วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 21:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 15:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
สงสัยค่ะ?
Kiss
และมีอีกคำถามด้วย
หากนั่งสมาธิ แล้วเกิด วูบคล้ายคนสัปหงก แล้วสว่าง วูบแล้วสว่างเป็นหลายๆรอบ ต่อเนื่องกัน คืออะไรคะ
มีสตินะ ใหม่ๆคิดว่าตัวเองง่วง พอถอยออกมากลับไม่ใช่ ยิ่งรู้สึกตื่น สดชื่นมากขึ้นเสียอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
สงสัยค่ะ?
Kiss
และมีอีกคำถามด้วย
หากนั่งสมาธิ แล้วเกิด วูบคล้ายคนสัปหงก แล้วสว่าง วูบแล้วสว่างเป็นหลายๆรอบ ต่อเนื่องกัน คืออะไรคะ
มีสตินะ ใหม่ๆคิดว่าตัวเองง่วง พอถอยออกมากลับไม่ใช่ ยิ่งรู้สึกตื่น สดชื่นมากขึ้นเสียอีก

ดีจังที่ เล่าบอกได้ว่าอะไรเกิดขึ้น ..... : )

อาการที่เกิดขึ้นในขณะนั้น มีถีนะนิวรณ์เข้าแทรกครับ
ถีนะ ตัวนี้ทำให้จิตถอยกำลังครับ

อาการ คุณ idea ไม่ใช่วูบหลับครับ ถ้าวูบหลับจะไม่ปรากฏสัญญาว่าสว่างครับ จะมืดๆ ไปเลยครับ
วูบตัวนี้ จะรู้สึกสว่างๆ ไม่หลับแต่คล้ายหลับคือ ร่างกายจะโงกหน้าโงกหลัง เหมือนไก่จับคอน เหมือนกับสะดุ้งนิดหน่อยประมาณนี้.

จิตถอยกำลังหรือสติถอยกำลัง คือกายมีอำนาจเหนือจิตครับ เกิดจากความที่สงบแต่อ่อนสัมปชัญญะ
กายที่ตึงหย่อน มีอำนาจเหนือจิต จึงเกิดอาการเหมือนสัปปะหงก ก่อให้เกิดความรำคาญเล็กๆ ครับ.

พอออกจากการภาวนา ความรู้สึกก็ยังสดชื่นครับ

เป็นธรรมดาของจิตที่ฝึกใหม่ๆ .

การควบคุมทำได้ครับ เพื่อให้จิตมีกำลังเป็นปรกติครับ

ใช้หลักปฏิบัติโดยอาศัย ข้อปฏิบัติในสัมโพชฌงค์ 4 ประการ เพื่อปลุกจิต เพิ่มปิติครับ.
1.สติ ก็ยังดำรงที่จุดกระทบเหมือนเดิมที่ปฏิบัติ

2.ทำความคิดค้นหาอย่างตั้งใจว่า
การโงกหน้าเกิดขึ้นขณะใดของ การหายใจเข้า-ออก
การโงกหลังเกิดขึ้นขณะใดของ การหายใจเข้า-ออก
การโงกนั้นเกิดด้วยความตึง หรือความหย่อน ของกาย
ความหย่อนความตึงของกาย จะเกิดขึ้นขณะไหนของลมหายใจเข้าออก

3. ทำความเพียร ประคองสติ ตอนนี้ความสงบนิ่งมีความสำคัญน้อยกว่า กำลังสติครับ.
การทำความเพียรค้นหาก็จะรู้ ความเกิดขึ้นของความโงกหน้าโงกหลัง และความดับไปของความโงกหน้าโงกหลัง.
เมื่อคุณ idea รู้เห็นตามเป็นจริง ถึงการตั้งขึ้นของความโงก และความดับไปของความโงก. คุณ idea จะกำหนดให้ใจ มีอำนาจเหนือกาย ให้ทำความรู้สึกตัวควบคุมกายให้เป็นไปตามความตั้งมั่นของจิต ที่ลมหายใจเข้าออก.

กายที่ไม่ได้ตั้งตรง เหมือนตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะตั้งตรงขึ้นมาเองด้วยอำนาจของจิตครับ
แล้วคุณ idea ก็ประคองสติสัมปชัญญะนั้นไว้ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างนั้นไว้.

4. ขณะที่รู้ถึงความเกิดขึ้น และความดับไปของความโงกหน้า โงกหลัง.
คุณ idea จงทำความพอใจถึงความรู้นั้น ปิติจะเกิดขึ้นเองครับ
และให้เร้าปิตินั้น ด้วยการเพิ่มกำลังของลมหายใจเข้าหายใจออก สักระยะหนึ่งเพื่อให้กายและจิตมีกำลังสมดุลย์กัน.

ความโงกก็จะหายไป.

เมื่อคุณ idea หายโงก และมีความรู้สึกว่าตื่นเต็มที่
จึงค่อยผ่อนปิติลง มาทำความสงบดังเดิมครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเจ้าของกระทู้

คุณปฏิบัติไปทั้งหมดนี้ มีจุดประสงค์เพื่ออะไรครับ

เพราะว่าเป้าหมายแต่ละคนไม่เหมือนกัน เป้าหมายต่าง วิธีการก็ต่าง ถ้าไม่รู้เป้าหมายเสียก่อนก็อาจจะคุยผิดเรื่องได้ครับ เลยขอถามก่อน

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 00:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเองฝึกมาตั้งนานก็ยังไม่เข้าเรื่องอารมณ์เลยครับ บางทีเราเองอาจจะเริ่มต้นในสิ่งที่เราคุ้นเคยก่อน

จับเอาธรรมที่คุ้นเคยมาพิจารณา

อารมณ์ปฎิบัติที่เป็นกุศลย่อมเกิดขึ้น

เพราะเราทำให้เจริญในสิ่งที่เกิดเป็นปกติหนุนวิปัสสนา

วิปัสสนาย่อมหนุนจิตครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 10:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณstudent
ขอบคุณค่ะ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 20:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณคนธรรมดาๆ
เริ่มทำสมาธิครั้งแรกอายุ15 ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เพราะอ่านนิยายเรื่องฌานของคุณทมยันตีค่ะ
ก็ลองทำทุกแบบตามหนังสือ แต่หลักๆกำหนดลม แต่ใช้วิธีหายใจเข้านับ1-10ยาวนับ1-10 จิตตั้งมั่นดีค่ะ จะเห็นถึงร่างกายอึดอัดทรมานแทบขาดใจ เพราะเป็นการฝืนลมแต่สักพักพอขั้นลมละเอียดก็คอยดูลมเหมือนจะเข้าออกเอง
จะกำหนดดวงแก้วหรือองค์พระไปด้วยจนนึกก็เห็นชัดหลับตาก็เห็นจริง ขยายเล็กใหญ่ก็ได้ บ้างก็กำหนดความว่างด้วย
ตอนนั้นไม่รู้จักศิล,ธรรม,หลักปฏิบัติใดเลย ผลที่ได้ก็คือ ใจสงบดีค่ะ จิตใจดีมีเมตตา ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง คือดีมากๆ นี่คือมุมที่มองย้อนไปนะ อีกอย่างรู้ใจคนอื่นว่าเขาคิด หรือจะพูดประมานไหน มีลางสังหรเห็นเหตุการล่วงหน้าแวบมาบ้าง แต่ตอนนั้นไม่ได้รู้สึกพิเศษนะคะ ไม่คิดเลยสนใจแต่ทำสมาธิ นั่งได้เกือบจะทั้งคืน จนวันหนึ่ง นั่งแล้วได้พบอารมณ์หนึ่ง วิเศษมาก อธิบายไม่ได้ เพราะเพียงแค่สัมผัสก็หลุดออกมาเลยน่าจะด้วยเกิดยินดี หลังจากนั้น นั่งก็นึกอยาก ไม่ได้ก็หงุดหงิดเป็นสาเหตุให้ห่างออกมา
แต่ก็ได้รู้ว่าทำสมาธิแล้วทำให้จิตใจเราดี หลังจากนั้นก็พยายามทำบ้างแต่ไม่ตั้งมั่นไม่ต่อเนื่อง
จนมารอบที่เขียนตั้งกระทู้นี้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนา พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก ก็ให้คิดคล้อยตาม และอยากปฏิบัติ เพราะอยากหลุดพ้นค่ะ รู้สึกเบื่อหน่ายกับจิตใจตัวเองที่วิ่งตามกิเลส อารมณ์ต่างๆ ปกติแต่เล็กจนโต จะเหมือนรู้ทันตัวเอง จะมีกระบวนการคิดถึงควรไม่ควร ทำแล้วผลจะเป็นอย่างไร แต่หลายครั้งก็จะยอมตามมันไป จบแล้วก็จะรู้สึกเบื่อหน่ายตัวเอง เหมือนรู้ว่าเป็นโทษ ก็หยุดไม่ได้ ทำผิดก็ละอายใจด้วยค่ะบางทีเรื่องเล็กน้อยมาก
ยิ่งมาฟังธรรม หลักธรรมต่างๆ ก็ให้เห็นว่าจริงตามนั้น และก็เชื่อเรื่องการสร้างภพสร้างชาติ อยากชำระจิตใจตัวเอง ไม่อยากสร้างกรรมอีก แต่นิสัยคนเราหรือเช่นตัวเอง บางทีรู้ดีไม่ดีก็ยังจะทำ อยากชนะใจตนค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณไอเดีย

เท่าที่ผมพอรู้สึกได้ ผมคิดว่าคุณสนใจธรรมะจริงๆ ตรงนี้ขออนุโมทนา แต่ผมก็รู้สึกว่าตัวคุณเองยังไม่แน่ใจว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าคุณยังไม่แน่ใจว่าเป้าหมายที่คุณอยากได้จากการศึกษาธรรมะ คืออะไร

ลองพิจารณาเรื่องการทำอาหารดูเล่นๆ เอาแค่สามกรณีก็พอ เช่นพ่อครัว นักโภชนาการ กับคนทั่วๆไป สามคนนี้คุณคิดว่า เขาศึกษาเรื่องอาหารต่างกันไปอย่างไร

แน่นอนสามคนนี้มีเป้าหมายต่างๆกัน พ่อครัว อาจจะเน้นว่า ทำอย่างไรถึงจะอร่อย นักโภชนาการ อาจจะมองว่า ทำอย่างไรอาหารถึงจะมีคุณค่าสารอาหารสูงที่สุด ในขณะที่คนทั่วไป อาจจะแค่มองว่า เย็นนี้อยากจะกินอะไร

จะเห็นว่าขั้นตอนการศึกษาเรื่องอาหารของพวกเขาต่างกัน และย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ ประโยชน์สุดท้ายต่างๆกัน

ธรรมะก็เหมือนกัน คุณอยากได้อะไรจากธรรมะ หลายๆคนอยากได้ความสงบจากเรื่องวุ่นวายในชีวิต แต่จะเอาสงบแบบไหน

สงบชั่วครั้งชั่วคราว เพราะได้เจอคนที่ใจสงบเหมือนกันแบบในงานบุญ พอไหม
สงบแบบควบคุมได้มากขึ้น จากการทำสมาธิด้วยคนเอง แบบนี้พอไหม
หรือจะเอาสงบแบบควบคุมได้ยั่งยืนขึ้นไปอีก เพราะพิจารณากลไก สาเหตุของเรื่องที่ทำให้ใจสงบจนเข้าใจได้แล้ว

สิ่งที่คุณบอกมา ความหลุดพ้น ความชนะใจตนเอง อะไรพวกนั้น ผมรู้สึกว่าทั้งหมดนี้ยังไม่ใช่คำของคุณ ไม่ได้ออกมาจากใจคุณ ไม่ใช่อารมณ์จริงๆของคุณ ไม่ใช่ความปรารถนาที่แท้จริงของคุณ ทั้งหมดนี่เกิดจากสิ่งที่คุณได้ฟังมาแล้วมีใจคล้อยตามไปวูบหนึ่งเท่านั้น

แต่ความปรารถนาในใจคุณเองล่ะ คุณรู้สึกถึงแล้วหรือยัง ถ้าผมถามว่า ในชีวิตนี้ อะไรสำคัญที่สุดในชีวิตคุณ แบบว่าถ้าได้ตรงนี้มา ชีวิตนี้ถึงตายไปก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว คุณมีคำตอบดังขึ้นมาในใจไหมว่าคืออะไร

แน่นอนนี่ไม่ใช่คำถามที่ง่าย แต่หากคุณเองยังหาคำตอบตรงนี้ไม่เจอ เมื่อเป้าหมายไม่ชัดเจนเสียแล้ว ความพยายามต่างๆที่ทุ่มเทไป จะแน่ใจได้อย่าไรว่าทุ่มไปเพื่อการเดินไปในทางที่คุณอยากจะไป

คนที่รู้จักตัวเองดีพอเท่านั้น ถึงจะมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนได้

นี่ก็คือธรรมนะครับ เพราะจะรู้จักตัวเองได้ ต้องมีศีล มีความซื่อสัตย์กับตัวเองและอารมณ์ของตัวเอง มีสมาธิหมั่นตรวจตราความรู้สึกต่างๆที่เกิดกับตัวเอง คิดทบทวนย้อนไปย้อนมา ผลไปหาเหตุ เหตุไปหาผล จึงจะเกิดความรู้ความเข้าใจ สัมผัสถึงเป้าหมายนี้ในใจตัวเองได้

ถ้าคุณรู้จักเป้าหมายของตัวเอง รวมถึงรู้ด้วยว่าจุดอ่อนจุดแข็งของคุณอยู่ตรงไหน ความถนัดของคุณอยู่ที่ไหน กำลังของคุณมีแค่ไหน คุณก็จะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าพึ่งตัวเองได้ทางธรรม เอาตัวรอดได้ ไปต่อเองได้ ไม่จำเป็นจะต้องไปถามใครอีกต่อไป

เป้าหมายเอาอันเล็กๆง่ายๆก่อนก็ได้ แต่เอาอันที่มาจากใจคุณ เป็นสิ่งที่คุณเห็นเกิดขึ้นในตัวคุณ และเห็นด้านที่เป็นโทษของมันด้วย เช่น จะดูตัวเองก่อนว่าอะไรทำให้เราเกิดความขัดใจบ้างในวันหนึ่งๆ ก็จะเห็นว่า อ๋อ วันนี้เกิดเรื่องแบบนี้กับเรา เราหงุดหงิดมาก อะไรนะ เป็นสาเหตุให้เราหงุดหงิด เมื่อคุณพิจารณาจนเข้าใจ เห็นสาเหตุที่แท้จริง เรื่องเดิมๆ อารมณ์เดิมๆ ก็จะทำอะไรคุณไม่ได้มากเท่าเดิมอีกต่อไป

ธรรมชาติของคนที่เข้าใจตัวเอง ธรรมชาติของคนที่ปฏิบัติธรรม จะคอยตรวจตราอารมณ์ตัวเองอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อทำไปนานๆเข้า คุณอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า "นี่พอแล้วหรือ นี่เราปลอดภัยแล้วหรือ" ซึ่งคำถามนี้ก็จะนำไปสู่การประเมินตัวเอง และนำไปสู่การตั้งเป้าหมายที่ค่อยๆสูงขึ้นไปเอง

หากคุณต้องการธรรมของคุณเองจริงๆ เป้าหมายของคนอื่นภายนอก เอาวางไว้ข้างนอกก่อน ทั้งหมดที่ฟังมา เอาไว้พอเป็นไอเดียเท่านั้น ตั้งใจขึ้นมา สังเกตตัวเองเข้ามาว่าเข็มทิศในใจเราอยู่ไหน ตั้งเต็มทิศในใจเราให้ตรงเสียก่อน แล้วเอาเรื่องที่ได้ฟังมา วัดเข้ากับตัวเราเองที่เรารู้สึกถึง สังเกตว่าตรงกันไหม อะไรผิด อะไรถูก เอาความจริงเป็นสำคัญ

กำหนดเป้าหมาย วางแผนการเพื่อให้ถึงเป้าหมาย ดำเนินการ ตรวจตราปรับปรุงแผนการ เมื่อถึงเป้าหมายแล้วจึงกำหนดเป้าหมายใหม่ต่อไป ทำแบบนี้ คุณจะค่อยๆปล่อยใบไม้ไปเอากิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไปเอาเปลือก จนกระทั่งในที่สุดคุณก็จะถึงแก่นไม้ได้ถ้าแก่นไม้เป็นสิ่งที่คุณต้องการ โดยไม่หลงคิดว่า ใบไม้ กิ่ง หรือเปลือกไม้คือแก่นไม้ วิธีการแบบนี้เป็นแนวทางอริยสัจ 4 จะลดลดการเดินวนวนไปมาซ้ำๆได้ครับ

อย่าเพิ่งไปเอาเลยความหลุดพ้นต่างๆเหล่านั้น หากเรายังรู้สึกได้ไม่ชัด เอาสิ่งที่ใจคุณตอบคำถามนี้ก่อน

"ในชีวิตนี้ อะไรสำคัญที่สุดในชีวิตคุณ แบบว่าถ้าได้ตรงนี้มา ชีวิตนี้ถึงตายไปก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว"

คำตอบของคำถามนี้ แรกๆอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่หมั่นมองเข้าไปในตัวเอง ถามตัวเองอยู่เสมอๆว่าชีวิตนี้จะเอาอะไร จะเอาอะไร และคุณจะยอมทำอะไรบ้าง จะยอมทิ้งอะไรบ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น เพราะไม่มีอะไรจะได้มาฟรีๆนะครับ ธรรมก็เช่นกัน

คำตอบของคำถามนี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามลำดับขั้นความเข้าใจตัวเองของคุณครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
สงสัยค่ะ?
Kiss
และมีอีกคำถามด้วย
หากนั่งสมาธิ แล้วเกิด วูบคล้ายคนสัปหงก แล้วสว่าง วูบแล้วสว่างเป็นหลายๆรอบ ต่อเนื่องกัน คืออะไรคะ
มีสตินะ ใหม่ๆคิดว่าตัวเองง่วง พอถอยออกมากลับไม่ใช่ ยิ่งรู้สึกตื่น สดชื่นมากขึ้นเสียอีก

ดีจังที่ เล่าบอกได้ว่าอะไรเกิดขึ้น ..... : )

อาการที่เกิดขึ้นในขณะนั้น มีถีนะนิวรณ์เข้าแทรกครับ
ถีนะ ตัวนี้ทำให้จิตถอยกำลังครับ

อาการ คุณ idea ไม่ใช่วูบหลับครับ ถ้าวูบหลับจะไม่ปรากฏสัญญาว่าสว่างครับ จะมืดๆ ไปเลยครับ
วูบตัวนี้ จะรู้สึกสว่างๆ ไม่หลับแต่คล้ายหลับคือ ร่างกายจะโงกหน้าโงกหลัง เหมือนไก่จับคอน เหมือนกับสะดุ้งนิดหน่อยประมาณนี้.

จิตถอยกำลังหรือสติถอยกำลัง คือกายมีอำนาจเหนือจิตครับ เกิดจากความที่สงบแต่อ่อนสัมปชัญญะ
กายที่ตึงหย่อน มีอำนาจเหนือจิต จึงเกิดอาการเหมือนสัปปะหงก ก่อให้เกิดความรำคาญเล็กๆ ครับ.

พอออกจากการภาวนา ความรู้สึกก็ยังสดชื่นครับ

เป็นธรรมดาของจิตที่ฝึกใหม่ๆ .

การควบคุมทำได้ครับ เพื่อให้จิตมีกำลังเป็นปรกติครับ

ใช้หลักปฏิบัติโดยอาศัย ข้อปฏิบัติในสัมโพชฌงค์ 4 ประการ เพื่อปลุกจิต เพิ่มปิติครับ.
1.สติ ก็ยังดำรงที่จุดกระทบเหมือนเดิมที่ปฏิบัติ

2.ทำความคิดค้นหาอย่างตั้งใจว่า
การโงกหน้าเกิดขึ้นขณะใดของ การหายใจเข้า-ออก
การโงกหลังเกิดขึ้นขณะใดของ การหายใจเข้า-ออก
การโงกนั้นเกิดด้วยความตึง หรือความหย่อน ของกาย
ความหย่อนความตึงของกาย จะเกิดขึ้นขณะไหนของลมหายใจเข้าออก

3. ทำความเพียร ประคองสติ ตอนนี้ความสงบนิ่งมีความสำคัญน้อยกว่า กำลังสติครับ.
การทำความเพียรค้นหาก็จะรู้ ความเกิดขึ้นของความโงกหน้าโงกหลัง และความดับไปของความโงกหน้าโงกหลัง.
เมื่อคุณ idea รู้เห็นตามเป็นจริง ถึงการตั้งขึ้นของความโงก และความดับไปของความโงก. คุณ idea จะกำหนดให้ใจ มีอำนาจเหนือกาย ให้ทำความรู้สึกตัวควบคุมกายให้เป็นไปตามความตั้งมั่นของจิต ที่ลมหายใจเข้าออก.

กายที่ไม่ได้ตั้งตรง เหมือนตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะตั้งตรงขึ้นมาเองด้วยอำนาจของจิตครับ
แล้วคุณ idea ก็ประคองสติสัมปชัญญะนั้นไว้ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างนั้นไว้.

4. ขณะที่รู้ถึงความเกิดขึ้น และความดับไปของความโงกหน้า โงกหลัง.
คุณ idea จงทำความพอใจถึงความรู้นั้น ปิติจะเกิดขึ้นเองครับ
และให้เร้าปิตินั้น ด้วยการเพิ่มกำลังของลมหายใจเข้าหายใจออก สักระยะหนึ่งเพื่อให้กายและจิตมีกำลังสมดุลย์กัน.

ความโงกก็จะหายไป.

เมื่อคุณ idea หายโงก และมีความรู้สึกว่าตื่นเต็มที่
จึงค่อยผ่อนปิติลง มาทำความสงบดังเดิมครับ.


อนุโมทนาครับ :b8: :b27:



นาทีที่ 40 นะครับ ลองฟังเนื้อหาเพิ่มเติมดูครับ rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณครับ Rotala

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 11:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ค่ะท่านทั้งหลายที่ยังแวะเวียนเข้ามาแนะนำ
คุณRotala ยังไม่ได้เข้าไปดูนะคะ พอดีคุณพ่อเสียเมื่อวานแต่เช้า ยังไม่มีเวลา
ไว้ถ้าได้ดูเดี๋ยวมีคำถามให้คุณ กับคุณเช่นนั้นแน่นอน
Kiss
คุณคนธรรมดาๆ
ขอบคุณค่ะ ที่มองideaได้เข้าใจในภาพโดยรวม อาจจะทั้งหมดที่คุณแนะมาโดนใจจริงๆ ไว้ขอทบทวนให้ชัดเจนอีกที
tongue
ช่วงนี้จิตใจพยายามอยู่กับตัวเองและในงานที่รับผิดชอบ ว่างๆก็มองลึกเข้าไปความอาลัย พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ มันรู้สึกถึงแต่ละอารมณ์ที่จะเข้ามา เรายึดก็ได้(ตรงนี้ยังมองไม่ทัน)แต่เมื่อสัมผัสรู้ เราตัดก็ได้คือปล่อยไปได้เลย ไม่ปรุงแต่งต่อ แต่บางทีก็ยังอยากที่จะปรุงแต่งต่อ ยังไม่แน่ใจว่าปล่อยวางหรือข่มมันไว้
อันนี้คือวิธีที่เรียกว่าอยู่กับธรรมหรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ คุณ idea ...
idea เขียน:
ช่วงนี้จิตใจพยายามอยู่กับตัวเองและในงานที่รับผิดชอบ ว่างๆก็มองลึกเข้าไปความอาลัย พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ มันรู้สึกถึงแต่ละอารมณ์ที่จะเข้ามา เรายึดก็ได้(ตรงนี้ยังมองไม่ทัน)แต่เมื่อสัมผัสรู้ เราตัดก็ได้คือปล่อยไปได้เลย ไม่ปรุงแต่งต่อ แต่บางทีก็ยังอยากที่จะปรุงแต่งต่อ ยังไม่แน่ใจว่าปล่อยวางหรือข่มมันไว้
อันนี้คือวิธีที่เรียกว่าอยู่กับธรรมหรือเปล่า

อยู่ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ คุณ idea ...

idea เขียน:
ช่วงนี้จิตใจพยายามอยู่กับตัวเองและในงานที่รับผิดชอบ ว่างๆก็มองลึกเข้าไปความอาลัย พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ มันรู้สึกถึงแต่ละอารมณ์ที่จะเข้ามา เรายึดก็ได้(ตรงนี้ยังมองไม่ทัน)แต่เมื่อสัมผัสรู้ เราตัดก็ได้คือปล่อยไปได้เลย ไม่ปรุงแต่งต่อ แต่บางทีก็ยังอยากที่จะปรุงแต่งต่อ ยังไม่แน่ใจว่าปล่อยวางหรือข่มมันไว้
อันนี้คือวิธีที่เรียกว่าอยู่กับธรรมหรือเปล่า


อยู่ครับ


อ้างคำพูด:
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ คุณ idea


เช่นนั้้น แสดงความเสียใจกับ จขกท. เรื่องอะไร งง

รู้เท่าทันตามที่มันเป็น เป็นยังไง รู้ยังงั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ช่วงนี้จิตใจพยายามอยู่กับตัวเองและในงานที่รับผิดชอบ ว่างๆก็มองลึกเข้าไปความอาลัย พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ มันรู้สึกถึงแต่ละอารมณ์ที่จะเข้ามา เรายึดก็ได้(ตรงนี้ยังมองไม่ทัน)แต่เมื่อสัมผัสรู้ เราตัดก็ได้คือปล่อยไปได้เลย ไม่ปรุงแต่งต่อ แต่บางทีก็ยังอยากที่จะปรุงแต่งต่อ ยังไม่แน่ใจว่าปล่อยวางหรือข่มมันไว้
อันนี้คือวิธีที่เรียกว่าอยู่กับธรรมหรือเปล่า


อนุโมทนาครับ :b8: :b51:
มีสติ เผชิญหน้ากับอารมณ์นะครับ
อย่าพยามเข้าไปในเรื่องราวนะ พยายามดึงกลับมาให้รู้สึกตัวอยู่นะ เสริมด้วยทำสมาธิช่วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ขอบคุณ ค่ะท่านทั้งหลายที่ยังแวะเวียนเข้ามาแนะนำ
คุณRotala ยังไม่ได้เข้าไปดูนะคะ พอดีคุณพ่อเสียเมื่อวานแต่เช้า ยังไม่มีเวลา
ไว้ถ้าได้ดูเดี๋ยวมีคำถามให้คุณ กับคุณเช่นนั้นแน่นอน
Kiss
คุณคนธรรมดาๆ
ขอบคุณค่ะ ที่มองideaได้เข้าใจในภาพโดยรวม อาจจะทั้งหมดที่คุณแนะมาโดนใจจริงๆ ไว้ขอทบทวนให้ชัดเจนอีกที
tongue
ช่วงนี้จิตใจพยายามอยู่กับตัวเองและในงานที่รับผิดชอบ ว่างๆก็มองลึกเข้าไปความอาลัย พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ มันรู้สึกถึงแต่ละอารมณ์ที่จะเข้ามา เรายึดก็ได้(ตรงนี้ยังมองไม่ทัน)แต่เมื่อสัมผัสรู้ เราตัดก็ได้คือปล่อยไปได้เลย ไม่ปรุงแต่งต่อ แต่บางทีก็ยังอยากที่จะปรุงแต่งต่อ ยังไม่แน่ใจว่าปล่อยวางหรือข่มมันไว้
อันนี้คือวิธีที่เรียกว่าอยู่กับธรรมหรือเปล่า



อ้อ เห็นแล้วๆ เช่นนั้น อ้างอิงมาไม่หมด กรัชกายก็ขอแสดงความเสียด้วยครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ
พิจารณาให้เห็นความทุกข์ของชีวิต

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร