วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 09:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คือเวลานั่งสมาธิหรือทำสติปัฏสี่ตอนนั่งสมาธิแล้วจะหลับอ่ะคะ :b2: พยายามกำหนดง่วงหนอๆแล้วก็ยังหลับขนาดบอกกับตัวเองว่าอย่าหลับหนอ!!ไปไม่กี่รอบก็หลับสัปหงกไปเลย cry บางครั้งตอนไปฝึกกรรมฐานที่วัดขณะเดินจงกรมก็รู้สึกจะหลับเหมือนกัน :b2: ใครก็ได้ช่วยตอบทีว่าทำไงถึงจะไม่หลับขณะทำสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองเปลี่ยนเวลาดู เช่นตื่นนอนตอนเช้าก็นั่งสมาธิ สำหรับผมความสดชื่นทำให้ไม่ง่วงสมาธิก็เกิดได้ดี การพิจารณาก็ไม่วอกแวก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


หลายสาเหตุนะครับ อ่อนทางกายเพราะเคยชิน จิตอ่อนเพราะไม่สู้
ก็จะเป็นอีกบ่อยๆ จนกว่าจะปรับทั้งกายทั้งใจได้ ตั้งแต่ลดอาหาร
ตลอดจนถึง กำหนดสติได้เท่าทัน หนักสมาธิเกินไปก็ขี้เกียจก็เป็น
สาเหตุให้ซึม ให้ง่วงได้อยู่เหมือนกันครับ ^^

พระองค์ทรงวางหลัก ๘ วิธีแก่พระมหาโมคคัลลานะ ดังนี้ครับเอามา
ประยุกต์ให้เหมาะกับความเป็นจริง

๑)ทำสัญญานั้นๆ ให้มากสู้กับความง่วง ตรงนี้อาจเพราะว่า จับหนอ
จับพองยุบ จับอาการง่วง เห็นง่วงไม่ชัดจริงๆ เห็นแล้วไม่ตื่นตัว เห็น
แล้วไม่เพิ่มความเพียร ไม่ดึงจิตดึงใจกลับมาอยู่ใน กรรมฐาน อยู่ใน
สัญญาหรือนิมิตอารมณ์นั้นๆ ปัจจุบันอารมณ์นั้นๆ ลองสำรวจพอรู้
พอเห็นง่วง เท่าทันต่ออาการแล้ว เรากระฉับกระเฉง หรือเฉยๆ รู้ก็
ช่างไม่รู้ก็ช่าง ง่วงก็หนอๆ ๆ จนนอนเลย ท่านว่าให้ทำสัญญา ใส่ใจ
ในบริกรรม หรือการกำหนดให้มากขึ้น ทำให้มากขึ้น และถ้ายังไม่หาย

๒)ให้ตรึกตรอง ถึงธรรมที่เคยได้ยินได้ฟังมา เอามาพิจารณา ถ้านึก
ไม่ออก ก็ให้นึกว่า นิวรณ์กิเลส ตัวถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
ความหดหู่ซึมเศร้า ความจับอารมณ์ไม่ได้ มีกิจมีหน้าที่ของมันคือ
ปิดกั้นปัญญา ของบุคคล ทำความย่อท้อ ถ้อแท้ถ้อถอยต่อบุคคลผู้
กระทำความเพียร ผู้เห็นภัยในวัฏฏ์สงสาร ถ้าเจริญ สติปัฏฐาน หมวด
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นิวรณ์บรรพะ มีการกำหนดนิวรณ์ เช่น

"เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ (เมื่อง่วงมีอยู่ก็รู้ว่าง่วง) ก็ให้รู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่
เมื่อถีนมิทธะไม่มี ก็รู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มี (เมื่อง่วงไม่มีก็รู้ชัดว่าไม่มี)
ถ้าถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
(อ่อ...ถ้ายังไม่เกิดตอนเริ่มไม่ง่วง มันเกิดง่วงก็เพราะไม่กำหนด ไม่มีสติต่อเนื่องนี้เอง ฯลฯ)
ถ้าการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
(อ่อ...เพราะกำหนดหนอดีๆ ใส่ใจตอเืนื่องในอนิจจสัญญา อนัตตาสัญญาฯลฯ ไม่ใช่เรา มันถูกละเพราะกำหนดได้นี่เอง)
ถ้าถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย"
(อ่อ...งั้นก็ต้องกำหนดปัจจุบันให้ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ สลับยืนเดินนั่งนอน ก็ไม่หยุดกำหนด)


[ความจริงตอนที่กำหนดหนอ อยู่ ขณะกำหนดง่วงก็ไม่มีนะครับ ที่มี
เพราะเราน้อมใจไปในอาการง่วง อารมณ์ง่วง จิตไม่เข้มแข็ง ก็เลยไป
เคลิ้มกับอาการที่ถูกรู้เสีย เป็นบ่อยๆ ด้วย ดังนั้นถึงให้กำหนดสัญญา
กำหนดปัจจุบันให้มาก พลิกจิตกระฉับกระเฉงขึ้นมา ถ้าไปอื่ม... เห็นละ
ง่วงหนอ หนอ...นอนเลย^^ ที่นี้ และอันที่จริงขณะที่ไม่ใช่เวลาหลับนอน
เวลาเงียบๆ เสียงจิ่งหรีด จั๊กจั่น แหม...เข้าหูแล้วเหมือนกล่อม เนี้ยๆ
ปัจจุบันอย่างนี้ กำหนดปัจจุบันอารมณ์ได้ไหมละครับ มีง่วงไม่มีง่วง
อย่างนี้ละรู้ได้ไหมในแต่ละขณะตามความเป็นจริง อนิจจังเนอะ จะให้ง่วง
ในตอนที่ไม่ง่วงก็ไม่ได้ จะไม่ให้ไม่ง่วงในตอนที่ง่วงก็ไม่ได้ อนัตตาครับ
บังคับไม่ได้ ไม่ใช่อาการง่วงในเราของเราเลย บังคับได้ก็ไม่ต้องเซงทุกๆ
ทีสินะ จริงไหมครับ นี้แหละสภาพธรรมตามความจริง รู้ลงปัจจุบัน หนอก็ให้
ถูกจังหวะจริงๆ อันนี้ไปถูกจังหวะเกิดง่วง ถูกง่วง ขณะมันดับสั้นๆ ภวังคจิตขั้น
ไม่รู้ไม่ทัน ก็เสร็จหนอนอนเลย ^^]
และถ้ายังไม่หาย

๓)ให้สาธยายให้ท่องบ่นธรรมที่ได้เรียนมา ไม่ใช่ชวนเพื่อนโยคีคุยนะครับ
ทำๆ ไมก็เพราะจะให้จิตออกจากความนิ่งเฉย กำหนดหนอ รู้แค่สองอย่าง
หนึ่งคือรู้อาการที่ถูกรู้ข้างนอก นี้คือจิตส่งออกไปถูกรู้อยู่นอกๆ ไปถูกง่วง
ถูกซึม จิตไม่เข้มแข็ง ก็ผสมไปกับอาการด้วย เหมือนตอนปกติที่กินที่เล่น
ที่สนุกสนาน จิตก็ไม่เข้มแข็ง ก็สนุกสนาน ก็ผสมไปกับอาการ กับอารมณ์
ที่ถูกรู้ด้วย อันนี้คือ ไปติดอยู่นอกๆ ที่นี้สองพวกไม่ง่วง เพราะไปติดอยู่ข้างใน
อันนี้บอกล่วงหน้าไว้เพื่อว่าชนะถีนมิทธะแล้ว พวกกำหนดรู้ๆๆ หนอๆๆ เพลิน
สนุำกเลย แต่ไปติดอยู่ข้างใน ติดตัวรู้ เพียรเกินมีวิริยะเกินก็หลับไม่ได้อีกก็มี

เป็นเรื่องต้องปรับอินทรีย์เจริญสติ มีสติตลอดสายต่อเนื่อง อย่างที่บอกไป
นะครับ เรื่องอาหาร เรื่องสุขภาพ เรื่องความเคยชินทางกาย อาจเป็นสาเหตุ
ทำให้ง่วง อันนั้นพักผ่อนเดี๋ยวก็หาย แต่หากเป็นทีจิตที่ใจต้องสู้!

ต้องพลิกต้องกระฉับกระเฉงขึ้นมา ต้องนึกคิดตรึกตรอง ต้องสาธยายท่องบ่น
ตามลำดับเพื่อถอน ความนิ่งความเฉยชาเฉื่อย สติตกสมาธิแช่ไปนิ่งไป
เป็นสาเหตุให้จิต จมไปกับอาการที่ถูกรู้ รู้ร่าเริงปกติก็หลงร่าเริง รู้นิ่งเฉื่อย
เฉย ก็นิ่งเฉื่อยเฉยซึม แยกจิตกับอารมณ์ไม่ได้ ฯลฯ ถ้าสาธยายก็แล้วยังไม่หาย

๔)เอานิ้วไชรูหูสองข้างให้มีเสียงมีลมเข้าลมออก เอามือลูบเนื้อลูบตัวให้รู้สึกตัว
นี้ทำๆ ไมก็เช่นกันครับ ไม่ให้ติดนิ่งติดแช่ ติดสงบสงัด ติดหนอ ติดหลับ
แล้วถ้า ใส่ใจอารมณ์ก็แล้ว ตรึกตรองนึกคิดก็แล้ว สาธยายก็แล้ว เอานิ้วไช
รูหูสองข้างก็แล้ว ถ้ายังไม่หายง่วง

๕)ท่านให้เอาน้ำลูบนัยตา ลูบหน้าลุกยืนถ้าักำหนดบัลลังก์นั่ง ให้เหลียวซ้าย
แลขวาไปทุกทิศทาง เหมือนบริหารคอนั่นแหละืยืดเส้นยืดสาย ทำๆ ไม ก็เหมือน
เดิมครับ ให้จิตออกจาก สมาธิที่ตกไปข้างโกสัชชะ ขี้เกียจมึนซึมนั่นเอง
ถ้ายืนหรือเดินจงกรม ก็หายใจเข้าออกแรงๆ พลิกกระฉับกระเฉง กระตุ้น
เอาน้ำลูบหน้าลูบตา ถ้าทำสัญญาให้มากแล้ว ตรึกตรองแล้ว สาธยายแล้ว
เอานิ้วยอนหรือไชหูแล้ว เอาน้ำลูบหน้าลูบตา แหนงมองไปรอบๆ แล้วยังไม่หาย

๖)ท่านให้กำหนด อาโลกสัญญา คือกลางวันเป็นกลางคืน กลางคืนเป็นกลางวัน
ทำความรู้สึกขึ้นมา ว่าแดดเปรี้ยงๆ เวลาทำงานอยู่ข้างนอกประมาณนั้นมอง
ออกไปเห็นพยับแดด เหมือนเรายืนอยู่กลางแดด กลางสนาม ร้อนเปรี้ยงแสงจ้า
ถ้ากำหนดสัญญาให้มากก็แล้ว ตรึกตรองธรรม สาธยายธรรม เอานิ้วยอนหู
เอาน้ำลูบหน้าลูบตา จนกำหนดกลางคืืนเป็นกลางวัน กลางวันเป็นกลางคืนก็แล้ว
ยังไล่ความง่วงไปไม่ได้

๗)ท่านให้ (พระพุทธองค์)พระมหาโมคคัลลานะเดินจงกรม สำรวมอินทรีย์ไม่
คิดไปในภายนอก แต่ของเรานี้ต้องไม่เข้าไปจับอยู่ข้างใน เดินก็ให้เร็วขึ้นถ้ากลัว
รบกวนคนอื่นๆ ก็ล้างหน้าล้างตา ถ้าเดินคนเดียวก็เอาให้ไว ให้เร็วขึ้น ทำๆ ไม
ก็เหมือนเคยครับ ถ้ามีสติรู้สึกตัว จะรู้เองแหละว่า ทำไรอยู่ จิตใจขณะนั้นๆ
มันมีสติ สมาธิ มีวิริยะ มีปัญญาอย่างไร จะรู้ แล้วก็ไ่ม่ตกไปข้างใดข้างหนึ่ง
มากไป ประครองสติสัมปชัญญะ พอเหมาะพอดี ไม่ง่วงไม่ฟุ้ง คล่องแคล่ว
ควรแก่การงาน ถ้าทำข้อ ๑ - ๗ นี้แ้ล้วยังไล่ความง่วงไปไม่ได้

๘)ท่านให้ สำเร็จสีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ
หมายใจว่าจะลุกขึ้นเป็นนิตย์ เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า
เราจะไม่ประกอบความสุขในการนอนและการเคลิ้มหลับอีกคือ
ยอมแต่มีสติก่อนจะนอนนั่นเองครับ ถ้าตั้งใจจริงๆ ไม่มาถึงข้อนี้หรอก
อย่างไรก็เอาไปลองพิจารณาดูฝากไว้ครับ เอาใจช่วย ขอเจริญพร


รูปภาพ



Credit image by:
http://widget.sanook.com

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากๆคะ เดี๋ยวจะลองทำตามที่แนะนำดู จะพยายามชนะความง่วงให้ได้!!:b19:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑.เพิ่มการเดินจงกรม ดังนี้
- เดินระยะต้นๆ อย่าเพิ่งเพิ่มระยะที่ละเอียดมาก
- เมื่อลดจังหวะข้างต้นแล้ว เดินให้ไวขึ้นพอประมาณ หมายความว่า พอประมาณที่จะไม่ง่วง
- ทำตามสองข้อข้างต้นแล้ว เพิ่มเวลาการเดินให้มากกว่าการนั่ง เช่น เดิน ๔๐ นาที นั่งควร ๒๐ นาที
- พยายามใส่ใจ ให้จิตจดจ่อกับลักษณะการเคลื่อของเท้า อย่าคิดหรือนึกให้เป็นรูปร่างของเท้าที่เคลื่อน

๒.การนั่ง
- นั่งตัวให้ตรงอย่าให้ตัวหย่อนไป วิธีประมาณคือ ยืดตัวให้สุด ค่อยๆผ่อนลงมาจนรู้สึกว่าหย่อนพอดี
- อย่านั่งก้มหน้ามาก และอย่าเงยหน้ามาก วิธีประมาณคือ แหงนแล้วลองก้มลงมาให้หย่อนพอดี ข้อ
สังเกตุคือ ถ้าแหงนมาก นั่งไม่กี่นาที เวทนาปรากฏที่ต้นคอง่ายๆ ก้มมากไป นั่งไม่นานวูบคล้ายหลับ
แม้จะไม่หลับหรือง่วงก็ตาม

๓.การกำหนดรู้
- กำหนดรู้ตามอาการทางกายแบบใส่ใจที่สุด คือ แนบไปกับสภาวะให้ได้มากที่สุด เช่น ขณะย่าง ก็กำ
หนดรู้ตามอาการเคลื่อนไหวอย่างจดจ่อที่สุด ไม่ต้องบังคับ แต่พยายาม เรียกว่าวิริยะ ไม่ใช่บังคับ
เมื่อเกิดสภาวะทางใจ หรือจิต ก็จดจ่อเช่นกัน ข้อนี้ แม้จะกำหนดบริกรรมไม่ตรงกับสภาวะ ก็ไม่พึงใส่
ใจที่บริกรรมมาก ใส่ใจที่สภาวะให้มากที่สุด
- พยายามกำหนดการรับรู้ตามอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย(สัมผัส) และ ใจ ให้มากที่สุด อย่าปัก
จิตลงที่อาการพองหรือยุบของท้องเพียงอย่างเดียวข้อนี้ แม้จะกำหนดบริกรรมไม่ตรงกับสภาวะ
ก็ไม่พึงใส่ใจที่บริกรรมมาก ใส่ใจที่สภาวะให้มากที่สุด
- ถ้าเกิดอาการง่วง การบริกรรมง่วงหนอนั้นดี แต่ อย่าใส่ใจที่บริกรรมมากกว่าสภาวะง่วง พึงใส่ใจสภาวะ
ง่วง โดยปักจิตลงที่อาการง่วงเลย เมื่อความง่วงหายไป กลับมาที่การกำหนดรู้อย่างปกติต่อไป

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกๆ ไปเถอะ หลับมั่งไม่หลับมั่ง หลับก็นอนซะเลย ไม่หลับก็นั่งต่อ เดี๋ยวก็ดีเอง
อย่าฝืน ฝืนไปก็เท่านั้น ไม่มีประโยชน์ที่จะนั่งสู้กับความง่วง สมาธิไม่เกิด แถมไม่ได้หลับอีก... :b6: :b6: :b6:

หาท่านั่งดีๆ นั่งเวลาที่อารมณ์แจ่มๆ คงพอจะไม่ง่วง :b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2011, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก้อยู่ที่วัด ตีสามก้ต้องตื่นแล้ว สวดมนต์เสรจแล้วมาเดินจงกรม อาการง่วงย่อมเกิดง่ายเพราะพักผ่อนน้อย
แต่นอนน้อยเกิดผลดีในแง่การปฏิบัติ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ที่ติดเป็นคติธรรมไว้

ถ้าง่วงมากๆก้ไปล้างหน้า แต่ถ้าง่วงก้ปล่อยให้หลับไปเลย ในท่าปฏิบัตินั่นแหละ แต่ถ้าเดินอยู่ ก้หยุดก่อน
แล้วมานั่งแทน นั่งจนหายง่วง มีสติขึ้นแล้วค่อยไปเดินใหม่ สำหรับท่านั่งควรนั่งหลังให้ตรง อย่าก้มหน้า
ถ้าก้มลงไป ก้ให้ร้ตัวโดยเงยหน้าให้ตรงเหมือนเดิมหรือกำหนดเงยหนอ ๆ ๆ เพื่อเงยหน้าขึ้นเป็นต้น

และก้หายใจยาวๆลึกๆ เข้าช่วยด้วย เพราะจิตจะเปนสมาธิได้ดีกว่าหายใจสั้นๆ หายใจสั้นจะหงุดหงิดง่าย
และนั่งหรือเดินไม่ค่อยทน และหายใจยาวๆที่ได้จังหวะ จะทำให้จิตตั้งมั่นในขณะที่เจริญสติในการจงกรมไปด้วย เมื่อง่วงก้จะคลายจากง่วงที่เปนนิวรณ์ ได้เร็วกว่าปกติ อย่าลืมว่า ความง่วง ความสงสัย ความฟุ้งซ่าน
ความโกรธ จะเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ปฏิบัติที่วัด ได้ตลอดทั้งวัน เพราะฉนั้นกำหนดง่วงหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ
ในใจ ปากกำหนดแต่ใจไม่ได้กำหนดด้วย สติที่มีอยู่ก้น้อยลงไป ก้เลยไม่หายง่วงซักกที
เมื่อกำหนดจนหายง่วงเมื่อไร ตอนนั้นถึงจะเข้าใจถึงสติในกาย ของสฏิปัฏฐาน :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2011, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
ปากกำหนดแต่ใจไม่ได้กำหนดด้วย สติที่มีอยู่ก้น้อยลงไป ก้เลยไม่หายง่วงซักกที
:b44:


:b8:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2011, 18:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลานั่งสมาธิไปสักพักนึง ผมมีความรู้สึกว่าเหมือนหลับนะ คือคำบริกรรมมันหายไป ลมหายใจที่เคยจับไว้ก็หายไป คือจะว่าหลับก็ไม่ใช่ จะว่าไม่หลับก็ไม่ใช่ มันรู้สึกปนๆกัน แต่ตอนหลับตาความคิดมันก็ปรุงแต่งนะ แต่มันช้าๆ ลึกๆ อธิบายไม่ถูก เหมือนกับว่าสติมันไม่เต็มร้อย แค่พอรู้ตัวแต่ไม่สามารถกำหนดบังคับอะไรได้ พอลืมตาขึ้นมามันก็ใสๆ ไม่งัวเงียเหมือนแบบเพิ่งตื่นนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอสนทนาด้วยครับ แชร์ประสบการกันบ้างก็ดีครับ

ปัตติปิตา เขียน:
เวลานั่งสมาธิไปสักพักนึง ผมมีความรู้สึกว่าเหมือนหลับนะ คือคำบริกรรมมันหายไป ลมหายใจที่เคยจับไว้ก็หายไป


ต้องขออภัย ไม่ได้มาจ้องจับผิดหรือจะได้สืบสาวเพื่อสั่งสอนนะครับ อยากรู้หน่อยก่อนที่จะได้คุยกัน
เพราะหากไม่รู้ชัดวิธีปฏิบัติกันก่อน เดี๋ยวจะคุยไปคนละทาง :b13: เห็นมาเยอะครับ ยังไม่รู้ชัดเลย
ว่าเขาปฏิบัติแบบไหนอย่างไร แต่มี คห. กันเป็นคุ้งเป็นแคว :b12:

ตรงที่ผมทำแดงๆไว้ ทำแบบไหนครับ หมายถึง บริกรรมอะไร และลมหายใจ จับแบบไหน อธิบายซักนิด
ครับ

ส่วนผม ตามแนวพองหนอยุบหนอครับ บอกกันก่อน แลกกันรู้ครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 21:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับๆ ขอบคุณนะครับที่สนใจผม คำบริกรรม ผมใช้
ทุ สะ นิ มะ แล้วก็แบบว่าย้อนไปย้อนมาอ่ะ คือ
เที่ยวแรกก็ ทุ สะ นิ มะ
เที่ยวสอง สะ นิ มะ ทุ
เที่ยวสาม นิ มะ ทุ สะ
เที่ยวสี่ มะ ทุ สะ นิ
แล้วก็วน

แต่ว่าก็กำหนดลมหายใจไปด้วยอ่ะ ไม่รู้ว่าจะเข้าใจแบบผมไหม คือผมว่าภาวนาพุทโธๆ เฉยๆไม่ได้อ่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
ครับๆ ขอบคุณนะครับที่สนใจผม คำบริกรรม ผมใช้
ทุ สะ นิ มะ แล้วก็แบบว่าย้อนไปย้อนมาอ่ะ คือ
เที่ยวแรกก็ ทุ สะ นิ มะ
เที่ยวสอง สะ นิ มะ ทุ
เที่ยวสาม นิ มะ ทุ สะ
เที่ยวสี่ มะ ทุ สะ นิ
แล้วก็วน

แต่ว่าก็กำหนดลมหายใจไปด้วยอ่ะ ไม่รู้ว่าจะเข้าใจแบบผมไหม คือผมว่าภาวนาพุทโธๆ เฉยๆไม่ได้อ่ะครับ


ลองสังเกตซักนิดดีไหมครับ จิตอยู่ที่บริกรรมมากไป มากกว่าอยู่ที่ลมหายใจ คล้ายกับจิตเพลินกับบริกรรม
มากกว่า เลยตกไปฝ่ายถีนะมิทธะ

และเมื่อจิตเริ่มสงบ หมายถึงยังไม่ง่วง ให้ลองหยุดบริกรรม ย้ายอารมณ์มาที่ลมหายใจ เมื่อหายใจเข้า ให้รู้
แค่เข้า เมื่อหายใจออก ให้รู้แค่ออก ถ้ากลัวว่าไม่มีบริกรรมแล้วฟุ้ง ก็ให้บริกรรม เข้า ออก ตามจริงของลม
หายใจ อย่าบังคับ อย่าฝืนครับ ลองดูก่อนครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


มีฉันทะในการบริกรรมภาวนาอะไรก็ซัดใส่ต่อไปครับไม่ต้องยั้งเดี๋ยวก็เข้าต่อกับจังหวะหายใจเข้าออกเองจน.....หยุดสติตั้งมั่นแน่วแน่!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2011, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้เวลานั่งสมาธิไม่หลับแล้ว :b4: (เพราะหลับมาก่อนตื่นแล้วค่อยสมาธิเลยไม่หลับ s002 )
แต่ก็มีปัญหาอีกอย่างคือ จิตมันฟุ้งซ่านคะ cry บางครั้งนั่งสมาธิอ่ะคะ พยายามทำให้หายง่วงได้แล้วแต่พอหายง่วงไม่ทันไรจิตมันก็คิดนู้นนี่บางครั้งพอดับความคิดฟุ้งซ่านได้มันก็เริ่มง่วงนอนพอพยายามทำให้ไม่ง่วงจิตมันก็ฟุ้งซ่าน สุดท้ายกำหนดพองหนอ ยุบหนอได้แค่นิดเดียวเอง :b2: แต่ที่แย่ที่สุดคือ จิตมันไปคิดถึงเพลงต่างๆอ่ะคะ cry (เป็นโรคประสาทรึเปล่าก็ไม่รู้ cry ) พอพยายามกำหนดคิดหนอๆไปเรื่อยๆมันก็หายนะคะ แต่หายไป2วิเพลงมันก็ขึ้นเข้ามาในจิตอีกแล้ว เลยกำหนดคิดหนอใหม่แล้วมันก็หยุด พอหยุดก็จะไปกำหนดพองหนอ ยุบหนอต่อ เพลงมันก็แวบเข้ามาในสมองเลย cry เลยเริ่มรู้สึกรำคาญ และเริ่มรู้สึกหงุดหงิด ทำยังไงถึงจะดับนิวรณ์ต่างๆได้อ่ะคะ Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร