วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33, 34 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ธนุหตฺถกลาเปหิ ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า พระศาสดาครั้นทรงสดับวาจา
พรรณาพระคุณแห่งปัญญาของพระองค์เหมือนในมหาโพธิชาดก
และอุมมังคชาดกแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
มีปัญญามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็มีปัญญาและฉลาด
ในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดวานร มีวานรแปดหมื่น
เป็นบริวาร อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. ใกล้หิมวันตประเทศนั้น
มีบ้านชายแดนแห่งหนึ่ง บางครั้งก็มีคนอยู่ บางครั้งก็ไม่มีคนอยู่
ในท่ามกลางหมู่บ้านนั้นมีต้นมะพลับต้นหนึ่ง กิ่งก้านและค่าคบ

บริบูรณ์มีผลอร่อย. ฝูงลิงพากันมากินผลมะพลับนั้นในเวลาที่
ไม่มีคนอยู่. ครั้นต่อมาถึงคราวมีผลอีก บ้านนั้นได้กลับเป็นที่อยู่
ของมนุษย์เรียงรายไปด้วยต้นอ้อ ประกอบไปด้วยประตู. แม้
ต้นไม้นั้นก็ออกผลกิ่งลู่น้อมลง. ฝูงลิงคิดว่า เมื่อก่อนเรากินผล

มะพลับที่บ้านโน้น บัดนี้มะพลับต้นนั้นมีผลหรือยังหนอ บ้าน
มีคนอยู่หรือไม่หนอ ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงส่งลิงไปตัวหนึ่ง โดย
กล่าวว่า เจ้าจงไปสืบดูที. ลิงนั้นไปสืบดูก็รู้ว่าไม้นั้นออกผล
และบ้านมีผู้คนจับจองอยู่จึงกลับมาบอกแก่พวกลิง. พวกลิง

ได้ฟังว่าต้นไม้นั้นออกผล เกิดความอุตสาหะว่าจักกินผลมะพลับ
อันโอชา จึงบอกความนั้นแก่พญาวานร. พญาวานรถามว่า
บ้านมีคนอยู่หรือไม่ มันบอกว่า มีจ้ะนาย. พญาวานรบอกว่า
ถ้าเช่นนั้นไม่ควรไป เพราะพวกมนุษย์มีเล่ห์กะเท่มาก. พวกลิง

กล่าวว่า เราจักกินตอนเที่ยงคืนในเวลาที่พวกมนุษย์หลับสนิท
ครั้นพญาวานรรับรู้แล้ว จึงลงจากป่าหิมพานต์ คอยเวลาที่
พวกมนุษย์หลับสนิท นอนอยู่บนหลังแผ่นหินใหญ่ไม่ไกลหมู่บ้าน
นั้น ครั้นมัชฌิมยามพวกมนุษย์หลับ จึงพากันขึ้นต้นไม้กินผลไม้.

ทีนั้นชายคนหนึ่งออกจากเรือนโดยจะไปถ่ายอุจจาระ ถึงท่าม
กลางบ้านเห็นฝูงลิงจึงตะโกนบอกพวกมนุษย์. พวกมนุษย์มาก
มาย สอดธนูและลูกศร ถืออาวุธต่าง ๆ ทั้งก้อนดินและท่อนไม้
เป็นต้น พอรุ่งสว่าง พากันยืนล้อมต้นไม้ด้วยหวังว่า จักจับ
ฝูงลิง.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ฝูงลิงแปดหมื่นตัวเห็นพวกมนุษย์ตกใจกลัวตาย พากัน
ไปหาพญาวานรด้วยคิดว่า นอกจากพญาวานรแล้ว ไม่มีผู้อื่น
จะเป็นที่พึ่งของพวกเราได้ แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

พวกมนุษย์มีมือถือธนูและแล่งธนู ถือดาบ
อันคมกริบ พากันมาแวดล้อมพวกเราไว้โดยรอบ
พวกเราจะพ้นไปได้ด้วยอุบายอย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธนุหตฺถกลาเปหิ คือมีมือถือธนู
และแล่งธนู อธิบายว่า ถือธนูแลแล่งศรยืนล้อมอยู่. บทว่า
ปริกิณฺณมฺหา คือแวดล้อม. บทว่า กถํ ได้แก่ พวกเราจักพ้นได้
ด้วยอุบายไรหนอ.

พญาวานรได้ฟังคำของพวกลิงเหล่านั้นแล้วปลอบพวก
ลิงว่า พวกเจ้าอย่ากลัวเลย ขึ้นชื่อว่าเหล่ามนุษย์มีการงานมาก
แม้วันนี้ก็เพิ่งมัชฌิมยาม บางทีเมื่อพวกมนุษย์ยืนล้อมเราด้วย
คิดว่าจักฆ่าพวกเรา กิจอื่นอันทำอันตรายแก่กิจนี้พึงเกิดขึ้น
แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิด
แก่มนุษย์ผู้มีกิจมากเป็นแน่ ยังมีเวลาพอที่จะเก็บ
ผลไม้เอามากินได้ พวกท่านจงพากันกินผล
มะพลับเถิด.

บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต. ในบทนี้มีอธิบายว่า บางที.
ความต้องการอะไร ๆ อย่างอื่นพึงเกิดขึ้นแก่พวกมนุษย์ผู้มี
กิจมาก. บทว่า อตฺถิ รุกฺขสฺส อุจฺฉินฺนํ ความว่า ยังมีทางที่จะ
แย่งเอามากินได้ด้วยการฉุดกระชากผลของต้นไม้นี้. บทว่า
ขชฺช ตญฺเญว ตินฺทุกํ ความว่า พวกเจ้า จงกินผลมะพลับกัน
เถิด คือ พวกเจ้ามีความต้องการเท่าใด จงกินเท่านั้น เราจักรู้
ในเวลาที่เขาประหารพวกเรา.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระมหาสัตว์ปลอบฝูงลิงไว้. เพราะว่าเมื่อพวกมันเมื่อ
ไม่ได้การปลอบใจเช่นนี้ ทั้งหมดจะหัวใจแตกถึงแก่ความตาย.
พระมหาสัตว์ปลอบฝูงวานรอย่างนี้แล้วกล่าวว่า พวกเจ้าจับนับ
ลิงทั้งหมดูที. เมื่อพวกมันนับก็ไม่เห็นวานรชื่อ เสนกะซึ่งเป็น
หลานของพญาวานร จึงแจ้งว่า เสนกะไม่มา. พญาวานร
กล่าวว่า หากเสนกะไม่มา พวกเจ้าไม่ต้องกลัว เสนกะนั้นจัก
ทำความปลอดภัยให้แก่พวกเจ้าในบัดนี้.

เสนกะหลับในเวลาที่ฝูงลิงมา ภายหลังตื่นขึ้นไม่เห็นใคร ๆ
จึงเดินตามรอยเท้ามา ครั้นเห็นพวกมนุษย์จึงรู้ว่า ภัยเกิดขึ้นแก่
ฝูงลิงเสียแล้ว จึงไปหาหญิงแก่ซึ่งตามไฟกรอด้ายอยู่ ณ ท้าย

เรือนหลังหนึ่ง แล้วทำเป็นเด็กชาวบ้านเดินไปนา คว้าคบไฟ
ดุ้นหนึ่งวิ่งไปจุดบ้านซึ่งตั้งอยู่เหนือลม. พวกมนุษย์พากันผละ
พวกลิงไปดับไฟ. ลิงทั้งหลายก็พากันหนีเก็บผลไม้ได้ตัวละผล
เพื่อนำไปให้เสนกะแล้วพากันหนีไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. เสนกะหลานพญาวานรในครั้งนั้นได้เป็นมหานามศากยะ
ในครั้งนี้ ฝูงลิงได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนพญาวานร คือเรา
ตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาตินทุกชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภผู้รอดจากอหิวาตกโรคคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้มีคำเริ่มต้นว่า ชนิตํ เม ภวิตํ เม ดังนี้.

มีเรื่องเล่าว่าที่กรุงสาวัตถี ได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นใน
ตระกูลหนึ่ง. มารดาบิดาจึงบอกแก่บุตรว่า ลูก เจ้าอย่าอยู่ใน
เรือนนี้เลย จงพังฝาหนีไปเสียในที่ใดที่หนึ่ง รักษาชีวิตไว้ภายหลัง
จึงค่อยกลับมา ขุดทรัพย์ซึ่งฝังไว้มีอยู่ในที่นี้ แล้วเก็บทรัพย์ไว้
เลี้ยงชีพให้เป็นสุขเถิด. บุตรรับคำของมารดาบิดาแล้วพังฝา

หนีไป เมื่อโรคของตนหายดีแล้วจึงกลับมาขุดเอาทรัพย์ที่ฝังไว้
อยู่ครองเรือนอย่างเป็นสุข. วันหนึ่งเขาให้คนถือเนยใสและ
น้ำมัน ผ้า เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ไปวิหารเชตวัน ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วนั่ง. พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเขาแล้ว

ตรัสถามว่า ได้ยินว่า อหิวาตกโรคเกิดขึ้นในเรือนของท่าน
ท่านทำอย่างไรจึงรอดมาได้. เขาได้กราบทูลเรื่องราวนั้นให้
ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก แม้แต่ก่อนชน
เหล่าใด เมื่อภัยเกิดขึ้นทำความอาลัยในที่อยู่ของตน ไม่ยอมไป

อยู่ที่อื่น ชนเหล่านั้นถึงสิ้นชีวิต แต่ชนเหล่าใดไม่ทำความอาลัย
ไปอยู่เสียที่อื่น ชนเหล่านั้นรอดชีวิตแล้วทรงนำเรื่องในอดีต
มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลช่างหม้อใกล้หมู่บ้าน
แห่งหนึ่ง ทำการปั้นหม้อเลี้ยงบุตรภรรยา. ในครั้งนั้น ใกล้
กรุงพาราณสี ได้มีสระใหญ่ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกับแม่น้ำใหญ่

สระนั้นมีน้ำไหลถึงกันกับแม่น้ำในคราวน้ำมาก. เมื่อน้ำน้อย
ก็แยกกัน. ปลาและเต่าย่อมรู้ว่า ปีนี้ฝนดี ปีนี้ฝนแล้ง. ครั้นต่อมา
ปลาและเต่าที่เกิดในสระนั้นรู้ว่า ในปีนี้ฝนจะแล้ง ครั้นถึงเวลา
น้ำไหลต่อเนื่องกันเป็นอันเดียว จึงพากันออกจากสระไปสู่แม่น้ำ.
แต่เต่าตัวหนึ่ง ไม่ยอมไปด้วยคิดเสียว่านี้เป็นที่เกิดของเรา เป็น

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ที่เติบโตของเรา เป็นที่ที่พ่อแม่ของเราเคยอยู่ เราไม่อาจจะละ
ที่นี้ไปได้. ครั้นถึงคราวหน้าแล้ง น้ำแห้งผาก. เต่านั้นขุดคุ้ยดิน
เข้าไปอยู่ในที่ที่ขนดินของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ได้ไป
ณ ที่นั้นด้วยประสงค์ว่าจักเอาดิน จึงเอาจอบใหญ่ขุดดิน สับถูก
เต่าแล้วเอาจอบงัดมันขึ้นคล้ายก้อนดินทิ้งกลิ้งอยู่บนบก. เต่า
นั้นได้รับเวทนา จึงพูดคร่ำครวญว่า เราไม่อาจละที่อยู่ได้จึงถึง
ความพินาศอย่างนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เราเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ เพราะเหตุนี้ เรา
จึงได้อาศัยอยู่ที่เปือกตม เปือกตมกลับทับถมเรา
ให้ทุรพล ดูก่อนท่านภัคควะ เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ขอท่านจงฟังคำของ
ข้าพเจ้าเถิด บุคคลได้รับความสุขในที่ใด จะเป็น
ในบ้านหรือในป่าก็ตาม ที่นั้นเป็นที่เกิด เป็นที่
เติบโตของบุรุษผู้รู้จักเหตุผล บุคคลพึงเป็นอยู่
ได้ในที่ใดก็พึงไปในที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตน
เสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ชนิตํ เม ภวิตํ เม ได้แก่ นี้เป็นที่เกิด
ของเรา นี้เป็นที่เติบโตของเรา. บทว่า อิติ ปงฺเก อวสฺสยึ ความ
ว่า เราอาศัย คือ นอน คือสำเร็จการอยู่ในเปือกตมนี้ เพราะเหตุนี้.
บทว่า อชฺฌภวิ ได้แก่ ครอบงำคือให้ถึงความพินาศ. เรียก
ช่างหม้อว่า ภัคควะ ภัคควะนี้เป็นบัญญัตินามและโคตรของ

ช่างหม้อ. บทว่า สุขํ ได้แก่ ความสบายทางกายและทางจิต.
บทว่า ตํ ชนิตํ ภวิตญฺจ ได้แก่ นั้นเป็นที่เกิดและเป็นที่เติบโต.
บทว่า ปชานโต ได้แก่ ผู้รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์คือ เหตุ
และมิใช่เหตุ. บทว่า น นิเกตหโต สิยา ความว่า ทำความอาลัย
ในที่อยู่แล้วไม่ไปในที่อื่นถูกที่อยู่ฆ่า ไม่ควรให้ถึงมรณทุกข์
เช่นนี้.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เต่าเมื่อพูดกับพระโพธิสัตว์อย่างนี้ก็ตาย. พระโพธิสัตว์
จับเอาเต่าไปแล้วให้ชาวบ้านทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อจะสอน
มนุษย์ทั้งหลาย จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านจงดูเต่านี้ ในขณะ
ที่ปลาและเต่าอื่น ๆ ไปสู่แม่น้ำใหญ่ เต่านี้ไม่อาจตัดความอาลัย
ในที่อยู่ของตนได้ ไม่ไปกับสัตว์เหล่านั้น เขาไปนอนยังที่ขนดิน

ของเรา ครั้นเราขนดินได้เอาจอบใหญ่สับหลังมันเหวี่ยงมันลง
บนบกเหมือนก้อนดิน เต่านี้จึงเปิดเผยกรรมที่ตนกระทำคร่ำครวญ
ด้วยคาถาสองคาถาแล้วก็ตาย มันทำความอาลัยในที่อยู่ของตน
ถึงแก่ความตาย แม้พวกท่านก็อย่าได้เป็นเช่นเต่าตัวนี้ ตั้งแต่
นี้ไป พวกท่านจงอย่ายึดด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจเครื่อง

อุปโภคและบริโภคว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของเรา
บุตรของเรา ธิดาของเรา ทาสีและทาสเงินทองของเราแท้
สัตว์ผู้เดียวนี้เท่านั้นวนเวียนไปในภพสาม. พระโพธิสัตว์ได้ให้
โอวาทแก่มหาชน ด้วยพุทธสีลา ด้วยประการฉะนี้. โอวาทนั้น

แผ่ไปทั่วชมพูทวีป ดำรงอยู่ตลอดเวลาประมาณเจ็ดพันปี.
มหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทำบุญมีทานเป็นต้น
ทำทางสวรรค์ให้บริบูรณ์ในคราวสิ้นอายุ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศ
อริยสัจ ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบอริยสัจกุลบุตรนั้นตั้งอยู่ใน
โสดาปัตติผล. เต่าในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนช่าง
หม้อ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๘

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
การแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เป็นต้นว่า ตญฺจ อปฺปญฺจ อุจฺฉิฏฺฐํ ดังนี้.

เรื่องพิสดารมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากสำเร็จ
ชีวิตด้วยการแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง เป็นต้นว่า การเป็นหมอ
การเป็นทูต การส่งข่าว การรับใช้ การให้ไม้สีฟัน การให้ไม่ไผ่
การให้ดอกไม้ การให้ผลไม้ การให้จุณสำหรับทา การให้
ครุภัณฑ์ การให้ยา การให้ของบิณฑบาต. การแสวงหาไม่ควร
นั้น จักมีแจ้งในสาเกตชาดก.

พระศาสดาทรงทราบการเลี้ยงชีพของภิกษุเหล่านั้น
ทรงพระดำริว่า บัดนี้ภิกษุเป็นอันมากสำเร็จชีวิตด้วยการ
แสวงหาไม่ควร ครั้นสำเร็จชีวิตอย่างนี้แล้วจักไม่พ้นความเป็น
ยักษ์ ความเป็นเปรต จักเกิดเป็นโคเทียมแอก จักเกิดในนรก

เราควรกล่าวธรรมเทศนาสักอย่างหนึ่งอันเป็นอัธยาศัยของตน
เป็นปฎิภาณของตน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของพวกเธอ
แล้วรับสั่งให้หมู่ภิกษุประชุมกัน ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไม่ควรให้ปัจจัยเกิดขึ้นด้วยการแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง

เพราะบิณฑบาตที่เกิดขึ้นด้วยการแสวงหาไม่ควรเป็นเช่นกับ
ก้อนทองแดงร้อน เปรียบเหมือนยาพิษร้ายแรง จริงอยู่การ
แสวงหาไม่ควรนี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวก
ของพระพุทธเจ้าติเตียน คัดค้าน เมื่อภิกษุบริโภคบิณฑบาต
อันเกิดขึ้นด้วยการแสวงหาอันไม่ควร จะไม่มีความร่าเริงหรือ

โสมนัสเลย เพราะว่าบิณฑบาตอันเกิดขึ้นอย่างนี้เป็นเช่นกับ
อาหารเดนของคนจัณฑาลในศาสนาของเรา การบริโภคบิณฑบาต
นั้น ย่อมเป็นเหมือนการบริโภคอาหารเดนของคนจัณฑาล ชื่อ
สตธรรมมาณพ แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล ครั้น
เจริญวัยได้ตระเตรียมข้าวสารเป็นสะเบียงและห่อข้าวเดินทาง
ไปทำกรณียกิจอย่างหนึ่ง. ในกาลนั้นในกรุงพาราณสีมีมาณพ
คนหนึ่ง ชื่อ สตธรรม เกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอุทิจจโคตร.

เขามิได้ตระเตรียมข้าวสารหรือห่อข้าวเดินทางไปด้วยกรณียกิจ
อย่างหนึ่ง. ทั้งสองได้มาพบกันที่ทางใหญ่. มาณพจึงถามพระ-
โพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นชาติอะไร. มาณพบอกว่า เราเป็นคน
จัณฑาล แล้วถามมาณพว่า ก็ท่านเล่าเป็นชาติอะไร เขาบอกว่า

เราเป็นพราหมณ์อุทิจจโคตร. ดีแล้วเราไปด้วยกัน ทั้งสองก็
เดินทางร่วมกันไป. ได้เวลาอาหารเช้า พระโพธิสัตว์จึงนั่งใน
ที่ที่หาน้ำง่าย ล้างมือแก้ห่อข้าวแล้วกล่าวว่า มาณพบริโภค
ข้าวกันเถิด. มาณพตอบว่า ไม่มีเสียละเจ้าคนจัณฑาลที่เรา
จะต้องการอาหารของท่าน. พระโพธิสัตว์จึงว่าตามใจ แล้ว

แบ่งอาหารเพียงพอสำหรับตนไว้ในใบไม้อื่น ไม่ทำอาหารในห่อ
ให้เป็นเดน มัดห่อวางไว้ข้างหนึ่ง บริโภค ดื่มน้ำ จากนั้นก็
ล้างมือล้างเท้าถือเอาข้าวสารและอาหารที่เหลือ กล่าวว่าไปกัน
เถิดมาณพ แล้วก็เดินทางต่อไป. เขาพากันเดินทางไปตลอดวัน

ยังค่ำ ในตอนเย็น ทั้งสองพากันลงอาบน้ำในที่ที่น้ำบริบูรณ์
แห่งหนึ่ง เสร็จแล้วก็ขึ้น. พระโพธิสัตว์นั่งในที่สำราญ แล้วแก้
ห่ออาหาร ไม่ได้เชิญมาณพ เริ่มบริโภค. มาณพเหน็ดเหนื่อย
เพราะการเดินทางมาตลอดวัน เกิดความหิวโหย ได้แต่ยืนมอง

ด้วยคิดว่า หากเขาให้อาหารเรา เราก็จักบริโภค. ฝ่ายพระ-
โพธิสัตว์ ก็มิได้พูดอะไรบริโภคท่าเดียว. มาณพคิดว่า เจ้าคน
จัณฑาลนี้ไม่พูดกับเราเลย บริโภคจนหมด เราควรยึดเอาก้อน
อาหารไว้ ทิ้งเศษอาหารข้างบนเสีย แล้วบริโภคส่วนที่เหลือ.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
มาณพได้ทำดังนั้น แล้วบริโภคอาหารเดน. ครั้นบริโภคเสร็จ
แล้วเท่านั้น ก็เกิดความร้อนใจอย่างแรงว่า เราทำกรรมอันไม่
สมควรแก่ชาติ โคตร ตระกูล และประเทศของตน เราบริโภค
อาหารเดนของคนจัณฑาล. ทันใดนั้นเองอาหารปนโลหิตก็พุ่ง
ออกจากปากของมาณพนั้น. เขาคร่ำครวญ เพราะความโศก
ใหญ่หลวงเกิดขึ้นว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรเพราะเหตุ
อาหารเพียงเล็กน้อย แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

อาหารที่เราบริโภคน้อยด้วย เป็นเดนด้วย
อนึ่ง เขาให้แก่เราโดยยากเย็นเต็มที เราเป็นชาติ
พราหมณ์บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้นอาหารที่เรา
บริโภคเข้าไปแล้ว จึงกลับออกมาอีก.

ในคาถานั้นมีความสังเขปดังต่อไปนี้ เราบริโภคอาหาร
ใดอาหารนั้นน้อยด้วยเป็นเดนด้วย คนจัณฑาลนั้นมิได้ให้อาหาร
แก่เราด้วยความพอใจของตน ที่แท้ถูกเรายึดจึงได้ให้ด้วยความ
ยาก คือ ด้วยความลำบาก เราเป็นพราหมณ์มีชาติบริสุทธิ์
ด้วยเหตุนั้นอาหารที่เราบริโภคจึงพลุ่งออกมาพร้อมกับโลหิต.

มาณพคร่ำครวญอยู่อย่างนี้แล้วจึงคิดว่า เราทำกรรมอัน
ไม่สมควร ถึงอย่างนี้แล้วจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม จึงเข้าป่าไป
ไม่แสดงตนแก่ใคร ๆ ถึงแก่กรรมลงอย่างน่าอนาถ.

พระศาสดาทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสตธรรมมาณพบริโภคอาหารเดนของ
ึคนจัณฑาลเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่สมควรแก่ตน จึงมิได้
เกิดความร่าเริงยินดีฉันใด ผู้ใดบวชแล้วในศาสนานี้ก็ฉันนั้น

สำเร็จชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร บริโภคปัจจัยตามที่
ได้ ความร่าเริงยินดีมิได้เกิดแก่ผู้นั้น เพราะเขามีชีวิตเป็นอยู่
ที่น่าตำหนิ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงคัดค้าน ครั้นทรงบรรลุอภิสัม-
โพธิญาณแล้ว จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า :-

ภิกษุใดละทิ้งธรรมเสีย หาเลี้ยงชีพโดย
ไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้นก็ย่อมไม่เพลินด้วยลาภ
แม้ที่ตนได้มาแล้ว เปรียบเหมือนสตมาณพฉะนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คืออาชีวปาริ-
สุทธิศีล. บทว่า นิรงฺกตฺวา ได้แก่ นำไปทิ้งเสีย. บทว่า

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อธมฺเมน ได้แก่ มิจฉาชีพ กล่าวคือการแสวงหาไม่สมควร ๒๑
อย่าง อย่างนี้. บทว่า สตธมฺโม เป็นชื่อของมาณพนั้น. บาลีเป็น
สุตธมฺโม บ้าง. บทว่า น นนฺทติ ความว่า มาณพสตธรรม
ไม่ยินดีด้วยลาภนั้นว่า เราได้อาหารเดนของคนจัณฑาล ฉันใด

กุลบุตรผู้บวชในศาสนานี้ก็ฉันนั้น บริโภคลาภที่ได้มาด้วยการ
แสวงหาอันไม่สมควร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่ยินดี ถึงความ
โทมนัสว่า เราเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ.
เพราะฉะนั้น ผู้ที่สำเร็จชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร
ควรเข้าป่าตายเสียอย่างอนาถดีกว่า เหมือนสตธรรมมาณพ
ฉะนั้น.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประกาศอริยสัจ ๔ ทรงประชุมชาดก เมื่อจบอริยสัจ ภิกษุ
เป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น. บุตรคนจัณฑาลใน
ครั้งนั้น คือเราตถาคตในครั้งนี้แล.
จบ อรรถกถาสตธรรมชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภการถวายทานเป็นคณะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ทุทฺททํ ททมานานํ ดังนี้.
ได้ยินว่าในกรุงสาวัตถี บุตรกุฎุมพีสองสหายร่วมกัน
จัดแจงทานมีเครื่องบริขารครบ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ถวายมหาทานตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวาย
บริขารทุกชนิด. ในคนเหล่านั้น คนที่เป็นหัวหน้าคณะ ถวาย
บังคมพระศาสดา นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วมอบถวายทานว่า
ข้าแต่พระองค์ในการถวายทานนี้ มีทั้งผู้ถวายน้อย ขอการถวาย
นี้ จงมีผลมากแก่ชนเหล่านั้นทั่วกันเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดา
ตรัสว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วมอบให้อย่างนี้ เป็นการทำที่ยิ่งใหญ่
แล้ว แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็ถวายทานมอบให้อย่างนี้
เหมือนกัน เมื่อเขาทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ ณ
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์แคว้นกาสี
ครั้นเจริญวัยได้เรียนศิลปะทุกอย่าง สำเร็จแล้วละฆราวาสบวช
เป็นฤๅษี เป็นครูประจำคณะอยู่ในหิมวันตประเทศเป็นเวลานาน
เที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว ได้ไปถึง

กรุงพาราณสี พักอยู่ ณ พระราชอุทยาน รุ่งขึ้นจึงออกบิณฑบาต
พร้อมด้วยบริษัทตามประตูบ้าน. พวกมนุษย์พากันถวายภิกษา.
วันรุ่งขึ้นออกบิณฑบาต ณ กรุงพาราณสี. พวกมนุษย์พากัน
รักใคร่ ครั้นถวายภิกษาแล้ว จึงร่วมใจกันเป็นคณะเตรียมทาน

ถวายมหาทานแก่คณะฤๅษี. เมื่อเสร็จการถวาย ผู้เป็นหัวหน้า
คณะกล่าวอย่างนี้แล้วถวายทานโดยทำนองนี้. พระโพธิสัตว์กล่าว
ว่า พวกท่านทั้งหลาย เมื่อมีจิตเลื่อมใส ทานชื่อว่าเล็กน้อยไม่มี
เมื่อจะทำอนุโมทนา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อสัตบุรุษทั้งหลายให้สิ่งที่ให้ยาก ทำ
กรรมที่ทำได้ยาก อสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมทำ
ตามไม่ได้ ธรรมของสัตบุรุษรู้ได้ยาก. เพราะ
เหตุนั้น คติจากโลกนี้ของสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ
จึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก สัตบุรุษย่อม
มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุทฺททํ ความว่า ชื่อว่าทานอันผู้
มิใช่บัณฑิต ประกอบด้วยอำนาจโทสะ มีโลภเป็นต้น ไม่อาจให้ได้
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว ทุทฺททํ ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก. บทว่า
กุพฺพตํ ความว่า กรรมคือการให้นั้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถ

ทำได้. บทว่า ทุกฺกรํ ได้แก่ ทำสิ่งที่ทำได้ยากนั้น. บทว่า อสนฺโต
ได้แก่ ชนผู้มิใช่บัณฑิต คือคนพาล. บทว่า นานุกุพฺพนฺติ คือ ทำ
ตามกรรมนั้นไม่ได้. บทว่า สตํ ธมฺโม ได้แก่ สภาพธรรมของบัณฑิต
ทั้งหลาย. นี้ท่านกล่าวหมายถึงการให้. บทว่า ทุรนฺนโย ได้แก่

ยากที่จะรู้ด้วยความเกี่ยวพันถึงผล ยากที่จะแนะนำ คือยากที่จะ
รู้ตามได้ว่า สภาพอย่างนี้เป็นผลวิบากของทานชนิดนี้. อีกประ-
การหนึ่ง บทว่า ทุรนฺนโย ได้แก่ ยากที่จะได้บรรลุ. อธิบายว่า
ชนผู้มิใช่บัณฑิตไม่ให้ทานแล้ว ไม่สามารถจะได้ผลทาน. บทว่า

นานา โหติ อิโต คติ ได้แก่ การถือปฏิสนธินั้นของสัตว์ผู้เคลื่อน
จากโลกนี้แล้วไปสู่ปรโลก ย่อมต่าง ๆ กัน. บทว่า อสนฺโต นิรยํ
อนฺติ ได้แก่ ชนที่ไม่ใช่บัณฑิต เป็นคนทุศีลไม่ให้ทาน ไม่รักษา

ศีล ย่อมไปสู่นรก. บทว่า สนฺโต สคฺคปรายนา ความว่า ส่วน
ผู้เป็นบัณฑิต ให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถ บำเพ็ญสุจริต ๓
ย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือย่อมเสวยสุขสมบัติอัน
ยิ่งใหญ่.

พระโพธิสัตว์ครั้นกระทำอนุโมทนาอย่างนี้แล้ว พักอยู่
ณ ที่นั้นตลอดฤดูฝน เมื่อพ้นฤดูฝนก็ไปป่าหิมพานต์ ยังฌาน
ให้เกิด ไม่เสื่อมฌาน ก็ได้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. หมู่ฤๅษีในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้ ส่วน
ครูประจำคณะ คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาทุทททชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กัลยาณธรรมชาดก ๒. ทัททรชาดก ๓. มักกฏชาดก
๔. ทุพภิยมักกฏชาดก ๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก ๖. กฬายมุฏฐิ-
ชาดก ๗. ตินทุกชาดก ๘. กัจฉปชาดก ๙. สตธรรมชาดก
๑๐. ทุทททชาดก.
จบ กัลยาณธรรมวรรคที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อรรถกถาอสทิสชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
มหาภิเนกษกรม (การออกเพื่อคุณยิ่งใหญ่) ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธนุคฺคโห อสทิโส ดังนี้.

เรื่องพิสดารมีอยู่ว่าวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกัน
ในโรงธรรมพรรณนามหาภิเนกขัมมบารมี. พระศาสดาเสด็จ
มาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกสู่มหาภิเนกษกรม
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนตถาคตก็สละเศวตฉัตรออกบวช
เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระองค์. เมื่อพระราชกุมารประสูติโดย
สวัสดี ในวันขนานพระนาม พระชนกชนนีตั้งพระนามว่า อสทิส

ราชกุมาร. ครั้นถึงคราวที่พระโอรสเสด็จดำเนินไปมาได้ สัตว์
ผู้มีบุญอื่นก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระราชเทวี. เมื่อ
พระโอรสนั้นประสูติโดยสวัสดี ในวันขนานพระนาม พระชนก-
ชนนีตั้งพระนามว่า พรหมทัตกุมาร. ในพระราชกุมารทั้งสอง

พระองค์ พระโพธิสัตว์เมื่อมีพระชนม์ได้สิบหกพรรษา เสด็จไป
เมืองตักกสิลา ทรงศึกษาไตรเพทและศิลปะทุกชนิด อันเป็น
พื้นฐานของวิชาสิบแปดประการหาผู้เปรียบมิได้ในศิลปะยิงธนู
แล้วเสด็จกลับกรุงพาราณสี.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระราชาเมื่อจะเสด็จสวรรคต ได้มีพระราชโองการว่า
ให้มอบราชสมบัติแก่อสทิสราชกุมาร ให้ตำแหน่งอุปราชแก่
พรหมทัตกุมาร. แล้วก็เสด็จสวรรคต. เมื่อพระราชาเสด็จ
สวรรคตแล้ว เมื่อเขาจะมอบราชสมบัติให้ พระโพธิสัตว์ทรง
ปฏิเสธว่า เราไม่ต้องการราชสมบัติ จึงอภิเษกพรหมทัตราชกุมาร

ให้ครองราชสมบัติ. พระโพธิสัตว์รับสั่งว่า เราไม่ต้องการยศ
จึงไม่ทรงปรารถนาอะไรทั้งสิ้น. เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอครอง
ราชสมบัติ พระโพธิสัตว์ก็ทรงสถิตย์อยู่โดยอาการเหมือน
พระราชาตามปกตินั่นเอง. พวกข้าทูลละอองธุลีพระบาท พากัน

กล่าวให้ร้ายพระโพธิสัตว์ในราชสำนักว่า อสทิสราชกุมาร
ทรงปรารถนาราชสมบัติ. พรหมทัตราชาก็ทรงเชื่อคำของพวก
เขา จึงมีพระทัยแตกแยก ทรงส่งราชบุรุษไปสำทับว่า พวกท่าน
จงจับพระเจ้าพี่ของเรา. ครั้งนั้น มีผู้หวังดีต่อพระโพธิสัตว์

คนหนึ่ง แจ้งเหตุการณ์นั้นให้ทรงทราบ. พระโพธิสัตว์ทรงกริ้ว
พระกนิษฐภาดา เสด็จไปยังแคว้นอื่น แล้วให้คนกราบทูลแด่
พระราชาว่ามีนักยิงธนูคนหนึ่งมายืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง.
พระราชารับสั่งถามว่า เขาต้องการค่าจ้างเท่าไร. กราบทูลว่า

ต้องการปีละหนึ่งแสนพระเจ้าข้า. รับสั่งว่า ดีแล้ว เข้ามาเถิด.
พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ซึ่งมายืนอยู่ ณ ที่ใกล้ว่า เจ้า
เป็นนักยิงธนูหรือ. กราบทูลว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า. รับสั่งว่า
ดีแล้ว จงรับราชการกับเรา. ตั้งแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์อยู่รับ

ราชการกับพระราชา. พวกนักยิงธนูรุ่นเก่าเห็นค่าใช้จ่ายที่
พระราชทานแก่พระโพธิสัตว์ จึงพากันยกโทษว่า ได้มากไป.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อยู่มาวันหนึ่งพระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน รับสั่ง
ให้กั้นฉากม่านใกล้แผ่นศิลามงคล บรรทมเหนือราชอาสน์ใหญ่
ใกล้ต้นมะม่วง ทอดพระเนตรดูเบื้องบนทรงเห็นมะม่วงพวงหนึ่ง
บนยอดไม้ ทรงดำริว่า ไม่มีใครสามารถขึ้นไปเอามะม่วงนี้ได้

รับสั่งให้หาพวกนายขมังธนูมา มีพระดำรัสว่า พวกเจ้าสามารถ
ใช้ลูกศรยิงมะม่วงพวงนี้ให้ตกได้หรือ. พวกนายขมังธนูกราบทูล
ว่า ขอเดชะข้อนี้ไม่เป็นการยากสำหรับพวกข้าพระองค์ ทั้ง
พระองค์ก็ได้ทรงเคยเห็นฝีมือของพวกข้าพระองค์มาหลายครั้ง
แล้ว แต่นายขมังธนูที่มาใหม่ได้ค่าใช้จ่ายมากกว่าพวกข้าพระองค์

ขอได้ทรงโปรดให้เขายิงเถิดพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้หา
พระโพธิสัตว์ แล้วตรัสถามว่า เจ้าสามารถยิงมะม่วงพวงนั้น
ให้ตกลงมาได้หรือ. กราบทูลว่า เมื่อได้ที่ว่างสักแห่งหนึ่งจัก
สามารถพระเจ้าข้า. รับสั่งถามว่า ที่ว่างตรงไหน. กราบทูลว่า

ที่ว่างภายในที่บรรทมของพระองค์พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่ง
ให้ย้ายที่พระบรรทมแล้วพระราชทานที่ว่างให้. พระโพธิสัตว์
ไม่มีธนูในพระหัตถ์. พระองค์ทรงเหน็บธนูไว้ในระหว่างพระภูษา
เสด็จเที่ยวไป เพราะฉะนั้นพระองค์จึงตรัสว่า ควรจะได้ผ้าม่าน

สักผืน. พระราชารับสั่งให้นำผ้าม่านมากั้น. พระโพธิสัตว์
เข้าไปภายในม่าน เปลื้องผ้าทรงชั้นนอกออก ทรงนุ่งผ้าแดง
ผืนหนึ่งผูกผ้าเคียนพุง คาดผ้าแดงผืนหนึ่งที่พระอุทร ทรงหยิบ
พระขรรค์พร้อมทั้งฝักออกจากถุง ทรงเหน็บไว้ด้านซ้าย ทรง

สวมเสื้อสีทองเหน็บกระบอกแล่งศรไว้ข้างหลัง ทรงถือเมณฑก-
มหาธนู พร้อมทั้งเครื่องประกอบ ทรงโก่งสายสีแก้วประพาฬ
ทรงสวมพระอุณหิส ทรงกวัดแกว่งลูกศรอันคมด้วยพระนขา
ทรงแหวกม่านเสด็จออกไปยังที่แผลงศร ดุจนาคกุมารตกแต่ง

กายชำแรกแผ่นดินออกมาฉะนั้น ครั้นพาดลูกศรแล้วจึงกราบทูล
พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์จะให้มะม่วงพวงนี้ตกลงมา
ด้วยลูกศรตอนขึ้นหรือลูกศรตอนลง พระเจ้าข้า. รับสั่งว่า
พ่อคุณเอ๋ย คนเป็นอันมากเขายิงลูกศรตอนขึ้น เราเคยเห็น แต่ยิง
ด้วยลูกศรตอนลงเราไม่เคยเห็น เจ้าจงยิงให้ตกด้วยลูกศรตอน
ลงเถิด. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ลูกศรนี้จักขึ้นไปไกล

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 28, 29, 30, 31, 32, 33, 34 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร