
ลูบคลำพระโพธิสัตว์ แล้วยกขึ้นประดิษฐานไว้เหนือกระพอง
ร้องไห้คร่ำครวญ แล้วจึงวางพระโพธิสัตว์ให้บรรทมบนพระหัตถ์

ของพระเทวี แล้วออกจากโรงช้างไป หมายใจว่าจักจับพระเจ้า
กรุงโกศล. ลำดับนั้นพวกอำมาตย์จึงสวมเกาะ ตกแต่งพญาช้าง
เปิดประตูพระนคร พากันห้อมล้อมพญาช้างนั้นออกไป. พญา-

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
มงคลหัตถีครั้นออกจากพระนครแล้ว ก็แผดเสียงโกญจนาถ
ยังมหาชนให้หวาดสะดุ้งพากันหนีทำลายค่ายข้าศึก คว้าพระเมาลี
พระเจ้ากรุงโกศลไว้ได้แล้วพามาให้หมอบลง ณ บาทมูลของ
พระโพธิสัตว์ ครั้นหมู่ทหารเข้ารุมล้อมเพื่อฆ่าพระเจ้ากรุงโกศล
พญาช้างก็ห้ามเสียแล้วถวายโอวาทว่า ตั้งแต่นี้ไปพระองค์อย่า

ประมาท อย่าสำคัญว่าพระกุมารนี้ยังเป็นเด็ก แล้วจึงกลับไป.
ตั้งแต่นั้นมาราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์
ของพระโพธิสัตว์. ขึ้นชื่อว่าข้าศึกปัจจามิตรอื่น ๆ ไม่สามารถ
จะเผชิญได้เลย.

พระโพธิสัตว์ได้รับการอภิเษกในเมื่อพระชนม์ได้ ๗
พระพรรษา ทรงพระนามว่า อลีนจิตตราช ทรงปกครองราช-
สมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์จนวาระสุดท้าย
พระชนมชีพ.

พระศาสดาทรงนำอดีตนี้มา เมื่อทรงบรรลุพระสัมมา-
สัมโพธิญาณ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิต มีใจรื่นเริง
ได้จับเป็นพระเจ้าโกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราช-
สมบัติฉันใด.

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่
พึ่งอาศัย ปรารภความเพียรเจริญกุศลธรรม เพื่อ
บรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรม
เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ก็
ฉันนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อลีนจิตฺตํ นิสฺสาย ได้แก่อาศัย
พระอลีนจิตราชกุมาร. บทว่า ปหฏฺฐา มหตี จมู ความว่า เสนา
หมู่ใหญ่ต่างพากันรื่นเริงยินดีว่า เราได้ราชสมบัติสืบสายราช-
ประเพณีคืนมาแล้ว. บทว่า โกสลํ เสนาสนฺตุฏฺฐํ พระเจ้ากรุง-

โกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติของพระองค์ เสด็จมาด้วย
ทรงโลภในราชสมบัติของผู้อื่น. บทว่า ชีวคาหํ อคาหยิ ความว่า
เสนานั้นขอให้พญาช้างจับเป็นพระราชาอย่าฆ่า. บทว่า เอวํ
นิสฺสยสมฺปนฺโน ความว่า เสนานั้นฉันใด กุลบุตรแม้อื่นซึ่ง

สมบูรณ์ด้วยนิสัยได้กัลยาณมิตรซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี สาวก
ของพระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี ให้เป็นที่พึ่งอาศัย

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ก็ฉันนั้น. บทว่า ภิกขุ นี้เป็นชื่อของผู้บริสุทธิ์. บทว่า อารทฺธวีริโย
ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร คือประกอบด้วยความเพียรอัน
ปราศจากโทษสี่ประการ. บทว่า ภาวยํ กุสลํ ธมฺมํ ความว่า
เมื่อเจริญธรรมอันเป็นกุศล คือ ไม่มีอาลัย ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการ. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เจริญธรรม

นั้นเพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔. บทว่า ปาปุเณ
อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ ความว่า ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วย
อุปนิสัยอันเป็นกัลยาณมิตรนั้น เมื่อเจริญกุศลธรรมนี้ ตั้งแต่การ
เห็นแจ้งอย่างนี้ ก็จะบรรลุวิปัสสนาญาณโดยลำดับ และมรรคผล

เบื้องต่ำ ในที่สุดย่อมบรรลุพระอรหัต กล่าวคือการสิ้นสังโยชน์
ทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปของ
สังโยชน์ ๑๐. อนึ่งเพราะสังโยชน์ทั้งหมดสิ้นไป เพราะอาศัย
พระนิพพาน ฉะนั้น พระนิพพานนั้นก็เป็นอันสิ้นสังโยชน์ทั้งหมด.
อธิบายว่า ภิกษุย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหมด อัน
ได้แก่พระนิพพานด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบยอดแห่งพระธรรมเทศนา
ด้วยอมตมหานิพพาน ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงทรงประกาศ
สัจธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วจึงทรงประชุมชาดก.

ในเมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้คลายความเพียร ได้บรรลุ
พระอรหัต. พระมารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระมหามายา. พระบิดา
ได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช. พญาช้างซึ่งช่วยให้ได้ราช-
สมบัติ ได้เป็นภิกษุผู้คลายความเพียรรูปนี้. บิดาของพญาช้าง
ได้เป็นสาริบุตร. ส่วนอลีนจิตตราชกุมาร ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอลีนจิตตชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระอานนทเถระได้ผ้าสาฏกพันผืน ตรัสพระธรรมเทศนานี้มี
คำเริ่มต้นว่า เยน กามํ ปณาเมติ ดังนี้.
เรื่องพระเถระบอกธรรมภายในพระราชวังของพระเจ้า
กรุงโกศลมาแล้วในมหาสารชาดกในตอนหลัง

พระเถระเมื่อบอกธรรมอยู่ภายในพระราชวังของพระราชา
ได้มีผู้นำผ้าสาฎกพันผืน ราคาผืนละพันมาถวายแด่พระราชา
พระราชาได้พระราชทานผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนแก่พระเทวี ๕๐๐ นาง
ทุก ๆ นางเก็บผ้าสาฎกเหล่านั้นไว้ ในวันรุ่งขึ้นได้นำไปถวาย

แด่พระอานนทเถระ ตนเองห่มผ้าสาฎกเก่า ๆ ไปเฝ้าปฏิบัติ
พระราชาในตอนเช้า. พระราชาตรัสถามว่า เราให้ผ้าสาฎก
ราคาตั้งพันแก่พวกเจ้า เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่ห่มผ้าเหล่านั้น
มา. ขอเดชะฝ่าละอองทุลีพระบาท พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้า

เหล่านั้นแก่พระเถระเสียแล้วเพคะ. พระอานนทเถระรับไว้
ทั้งหมดหรือ. รับไว้ทั้งหมดเพคะ. พระราชาทรงกริ้วพระเถระว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตจีวรเพียง ๓ ผืน พระอานนท-
เถระเห็นจักทำการค้าผ้า ท่านจึงรับผ้าไว้มากมายนัก เสวย

พระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว จึงเสด็จไปพระวิหาร เสด็จไปยัง
ที่อยู่ของพระเถระ ทรงนมัสการพระเถระ แล้วประทับนั่ง
ตรัสถามว่า พระคุณเจ้า พวกหญิงในเรือนของข้าพเจ้ายังฟังธรรม
หรือเรียนธรรมในสำนักของท่านอยู่หรือ. ยังฟังธรรมหรือเรียน

ธรรมอยู่ พวกหญิงเหล่านั้นเรียนสิ่งที่ควรเรียน ฟังสิ่งที่ควรฟัง
ถวายพระพร. พวกเธอฟังเท่านั้นหรือถวายผ้านุ่งผ้าห่มแก่พระ-
คุณเจ้าด้วย. ขอถวายพระพร วันนี้พวกหญิงเหล่านั้นได้ถวาย
ผ้าสาฎกราคาหนึ่งพันประมาณ ๕๐๐ ผืน. พระคุณเจ้ารับไว้หรือ.

ขอถวายพระพรอาตมารับไว้. พระคุณเจ้าพระศาสดาทรงอนุญาต
ผ้าไว้เพียง ๓ ผืน เท่านั้นมิใช่หรือ. ขอถวายพระพรถูกแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจีวร ๓ ผืนเท่านั้นแก่ภิกษุรูป

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
หนึ่งโดยหลักการสำหรับใช้ แต่มิได้ทรงห้ามการรับ เพราะฉะนั้น
อาตมารับผ้านั้นไว้ก็เพื่อถวายแก่ภิกษุซึ่งมีจีวรเก่ารูปอื่น. ก็
ภิกษุเหล่านั้นได้ผ้าไปจากพระคุณเจ้าแล้ว จักทำอะไรกับ
จีวรผืนเก่า. ขอถวายพระพรจักทำจีวรผืนเก่าเป็นผ้าห่ม. พระ-
คุณเจ้า ผ้าห่มผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจัก

ทำเป็นผ้านุ่ง. พระคุณเจ้า ผ้านุ่งผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอ
ถวายพระพรจักทำเป็นผ้าปูนอน. พระคุณเจ้าผ้าปูนอนผืนเก่าเล่า
จักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพร จักทำเป็นผ้าปูพื้น. พระคุณเจ้า
ผ้าปูพื้นผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจักทำเป็น

ผ้าเช็ดเท้า. พระคุณเจ้าผ้าเช็ดเท้าผืนเก่าเล่า จักทำเป็นอะไร.
ขอถวายพระพร ธรรมดาของที่ถวายด้วยศรัทธาจะทำให้เสียไป
ไม่ควร เพราะฉะนั้นภิกษุทั้งหลายจักสับผ้าเช็ดเท้าผืนเก่า ผสม
กับดินเหนียวฉาบทาที่เสนาสนะ. พระคุณเจ้าของที่ถวายท่านแล้ว

ย่อมไม่ได้ความเสียหาย โดยที่สุดแม้กระทั่งผ้าเช็ดเท้าหรือ.
ขอถวายพระพรถูกแล้วแม้ผ้าที่ถวายอาตมาก็มิได้เสียหาย ย่อม
เป็นของใช้สอยทั้งนั้น. พระราชาทรงชื่นชมโสมนัสยิ่งนักรับสั่ง
ให้จ่ายผ้าอีก ๕๐๐ ผืนที่เก็บไว้ในพระตำหนักมาถวายพระเถระ

ครั้นทรงฟังอนุโมทนาแล้ว จึงทรงนมัสการพระเถระกระทำ
ประทักษิณ แล้วเสด็จกลับ.

พระเถระก็ได้ถวายผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนที่ได้มาครั้งแรกแก่
ภิกษุผู้มีจีวรเก่า. อนึ่งพระเถระมีสัทธิงวิหาริกอยู่ประมาณ
๕๐๐. บรรดาท่านเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมีอุปการะแก่
พระเถระมาก เช่นกวาดบริเวณสถานที่ เข้าไปตั้งน้ำใช้น้ำฉัน

ถวายไม้สีฟัน น้ำล้างหน้าและน้ำสรง ชำระล้างวัจจกุฏี จัด
เรือนไฟและเสนาสนะ นวดมือ นวดเท้า นวดหลังเป็นต้น. พระ-

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เถระได้ถวายผ้า ๕๐๐ ผืน ที่ได้ครั้งหลังทั้งหมดแก่ภิกษุหนุ่ม
รูปนั้นด้วยเห็นเหมาะสมว่า ภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นผู้มีอุปการะมาก.
แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้แบ่งผ้าเหล่านั้นทั้งหมด ถวายแก่ภิกษุผู้ร่วม
อุปัชฌาย์ของตน.

ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ผ้าสาฎกเหล่านั้นทั้งสิ้น ก็ตัดย้อม
แล้วนุ่งและห่มผ้ากาสายะอันมีสีดุจดอกกรรณิกา พากันเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน ยังมีการให้เห็นแก่หน้า
อยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระอริยสาวกให้เพราะเห็นแก่หน้านั้นไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระผู้เป็นธรรมภัณ-

ฑาคาริก (คลังธรรม) อุปัชฌายะของข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้
ผ้าสาฏก ๕๐๐ ผืนราคาหนึ่งพันแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แต่
ภิกษุหนุ่มรูปนั้นได้แบ่งผ้าที่ตนได้ให้แก่พวกข้าพระองค์พระ-
เจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์มิได้ให้

แก่ภิกษุเพราะเห็นแก่หน้า แต่ว่าภิกษุหนุ่มรูปนั้นมีอุปการะแก่
เธอมาก เพราะฉะนั้นเธอคิดเห็นด้วยอำนาจอุปการะของผู้อุปการะ
แก่ตนว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้มีอุปการะเราควรทำอุปการะตอบด้วย
อำนาจคุณและด้วยอำนาจการกระทำอันเหมาะสม จึงได้ให้
ด้วยความกตัญญูกตเวที ด้วยประการฉะนี้.

อันที่จริงบัณฑิตแต่ก่อนก็ยังทำอุปการะตอบแก่ผู้มี
อุปการะแก่ตนเหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรง
นำเรื่องในอดีตมาตรัสว่า

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 45, 46, 47, 48, 49, 50, 51 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร