วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 01:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ แก่นแท้ สมาธิ
ตอนที่ ๑
บทความนี้ เป็นบทความเกี่ยวกับสมาธิ หากจะกล่าวว่า เป็นภาคทฤษฎีของสมาธิ ก็ว่าได้ หรือจะกล่าวว่า เป็นหลักธรรมคำสอนเกี่ยวกับ สมาธิ ในหลักของข้าพเจ้า ตามยุคตามสมัยที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่อดีต,ปัจจุบัน,จนไปถึงอนาคต ไม่มีที่สิ้นสุดก็ว่าได้ หลักธรรมคำสอนในตอนนี้เป็นความรู้ที่ใช้ประกอบหรือควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนที่จะปฏิบัติ และหรือขณะปฏิบัติ
บทความนี้ ข้าพเจ้ามีความมุ่งหมายที่จะเผยแพร่เพื่อให้ผู้ศรัทธา ได้นำไปปฏิบัติ แต่ไม่อนุญาต ให้นำไปตีพิมพ์หรือสิ่งเทียมพิมพ์ หรือนำข้อความใดไปดัดแปลง เพื่อการค้าหรือแจกจ่าย ด้วยเหตุผลบางประการ ข้าพเจ้าทราบดีว่า คงห้ามไม่ได้ ถ้าเขาเหล่านั้นจะใช้วิธีการลักลอบ แต่ขอเตือนไว้ว่า ไม่เจริญดอกขอรับ สักวันก็ต้องวิบัติขัดสน เอาเป็นว่า ข้าพเจ้ามุ่งเผยแพร่เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ ไม่หวงห้าม
การปฏิบัติสมาธิ คือ การฝึกการควบคุมความคิด มิให้คิดฟุ้งซ่าน และไม่ให้เกิดความคิดใดใด ความรู้สึกที่ได้รับทางอายตนะทั้งหลายของตนเองนั้น คือ การคิดรูปแบบหนึ่ง การสวดมนต์ก็ดี การท่องพุทธโธก็ดี การกำหนดลมหายใจเข้าออกก็ดี จะเดินจงกรมก็ดี หรือจะปฏิบัติสมาธิโดยการใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ล้วนมีการคิด ความเกิดการคิด แต่จะคิดมากคิดน้อย คือใช้สมองมากหรือใช้สมองน้อย ซึ่งย่อมหมายถึงการทำงานของสมองมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้ดังที่ได้กล่าวไป
การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักศาสนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคคลรู้จักควบคุมความคิด ความรู้สึก อารมณ์ มิให้ไหลตาม หรือ มีความคิด มีความรู้สึก มีอารมณ์ ตามสิ่งที่ได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายนอก โดย อายตนะภายในของตัวเอง เพราะ “สมาธิ” จะเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลมี สติ หรือ ความระลึกได้ คือ สามารถนำเอาข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวมาเป็นเครื่องหรือสิ่ง หรือปัจจัยในการยับยั้งหรือแก้ไขหรือแก้ปัญหาใน การได้สัมผัส ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ที่เกิดจากการได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายใน ( หู,ตา,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ) โดยอายตนะภายนอก ( รูป,รส,กลิ่น,เสียง แสง สี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ ) และ “สมาธิ” ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคล มีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวอยู่เสมอ เพราะเป็นผลจากการมี สติ นั่นเอง อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะจักทำให้ท่านทั้งหลายมีความรู้ เป็นผู้รู้ และมีความเข้าใจ ในเรื่องของสมาธิ เป็นรูปแบบเดียวกัน เพราะหลักธรรมคำสอนแห่งข้าพเจ้านี้สามารถพิสูจน์ได้ ด้วยตัวของท่านเอง อยู่แล้ว

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๕ เม.ย. ๒๕๕๓


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 06 เม.ย. 2010, 20:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร