วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 11:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 58, 59, 60, 61, 62, 63, 64 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พ่อค้าโกงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่นาย พ่อค้าผู้นี้
พาบุตรของข้าพเจ้าไปอาบน้ำ เมื่อข้าพเจ้าถามว่าบุตรของเรา
ไปไหน เขาบอกว่า เหยี่ยวพาเอาไป ขอท่านได้โปรดวินิจฉัย
คดีของข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์ถามพ่อค้าบ้านนอกว่า ท่าน
พูดจริงหรือ. พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ข้าพเจ้าพาเด็กนั้นไปจริง

นาย. ถามว่า เหยี่ยวพาเด็กไปได้จริงหรือ. ตอบว่า จริงจ้ะนาย.
ถามว่า ก็ในโลกนี้ธรรมดาเหยี่ยวจะนำเด็กไปได้หรือ. พ่อค้า
บ้านนอกกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า เหยี่ยวไม่
สามารถพาเด็กไปในอากาศได้ แต่หนูเคี้ยวกินผาลเหล็กได้หรือ.
พระโพธิสัตว์ถามว่านี่เรื่องอะไรกัน. พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า

ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าฝากผาลไว้ ๕๐๐ ที่เรือนของพ่อค้านี้ พ่อค้า
นี้บอกว่าผาลของท่านถูกหนูกินเสียแล้วชี้ให้ดูขี้หนูว่า นี้คือขี้
ของหนูที่กินผาลของท่าน ข้าแต่นาย ถ้าหนูกินผาลได้ แม้เหยี่ยว
ก็จักพาเอาเด็กไปได้ หากกินไม่ได้ แม้เหยี่ยวก็จะนำเด็กนั้นไป

ไม่ได้ พ่อค้านี้กล่าวว่า หนูกินผาลหมดแล้ว ท่านจงทราบเถิดว่า
ผาลเหล่านั้นถูกหนูกินจริงหรือไม่ ขอได้โปรดพิพากษาคดีของ
ข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์ทราบว่า พ่อค้าบ้านนอกนี้ คงจะ
คิดโกงแก้เอาชนะคนโกง จึงกล่าวว่า ท่านคิดดีแล้ว ได้กล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า :-

ท่านได้คิดอุบายตอบอุบายดีแล้ว ได้คิด
โกงตอบผู้โกงดีแล้ว ถ้าหนูทั้งหลายพึงกินผาลได้
เหตุไฉนเหยี่ยวทั้งหลายจะเฉี่ยวเด็กไปไม่ได้เล่า.
บุคคลที่โกงตอบคนโกง ย่อมมีอยู่แน่นอน
บุคคลที่ล่อลวงก็มีอยู่เหมือนกัน ดูก่อนท่านผู้
มีบุตรหาย ท่านจักไม่ให้ผาลแก่เขา บุรุษผู้มีผาล
หาย ก็จะไม่นำบุตรมาให้แก่ท่าน.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านี้ บทว่า สฐสฺส ความว่า การโกงแก้ผู้ที่โกง
โดยอุบายงุบงิบของผู้อื่นเสีย. บทว่า สาเถยฺยมิทํ สุจินฺติตํ ได้แก่
ความโกงนี้ท่านคิดดีแล้ว. บทว่า ปจฺโจฑฺฑิตํ ปฏิกูฏสฺส กูฏํ
ความว่า การโกงตอบต่อบุคคลโกง ท่านจัดการแก้ดีแล้ว. อธิบาย
ว่าทำแก้ได้ขนาดที่เขาทำทีเดียว. บทว่า ผาลํ เจ อเทยฺยุํ มูสิกา
ความว่า หากหนูกินผาลได้ ไฉนเหยี่ยวจะนำเด็กไปไม่ได้ เพราะ

ฉะนั้น เมื่อหนูกินผาลได้ ทำไมเหยี่ยวจะนำเด็กไปไม่ได้. บทว่า
กูฏสฺส หิ สนฺติ กูฏกูฏา ความว่า ท่านเข้าใจว่า เราถูกบุรุษ
ที่ให้หนูกินผาลโกง ก็การจะโกงแก้ผู้ที่โกงเช่นนี้ ยังมีอีกมาก
ในโลกนี้ คือการโกงตอบคนโกง ยังมีอยู่. บทว่า ภวติ ปโร

นิกติโน นิกตฺยา ความว่า บุคคลผู้ตลบแตลง ผู้ทำการล่อลวง
ยังมีอีกทีเดียว ดูก่อนบุรุษผู้บุตรหาย จงคืนผาลให้แก่บุรุษผู้
ผาลหายนี้เถิด ถ้าท่านไม่ให้ผาล เขาจักพาบุตรของท่านไป แต่
บุรุษนี้อย่าเอาผาลของท่านไปเลย ท่านจงให้ผาลแก่เขาเสียเถิด.
พ่อค้าโกงกล่าวว่า ข้าแต่นายข้าพเจ้ายอมคืนให้ ถ้าเขาจะคืน

บุตรให้ข้าพเจ้า. พ่อค้าบัณฑิตกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าจะ
คืนบุตรให้ ถ้าเขาจะคืนผาลให้ข้าพเจ้า. พ่อค้าที่บุตรหายก็ได้
คืนบุตร พ่อค้าผาลหายก็ได้คืนผาล แล้วทั้งสองก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พ่อค้าโกงในครั้งนั้นได้เป็นพ่อค้าโกงในครั้งนี้. พ่อค้า
บัณฑิตได้เป็นพ่อค้าบัณฑิตนี้แล ส่วนอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี คือ
เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากูฏวาณิชชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุกระสันเพราะเบื่อหน่าย รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หิรญฺญํ เม สุวณฺณํ เม ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้นไม่มีอารมณ์ยึดแน่วแน่เลย. ภิกษุ
ทั้งหลายนำภิกษุผู้เบื่อหน่ายนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พระ-
ศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า
จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร กราบทูลว่า เพราะ

อำนาจกิเลสพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ ธรรมดากิเลสแม้สัตว์เดียรฉานทั้งหลายในกาลก่อนก็
ติเตียน เธอบวชแล้วในพระศาสนาเช่นนี้ เหตุไฉนจึงกระสันด้วย
อำนาจกิเลสที่แม้สัตว์เดียรฉานก็ติเตียน ทรงนำอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดวานร ในหิมวันต-
ประเทศ. ชาวป่าผู้หนึ่งจับวานรนั้นมาถวายพระราชา. วานร
นั้นเมื่อได้อยู่ในพระราชวังเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นสัตว์

เรียบร้อย. รู้กิริยาที่ประพฤติกันในหมู่มนุษย์เป็นอันมาก.
พระราชาทรงเลื่อมใสในจริยาวัตรของวานรนั้น รับสั่ง
หาพรานป่ามาตรัสว่า จงปล่อยวานรเสียในที่ที่จับได้. พราน
ได้ทำตามรับสั่ง. ฝูงวานรรู้ว่าพระโพธิสัตว์มา เมื่อเห็นพระ-

โพธิสัตว์นั้นจึงประชุมกันที่หลังแผ่นหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ต่างชื่นชม
กับพระโพธิสัตว์แล้วถามว่า สหายท่านอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานาน.
ตอบว่า เราอยู่ในพระราชนิเวศน์ในกรุงพาราณสี.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ถามว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านพ้นมาได้อย่างไร. พระราชา
ทำเราให้เป็นลิงสำหรับล้อเล่น แล้วทรงเลื่อมใสในวัตรของเรา
จึงทรงปล่อยเรา. ลำดับนั้น วานรทั้งหลายพูดกะพระโพธิสัตว์ว่า
ท่านรู้กิริยาที่ประพฤติกับมนุษยโลก ขอท่านจงบอกแก่พวกเรา
ก่อน พวกเราประสงค์จะฟัง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เธออย่าถาม

กิริยาของมนุษย์กะเราเลย. พวกวานรกล่าวว่า บอกเถิดท่าน
พวกเราอยากฟัง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์เป็น
กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม ล้วนกล่าวว่าของเรา ของเรา
ย่อมไม่รู้ถึงความไม่เที่ยง ความไม่มีอยู่ บัดนี้พวกเธอจงฟัง
การกระทำของคนอันธพาลเหล่านั้น. แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

คนทั้งหลายผู้มีปัญญาเขลา ไม่เห็นอริย-
ธรรม พูดกันแต่ว่า เงินของเรา ทองของเรา ดังนี้
ทั้งกลางคืนและกลางวัน.
ในเรือนหลังหนึ่ง มีเจ้าเรือนอยู่สองคน
ในสองคนนั้น คนหนึ่งไม่มีหนวด แต่มีนมห้อย
ยาน เกล้าผมมวย และเจาะหูเขาซื้อมาด้วยทรัพย์
มาก เจ้าของเรือนผู้นั้นย่อมกล่าวเสียดแทงคน
ในเรือนนั้น ตั้งแต่แรกมาอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า หิรญฺญํ เม สุวณฺณํ เม นี้เป็นเพียง
หัวข้อเทศนา. ด้วยบททั้งสองนี้กินความรวมรัตนะทั้งสิบประการ
บุพพัณณชาติ อปรัณณชาติ ไร่นา เรือกสวนและสัตว์ ๒ เท้า
๔ เท้า ทุกอย่าง แล้วกล่าวว่านี่ของเรา นี้ของเรา. บทว่า

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เอสา รตฺติทิวา กตา ความว่า พวกมนุษย์พูดกันเป็นนิจทั้งกลางวัน
และกลางคืน มิได้รู้อย่างอื่นว่า เบญจขันธ์ไม่เที่ยงหรือเป็น
แล้วหาเป็นไม่ เที่ยวเพ้อรำพันอยู่อย่างนี้แล. บทว่า ทุมฺเมธานํ
คือ มีปัญญาทราม. บทว่า อริยธมฺมํ อปสฺสตํ ความว่า ไม่เห็น
ธรรมของพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือโลกุตตรธรรม
๙ อันประเสริฐไม่มีโทษ เขาไม่มีการพูดอย่างอื่นว่า ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์. บทว่า คหปตโย ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในเรือน. บทว่า
เอโก ตตฺถ ได้แก่ ในเจ้าของเรือนสองคนนั้น ท่านกล่าวหมาย
ถึง มาตุคามคนเดียว. บทว่า เวณิกโต คือ เกล้ามวยผม อธิบาย
ว่า มีทรงผมต่าง ๆ. บทว่า อโถ องฺกิตกณฺณโก ได้แก่ เจาะหู

คือหูมีรูเจาะ ท่านกล่าวหมายถึงมีหูห้อย. บทว่า กีโต ธเนน
พหุนา ความว่า คนที่ไม่มีหนวดมีนมยาน เกล้ามวยผม เจาะหู
เขาให้ทรัพย์มากแก่มารดาบิดา แล้วไถ่มาประดับตกแต่งยก
ขึ้นสู่ยานพาไปเรือนพร้อมด้วยบริวารใหญ่. บทว่า โส ตํ วิตุทเต

ชนํ ความว่า เจ้าบ้านคนนั้น ตั้งแต่มาก็ใช้หอก คือปากทิ่มแทง
คนในเรือนมีทาสและกรรมกรเป็นต้น ที่เรือนนั้นว่า เจ้าทาส
ใจร้าย แม่ทาสีใจร้าย เจ้าทำสิ่งนี้ไม่ทำสิ่งนี้ เจ้าตรวจตราผู้คน
ทำเหมือนอย่างนาย. วานรพระโพธิสัตว์ติเตียนชาวมนุษย์ว่า
ชาวมนุษย์ไม่สมควรอย่างยิ่งด้วยประการฉะนี้.

วานรทั้งหมดได้ฟังดังนั้น เอามือทั้งสองปิดหูจนแน่น
กล่าวว่า ท่านอย่าพูดเลย พวกเราฟังสิ่งไม่ควรฟัง. ติเตียนที่
นั้นว่า พวกเราฟังสิ่งที่ไม่ควรฟังในที่นี้แล้วพากันไปในที่อื่น.
นัยว่าหินดาดนั้น ได้ชื่อว่า ครหิตปิฏฐิปาสาณะ (หินดาดที่ถูก
ติเตียน)

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุนั้นตั้งอยู่
ในโสดาปัตติผล. ฝูงวานรในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้
ส่วนพญาวานร คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาครหิตชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุขํ ชีวิตรูโปว ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต
พยายามฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนก็พยายาม
ฆ่าเราเหมือนกัน แต่ไม่อาจทำแม้เพียงความสะดุ้งสะเทือน จึง
นำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า ยศปาณีเสวยราชสมบัติ
อยู่ในกรุงพาราณสี. มีเสนาบดีชื่อ กาฬกะ ในครั้งนั้นพระโพธิ-
สัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้ายศปาณีนั้น ชื่อ ธรรมธัช. ส่วน
กัลบกผู้แต่งพระศกของพระองค์ชื่อ ฉัตตปาณี. พระราชาทรง
ครองราชสมบัติโดยธรรม. แต่เสนาบดีของพระองค์ เมื่อจะ

วินิจฉัยคดีย่อมกินสินบน รับสินบนแล้วย่อมทำผู้ที่มิใช่เจ้าของ
ให้เป็นเจ้าของดุจคนคอยกินเนื้อสันหลังของผู้อื่น.

อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์คนหนึ่งถูกตัดสินให้แพ้คดีที่ศาล
ประคองแขนสะอึกสะอื้นออกจากศาล เห็นพระโพธิสัตว์กำลัง
ไปทำราชการ จึงซบลงที่เท้าพระโพธิสัตว์เล่าเรื่องที่ตนแพ้คดี
ว่า ข้าแต่นาย เมื่อคนเช่นท่านถวายอรรถและธรรมแด่พระราชา
ยังอยู่ กาฬกะเสนาบดีรับสินบนทำผู้ที่ไม่เป็นเจ้าของให้เป็น

เจ้าของ. พระโพธิสัตว์เกิดความสงสารกล่าวว่า มาเถิดพ่อหนุ่ม
เราจักวินิจฉัยคดีของท่านเอง แล้วพามนุษย์ผู้นั้นไปยังศาล.
มหาชนประชุมกัน. พระโพธิสัตว์กลับตัดสินให้เจ้าของนั้นแหละ
เป็นเจ้าของ. มหาชนต่างแซ่ซร้องสาธุการ. เสียงนั้นได้อึกทึก
สนั่นไป. พระราชาทรงสดับเสียงนั้นตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร.
ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ธรรมธัชบัณฑิตตัดสินคดีที่

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กาฬกะเสนาบดีตัดสินไว้ผิดให้ถูก นั่นเป็นเสียงแซ่ซร้องสาธุการ
ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงโสมนัสตรัสให้หาพระ-
โพธิสัตว์มาตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ได้ยินว่า ท่านตัดสินคดี
หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถูกแล้วพระเจ้าข้า ท่านกาฬกะ-
เสนาบดี ตัดสินไว้ไม่ดี ข้าพระพุทธเจ้าจึงวินิจฉัยเสียใหม่ แล้ว

ตรัสว่าตั้งแต่นี้ไป ขอให้ท่านจงตัดสินคดีเถิด เราจะได้สบายหู
ทั้งประชาชนจะได้มีความเจริญ แล้วทรงขอร้องว่า ท่านจงนั่งที่
ตัดสินคดี เพื่ออนุเคราะห์ต่อราษฎรเถิด แม้พระโพธิสัตว์ไม่
ปรารถนาก็ได้ทำตามพระประสงค์. ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็
นั่ง ณ ที่ตัดสินคดี. กระทำผู้เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ. กาฬกะ-

เสนาบดี เมื่อไม่ได้รับสินบนตั้งแต่นั้นมาก็เสื่อมจากลาภ จึง
เพ็จทูลพระราชาให้บาดหมางพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช
ธรรมธัชบัณฑิต ปรารถนาราชสมบัติของพระองค์. พระราชา
ไม่ทรงเชื่อ ทรงห้ามว่าท่านอย่าพูดอย่างนั้น เมื่อเสนาบดีกราบ

ทูลอีกว่า หากพระองค์ไม่ทรงเชื่อข้าพระองค์ ขอจงทรงคอย
ทอดพระเนตรทางพระแกลในเวลาที่ธรรมธัชบัณฑิตมาเถิด
ที่นั้นพระองค์จะทรงเห็นพระนครทั้งสิ้นถูกธรรมธัชบัณฑิต
กำไว้ในเงื้อมมือของตน พระราชาทอดพระเนตรขบวนพวกลูก
ความของธรรมธัชบัณฑิต ทรงเข้าใจว่าเป็นพวกของธรรมธัช-

บัณฑิตทั้งสิ้น ทรงแหนงพระทัย ตรัสถามว่า เราจะทำอย่างไร
เสนาบดี. กราบทูลว่า ขอเดชะควรฆ่าธรรมธัชบัณฑิตพระเจ้าข้า.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ตรัสว่า เรายังไม่เห็นโทษร้ายแรงจะฆ่าเขาอย่างไรได้. กราบทูล
ว่า มีอุบายอย่างหนึ่งพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่าอุบายอย่างไร.
กราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงยกกรรมอันให้แก่ธรรมธัชบัณฑิต
นั้น แล้วฆ่าเขาผู้ไม่สามารถทำกรรมนั้นได้เสีย โดยความผิด
นั้นเถิดพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ก็กรรมอันเหลือวิสัยของธรรมธัช-

บัณฑิตเป็นอย่างไร. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ธรรมดาอุทยาน
ที่ปลูกสร้างในพื้นดินแข็งบำรุงอยู่ จะให้ผลใน ๓-๔ ปี ขอพระองค์
ตรัสเรียกธรรมธัชบัณฑิตนั้นมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต
เราประพาสอุทยานเก่ามานานแล้ว บัดนี้ประสงค์จะประพาส

อุทยานใหม่ พรุ่งนี้เราจะไปประพาสอุทยาน ท่านจงสร้างอุทยาน
ให้เราเถิด ธรรมธัชบัณฑิตนั้น คงสร้างไม่ได้เป็นแน่ ทีนั้นแหละ
พระองค์จักสำเร็จโทษธรรมธัชบัณฑิตเสีย. พระราชาตรัสเรียก
พระโพธิสัตว์มาตรัสตามที่กาฬกะเสนาบดีทูลอุบายทุกประการ.

พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระราชาถูกกาฬกะเสนาบดีผู้
ไม่ได้รับสินบนเพ็จทูลยุยงแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์
สามารถจักรู้เอง กลับไปเรือน บริโภคโภชนะอย่างดี นอนคิด
ตรองอยู่บนที่นอน พิภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการร้อน.
ท้าวเธอตรวจดูก็รู้ความคิดของพระโพธิสัตว์ รีบเสด็จมาเข้าห้อง

อันมีสิริประทับยืนอยู่บนอากาศ ตรัสถามว่า บัณฑิตท่านคิดอะไร
พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านเป็นใคร ตอบว่าเราเป็นท้าวสักกะ.
พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า พระราชาให้ข้าพระองค์สร้างอุทยาน
ใหม่ ข้าพระองค์คิดว่า จักทำอย่างไรจึงจะสร้างได้ ท้าวสักกะ
ตรัสว่า บัณฑิตท่านอย่าคิดเลย เราจักเนรมิตอุทยานเช่นกับ

สวนนันทวันและจิตรลดาให้ท่าน ท่านจะให้สร้างที่ไหน. พระโพธิ-
สัตว์ทูลว่า ขอจงสร้างที่โน้นเถิด. ท้าวสักกะเนรมิตแล้วก็เสด็จ
กลับเทพนคร. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์เห็นอุทยานโดยประจักษ์แล้ว
จึงไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช อุทยานสำหรับ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระองค์สำเร็จแล้ว ขอจงเสด็จประพาสเถิด พระราชาเสด็จไป
ทอดพระเนตรเห็นอุทยานแวดล้อมด้วยปราการมีสีดังมโนสิลา
สูง ๑๘ ศอก มีประตูหอรบครบครัน ประดับด้วยรุกขชาติ
นานาพรรณ ผลิดอกออกผลสะพรั่ง จึงตรัสถามกาฬกะเสนาบดี
ว่า บัณฑิตได้ทำตามคำสั่งของเราแล้ว บัดนี้เราจะทำอย่างไร

ต่อไป. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บัณฑิตสามารถสร้าง
อุทยานได้โดยคืนเดียว จะไม่สามารถชิงราชสมบัติหรือ. พระ-
ราชาตรัสถามว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า
จะให้ทำกรรมที่สุดวิสัยอย่างอื่น พระเจ้าข้า. ตรัสถาม กรรม
อะไร. กราบทูลว่า ขอจงโปรดให้สร้างสระโบกขรณีอันแล้ว

ด้วยแก้ว ๗ ประการ พระราชารับว่า ดีละ จึงตรัสเรียกพระ-
โพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยานท่านได้สร้าง
เสร็จแล้ว ท่านจงสร้างสระโบกขรณีอันแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ
อันสมควรแก่อุทยานนี้เถิด ถ้าไม่สามารถสร้างได้ ชีวิตท่าน
จะหาไม่. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์

สามารถจักสร้างถวายได้ พระเจ้าข้า. ลำดับนั้นท้าวสักกะจึง
เนรมิตสระโบกขรณีอันงดงามยิ่งมีท่าสนานร้อยหนึ่ง มีเขา
วงกตพันหนึ่ง คาดาดไปด้วยดอกปทุมห้าสีเช่นกับสระโบกขรณี
นันทา. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์ได้ทำสระนั้นให้ประจักษ์แล้ว จึง

กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าสร้างสระโบก-
ขรณีเสร็จแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาทอดพระเนตรเห็นสระ-
โบกขรณีนั้น จึงตรัสถามกาฬกะว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงสั่งให้สร้างคฤหาสน์อันคู่ควร
แก่อุทยานเถิด. พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์บัดนี้ท่านจงสร้าง
คฤหาสน์อันล้วนแล้วไปด้วยงาช้าง สมควรแก่อุทยานนี้ และ
สระโบกขรณีเถิด หากสร้างไม่ได้ชีวิตของท่านจะหาไม่. ครั้น
แล้วท้าวสักกะก็เนรมิตคฤหาสน์ให้แก่พระโพธิสัตว์. รุ่งขึ้น
พระโพธิสัตว์ทำคฤหาสน์นั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่

พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นคฤหาสน์นั้นแล้ว จึงตรัส
ถามกาฬกะว่า บัดนี้จะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราช ขอพระองค์จงรับสั่งให้สร้างแก้วมณีอันสมควรแก่
คฤหาสน์นั้นเถิดพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้พระโพธิสัตว์

มาหาตรัสว่า บัณฑิตท่านจงสร้างแก้วมณีอันสมควรแก่คฤหาสน์
ล้วนแล้วไปด้วยงานี้เถิด เราจักเที่ยวเดินด้วยแสงสว่างแห่ง
แก้วมณี หากท่านสร้างไม่ได้ ชีวิตของท่านจะไม่มี. ครั้งนั้น
ท้าวสักกะเนรมิตแก้วมณีให้พระโพธิสัตว์. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์
กระทำแก้วมณีนั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา. พระ-

ราชาทอดพระเนตรเห็นแก้วมณีนั้น ตรัสถามกาฬกะ บัดนี้เรา
จะทำอย่างไรต่อไป. กาฬกะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เห็นจะ
มีเทวดาคอยเนรมิตให้สิ่งที่ปรารถนาแก่พราหมณ์ธรรมธัชเป็น
แน่ คราวนี้สิ่งใดแม้เทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตได้ ขอพระองค์
จงรับสั่งสิ่งนั้นเถิด แม้เทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตมนุษย์ผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๔ ได้ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงรับสั่งกะธรรมธัชว่า
ท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ เถิด. พระราชา
ตรัสเรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยาน
สระโบกขรณีและปราสาท อันแล้วด้วยงา และแก้วมณีสำหรับ
ส่องแสงสว่างแก่ปราสาท ท่านสร้างให้แก่เราเสร็จแล้ว บัดนี้
ท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ทำหน้าที่

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
รักษาอุทยานแก่เราเถิด หากท่านสร้างไม่ได้ชีวิตจะไม่มี. พระ-
โพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอจงยกไว้เป็นพนักงานเถิด เมื่อข้าพระองค์
ได้ จักรู้เอง จึงกลับไปบ้านบริโภคอาหารอย่างดีแล้ว นอนตื่น
ขึ้นในตอนรุ่ง นั่งคิดอยู่บนหลังที่นอนว่า ท้าวสักกเทวราชสามารถ
เนรมิตแต่สิ่งที่ตนเนรมิตได้ แต่คงไม่สามารถเนรมิตคนเฝ้า

อุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การตายอย่าง
อนาถาในป่านั่นแลดีกว่าการตายในเงื้อมมือของผู้อื่น. พระ-
โพธิสัตว์มิได้บอกเล่าแก่ใคร ๆ ลงจากเรือนออกจากพระนคร
ทางประตูใหญ่ เข้าป่านั่งรำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษ ณ โคน
ต้นไม้ต้นหนึ่ง. ท้าวสักกะทราบเหตุนั้น จึงแปลงเป็นพรานไพร

เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ เมื่อจะตรัสถามความนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์
ท่านเป็นผู้แบบบางประหนึ่งว่าจะไม่เคยเห็นทุกข์ยากมาก่อนเลย

ท่านอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น
มาสู่ป่าอันสงัดเงียบ ท่านนั้นนั่งซบเซาอยู่ที่
โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือนคนกำพร้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ ชีวิตรูโปสิ ความว่า ท่านดำรง
อยู่ในความสุข เช่นกับมีชีวิตอยู่ด้วยความสุข คือดุจบริหาร
ให้มีความสุข. บทว่า รฏฺฐา คือ จากที่ที่วุ่นวายด้วยมนุษย์. บทว่า
วิวนมาคโต คือ เข้าป่าอันเป็นที่ไม่มีน้ำ. บทว่า รุกฺขมูเล คือ
ใกล้ต้นไม้. บทว่า กปโณ วิย ฌายสิ ความว่า ท่านนั่งซบเซา

อยู่ผู้เดียวเหมือนคนกำพร้า. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ท่านคิดอะไร
อยู่.
พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น
มาอยู่ป่าสงัดเงียบ ระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ
อยู่ นั่งซบเซาอยู่ที่โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือน
คนกำพร้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สตํ ธมฺมํ อนุสฺสรํ ความว่า ดูก่อน
สหาย นั่นเป็นความจริง เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้จากบ้านเมือง
มาสู่ป่า เราผู้เดียวเท่านั้นนั่งที่โคนต้นไม้ในป่านี้ ย่อมซบเซา
เหมือนคนกำพร้า ท่านได้ถามว่า ท่านคิดเรื่องอะไร ข้าพเจ้า

ขอตอบแก่ท่าน. บทว่า สตํ ธมฺมํ ความว่า ก็ข้าพเจ้านั่งอยู่ที่นี้
รำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษผู้สงบ ผู้เป็นบัณฑิต คือพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย แท้จริงโลกธรรม ๘
ประการนี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ
สุข ทุกข์ แต่สัตบุรุษทั้งหลาย ถูกโลกธรรม ๘ นี้ กระทบย่อม

ไม่หวั่น ไม่ไหว ธรรมของสัตบุรุษอันได้แก่ ความไม่หวั่นไหว
ในโลกธรรม ๘ นี้ ข้าพเจ้านั่งระลึกถึงธรรมนี้ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้นท้าวสักกะจึงตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์เมื่อ
เป็นเช่นนี้ เหตุใดท่านจึงนั่งอยู่ที่นี่เล่า. พระโพธิสัตว์ตอบว่า
พระราชารับสั่งให้หาบุคคลผู้รักษาสวนประกอบด้วยองค์ ๔
แต่ข้าพเจ้าไม่อาจหาบุคคลเช่นนั้นได้ จึงคิดว่าจะมีประโยชน์

อะไรด้วยความตายในเงื้อมมือของผู้อื่น เราจักเข้าป่าไปตาย
อย่างอนาถา จึงได้มานั่งอยู่ที่นี่. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์
เราคือท้าวสักกะ เราเนรมิตสวนให้ท่านแล้ว แต่ไม่สามารถจะ

เนรมิตผู้รักษาสวนซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ได้. ช่างกัลบกผู้
แต่งพระศกของพระราชาท่านชื่อว่า ฉัตตปาณี เป็นผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้รักษาสวน ท่านจงกราบทูล

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ให้ทรงแต่งตั้งช่างกัลบกนั้นเป็นผู้รักษาสวนเถิด. ท้าวสักกเทวราช
ประทานโอวาทแก่พระโพธิสัตว์แล้ว ทรงปลอบโยนว่า อย่ากลัว
เลย แล้วเสด็จคืนสู่เทพบุรีของพระองค์. พระโพธิสัตว์ไปบ้าน
บริโภคอาหารแล้วไปถึงประตูพระราชวัง พบฉัตตปาณีที่ประตู
พระราชวังนั้น จับมือฉัตตปาณีแล้วถามว่า สหายฉัตตปาณีได้

ข่าวว่าท่านประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ เมื่อฉัตตปาณีถามว่า
ใครเป็นผู้บอกท่านว่า ข้าพเจ้าประกอบด้วยองค์ ๔. ตอบว่า
ท้าวสักกเทวราช. ถามว่า เหตุใดจึงบอก. พระโพธิสัตว์จึง
เล่าเรื่องทั้งหมดว่า บอกด้วยเหตุนี้. ฉัตตปาณีกล่าวว่า ถูกแล้ว
ข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึง

จับมือฉัตตปาณีไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ฉัตตปาณีนี้เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้
รักษาสวน ขอจงทรงตั้งฉัตตปาณีนี้เป็นผู้รักษาสวนเถิด พระ-
เจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ได้ยินว่าท่าน

เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ กราบทูลว่าถูกแล้ว พระเจ้าข้า
พระราชาตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คืออะไร
บ้าง. ฉัตตปาณีทูลว่า :-

ขอเดชะ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา เป็นผู้
ไม่ดื่มน้ำเมา เป็นผู้ไม่ติดในความรัก เป็นผู้
ตั้งมั่นอยู่ในความไม่โกรธ.

ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าความริษยาไม่มีแก่ข้าพระองค์ น้ำเมา
ข้าพระองค์ไม่เคยดื่ม ความรักก็ดี ความโกรธก็ดี ไม่เคยมีใน
ผู้อื่น ข้าพระองค์ประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนฉัตตปาณี ท่าน
เป็นผู้ไม่ริษยาหรือ. กราบทูลว่า ขอเดชะ ถูกแล้วพระเจ้าข้า
ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา. ท่านเห็นเหตุอะไรจึงเป็นผู้ไม่ริษยา.
ฉัตตปาณีกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงโปรดสดับ
เถิด เมื่อจะกล่าวถึงเหตุของการไม่ริษยา จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่ราชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งให้จองจำ
ปุโรหิต เพราะหญิงเป็นเหตุ ปุโรหิตนั้นให้ข้า-
พระองค์ตั้งอยู่ในประโยชน์แล้ว เพราะฉะนั้น
ข้าพระองค์จึงไม่ริษยา.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพระองค์นี้แหละ เมื่อก่อน
เป็นพระราชาในกรุงพาราณสีนี้เอง เช่นกับพระองค์ ให้จองจำ
ปุโรหิต เพราะสตรีเป็นเหตุ คือ ครั้งหนึ่งช่างกัลบกฉัตตปาณี
นี้เป็นพระราชา ถูกพระเทวีผู้ลักลอบกับพวกข้าบาทมูล ๖๔ นาย
ผู้หวังจะให้พระโพธิสัตว์ ซึ่งไม่สนใจตนให้พินาศ ทูลยุยงให้
จองจำตามนัยที่มาแล้วในชาดกนี้ว่า :-

คนพาลแย้มพรายออกมาในที่ใด คนที่
ไม่ถูกจองจำ ก็ย่อมถูกจองจำในที่นั้น ส่วนนัก
ปราชญ์แย้มพรายออกมาในที่ใด ถึงคนที่ถูก
จองจำแล้ว ก็ย่อมหลุดออกมาได้ในที่นั้น.

ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ถูกจองจำนำไปเฝ้า จึงกราบทูล
โทษของพระเทวีตามเป็นจริง ได้รอดพ้นเอง ได้ทูลให้ปลดปล่อย
พวกข้าบาทมูลที่รับสั่งให้จองจำนั้นทั้งหมด ถวายโอวาทว่า
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงนิรโทษให้แก่พวกข้าบาทมูล
เหล่านั้น และพระเทวีเถิด พระเจ้าข้า. เรื่องราวทั้งหมดพึงทราบ
โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ฉัตตปาณีหมายถึงความข้อนั้น จึงกล่าวว่า :-
ข้าแต่ราชะ เพราะหญิงเป็นเหตุ ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ริษยา.
ก็ในกาลนั้นพระราชาฉัตตปาณีนั้น คิดว่าเราละเลยสนม
หนึ่งหมื่นหกพัน คลอเคลียอยู่กับพระเทวีเพียงนางเดียวเท่านั้น
ด้วยอำนาจกิเลส ยังไม่สามารถจะให้นางอิ่มหนำได้ ขึ้นชื่อว่า

การโกรธต่อหญิงทั้งหลายที่ให้เต็มได้ยาก อย่างนี้ก็เช่นกับการ
โกรธผ้านุ่งที่เศร้าหมองว่า เหตุใดจึงเศร้าหมองและเป็นเช่นกับ
การโกรธอาหารที่บริโภคแล้วกลับเป็นคูถ ว่าทำไมจึงกลับเป็น
คูถ. ต่อแต่นี้ไปเราขออธิษฐานว่า ยังไม่บรรลุอรหัตตราบใด ขอ

ความริษยาจงอย่าเกิดแก่เราเพราะอาศัยกิเลสตราบนั้น. ตั้งแต่
นั้นมาพระราชามิได้ทรงริษยาเลย ฉัตตปาณีกัลบกกล่าวว่า
เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงไม่ริษยา หมายถึงความข้อนี้.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนท่านฉัตตปาณี ท่าน
เห็นอารมณ์อันใดจึงเป็นผู้ไม่ดื่มน้ำเมา. ฉัตตปาณีเมื่อจะกราบทูล
ถึงเหตุนั้นจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าเมาแล้ว
จึงได้กินเนื้อบุตร ข้าพระพุทธเจ้าถูกความโศก
ถึงบุตรนั้นกระทบแล้ว จึงเว้นการดื่มน้ำเมา.

อธิบายความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อน
ข้าพระองค์เป็นพระเจ้าพาราณสีเช่นเดียวกับพระองค์ ขาดน้ำเมา
เสียแล้วก็ไม่สามารถจะดำเนินชีวิตไปได้ แม้อาหารที่ไม่มีเนื้อ
ก็ไม่สามารถบริโภคได้. ที่พระนครไม่มีการฆ่าสัตว์ในวัน
อุโบสถ. พ่อครัวซื้อเนื้อมาเก็บไว้แต่วัน ๑๓ ค่ำแห่งปักษ์. เนื้อ
นั้นเก็บไว้ไม่ดี สุนัขจึงกินเสียหมด. พ่อครัวหาเนื้อในวันอุโบสถ

ไม่ได้ จึงปรุงอาหารมีรสเลิศต่าง ๆ สำหรับพระราชายกขึ้นไป
บนปราสาท แต่ไม่อาจนำเข้าไปได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระเทวีกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระเทวีวันนี้ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้ จึงไม่อาจนำ
พระกระยาหารที่ไม่มีเนื้อเข้าไปถวายได้ ข้าพระองค์จะทำอย่างไร
ดี. พระเทวีตรัสว่า นี่แน่ะเจ้าโอรสของเราเป็นที่รักโปรดปราน

ของพระราชา. พระราชาทรงเห็นโอรสของเราแล้วก็จะทรง
จุมพิตสรวมกอดโอรสนั้นเพลินจนไม่ทรงทราบว่า เนื้อมีหรือ
ไม่มีสำหรับพระองค์. เราจะแต่งตัวโอรสแล้วให้นั่งบนพระเพลา
ของพระราชา เวลาที่พระองค์ทรงหยอกล้อพระโอรส ท่านจึง

ค่อยนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย. พระเทวีตรัสดังนั้นแล้ว
จึงตกแต่งพระราชกุมารโอรสของพระองค์ให้นั่งบนพระเพลา
ของพระราชา. ในเวลาที่พระราชาทรงหยอกล้อเล่นกับพระ-
โอรส พ่อครัวจึงนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย. พระราชาทรง

เมาสุรา ไม่ทรงเห็นเนื้อในถาด จึงตรัสถามว่า เนื้ออยู่ที่ไหน
พ่อครัวกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้
เพราะวันนี้เป็นวันอุโบสถ ไม่มีการฆ่าสัตว์ จึงตรัสว่า ชื่อว่า

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 58, 59, 60, 61, 62, 63, 64 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร