วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 08:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2010, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม เวลานั่งภาวนาแล้วง่วงนอนเพราะทำงานตลอดวัน เลยต้องตั้งใจดีๆ ในการทำภาวนา ถึงแม้ตาจะหลับจนได้แต่ใจก็จดจ่อกับพุทโธ จนรู้สึกว่าจิตว่างไม่มีอะไร ต่อจากนั้นมีความรู้สึกขึ้นมาอย่างหนึ่ง คือมีความรู้สึกเฉพาะของมันต่างหาก ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ก่อนที่จะเป็นความรู้สึกคล้ายมีอาการเคลื่อน แรกๆคิดว่าเป็นความคิด แต่มันก็ไม่ใช่เป็นความคิด เพราะคิดอะไรไม่ออก ต่อมาใจประหวัดไปคิดถึงน้องสาวว่ากำลังทำอะไรอยู่ ก็ได้ยินเสียงขึ้นมาทันที ดังนั้นจึงอยากจะเรียนถามว่า เวลาที่มีความรู้สึกว่าจิตมันเคลื่อนแล้ว คิดอะไรไม่ออกนั้น ควรจะพิจารณาอะไร

ตอบ สภาพนั้นใช้ไม่ได้ สภาพนั้นเรียกว่าจิตจะเข้าถึงอัปปนา จิตอันนั้นมีอาการ แต่มันไม่สามารถที่จะรับรู้สิ่งอื่นได้ แสดงว่าจิตนั้นมีอาการเฉพาะของมัน แต่มันไม่สามารถที่จะสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องภายนอกได้ จิตอันนี้ยังเหลือแต่จิตแท้ๆ จิตอัปปนาใช้การไม่ได้ เราต่อสู้ความง่วงหรือต่อสู้ความวุ่นวายอะไรต่างๆ ทุกอย่าง เราหัดแบบนี้เพื่อเอาชนะเรื่องทั้งหลาย อุปสรรคทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อเราเอาชนะแล้ว เราก็ไปพักเพื่อความสุขสบายต่อไป ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราก็ไม่หมดเรื่องทุกข์ นี่เรียกว่าต่อสู้เพื่อเอาชนะ ชนะแบบนี้ได้ขั้นนั้นเสียก่อน แต่ว่าชนะขั้นนี้แล้วยัวไม่ใช่ชนะเด็ดขาด เป็นชนะชั่วครั้งชั่วคราวที่จะให้เด็ดขาดต้องออกมาต่อสู้กันในอุปจารสมาธิ พิจารณากันทั้งภายนอกและภายในเห็นอยู่ทุกอย่างจึงจะเด็ดขาด

(ต่อจากนี้ เป็นบทสนทนาระหว่างหลวงปู่เทศก์ กับอุบาสก ซึ่งผลัดกันถามผลัดกันตอบ)

อุบาสก ขอกราบเรียนถามว่า เวลาภาวนาเกิดอาการแปลกๆภายในกาย อย่างเช่น เวลากำหนดภาวนามีการตึงบนแขน บางทีกายสั่นสะเทือนหมดทั้งตัวเลย แต่รู้สึกว่าไม่ได้สั่นสะเทือนเพราะปีติ ซึ่งทำให้ไม่สบายใจจากประสบการณ์เหล่านี้ อาการเหล่านี้เกิดเพราะเหตุอันใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2010, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ มันเป็นไปได้บางคนพอหัดทำความเพียรใจสงบมันคล้ายๆ กันกับว่าเป็นเรื่องบีบบังคับใจและกาย มันมีการหวั่นไหวและมีการปวดเมื่อยมึน หรือมีการสะเทือนอะไรเรื่องหลายอย่าง ถ้าเราไปจดจ่อมองอันนั้นก็เป็นเหตุให้เรากลัวเสีย กลัวจะเป็นอะไรต่ออะไรต่างๆ ไปเลยภาวนาไม่ได้ ถ้าหากผู้มีใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ตั้งใจต่อสู้นั้นเป็นเรื่องของกายเป็นของไม่จีรังถาวร ยอมสละ มันจะแตกมันจะดับมันจะเป็นอย่างไรก็ช่าง สำหรับต่อสู้ตรงนั้นแหละ ใจมันจะได้แน่วแน่ต่อสู้ ถ้าเรากล้าหาญสละได้จิตจะรวมลงสู่อารมณ์อันเดียวเร็วที่สุด ง่ายที่สุด จงอย่าท้อถอยจะเห็นผลทันที

หลวงปู่ แล้วอุบาสกท่านนี้ อาจารย์สอนมาอย่างไรบ้าง

อุบาสก ท่านไม่ได้พูดอะไรมาก พอไปถึงท่านก็ให้นั่ง แล้วก็สอนคำบูชาพระรัตนตรัยก่อน จากนั้นท่านก็กล่าวนำเพื่อทำให้จิตสงบ ท่านให้กำหนดเอาลมหายใจกระทบที่ตรงไหน ให้หมายเอาตรงนั้นไว้ ทีแรกท่านบอกว่าให้เพียงกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ต่อมาก็ให้เปลี่ยนฐานที่ตั้ง ให้กำหนดอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง จนกระทั่งให้เหลือเป็นจุดเดียวที่ลมกระทบ กำหนดจิตให้ดิ่งทีละนิดๆ
....ผมก็กำหนดจิตให้คล้อยตามไปจนรู้สึกว่า มันสว่างสงบ โล่งไปหมดเลยครับ ที่หน้าผากคล้ายกับไม่มีอะไร โล่งไปหมดเหมือนออกนอกโลก เป็นสีฟ้าสว่าง เย็นสบาย ใจสบายจนขนลุกครับ ผมคิดว่า "ความสุขอย่างนี้ผมไม่เคยมีมาแต่ก่อนเลย นึกแปลกใจ ก็พอดีท่านบอกให้เลิกครับ แล้วท่านบอกว่า ที่ได้ไปวันนี้แม้จะเป็นเพียงสตางค์ห้า สตางค์สิบ มันก็เป็นของแท้ ขอให้ทำต่อไปเรื่อยๆ"

...คราวนี้ผมเริ่มสนใจ เห็นว่านี่เป็นของใหม่ของแปลก ในชีวิตที่ผมไม่เคยพบมาก่อน ความสุขเกิดจากจิตสงบ มันสบาย ใจมันเย็นโปร่ง ผมจึงสนใจศึกษาค้นหนังสือทางพระพุทธศาสนามาอ่าน แล้วผมก็บวชในปีนั้นเองที่วัดเบญจมบพิตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2010, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ต่อจากนั้น ผมก็ศึกษาค้นคว้าทำสมาธิเรื่อยมาบางทีก็ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง หรือนานๆ ก็ได้สักทีหนึ่ง รู้สึกยากมากครับ จึงนึกในใจว่าพระพุทธเจ้าท่านคงจะมีวิธีอะไรสักอย่างที่สามารถควบคุมเอาสมาธิกับชีวิตประจำวันให้อยู่ควบด้วยกันได้ ให้มีจิตใจเย็นสบายไปเรื่อย โดยไม่ต้องนั่งทำสมาธิให้ยากลำบากอย่างนั้น เพราะฉะนั้น พอผมพบอาจารย์ที่ไหน ผมก็จะซักถามไปเรื่อยว่า จะมีวิธีใดที่จะเอาสมาธิมาควบกับชีวิตประจำวันได้

หลวงปู่ แล้วเวลานี้ใช้วิธีไหนดำเนินอยู่ทุกวันนี้

อุบาสก ผมก็มารู้เอาว่า สมาธินั้นมีสองระดับ คือถ้าเราใช้ในการทำงานนั้น เราก็ใช้สมาธิโดยเอาจิตจดจ่ออยู่ในการงานที่ทำหรือที่อ่านหรือที่เขียนได้ แต่ว่าสิ่งที่สะท้อนจากการทำงานที่ทำนี้ มันทำให้จิตลงลึกไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตมันก็สงบได้เพียงแค่เริ่มต้น
.....ถ้าหากเราจะทำจิตให้ลงไปลึกละเอียดเหมือนกับที่เราเคยทำได้นั้น มันจะต้องนั่งสมาธิ แล้วกำหนดสิ่งที่เป็นลมหายใจหรือบริกรรมคำว่า"พุทโธ" จิตก็จะสงบดิ่งลึกลงไปจนได้ถึงที่สุด


หลวงปู่ ที่หัดอยู่เดี๋ยวนี้ใช้อะไร

อุบาสก ที่หัดอยู่เดี๋ยวนี้ ผมใช้ลมหายใจ บางทีก็ใช้พุทโธควบด้วย คือผมมีความเห็นว่า การบริกรรม"พุทโธ" ง่ายกว่าการกำหนดลมหายใจ ซึ่งบางทีมันคล้ายกับเคว้งคว้างกำหนดไม่ได้ง่ายๆแต่ "พุทโธ"นั้นไม่ว่านั่งในรถหรือเดินก็พุทโธได้ตลอดเวลา มันจับได้ง่ายครับ แต่เมื่อต้องการให้ลึกละเอียดแล้ว ผมมักใช้กำหนดลมหายใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ เป็นจริงอย่างนั้น คือว่าเรื่องอานาปานสติเป็นของละเอียด คนโดยมากชอบอานาปานสติ พระพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ก็พิจารณาอานาปานสติ ใครๆ ก็ต้องการอย่างให้เป็นอย่างพระพุทธเจ้า แต่ว่าปัญญาของเราไม่พอมันเลยไม่ละเอียด
.....ส่วน"พุทโธ"นั้น มันเป็นพื้นฐาน เรายืน เดิน นั่ง นอน หรือประกอบภาระอันใดมันจับได้ง่านกว่า อันนี้เป็นของจริง แต่ถึงใครๆ จะปฏิบัติอะไรก็ตามเถิด จะพิจารณาอสุภ พิจารณาอานาปานสติ พิจารณาอะไรทั้งหมดก็ตามจะไม่ทิ้งพุทโธ โดยมากจะวกกลับมาที่พุทโธ ทุกๆ คนมักเป็นแบบนั้น
.....แล้วตอนที่จิตมีพุทโธเป็นเครื่องตื่นรู้สึกอยู่ตลอดเวลา ยังมีอะไรปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ในใจของตนขึ้นบ้างล่ะ เท่าที่ได้ทำมา


อุบาสก คือว่า เมื่อบริกรรมพุทโธ ก็มาคิดว่า บริกรรมพุทโธมันก็เป็นเพียงควมสุขหรือกำหนดรูปและนามไปเท่านั้น มันน่าจะมีความหมายอะไรซ่อนอยู่ แล้วผมก็คิดว่า "พุทโธ"นี้คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผมก็ถามตัวเองว่า "รู้อะไรเล่า"แล้วก็ตอบตัวเองว่า"ก็รู้อริยะสัจ๔ รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" พยายามทำความกระจ่างแจ่มแจ้งชัดว่า ตัวทุกข์คืออะไร ก็คือความยึดถือตัณหา อุปาทาน
.......ได้พิจารณาต่อไปว่า มาหลงตัณหา อุปาทาน ที่ยึดถือนี้ได้อย่างไร ก็มานึกถึงคำสอนของท่านอาจารย์ที่บอกว่า เวลามีการกระทบอายตนะ มีสัมผัสเกิดขึ้น ให้มีสติคุมไว้อย่าให้กระเทือน เมื่อไม่กระเทือน เวทนาก็ไม่เกิด เมื่อเวทนาไม่เกิด ตัณหาก็ไม่เกิด พยายามพิจารณาอย่างนี้ เรื่อยๆไป
....แล้วตื่นตัวนั่นคืออะไร..? ก็ตอบได้เองว่า ตัวตื่นก็มีสติ ตัวรู้ เมื่อรู้แล้วก็ไม่หลง ถ้าขาดจากรู้เมื่อไหร่ ตัวหลงก็มาคุมจิตเมื่อนั้น แล้วก็พยายามเอาพุทโธนี้เป็นพื้นตลอดสาย พยายามให้อยู่กับตัวเรื่อยๆ จิตก็เบิกบาน เมื่อจิตรวมสงบ ระงับแล้ว ก็มีแต่ความว่าง แจ่มใส โปร่งเบา เป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ นั่นแหละที่อาตมาเคยพูด เครื่องอยู่หรือเครื่องดำเนินในการปฏิบัตินั้น มีแนวผิดแผกต่างกัน บางคนนั้นพุทโธเฉยๆ ไม่คิดไม่นึก ไม่คิดค้นอะไรเลย ตั้งหน้าตั้งตาแต่พุทโธเรื่อยไปๆ บางทีก็รวมลงไปสนิทหายเงียบไป บางคนก็พุทโธ แต่หากมันคิดวูบวาบขึ้นมาในใจว่า คำพุทโธนี้คืออะไรอย่างนี้ก็มี บางคนพอภาวนาพุทโธ พอจิตรวมลงแล้ว มันมีความรู้อะไรแปลกๆ ต่างๆ เกิดขึ้นมาก็มี บางคนเมื่อเกิดอะไรขึ้นมา ก็ลืมพุทโธไปเสีย พอวกกลับไปเอาพุทโธอีก จิตมันเลยหยาบ แท้ที่จริง จิตมันวางพุทโธแล้ว จิตมันละเอียดแล้ว จึงควรที่เราจะตามเข้าไปคิดค้นจิตที่วางพุทโธแล้ว ให้ละเอียดลงไปอีก แต่เพราะไม่เข้าใจเลยย้อนกลับไปภาวนาพุทโธอีก จิตที่มันละเอียดแล้วก็เลยหยาบไปเสีย นี้มันจึงไม่เหมือนกัน
.......แววหรือความฉลาดเฉียบแหลมนี่แหละ มันเป็นของแต่ละบุคคล ดีแล้วที่คุณพิจารณาอันนั้น ค้นคว้าหาตัวพุทโธจับเหตุผลของจิตได้ อย่างอธิบายถูกต้องแล้ว ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ควรดำเนิน แต่ว่าอาการที่เราดำเนินอยู่นั้นมันอาจจะมีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาก็ได้ แต่ถึงอย่างไร หลักใหญ่มันต้องอยู่ที่ว่านี้ ที่ทำมาแล้วก็นับว่าดี


:b43: :b43: :b43: :b42: :b42: :b43: :b43: :b43: :b42: :b42: :b43: :b43: :b43: :b42: :b42: :b43: :b43: :b42: :b42:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร