วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 22:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนบุคคลผู้มีฉันทะเป็นแรงจูงใจ ต้องการภาวะที่เป็นผลของการกระทำโดยตรง อันเป็นเหตุให้เขามีความ

ต้องการทำ ดังได้กล่าวแล้ว

ดังนั้น ผลที่ติดตามมาจึงปรากฏในทางตรงข้ามกับตัณหา ซึ่งจะเห็นได้โดยพิจารณาเทียบเอาจากเหตุผล

ที่แสดงไว้แล้วในตอนว่าด้วยตัณหาข้างต้น

ในที่นี้ จะกล่าวไว้เพียงโดยย่อ กล่าวคือ

-ไม่ทำให้เกิดการทุจริต แต่ทำให้เกิดความสุจริต ความขยัน อดทน ความซื่อตรงต่องาน และแม้แต่ความ

ซื่อตรงต่อเหตุผลที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ

-ทำให้ตั้งใจทำงาน นำไปสู่ความประณีต ความดีเลิศของงาน เพาะนิสัยใฝ่สัมฤทธิ์ ทำจริงจัง เอางาน

และสู้งาน

-ตรงข้ามกับความสับสนซับซ้อนในระบบ และการคอยจ้องจับผิดกัน จะมีความร่วมมือร่วมใจ การประสาน

งาน และการมีส่วนร่วม เพราะต่างมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มิใช่มุ่งสิ่งเสพเสวยเพื่อตน ที่จะต้องคอยฉกฉวย

เกี่ยงแย่งชิงกัน

-เนื่องด้วยการกระทำเป็นไปเพื่อผลของมันเอง ผลจึงเป็นตัวกำหนดหรือชี้บ่งปริมาณและคุณภาพของงานที่เป็น

เหตุของมัน

ดังนั้น จึงย่อมเกิดความพอเหมาะพอดีระหว่างการกระทำกับผลที่พึงประสงค์ คือทำเท่าที่ภาวะซึ่งเป็นผลดี

จะเกิดมีขึ้น เช่น กินอาหารพอดี ที่จะสนองความต้องการของร่างกายให้มีสุขภาพดี โดยไม่ตกเป็นทาส

ของการเสพรส

-เนื่องด้วยผู้ทำด้วยฉันทะ ต้องการผลของการกระทำโดยตรง และต้องการทำให้ผลนั้นเกิดขึ้น อีกทั้งเขา

ย่อมได้ประจักษ์ผลที่เกิดต่อเนื่องไปกับการกระทำ เพราะการกระทำคือการก่อผลซึ่งเขาต้องการ

ความต้องการทำดี

การประจักษ์ผลต่อเนื่องไปกับการกระทำทุกขั้นตอนก็ดี ทำให้เขาได้รับความพึงพอใจ ความอิ่มใจ ปีติ

ปราโมทย์ ความสุข และความสงบตั้งมั่นของจิตใจ- (1)

ด้วยเหตุนี้ ในทางธรรมจึงจัดฉันทะเข้าเป็นอิทธิบาทอย่างหนึ่ง

อิทธิบาท เป็นหลักสำคัญในการสร้างสมาธิ ฉันทะจึงทำให้เกิดสมาธิ ซึ่งท่านให้ชื่อเฉพาะว่า

ฉันทสมาธิ -(2) และจึงเป็นเครื่องส่งเสริมสุขภาพจิต

ตรงข้ามกับตัณหาที่ทำให้เกิดโรคจิต

แม้ในกรณีที่ทำไม่สำเร็จ คือไม่สามารถทำให้ผลของการกระทำนั้นเกิดมีจนลุล่วงถึงที่สุด ฉันทะก็ไม่ก่อ

ให้เกิดทุกข์ ไม่ทำให้เกิดปมปัญหาในใจ

ทั้งนี้ เพราะการกระทำที่สำเร็จผล หรือ ไม่เป็นความเป็นไปตามเหตุผล เหตุเท่าใด ผลก็เท่านั้น

หรือเหตุเท่านี้ ปัจจัยขัดขวางเท่านั้น ผลก็มีเท่านี้ เป็นต้น

ผู้ทำการด้วยฉันทะ ได้เริ่มต้นการกระทำมาจากความคิด หรือ ความเข้าใจเหตุผล และได้ประจักษ์ผล

ควบมากับการกระทำที่เป็นเหตุ จึงไม่เกิดทุกข์ หรือปมในใจเพราะฉันทะ

ถ้าทุกข์หรือปมนั้นจะเกิดขึ้น ก็เป็นเพราะเปิดช่องให้ตัณหาสอดแทรกเข้ามา (เช่น เกิดความห่วงกังวลเกี่ยว

กับตัวตนขึ้นว่า คนนั้น คนนี้จะว่าเราทำไม่สำเร็จ หรือว่า ทำไมเขาทำได้ เราทำไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น *)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ม.ค. 2010, 12:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บน ที่มี (1) * ตามลำดับ)


(1) ความตอนนี้ อาจยกเอาคำบรรยายการเจริญอานาปานสติใน ขุ.ปฏิ.31/390/265 เป็นตัวอย่าง

ประกอบ ณ ที่นั้น ท่านกล่าวถึงว่า เมื่อผู้เจริญอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่ ฉันทะก็เกิดขึ้น

เมื่อฉันทะเกิดขึ้น ลมหายใจก็ละเอียดขึ้น กำหนดลมหายใจนั้นต่อไป ปราโมทย์ก็เกิด ดังนี้เป็นต้น

(ดูประกอบ วินย.ฎีกา.2/291)

(2) “ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะ ได้สมาธิ ได้ภาวะจิตมีอารมณ์เดียว นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ”

(สํ.ม.19/1150/344)

* ความคิดลักษณะนี้ เป็นขั้นมานะ แต่ต้องมีตัณหายืนพื้นอยู่ คือ ความอยากความมั่นคงถาวรของตน

ซึ่งโยงต่อไปจนถึงมานะในตอนที่เป็นความอยากให้เราได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำสำเร็จ

(พึงอ้าง อภิ.ป.42/418/241 แต่บาลีตอนนี้ คงตกข้อความสำคัญไป ดังปรากฏข้อความเต็ม

ที่นำไปอ้างใน วิสุทธิ.ฎีกา.3/117 เฉพาะส่วนที่ประสงค์ในที่นี้ได้แก่ข้อความว่า มานสังโยชน์

อาศัยภวราคสังโยชน์ เกิดขึ้นได้โดยเหตุปัจจัย;

ตามหลักฝ่ายอภิธรรมถือว่า มานะมีโลภะเป็นปทัฏฐานและเกิดเฉพาะในจิตที่เป็นโลภมูล หรือโลภสหรคต

(ประกอบด้วยโลภะ)

พูดอย่างง่ายๆ มานะก็สืบทอดมาจากตัณหานั่นเอง ดู อภิ.สํ.34/919/358 ; สงฺคห.9;

สงฺคห.ฎีกา.109; วิสุทธิ.44

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 29

สิ่งที่ชื่นชอบ: ท่าน ว.วชิรเมธี
ชื่อเล่น: หมวย
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ตัณหา คือความทะยานอยาก ความดิ้นรน ความปรารถนา ความแส่หา มี 3 ความหมายด้วยกันคือ

1.ความทะยานอยากในกาม อยากได้ในอารมณ์ อันน่าใคร่น่าปรารถนา (กามตัณหา)
2.ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นในสิ่งนั้นสิ่งนี้ (ภวตัณหา)
3.ความทะยานอยากในวิภพ ไม่อยากเป็นในสิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากถึงความดับสูญไปเสีย(วิภวตัณหา)

ส่วน ฉันทะ ในอิทธิบาท 4 ต้องประกอบด้วยคุณธรรม
อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔

1.ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เราควรจะได้

2.วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

3.จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

4.วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

ดังนั้น ตัณหา และ ฉันทะ จึงแตกต่างกันค่ะ ด้วยเรื่องคุณธรรมในการคิดและปฎิบัติ
tongue


ทั้งสิ้นทั้งปวง เกิดจากการ ยึดมั่นถือมั่นค่ะ
ดังนั้น
ยึดมั่นถือมั่นอะไร ก็เป็นทุกข์ที่นั่นเมื่อนั้น
ฆราวาสก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ถ้าจะมีความทุกข์แล้ว
ก็เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

คำสอนจาก ท่านพุทธทาสภิกขุ

.....................................................
ขอบุญจากธรรมทานนี้จงถึงแก่นายเวรและผู้ปกปักรักษาดูแลช่วยเหลือข้าพเจ้าและครอบครัว ที่มาถึงตัวทุกภพภูมิ ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน หากไม่ถึงเพียงใดให้ขอให้คำว่าไม่มี ไม่รู้ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้า ขอให้เกิดในภพภูมิ เขต ประเทศที่มีพระพุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคง และได้ศึกษาพระธรรมได้อย่างเข้าใจถ่องแท้ ลึกซึ้ง ตลอดจนกว่าจะเข้าพระนิพพานด้วยเทอญ.

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ต้องลงมือทำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ link นี้

viewtopic.php?f=2&t=28882&p=171107#p171107

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.พ. 2012, 18:35, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 29

สิ่งที่ชื่นชอบ: ท่าน ว.วชิรเมธี
ชื่อเล่น: หมวย
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขออภัยค่ะที่คั่น tongue

.....................................................
ขอบุญจากธรรมทานนี้จงถึงแก่นายเวรและผู้ปกปักรักษาดูแลช่วยเหลือข้าพเจ้าและครอบครัว ที่มาถึงตัวทุกภพภูมิ ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน หากไม่ถึงเพียงใดให้ขอให้คำว่าไม่มี ไม่รู้ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้า ขอให้เกิดในภพภูมิ เขต ประเทศที่มีพระพุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคง และได้ศึกษาพระธรรมได้อย่างเข้าใจถ่องแท้ ลึกซึ้ง ตลอดจนกว่าจะเข้าพระนิพพานด้วยเทอญ.

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ต้องลงมือทำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หันไปพูดถึงฉันทะบ้าง

ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ฉันทะในที่นี้ หมายถึง กุศลธรรมฉันทะ ที่เรียกสั้นๆว่า กุศลฉันทะ

หรือ ธรรมฉันทะ

กุศลธรรมฉันทะ* แปลว่า ฉันทะในกุศลธรรม คือ ความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่งที่ดีงาม

กุศลฉันทะ แปลว่า ฉันทะในกุศล

ถึงแม้จะตัดคำว่า ธรรมออก ก็มีความหมายเท่าเดิม คือตรงกับกุศลธรรมฉันทะนั่นเอง

กุศล แปลว่า ดีงาม ฉลาด เกื้อกูล คล่อง สบาย ไร้โรค เอื้อต่อสุขภาพ

ได้แก่ สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ สิ่งที่เป็นผลเกื้อกูลแก่ความเจริญงอกงามในทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข

ทั้งแก่ตนและคนอื่น *

ส่วนธรรมฉันทะ แปลว่า ฉันทะในธรรม หรือความต้องการธรรม

คำว่า ธรรม ที่มาในคำว่า กุศลธรรม มีความหมายกลางๆ คือแปลว่า สิ่ง หรือ หลัก

แต่เมื่อ แยกออกมาใช้ลำพังโดดๆ ก็อาจแปลความหมายได้กว้างขึ้น


ความหมายหลักของธรรมในกรณีนี้มี ๒ อย่าง คือ ความจริง (สภาวธรรมหรือคำสอนที่แสดงสภาวธรรมนั้น

ตรงกับที่บัดนี้ใช้คำว่า สัจธรรม)

และความดีงาม สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม (คุณธรรม ปัจจุบันดูเหมือนนิยมเรียกส่วนหนึ่งของความหมาย

นัยนี้ว่า จริยธรรม)

ธรรมฉันทะ จึงแปลได้ว่า ฉันทะในความจริง ฉันทะในความดีงาม หรือ ความต้องการความจริง

ความต้องการสิ่งที่ดีงาม

ความต้องการความจริงเล็งไปถึงความรู้ คือ เท่ากับพูดว่า ต้องการรู้ความจริง ต้องการเข้าถึงตัวธรรม

คือตัวจริง ตัวแท้ ความหมายที่แท้ เนื้อหาสาระที่เป็นแก่นแท้ ภาวะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย

ตลอดจนความดีงามที่เป็นคุณค่าอันแท้จริงของสิ่งนั้นๆ


ส่วนความต้องการความดีงามก็เล็งถึงการกระทำ คือต้องการทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น

โดยนัยนี้ธรรมฉันทะก็แปลได้ว่า ความใฝ่ความจริง หรือความรักความจริง ความใฝ่ในสิ่งดีงาม

หรือรักความดีงาม (ใฝ่ดี รักดี) และกินความถึงความอยากรู้ อยากทำ หรือใฝ่รู้ใฝ่ทำ

อาจใช้คำสั้นๆ คำเดียวว่า ความใฝ่ธรรม แล้วให้เข้าใจร่วมกันไว้ว่า คลุมถึงความหมายที่กล่าวมา

ทั้งหมด

เมื่อนัดหมายรู้กันอย่างนี้แล้ว จะแปลฉันทะเดี่ยวๆล้วนๆว่า ความใฝ่ธรรมก็ได้


เป็นอันว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ ก็คือ ธรรม หรือกุศล (ธรรม)

พูดอย่างไทยแท้ว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ คือ ความจริง และสิ่งที่ดีงาม


:b17: :b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไบกอนๆ ลุกๆๆขึ้นบริหารลูกกะตาหน่อยแล้วดูต่อ ยังไม่จบนะ :b1:


ง๊าววว ง๊าววว ง๊าวววว... ยุกแย๊ววววว....

ไม่ได้ทักทายจานป้อหลายวัน จานป้อ หง๋าววว อ๊ ป่าววววว...

s006 s006


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร