วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 07:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 74, 75, 76, 77, 78, 79, 80 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ความว่า หมกไหม้อยู่ในนรกเถ้ารึง อันตั้งอยู่ในที่ประมาณสามร้อยโยชน์ตลอดกัป.
บทว่า ผุลฺลิงฺคา ได้แก่ ถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว. ได้ยินว่า
เมื่อพระเจ้าทัณฑกีราชนั้นจมลงในกุกกุลนรกอันร้อนนั้น เถ้ารึงย่อมเข้าไปทาง
ทวารทั้งเก้า ถ่านเพลิงก้อนโต ๆ ตกลงบนศีรษะ ในกาลเมื่อถ่านเพลิงตกลง
บนศีรษะของพระราชานั้น สรีระทั้งสิ้นลุกโพลงเหมือนต้นไม้ติดเพลิงฉะนั้น
ทุกขเวทนามีกำลัง ย่อมเป็นไป พระราชานั้น เมื่อไม่สามารถจะอดกลั้นได้ ก็
ร้องเอ็ดอึงไป. ท่านสรภังคศาสดาแยกแผ่นดินออก แสดงให้เห็นพระราชา ซึ่ง
หมกไหม้อยู่ในกุกกุลนรกนั้นอย่างนั้น มหาชนก็ถึงความสะดุ้งกลัว พระมหาสัตว์
รู้ว่ามหาชนกลัวยิ่งนัก จึงบันดาลให้นรกนั้นอันตรธานไป.

บทว่า ธมฺมํ ภณนฺเต ความว่า ผู้กล่าวธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐.
บทว่า สมเณ ได้แก่ ท่านผู้ลอยบาปแล้ว. บทว่า อทูสเก ได้แก่ ผู้ไร้ความผิด.
บทว่า นาลิกีรํ ได้แก่ พระราชาผู้มีพระนามอย่างนี้. บทว่า ปรตฺถ
ความว่า ผู้บังเกิดแล้วในปรโลก คือ นรก. บทว่า สงฺคมฺม ความว่า
สุนัขทั้งหลายตัวใหญ่ ๆ มาจากทางโน้น ทางนี้ ประชุมกัน กัดกินพระเจ้า-
นาลิกีรราชนั้น.

ได้ยินว่า เมื่อพระราชาพระนามว่า นาลิกีรราช เสวยราชสมบัติอยู่ใน
ทันตปุรนคร ในกาลิงครัฐนั้น พระมหาดาบสองค์หนึ่งแวดล้อมด้วยดาบสห้า
ร้อยมาจากป่าหิมพานต์ พักอยู่ในพระราชอุทยาน แสดงธรรมแก่มหาชน. พวก
อำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ดาบสผู้มีธรรม อยู่ในพระราชอุทยาน ก็พระราชา
เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ครองราชย์โดยอธรรม. เมื่ออำมาตย์ทั้งหลายพากัน

สรรเสริญพระดาบส ท้าวเธอจึงทรงพระดำริว่า แม้เราก็จักฟังธรรม แล้ว
เสด็จไปยังพระราชอุทยาน ทรงไหว้พระดาบสแล้วประทับนั่งอยู่. พระดาบส
เมื่อจะทำปฏิสัณฐานกับพระราชา จึงกราบทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร
พระองค์ทรงครองราชย์โดยธรรมหรือ ไม่ทรงเบียดเบียนมหาชนดอกหรือ?

พระราชาทรงกริ้วถ้อยคำของพระดาบส ทรงดำริว่า ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
ชะรอยชฎิลโกงนี้จะกล่าวแต่โทษของเราเท่านั้น ในสำนักของทวยนาคร
ช่างเถิด เราจักทำให้สาสม แล้วตรัสนิมนต์ว่า พรุ่งนี้ นิมนต์พวกท่านมายัง
ประตูวังของข้าพเจ้าดังนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้เอาคูถเก่า ๆ บรรจุตุ่ม

จนเต็ม เมื่อพวกดาบสมาแล้ว ตรัสสั่งให้เอาคูถใส่ภิกขาภาชนะของดาบสเหล่านั้น
จนเต็ม ให้ปิดพระทวารเสีย แล้วตรัสสั่งให้คนถือสาก และท่อนเหล็กทุบศีรษะ


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ของพระฤาษีทั้งหลาย ให้จับชฎาลากมาให้สุนัขกัดกิน จึงเข้าไปสู่แผ่นดินซึ่ง
แยกออก ณ ที่นั้น บังเกิดในสุนขมหานรก. สรีระของพระราชาในนรกนั้น
ได้มีสามคาวุต. ลำดับนั้น สุนัขทั้งหลายตัวโต ๆ ขนาดเท่าช้างอย่างใหญ่
มีวรรณะ ๕ ประการ ติดตามกัดพระราชานั้น สลัดให้ล้มลง ณ แผ่นดินเหล็ก
อันลุกโพลง ประมาณเก้าโยชน์ แล้วทิ้งเอา ๆ จนเต็มปาก เคี้ยวกินพระราชา
ซึ่งดิ้นรนอยู่. พระมหาสัตว์แยกแผ่นดินออกเป็นสองภาค แล้วแสดงให้เห็น
นรกนั้น รู้ว่ามหาชนหวาดกลัว จึงบันดาลให้อันตรธานไป.

บทว่า อถชฺชุโน ได้แก่ พระราชาทรงพระนามว่า สหัสสพาหุ.
บทว่า องฺคีรสํ ได้แก่ ท่านอังคีรสผู้มีชื่ออย่างนี้ เพราะเปล่งรัศมีออกจาก
อวัยวะ. บทว่า เห€ยิตฺวา ความว่า พระราชาอัชชุนะเบียดเบียนท่าน
อังคีรส คือเอาเกาทัณฑ์อันอาบยาพิษ ยิงให้ถึงความตาย. ได้ยินว่า พระเจ้า

อัชชุนะนั้น เมื่อเสวยราชย์ในเกกราชธานี เขตมหิสกรัฐ เสด็จไปล่าเนื้อ
ครั้นฆ่าเนื้อได้แล้ว ก็ชอบประพฤติเสวยเนื้อสุกในถ่านเพลิง วันหนึ่ง พระองค์
ทรงทำซุ้มดักในสถานที่เนื้อจะมา ประทับยืนแลดูเนื้อทั้งหลายอยู่ คราวนั้น
ท่านอังคีรสดาบส ขึ้นอยู่บนต้นหมากเม่าต้นหนึ่งใกล้ ๆ พระราชานั้น กำลัง

เก็บผลไม้อยู่ ปล่อยกิ่งที่เก็บผลแล้วลงไป. เพราะเสียงกิ่งไม้ที่ท่านปล่อยไป
ฝูงเนื้อที่มาถึงสถานที่นั้นแล้ว จึงหนีไป. พระราชาทรงกริ้ว เอาลูกศรมียาพิษ
ยิงพระดาบส. พระดาบสตกกลิ้งลงมา ศีรษะกระแทกตอตะเคียน ทำกาลกิริยา
ลงที่ปลายหลาวแหลมนั่นเอง. ทันใดนั้น พระราชาก็เข้าไปสู่แผ่นดิน ซึ่งแยก

ออกเป็นสองภาค บังเกิดในสัตติสูลนรก. สรีระได้มีประมาณ ๓ คาวุต นาย
นิรยบาลในนรกนั้น ทุบตีด้วยอาวุธอันลุกโพลง บังคับให้ขึ้นภูเขาเหล็กอัน
ลุกโพลง. ในเวลาที่พระราชานั้นสถิตเหนือยอดบรรพต ลมย่อมประหาร.
พระราชาก็พลัดตกลงด้วยลมพัด. ขณะนั้น หลาวเหล็กอันลุกโพลง ขนาดลำตาล

อย่างใหญ่ผุดขึ้นภายใต้แผ่นดินเหล็กอันลุกโพลงหนาเก้าโยชน์. พระราชานั้น
เอาศีรษะกระแทกยอดปลายหลาวนั่นเอง แล้วถูกหลาวเสียบตรึงไว้ ขณะนั้น
แผ่นดินก็ลุกโพลง หลาวก็ลุกโพลง สรีระของพระราชานั้นก็ลุกโพลง พระราชา
ร้องเอ็ดอึง ถูกเผาไหม้อยู่ในนรกนั้น พระมหาสัตว์บันดาลให้แผ่นดินแยกออก
เป็นสองภาค แล้วชี้ให้เห็นนรกนั้น รู้ว่ามหาชนหวาดกลัว จึงบันดาลให้
อันตรธานไป.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ขณฺฑโส ความว่า พระเจ้ากลาพุได้ให้เชือดเฉือนมือเท้าทั้ง ๔
หูและจมูกของขันติวาทีดาบส ทำให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่. บทว่า อทูสกํ ได้แก่
ผู้หาความผิดมิได้. พระเจ้ากลาพุ ครั้นให้เชือดเฉือนอย่างนั้นแล้ว ตรัสสั่งให้
เฆี่ยนด้วยหวายเส้นควบสำหรับประหารพันที ให้จับชฎาดาบสคร่ามาให้นอนคู้

แล้วเอาพระปราษณีประหารที่หลัง ทำให้ถึงทุกขเวทนาใหญ่. บทว่า กลาพุวีจึ
ความว่า พระเจ้ากลาพุนั้นก็เข้าถึงอเวจีนรก. บทว่า กฏุกํ ความว่า เข้าถึง
นรกอันมีเวทนากล้า เห็นปานนี้ ถูกเผาไหม้อยู่ในระหว่างเปลวไฟทั้ง ๖. อนึ่ง
เรื่องของพระเจ้ากลาพุ โดยพิสดาร ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในขันติวาทีชาดก
นั่นเอง.

บทว่า อฺานิ ปาปิฏฺ€ตรานิ เจตฺถ ความว่า กุลบุตรผู้เป็น
บัณฑิต ฟัง (นรกเหล่านี้) และนรกอื่นอันหยาบช้ากว่านรกเหล่านี้. บทว่า
ธมฺมฺจเร ความว่า ดูก่อนท้าวสักกเทวราช กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตรู้ชัดว่า
นรกทั้ง ๔ เหล่านี้ และพระราชา ๔ องค์เหล่านี้ บังเกิดในนรกทั้งสิ้นเท่านี้

ก็หามิได้ ที่แท้แม้นรกแม้อื่น และพระราชาแม้อื่น ก็บังเกิดแล้วในนรก
เหมือนกัน ดังนี้แล้ว พึงประพฤติธรรมในสมณพราหมณ์ คือถวายจตุปัจจัย
จัดการรักษาป้องกันโดยชอบธรรม.

เมื่อพระมหาสัตว์ แสดงสถานที่บังเกิดของพระราชาทั้งสี่อย่างนี้แล้ว
พระราชาทั้ง ๓ พระองค์ ก็สิ้นความสงสัย. ต่อแต่นั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะ
ตรัสถามปัญหาที่เหลือ ๔ ข้อต่อไป จึงตรัสคาถา ความว่า
ข้าพเจ้าขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอ-
ถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหา
นั้นด้วย.

บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล เรียกคนเช่นไร
ว่ามีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ สิริย่อมไม่ละคน
เช่นไรหนอ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตํวิธํ โน สิริ โน ชหาติ ความว่า
สิริ อันบุคคลได้แล้วย่อมไม่ละบุรุษเช่นไรกัน?


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาของท้าวสักกเทวราช
ได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า
บุคคลใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจา
และใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไร ๆ ไม่พูดพล่อย ๆ
เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้นว่าเป็นผู้
มีศีล.

บุคคลใด คิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำ
กรรมอันหยาบช้า อันหาประโยชน์มิได้ ไม่ปิดทางแห่ง
ประโยชน์ อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้น
ว่ามีปัญญา.
บุคคลใดแล เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที มีปัญญา
มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของ
มิตร ผู้ตกยาก โดยเต็มใจ บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า
สัตบุรุษ.

บุคคลใดประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งปวงเหล่านี้
คือเป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความ
ประสงค์ สิริย่อมไม่ละบุคคลเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์
มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วย
สามารถแห่งความสุจริต ทางไตรทวาร. บทว่า น อตฺตเหตุ นี้ เป็นหัวข้อ
แห่งเทศนาเท่านั้น. อธิบายว่า ไม่พูดเหลาะแหละ เพราะเหตุแห่งตน เพราะ
เหตุแห่งผู้อื่น เพราะเหตุแห่งทรัพย์ เพราะเหตุแห่งยศ เพราะเหตุแห่งลาภ

หรือเพราะเหตุมุ่งอามิส. ถึงเนื้อความนี้ จะสำเร็จด้วยบทนี้ว่า สำรวมด้วย
วาจาดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อแสดงเนื้อความให้หนัก ควรทราบว่าท่าน
กล่าวอย่างนี้อีกว่า ก็ความชั่วที่จะชื่อว่า คนผู้มักพูดเท็จไม่ทำไม่มี.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า คมฺภีรปฺหํ ความว่า (บุคคลใดคิดค้น) ปัญหาอันลึกซึ้ง
ลี้ลับ กำบัง ทั้งโดยอรรถและบาลี เช่นเดียวกับปัญหาที่มา ในสัตตุภัสตชาดก
สัมภวชาดก และอุมมังคชาดก. บทว่า มนสา วิจินฺตยํ ความว่า บุคคล
ใด คิดค้นได้ด้วยใจ แทงตลอดเนื้อความ สามารถเพื่อจะกล่าวแก้ กระทำ

ให้ปรากฏดุจยังพระจันทร์ พระอาทิตย์ให้ตั้งขึ้นตั้งพันดวง. บทว่า นจฺจาหิตํ
ความว่า และบุคคลใดไม่กระทำกรรม อันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลยิ่ง คือ
ล่วงเลยประโยชน์ หยาบช้า เผ็ดร้อน สาหัส อนึ่ง เพื่อจะยังเนื้อความนี้ให้
แจ่มแจ้ง ควรกล่าวภูริปัญหาว่า

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สร้างบาปกรรม เพราะ
เหตุแห่งความสุขของตน สัตบุรุษทั้งหลายแม้อันทุกข์
ถูกต้อง พลั้งพลาดลง ย่อมไม่ละธรรม เพราะความ
รักและความชัง.

บทว่า กาลคตํ ความว่า บุคคลใดเมื่อยังทานเป็นต้นเหล่านี้ให้ถึง
พร้อม ด้วยคิดว่า กาลนี้เป็นกาลควรให้ทาน เป็นกาลที่จะรักษาศีล เป็นกาล
เข้าจำอุโบสถ เป็นกาลตั้งมั่นในสรณะ เป็นการกระทำบรรพชา เป็นกาลบำ-
เพ็ญสมณธรรม เป็นวาระที่ควรบำเพ็ญวิปัสสนา ชื่อว่าย่อมไม่ริดรอน คือ

ไม่ยังทางแห่งประโยชน์ อันมาถึงโดยกาลให้เสื่อมไป. บทว่า ตถาวิธํ ความว่า
ดูก่อนท้าวสักกะ พระสัพพัญญูพุทธะก็ดี พระปัจเจกพุทธะก็ดี พระมหาสัตว์
ก็ดี เมื่อจะกล่าวถึงคนมีปัญญา ย่อมกล่าวถึงบุคคลเห็นปานนี้.

ในบทว่า โย เว นั้น มีอธิบายดังนี้ บุคคลใดรู้จักคุณ อันผู้อื่น
ทำแล้วแก่ตน ชื่อว่าเป็นผู้กตัญญู อนึ่ง ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว ทำการตอบแทน
คุณของเขาที่ได้ทำคุณไว้แก่ตน ชื่อว่าเป็นผู้กตเวที. บทว่า ทุกฺขิตสฺส ความว่า
บุคคลใดยกความทุกข์แห่งสหายของตน ผู้ถึงทุกข์ขึ้นไว้ในตน ช่วยทำให้กิจ
อันเกิดขึ้นแก่สหายนั้น ด้วยมือของตนโดยเคารพ พระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อม

กล่าวบุคคลนั้น ผู้เห็นปานนี้ ว่าเป็นสัตบุรุษ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้มีความกตัญญู กตเวที เพราะฉะนั้น ควรกล่าวถึงชาดก
เช่น สตปตชาดก จุลลหังสชาดก และมหาหังสชาดกเป็นต้น.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เอเตหิ สพฺเพหิ ความว่า ดูก่อนท้าวสักกเทวราช บุคคล
ใดเข้าถึงด้วยคุณสมบัติ มีศีลเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วในหนหลัง เหล่านี้ทั้งหมด.
บทว่า สทฺโธ ความว่า ประกอบด้วยโอกัปปนสัทธา (ศรัทธา คือความ
เชื่อมั่น). บทว่า มุทุ ได้แก่ เป็นผู้มีปกติพูดจาน่ารัก. บทว่า สํวิภาคี

ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้จำแนกแจกทานด้วยดี เพราะความเป็นผู้ยินดียิ่ง ในการ
จำแนกศีล จำแนกทาน ชื่อว่า วทัญญู ผู้รู้ถ้อยคำ เพราะสามารถรู้ถ้อยคำของ
ยาจก แล้วจึงให้. บทว่า สงฺคาหกํ ความว่า ชื่อว่าผู้สงเคราะห์ เพราะ
สงเคราะห์ชนนั้น ๆ ด้วยสังคหวัตถุ ๔. ชื่อว่า มีวาจาสละสลวย เพราะ

กล่าวถ้อยคำไพเราะ. ชื่อว่า มีวาจาอ่อนหวาน เพราะมีถ้อยคำเกลี้ยงเกลา.
บทว่า ตถาวิธํ โน ความว่า สิริ กล่าวคือ ยศและลาภอันเลิศที่ได้แล้ว
ย่อมไม่ละบุคคลเช่นนั้น คือ สิริของบุคคลนั้น ย่อมไม่พินาศไป.

พระมหาสัตว์เจ้า วิสัชนาปัญหา ๔ ข้อ ดุจยังพระจันทร์อันเต็มดวง
ให้ตั้งขึ้นบนพื้นท้องฟ้าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ถัดจากนั้นไป เป็นปุจฉา
และวิสัชนาปัญหาที่เหลือ ท้าวสักกเทวราช ตรัสคาถา ความว่า

ข้าพเจ้าขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถาม
ปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหานั้น
ด้วย นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล สิริ ธรรมของสัตบุรุษ
และปัญญาว่า ข้อไหนประเสริฐกว่ากัน?
พระมหาสัตว์ ทูลว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำว่า กถํกโร เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกันเท่านั้น. บทว่า
กถํกโร ความว่า ท้าวสักกะตรัสถามว่า บุคคลกระทำอยู่ซึ่งกรรมอะไร
ประพฤติอะไร เสพคือคบหา ซึ่งกรรมอะไร ย่อมได้ซึ่งปัญญาในโลกนี้ทีเดียว
ท่านโปรดบอกปฏิปทาแห่งปัญญาอย่างเดียว ข้าพเจ้าใคร่จะรู้ สัตว์ผู้ต้องตาย
เป็นสภาพ ทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้ชื่อว่า มีปัญญา.

บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ บัณฑิต ผู้ถึงซึ่งความเจริญด้วยความรู้. บทว่า
นิปุเณ ความว่า ผู้สามารถรู้เหตุการณ์อันสุขุม. บทว่า เอวํกโร ความว่า
ท่านสรภังคศาสดาตอบว่า บุคคลใด สมาคม คบหา นั่งใกล้ซึ่งบุคคลผู้มี
ประการดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้ ย่อมเล่าเรียนบาลี สอบถามอรรถาธิบายเนือง ๆ

เงี่ยโสตลงสดับคำสุภาษิตโดยเคารพ ดุจบุคคลจารึกรอยลงบนแผ่นหิน หรือ
ดุจเอาตุ่มทองรองรับมันเหลวของราชสีห์ ฉะนั้น บุคคลผู้กระทำอย่างนี้ นี้
ย่อมเป็นผู้มีปัญญา พระมหาสัตว์กล่าวปฏิปทาแห่งปัญญาอย่างนี้ คล้ายกับ
ยังพระอาทิตย์ให้อุทัยขึ้น จากปราจีนโลกธาตุ เมื่อจะกล่าวคุณของปัญญานั้นใน
บัดนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า บุคคลผู้มีปัญญานั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามคุเณ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญานั้น
ย่อมเห็น คือพิจารณาส่วนแห่งกามทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เพราะ
อรรถว่า มีแล้วเหมือนไม่มี โดยความเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
ทั้งในปัจจุบัน และสัมปรายิกภพ โดยความเป็นโรค เพราะความมีพร้อมแห่ง
โรค คือทุกข์ เก้าสิบแปดประการ อาศัยกามเกิดขึ้น. บทว่า โส เอวํวิปสฺสิ

ความว่า เมื่อบุคคลเล็งเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น ของกามทั้งหลาย โดยเหตุ
เหล่านี้ รู้ชัดว่า ที่สุดแห่งทุกข์อันอาศัยกามเกิดขึ้นไม่มี การละกามอย่างเดียว
เท่านั้นเป็นสุข แล้วย่อมละเสียได้ซึ่งความพอใจ ในกามอันเป็นทุกข์ เป็น
ภัยใหญ่.

บทว่า ส วีตราโค ความว่า ดูก่อนท้าวสักกะ บุคคลนั้นปราศจาก
ราคะอย่างนี้ กำจัดซึ่งโทษอันเกิดขึ้น ด้วยอำนาจอาฆาฏวัตถุ เก้าประการเป็น
สภาพแล้ว พึงเจริญเมตตาจิต ครั้นเจริญเมตตาจิต ชื่อว่าไม่มีประมาณเพราะ
มีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์แล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม ใคร ๆ จะตำ
หนิไม่ได้ ย่อมบังเกิดในพรหมโลก.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวโทษแห่งกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้ พระราชาแม้
ทั้ง ๓ องค์เหล่านั้น พร้อมด้วยพลนิกาย ต่างละความกำหนัดยินดี ในเบญจ
กามคุณได้ด้วยตทังคปหาน พระมหาสัตว์รู้ดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาด้วย
สามารถแห่งความร่าเริงของชนเหล่านั้นว่า

การเสด็จมาของมหาบพิตร ผู้มีพระนามว่า
อัฏฐกะ ภีมรถะ และกาลิงคราช ผู้มีพระเดชานุภาพ
ฟุ้งเฟื่องไป เป็นการมาอย่างมหิทธิฤทธิ์ ทุก ๆ พระ
องค์ทรงละกามราคะได้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหิทฺธิยํ ความว่า การมาอันมีมหิทธิ-
ฤทธิ์ คือกว้างขวางรุ่งเรืองใหญ่. บทว่า ตวมฏฺ€กา ความว่า ของพระองค์
ผู้มีพระนามว่าอัฏฐกะ. บทว่า ปหีโน ความว่า กามราคะ อันทุกพระองค์
ทรงละได้แล้ว ด้วยตทังคปหาน.

พระราชาทั้งหลาย ทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชมเชย พระ
มหาสัตว์เจ้า จึงพากันตรัสคาถา ความว่า
ท่านเป็นผู้รู้จิตผู้อื่น ข้อนั้นก็เป็นอย่างนั้นแหละ
ข้าพเจ้าทุกคนละกามราคะได้แล้ว ขอท่านจงให้โอกาส
เพื่อความอนุเคราะห์ ตามที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะรู้ถึง
คติของท่านได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคหาย ความว่า พระราชาทั้งหลาย
พากันตรัสว่า ท่านโปรดกระทำโอกาสเพื่อประโยชน์ แก่การบรรพชาของ
พวกข้าพเจ้า อย่างที่พวกข้าพเจ้าบวชแล้วจะพึงตรัสรู้ คือบรรลุความสำเร็จ
ตามคติของท่าน ได้แก่พึงแทงตลอดได้ ซึ่งคุณอันท่านแทงตลอดแล้ว.

ลำดับนั้น เมื่อพระมหาสัตว์จะกระทำโอกาสแก่พระราชาเหล่านั้น จึง
กล่าวคาถาต่อไปความว่า
อาตมาให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ เพราะ
มหาบพิตรทั้งหลาย ละกามราคะได้อย่างนั้นแล้ว จง
ยังกายให้ซาบซ่าน ด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่
มหาบพิตรทั้งหลายจะทรงทราบ ถึงคติของอาตมา.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผราถ กายํ ความว่า ยังกายให้ซาบซ่าน
ด้วยปีติอันเกิดแต่ฌานอันไพบูลย์.
พระราชาเหล่านั้น ทรงสดับเช่นนั้น เมื่อจะทรงยอมรับ จึงตรัสคาถา
ความว่า
ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ข้าพเจ้าทั้งหลาย
จักทำตามคำสั่งสอนที่ท่านกล่าวทุกอย่าง ข้าพเจ้า
ทั้งหลายจะยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอันไพบูลย์ ตาม
ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้ถึงคติของท่าน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงให้บรรพชาแก่พระราชาเหล่านั้นพร้อมทั้ง
พลนิกาย เมื่อจะส่งหมู่ฤาษีไป จึงกล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายผู้มีคุณ
ความดี ทำการบูชานี้ แก่กีสวัจฉดาบสแล้ว จงพากัน
ไปยังที่อยู่ของตน ๆ เถิด ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี
ในฌาน มีจิตตั้งมั่นทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้ เป็น
คุณชาติประเสริฐสุดของบรรพชิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คจฺฉนฺตุ ความว่า พระมหาสัตว์กล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงไปยังสถานที่อยู่เป็นต้นของตน ๆ เถิด.

พระฤาษีทั้งหลายรับคำของพระมหาสัตว์แล้ว ต่างนมัสการลา ลอยขึ้น
สู่อากาศ กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน ๆ. ฝ่ายท้าวสักกเทวราช เสด็จลุกขึ้น
จากอาสนะ ทำการชมเชยพระมหาสัตว์เจ้า ประคองอัญชลี นมัสการพระ-
มหาสัตว์ดุจนอบน้อมอยู่ซึ่งพระอาทิตย์ พร้อมด้วยเทพบริษัทเสด็จหลีกไป.

พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ความว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ชนเหล่านั้น ได้ฟังคาถาอันประกอบด้วย
ประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ฤาษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว
เกิดปีติโสมนัส พากันอนุโมทนาอยู่ เทวดาทั้งหลาย
ผู้มียศ ต่างก็พากันกลับไปสู่เทพบุรี.

คาถาเหล่านี้ มีอรรถพยัญชนะดี อันฤาษีผู้เป็น
บัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่งฟังคาถาเหล่านี้ ให้
มีประโยชน์ พึงได้คุณพิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ครั้นแล้วพึงบรรลุถึงสถานที่ อันมัจจุราชมองไม่เห็น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรมตฺถสฺหิตา ความว่า คาถาเหล่านี้
ชื่อว่าอาศัยซึ่งพระนิพพาน เพราะแสดงถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น. พระบรมศาสดา
เมื่อทรงสรรเสริญคำสุภาษิต อันให้ซึ่งพระนิพพาน ของท่านสรภังคศาสดา
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิมา (คาถาเหล่านี้) ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถวตี ความว่า คาถาเหล่านี้ ชื่อว่า
อาศัยประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะอรรถว่าให้ซึ่งพระนิพพาน. บทว่า สุพฺยฺชนา
แปลว่า มีพยัญชนะบริสุทธิ์. บทว่า สุภาสิตา ความว่า อันฤาษีผู้เป็น
บัณฑิตกล่าวทำให้น่าฟังด้วยดี คือกล่าวไว้ดีแล้ว. บทว่า อฏฺ€ิกตฺวา ความว่า
บุคคลใดเป็นผู้มีความต้องการ เพราะทำความเป็นประโยชน์แก่ตน พึงฟัง

โดยเคารพ. บทว่า ปุพฺพาปริยํ ความว่า ปฐมฌานเป็นคุณวิเศษเบื้องต้น
ทุติยฌานเป็นคุณวิเศษเบื้องปลาย จะพึงได้คุณวิเศษอันตั้งอยู่โดยความเป็น
เบื้องต้น เบื้องปลาย ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ ด้วยสามารถแห่งมรรค ๔
อย่างนี้. บทว่า อทสฺสนํ ความว่า และจะพึงได้พระอรหัตผล อันเป็น
คุณวิเศษเบื้องปลาย แล้วบรรลุพระนิพพานในที่สุด. เพราะว่า บุคคลผู้
บรรลุพระนิพพานแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าไปสู่สถานที่ ซึ่งมฤตยูราชมองไม่เห็น.

พระบรมศาสดาครั้นทรงถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วยอรหัตผลอย่างนี้
แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อน
ฝนดอกไม้ก็ตกลงในสุสานที่เผาพระโมคคัลลานะ ดังนี้ แล้วทรงประกาศอริยสัจ
เมื่อจะทรงประชุมชาดก จึงตรัสพระคาถา ความว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สาลิสสระดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระ-
สารีบุตร เมณฑิสสรดาบส ได้มาเป็นพระกัสสป
ปัพพตดาบสได้มาเป็นพระอนุรุทธะ เทวลดาบสได้มา
เป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบสได้มาเป็นพระอานนท์
กีสวัจฉดาบสได้มาเป็นพระโกลิตะ คือ พระโมค-
คัลลานะ นารทดาบสได้มาเป็นพระปุณณมันตานีบุตร
บริษัทที่เหลือ ได้มาเป็นพุทธบริษัท สรภังคดาบส
โพธิสัตว์ ได้มาเป็นเราตถาคต เธอทั้งหลายจงทรงจำ
ชาดกไว้อย่างนี้.
จบอรรถกถาสรภังคชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาอลัมพุสาชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภการประเล้าประโลมของนางปุราณทุติยิกาตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อถาพฺรวิ ดังนี้. เรื่องในปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้อย่างพิสดาร
ในอินทริยชาดกแล้วแล.

ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอเป็นผู้กระสัน
อยากสึกจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับเป็นคำสัตย์แล้ว ตรัสถามว่า ใครทำ
ให้เธอกระสัน เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า นางปุราณทุติยิกา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
หญิงนี้ก่อความฉิบหายแก่เธอ เธออาศัยหญิงนี้ ยังฌานให้พินาศ เป็นผู้หลงใหล
สลบนอนอยู่สิ้น ๓ ปี ต่อเมื่อเกิดสำนึกได้ จึงปริเวทนาอย่างใหญ่หลวง แล้ว
ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ เจริญวัยแล้ว
ถึงความสำเร็จในสรรพศิลปศาสตร์แล้วบวชเป็นฤาษี มีมูลผลาผลในป่าเป็น
อาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไปในป่ากว้าง. ครั้งนั้น แม่เนื้อตัวหนึ่ง เคี้ยวกินหญ้า
อันเจือด้วยน้ำเชื้อ ในสถานที่ปัสสาวะของพระดาบสนั้นแล้วดื่มน้ำ. และด้วย

เหตุเพียงเท่านี้เอง มันมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระดาบส จนตั้งครรภ์ นับแต่
นั้นมาก็ไม่ยอมไปไหน เที่ยวอยู่ใกล้ ๆ อาศรมนั่นเอง. พระมหาสัตว์กำหนดดู
ก็รู้เหตุนั้นทั่วถึง ต่อมา แม่เนื้อคลอดบุตรเป็นมนุษย์. พระมหาสัตว์จึงเลี้ยง
ทารกนั้นไว้ด้วยความรักใคร่ว่าเป็นบุตร ตั้งชื่อให้ว่า อิสิสิงคกุมาร. ในเวลา
ต่อมา พระมหาสัตว์ จึงให้อิสิสิงคกุมารผู้รู้เดียงสาแล้วบวช ในเวลาตนชรา

ลงได้พาดาบสกุมารนั้นไปสู่นารีวัน กล่าวสอนว่า ลูกรัก ขึ้นชื่อว่าสตรีเช่นกับ
ดอกไม้เหล่านี้ มีอยู่ในป่าหิมพานต์นี้ สตรีเหล่านั้นย่อมยังชนผู้ตกอยู่ในอำนาจ


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตน ให้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวงได้ ไม่ควรที่เจ้าจะไปสู่อำนาจของสตรี
เหล่านั้นดังนี้แล้ว ครั้นในเวลาต่อมา ก็ทำกาลกิริยา เป็นผู้มีพรหมโลกเป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายอิสิสิงคดาบส เมื่อประลองฌานกีฬาก็พักอยู่ในหิมวันต-
ประเทศ ได้เป็นผู้มีตบะกล้า เป็นผู้มีอินทรีย์อันชำนะแล้วอย่างยวดยิ่ง. ครั้งนั้น
พิภพของท้าวสักกเทวราชหวั่นไหว ด้วยเดชแห่งศีลของพระดาบส ท้าวสักก-

เทวราชทรงใคร่ครวญดูก็ทราบเหตุนั้น ทรงพระดำริว่า พระดาบสนี้จะพึงยัง
เราให้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจักต้องส่งนางอัปสรคนหนึ่งให้ไป
ทำลายศีลของเธอ ดังนี้แล้ว ทรงพิจารณาเทวโลกทั้งสิ้น ในท่ามกลางเหล่า
เทพบริจาริกาจำนวนสองโกฏิครึ่งของพระองค์ มิได้ทรงเห็นใครอื่นซึ่งสามารถ

ที่จะทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบสได้ นอกจากนางเทพอัปสร ชื่ออลัมพุสา
ผู้เดียว จึงรับสั่งให้นางมาเฝ้าแล้วทรงบัญชาให้ทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบส
นั้น.

เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ้งจึงตรัสพระคาถาที่ ๑
ความว่า

ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำ
วัตรอสูร เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับ
นั่งอยู่ ณ สุธรรมเทวสภา รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสา
เทพกัญญามาเฝ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า ผู้เป็นใหญ่. บทว่า
วตฺรภู ความว่า ผู้ทรงครอบงำอสูรชื่อ วัตระ. บทว่า ชยตํ ปิตา ความว่า
เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรที่เหลือสามสิบสามองค์ ผู้ชนะคือถึงความชำนะด้วย
ยังกิจแห่งบิดาให้สำเร็จ. บทว่า ปราเภตฺวา ความว่า เป็นประดุจสำรวจ
ตรวจสอบกายใจ จึงรู้ว่า นางอลัมพุสานี้ เป็นกำลังต่อต้านได้. บทว่า สุธมฺมายํ
ความว่า ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสุธรรมาเทวสภา รับสั่ง
ให้เรียกนางอลัมพุสานั้นมาเฝ้า แล้วตรัสคาถานี้ ความว่า

ดูก่อนนางอลัมพุสา ผู้เจือปนด้วยกิเลส สามารถ
จะเล้าโลมฤาษีได้ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระ-
อินทร์ขอร้องเจ้า เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้ ท้าวสักกเทวราชตรัสทักนาง-
อลัมพุสาเทพกัญญานั้นว่า มิสฺเส และคำนี้เป็นชื่อของนางเทพกัญญานั้น.
ก็หญิงทุกจำพวกท่านเรียกว่า มิสฺสา เพราะคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลสใน
บุรุษ. เมื่อท้าวสักกเทวราชจะทรงทักทายด้วยคุณนามอันสาธารณ์นั้น จึงตรัส
อย่างนี้. บทว่า อิสิปโลภิเก ความว่า ดูก่อนเจ้าผู้สามารถจะเล้าโลมพระฤาษี.

บทว่า อิสิสิงฺคํ ความว่า ได้ยินว่า จุกสองจุกอันเกิดบนศีรษะของท่านอิสิสิงค
ดาบสนั้น โดยอาการอย่างเนื้อเขา เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียกกันอย่างนี้.
ด้วยประการฉะนี้ ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสบัญชานางอลัมพุสาว่า
เจ้าจงไป จงเข้าไปหาท่านอิสิสิงคดาบส นำมาสู่อำนาจของตน แล้วทำลาย
ศีลของเธอเสีย ดังนี้แล้ว ตรัสคำเป็นคาถานี้ว่า

ดาบสองค์นี้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์ ยินดียิ่ง
ในนิพพาน เป็นผู้เจริญ อย่าเพิ่งล่วงเลยพวกเราไป
ก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรายํ ความว่า พระดาบสนี้ เป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยวัตร และประพฤติพรหมจรรย์ อนึ่ง พระดาบสนั้นแลยินดียิ่งแล้ว
ในมรรคคือพระนิพพาน และเจริญแล้วด้วยคุณวุฒิ เพราะความเป็นผู้มีอายุยืน
เพราะฉะนั้น ดาบสนี้จะครอบงำพวกเราไม่ได้ คือไม่ครอบงำ ทำให้พวกเรา
เคลื่อนจากที่ได้เพียงใดเจ้าจงไปห้ามมรรคที่จะไปสู่เทวโลกของเธอเสียเพียงนั้น
ทีเดียว อธิบายว่า เธอจงทำโดยประการที่ดาบสนั้นจะมาในที่นี้ไม่ได้.

นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าแต่พระเทวราช พระองค์ทรงทำอะไร ทรง
มุ่งหมายแต่หม่อมฉันเท่านั้น รับสั่งว่า แนะเจ้าผู้อาจจะ
เล้าโลมฤาษีได้ เจ้าจงไปเถิด ดังนี้ นางเทพอัปสรแม้
อื่น ๆ มีอยู่.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2019, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉันหรือประเสริฐ
กว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความเศร้าโศก
มิได้ วาระ คือ การไปจงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้น
แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้น จงไปประเล้าประโลมเถิด.

ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กิเมว ตฺวํ นี้ นางอลัมพุสา
เทพอัปสรแสดงความว่า พระองค์ทรงกระทำสิ่งนี้ชื่ออะไรกัน. ด้วยบทว่า
มเมว ตุวํ สิกฺขสิ นางอลัมพุสาเทพอัปสรกล่าวโดยมุ่งประสงค์ว่า ในเทวโลก
นี้ทั้งสิ้น ไยพระองค์ทรงสำเหนียกเฉพาะหม่อมฉันผู้เดียว ไม่ทรงแลดูผู้อื่นบ้าง.
ก็ ส อักษรในคาถานี้ ทำการเชื่อมพยัญชนะ. อธิบายว่า เพราะเหตุไรจึง

ตรัสอย่างนี้ว่า แน่ะเจ้าผู้สามารถเล้าโลมพระฤาษี เจ้าจงไปเถิดดังนี้. บทว่า
ปวรา เจว ความว่า นางเทพธิดาผู้ยิ่งกว่าหม่อมฉัน ยังมีอยู่. บทว่า อโสเก
แปลว่า ผู้ปราศจากความเศร้าโศก. บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ในสวนอันเป็น
ที่เกิดความยินดี. บทว่า ปริยาโย ได้แก่ วาระคือการไป.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

เจ้าพูดจริงโดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่นๆ ที่
ทัดเทียมกับเจ้า แลยิ่งกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวันอันหา
ความโศกมิได้.

ดูก่อนนางผู้มีอวัยวะงามทุกส่วน ก็แต่ว่า นาง
เทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการ
บำเรออย่างที่เจ้ารู้.

ดูก่อนโฉมงาม เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่าเจ้า
เป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบสนั้น
มาสู่อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณและรูปร่างของเจ้าเอง.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 74, 75, 76, 77, 78, 79, 80 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร