วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 16:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 121, 122, 123, 124, 125, 126, 127 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ถาด. บทว่า สตราชิกํ ได้แก่ ประกอบด้วยลวดลายด้านหลังร้อยลาย. บทว่า
ยนฺตํ มํ ความว่า ผู้ติดตามทั้งหลาย เมื่อไรจักไม่ติดตามเราผู้ไปไพรสณฑ์
คนเดียวเท่านั้น. บทว่า สตฺตาหํ เมเฆ ได้แก่ เมื่อเมฆฝนตั้งขึ้นตลอด
เจ็ดวัน ความว่า เวลาฝนตกตลอดเจ็ดวัน. บทว่า สพฺพณฺหํ แปลว่า
ตลอดคืนตลอดวัน. บทว่า วีณรุชฺชโก แปลว่า ผู้บรรเลงพิณ. บทว่า
กามสํโยชเน ได้แก่ กามสังโยชน์. บทว่า ทิพฺเพ แปลว่า เป็นของทิพย์
บทว่า มานุเส แปลว่า เป็นของมนุษย์.

ได้ยินว่า พระมหาสัตว์บังเกิดในกาลที่คนมีอายุหมื่นปี เสวยราชสมบัติ
เจ็ดพันปี ได้ทรงผนวชในเมื่อพระชนมายุยังเหลืออยู่ประมาณสามพันปี ก็เมื่อ
จะทรงผนวช ได้เสด็จอยู่ในฆราวาสวิสัยสี่เดือน จำเดิมแต่กาลที่ได้ทอด-
พระเนตรเห็นต้นมะม่วงที่ประตูพระราชอุทยาน ทรงดำริว่า เพศแห่งบรรพชิต

ประเสริฐกว่าเพศแห่งพระราชานี้ เราจักบวช จึงตรัสสั่งราชบุรุษผู้รับใช้เป็น
ความลับว่า เจ้าจงนำผ้าย้อมฝาดและบาตรดินมาแต่ร้านตลาด อย่าให้ใคร ๆ รู้
ราชบุรุษนั้นได้ทำตามรับสั่ง พระราชาโปรดให้เรียกเจ้าพนักงานภูษามาลามา
ให้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ พระราชทานบ้านส่วยแก่ภูษามาลาแล้วโปรดให้

กลับไป ทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง ทรงพาดผืนหนึ่งที่พระ-
อังสา สวมบาตรดินในถุงคล้องพระอังสา ทรงธารพระกรสำหรับคนแก่แต่
ที่นั้น เสด็จจงกรมไปมาในปราสาทด้วยปัจเจกพุทธลีลาสิ้นวันเล็กน้อย ทรง
เปล่งอุทานว่า โอ บรรพชาเป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสุขอันประเสริฐ.

พระมหาสัตว์เสด็จประทับอยู่ในปราสาทนั้นแล ตลอดวันนั้น วัน
รุ่งขึ้นทรงปรารภจะเสด็จลงจากปราสาทในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น คราวนั้น
พระนางสีวลีเทวีตรัสเรียกสตรีคนสนิทเจ็ดร้อยเหล่านั้นมารับสั่งว่า พวกเราไม่
ได้เห็นพระราชาของเราทั้งหลาย ล่วงมาได้สี่เดือนแล้ว วันนี้เราทั้งหลายจัก

พากันไปเฝ้าท้าวเธอ ท่านทั้งหลายพึงตกแต่งด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง แสดง
เยื้องกรายมีกิริยาอาการร่าเริง เพ็ดทูล ขับร้องอย่างสตรีเป็นต้นตามกำลัง
พยายามผูกพระองค์ไว้ด้วยเครื่องผูกคือกิเลส แม้พระเทวีก็ทรงประดับตกแต่ง
พระองค์ แล้วเสด็จขึ้นปราสาทกับด้วยสตรีเหล่านั้น ด้วยทรงคิดว่า จักเฝ้า
พระราชา แม้ทอดพระเนตรเห็นพระราชาเสด็จลงอยู่ ก็ทรงจำไม่ได้ ถวาย


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บังคมพระราชาแล้วประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยทรงสำคัญว่า
บรรพชิตนี้จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามาถวายโอวาทพระราชา ฝ่ายพระมหาสัตว์
เสด็จลงจากปราสาท ฝ่ายพระเทวีเมื่อเสด็จขึ้นไปยังปราสาท ทอดพระเนตร
เห็นพระเกศาของพระราชามีสีดุจปีกแมลงภู่ บนหลังพระที่สิริไสยาสน์ และ
ห่อเครื่องราชาภรณ์ จึงตรัสว่า บรรพชิตนั้นไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า จัก

เป็นพระราชสวามีที่รักของพวกเรา มาเถิดท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายจักทูล
วิงวอนพระองค์ให้เสด็จกลับ จึงเสด็จลงจากปราสาทตามไปทันพระราชาที่หน้า
พระลาน ครั้นถึงจึงสยายเกศาเรี่ยรายเบื้องพระปฤษฎางค์ กับด้วยสตรีทั้งปวง
เหล่านั้น ข้อนทรวงด้วยพระหัตถ์ทั้งสองกราบทูลว่า พระองค์ทรงทำการ
อย่างนี้ เพราะเหตุไร พระเจ้าข้า ทรงคร่ำครวญติดตามพระราชาไปอย่าง
น่าสงสารยิ่ง.

ครั้งนั้น พระนครทั้งสิ้นก็เอิกเกริกโกลาหล ฝ่ายชาวเมืองเหล่านั้น
กล่าวว่า ได้ยินว่า พระราชาของพวกเราทรงผนวชเสียแล้ว พวกเราจักได้
พระราชาผู้ดำรงอยู่ในยุติธรรมเห็นปานนี้แต่ไหนอีกเล่า แล้วต่างร้องไห้ติดตาม
พระราชาไป.

พระบรมศาสดาเมื่อทรงทำให้แจ้งซึ่งเสียงคร่ำครวญของหญิงเหล่านั้น
และความที่พระราชาทรงละหญิงแม้ที่กำลังคร่ำครวญอยู่เหล่านั้นเสีย เสด็จไป
เพราะเหตุการณ์นั้น จึงตรัสว่า

พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ประดับด้วย
สรรพาลังการ เอวบางสำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ พูดจา
น่ารัก ประคองพาหาทั้งสองกันแสง คร่ำครวญว่า
พระองค์ละพวกข้าพระองค์ เพราะเหตุไร พระราชา

ทรงละพระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ซึ่งประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง เอวบางสำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ
พูดจาน่ารัก เสด็จไปมุ่งการผนวชเป็นสำคัญ พระราชา
ทรงละภาชนะทองคำหนักร้อยปัลละ มีลวดลายนับ
ด้วยร้อย ทรงอุ้มบาตรดินนั้นให้เป็นอันอภิเษกครั้ง
ที่สอง.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปคฺคยฺห ได้แก่ ยกขึ้นแล้ว. บทว่า
สมฺปทวี ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้ามหาชนกราชนั้นทรงทิ้ง
พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้นซึ่งรำพันเพ้ออยู่ว่า พระองค์ละพวกข้าพระองค์
เสด็จไปแต่ผู้เดียวทำไม ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความผิดอะไรหรือ พระองค์
มุ่งเสด็จไปดุจถูกท้วงว่า พระองค์ปราศจากสมบัติเสด็จออกผนวช. บทว่า ตํ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น ทรงอุ้มบาตรดินนั้นให้
เป็นอันอภิเษกครั้งที่สอง เสด็จออกอยู่.

พระนางสีวลีเทวีแม้ทรงคร่ำครวญอยู่ก็ไม่อาจยังพระราชาให้เสด็จกลับ
ได้ ทรงคิดว่า มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า แล้วตรัสสั่ง
ว่า ท่านจงจุดไฟเผาเรือนเก่าศาลาเก่า ในส่วนทิศเบื้องหน้าที่พระราชาเสด็จไป
จงรวบรวมหญ้าและใบไม้นำมาสุมให้เป็นควันมากในที่นั้น ๆ มหาเสนาคุตได้
ทำอย่างนั้น พระนางสีวลีเทวีเสด็จไปสู่สำนักของพระราชา หมอบแทบพระ-
ยุคลบาทกราบทูลความที่ไฟไหม้กรุงมิถิลา ตรัสสองคาถาว่า

คลังทั้งหลาย คือคลังเงิน คลังทอง คลังแก้ว
มุกดา คลังแก้วไพฑูรย์ คลังแก้วมณี คลังสังข์ คลัง
ไข่มุกค์ คลังผ้า คลังจันทน์เหลือง คลังหนังเสือ
คลังงาช้าง คลังพัสดุสิ่งของ คลังทองแดง คลังเหล็ก
เป็นอันมาก มีเปลวไฟเสมอเป็นอันเดียวกันอย่างน่า
กลัว แม้อยู่คนละส่วนก็ไหม้หมด ขอพระองค์โปรด
เสด็จกลับดับไฟเสียก่อน พระราชทรัพย์ของพระองค์
นั้นอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เภสฺมา แปลว่า น่ากลัว. บทว่า
อคฺคิสมาชาลา ความว่า เรือนทั้งหลายของมนุษย์ นั้น ๆ อันไฟไหม้อยู่
ไฟรุ่งเรืองด้วยเปลวเสมอเป็นอันเดียวกัน. บทว่า โกสา ได้แก่ เรือนคลัง
เงินเป็นต้น. บทว่า ภาคโส ความว่า พระนางสีวลีเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ คลังของเราทั้งหลายเหล่านั้น แม้แบ่งไว้เป็นส่วน ๆ ก็ถูกไฟไหม้

หมด. บทว่า โลหํ ได้แก่ ทองแดงเป็นต้น. บทว่า มา เต ตํ วินสฺสา
ธนํ ความว่า ขอทรัพย์ของพระองค์นั้นจงอย่าพินาศ อธิบายว่า มาเถิด
ขอพระองค์จงดับไฟนั้น พระองค์จะเสด็จไปภายหลัง พระองค์จักถูกครหาว่า
เสด็จออกไปโดยไม่เหลียวแลพระนครที่กำลัง ถูกไฟไหม้อยู่เลย พระองค์จักมี
ความวิปฏิสารเพราะความละอายนั้น มาเถิด พระองค์โปรดสั่งเหล่าอมาตย์ให้
ดับไฟเถิด พระเจ้าข้า.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะพระนางสีวลีว่า พระเทวี เธอตรัส
อะไรอย่างนั้น ความกังวลด้วยของเหล่าใดมีอยู่ ความกังวลนั้นด้วยของเหล่า
นั้นเพลิงเผาผลาญอยู่ แต่เราทั้งหลายหาความกังวลมิได้ เมื่อจะทรงแสดงข้อ
ความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า

เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดี
หนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่ ของอะไร ๆ
ของเรามิได้ถูกเผาผลาญเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ กิญฺจนํ ความว่า ความกังวล
กล่าวคือกิเลสเครื่องกังวลของเราทั้งหลายเหล่าใด ไม่มี เราทั้งหลายเหล่านั้น
มีชีวิตเป็นสุข เป็นสุขดีหนอ เพราะไม่มีความกังวลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระ
มหาสัตว์จึงตรัสว่า เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่ ของอะไร ๆ ของเรา
มิได้ถูกเผาผลาญเลย ความว่า เราไม่เห็นสิ่งของส่วนตัวของเราแม้หน่อยหนึ่ง
ถูกเผาผลาญ.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ได้เสด็จออกทางประตูทิศอุดร
พระสนมกำนัลใน ทั้งเจ็ดร้อยแม้เหล่านั้นก็ออกตามเสด็จไป พระนางสีวลีเทวี
ทรงคิดอุบายอีกอย่างหนึ่ง จึงตรัสสั่งอมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงแสดงเหตุ
การณ์ให้เป็นเหมือนโจรฆ่าชาวบ้านและปล้นแว่นแคว้น อมาตย์ได้จัดการตาม
กระแสรับสั่ง ขณะนั้น คนทั้งหลายก็แสดงพวกคนถืออาวุธวิ่งแล่นไป ๆ แต่

ที่นั้น ๆ เป็นราวกะว่าปล้นอยู่ รดน้ำครั่งลงในสรีระเป็นราวกะว่าถูกประหาร
ให้นอนบนแผ่นกระดาน เป็นราวกะว่า ตายถูกน้ำพัดไป ต่อพระราชา มหาชน
ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พวกโจรปล้นแว่นแคว้น ฆ่าข้าแผ่นดินของ
พระองค์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่ แม้พระเทวี ก็ถวายบังคม
พระราชา ตรัสคาถาเพื่อให้เสด็จกลับว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว ปล้นแว่นแคว้นของพระองค์
มาเถิด พระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด แว่น
แคว้นนี้ อย่าพินาศเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏวิโย ความว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อ
พระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่นี่แหละ เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว. บทว่า รฏฺฐํ ความว่า
พวกโจรทำลายแว่นแคว้นของพระองค์ อันธรรมรักษาแล้วเห็นปานนั้น มา
เถิด พระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด แว่นแคว้นของพระองค์นี้ จง
อย่าพินาศ.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วมีพระดำริว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ จะไม่
เกิดโจรปล้นทำลายแว่นแคว้นเลย นี้จักเป็นการกระทำของพระสีวลิเทวี เมื่อ
จะทรงทำให้พระนางจำนนต่อถ้อยคำ จึงตรัสว่า

เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดี
หนอ เมื่อแว่นแคว้นถูกโจรปล้น พวกโจรมิได้นำ
อะไร ๆ ของเราไปเลย เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล
มีชีวิตเป็นสุขดีหนอ เราทั้งหลายจักมีปีติเป็นภักษา
เหมือนเทวดาชั้นอาภัสรา ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิลุมฺปมานมฺหิ ได้แก่ ถูกโจรปล้นอยู่.
บทว่า อาภสฺสรา ยถา ความว่า พรหมเหล่านั้นเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา
ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในสมาบัติ ฉันใด เราทั้งหลายจักยังเวลาให้
ล่วงไป ฉันนั้น.

แม้เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว มหาชนก็ยังติดตามพระองค์ไปอยู่
นั่นเอง พระมหาสัตว์มีพระดำริว่า มหาชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะกลับ เราจักให้
มหาชนนั้นกลับ เมื่อทรงดำเนินทางไปได้กึ่งคาวุต พระองค์ จึงทรงหยุดพัก
ประทับยืนในทางใหญ่ ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า ราชสมบัตินี้ของใคร อมาตย์
ทั้งหลายกราบทูลว่า ของพระองค์ ท้าวเธอจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย
จงลงราชทัณฑ์แก่ผู้ทำรอยขีดนี้ให้ขาด ตรัสฉะนี้แล้วทรงเอาธารพระกรลากให้
เป็นรอยขีดขวางทาง ใคร ๆ ไม่สามารถทำรอยขีด ที่พระราชาผู้มีพระเดชา-


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นุภาพได้ทรงขีดไว้ให้ขาดลบเลือน มหาชนทำรอยขีดเหนือศีรษะคร่ำครวญกัน
อย่างเหลือเกิน แม้พระนางสีวลีเทวีก็ไม่ทรงสามารถทำรอยขีดนั้นให้เลือนหาย
ได้ ทอดพระเนตรเห็นพระราชาหันพระปฤษฏางค์เสด็จไปอยู่ ไม่สามารถจะ
กลั้นโศกาดูร ก็ข้อนพระอุระล้มขวางทางใหญ่กลิ้งเกลือกไปมาล่วงเลยรอยขีด
นั้นเสด็จไป มหาชนเข้าใจว่า เจ้าของรอยขีดได้ทำลายเจ้าของรอยขีดแล้ว จึง

พากันโดยเสด็จไปตามมรรคาที่พระเทวีเสด็จไป พระมหาสัตว์ทรงบ่ายพระ
พักตร์เสด็จไปหิมวันตประเทศทางทิศอุดร ฝ่ายพระนางสีวลีเทวีก็พาเสนาพล
พาหนะทั้งปวง ตามเสด็จไปด้วย พระราชาไม่อาจที่จะให้มหาชนกลับได้ เสด็จ
ไปสิ้นทางประมาณหกสิบโยชน์.

ในกาลนั้น มีดาบสรูปหนึ่งชื่อนารทะ อยู่ที่สุวรรณคูหาในหิมวันต
ประเทศ ให้เวลาล่วงไปด้วยสุขเกิดแต่ฌานอันสัมปยุตด้วยอภิญญาห้า ล่วง
เจ็ดวันก็ออกจากสุขเกิดแต่ฌาน เปล่งอุทานว่า โอ เป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง
ดาบสนั้นตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุว่า ใคร ๆ ในพื้นชมพูทวีปแสวงหา
สุขนี้ มีบ้างหรือหนอ ก็เห็นพระมหาชนกผู้พุทธางกูร จึงคิดว่า พระมหา-

ชนกนั้นเป็นพระราชาออกมหาภิเนษกรมณ์ ไม่สามารถจะยังมหาชนราชบริ-
พาร มีพระนางสีวลีเทวีเป็นประมุขให้กลับพระนครได้ ข้าราชบริพารนั้นพึง
ทำอันตรายแก่พระองค์ เราจักถวายโอวาทแก่พระองค์ เพื่อให้ทรงสมาทาน
มั่น โดยยิ่งโดยประมาณ จึงไปด้วยกำลังฤทธิ์ สถิตอยู่ในอากาศตรงเบื้องพระ
พักตร์พระราชา กล่าวคาถาให้พระองค์เกิดอุตสาหะว่า

ความกึกก้องของประชุมชนใหญ่นี้ เพื่ออะไร
นั่นใครหนอมากับท่าน เหมือนเล่นกันอยู่ในบ้าน
สมณะ อาตมาขอถามท่าน ประชุมชนนี้แวดล้อมท่าน
เพื่ออะไร.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมฺเหโส ความว่า ความกึกก้องแห่ง
ประชุมชนหมู่ใหญ่มีโขลงช้างเป็นต้นนี้ ในเพราะเหตุอะไร. บทว่า กานุ
คาเมว กีฬิยา ความว่า นั่นใครหนอมากับท่าน ราวกะว่าเล่นกีฬากันอยู่
ในบ้าน. บทว่า กตฺเถโส ได้แก่ มหาชนนี้เพื่ออะไร. บทว่า อภิสโฏ
ความว่า มหาชนประชุมกันแวดล้อมท่านมา นารทดาบสถามดังนี้.
พระราชาตรัสตอบว่า

ประชุมชนนี้ตามข้าพเจ้า ผู้ละพวกเขาไปในที่นี้
ข้าพเจ้าผู้ล่วงสีมาคือกิเลสไปเพื่อถึงมโนธรรม กล่าว
คือญาณของมุนีผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย้าเรือน ผู้เจือด้วย
ความเพลิดเพลินทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ
อยู่ ท่านรู้อยู่ จะถามทำไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมํ ความว่า ข้าพเจ้าละชนไป ซึ่ง
ข้าพเจ้านั้นผู้ละไป. บทว่า เอตฺถ ความว่า มหาชนนี้ห้อมล้อมแล้ว คือ
ติดตามมาในที่นี้. บทว่า สีมาติกฺกมนํ ยนฺตํ ความว่า ทำไมท่านจึงถาม
ข้าพเจ้า ผู้ล่วงสีมาคือกิเลส ไปคือบวชเพื่อถึงมโนธรรมกล่าวคือญาณของมุนี

ผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย้าเรือน. บทว่า มิสฺสํ นนฺทีหิ คจฺฉนฺตํ ความว่า
ท่านรู้หรือว่าไม่รู้ว่าข้าพเจ้าบวชแล้ว จึงถามข้าพเจ้าผู้ยังไม่ละความเพลิดเพลิน
เจือด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ ไปอยู่ คือท่านไม่ได้ฟัง
ข่าวบ้างหรือว่า ได้ยินว่า พระมหาชนกทิ้งวิเทหรัฐบวช.

ลำดับนั้น นารทดาบสกล่าวคาถาอีก เพื่อต้องการให้พระมหาสัตว์
สมาทานมั่น ว่า
พระองค์เพียงแต่ทรงสรีระนี้ จะสำคัญว่า เรา
ข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ จะพึง
ข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หาได้ไม่ เพราะยังมีอัน-
ตรายอยู่มาก.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสฺสุ ติณฺโณ อมญฺญิตฺโถ ความว่า
ท่านทรงสรีระนี้ คือ ครองบรรพชิตบริขารและผ้ากาสาวะ อย่าได้เข้าใจว่า
เราข้ามแล้ว คือ ก้าวล่วงแล้วซึ่งแดนคือกิเลส ด้วยเหตุเพียงถือเพศบรรพชิตนี้.
บทว่า อติรเณยฺยมิทํ ความว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้ ไม่ใช่จะข้ามได้ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้. บทว่า พหู หิ ปริปนฺถโย ความว่า เพราะว่าอันตรายคือ
กิเลสของท่าน ที่ตั้งกั้นทางสวรรค์ ยังมีอยู่มาก

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะ ซึ่งกามทั้งหลาย ใน
มนุษยโลกอันบุคคลเห็นแล้ว ก็หาไม่เลย ในเทวโลก
อันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หาไม่ อันตรายอะไรหนอจะ
พึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ซึ่งมีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เนว ทิฏฺเฐ นาทิฏฺเฐ ความว่า
ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะซึ่งกามทั้งหลาย ในมนุษยโลกอันบุคคลเห็นแล้ว
ก็หามิได้เลย ในเทวโลกอันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หามิได้เลย อันตรายอะไรหนอ
จะพึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้ พระมหาสัตว์ตรัสดังนี้.

ลำดับนั้น นารทดาบสเมื่อจะแสดงอันตรายทั้งหลายแก่พระมหาสัตว์
นั้น จึงกล่าวคาถาว่า
อันตรายมากทีเดียว คือ ความหลับ ความ
เกียจคร้าน ความง่วงเหงา ความไม่ชอบใจ ความ
เมาอาหาร ตั้งอยู่ในสรีระ อาศัยอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิทฺทา ได้แก่ หลับอย่างลิง. บทว่า
ตนฺทิ ได้แก่ ความเกียจคร้าน. บทว่า อรติ ได้แก่ ความกระสัน. บทว่า
ภตฺตสมฺมโท ได้แก่ ความกระวนกระวายเพราะภัตตาหาร ท่านอธิบายไว้
ดังนี้ ดูก่อนสมณะ พระองค์เป็นผู้มีพระรูปงามน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณดุจ
ทองคำ เมื่อพระองค์รับสั่งว่า อาตมาละราชสมบัติออกทรงผนวช คนทั้งหลาย

จักถวายบิณฑบาตอันโอชาประณีตแก่พระองค์ พระองค์ทรงรับพอเต็มบาตร
เสวยพอควรแล้วเข้าสู่บรรณศาลา บรรทม ณ ที่ลาดไม้ หลับกรนอยู่ตื่นในระหว่าง
พลิกกลับไปกลับมา ทรงเหยียดพระหัตถ์และพระบาท ลุกขึ้นจับราวจีวร
เกียจคร้านไม่จับไม้กวาดกวาดอาศรม ไม่นำน้ำดื่มมา บรรทมหลับอีก ตรึก


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ถึงกามวิตก กาลนั้นก็ไม่พอพระทัยในบรรพชา ความกระวนกระวายเพราะ
ภัตตาหารจักมีแด่พระองค์ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อาวสนฺติ สรีรฏฺฐา
ความว่า อันตรายเหล่านี้มีประมาณเท่านี้ ตั้งอยู่ในสรีระของท่านอาศัยอยู่ คือ
บังเกิดในสรีระของท่านนี่แหละ นารทดาบสแสดงดังนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะตรัสชมนารทดาบสนั้น จึงตรัสคาถาว่า
ข้าแต่พราหมณ์ ท่านผู้เจริญพร่ำสอนข้าพเจ้า
ดีนักหนา ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์นี่แหละ ข้าแต่
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณ อนุสาสสิ ความว่า
ข้าแต่พราหมณ์ ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้าดีนักหนา.
ลำดับนั้น นารทดาบสกล่าวว่า

ชนทั้งหลายรู้จักอาตมาโดยนามว่า นารทะ โดย
โคตรว่า กัสสปะ ดังนี้ อาตมามาในสถานใกล้พระ-
องค์ผู้เจริญ ด้วยรู้สึกว่า การสมาคมด้วยสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ พระองค์จงทรง
ยินดีในบรรพชานี้ วิหารธรรมจงเกิดแก่พระองค์ กิจ
อันใดยังพร่องด้วยศีล การบริกรรมและฌาน พระองค์

จงทรงบำเพ็ญกิจอันนั้นให้บริบูรณ์ จงประกอบด้วย
ความอดทนและความสงบระงับ อย่าถือพระองค์ว่า
เป็นกษัตริย์ จงทรงคลายออกเสียซึ่งความยุบลงและ
ความฟูขึ้น จงทรงกระทำโดยเคารพซึ่งกุศลกรรมบถ
วิชชาและสมณธรรม แล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิทู ความว่า ชนทั้งหลายรู้จักอาตมา
โดยชื่อและโคตรว่า กัสสปะ. บทว่า สพฺภิ ความว่า ขึ้นชื่อว่าการสมาคม
กับด้วยบัณฑิตทั้งหลายเป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะเหตุนั้น อาตมา
จึงมา. บทว่า อานนฺโท ความว่า ความเพลิดเพลิน คือความยินดี ความ
ชอบใจ ในบรรพชานี้ จงมีแก่ท่านนั้น อย่าเบื่อหน่าย. บทว่า วิหาโร

ได้แก่ พรหมวิหารธรรมสี่อย่าง. บทว่า อุปวตฺตตุ ได้แก่ จงบังเกิด.
บทว่า ยทูนํ ความว่า กิจด้วยศีล ด้วยกสิณบริกรรม ด้วยฌานนั้นใดยัง
หย่อน พระองค์จงยังกิจนั้นให้บริบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า
ขนฺตยา อุปสเมน จ ความว่า ท่านอย่ามีมานะว่าเราเป็นพระราชาบวช

จงเป็นผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติและความสงบระงับกิเลส. บทว่า ปสารย
ความว่า อย่ายกตน อย่าถือพระองค์. บทว่า สนฺนตฺตญฺจ อุนฺนตฺตญฺจ
ความว่า จงคลายอวมานะที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เรามีชาติตระกูลหรือ
และอติมานะที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่าเราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า กมฺมํ

ได้แก่ กุศลกรรมบถสิบ. บทว่า วิชฺชํ ได้แก่ ญาณที่เป็นไปในอภิญญาห้า .
และสมาบัติแปด. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ สมณธรรมกล่าวคือกสิณบริกรรม.
บทว่า สกฺกตฺวาน ปริพฺพช ความว่า จงทำโดยเคารพซึ่งคุณธรรมเหล่านั้นเป็น
ไปหรือจงทำโดยเคารพซึ่งคุณธรรมเหล่านี้ สมาทานให้มั่นบำเพ็ญพรหมจรรย์
คือจงรักษาบรรพชา อย่าเบื่อหน่าย.

นารทดาบสนั้นถวายโอวาทพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว กลับไปที่อยู่ของ
ตนทางอากาศ.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อนารทดาบสไปแล้ว มีดาบสอีกรูปหนึ่งชื่อมิคาชินะ ออกจาก
สมาบัติตรวจดูโลกเห็นพระมหาสัตว์ จึงมาแล้วดุจกัน ด้วยคิดว่า เราจักถวาย
โอวาทพระมหาสัตว์เพื่อประโยชน์ให้มหาชนกลับพระนคร จึงสถิตอยู่ ณ
อัมพรวิถี สำแดงตนให้ปรากฏแล้วกล่าวว่า

พระองค์ทรงละช้างม้าชาวนครและชาวชนบท
เป็นอันมาก ผนวชแล้วทรงยินดีในบาตร ชาวชนบท
มิตรอมาตย์และพระญาติเหล่านั้นได้กระทำความผิด
ระหว่างพระองค์ละกระมัง เหตุไร พระองค์จึงละอิส-
ริยสุขมาชอบพระทัยซึ่งบาตรนั้น.

บทว่า กปลฺเล ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมายถึงบาตรดิน มีคำ
อธิบายว่า เมื่อมิคาชินดาบสถามถึงเหตุแห่งบรรพชาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อน
มหาชนก ท่านละความเป็นใหญ่เห็นปานนี้ผนวชแล้ว ท่านยินดีในบาตรดินนี้.
บทว่า ทูภึ ความว่า พวกเขาเหล่านั้นได้กระทำความผิดอะไร ๆ ในระหว่าง
ต่อท่านบ้างหรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงละอิสริยสุขเห็นปานนี้ มาชอบพระทัย
บาตรดินใบนี้เท่านั้น.

แต่นั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้ามิได้ผจญซึ่งญาติ
ไร ๆ โดยส่วนเดียวในกาลไหน ๆ โดยอธรรม แม้
ญาติทั้งหลายก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มิคาชิน ได้แก่ ข้าแต่ท่านมิคาชินะ
ผู้เจริญ. บทว่า ชาตุจฺเฉ แปลว่า โดยส่วนเดียวนั่นเทียว. บทว่า อหํ
กิญฺจิ กุทาจนํ ความว่า ข้าพเจ้ามิได้ผจญซึ่งญาติไร ๆ ในกาลไร ๆ โดย
อธรรม แม้ญาติเหล่านั้นก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้าโดยอธรรม อธิบายว่า ไม่มี
ญาติคนไหนได้กระทำความผิดในข้าพเจ้า ด้วยประการฉะนี้.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระมหาสัตว์ทรงห้ามปัญหาแห่งมิคาชินดาบสนั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งการทรงผนวชจึงตรัสว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้าเห็นประเพณีของ
โลก เห็นโลกถูกกิเลสขบกัด ถูกกิเลสทำให้เป็นดัง
เปือกตม จึงได้ทำเหตุนี้ให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบว่า
ปุถุชนจมอยู่แล้วในกิเลสวัตถุใด สัตว์เป็นอันมากย่อม
ถูกประหารและถูกฆ่าในเพราะกิเลสวัตถุนั้น ดังนี้จึง
ได้บวชเป็นภิกษุ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกวตฺตนฺตํ ความว่า ข้าพเจ้าได้เห็น
วัตร คือ ประเพณีของสัตวโลกผู้โง่เขลา ผู้ไปตามวัฏฏะ เพราะเห็นดังนั้น
ข้าพเจ้าจึงบวช พระมหาสัตว์ทรงแสดงดังนี้. บทว่า ขชฺชนฺตํ กทฺทมีกตํ
ความว่า เห็นสัตวโลกถูกกิเลสขบกัดและถูกกิเลสเหล่านั้นแหละทำให้เป็นดัง
เปือกตม. บทว่า ยตฺถ สนฺโน ความว่า ปุถุชนจม คือ ข้อง คือ จมลง

ในกิเลสวัตถุใด สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมากข้องอยู่ในกิเลสวัตถุนั้น ย่อมถูกฆ่าบ้าง
ย่อมติดอยู่ในเครื่องผูกมีโซ่และเรือนจำเป็นต้นบ้าง. บทว่า เอตาหํ ความว่า
หากแม้ข้าพเจ้าจักติดอยู่ในกิเลสวัตถุนี้ ข้าพเจ้าก็จักถูกฆ่าและถูกจองจำเหมือน
สัตว์เหล่านี้ ดังนั้นจึงทำเหตุการณ์นั่นแหละเป็นอุปมาแห่งตนแล้วบวชเป็นภิกษุ
พระมหาสัตว์เรียกดาบสนั้นว่า มิคาชินะ พระมหาสัตว์ทรงทราบชื่อของดาบส
นั้นได้อย่างไร ทรงทราบ เพราะทรงถามไว้ก่อนในเวลาปฏิสันถาร.

ดาบสใคร่จะฟังเหตุการณ์นั้นโดยพิสดาร จึงกล่าวคาถาว่า
ใครหนอเป็นผู้จำแนกแจกอรรถสั่งสอนพระองค์
คำอันสะอาดนี้เป็นคำของใคร ดูก่อนพระองค์ผู้เป็น
จอมทัพ เพราะพระองค์มิได้ตรัสบอกสมณะผู้มีวัตร
ปฏิบัติก้าวล่วงทุกข์ นอกจากกัปปสมณะหรือวิชชสม-
ณะ.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺเสตํ ความว่า คำอันสะอาดนี้ คือ
ที่ท่านกล่าว เป็นคำของใคร. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ ดาบสผู้เป็นกรรมวาที
ผู้ได้อภิญญาสมาบัติอันสำเร็จเป็นไปแล้ว. บทว่า วิชฺชํ ได้แก่ พระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยวิชชาคืออาสวักขยญาณ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ มิคาชิน-

ดาบสเรียกพระเจ้ามหาชนกราชว่า รเถสภ เพราะพระเจ้ามหาชนกราชมิได้
ตรัสบอกสมณะผู้มีวัตรปฏิบัติโดยประการที่ก้าวล่วงทุกข์ได้ นอกจากกัปปสมณะ
หรือวิชชสมณะ คือเว้นโอวาทของท่านเสีย ใคร ๆ ได้ฟังคำของท่านเหล่านั้น
แล้วสามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างนั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ใครหนอเป็นผู้จำแนก
แจกอรรถสั่งสอนพระองค์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะดาบสนั้นว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ถึงข้าพเจ้าจะเคารพสมณะ
หรือพราหมณ์โดยส่วนเดียวก็จริง แต่ก็ไม่เคยเข้าใกล้
ไต่ถามอะไร ๆ ในกาลไหน ๆ เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกตฺวา ได้แก่ บูชาเพื่อต้องการจะ
ถามคุณแห่งการบรรพชา. บทว่า อนุปาวิสึ ความว่า พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าใกล้ใคร ๆ ไม่ถามสมณะไร ๆ เลย เ พราะพระมหาสัตว์นี้
แม้ฟังธรรมในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่ถามคุณแห่งการ
บรรพชาโดยเฉพาะในกาลไหน ๆ เลย ฉะนั้นท่านจึงตรัสอย่างนี้.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงตรัสคาถาเพื่อทรงแสดง
เหตุที่ทรงผนวชตั้งแต่ต้นว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นรุ่งเรืองด้วยสิริ
ไปยังพระราชอุทยานด้วยอานุภาพใหญ่ เมื่อเจ้าพนัก-
งานกำลังขับเพลงขับและประโคมดนตรีกันอยู่ ข้าพเจ้า
ได้เห็นมะม่วงมีผลภายนอกกำแพงพระราชอุทยานอัน
กึกก้องด้วยเสียงดนตรี พร้อมแล้วด้วยคนร้องและคน
ประโคม ข้าพเจ้าละต้นมะม่วงอันมีสิรินั้นซึ่งเหล่า

มนุษย์ผู้ต้องการผลฟาดตีอยู่ ลงจากคอช้างเข้าไปโคน
ต้นมะม่วง ซึ่งมีผลและไม่มีผล เห็นต้นมะม่วงที่มีผล
ถูกคนเบียดเบียนกำจัดแล้ว ปราศจากใบและก้าน แต่
มะม่วงอีกต้นหนึ่งมีใบเขียวชอุ่มน่ารื่นรมย์ ศัตรูทั้ง-
หลายจักฆ่าพวกเราผู้มีอิสระ มีศัตรูดุจหนามเป็นอัน
มาก เหมือนต้นมะม่วงมีผล ถูกคนหักโค่นฉะนั้น

เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา คน
มีทรัพย์ถูกฆ่าเพราะทรัพย์ ใครเล่าจักฆ่าผู้ไม่มีเหย้า
เรือน ผู้ไม่มีสันถวะคือตัณหา มะม่วงต้นหนึ่งมีผล
อีกต้นหนึ่งไม่มีผล ทั้งสองต้นนั้นเป็นผู้สั่งสอน
ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วคฺคุสุ ความว่า เมื่อดนตรีมีเสียง
ไพเราะอันบุคคลประโคมอยู่. บทว่า ตุริยตาลิตสํฆุฏฺเฐ ความว่า ในพระราช
อุทยานที่กึกก้องด้วยเสียงดนตรีทั้งหลาย. บทว่า สมฺมาตาลสมาหิเต ความว่า
ประกอบด้วยคนขับร้องและคนประโคมทั้งหลาย. บทว่า สมิคาชิน ความว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นได้เห็นแล้ว. บทว่า ผลึ อมฺพํ ความว่า

มะม่วงมีผลคือต้นมะม่วงที่ผลิตผล. บทว่า ติโรจฺฉทํ ความว่า ได้เห็นต้น
มะม่วงภายนอกกำแพง คือ เกิดอาศัยอยู่นอกกำแพงซึ่งตั้งอยู่ในภายในพระราช
อุทยานนั่นแหละ. บทว่า ตุทมานํ แปลว่า ถูกฟาดอยู่. บทว่า โอโรหิตฺวา
ความว่า ลงจากคอช้าง. บทว่า วินลีกตํ แปลว่า ทำให้ปราศจากใบไร้ก้าน.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เอวเมว แปลว่า ฉันนั้นนั่นเทียว. บทว่า ผโล แปลว่า สมบูรณ์
ด้วยผล. บทว่า อชินมฺหิ ได้แก่ เพื่อต้องการหนัง คือ มีหนังเป็นเหตุ.
บทว่า ทนฺเตสุ ความว่า ถูกฆ่าเพราะงาทั้งสองของตน คือถูกฆ่าเพราะงา
เป็นเหตุ. บทว่า หนฺติ แปลว่า ถูกฆ่า. บทว่า อนิเกตมสนฺถวํ ความว่า

ก็ผู้ใดชื่อว่า อนิเกตะ เพราะละเหย้าเรือนบวช ชื่อว่าอสันถวะ เพราะไม่มี
สันถวะ คือ ตัณหาซึ่งเป็นวัตถุแห่งสังขารทั้งปวง อธิบายว่า ใครจักฆ่าผู้นั้น
ซึ่งไม่มีเหย้าเรือนไม่มีสันถวะ. บทว่า เตสตฺถาโร ความว่า พระมหาสัตว์
กล่าวว่า ต้นไม้สองต้นเหล่านั้นเป็นผู้สั่งสอนเรา.

มิคาชินดาบสได้ฟังดังนั้นแล้วจึงถวายโอวาทแด่พระราชาว่า ขอพระ-
องค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด มหาบพิตร แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตนทีเดียว.
เมื่อมิคาชินดาบสไปแล้ว พระนางสีวลีเทวีหมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระราชา กราบทูลว่า

ชนทั้งปวงคือกองช้าง กองม้า กองรถ กอง
เดินเท้า ตกใจว่าพระราชาทรงผนวชเสียแล้ว ขอพระ-
องค์โปรดทำให้ชุมชนอุ่นใจ ตั้งความคุ้มครองไว้
อภิเษกพระโอรสในราชสมบัติแล้ว จึงทรงผนวชต่อ
ภายหลังเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺยถิโต ได้แก่ กลัว คือ หวาดสะดุ้ง.
บทว่า ปฏิจฺฉทํ ความว่า ตั้งกองอารักขาไว้คุ้มครองมหาชนที่สะดุ้งกลัวว่า
พระราชามิได้ทรงเหลียวแลพวกเราที่ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกปล้นบ้าง. บทว่า
ปุตฺตํ ความว่า ขอพระองค์ได้อภิเษกพระโอรสคือทีฆาวุกุมารไว้ในราชสมบัติ
แล้ว จึงทรงผนวชต่อภายหลังเถิด.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 121, 122, 123, 124, 125, 126, 127 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร