วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 15:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2011, 16:58
โพสต์: 144

งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: มุก
อายุ: 29
ที่อยู่: จ.ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุสำหรับทุกความคิดเห็นค่ะ อ่านแล้วได้ประโยชน์มากมาย :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


>>กลิ่นศีล หอมยิ่งกว่า ของหอมเหล่านี้ คือ
>>จันทน์ กฤษณา ดอกอุบล และกะลำพัก

บทนี้สอนพระอริยะ ศีลที่กล่าว จึงเป็น ศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่ใช่ศีล ๕ เมื่อบวชเป็นพระ ต้องชำระศีลให้ได้ก่อน คือ ศึกษาสิกขาบททั้งหลายเป้นอันดับแรก

>>ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล รู้จักบังคับตนเอง และมีสัจจะ
>>นั่นแหละควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์

ผู้หมดกิเลสแล้ว คือ พระอรหันต์ .... พระอรหันต์มีศีลที่มั่นคง เพราะ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ อันเป็นเหตุของการคิดชั่วทำขั่ว ถึงกล่าวว่า มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่มีศีลบริสุทธิ์

>>ศีลให้เกิดความสุข ตราบเท่าชรา
>>ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว ให้เกิดความสุข
>>ปัญญาได้มาแล้ว ให้เกิดความสุข
>>การไม่ทำบาปทั้งหลาย ให้เกิดความสุข

ปัญญาได้มาแล้ว คือ ได้สำเร็จเป็นอริยะแล้ว เมื่อมีปัญยาก็มีศีล เมื่อมีศีลก็ไม่มีความเดือนเนื้อร้อนใจ เกิดความสุขกายสบายใจ

>>คนทุศีล ไม่สำรวม กลืนก้อนเหล็กแดง
>>ที่ร้อน ลุกเป็นไฟ ยังดีเสียกว่าบริโภคบิณฑบาตของชาวบ้าน

ยังดีเสียกว่าบริโภคบิณฑบาตของชาวบ้าน... = ท่านสอนพระอริยะที่เป็นพระเสขะ ศีลที่ว่า หมายถึง ศีล ๒๒๗ ข้อ

>>ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคทรัพย์
>>ไปประเทศใดๆ ย่อมได้รับความนับถือในประเทศนั้นๆ

สมบูรณ์ด้วยศีล คือ มีปัญญาแล้ว บทนี้บอกว่า เป็นอริยะบุคคล มีศีล ไปใหนคนก็นับถือ

>>ไม่ควรทำชั่ว เพราะเห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่คนอื่น
>>ไม่ควรปรารถนาบุตร ทรัพย์ รัฐ หรือความสำเร็จแก่ตนโดยทางที่ไม่ชอบธรรม
>>ควรมีศีล มีปัญญา มั่นอยู่ในธรรม

ควรมีศีล คือ ให้ไปทำเหตุของการเกิดศีล ได้แก่ ตั้งอยู่บนความจริง (ธรรมฉ และสร้างปัญญาให้แก่กล้า ศีลจะไดเกิด จะได้มีศีล ไม่ได้ให้ไปถือศีล

>>ผู้มีศีล มีสมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียว
>>ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปีของคนทุศีล ไร้สมาธิ

ผู้มีศีล คือ อริยสาวกทั้งหลานที่มีปัญญาแล้ว ไม่ได้หมายถึงผู้ถือศีล คนถือศีลคือคนที่ไม่มีศีล เมื่อมีปัญญา ก็มีศีล เมื่อมีศีล จิตใจก็สงบเป็นสมาธิ

>>คนทุศีล ก็เหมือนกับต้นไม้ ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก
>>เขาทำตัวให้วอดวายเอง มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้

หมายถึงคนที่ไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาก็คิดผิดทำผิดไปเรื่อย

>>เมื่อรู้ความจริงข้อนี้แล้ว คนฉลาดผู้สำรวมในศีลไม่ควรชักช้า
>>ในการตระเตรียมทางไปสู่พระนิพพาน

การสำรวม คือ รักษาไว้ เพราะเสขบุคคลยังมีศีลไม่บริสุทธิ์ ต้องฉลาดที่จะเว้นภัยเวร แต่เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้น รู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก การสำรวมก็เกิดขึ้นได้เอง เพราะรู้แล้วว่าอะไรดี อะไรไม่ดี พอเจออะไรไม่ดี ก็เลยไม่เอา

>>คนย่อมรักผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทรรศนะ
>>ตั้งอยู่ในธรรม พูดสัตย์จริง ทำหน้าที่ของตนสมบูรณ์

ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล คือ พระอรหันต์ ผู้บริบูรณ์ด้วยทรรศนะ(ทิฐิ) คือ ิริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันเป็นต้นไป ผู้ตั้งอยู่ในธรรมคืออริยสาวก

>>กฤษณาหรือจันทน์ มีกลิ่นหอมน้อยนัก
>>แต่กลิ่นหอมของท่านผู้ทรงศีลสิประเสริฐนัก หอมฟุ้งกระทั้งถึงทวยเทพยดา

ท่านผู้ทรงศีล คือ อริยบุคคล ผู้มีปัญญาอยู่แล้ว

>>มารย่อมค้นไม่พบวิถีทางของท่านผู้ทรงศีล
>>ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสเพราะรู้ชอบ

ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส คือ พระอรหันต์

>>ธรรมดาม้าดี เมื่อถูกลงแส้ครั้งหนึ่งก็ย่อมสำนึก (ความผิดครั้งแรก)
>>และพยายาม (วิ่งให้เร็ว)พวกเธอก็จงทำตนเช่นนั้น อาศัยศรัทธา, ศีล, ความเพียร, สมาธิ, การวินิจฉัยธรรม,ความสมบูรณ์ด้วยความรู้และการปฏิบัติ,
>>มีสติสมบูรณ์ พวกเธอจักละทุกข์ได้ไม่น้อยเลย

บทนี้สอนพระอริยะที่เป็นพระเสขะ ให้มั่นคงในศีล ๒๒๗ ข้อ และมีความเพียรในการวิปัสสนา สติหมายถึงสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดได้เฉพาะอริยบุคคลเท่านั้น คือ เห็นโลกและชีวิตตามความเป็นจริงเป็นปกติ (ธรรมคือโลก กาย เวทนา จิต ธรรม คือ ชีวิต)

>>นักปราชญ์พิจารณารอบคอบแล้วจึงสรรเสริญผู้ใด
>>ผู้ดำเนินชีวิตหาที่ติมิได้ ฉลาด สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล
>>ผู้นั้นเปรียบเสมือนแท่งทองบริสุทธิ์ ใครเล่าจะตำหนิเขาได้
>>คนเช่นนี้แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญ

สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล หมายถึงอริยะบุคคล อริยบุคคลเท่านั้นที่สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล

>>เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ์
>>ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มี ศีลาจารวัตร
>>เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
>>เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์ทั้งหลาย

ให้ทำตามพระอริยะ แต่บทนี้ก็ยังสอนพระเสขะอยู่ดี เพราะต่อเนื่องมาจากบทก่อนๆ


... สรปความว่า ทั้งหมดที่ท่านยกมา เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดถึงอริยบุคลล ผู้มีปัยญา มีศีลแล้ว หรือ ท่านสอนพระเสขะที่ยังไม่ได้บรรลุอรหันต์ผล ไม่ได้สอนคนธรรมดา ไม่ได้สอนฆราวาส ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลอย่างไรเป็นศีลที่ชาวบ้านควรปฏิบัติครับ
จะได้เป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านผู้ยังครองเรือน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 14:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: มีประโยชน์ดีครับ

สวัสดีครับ ท่าน Supareak Mulpong
วิธีการปฏิบัติของท่านน่าสนใจเหมือนกันครับ
เป็นวิธีที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน
ผมชักอยากจะศึกษาวิธีการปฏิบัติของท่านตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบแล้วสิครับ
ผมรับฟังได้ทุกแนวทางครับ
ช่วยเมตตาสอนหน่อยได้มั๊ยครับ
คือวิธีการปฏิบัติของท่านไม่มีให้อ่านตามหน้าเว็บ
เอาแบบตั้งแต่เริ่มต้น ตามแบบของท่าน ไปเรื่อยๆ จนจบ
โดยให้คิดว่าผมไม่เคยรู้เรื่องอะไรมาก่อน
หากผมสงสัยแล้วจะถามครับ
หรือใครมีอะไรเพิ่มเติม ขัดแย้ง ก็ว่ากันไป ดีมั๊ยครับ
ผมขอศึกษาด้วยใจเป็นกลางครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

:b8: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็ขอรับฟังด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าคุณระลึกชาติได้ รู้ว่าตัวฉันทำแบบนี้แล้วจึงได้เกิดมาเป็นวิบากแบบนี้ คุณก็เลยพยายามเที่ยวไปป่าวประกาศบอกคนอื่นว่า แบบนี้อย่าไปทำนะ มันจะทำให้ลำบาก แบบนี้ควรจะทำให้มีความสุข เพราะคุณเป็นคนดีมีเมตตา ... ใครๆ เห็นแบบนี้ก็ต้องบอกมาแบบนี้ทั้งนั้น แบบนี้แหละเป็นที่มาของศีลในศาสนาพราหมณ์

พระพุทธองค์รู้เรื่องเหตุปัจจัย รู้แจ้งแทงตลอดในโลก ท่านรู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้คนมีนิสัยไม่ดี เที่ยวฆ่า เที่ยวลัก ฯ ท่านเลยให้ไปดับที่เหตุ ไปดับที่รากเหง้าของความเลว ไม่ได้ให้ไประงับที่ปลายเหตุ

ศีลขั้นต้นของฆราวาสในธรรมวินัยนี้ เกิดเพราะปัญญาที่ได้สดับรับฟังความจริงของโลกและชีวิต รู้เรื่องบุญบาปตามความเป็นจริงที่แท้จริง รู้ว่า กรรมคือการกระทำของเราเอง มีผลเป็นบุญเป็นบาป เก็บสะสมไว้เป็นความทรงจำในจิตไม่ได้หายไปใหน แล้วข้อมูลในจิตนี้ก็จะกลับมาสั่งเรา ทำให้เกิดเหตุการ์ต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งที่เราได้เคยทำไว้ในอดีตทั้งนั้น และสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ก็จะส่งผลกับเราในอนาคต เป็นแบบนี้ไม่สิ้นสุด ทำดีส่งผลดี ทำไม่ดีส่งผลไม่ดี เราจึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมลิขิต มีกรรมเป็นแดนเกิด ... เพราะธรรมขาติไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ เกิดมาจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วก็ต้องแยกแตกสลาย - เพราะสิ่งนี้มี สิ่งจึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี ฯ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ไม่ไปทำอะไรที่ส่งผลไม่ดีให้ตนเอง ความรู้ระดับนี้เปลี่ยนพฤติกรรมคนให้เป็นคนดี หรือมีศีลระดับหนึ่งได้ แต่ก็ไม่ได้ให้พ้นไปจากโลก ศีลก็ไม่ได้บริบูรณ์

ศีลที่เป็นกุศล มีสมมุติฐานมาจากจิตที่เป็นกุศล คือ จิตที่ประกอบด้วย อโภละ อโทสะ อโมหะ (วิชชา หรือ กุศลเหตุ ๓) หรือ ไม่ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ (อวิชชา หรือ อกุศลเหตุ ๓) เพราะฉะนั้น เมื่อเราปฏิบัติวิปัสสนา ตาเห็นรูป พิจารณาว่า รูปไม่เที่ยงฯ จะทำให้ความพอใจไม่พอใจหายไปทันทีไม่สามารถเกิดร่วมกับจิตปัจจุบันได้ อโลภะ อโทสะ อโมหะ จะเกิดขึ้นมาแทนทันทีตามธรรมชาติ มันจะถูกสมไว้เป็นความทรงจำในจิต คือ เกิดอนิจสัญญา อนันตสัญญา แปลเป็นภาษาคนได้ง่ายๆ ว่า ตาเห็นรูป พิจจารณว่า รูปไม่เที่ยง ฯ จิตก็จำว่า รูปมันไม่เที่ยงไว้ ... ย้ำคิดย้ำทำไปเรื่อยๆ มันก็แน่นหนามั่นคงขึ้นมา

เมื่อไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นเมื่อตาเห็นรูป ก็หมายถึง ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลงไม่มี เมื่อไม่มีความพอใจ ก็ไม่มีความอยากได้ ไม่มีความอยากได้ ก็ไม่คิดจะเอา ไม่คิดขโมย ฯ เมื่อไม่มีความไม่พอใจ ก็ไม่มีความโกรธ เมื่อไม่โกรธก็ไม่คิดจะฆ่า ฯ ศีลแบบนี้ เกิดจากปัญญาที่รู้เห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง ดับกิเลศตัณหาได้ทันที จึงถือเป็นศีลที่ประเสริฐ เกิดกับสาวกในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ไม่มีในศาสนาอื่น เพราะดับทุกข์ได้ทันที ดับกิเลศตัณหาได้เด็ดขาด ไม่มีซากให้เก็บกวาด

เมื่อเราวิปัสสนาไปเรื่อยๆ ต่อเนื่อง ยาวนาน จิตเราจะมีวิชชาในความทรงจำเต็มไปหมด จนวิชากลับมาสั่งเรา ตามการทำงานปกติของจิต คือ พฤติกรรมมาจากนิสัย นิสัยมาจากสัญญา สัญญามาจากข้อมูลที่ได้รับทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บวกกับการปรุงแต่ง ถ้าเราปรุงแต่งด้วย อวิชชา จิตก็สะสมอวิชชาไว้เป็นนิสัย เมื่อเราปรุงแต่งด้วยความจริง คือ วิชชา จิตก็จะเก็บวิชชาเป็นนิสัย

แต่เนื่องจากเราสะสมความพอใจไม่พอใจไว้ในจิตมาก เราจึงต้องสะสมความจริงไปทับถมวิชาให้มีแรงสู้กับมันได้ ถ้าวิชชาชนะอวิชชาได้เมื่อใหร่ ก็คือ คุณจะเห็นแต่ความจริง ไม่มีความเห็นประกอบกับจิตปัจจุบันเลย

อวิชชาไม่ได้ดับทีเดียวเหมือนหลอดไฟดับ แต่ค่อยๆ ดับ และดับหมดตอนบรรลุอรหันต์ เพราะฉะนั้น เสขะบุคคลต้องอยู่ด้วยความไม่ประมาท เพราะ โลภะ โทสะ โมหะ ยังอยู่ครบ ไม่ได้หายไปใหน เพียงแต่ว่าอ่อนแรงลงไปเท่านั้น มันจะดับเมื่อเราวิปัสสนาทัน ถ้าไม่ทัน มันก็เกิดร่วมกับจิตปัจจุบันได้ .... เพราะฉะนั้น ปัจจุบันถึงสำคัญที่สุดสำหรับการวิปัสสนา


แล้วอะไรคือ ไม่เที่ยงฯ ?

ไม่เที่ยง คือ ความจริงของโลกและชีวิต คือ กฏธรรมชาติ ๒ กฏที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อท่านระลึำกชาติได้เป็นอันมาก รู้การเกิดตายของสัตว์ รู้การเกิดดับของโลกและจักรวาล ท่านก็สรุปสิ่งที่เห็นว่า อะไรเกิดมามันก็ต้องตายเหมือนกันหมดไม่มีเว้นเลย ธรรมชาติทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนามธรรม หรือ รูปธรรม ต่างก็มีลักษณะร่วมเหมือนกัน ๓ ประการทั้งนั้น คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือ อนิจจัง ทุกขขัง อนันตา แปนปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดอยู่นิ่งอยู่กับที่ บังคับบัญชาก็ไม่ได้

เมื่อท่านดูต่อว่า ทำไมมันถึงเป็นเช่นั้น ก็พบว่า มันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ มีเหตุมีปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวให้เกิดก็ต้องเกิด มีเหตุปัจจัยให้อยู่ก็ต้องอยู่ มีเหตุปัจจัยให้แตกสลายก็ต้องแยกสลาย

สรุปได้เป็นกฏธรรมชาติ ๒ กฏ คือ ไตรลักษณ์ และ อิทัปปัจนายตา

แล้วการตายก็ต้องมีเหตุสิ การตายก็เป็นธรรมชาติ จะเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ ท่านก็พบว่า การเกิดนั่นแหละเป็นเหตุของการตาย เพราะฉะนั้น เราเกิดมาชาตินี้ อย่างไรก็ต้องตาย เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากตาย ก็ต้องไม่เกิดอีก ...

อะไรเป็นเหตุของการเกิดล่ะ? ท่านก็พบว่า เพราะทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เอง ทำให้เราเกิด ทำให้เกิดทุกข์ตามธรรมชาติ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าดับทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาเองได้ ก็ดับชาติดับภพได้ เพราะฉะนั้น คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีแต่เรื่องทุกข์กับการดับทุกข์เท่านั้น

อะไรคือทุกข์ล่ะ? ทุกข์ คือ ความรู้สึกพอใจไม่พอใจ (เวทนา ๓ ทำให้เกิดเป็น โสกกะ ปริวาทะ ฯ) เกิดเมื่อตาได้เห็นรูปแล้วไปปรุงแต่ง หูไ้ด้ยินเสียงแล้วไปปรุงแต่ง จมูกได้กลิ่นแล้วไปปรุงแต่ง ลิ้นรับรสแล้วไปปรุงแต่ง กายสัมผัสแล้วไปปรุงแต่ง ใจคิดนึกแล้วไปปรุงแต่ง (อุปธิจากผัสสะอารมณ์) นอกจาก ๖ ทางนี้แล้วไม่มีทุกข์เกิด (ทวาร ๖) เมื่อปรุงแต่งแล้วก็เกิดยึดมั่นถือมั่น (เกิดเป็นตัณหา อุปทาน) มันยังกลายมาเป็นข้อมูลในจิตมาเป็นนิสัยของคนอีก (เกิดเป็นอวิชชาสะสมในจิต) เพราะฉะนั้น เราต้องดับมันให้ได้ทั้ง ๖ ทาง

ทำไมมันถึงเกิดเป็นทุกข์ละ? ที่มันเกิดเป็นทุกข์เพราะเราไม่รู้ หรือเกิดความหลง โดนอวิชชาที่สะสมในจิตผลักให้เกิดเป็นการปรุงแต่ง ถ้ารู้แล้วก็ไม่หลง เมื่อไม่หลง ก็ไม่เกิดความพอใจไม่พอใจ แปลว่า ทุกข์ดับได้ทันที

แล้วจจะเอาอะไรไปดับความพอใจไม่พอใจล่ะ? ในเมื่อความพอใจไม่พอใจเป็นเพียงความเห็น พระพุทธองค์ให้เอาความจริงไปดับ ความจริงที่จะเอาไปดับไม่ให้ทุกขเกิดได้ ก็คือ ความรู้ที่ว่า ธรรมชาติมันไม่เที่ยงนั่นแหละ เพราะไม่เที่ยง คือ ความจริงที่แท้จริง ธรรมชาติไม่มีอะไรเที่ยง มองดูไปรอบๆ ตัวท่าน มีอะไรที่เที่ยงบ้าง

วิธีการดับ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนา พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ หรือเรียกว่า การฝึกคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย หรือ การปฏิบัติตามมรรค ๘

เมื่อตาเห็นรูป ก็ให้พิจารณารูปที่เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปที่เห็นมันเป็นเพียงธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เกิดดับ นะ ตัวเราคนเห็นก็หนุ่มแก่ตายไม่เที่ยงเหมือนกัน

เมื่อหูได้ยินเสียง ก็ให้พิจารณาเสียงที่ได้ยินตามความเป็นจริงว่า เสียงที่ได้ยินมันเป็นเพียงธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เกิดดับ นะ ตัวเราคนได้ฟังก็หนุ่มแก่ตายไม่เที่ยงเหมือนกัน

เมื่อจมูกได้กลิ่น ก็ให้พิจารณากลิ่นที่รับตามความเป็นจริงว่า กลิ่นที่ได้มันเป็นเพียงธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เกิดดับ นะ ตัวเราคนได้กลิ่นก็หนุ่มแก่ตายไม่เที่ยงเหมือนกัน

เมื่อลิ้นรับรส ก็ให้พิจารณารสที่ได้ตามความเป็นจริงว่า รสที่เห็นรับเป็นเพียงธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เกิดดับ นะ ตัวเราคนกินก็หนุ่มแก่ตายไม่เที่ยงเหมือนกัน

เมื่อกายสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ก็ให้พิจารณาสัมผัสที่รู้สึกตามความเป็นจริงว่า กายสัมผัสมันเป็นเพียงธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เกิดดับ นะ ตัวเราคนสัมผัสก็หนุ่มแก่ตายไม่เที่ยงเหมือนกัน

เมื่อคิดนึกอะไร ก็ให้พิจารณาความคิดที่เกิดตามความเป็นจริงว่า ความคิดมันเป็นเพียงธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เกิดดับ นะ ตัวเราคิดเห็นก็หนุ่มแก่ตายไม่เที่ยงเหมือนกัน

เห็นวัตถุอะไร ก็พิจารณาว่า วัตถุมันก็ใหม่เก่าแตกสลายนะ ไม่เที่ยง ฯ

ทำแบบนี้ ความพอใจไม่พอใจก็จะไม่เกิด ไปทดลองดูได้

ให้ทำแบบนี้เป็นประจำประกอบกับการใช้บีวิตประจำวัน เมื่อจิตประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นบุญสูงสุด ความดีทั้งหลายก็จะเริ่มเกิดขึ้น ความชั่วทั้งหลาย หรืออะไรที่มันไม่ดีๆ ในชีวิต ก็จะเริ่มหายไป ศีลก็เกิด ปัญญาก็เกิด จิตก็สงบไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ... อริยสาวกจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้มีศีล พ้นทุคติภูมิแน่นอน

การทำแบบนี้ คือ การเอาปัญญาสัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์แห่งมรรคไปตั้งดักไว้ที่เกิดของทุกข์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การรู้ว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงมันไม่เที่ยง คือ มีปัญญาที่เอามาดับทุกข์ได้

พิจารณาตามนี้แล้ว จะพบว่า พระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้คนเป็นคนดี ไม่ได้ให้ไปถือศีล ท่านให้เพียรดับทุกข์ที่เกิดดับเราทั้ง ๖ ทางเท่านั้น การเป็นคนดี การมีศีล การมีสมาธิในศาสนานี้ จึงเป็นเพียงผลพลอยได้จากการตั้งหน้าตั้งตาดับทุกข์ เพื่อดับชาติดับภพเท่านั้น เพราะถ้ายังมีความเลวเหลืออยู่ ก็นิพพานไม่ได้ ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฏกจำนวน ๔๕ เล่ม บันทึกมาเพื่อมิให้พระสัทธรรมเลือนหาย สรุปเนื้อหาใจความสำคัญลงได้เรื่องเดียวก็คือ การดับทุกข์ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันโลกและชีวิตตามความเป็นจริงที่มันเป็น คือ รู้ว่า ธรรมชาติทั้งปวง ต่างก็ขึ้นอยู่กับกฏธรรมชาติ ๒ กฏ ได้แก่ กฏไตรลักษณ์ และกฏของเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจนายตาปกิจจสมุปบาท) ที่สามารถสรุปได้เป็นคำๆ เดียวสั้นๆ ว่า ธรรมชาติทั้งปวงไม่เที่ยงฯ ใครถ้ารู้เห็นอย่างนี้แล้ว ก็ถือว่าผู้นั้นมีความเห็นถูก มีความเห็นตรง หรือมีสัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์แห่งมรรค

ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง โศก เศร้า เสียใจ ดีใจ โหยหา ฯ ต่างก็เกิดมาจากความพอใจไม่พอใจและหลงไปตามความพอใจไม่พอใจ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นได้รับรส กายได้สัมผัส และใจคิดนึก นอกจากนั้น ไม่มีความทุกข์เกิด ความจริงทุกข์พวกนี้เป็นเพียงความเห็นหรือความไม่รู้ เพราะฉะนั้น ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว ให้เอาความจริงที่ว่าธรรมชาติทั้งปวงไม่เที่ยงฯ ไปไล่ดับความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาทั้ง ๖ ทางนี้ให้ทันเมื่อได้รับกระทบสัมผัส เมื่อเรามีความเห็นว่า รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสก็ดี ความคิดก็ดี ต่างก็เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยง เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วก็ต้องแตกสลาย ตอบสนองกับการรับรู้ของเรา ความทุกข์ทั้งหลาย หรือ เวทนา ทั้งทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา ถ้าเราวิปัสสนาทัน ก็คือ การไม่ประมาท ... มันจะเหลือเพียงความว่าง หรือ อุเบกขาที่เกิดจากปัญญา หรือเกิดจากความรู้ที่ดับทุกข์ได้

หากสามารถทำได้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ก็คือ ท่านกำลังปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ อยู่ ถ้าทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้มรรค ๘ บริบูรณ์ขึ้นตามลำดับ เมื่อมรรค ๘ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ก็จะเกิดขึ้นบริบูรณ์ตามมา องค์ธรรมทั้งหลายในโพธิปักฯ ทั้ง ๓๗ ประการ ก็จะเกิดตามๆ กันมา ตามเหตุตามปัจจัย ไม่ต้องไปเรียกหามาจากใหน เหมือนปลูกมะม่วง ได้ดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยถูกต้องตามเวลา ใบกิ่งดอกผลก็จะงอกขึ้นมาได้ตามเหตุตามปัจจัย ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ผล

ถ้าทัน ก็คือไม่หลง เมื่อไม่หลง ควาาพอใจไม่พอใจก็ไม่เกิดร่วมกับจิตปัจจุบันที่เกิดขึ้นมารับรู้สิ่งภายนอก (วิญญานที่เกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์)

ภาษาธรรมเรียกความไม่หลงว่า อโมหะ หรือ ปัญญา(เจตสิก) ไม่เกิดความพอใจ เรียกว่า อโลภะ ไม่เกิดความไม่พอใจ เรียกว่า อโทสะ ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นอริกับ โลภะ โทสะ โมหะ

เมื่ออโลภะเกิด โลภะจะไม่เกิด เมื่ออโทสะเกิด โทสะจะไม่เกิด เมื่ออโมหะเกิด โมหะจะไม่เกิด เพราะธรรมเหล่านี้ เกิดพร้อมกันไม่ได้ เรียกว่า ทวิลักษณะ ตรงตามกฏของเหตุปัจจัย คือ

. เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
. เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี
. เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงไม่มี
. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงมี

ในทางอภิธรรม อธิบายไว้ว่า เมื่อมีสิ่งภายนอกมากระตุ้น ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตจะเริ่มทำงานเพื่อรับรู้สิ่งเหล่านั้น มาทางตา รู้ทางตา มาทางหูรู้ทางหู มาทางจมูกรู้ทางจมูก มาทางลิ้นรู้ทางลิ้น มาทางกายรู้ทางกาย จากนั้น สติก็จะทำหน้าที่ตีความสิ่งที่รับรู้ โดยลากเอาความทรงจำเก่ามาเทียบ แล้วรายงานให้จิตทราบ เราก็จะรู้ว่า สิ่งนั้นคืออะไร เป็นอะไร ต่อจากนั้น จะเกิดการปรุงแต่งตามความเคยชินของแต่ละคน แล้วแต่นิสัย หรืออุปนิสัยของแต่ละคน ผลของการรับรู้และปรุงแต่งในการรับรู้แต่ละครั้ง จะถูกเก็บไว้เป็นความทรงจำ (โดยชวนะจิตจะเก็บย้ำไว้ถึง ๗ คร้งต่อการรับรู้ ๑ ครั้ง) เพื่อใช้เป็นฐานของการคิดปรุงแต่งในครั้งต่อไป

สำหรับปุถุชน นิสัยเกิดมาจากการสะสมความพอใจไม่พอใจและความหลงมาข้ามชาติข้ามภพอย่างแน่นหนา เพราะฉะนั้น เมื่อตาเห็นรูป ฯลฯ พอรู้ว่าคืออะไร ด้วยอำนาจของนิสัย หรือข้อมูลที่สั่งสมในจิตจะผลักให้คิดเป็นพอใจไม่พอใจ ตามข้อมูลที่สะสมไว้ในความทรงจำ ต้านทานได้ยาก เมื่อความคิดได้รับอิทธิพลมาจากนิสัย และนิสัยเกิดจากการสะสมความพอใจไม่พอใจข้ามชาติข้ามภพ เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า ปุถุชนเป็นไปตามอำนาจของอวิชชา

อุบายในการหยุดอิธิพลของอวิชชาต่อความรู้สึกนึกคิดของเรา ก็คือ เราต้องรู้เท่าทันมัน หยุดการปรุงแต่ง ด้วยการวิปัสสนาทันทีเมื่อได้รับกระทบสัมผัส หรือ ทำที่ผัสสะเท่านั้นจึงจะหยุดมันได้ โดยอาศัยเจตนาพิจารณาผัสสะตามความเป็นจริง เพียงเท่านี้ ความพอใจไม่พอใจก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ ชวนะจิตก็จะเก็บความจริงแทนความเห็นไว้ ๗ ขณะ คือ เราสะสม วิชชา แทน อวิชชา เมื่อเราพิจารณาว่า รูป รส กลิ่น เสียง ความคิด ไม่เที่ยงทันทีที่มันเกิด ความทรงจำที่เกิดก็คือ รูปไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง สัมผัสไม่เที่ยง ความคิดไม่เที่ยง ภาษาธรรมเรียกว่า เกิดอนิจจะสัญญา เมื่อเกิดอนิจจะสัญญาแล้วก็จะเกิดอนัตตะสัญญาตามไปด้วยเสมอ ... พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ทุกข์เกิดที่ใหน ให้ดับมันที่นั่น ทุกข์เกิด ๖ ทาง เราก็ต้องดับให้ทันทั้ง ๖ ทาง อย่าให้มันได้เจริญงอกงามสร้างความเดือดร้อนให้เราภายหลัง

เมื่อสะสม วิชชา ไว้มากพอ จะเกิดเป็นความเคยชิน หรือเกิดนิสัยใหม่ เพราะมีข้อมูลความทรงจำใหม่ สติก็จะควานเจอความจริงมากขึ้น เอาความจริงมารับกระทบสัมผัสได้เป็นอัตโนมัติ เราก็จะมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริงว่า มันไม่เที่ยงฯ .... การวิปัสสนาจึงต้องอาศัยความต่อเนื่องและยาวนาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี แล้วแต่ความเพียร

คำว่า สติปัญญา จึงหมายถึง สติไปลากเอาความจริง หรือ ปัญญา ที่เราสะสมไว้ออกมารายงานให้จิตทราบ เพราะฉะนั้น หากไม่มีการสะสมปัญญาไว้ก่อนหน้า สติไม่มีทางลากเอาปัญญาออกมาได้ จะได้แต่ความเห็นหรือความพอใจไม่พอใจเท่านั้น

ปัญญา คือ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ เกิดจากการเรียนรู้ หรือที่ในพระไตรปิฏกเขียนว่า เกิดจากการได้สดับรับฟังแต่บุคคลอื่น อริยสาวกจึงนับเริ่มจากการได้สดับฯ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงสาวก ท่านจึงหมายถึงผู้ที่ได้สดับ หรือผู้ที่รู้ผู้ที่เห็นอยู่ คือ รู้กฏธรรมชาติ ๒ กฏ รู้เรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ (ในปฏิสัมภิธามรรค พระสารีบุตรกล่าวถึงปัญญาที่เกิดจากการฟังหรือสุตตมยปัญญา ไว้มากถึงกว่า ๓๐ หน้ากระดาษโดยละเอียด)

เมื่อมีความรู้ที่ดับทุกข์ได้ คือ มีปัญญาสัมมาทิฐิแล้ว ก็ต้องสะสมปัญญาให้แน่นหนาดั่งแผ่นดิน คือ ต้องสำรวมระวังไว้ (โยนิโสมนสิการ) และฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เมื่อปัญญาแข็งแรงพอ จิตตะสงบนิ่งด้วยอำนาจของปัญญาที่ประหารกิเลสได้ มรรคจิต ผลจิต ก็จะเกิดขึ้นในที่สุด ผู้นั้นก็ถือได้ว่า บรรลุโสดาปัตติผล

ความสงบของจิต หรือ สมาธิ ในธรรมวินัยนี้ จึงเกิดมาจากปัญญาที่ประหารกิเลสได้ จนจิตไม่มีการปรุงแต่ง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เรียกเป็นภาษาธรรมว่า อุปธิวิเวก เมื่อจิตวิเวกจากอุปธิ คือ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ มาร่วมกับการทำงานของจิต จิตก็สงบเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น สมาธิ จึงเป็นเรื่องสุดท้ายที่เราจะพูดถึงในธรรมวินัยนี้ เพราะมันเป็นผลของการบรรลุอริยบุคคล ไม่ใช่เหตุของการบรรลุเป็นอริยบุคคล

ถ้ารู้และเข้าใจตามที่อธิบายมา จะไม่มีหลงในการปฏิบัติ อะไรที่ไม่ใช่เหตุของการบรรลุมรรคผลนิพพาน เราก็เอาทิ้งไปให้หมด แล้วมาเดินทางตรง เพื่อดับอวิชชา ดับชาติดับภพ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโคตมะ ... นิพพานัง ปรมัง สุขขัง

วิปัสสนา คือ รู้จริง ตามจริง เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ รู้ด้วยโลกุตตระปัญญา คือ รู้ด้วยปัญญาที่ดับทุกข์ได้ จึงถือเป็นความรู้ที่ทำให้พ้นโลก มีการการปล่อยวางและความสงบของจิตเป็นผล

สมาธิ คือ ความสงบของจิต เกิดจากการเอาจิตไปรับรู้อารมณ์เดียว และปิดการรับรู้ทางอื่นหมด เรียกแบบไม่เกรงใจว่า นิ่ง ซื่อบื้อ ไม่มีปัญญา ไม่รู้อะไรเลย เพ่ง จ้อง จนสามารถบังคับให้จิตสงบได้ชั่วคราวเมื่ออยู่ในสมาธิ พอออกจากสมาธิ ก็เหมือนเดิม เสียงด่าเข้าหูเกิดหน้าดำหน้าแดง ฯ เพราะไม่เคยฝึกทางหูมาก่อยเลย ฯ เกิดอะไรขึ้นก็พากันหลบไปอยู่ข้างหลังความสงบเหมือนคนขี้ขลาด บางคนทำจนชำนาญ จนเข้าใจว่าตนบรรลุโสดาบันก็มี ... พอจิตสงบได้ที่ จิตก็แสดงอิทธฤทธิ์ได้ พวกนั่งสมาธิก็พากันไปหลงในฤทธิ์ บ้างเข้าใจว่าตนบรรลุอรหันต์ก็มี

ถ้าอุปมาจิตเหมือนน้ำใจ แล้วขุ่นมัวด้วยโคลนตม วิปัสสนา คือการเอาน้ำใสเติมเข้าไปในน้ำขุ่น เติมมากๆ เข้า น้ำก็กลับมาใสเป็นปกติ สมาธิคือการเอาแก้วน้ำขุ่นวางไว้นิ่งๆ จนดินโคลนตกตะกอน น้ำก็ใสได้ แต่พออกจากสมาธิ น้ำก็จะใสต่ออยู่ได้สักพัก แล้วก็กลับมาขุ่นเหมือนเดิมเมื่อได้รับกระทบสัมผัส น้ำมีเท่าเดิม ดินโคลนก็มีอยู่เท่าเดิม ถ้าจะตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ก็ต้องเข้าสมาธิตาย หรือตายหลังจากออกจากสมาธิในชั่วระยะเวลาสั้นๆ

พวกทำสมาธิ จะพยายามถือศีลบริสุทธิ์ เพราะไม่ฉลาดในธาตุ ไม่ฉลาดในอายตนะ ไม่ฉลาดในปกิจจสมุปบาท เลยไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยของศีล เลยพากันไปถือศีลเพราะศีลจะทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย และหวังว่าจะเกิดปัญญาในสมาธิ พอมีอะไรมาทำให้ผิดศีล จะไม่พอใจ ถ้าติดสงบมากๆ จะหนีสังคมไปอยู่ตามวัด ตามป่า ตามเขา หนีโลกไปหาความสงบ กลายเป็นฤาษีสมบูรณ์แบบ กลุ่มพวกนี้จะเป็นคนดี ไม่ทำร้ายใคร แต่ทำร้ายตนเองได้เจ็บแสบที่สุด

ศีล เกิดจากนิสัย นิสัยเกิดจากการสะสมความรู้ความคิดประสบการณ์ที่มาจากการรับรู้มาข้ามชาติข้ามภพ ศีลที่เป็นอุภศล เกิดมาจากอวิชชา หรือ ความพอใจไม่พอใจและความหลง (อกุศลเหตุ ๓) ศีลที่เป็นกุศลเกิดมาจาก วิชชา หรือการรู้เท่าทันความพอใจไม่พอใจ (กุศลเหตุ ๓) เพราะฉะนั้น พวกถือศีล จึงถือได้เป็นพักๆ เท่านั้น เหมือนการถือกฏหมาย ไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้จริงๆ เพราะความเลวมันเป็นนิสัยหรือความเคยชินที่ละเอียด เป็นกิเลสอันนอนเนื่องในกมลสันดาน วันใหนแพ้มาร ก็เลวได้ทันที มารก็จะมาพาให้หลง ๖ ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลา

วิปัสสนาทำให้เกิดศีลที่ถาวร เรียกว่า การมีศีล ศีลแบบนี้เรียกว่าอริยศีลขันธ์ เพราะไปทำที่เหตุของการเกิดนิสัยที่ดี คือ เอาชนะความพอใจไม่พอใจจนเคยชิน เมื่อตาเห็นรูป เราวิปสัสสนาว่า รูปไม่เที่ยง ความอยากได้ในรูปไม่เกิดก็ไม่มีอทินาทาน เจอหน้าคู่อริ วิปัสสนาว่า มึงก็ตาย กูก็ตาย มันด่ามาก็พิจารณาเสียงด่าไม่เที่ยง ความโกรธไม่เกิด ปานาติบาทก็เกิดไม่ได้ ฯ ใครมีศีลแบบนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า พ้นทุคติภูมิแน่นอน

ศีลจริงๆ เป็นเพียงเครื่องประดับ หรือผลพลอยได้จากความพยายามที่จะพ้นโลก เมื่อมีปัญญาก็มีศีล (หรือเกิดมีนิสัยที่ดีตามมา) มีศีลก็มีสมาธิ (หรือจิตสงบไม่ฟุ้งซ่านเป้นปกติ) มีสมาธิก็เกิดญานทัศนะมีญานทัศนะก็เกิดนิพพาทะญานทัศนะ เมื่อมีนิพพาทะญานทัศนะ ก็จะเกิดวิมุตติญานทัศนะ

ทั้งหมดนี้ เริ่มจาก วิปัสสนา หรือ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เมื่อมีชีวิตประกอบด้วยวิปัสสนา (หรือเป็นผู้ไม่ประมาท) พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า จะเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา



ปัญญาที่พวกนั่งสมาธิหวัง คือ ปัญญาที่จะรู้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีใครมาสอน หรือพวกนี้กำลังฝึกตนเองให้เป็นพระพุทธเจ้า มองลึกๆ ก็คือ พวกนี้อิจฉาพระพุทธเจ้า อยากจะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง เลยพากันไปปฏิบัติตามเจ้าชายสิทธถะ ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโคตมะ พวกนี้จะสอนว่า ให้ถือศีลให้บริสุทธิ์ ทำสมาธิจนได้ฌาน แล้วจะเกิดปัญญารู้แจ้ง ต้องสั่งสมบารมี ๑๐ ทัศ ๓๐ ทัศให้ครบ ฯ ซึ่งก็คือ การไปฝึกตนเองเป็นฤาษีพราหมณ์นั่นเอง .... ส่วนปัญญาจะเกิดหรือเปล่า ก็ต้องดูว่า บำเพ็ญมาได้ ๔ อสงไขย์แสนกัปหรือยัง

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายพบในสมาธิ ก็คือ รู้ว่า ปัญญาในสมาธิไม่ได้ทำให้พ้นโลก มีแต่ปัญญาที่ทำให้รู้ให้เห็น มีตาทิพย์ หูทิพย์ ระลึกชาติได้ อ่านใจคนออก รู้การเกิดตายของสัตว์ ฯ ถ้าไม่มีปัญญาบารมีพิจารณาอย่างพระพุทธเจ้า ก็จะไม่เห็นความไม่เที่ยงของโลกและชีวิต ไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าอะไรคือเหตุของการเกิดตาย และไม่มีทางรู้ได้ด้วยตนเองง่ายๆ ว่า อะไรคือวิธีการดับทุกข์ ดับชาติ ดับภบ ... สรุปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พบความไม่เที่ยงของธรรมชาติ รู้เหตุปัจจัยของความไม่เที่ยง รู้ว่าดับทุกข์ก็ดับชาติดับภพได้ด้วยการวิปัสสนา ... เท่านั้นเอง


..... มีเฉลยในมือแล้ว จะไปหาคำตอบเองทำไมกัน .......

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ :b1:

การศึกษาพุทธศาสนาพึงศึกษาทั้งกระบวนธรรมว่าอะไรเพื่ออะไร มิใช่ศึกษาแบบแยกส่วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ปัญญามาจากการได้ฟังความจริงจากผู้รู้ การที่จะเจอผู้รู้ได้ ก็เป็นเรื่องของบุญกับบาป ถึงเวลาก็ได้เจอ ถ้าได้เจอแล้วไม่เกิดมีดวงตาเห็นธรรม ก็เป็นเรื่องของทิฐิ



เมื่อฟังธรรมจากผู้รู้...แล้ว..แต่จะเกิดปัญญา..หรือไม่เกิดปัญญา..เป็นเรื่องของทิฐิ

อย่างนั้น..
ทิฐิของผู้ที่ฟังแล้วเกิดปัญญา..กับทิฐิของผู้ที่ฟังแล้วไม่เกิดปัญญา...เกิดจากอะไร..มีอะไรเป็นปัจจัยให้เกิด..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ เป็นคำสอนพระอริยะที่ทรงคุณอย่างน้อยเป็นพระโสดาบัน สูตรเหล่านี้จะมีผู้ัมาถามพระพุทธเจ้าเรื่องพระอริยสงฆ์ว่ามีอะไรเป็นสมบัติ ท่านก็บอกว่า อริยสงฆ์ มีอริยศีลขันธ์ มีอริยสมาธิขันธ์ มีอริยปัญญาขันธ์ และวิมุติ เวลาท่านตรัสกับพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นพระอริยะ ท่านก็ตรัสย่อๆ เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ ... ท่านไม่เคยสอนว่า ให้ไปถือศีล ถึงจะมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วจะมีปัญญา เมื่อมีปัญญาแล้วจะหลุดพ้น ไม่มีคำสอนแบบนี้ในพระไตรปิฏก

เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของพระอริยสงฆ์ ไม่ใช่เรื่องของฆราวาส ไม่ใช่เรื่องของปุถุชน

ที่มาของทิฐิ ท่านแสดงใว้ในพรมชาลสูตร แต่เรื่องที่ ทำไมคนมาฟังธรรมแล้วบรรลุธรรม หรือ ไม่บรรลุธรรม เกิดมาจากอะไร? ก็เป็นเรื่องขของบุญบาป เป็นเรื่องที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ล่วงรู้ได้ชัดเจน สาวกอย่างเราๆ ถึงจะบรรลุอรหันต์ ก็ไม่รู้ ศาสนาพุทธถึงเสื่อมไปเรื่อยๆ เมื่อถึงกาลดับขันธ์ฯ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 00:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เมื่อบุญบาป...เป็นเรื่องที่เราทำเอง
ทิฐิเกิดจากบาปบุญ..ก็แสดงว่า..ทิฐิเป็นเราทำเอง

เมื่อปัญญา..เกิดจากทิฐิ..ที่เป็นเราทำเอง..ก็แสดงว่า..ปัญญาเป็นเราทำเอง

ไฉน...ท่านว่า..ปัญญาได้มาจากการฟังจากสัตตบุรุษ..

Supareak Mulpong เขียน:


ปัญญาของสาวกในธรรมวินัยนี้ ได้มาจากการสดับรับฟังแต่บุคคลอื่น แปลว่า รอเจอสัตตบุรุษ ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ เข้าใจธรรม มีดวงตาเห็นธรรม ประกอบกับธรรมของสัตตบุรุษ เท่านั้น ชาิตินี้ได้มรรคผลนิพพานแน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา มันก็คือ ข้อมูลความทรงจำอย่างหนึ่งในจิต มันจะมีข้อมูลได้ ก็ต้องมีการใส่ข้อมูลเข้าไป ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความจริงเรื่องโลกกับชีวิต ในฐานะสาวก ก็ต้องได้มาจากการฟัง การเห็น ฯ หรือการรับเข้ามา เราทำเองไม่ได้

การที่จะได้พบสัตตบุรุษหรือเปล่า ก็คือเรื่องบุญกับบาป ที่พยากรณ์ไม่ได้แน่นอนว่ามันจะส่งผลอย่างไร เมื่อใหร่ พอได้ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า มันก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความคิดเดิม ซึ่งก็มาจากการกระทำเก่า หรือบุญบาปเหมือนกัน จะบอกว่า ทุกอย่างมันมาจากเราเองทั้งหมด ก็ใช่ เพราะกรรมเราทำเอง

การบรรลุธรรมก็เลยเป็นเรื่องของบุญบาป คนที่ได้ฟัง รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่อง ก็เป็นเรื่องของบุญบาป

แต่ต้องได้ฟังก่อน ถึงจะเกิดข้อมูลในจิต เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ทิฐิถึงจะทำงานต่อ ไม่ใช่ทิฐิทำให้เกิดปัญญา แต่เป็นตัวตัดสินข้อมูลที่ได้รับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 02:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Supareak Mulpong แสดงธรรมได้ดีในหลายเรื่องครับ
:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b42:

ผมเชื่อว่าทุกท่านที่อยู่ในที่นี้ย่อมมีปัญญาแยกแยะได้ครับ
หากมีสิ่งใดล่วงเกินคุณ Supareak Mulpong หรือกัลยาณมิตรท่านใดก็ขออภัยด้วยครับ
ขอบคุณครับ
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 09:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
คุณ Supareak Mulpong แสดงธรรมได้ดีในหลายเรื่องครับ :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b42:

ผมเชื่อว่าทุกท่านที่อยู่ในที่นี้ย่อมมีปัญญาแยกแยะได้ครับ
หากมีสิ่งใดล่วงเกินคุณ Supareak Mulpong หรือกัลยาณมิตรท่านใดก็ขออภัยด้วยครับ
ขอบคุณครับ
:b41:


:b1:

ไหวตัวทัน ไหวตัวทัน
แค่เอาเปรต/มาร ออก ก็เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้
แค่เปรตตัวจิ๊ดเดียวก็นั่งบัง ธรรมที่ดี ๆ ไปตั้งหลายเรื่องได้

:b8: :b8: :b8:

เปรตตัวเดียว
ไล่เปรต ไปซะ
ก็เห็นธรรมดี ๆ ตั้งมากมาย

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรตตัวมันก็ไม่เล็กนะ ถ้าเป็นเปรตอสูรกาย ตัวเราสูงเท่าหัวเข่าของมันเท่านั้นแหละ แถวๆ บ้าน มีคนไปรับขัน ได้เปรตติดมา ๒ ตัว ตัวหนึ่งเป็นอสูรกาย วันแรกที่จะพาไปกู่ ป้าแกถอยรถออกจากบ้าน ใช้เวลา ๑ ชั่งโมง ถอยเข้าๆ ออกๆ อยู่อย่างนั้น ซึ่งปกติป้าเขาก็ขับรถเอง พอพาไปถึงกู่ เหมือนคนไม่มีแรง เดินขึ้นไม่ได้ ต้องพยุง เข้าไปในศาลาก็หลับ ปวดหัว มึน น้ำลายยืด พอกลับถึงบ้าน ก็เป็นปกติเหมือนคนธรรมดา ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร