วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 18:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 139, 140, 141, 142, 143, 144, 145 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ต้องการสร้างเมือง ส่วนมโหสถเองขึ้นเรือข้ามฟากไปฝั่งโน้น นับทางด้วยหมาย
เท้าก้าวไปจำเดิมแต่สถานที่ขึ้นจากเรือ ก็กำหนดว่า ที่นี้กึ่งโยชน์ อุโมงค์ใหญ่
จักมีในที่นี้ นครที่ตั้งพระราชนิเวศน์แห่งพระเจ้าวิเทหราชจักมีในที่นี้ จำเดิม
แต่พระราชนิเวศน์นี้ อุโมงค์เป็นทางเดินจักมีในที่ราว ๑ คาวุตจนถึงพระราช
มณเฑียร กำหนดฉะนี้แล้วเข้าไปสู่กรุงอุตตรปัญจาละ พระเจ้าจุลนีทรงสดับว่า

มโหสถมาถึงก็ทรงโสมนัสยิ่งว่า บัดนี้ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ เราจัก
เห็นหลังแห่งเหล่าปัจจามิตร เมื่อมโหสถมา พระเจ้าวิเทหราช จักมาไม่ช้า
ทีนั้นเราจักฆ่าข้าศึกทั้งสองเสีย เสวยราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น กรุงอุตตร-
ปัญจาละทั้งสิ้นเอิกเกริกโกลาหลว่า ได้ยินว่า ผู้นี้ชื่อมโหสถบัณฑิต ได้ยินว่า

พระราชาร้อยเอ็ดอันมโหสถนี้ให้หนีไป ราวกะบุคคลไล่กาให้หนีไปด้วยก้อนดิน
พระมหาสัตว์ไปสู่พระทวารในขณะที่ชาวเมืองดูชมรูปสมบัติของตนอยู่ ให้กราบ
ทูลพระเจ้าจุลนีให้ทรงทราบ ครั้นได้รับพระราชานุญาตให้เข้าเฝ้า จึงเข้าไป
ถวายบังคมพระราชายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีทรงทำปฏิสันถารตรัสถามมโหสถว่า พระราชา
ของเจ้าจักเสด็จมาเมื่อไร มโหสถทูลว่า จักเสด็จมาในกาลเมื่อข้าพระองค์
ส่งข่าวไปทูล พระเจ้าจุลนีตรัสถามว่า ก็ตัวเจ้ามาเพื่อประโยชน์อะไร
มโหสถทูลว่า มาเพื่อสร้างพระราชนิเวศน์แห่งพระราชา ของข้าพระองค์
พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว แต่นั้นก็โปรดให้พระราชทานเสบียงแก่เสนา

ของมโหสถ และพระราชทานสิ่งของเป็นอันมากและเรือนที่อยู่แก่มโหสถ
แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เจ้าอย่าเดือดร้อน จงทำราชการที่ควรทำอยู่กับข้า
จนกว่าพระราชาของเจ้าจะเสด็จมา ได้ยินว่า มโหสถขึ้นไปสู่พระราชนิเวศน์
ยืนอยู่แทบเชิงบันไดได้กำหนดว่า ประตูอุโมงค์อันเป็นทางเดินจักมีในที่นี้
ความปริวิตกได้มีแก่มโหสถว่า พระเจ้าจุลนีตรัสว่า เจ้าจงทำกิจที่ควรทำแก่

พวกเราบ้าง ดังนี้ ในเมื่อขุดอุโมงค์ ก็ควรจะให้ทำอย่างที่บันไดนี้จะไม่ทรุดลง
ลำดับนั้น มโหสถจึงกราบทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อ
ข้าพระองค์เข้ามาเฝ้ายืนอยู่ที่เชิงบันได ตรวจดูนวกรรมในที่นี้ เห็นโทษที่
บันไดใหญ่ ถ้าข้อความที่กราบทูลนี้ชอบด้วยพระราชดำริ ข้าพระองค์จะเอาไม้
ทั้งหลายมาปูลาดลงให้เป็นที่พอใจ พระเจ้าจุลนีทรงอนุญาต มโหสถกำหนด


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดีแล้วว่า ช่องประตูอุโมงค์จักมีในที่นี้ จึงให้นำบันไดออกเสีย ให้ปูลาดแผ่น
กระดานเพื่อต้องการมิให้มีฝุ่นในที่ทีจะเป็นประตูอุโมงค์ แล้วพาดบนไดไว้ตาม
เดิมมิให้หวั่นไหว มิให้ทรุดลงได้ เมื่อพระราชาไม่ทรงทราบโทษที่จะพึงมี
ก็เข้าพระหฤทัยว่า มโหสถทำด้วยความภักดีในเรา มโหสถให้ทำนวกรรม
ตลอดวันนั้นอย่างนี้แล้ว รุ่งขึ้นจึงกราบทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่สมมติเทพ

ถ้าข้าพระองค์พึงเลือกหาสถานที่ประทับแห่งพระราชาของข้าพระองค์ ข้าพระ-
องค์พึงปฏิบัติทำให้ชอบใจ พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้วพ่อบัณฑิต ยกเสียแต่
พระราชนิเวศน์ของข้า นอกนี้ในกรุงทั้งหมด เจ้าปรารถนาที่ใดเป็นพระราช-
นิเวศน์ของพระเจ้าวิเทหราช เจ้าจงเอาที่นั้น มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่พระ
มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์เป็นแขกมา ประชาชนคนของพระองค์ที่เป็นคน

สนิทมีมาก คนเหล่านั้นครั้นเมื่อข้าพระองค์เอาเรือนของเขา ก็จักเกิดทะเลาะ
กับพวกข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จักทำอะไรกับพวกเหล่านั้นได้
พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เจ้าอย่าถือเอาคำของพวกนั้น สถานที่ใด
เจ้าชอบใจ เจ้าจงถือเอาสถานที่นั้นทีเดียว มโหสถจึงกราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่
สมมติเทพ พวกนั้นจักมากราบทูลพระองค์บ่อย ๆ ความสำราญแห่งพระหฤทัย

ของพระองค์ และแห่งใจของข้าพระองค์จักไม่มี ก็ถ้าว่าพระองค์ทรงปรารถนา
คนรักษาประตูควรเป็นคนของข้าพระองค์ จนกว่าข้าพระองค์จักหาสถานที่เป็น
พระราชนิเวศน์แห่งพระราชาของข้าพระองค์ได้ แต่นั้นพวกนั้นเข้าประตูไม่ได้
ก็จักไม่มา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็จักทรงพระสำราญ และข้าพระองค์ก็จัก
สบายใจ พระราชาจุลนีทรงอนุญาต พระมหาสัตว์ตั้งคนของตนไว้ในที่ทั้งปวง
คือที่เชิงบันได หัวบันได และประตูใหญ่ สั่งว่าพวกเจ้าอย่าให้ใคร ๆ เข้าไป.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ไปสู่ตำหนักพระราชมารดาของพระเจ้าจุลนีก่อน
แล้วสั่งคนทั้งหลายว่า เจ้าทั้งหลายจงจัดการรื้อตำหนัก คนใช้เหล่านั้นก็ปรารภ
เพื่อจะรื้ออิฐและขุดดินตั้งแต่ซุ้มประตู พระราชชนนีของพระเจ้าจุลนีได้สดับข่าว
นั้น จึงเสด็จมารับสั่งว่า พวกเจ้าจะให้รื้อตำหนักของข้าเพื่ออะไร ชนเหล่านั้นจึง
ทูลตอบว่า มโหสถให้รื้อใคร่เพื่อให้สร้างพระราชนิเวศน์แห่งพระราชาของตน
พระราชชนนีจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น อยู่ด้วยกันในตำหนักนี้ก็แล้วกัน ชน

เหล่านั้นทูลตอบว่า พลพาหนะของพระราชาแห่งพวกข้าพระองค์มีมาก ตำหนัก
นี้ย่อมไม่พอกันอยู่ ข้าพระองค์จักให้สร้างที่ประทับใหม่ให้ใหญ่ พระราชชนนี
จึงรับสั่งว่า พวกเจ้าไม่รู้จักข้า ข้าเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าจุลนี ข้าจัก
ไปหาลูกข้า จักรู้กันเดี๋ยวนี้ ชนเหล่านั้นจึงทูลว่า ข้าพระองค์จักรื้อตามพระ-
ราชดำรัส ถ้าพระองค์อาจ ก็จงห้าม พระนางสลากเทวีกริ้วรับสั่งว่า ข้ารู้จัก

กิจที่ข้าพึงทำแก่พวกเจ้าเดี๋ยวนี้ ตรัสแล้วเสด็จไปประตูพระราชนิเวศน์ ลำดับ
นั้นคนเฝ้าประตูก็ห้ามพระราชมารดาว่า แกอย่าเข้าไป พระราชมารดาตรัสว่า
ข้าเป็นพระราชชนนี ชนเหล่านั้นก็ทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้า
จุลนีตรัสสั่งไว้ว่า อย่าให้ใคร ๆ เข้าไป เพราะฉะนั้นพระองค์จงเสด็จกลับไป

เสีย พระนางสลากเทวีเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นที่พึ่งอันพึงยึดถือ ก็เสด็จกลับ
มาทอดพระเนตรตำหนักของพระองค์ประทับยืนอยู่ ลำดับนั้น ชนผู้หนึ่งจึง
ทูลพระนางนั้นว่า แกทำอะไรในที่นี้ จงไป ๆ ว่าแล้วลุกขึ้นไสพระศอให้ล้มลง
ยังภูมิภาค พระนางเจ้าทรงดำริว่า พวกนี้พระราชาลูกเราสั่งแล้วแน่ ใครไม่
สามารถจะทำอย่างนี้ ด้วยประการอื่น เราจักไปหามโหสถ จึงเสด็จไปหา
มโหสถ ตรัสว่า แน่ะพ่อมโหสถ ท่านให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพราะอะไร มโหสถ

ไม่พูดกับพระนางเจ้า แต่บุรุษผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้ทูลว่า พระนางจะตรัสอะไรกะ
มโหสถ พระนางเจ้าจึงรับสั่งว่า มโหสถให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพื่ออะไร บุรุษ
นั้นทูลว่า เพื่อทำที่ประทับแห่งพระเจ้าวิเทหราช พระราชมารดารับสั่งว่า
เมืองใหญ่ถึงเพียงนี้ ทำไมจะหาที่ทำพระราชนิเวศน์ในที่อื่นไม่ได้ เจ้าจงรับ
สินบนแสนกหาปณะนี้แล้วให้ทำพระราชนิเวศน์ในสถานที่อื่นเถิด บุรุษนั้นทูล
ตอบว่า ดีแล้ว พระแม่เจ้า ข้าพระองค์จักให้ละตำหนักของพระนาง แต่


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระนางอย่ารับสั่งการที่ข้าพระองค์รับสินบนแก่ใคร่ ๆ เพราะว่าชนเหล่าอื่น จะ
พากันให้สินบนแก่พระองค์แล้วไม่อยากละเรือนของตน พระนางสลากเทวีรับ
สั่งตอบว่า การที่ข้าพูดให้ใครรู้นั้น เป็นที่น่าอายแก่ข้าว่า พระราชมารดาได้
ให้สินบน ดังนี้ เพราะฉะนั้นข้าจักไม่บอกแก่ใคร บุรุษนั้นทูลรับว่า ดีแล้ว

แล้วรับเอากหาปณะ ๑ แสนจากพระนาง ก็ละตำหนักนั้นไปเรือนเกวัฏให้ทำ
เหมือนกับทำแก่ตำหนักพระนางสลากเทวีนั้น เกวัฏโกรธไปสู่ราชทวาร เหล่า
คนรักษาประตูก็ประหารที่หลังเกวัฏด้วยซีกไม้ไผ่ หนังที่หลังเกวัฏก็เป็นแนว
ขึ้น เกวัฏไม่เห็นจะพึ่งอะไรได้ก็กลับบ้านให้กหาปณะ ๑ แสนแก่บุรุษนั้น
มโหสถถือเอาสถานที่ตั้งเรือนในนครทั้งสิ้นด้วยอุบายนี้ รับสินบนได้กหาปณะ

ในที่นั้น ๆ ประมาณ ๙ โกฏิ พระโพธิสัตว์พิจารณาในนครทั้งสิ้นแล้วไปเฝ้า
พระเจ้าจุลนี พระราชาตรัสถามว่า เป็นอย่างไร พ่อบัณฑิต สถานที่ตั้ง
พระราชนิเวศน์เจ้าหาได้หรือยัง มโหสถกราบทูลว่า ชื่อว่าใครจะไม่ให้ ย่อม
ไม่มี แต่ครั้นเมื่อเรือนอันข้าพระองค์ถือเอา ชนเจ้าของก็ย่อมลำบาก การทำ

ความที่ชนเหล่านั้นต้องพลัดพรากจากของรัก ไม่สมควรแก่ข้าพระองค์ เพราะ
ฉะนั้นข้าพระองค์จักสร้างพระนครให้เป็นสถานที่ประทับแห่งพระราชาของข้า
พระองค์ ในที่โน้นระหว่างคงคากับพระนครนี้ ในที่ ๑ คาวุตแต่ที่นี้ ภายนอก
พระนครนี้.

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับก็ยินดี ด้วยทรงเห็นว่า การรบกันภายในเมือง
เป็นการลำบาก เสนาฝ่ายเราหรือเสนาฝ่ายอื่นก็อาจรู้ยาก การทำยุทธนาการ-
ภายนอกเมืองเป็นการง่าย จักได้ไม่ต้องทุบตีกันตายในเมือง ทรงเห็นฉะนี้
จึงตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงให้สร้างในสถานที่ที่เจ้ากำหนดเถิด มโหสถกราบ

ทูลว่า ข้าพระองค์จักให้ทำในที่ ที่กราบทูลและขอพระราชทานอนุญาตแล้วนั้น
ชาวพระนครอย่าพึงไปสู่ที่ทำนวกรรมของข้าพระองค์ เพื่อหาฟืนและใบไม้
เพราะว่าเมื่อชาวเมืองไป จักเกิดทะเลาะวิวาทกัน ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ความ
สำราญพระราชหฤทัยจักไม่มีแด่พระองค์ และความสบายใจก็จักไม่มีแก่ข้า-
พระองค์ พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต เจ้าจงห้ามไม่ให้ใครไปยัง

ประเทศนั้น มโหสถทูลต่อไปว่า ข้าแต่สมมติเทพ ช้างทั้งหลายของข้าพระองค์
ชอบเล่นน้ำ เมื่อน้ำเกิดขุ่นมัวขึ้น ถ้าชาวเมืองจักขัดเคืองพวกข้าพระองค์ว่า
จำเดิมแต่มโหสถมา พวกเราไม่ได้ดื่มน้ำใส ขอพระองค์กรุณาอดกลั้นในเรื่อง
นี้ อย่ากริ้วพวกข้าพระองค์ พระเจ้าเจ้าจุลนีตรัสว่า ช้างทั้งหลายของพวกเจ้า
พวกเจ้า จงปล่อยให้เล่นเถิด ตรัสฉะนี้แล้วให้ป่าวร้องว่า ผู้ใดออกจากที่นี้


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ไปสู่ที่สร้างพระนครของมโหสถ จักปรับไหมผู้นั้นพันกหาปณะ มโหสถถวาย
บังคมลาพระเจ้าจุลนีพาพวกของตนออกจากพระนคร ปรารภเพื่อสร้างพระนคร
ในสถานที่กำหนดไว้ ให้สร้างบ้านชื่อคัคคลิริมฝั่งคงคาฟากโน้น ให้ช้างม้ารถ
พาหนะโคมีกำลังอยู่ในบ้านนั้น พิจารณาการสร้างพระนคร แบ่งการงานทั้งปวง

ว่า ชนเท่านี้ทำกิจชื่อนี้ เป็นต้น และได้เริ่มการงานในอุโมงค์ ประตูอุโมงค์
ใหญ่อยู่ริมฝั่งคงคา ชนทั้งหลายราว ๖,๐๐๐ คน ขุดอุโมงค์ใหญ่ นำกรวด
ทรายที่เทลง ๆ นั้น คงคาก็ขุ่นมัวไหลไป ชาวเมืองก็พากันกล่าวว่า ตั้งแต่
มโหสถมา พวกเราไม่ได้ดื่มน้ำใส คงคาขุ่นมัวไหลไป เหตุเป็นอย่างไรหนอ
ลำดับนั้น บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็แจ้งแก่ชาวเมืองว่า ได้ยินว่า หมู่ช้างของมโหสถ
เล่นน้ำ ทำให้น้ำในคงคาขุ่นเป็นตม เพราะเหตุนั้น คงคาจึงขุ่นมัวไหลไป

ธรรมดาว่าความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จ เพราะเหตุนั้น
รากไม้ ศิลา กรวดทั้งปวงในอุโมงค์ย่อมจมหายไปในพื้นดิน ประตูแห่ง
อุโมงค์ซึ่งเป็นทางเดินอยู่ในเมืองนั้น ชนทั้งหลายราว ๓,๐๐๐ คน ขุดอุโมงค์
ซึ่งเป็นทางเดิน ให้บรรจุกรวดทรายด้วยถุงหนังไปถมในนครนั้น ให้คลุกเคล้า
ดินและทรายที่เทไว ๆ กับน้ำก่อกำแพง และทำกิจอื่น ๆ ด้วย ประตูทางเข้า
มหาอุโมงค์มีทางในเมือง ประกอบด้วยประตูเป็นคู่ มียนตร์สูง ๑๘ ศอก ก็

ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า ประตูนั้นก็เปิด ก่ออิฐ ๒ ข้าง
แห่งมหาอุโมงค์แล้วให้ฉาบปูน ปูไม้บังเบื้องบนเอาดินเหนียวยาอุดช่องแล้ว
ทาขาว ก็ในอุโมงค์นั้นมีประตูทั้งหมด คือประตูใหญ่ ๘๐ ประตูน้อย ๖๔
ทุกประตูประกอบด้วยยนตร์ ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า
ประตูทั้งหมดก็ปิด ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า ประตูทั้งหมด

ก็เปิด โคมดวงไฟมีมากกว่าร้อย มี ๒ ข้างของมหาอุโมงค์ โคมดวงไฟทั้งสิ้น
ประกอบด้วยยนตร์ ครั้นเมื่อเปิดยนตร์อันหนึ่ง โคมดวงไฟก็เปิดสว่างพร้อม
กันหมด ครั้นเมื่อปิดยนตร์อันหนึ่ง โคมดวงไฟก็ปิดมืดพร้อมกันหมด ก็
ห้องบรรทมร้อยเอ็ดห้องสำหรับพระราชาร้อยเอ็ด มีอยู่ ๒ ข้างแห่งมหาอุโมงค์
ทอดเครื่องลาดต่าง ๆ ไว้ในห้องบรรทมทุกห้อง ที่ประทับนั่งแห่งหนึ่ง ๆ ยก


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เศวตฉัตรไว้ทุกแห่ง รูปสตรีทำด้วยเส้นป่านรูปหนึ่ง ๆ งดงามยิ่ง ตั้งไว้อาศัย
พระราชสีหาสน์และพระราชมหาสยนะองค์หนึ่ง ๆ ประดิษฐานไว้แล้ว ถ้าว่า
บุคคลไม่จับต้องรูปนั้น ก็ไม่อาจรู้ว่าไม่ใช่รูปคน อนึ่ง พวกช่างเขียนผู้ฉลาด
ได้ทำจิตรกรรมเขียนอย่างวิจิตรต่าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างแห่งมหาอุโมงค์แสดงภาพทั้ง
ปวงไว้ในอุโมงค์ แบ่งเขียนเป็นต้นว่าภาพสักกเทวราชเยื้องกรายมีหมู่เทวดา

แวดล้อมและเขาสิเนรุ เขาบริภัณฑ์ สาคร มหาสาคร ทวีป ๔ ป่าหิมพานต์
สระอโนดาต พื้นศิลา ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ สวรรค์ชั้นกามาพจรมีจาตุ
มหาราชิกาเป็นต้นและสมบัติ ๗ ประการ เกลี่ยกรวดทรายซึ่งมีสีดุจแผ่นเงินที่
ภาคพื้น แสดงดอกปทุมห้อยตามช่องเบื้องบน แสดงร้านตลาดขายของมี
ประการต่าง ๆ ทั้ง ๒ ข้าง ห้อยพวงของหอมพวงบุปผชาติเป็นต้นในที่นั้น ๆ

ประดับอุโมงค์เป็นราวกะสุธรรมาเทพสภา ฝ่ายช่าง ๓๐๐ คนที่มโหสถให้ไป
ทำทัพสมภาระแห่งพระราชนิเวศน์และให้ต่อเรือบรรทุกมานั้น ก็ได้ต่อเรือ
๓๐๐ ลำ บรรทุกทัพสัมภาระที่แต่งเสร็จแล้วมาทางคงคาแจ้งแก่มโหสถ
มโหสถนำทัพสัมภาระเหล่านั้นไปเป็นเครื่องประกอปใช้การในพระนคร แล้ว

ให้นำเรือทั้งหลายไปรักษาไว้ในที่ปกปิด สั่งว่า เหล่าเจ้าจงนำมาในวันที่เราสั่ง
การก่อสร้างทั้งปวงในพระนครที่แล้วเสร็จ คือคูน้ำ คูเปือกตม คูแห้ง กำแพง
สูง ๑๘ ศอก ป้อมประตูเมือง ซุ้มประตูเมือง พระราชนิเวศน์เป็นต้น โรงช้าง
เป็นต้น และสระโบกขรณี มหาอุโมงค์ ชังฆอุโมงค์ พระนครทั้งหมดนี้แล้ว
เสร็จ ๔ เดือน ด้วยประการฉะนี้.

ต่อนั้นล่วงมาได้ ๔ เดือน พระมหาสัตว์ได้ส่งทูตไปเพื่อเชิญเสด็จ
พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมา.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
มโหสถสร้างพระราชนิเวศน์เพื่อพระเจ้าวิเทห-
ราชผู้ทรงยศเสร็จแล้ว ภายหลังจึงส่งทูตทูลพระเจ้า
วิเทหราชว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์
เสด็จมาบัดนี้ พระราชนิเวศน์ที่สร้างเพื่อพระองค์
สำเร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาหิณี แปลว่า ส่งไปแล้ว.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของทูต ก็ทรงโสมนัส เสด็จไปด้วย
ราชบริพารเป็นอันมาก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยจตุรงค-
เสนา เสด็จไปสู่นครอันมั่งคั่งที่มโหสถสร้างไว้ในแคว้น
กัปปิล เพื่อทอดพระเนตรพาหนะอันหาที่สุดมิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตพาหนํ ได้แก่ พาหนะมีช้าง
และม้าเป็นต้นประมาณมิได้. บทว่า กปฺปิลิยํ ปุรํ ได้แก่ นครที่มโหสถ
บัณฑิตสร้างไว้ในแคว้นกัปปิละ.

พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปโดยลำดับถึงฝั่งคงคา ลำดับนั้นพระมหาสัตว์
ก็ไปรับเสด็จให้เข้าสู่นครที่ตนสร้าง พระราชาเสด็จไปสู่ปราสาทอันประเสริฐ
ในนครนั้น สนานพระวรกายทรงแต่งพระองค์แล้ว เสวยโภชนาหารมีรสอัน
เลิศ ทรงพักผ่อนหน่อยหนึ่งแล้ว เวลาเย็นทรงสั่งราชทูตไปยังสำนักพระเจ้า-
จุลนี เพื่อให้ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จมาถึงแล้ว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปถึงแคว้น
กัปปิละแล้ว ทรงส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้า
จุลนีพรหมทัตว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันมา
เพื่อถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ ขอพระองค์
โปรดพระราชทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์ประดับ
ด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นาง
ข้าหลวง ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน ณ บัดนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนฺทิตุํ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชมี
พระชนม์แก่กว่าพระเจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีไม่พอที่จะเป็นแม้เพียงพระโอรสของ
พระเจ้าวิเทหราช แต่พระเจ้าวิเทหราชหมกมุ่นไปด้วยกิเลส จึงทรงดำริว่า
พระเจ้าจุลนีเป็นพระสัสสุระที่เราผู้เป็นพระชามาตาควรถวายบังคม ไม่ทรง

ทราบความคิดของพระเจ้าจุลนี จึงทรงส่งสาสน์ถวายบังคมไป. บทว่า
ททาหิทานิ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรงส่งสาสน์ไปว่า พระองค์โปรด
เรียกหม่อมฉันมาว่า จะประทานพระราชธิดา ขอได้โปรดประทานพระราชธิดา
นั้นแก่หม่อมฉันในบัดนี้เถิด. บทว่า สุวณฺณปฏิจฺฉนฺนํ ได้แก่ ประดับ
ด้วยเครื่องประดับทองคำ.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับถ้อยคำของราชทูตก็ทรงโสมนัส ดำริว่า
บัดนี้ปัจจามิตรของเราจักไปข้างไหนพ้น เราจักตัดศีรษะเขาทั้งสองคนแล้วดื่ม
ชัยบาน เมื่อจะทรงแสดงพระโสมนัสส่วนเดียวให้ปรากฏ จึงพระราชทาน
รางวัลแก่ราชทูตแล้ว ตรัสคาถาเป็นลำดับมาว่า
ดูก่อนพระเจ้าวิเทหราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว
เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์หาฤกษ์อาวาห-
มงคลไว้ หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาประดับด้วย
ราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นาง
ข้าหลวงแด่พระองค์.

ในคาถานั้น พระเจ้าจุลนีได้สดับสาสน์ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ตรัส
เรียกพระเจ้าวิเทหราชนั้นดุจเสด็จอยู่เฉพาะพระพักตร์ว่า เวเทห อีกนัยหนึ่ง
ทรงสั่งให้ราชทูตไปทูลว่า พระเจ้าพรหมทัตจุลนีตรัสอย่างนี้ จึงตรัสอย่างนี้.

ราชทูตได้ฟังดังนั้น จึงไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราชกราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงหาฤกษ์ที่สมควรแก่การพระราชพิธีอาวาหมงคล
พระเจ้าจุลนีจะถวายพระราชธิดาแด่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชจึงส่งราชทูตไป
อีกว่า วันนี้แหละฤกษ์ดี.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชก็ได้ทรงหาพระฤกษ์
ครั้นหาพระฤกษ์ได้แล้วจึงได้ทรงส่งพระราชสาสน์ไป
ถวายพระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระองค์โปรดพระราช-
ทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์ ประดับด้วยราชา-
ลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นางข้าหลวง
ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน ณ บัดนี้เถิด.
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีตรัสตอบว่า

หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์
ประดับด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วย
หมู่นางข้าหลวง แด่พระองค์ในบัดนี้.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นพระเจ้าจุลนีตรัสคาถานี้แล้ว ตรัสลวงว่า จะส่งไปเดี๋ยวนี้ ๆ ดังนี้
ได้ประทานสัญญาแก่พระราชาร้อยเอ็ดว่า ท่านทั้งปวงกับเสนา ๑๘ อักโขภิณี
จงเตรียมออกรบ วันนี้เราจักตัดศีรษะข้าศึกทั้งสอง พรุ่งนี้จักได้ดื่มชัยบาน
พระราชาร้อยเอ็ดเหล่านั้นทั้งหมดก็ออกในขณะนั้นทีเดียว ฝ่ายพระเจ้ากรุง
ปัญจาละเมื่อจะเสด็จออกทำการยุทธ์ ก็ยังพระนางสลากเทวี ผู้พระราชมารดา

พระนางนันทาเทวี ผู้พระมเหสี พระปัญจาลจันทะ ผู้ราชโอรส พระนาง-
ปัญจาลจันที ผู้พระราชธิดา รวม ๔ องค์ ให้อยู่ในตำหนักเดียวกันกับนาง
สนมทั้งหลาย จึงเสด็จออกสงคราม.

ฝ่ายมโหสถบรมโพธิสัตว์ทำราชสักการะเป็นนักหนา แด่พระเจ้า
วิเทหราชพร้อมพวกเสนาที่โดยเสด็จ ชนบางพวกดื่มสุรา บางพวกเคี้ยวกิน
มัจฉมังสาหาร บางพวกเหน็ดเหนื่อยก็นอน เพราะมาแต่ทางไกล ฝ่ายพระเจ้า
วิเทหราชทรงพาอาจารย์ทั้ง ๔ มีเสนกะเป็นต้น ประทับนั่ง ณ พื้นพระราช-

มณเฑียรที่ตกแต่งแล้ว ท่ามกลางราชบริพาร ฝ่ายพระเจ้าจุลนีล้อมนครที่
พระเจ้าวิเทหราชประทับ ให้ติดต่อกัน ๓ ชั้น ย่นเข้าเป็น ๔ ด้วยกองทัพ ๑๘
อักโขภิณี มีคนจุดคบเพลิงนับด้วยแสน ๆ ครั้นอรุณขึ้นก็เตรียมยึดเมืองตั้งอยู่

มโหสถรู้ความก็ส่งโยธา ๓๐๐ คนของตนไปสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจงไปตามทาง
อุโมงค์จับราชมารดา มเหสี ราชบุตรและราชธิดาของพระเจ้าจุลนีมาทางอุโมงค์
อย่าให้อยู่นอกประตูมหาอุโมงค์ ให้อยู่ภายในอุโมงค์ ตั้งรักษาอยู่จนกว่าข้า
จะมา จึงนำออกจากอุโมงค์ให้อยู่ในโรงกว้างใหญ่ในกาลเมื่อข้าไป ชนเหล่านั้น
รับคำสั่งมโหสถก็ไปทางอุโมงค์ เปิดไม้ลาดไว้ที่เชิงบันได แล้วมัดมือเท้าคน

รักษาในที่เชิงบันได หัวบันไดและพื้นตำหนัก และนางบำเรอมีนางค่อมแคระ
เป็นต้น แล้วปิดปากชนเหล่านั้นให้อยู่ในที่กำบังนั้น ๆ แล้วเคี้ยวกินเครื่อง
เสวยที่จัดไว้ถวายพระเจ้าจุลนี ทิ้งของอะไร ๆ เสีย ทำลายภาชนะทำให้ป่นปี้
เสีย แล้วขึ้นสู่เบื้องบนปราสาท กาลนั้นพระนางสลากเทวีทรงสำคัญว่า ที่ไหน
จะมีใครรู้จักพระนันทาเทวี ราชบุตรราชธิดา เหตุอะไรจักเกิดมี จึงให้บรรทม
อยู่ ณ พระยี่ภู่เดียวกันกับพระองค์ โยธาเหล่านั้นยืนร้องเรียกที่ประตูห้อง


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระนางจึงออกมาตรัสถามว่า ทำไมพ่อ โยธาเหล่านั้นจึงแสร้งทูลว่า ข้าแต่
พระเทวี พระราชาของพวกเรายังพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถให้ถึงความสิ้น
ชีวิตแล้ว แวดล้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดเป็นเอกราชในสกลชมพูทวีป ดื่ม
ชัยบานใหญ่ด้วยพระเกียรติยศใหญ่ ส่งข้าพระองค์ทั้งหลายมาเพื่อพาเสด็จไป
ทั้ง ๔ พระองค์ พระราชมารดาเป็นต้นทรงเชื่อ จึงเสด็จลงจากปราสาทถึง

เชิงบันได โยธาเหล่านั้นก็พาเสด็จไปเข้าทางอุโมงค์ พระราชมารดาเป็นต้น
ตรัสว่า ข้าอยู่ในที่นี้สิ้นกาลเท่านี้ ยังไม่เคยลงสู่ทางนี้ โยธาเหล่านั้นทูลว่า
ข้าแต่พระเทวีเจ้า ชนทั้งปวงหาได้ลงสู่ทางนี้ไม่ เพราะทางนี้เป็นทางมงคล
วันนี้พระราชาตรัสสั่งให้นำเสด็จโดยทางนี้ เพราะเป็นวันมงคล พระราชมารดา
เป็นต้นทรงเชื่อ ลำดับนั้น โยธาบางพวกพาพระราชมารดาเป็นต้นมาบ้าง

บางพวกกลับไปเปิดคลังรัตนะในพระราชนิเวศน์ ถือเอาทรัพย์ตามปรารถนา
มาบ้าง ฝ่ายพระราชมารดาเป็นต้น เบื้องหน้าแต่จะถึงมหาอุโมงค์ เห็นอุโมงค์
ราวกะเทพสภาอันประดับแล้ว ก็ทรงสำคัญว่า จัดไว้เพื่อประโยชน์แด่พระราชา
ลำดับนั้น โยธาเหล่านั้นพาพระราชมารดาเป็นต้นไปสู่สถานที่ใกล้มหาคงคา

ให้ประทับในห้องอันตกแต่งแล้วภายในอุโมงค์ พวกหนึ่งอยู่รักษา พวกหนึ่ง
ไปแจ้งการที่ได้นำพระราชมารดาเป็นต้นมาแล้วแก่มโหสถโพธิสัตว์ มโหสถได้
ฟังคำของโยธาเหล่านั้นก็มีความโสมนัสว่า บัดนี้ความปรารถนาของเราจักถึง
ที่สุด จึงไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฝ่ายพระเจ้า

วิเทหราชทรงดำริว่า พระเจ้าจุลนีจักนำพระราชธิดามาให้เราบัดนี้ ก็เสด็จลุก
จากราชบัลลังก์ ทอดพระเนตรทางช่องพระแกลเห็นพระนครมีแสงสว่างเป็น
อันเดียวกัน ด้วยคบเพลิงนับด้วยแสนดวงมิใช่แสนเดียว อันกองทัพใหญ่
ล้อมรอบแล้ว ก็ทรงฉงนสนเท่ห์รำพึงว่า นั่นอะไรกันหนอ เมื่อจะทรงหารือ
อาจารย์ผู้บัณฑิตทั้งหลาย จึงตรัสคาถานี้ว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ อันเป็น
กองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว บัณฑิต
ทั้งหลายย่อมสำคัญอย่างไรกันหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ มญฺญนฺติ ความว่า พระเจ้า
วิเทหราชตรัสถามว่า พระเจ้าจุลนีโปรดปรานหรือกริ้วพวกเรา บัณฑิตทั้งหลาย
เข้าใจกันอย่างไรหนอ.

อาจารย์เสนกะได้ฟังตรัสถามจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย คบเพลิงมากเหลือเกินปรากฏอยู่ ชะรอยพระเจ้า
จุลนีจะพาพระราชธิดามาถวายพระองค์ ฝ่ายอาจารย์ปุกกุสะกราบทูลว่า พระเจ้า
จุลนีจักทรงอารักขาเพื่อทรงทำอาคันตุกสักการะแด่พระองค์ บัณฑิตทั้งสี่เหล่า

นั้นชอบใจอย่างใดก็กราบทูลอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช
เมื่อได้ทรงสดับเสียงคนในกองทัพบอกสั่งกันว่า เสนาทั้งหลายจงตั้งอยู่ในที่โน้น
ท่านทั้งหลายจงรักษาในที่โน้น อย่าประมาท และทอดพระเนตรเห็นเสนาผูกสอด
เกราะ ก็เป็นผู้อันมรณภัยคุกคาม เมื่อทรงหวังสดับถ้อยคำแห่งพระ-
มหาสัตว์ จึงตรัสคาถานอกนี้ว่า

กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ อันเป็น
กองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว ดูก่อน
มโหสถบัณฑิต พวกนั้นจักทำอะไรกันหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ กาหนฺติ ปณฺฑิต ความว่า
พ่อบัณฑิต เจ้าคิดอย่างไรหนอ เสนาเหล่านี้จักกระทำอะไรแก่พวกเรา.

พระมหาสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น จึงคิดในใจว่า เราจักทำ
พระราชาผู้อันธพาลนี้ให้สะดุ้งสักหน่อย ภายหลังจึงแสดงกำลังปัญญาของเรา
ให้ปรากฏทำให้พระองค์เบาพระหฤทัย คิดฉะนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตมี
กำลังมาก ล้อมพระองค์ไว้ประทุษร้ายพระองค์ รุ่งเช้า
จักปลงพระชนม์พระองค์.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คนเหล่านั้นทั้งหมดมีพระเจ้าวิเทหราชเป็นต้นก็ตกใจกลัวตาย พระราชา
พระศอแห้ง พระเขฬะไม่มีในพระโอฐ เกิดเร่าร้อนในพระสรีระ พระองค์
ทรงกลัวต่อมรณภัย คร่ำครวญตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

ใจของเราสั่น และปากก็แห้งผาก เราเป็นเหมือน
ถูกไฟไหม้กลางแดด ไม่บรรลุถึงความเย็นใจ เตาของ
ช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรืองภายนอกฉันใด ใจของ
เราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน ไม่ปรากฏภายนอก ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุพฺเพธติ ความว่า แน่ะพ่อมโหสถ
ใจของข้าย่อมหวั่นไหว ราวกะว่าใบอ่อนของโพธิ์ใบต้องลมใหญ่ฉะนั้น. บทว่า
อนฺโต ฌายติ โน พหิ ความว่า หัวใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ในภายใน
แต่ไม่ปรากฏในภายนอกราวกะเตาของช่างทองนั้น.

พระมหาสัตว์ได้ฟังพระเจ้าวิเทหราชทรงคร่ำครวญ คิดว่า พระราชา
นี้เป็นอันธพาล ไม่ทำตามคำของเราในวันอื่น ๆเราจักข่มพระองค์ให้ยิ่งขึ้น
จึงทูลว่า

ข้าแต่บรมกษัตริย์ พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว
เป็นไปล่วงความคิด มีความคิดทำลายเสียแล้ว บัดนี้
บัณฑิตทั้ง ๔ ผู้มีความคิดจงป้องกันพระองค์เถิด พระ-
องค์ไม่ทรงทำตามคำของข้าพระองค์ผู้เป็นอมาตย์ใคร่
ประโยชน์แสวงหาความเกื้อกูล ทรงยินดีแล้วด้วย
พระปีติอันเศร้าหมองของพระองค์ ดุจมฤคตกหลุม

ฉะนั้น ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อย่อมกลืนเบ็ดอัน
งอซึ่งปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ มันย่อมไม่รู้ความ
ตายของตน ฉันใด ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้มี
ความปรารถนาในกามย่อมไม่ทรงทราบพระราชธิดา
ของพระเจ้าจุลนีผู้เป็นดุจเหยื่อ ราวกะปลาไม่รู้จัก
เหยื่อคือความตายของตน ฉันนั้นนั่นเทียว ถ้าพระ-

องค์เสด็จนครปัญจาละ จักต้องสละพระองค์ทันที
ภัยใหญ่จักถึงพระองค์ ดุจภัยมาถึงมฤคตัวตามไปถึงทาง
ประตูบ้าน ฉะนั้น ข้าแต่พระจอมประชา บุรุษผู้ไม่
ประเสริฐ เป็นเหมือนงูอยู่ในพกพึงกัดเอา ผู้มีปัญญา
ไม่พึงทำไมตรีกับบุรุษเช่นนั้น เพราะการคบบุรุษชั่ว
เป็นทุกข์โดยแท้ ข้าแต่พระจอมประชากร บุรุษผู้มี


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ศีล เป็นพหูสูตนี้พึงรู้คุณแห่งไมตรีนั้นกับบุรุษนั้นนั่น
เทียว เพราะการคบสัตบุรุษทั้งหลาย เป็นสุขโดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺโต ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์เป็นผู้ประมาทเพราะความใคร่. บทว่า มนฺตนาตีโต ความว่า เป็น
ผู้ก้าวล่วงความคิดที่ข้าพระองค์เห็นภัยในอนาคตคิดกำหนดตัดด้วยปัญญา.
บทว่า ภินฺนมนฺโต ความว่า เป็นผู้มีความคิดทำลายเสียแล้ว คือ ความคิด
ใดที่พระองค์ทรงยึดถือร่วมกับอาจารย์เสนกะเป็นต้น ความคิดนั้นทรงทำลาย

แล้ว จึงชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดทำลายเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้ก้าวล่วงความ
คิดนั่นแล. บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า มโหสถแสดงว่า อาจารย์ ๔ คนมี
เสนกะเป็นต้นเหล่านี้จงรักษาพระองค์ในบัดนี้เถิด ข้าพระองค์เห็นกำลังของ
อาจารย์เหล่านั้น. บทว่า อกตฺวามจฺจสฺส ความว่า ไม่ทรงทำตามคำของ

ข้าพระองค์ผู้เป็นอมาตย์สูงสุด. บทว่า อตฺตปีติรโต ความว่า เป็นผู้ทรง
ยินดียิ่งแล้ว ด้วยพระปีติอันเศร้าหมองของพระองค์. บทว่า มิโค กูเฏว
โอหิโต ความว่า มฤคมาด้วยความโลภเหยื่อติดอยู่ในบ่วงหลุม ฉันใด
พระองค์ไม่ทรงเชื่อคำของข้าพระองค์ เสด็จมาด้วยความโลภว่าจักได้พระราช
ธิดาปัญจาลจันที บัดนี้จึงทรงเป็นเหมือนมฤคที่ติดในบ่วงหลุม ฉันนั้น.

สองคาถาว่า ยถาปิ มจฺโฉ เป็นต้น มโหสถบัณฑิตกล่าวเพื่อแสดงว่า
อุปมานี้ข้าพระองค์นำมาแล้วในกาลนั้น แม้คาถาว่า สเจ คจฺฉสิ เป็นต้น
มโหสถบัณฑิตก็กล่าวเพื่อแสดงว่า ข้าพระองค์นำอุปมาแม้นี้ถวายพระองค์
มิใช่เพียงเท่านี้อย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า อนริยรูโป ได้แก่ บุรุษผู้ไร้ความ
ละอาย มีชาติของคนชั่วเช่นพราหมณ์เกวัฏ. บทว่า น เตน เมตฺตึ ความว่า
พระองค์ไม่ควรทำมิตรธรรมกับคนเช่นนั้น แต่พระองค์ทรงมีเมตตาพราหมณ์


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เกวัฏ ถือคำของเขา. บทว่า ทุกฺโข ความว่า ขึ้นชื่อว่าการสมาคมกับคน
เห็นปานนี้ ทำครั้งเดียว ก็เป็นทุกข์ เพราะนำทุกข์ใหญ่มาทั้งในโลกนี้ทั้งใน
โลกหน้า. บทว่า ยํ เตฺวว ตัดบทเป็น ยํ ตุ เอว อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ
ก็อย่างนี้แหละ. บทว่า สุโข ความว่า เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า
ทีเดียว.

ลำดับนั้น มโหสถข่มพระเจ้าวิเทหราชยิ่งขึ้น ด้วยหวังว่าพระองค์จัก
ไม่ทรงทำอย่างนี้อีก เมื่อจะนำพระดำรัสที่ตรัสไว้ในกาลก่อนมาแสดง จึงทูลว่า

ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นคนเขลา บ้าน้ำลาย
ที่กล่าวถึงเหตุแห่งการได้รัตนะสูงสุดในสำนักข้า-
พระองค์ ข้าพระองค์เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความ
เจริญเหมือนคนอื่นเขาได้อย่างไร ท่านทั้งหลายจง
ไส คอมโหสถนี้ให้หายไปเสียจากแว่นแคว้นของเรา
เพราะเขาพูดเป็นอันตรายแก่การได้รัตนะของเรา.

ครั้นมโหสถกล่าวคาถา ๒ คาถานี้แล้ว จึงกล่าวข่มอย่างนี้ว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์เป็นบุตรคฤหบดี จักรู้จักความเจริญเหมือนคน
อื่น ๆ มีเสนกะเป็นต้น ผู้เป็นบัณฑิตของพระองค์ซึ่งรู้ความเจริญฉะนั้นได้
อย่างไร วาทะนั้นไม่ใช่โคจรของข้าพระองค์ ข้าพระองค์รู้ศิลปะแห่งคฤหบดีแท้
ข้อความนี้ปรากฏแก่เสนกะเป็นต้น คนเหล่านั้นเป็นบัณฑิต วันนี้พระองค์ถูก

กองทัพ ๑๘ อักโขภิณีล้อมไว้ คนทั้งหลายมีเสนกะเป็นต้น จงเป็นที่พึ่งของ
พระองค์ ก็พระองค์รับสั่งให้ไสคอข้าพระองค์ฉุดออกไปเสีย บัดนี้ พระองค์
ตรัสถามข้าพระองค์ทำไม พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า
มโหสถบัณฑิตกล่าวโทษที่เราทำไว้เท่านั้น เพราะเขารู้ภัยในอนาคตนี้มาก่อน

นั่นเอง เพราะเหตุนั้น เขาจึงกล่าวข่มเราเหลือเกิน แต่เขาก็ไม่หยุดงาน
ตลอดกาลเท่านี้เลย มโหสถนี้จักทำความสวัสดีแก่เราแน่แท้ ลำดับนั้น พระ-
เจ้าวิเทหราชเมื่อจะยึดมโหสถเป็นที่พำนัก จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ทิ่มแทง
เพราะโทษที่ล่วงไปแล้ว เจ้ามาทิ่มแทงข้าดุจม้าที่เขา
ผูกไว้ด้วยประตักทำไม ถ้าเห็นว่าเราจะพ้นภัยได้หรือ
เห็นว่าเราจะปลอดภัยได้ ก็จงสั่งสอนเราโดยความ
สวัสดีนั้นแหละ เจ้าจะทิ่มแทงเราเพราะโทษที่ล่วงไป
แล้วทำไม.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานุวิชฺฌนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่ถือเอาโทษที่ล่วงไปแล้วมาทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก. บทว่า อสฺสํว
สมฺพนฺธํ ความว่า เจ้าทิ่มแทงเรา ราวกะม้าที่เขาผูกไว้อย่างดี เพราะถูก
เสนาข้าศึกล้อมไว้ทำไม. บทว่า เตเนว มํ ความว่า เจ้าจงสั่งสอนเรา คือ
จงให้เราสบายใจ ด้วยความสวัสดีนั้นว่า พระองค์จักพ้นภัยด้วยอาการอย่างนี้
พระองค์จักปลอดภัยด้วยอาการอย่างนี้ ด้วยว่า เว้นเจ้าเสียแล้ว คนอื่นเป็นที่
พึ่งอาศัยของเราไม่มี.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า พระราชาองค์นี้เป็นอันธพาลเหลือเกิน
ไม่รู้จักบุรุษวิเศษ เราจักให้พระองค์ลำบากเสียหน่อยหนึ่งแล้วจักเป็นที่พึ่งของ
พระองค์ภายหลัง ดำริฉะนี้แล้ว ทูลว่า

ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของมนุษย์ที่เป็นไป
ล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก ข้า
พระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระองค์ได้ ขอพระ-
องค์ทรงทราบเองเถิด ช้าง ม้า นก ยักษ์ ผู้มีฤทธิ์
มียศ สามารถไปได้ทางอากาศมีอยู่ ช้างเป็นต้น ซึ่งมี

อิทธานุภาพเห็นปานนั้นที่พระองค์มีอยู่ แม้เหล่านั้น
ก็พึงพาพระองค์ไปได้ ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของ
มนุษย์ที่เป็นไปล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่
ยินดีได้ยาก ข้าพระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระ
องค์โดยทางอากาศได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมํ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
กรรมชื่อว่าปลดเปลื้องพระองค์จากภัยนี้ ที่เหล่ามนุษย์ซึ่งเป็นมนุษย์ในอดีตพึง
ทำนี้ ชื่อว่าเป็นไปล่วงแล้ว. บทว่า ทุกฺกรํ ทุรภิสมฺภวํ ความว่า อันใคร ๆ
ไม่อาจแก้ไข ไม่อาจต่อสู้. บทว่า น ตํ สกฺโกมิ ความว่า ข้าพระองค์
ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระองค์จากภัยนี้. บทว่า ตฺวํ ปชานสฺสุ ขตฺติย
ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงทราบสิ่งที่ควรกระทำใน


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 139, 140, 141, 142, 143, 144, 145 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร