วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 01:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มังกรน้อย มาแนว เอิ๊กๆๆ
นี่ๆ มังกรกอน ....

จิตเกิด รูป-นามเกิด
รูปนาม คือมายาของจิต

รูปนาม ดับก็เพราะความดับแห่งวิญญาณ
ธาตุทั้งหลาย ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

จิตเดิมแท้ ไร้รูปไร้นาม
ต่อเมื่อมีรูปนามรองรับ จิตจึงปรากฏ

เพราะฉะนั้น การดับของนามรูป เพราะการดับแห่งวิญญาณ

พระพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้า ดับวิญญาณขันธ์ ดับเวทนาขันธ์ ดับสัญญาขันธ์ ดับสังขารขันธ์ ส่วนรูปขันธ์แตกสลายไป แต่ไม่ได้ดับวิญญาณธาตุ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา :
อุเบกขาอันเป็นองค์ธรรมของการตรัสรู้
วางเฉย เพราะเล็งว่าได้ทำเหตุพร้อมมูลแล้ว วางเฉยเพื่อผล รู้สภาพตามเป็นจริง

อย่างนี้คือ อุเบกขา

ไม่ว่า การบรรลุผลในอดีต จะเป็นสายศรัทธา วิริยะ หรือปัญญาก็ตามแต่

แต่ในสายแห่งปัญญาธิกะ นั้น
อุเบกขา จะตั้งอยู่วางเฉย เพราะรู้ชอบ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 16:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แน๊ะ...ท่านเช่นนั้น
เห็นเอกอนโชว์ความเปิ่นล่ะ รีบมาแซวเรยยยย...


:b9: :b9: :b9:

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แน๊ะ...ท่านเช่นนั้น
เห็นเอกอนโชว์ความเปิ่นล่ะ รีบมาแซวเรยยยย...


:b9: :b9: :b9:

:b12: :b12: :b12:

มังกรน้อย
ชอบแนวนี้ ศึกษาจากพระสูตรนี้แระกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=7317&Z=7898

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 16:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
การหยั่งรู้จิตใจผู้อื่น ,รู้หรือเห็น เหตุการณ์โดยประมาณที่จะมาถึง
นี้จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติสมาธิทุกคนรึเปล่า
หรือเหมือนมีพลังควบคุมจิตคนอื่นเล็กน้อย
:b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
การหยั่งรู้จิตใจผู้อื่น ,รู้หรือเห็น เหตุการณ์โดยประมาณที่จะมาถึง
นี้จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติสมาธิทุกคนรึเปล่า
หรือเหมือนมีพลังควบคุมจิตคนอื่นเล็กน้อย
:b17:

เพื่อนๆ เช่นนั้น ถามแบบนี้ก็หลายคน
อิอิ
ตอบไม่ได้ครับป๋ม ความสามารถพิเศษส่วนบุคคลของใครของเขา : ))

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องภิกษุแสวงหามหาภูต

[๓๔๓] ดูกรเกวัฏฏ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุนี้เอง ได้เกิดความ
ปริวิตกอย่างนี้ว่า มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้
ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ไหนหนอ. ลำดับนั้น เธอได้เข้าสมาธิชนิดที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่
เทวโลกปรากฏได้. ครั้นแล้วเธอได้เข้าไปหาพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชถึงที่อยู่ แล้วถามว่า
ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ย่อมดับ
ไม่มีเหลือในที่ไหน? เมื่อเธอถามอย่างนี้แล้ว เทวดาชั้นจาตุมหาราชจึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้า
ก็ไม่ทราบที่ดับไม่มีหลือ แห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ เหล่านี้เหมือนกัน แต่ยังมีท้าวมหาราชอยู่ ๔ องค์
ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้า ท้าวเธอคงจะทราบ. ลำดับนั้นภิกษุนั้นจึงไปหาท้าวมหาราช
ทั้ง ๔ แล้วถามว่า ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน? เมื่อเธอถามอย่างนี้แล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์จึงตอบว่า
แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่ยังมีพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้าอยู่อีก
เทวดาเหล่านั้นคงจะทราบ ภิกษุนั้นจึงเข้าไปหาเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วถามว่า ท่านทั้งหลาย
มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน?
เมื่อเธอถามอย่างนี้แล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่ยังมีท้าวสักกะ
จอมเทพซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้าอยู่อีก ท้าวเธอคงจะทราบ. ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้
ไปหาท้าวสักกะจอมเทพแล้วถามว่า ท่าน มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรเกวัฏฏ์ เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสตอบว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นั้น
แต่ยังมีเทวดาชั้น ยามะ ... ท้าวสุยามะ ... เทวดาชั้นดุสิต ... ท้าวสันดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
ท้าวสุนิมมิต ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... ท้าวปรนิมมิตวสวดี ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าข้าพเจ้า
อยู่อีก ท้าวเธอคงทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ เหล่านี้ได้.

[๓๔๔] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้นแล เธอได้เข้าไปหาวสวดีเทวบุตรแล้วถามว่า ท่าน
มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือใน
ที่ไหน เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว วสวดีเทวบุตรตอบว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่ยังมีเทวดา
ผู้นับเนื่องในหมู่พรหม ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกเราอยู่อีก เทวดาเหล่านั้นคงจะทราบ ลำดับนั้น
ภิกษุได้เข้าสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่พรหมโลกปรากฏได้.

[๓๔๕] ดูกรเกวัฏฏ์ ต่อนั้น เธอได้เข้าไปหาเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมโลกแล้วถามว่า
ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับ
ไม่มีเหลือในที่ไหน? เมื่อเธอถามอย่างนี้ เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมจึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้า
ก็ไม่ทราบ แต่ยังมีพรหมผู้เป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้
ผู้ใช้อำนาจเป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ
เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้วและยังจะเกิดต่อไป ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้า ท้าว
มหาพรหมนั้นแล คงจะทราบ ก็บัดนี้ท้าวมหาพรหมนั้นอยู่ที่ไหน แม้พวกเราก็ไม่รู้ที่อยู่ของพรหม
หรือทิศทางที่พรหมอยู่ แต่ว่านิมิตทั้งหลายย่อมเห็นได้ แสงสว่างย่อมเกิดเอง โอภาสย่อมปรากฏ
เมื่อใด พรหมจักปรากฏองค์เมื่อนั้น การที่แสงสว่างเกิดเอง โอภาสปรากฏนั้นแล เป็นบุพพนิมิต
สำหรับความปรากฏแห่งพรหม ดูกรเกวัฏฏ์ ต่อมาไม่นาน มหาพรหมนั้นได้ปรากฏแล้ว.

[๓๔๖] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น เธอได้เข้าไปหามหาพรหมแล้วถามว่า ท่าน มหาภูตรูป
ทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน?
เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวมหาพรหมนั้นได้ตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นพรหม เป็นมหาพรหม
เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง
เป็นผู้เนรมิตร เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
และยังจะเกิดต่อไป แม้ครั้งที่ ๒ เล่า ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมนั้น ดังนี้ว่า ข้าพเจ้า
มิได้ถามท่านอย่างนั้น แต่ข้าพเจ้าถามท่านว่า มหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้
ต่างหาก แม้ครั้งที่ ๒ เล่า ท้าวมหาพรหมก็ได้ตอบเธออย่างนั้นเหมือนกัน แม้ครั้งที่ ๓ เล่า
ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมนั้นดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านอย่างนั้น แต่ข้าพเจ้าถามท่านว่า
มหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้ต่างหาก.

[๓๔๗] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น ท้าวมหาพรหมนั้น จับแขนภิกษุนั้นนำไป ณ ที่ควร
ข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุ พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเหล่านี้เข้าใจเราว่า อะไรๆ
ที่พรหมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ประจักษ์ ไม่มี ดังนี้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงตอบต่อหน้า
เทวดาเหล่านั้นไม่ได้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล การที่ท่านละพระผู้มีพระภาค
เสีย แล้วมาเสาะหาการพยากรณ์ปัญหานี้ในภายนอกนั้น เป็นอันท่านทำผิดพลาดแล้ว นิมนต์กลับ
เถิด ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถามปัญหานี้ พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านฉันใด ท่าน
พึงทรงจำข้อนั้นไว้ ฉันนั้น.

อุปมาด้วยนกตีรทัสสี

[๓๔๘] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้หายไปที่พรหมโลก มาปรากฏข้างหน้าเรา
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้อยู่ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา ฉะนั้น. ต่อนั้น
เธอไหว้เราแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ถามเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาภูตรูป
ทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน
เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าเดินเรือทะเล
ย่อมจับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อไม่เห็นฝั่ง เขาย่อมปล่อยนกตีรทัสสี
มันบินไปยังทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศเบื้องบน ทิศน้อย ถ้ามันแลเห็นฝั่ง
โดยรอบมันก็บินเลยไป ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดยรอบ มันก็จะกลับมายังเรือนั้นอีก ดูกรภิกษุ
เธอก็ฉันนั้นแล เที่ยวแสวงหาจนถึงพรหมโลก ก็ไม่ได้รับพยากรณ์ปัญหานี้ ในที่สุดก็ต้องกลับ
มาหายังสำนักเรานั่นเอง ปัญหาข้อนี้เธอมิควรถามอย่างนั้น แต่ควรถามอย่างนี้.
แถลงปัญหามหาภูต

[๓๔๙] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.

ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้

[๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้.
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบเกวัฏฏสูตร ที่ ๑๑.


:b16: :b16: :b16:

ชอบท่อนนี้...

:b27: :b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ธรรมชาติของจิตเดิมแท้ ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ไม่มีการมา การไป
เป็นธรรมธาตุที่รู้อยู่ตั้งอยู่ ......

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 12:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ทำสมาธิ มีอารมณตั้งมั่นดีขึ้นมาก
เดี๋ยวนี้หลับตาทันที จะไม่มีเรื่องส่วนตัว,บุคคล,สิ่งของ,เรื่องภายนอกทั่วไปเข้ามารบกวนได้เลย
จะมีก็แต่เรื่อง สภาวะ อารมณ์ด้านการปฏิบัติ จะมาทำให้ฟุ้งบ้าง แต่รู้ก็ปล่อยไว
ช่วงนี้ที่บ้าน+โรงงาน อย่างที่เคยบอก ช่วงนี้งานเข้า มีเสียงทำงานดังมากกกก
ร่วมกับรอบบ้านเป็นทุ่งนา อยู่ระหว่างการเพาะปลูก ดังมากกกก อีก เสียงรถไถชิดรั้วเลยค่ะ
แต่ก็นะ เดี๋ยวก็สงบ ช่วงนี้ก็เลยจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติน้อยลง แต่ก็จะพยายามรักษาไม่ให้ห่างหายค่ะ
:b4: :b4:
คุณเช่นนั้น
ขอช่วยชี้แนะ เรื่องการนั่งทำสมาธิแบบเจริญพรหมวิหาร หน่อยค่ะ มีในแบบวิธีกรรมฐานใหมคะ
:b17: :b17:
:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 13:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณเช่นนั้น
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
วันนี้ทำสมาธิ มีอารมณตั้งมั่นดีขึ้นมาก
เดี๋ยวนี้หลับตาทันที จะไม่มีเรื่องส่วนตัว,บุคคล,สิ่งของ,เรื่องภายนอกทั่วไปเข้ามารบกวนได้เลย
จะมีก็แต่เรื่อง สภาวะ อารมณ์ด้านการปฏิบัติ จะมาทำให้ฟุ้งบ้าง แต่รู้ก็ปล่อยไว
ช่วงนี้ที่บ้าน+โรงงาน อย่างที่เคยบอก ช่วงนี้งานเข้า มีเสียงทำงานดังมากกกก
ร่วมกับรอบบ้านเป็นทุ่งนา อยู่ระหว่างการเพาะปลูก ดังมากกกก อีก เสียงรถไถชิดรั้วเลยค่ะ
แต่ก็นะ เดี๋ยวก็สงบ ช่วงนี้ก็เลยจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติน้อยลง แต่ก็จะพยายามรักษาไม่ให้ห่างหายค่ะ
:b4: :b4:
คุณเช่นนั้น
ขอช่วยชี้แนะ เรื่องการนั่งทำสมาธิแบบเจริญพรหมวิหาร หน่อยค่ะ มีในแบบวิธีกรรมฐานใหมคะ
:b17: :b17:
:b8: :b8:

อ๊ะย๊ะ.....
กำลังอยู่ช่วง สงบกิเลสด้วยสมถะอยู่ ยังไม่ได้เข้าสู่ถอนกิเลสด้วยวิปัสสนาเลย
จะให้เอา พรหมวิหาร แทรกซะร่ะ

พุทธศาสนา ปรับแต่งพรหมวิหาร 4 เป็น อัปปมัญญา 4 โดยใช้ชื่อเรียก องค์ธรรมย่อยให้พรหมวิหาร 4 เดียวกัน.
การเจริญอัปปมัญญา 4 เมตตาภาวนา กรุณาภาวนา มุฒิตาภาวนา อุเบกขาภาวนา ในอานาปานสติสมาธิภาวนา.
เมตตาภาวนา ต้องเจริญก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ หากขาดเมตตา กรุณา มุฒิตา และอุเบกขาภาวนาจะมีไม่ได้.

เมื่อคุณ idea มีสติ มีสมาธิตั้งมั่น ด้วยลมหายใจออกเข้าแล้ว
คุณ idea จะอาศัย สุข ในปฐมฌานจิต หรือทุติยฌานจิต หรือตติยฌานจิต ใดก็ได้แต่ดีที่สุด คือตติยฌานจิต ที่มีแต่โสมนัสถ่ายเดียว.

ตั้งสติกำหนดเอาที่ความรู้สึกสุขนั้น.
แผ่ความสุขนั้นออกไปไม่มีประมาณ ด้วยความรักปราถนาให้ผู้อื่นมีความสุขเช่นที่รู้สึกสุขอยู่นี้ ทุกลมหายใจเข้าออก ........ การแผ่เมตตาจิต.

แผ่ความสุขนั้นออกไปไม่มีประมาณ ด้วยความปราถนาให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงพ้นจากความทุกข์ด้วยความสุขนี้ ทุกลมหายใจออกเข้า ..... การแผ่กรุณาจิต.

แผ่ความสุขนั้นออกไปไม่มีประมาณ ด้วยความรู้พลอยยินดีหากว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงต่างมีความสุขเช่นเดียวกับสุขที่ได้แผ่ออกไปนี้ ทุกลมหายใจออกเข้า .....การแผ่มุฒิตาจิต

ในการแผ่อุเบกขา ออกไปไม่มีประมาณนั้น
ให้ทำความระลึกไว้ว่า
สัตว์ทั้งหลาย
เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน หายใจออกเข้า
เป็นผู้รับผลของกรรม หายใจออกเข้า
เป็นผู้มีกรรมนำเกิด หายใจออกเข้า
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ หายใจออกเข้า
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย หายใจออกเข้า
จักทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น แน่นอน. หายใจออกเข้า.

การปฏิบัติแผ่บ่อยๆ อย่างนี้ เป็นการอบรมจิตให้มีสติ ให้เคยชินที่จะมี เมตตา กรุณา มุฒิตา อุเบกขาทันท่วงที ในการดำเนินชีวิตประจำวันครับ.

การแผ่ อัปปมัญญา อุเบกขา เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะทำให้ คุณ idea สามารถวางเฉยปลงใจในกรรมของสัตว์อื่นทั้งหลาย โดยไม่ทำให้ เมตตา กรุณา มุฒิตา นั้นเกิดเป็นโทษทำให้รู้สึกไม่สบายใจได้ครับ.

เมื่อแผ่เมตตาเสร็จ ก็ทำความสงบ ระงับต่อไป.
อัปปมัญญา 4 นี้ พระพุทธองค์มีแนะให้เจริญ ก่อนทำวิปัสสนานะครับ.
แต่จะแผ่ก่อนออกจากสถานที่หลีกเร้นก็ได้ครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณ idea :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
จะมีก็แต่เรื่อง สภาวะ อารมณ์ด้านการปฏิบัติ จะมาทำให้ฟุ้งบ้าง แต่รู้ก็ปล่อยไว
:b8: :b8:

ที่เป็นอย่างนี้เป็นเรื่องปรกติครับ
เพราะ เป็นการสงบกิเลส ด้วยกำลังของสติสมาธิ(สมถะ) ครับ
หาก สติ หรือสมาธิ อ่อนกำลังลง ก็จะฟุ้งขึ้นมาเหมือนเดิมครับ

ค่อยๆ ฝึกไป ตามลำดับ ในเวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และ ธัมมานุปัสสนา ครับ
แล้วความฟุ้งจะเบาบางลงไปตามลำดับๆ ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 15:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
แค่สงสัยหนะค่ะ ปกติก่อนออกจากสมาธิจะต้องแผ่เมตตา แผ่ความสุขออกไปกว้างๆอยู่แล้ว
เลยอยากจะถามเก็บไว้เป็นเสบียงความรู้ไงคะ แต่เรื่องปฏิบัติ เอาไว้ก่อน :b12:

ช่วงนี้ระหว่างทำสมาธิ บอกตรงๆนะคะ เริ่มสับสนอีกละ
ใจมันกังวล ถึงแต่ละสภาวะ กำหนดถูกไม่ถูกไม่แน่ใจ ไม่ธรรมชาติ

ช่วงท้ายๆมานี่หลังจากคุยกันเรื่อง การกำหนดละปิติสุขทางกาย อาศัยสุขทางใจ
ที่ideaรู้สึกตัวหนักแน่น แต่ตั้งมั่น สงบดี
ทีนี้ เดี๋ยวนี้ นั่งสมาธิ กำหนดลมสักพัก ลมละเอียดขึ้น มีอารมณ์ตั้งมั่นในลม กายก็นิ่งขึง จะเป็นแบบนี้เลย
จะมีปิติมาบ้าง กายจะเริ่มลอย หายก็ไม่ใช่ยังรู้สึกอยู่ค่ะ ลมก็ละเอียดแต่รู้สึกได้ แต่สักพักกายก็นิ่งสงบมากอีก
ไม่มีความสุขมานะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ช่วงนี้ระหว่างทำสมาธิ บอกตรงๆนะคะ เริ่มสับสนอีกละ
ใจมันกังวล ถึงแต่ละสภาวะ กำหนดถูกไม่ถูกไม่แน่ใจ ไม่ธรรมชาติ

ช่วงท้ายๆมานี่หลังจากคุยกันเรื่อง การกำหนดละปิติสุขทางกาย อาศัยสุขทางใจ
ที่ideaรู้สึกตัวหนักแน่น แต่ตั้งมั่น สงบดี
ทีนี้ เดี๋ยวนี้ นั่งสมาธิ กำหนดลมสักพัก ลมละเอียดขึ้น มีอารมณ์ตั้งมั่นในลม กายก็นิ่งขึง จะเป็นแบบนี้เลย
จะมีปิติมาบ้าง กายจะเริ่มลอย หายก็ไม่ใช่ยังรู้สึกอยู่ค่ะ ลมก็ละเอียดแต่รู้สึกได้ แต่สักพักกายก็นิ่งสงบมากอีก
ไม่มีความสุขมานะคะ

เมื่อคุณ idea ภาวนาไป โดยไม่ต้องไปรู้โดยบัญญัติ ว่า จิตใดเป็นลำดับชื่อฌานใด ตอนนั้นคุณ idea ไม่กังวลใจ เพราะเป็นไปตามธรรมชาติ เพียงแต่ไม่รู้ว่าสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นปรกติที่ต้องประสบหรือไม่.

แต่พอเข้าใจสภาวะ กลับเป็นอุปกิเลสเครื่องกังวลขึ้นมาเพราะความลังเลสงสัย ซึ่งก็เป็นปรกติเช่นกัน
จึงต้องทำความศึกษาในเวทนานุปัสสนา
Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า.

พระพุทธองค์ ให้กำหนด ปิติ คือให้หยุด ที่ปิติให้ชำนาญ
กล่าวคือ ให้ทำความสังเกตุ ที่ความเบาสบายรู้สึกสุขใจสุขกายไปกับความเบาสบายเพราะปิตินั้น หากจิตแล่นไปขนาดที่กายเบาเหมือนลอย ขนลุกซู่ทั้งกาย ก็ให้สังเกตุไว้
หากกายคับกายพอง ความสั่นไหวของกายมีมากเกินไป ก็ให้สังเกตุไว้
เพราะขณะนี้ จิตกำหนดปิติ ด้วยสติ คุมจิตให้สังเกตุพิจารณาปิติ ด้วยความรู้สึกตัว
Quote Tipitaka:
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

Quote Tipitaka:
ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง


เมื่อรู้สึกว่า ปิตินั้นก็เป็นภาระ หรือไม่น่ายินดีไม่น่าพอใจ
ก็ให้ละความใส่ใจพิจารณาปิติเสีย จับเอาความรู้สึกสุขใจ มาพิจารณาต่อไป
โดยกำหนดรู้สุขทางใจเพียงถ่ายเดียว อย่าสนใจความรู้สึกทางกายว่าตัวหนักตัวขึงไม่ต้องใส่ใจ
สุขทางใจ ที่รู้สึกได้นั้นจะไม่มีความทุกข์กายมาให้รับรู้เลย.

Quote Tipitaka:
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง


เจตนากำหนดศึกษา ปิติ สุข อย่างนี้กลับไปกลับมาจนสามารถแยกแยะสภาวะได้ชัดเจนในจิต


ก็เป็นอันศึกษา อานาปานสติลำดับที่ 5-6 ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร