ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=35189 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 23 ต.ค. 2010, 10:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) |
![]() พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) มีปรากฏในอรรถกถาธรรมบทว่า ในขณะนั้นพระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ในนครสาวัตถี พรรษาที่ ๒๕ ผู้คนในชมพูทวีปหันมาเลื่อมในพระพุทธศาสนา ทำให้นักบวชของนอกศาสนาอิจฉา เพราะเขาเหล่านั้นเดือดร้อน ในการขาดผู้ค้ำจุนดูแลและขาดลาภสักการะ จึงทำการกลั่นแกล้งพระพุทธศาสนาโดยประการต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องฤทธิ์พระองค์และเหล่าสาวกของพระองค์เอง ศาสนาอื่นปลุกปั่นจนพระองค์ทรงห้ามเหล่าสาวกทั้งหลายแสดงฤทธิ์ พระองค์ก็งดแสดงฤทธิ์เช่นกัน จึงทำให้ศาสนามีจุดที่จะทำให้ศาสนาอื่น เช่น อาจารย์ทั้ง ๖ และศาสนาเชน ทำการโฆษณาชวนเชื่อว่า พระพุทธศาสนานั้นมีพระพุทธเจ้า และสาวกสิ้นฤทธิ์หมดแล้ว อย่าไปนับถือเลยสู้พวกตนไม่ได้ยังมีฤทธิ์เหนือกว่าควรจะมานับถือพวกตนดีกว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ขืนปล่อยไว้เฉยต่อไปโดยไม่ตอบโต้บ้าง อาจเป็นผลเสียต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้น วันเพ็ญอาสาฬหะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ คือแสดงฤทธิ์เป็นคู่ๆ ซึ่งก็มีปรากฏเพียงครั้งเดียวในครั้งนั้นทำให้ผู้คนที่เคลือบแคลงสงสัย หันมานับถือศาสนาอย่างมั่นคงอีกครั้ง ในวันรุ่งขึ้นแรม ๑ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษา พระพุทธเจ้าทรงประกาศจำพรรษาที่สรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าทำกันมาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงลาบริษัท แล้วก็เสด็จไป ณ ดาวดึงส์เทวโลก เพื่อโปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม ๗ พอครบเวลา ๓ เดือนของการโปรดพระพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรมทั้ง ๗ ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ก็เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ ณ ที่ประตูเมืองสังกัสสนคร ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยบริวาร ตามส่งเสด็จทางบันไดสวรรค์จนถึงขั้นพิภพ พระพุทธเจ้าจึงทรงใช้อิทธิฤทธิ์บันดาลให้โลกทั้ง ๓ มีเทวโลก, มนุษย์โลก, ยมโลก มองเห็นกันทั้งหมด จึงเรียกวันนั้นว่า วันพระเจ้าเปิดโลก พอวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ผู้คนในชมพูทวีปพากันมาใส่บาตรพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข การตักบาตรในครั้งนั้นมิได้นัดหมายกันมาก่อนเลย ต่างคนก็ต่างมาด้วยศรัทธาจึงทำให้คนมามากมาย เมื่อมีมามากทำให้ไม่ถึงบาตรพระภิกษุสงฆ์ จึงเอาข้าวของตนห่อหรือปั้นเป็นก้อนโยนใส่บาตรพระ ด้วยเหตุนี้ต่อมาภายหลังจึงนิยมทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระในวันเทโวณหณะ (มีต่อ) |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 23 ต.ค. 2010, 10:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) |
![]() ![]() ![]() ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้ ![]() จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันใดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันใดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร จังหวัดอุทัยธานีซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุจะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตรจากชาวบ้าน อนึ่ง ขบวนพระภิกษุสงฆ์นั้นที่ลงมาจากบันใดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูป นำหน้าสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้าจะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตร หรือปางลีลา โดยตั้งบนรถ หรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้ว ฟังเทศน์รักษา อุโบสถศีล สำหรับที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น ๒ วันคือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ในวันออกพรรษานั้น ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย และรักษาอุโบสถศีล ![]() ประเพณีชักพระ (พระพุทธรูป) ทางภาคใต้เรียกว่า พิธีลากพระมีสองกรณี คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ ถึงแม้ภาคนี้จะมีความแตกต่างไปจากภาคอื่น ภาคใต้ก็มีจุดประสงค์ปรารภเหตุ การเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าจากเทวโลกมาถึงพื้นโลก ในวันปวารณาออกพรรษาเช่นเดียวกัน ก็จัดให้มีประเพณีแห่พระพุทธรูปในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงนำมากล่าวในที่นี้ด้วยประเพณีชักพระ มี ๒ ประเภท คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ (มีต่อ) |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 23 ต.ค. 2010, 11:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) |
![]() ![]() ![]() จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ ๒ วันจะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวาน ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน “ปัด” คือข้าวต้มผัด น้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา ๑-๒ สัปดาห์ทางวัดจะทำเรือบก คือเอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ ๒ ท่อนมาทำเป็นพญานาค ๒ ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก (ร้านม้า) บนบุษบก จะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรี ไว้บรรเลงเวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงาน พอเช้าวัน ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ ๒ เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง ๒ ตัว เมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่างๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร การชักพระที่ปัตตานี มีอิสลามร่วมด้วย ![]() ![]() ก่อนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่างๆ ก็จะนำเรือมา ๒-๓ ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูปในเรือบางที่ ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทาง ที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานจะมีเรือพระหลายๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมดทุกวัดที่มาร่วม จะมีการฉลองสมโภชพระ มีการเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน เช่นแข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน ![]() พิธีรับพระเป็นพิธีบูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากการจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก พิธีนี้มักจะปรากฏในภาคกลางที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นคมนาคมทางน้ำ เช่น อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม ยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย ![]() ![]() ![]() “ประเพณีตักบาตรพระร้อย” หรือ ใส่บาตรพระร้อยรูป เป็นบุญประเพณีของชาวไทยเชื้อสายมอญในอดีต ส่วนมากจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องด้วยแต่เดิมบ้านอยู่ติดริมน้ำลำคลอง จึงใช้เรือสัญจร พระส่วนมากจึงใช้เรือบิณฑบาต เนื่องมาแต่ความเชื่อเดิมว่าหลังวันเสด็จลงจากเทวโลก คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันตักบาตรเทโว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงนำพระภิกษุสงฆ์จำนวนเป็นร้อยออกบิณฑบาต ชาวประชาจึงหลั่งไหลมาถวายสักการะต้อนรับด้วยดอกไม้และบิณฑบาตทาน จึงมีพิธีตักบาตรเทโวขึ้น แต่ชาวปทุมธานีนิยมกำหนดเอาพระบิณฑบาตจำนวนร้อยรูป จึงเรียกว่า ตักบาตรพระร้อย สืบมา (มีต่อ) |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 23 ต.ค. 2010, 11:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) |
![]() ![]() ๑. เมื่อวันออกพรรษามาถึงเป็นการเตือนใจชาวพุทธว่า เวลาที่ผ่านไป ชีวิตก็ใกล้ตายเข้าไปทุกขณะแล้ว ควรเร่งทำกุศล และยังได้ถึงความปีติที่ได้บำเพ็ญกิจมาตลอดพรรษา และเป็นการเตือนสติอย่าให้จิตของตนละเลิกการทำอกุศล ไม่ให้ตกไปสู่ทางอบายมากเกินไป ๒. ประโยชน์ที่โดดเด่นคือประโยชน์ของการปวารณา ที่สงฆ์การกระทำกันในวันออกพรรษา เพื่อให้สงฆ์ดำรงค์ความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การทำลาย ถ้าคนในชาติเราทุกฝ่ายหันมาปวารณากัน คือ เปิดใจกัน เปิดเผยซึ่งกันและกัน หันหน้ามารวมพลังกันพัฒนาประเทศความทุกข์ก็จะบรรเทาเบาบางลง ![]() ๑. เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล ๒. การทำบุญออกพรรษาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือ หลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย “สันดาน” ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้น ตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน ๓. ได้ข้อคิดที่ว่าคนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา ๔. เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อกัน ในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ![]() ![]() ![]() บรรณานุกรม ๑. จ.เปรียญ. ประเพณีและพิธีมงคลไทย. ธรรมบรรณาคาร. ๒๕๑๘ กรุงเทพฯ. ๒. สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดี. โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้า. ๒๕๓๖ กรุงเทพฯ. ๓. สุเมธ เมธาวิทยกุล. สังกัปพิธีกรรม. พริ้นติ้ง เฮ้า. ๒๕๓๒ . กรุงเทพฯ. ๔. แสงฉาย อนงคาราม. อานิสงส์จากพระไตรปิฎก. ส. ธรรมภักดี. กรุงเทพฯ. ๕. ประพันธ์ กุลวินิจฉัย เทศกาลและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มจร. กรุงเทพฯ. [ภาพเขียน : “ปาฏิหาริย์เปิดโลก” แสดงภาพพระพุทธองค์ในวันออกพรรษาปวารณา ขณะที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากแสดงธรรมโปรดอดีตพระพุทธมารดา ซึ่งไปเกิดเป็นเทวบุตรที่สวรรค์ชั้นดุสิต (แต่เสด็จลงมาฟังธรรมในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงมายังพระนครสังกัสสะประทับยังพื้นดินเท่านั้น พระองค์ก็ทรงบันดาลให้พรหม เทพ มนุษย์ สัตว์เดียรรัจฉาน สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ทุกภพภูมิได้มองเห็นกันเสมือนนั่งอยู่พร้อมหน้ากันเป็นที่อัศจรรย์ อันเรียกว่าทรงแสดง “โลกรวิวรรณ (ปาฏิหาริย์เปิดโลก)”] ..................................... ข้อมูลและภาพจาก : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ http://www.onab.moe.go.th http://www.dhammajak.net/budday/pansa2.php ![]() http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45497 ![]() http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44853 |
เจ้าของ: | Duangtip [ 16 ต.ค. 2015, 17:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | อุบาสกน้อย [ 30 ก.ย. 2016, 15:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) |
ขออนุโมทนาสาธุนะครับ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | AAAA [ 07 ต.ค. 2019, 10:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พิธีตักบาตรเทโว (วันพระเจ้าเปิดโลก) |
4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |