วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 11:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


กว่าหากุญแจได้ก็ นอนตาย อยู่ในรู ตามมิวสิค :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 01:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป

ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่
เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา
คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็น
จริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความ
เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวย
อารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดใน
ธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดใน
ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนัก
แล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕
ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วย
ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทาง
กาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวย
สุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็น
สัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด
ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา
ย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอัน
ประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ
[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่
เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา
คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๐๖๑๘ - ๑๐๖๗๔. หน้าที่ ๔๕๐ - ๔๕๒.


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 01:35, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 2463 ครั้ง ]
tongue :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48:

หลับอยุ่ เขียน:
ว่าจะหยุดลอกมาแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านเตือนโดยไม่ต้องบอก (แค่คิดเฉยๆเราไม่ต้องพูด) แต่ก็อดไม่ได้ครับ พระสูตร ที่ สอนให้ บำเพียร บำเพ็ญฌาณ มีมาก ที่จริง แค่ที่โพสกันมา ก็ มากพอแล้ว ครับ แต่ อย่างว่าครับ

ปริพาชก2012 หลายแขนงมีมากครับ ครั้นจะให้ ไป ปรับวาทะ ทุกเวป มันก็ ไม่ดี

ความสงบระงับใจ(สมถะ)ไม่มีก็คือ จบครับ smiley

ส่วนตัวผมก็กลัวว่า พวกเราจะกลายเป็นเอาธรรมะ มาขึ้นเขียง (อันนี้ความคิดส่วนตัว) :b8:

:b3: ผิดพลาดขออภัย



:b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48:


การนำพระสัทธรรมที่ตรัสไว้ดีแล้ว มาเผยแผ่ให้ผู้อ่านได้เสพสิ่งที่ถูกต้อง
เป็นการให้ที่ชนะการให้ทั้งปวงค่ะท่านหลับอยู่ มิใช่เป็นการนำมาขึ้นเขียง
ส่วนผู้ที่นำพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เราเทิดไว้เหนือเศียรเกล้า
มาหั่น มาเฉือน มาแล่ มาย่ำยี มาบิดเบือน ก็ต้องรับผลของการกระทำนั้นไปค่ะ
.... หนีไม่พ้นค่ะ


:b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48:


ดูกรวักกลิ
ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา
ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม.

วักกลิ
เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา
บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม



:b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48:


ดูกรอานนท์
บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี
ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ
ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 2436 ครั้ง ]
tongue :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48:

พระพุทธศาสนาเริ่มถึงกาลมีภัยแล้วสิหนอ

Quote Tipitaka:

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดในปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น
ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต
ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

เมื่อแสดงอภิธรรมกถา :b48: เวทัลลกถา :b48: หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก


เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ



:b48: อภิธรรมกถา = คำตรัสที่เป็นหลักธรรมที่เป็นธรรมล้วนๆ

:b48: เวทัลลกถา = คำตรัสที่เป็นคำถาม-ตอบที่ทำให้เกิดความรู้และความพอใจ ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


อีกประการหนึ่ง ในอนาคต
ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา


พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้
เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม

เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้
จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน


แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา :b48: เป็นสาวกภาษิต :b48:

เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้
จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน



เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ


:b48: พาหิรกถา = คำพูดภายนอก คำกล่าวภายนอก หมายถึงคำกล่าวที่นอกเหนือจากพุทธพจน์

:b48: สาวกภาษิต = คำกล่าวของสาวกที่กล่าวสืบกันต่อมาช้านาน

จาก :b48: อนาคตสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=2397





รูปภาพ สาธุ....เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 09:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สวรรค์ นรก ในพระไตรปิฏก ก้มีบอก ว่ามี ไม่ใช่ อุปมา อุปมัย ภพภูมิ เหล่านี้ มีจริง

แล้วตอนนี้ แฟชั่น ไม่เอา สมถะ ไม่เอาสมาธิ ไม่เอาฌาณ เยอะมากๆ

แล้ว ลูกศิษย์ บางสาย บางคน (ดูว่าหลายคนๆ) ปฏิบัติธรรม(ไม่น่าใช่ธรรมขาว) คำว่า รู้ รู้สึกตัว บางคน กฏแห่งกรรมกลายเป้นไม่มีไปแล้ว ทิฐิ วิบัติ3 เต็มๆ ไปซะแล้ว น่าสมเพชน่ะครับ :b6: (วาทะต่างๆ ก็วาทะ พวก เดียรถีย์ ปริพาชก ในพระคัมภีร์นั่นแล ไม่ใช่ใหม่อะไรเลย) :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 09:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
walaiporn เขียน:

การศึกษาสภาวะก็สำคัญนะคะ สำคัญพอๆกับบัญญัติ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกันค่ะ

ฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า อาคามีและอรหันต์ แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ
หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อันนี้นำมากล่าวไม่ถูกต้องนะคะ




อ้างคำพูด:
คุณกบนอกกะลา
บางครั้ง..มันจำเป็น..ท่านก็ต้องมาทำเพิ่มของท่านนะครับ..คุณ walaiporn..

ความจำเป็น..ไม่ใช่ว่าท่าน..คิดเอง..ว่าจำเป็น..แต่ท่านรู้ว่า..มันจำเป็น..
ไม่ใช่..อยาก..แบบกามราคะ..แต่ปรารถณา..แบบเมตตา..นะครับ

ตัวอย่างเช่น...จำเป็นต้องมีเพื่อประกอบความเป็นครูของอุบาสก..อุบาสิกา..บริวานของท่าน

เห็นเป็นประจำครับ..ชอบฤทธิ์..ชอบญาณ..แค่ท่านแสดงถึงการรู้จิตรู้ใจของผู้มาปฏิบัติธรรม..ศรัทธาของผู้มาก็กล้า..มาปฏิบัติธรรมไม่ขาด..

นี้เป็นมุมมองของผมนะ..ผิดถูก..ก็ต้องขออภัย


เห็นด้วยกับคุณกบนอกกะลาครับ อย่างเช่น เรื่อง การศึกษาพระไตรปิฏก แม้ว่าท่านจะเป็นอรหันต์แล้ว เพื่อรักษาประเพณี

อรรถกถา พระอภิธรรมปิฏก ธรรมสังคณีปกรณ์
หน้า ๖๓ อัฏฐสาลินี ธรรมสังคณี

http://larndham.org/index.php?showtopic=23396&st=16

http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=43&

ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ละกิเลสแล้ว มีมรรคอัน
เจริญแล้ว มีธรรมไม่กำเริบอันแทงตลอดแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ย่อม
เรียนปริยัติใด เพื่อรักษาประเพณี เพื่อรักษาวงศ์อย่างเดียว ปริยัตินี้ ชื่อว่า
ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบประเภท
แห่งปริยัติ ๓ อย่าง ในพระไตรปิฎกเหล่านั้น ดังที่กล่าวมาแล้ว.

ว่าด้วยสมบัติ ๓ ประเภท

อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัยอาศัยสีลสัมปทา
ย่อมบรรลุวิชชา ๓ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแหละไว้ใน
พระวินัยนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุ
อภิญญา ๖ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งสมาธิเหล่านั้นนั่นแหละไว้ในพระสูตรนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา ๔
ก็เพราะตรัสประเภทแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้นนั่นแหละไว้ ในพระอภิธรรมนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมเหล่านี้ ย่อมบรรลุสมบัติ
อันต่างด้วยวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้.


ว่าด้วยวิบัติ ๓ ประเภท

อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระวินัย เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่มีโทษใน
ผัสสะที่มีใจครองเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว โดยความเสมอ
ด้วยสัมผัสมีเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่ม มีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นที่ทรงอนุญาต
แล้ว เหมือนคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายอันกระทำอันตรายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วนี้ ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพอยู่ได้*(วินย. ๒. ๖๖๒
/๔๓๑) ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นผู้ทุศีล.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระสูตร ไม่รู้คำอธิบาย เหมือนในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้
ย่อมถือเอาผิด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า บุคคลมีอัตตาอัน
ถือเอาผิด ย่อมกล่าวตู่เราด้วย ย่อมขุด (ทำลาย) ซึ่งตนด้วย และย่อมประสบ
สิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระอภิธรรมจะวิจารธรรมเกินไป ย่อมคิดแม้สิ่งที่
ไม่ควรคิด (อจินไตย) ต่อจากนั้น ก็จะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต สมกับพระ
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ เหล่านี้
บุคคลไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อคิดอยู่ ก็พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความ
คับแค้น*(องฺ จตุกฺก. ๒๑. ๗๗/๑๐๔) ดังนี้.

ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระไตรปิฎกนี้ ย่อมถึงความวิบัติอันต่างด้วยความ
เป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ โดยลำดับ
ด้วยประการฉะนี้



--------------------------------------------------------------------------

ฝากถึง

คุณมหาราชันย์ ที่เข้าใจว่าตนเองเข้าใจพีอภิธรรมดีแล้ว พระอภิธัมมัตถสังคหะสอนผิด

คุณ วลัยพร ผู้นับถือ อัตตโนมติของตนเอง และ อาจาริยวาทะ

บางที อาจจะไม่ใช่ สมบัติ ก็ได้นะครับ อาจจะเป็น วิบัติ ก็ได้นะครับ ควรศึกษาพระไตรปิฏก ควบคู่กับ อรรถกถา ให้ดีเสียก่อน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ตามสบายนะจ๊ะ :b12:


walaiporn เขียน:

ครั้งนี้ ถือว่า พูดเรื่องนี้กับคุณเป็นครั้งสุดท้ายในเรื่องการละเมิดครูบาฯและท่านอื่นๆ
ต่อไปถ้าเห็นคุณกระทำเหมือนเดิม ก็จะไม่พูดอีกต่อไปแล้วค่ะ
เพราะในเมื่อคุณยืนยันว่า คุณยินดีเสวยวิบากกรรมนี้

chalermsak เขียน:

ส่วนวิบากกรรมใด ๆ ย่อมส่งผลตามเหตุ ตามปัจจัยอยู่แล้วครับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นไม่ตรงกัน




พระภิกษุเป็นจำนวนมากพากันไปอยู่ในป่าโคลิงคสาลวันร่วมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเกิดความเห็นมีทิฎฐิไม่ตรงกัน พระสารีบุตรว่า ป่านี้จะต้องมีภิกษุที่มีปัญญาเรืองเลิศจึงจะทำให้เกิดความสวยงามขึ้นในป่านี้ พระโมคคัลลานะว่าจะต้องมีฤทธิ์ จึงจะทำให้ป่านี้สวยวิจิตรพิศดาร พระกัสสปะกล่าวว่า จะต้องถือธุดงค์เคร่งครัดจึงจะทำให้ป่านี้สวยชัดน่าชื่นชม อย่างนั้นอย่างนี้ จึงได้พากันนำเรื่องราวมาเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นว่า ป่านี้จะงดงามต่อเมื่อภิกษุในป่านี้เสร็จภัตตกิจแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ถอนความพอใจและความไม่พอใจ คลายอุปาทานเสีย ป่านี้แหละจะงดงาม



-------------
(ที่มา)
ภาพพุทธประวัติ 2

Printed From: วัดเกาะ.คอม
หมวดหมู่: ศาสนธรรม
ชื่อ บอร์ด: นิทานธรรมะบันเทิง
คำอธิบาย บอร์ด: เรื่องเล่า แทรกสาระธรรม
URL: http://www.watkoh.com/kratoo//forum_posts.asp?TID=372
Printed Date: 10 ม.ค. 2010 เวลา 12:34
Software Version: Web Wiz Forums Install by : Watkoh.com STATS - http://www.webwizforums.com


หัวข้อ: ภาพพุทธประวัติ 2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ฝากถึง

คุณมหาราชันย์ ที่เข้าใจว่าตนเองเข้าใจพีอภิธรรมดีแล้ว พระอภิธัมมัตถสังคหะสอนผิด



สวัสดียามบ่ายครับคุณchalermsak

ข้อความนี้เป็นความคิดของคุณchalermsakเองครับ คิดเองเออเอง ด้วยความรู้ผิด เข้าใจผิดของคุณchalermsakเองครับ
ผมไม่เคยบอกใครที่ไหนเลยว่าผมเข้าใจพระอภิธรรมดีแล้วครับ
เพราะผู้จบพระอภิธรรมคือผู้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 4 ครับ

ผมมีแต่โลกียะปฏิสัมภิทาเล็กน้อยแค่นั้นเอง เพราะโลกียะปฏิสัมภิทาใคร ๆ ก็มีได้ครับ
และผมมีปัญญาเห็นว่าอภิธัมมัตถสังคหะ และพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกนั้นไม่เหมือนกันครับ
คุณไม่เชื่อผมก็ได้นะครับ แต่ลองศึกษาและปฏิบัติเปรียบเทียบกันดูนะครับ พิสูจน์ดูว่าจริงหรือไม่ครับ


ผมพูดอย่างนี้ครับ
อ้างคำพูด:
ผมมีคำถามว่าคุณไวโรจนมุเนนทระ เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉท กับเรียนจบอถิธรรมในพระไตรปิฎกนั้นคุณchalermsakมีความเห็นว่าอย่างไรครับ เป็นอภิธรรมเหมือนกันหรือต่างกันครับ ??


และพูดอย่างนี้ครับ

อ้างคำพูด:
ส่วนการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอรรถธรรมจากพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกผิดได้ รู้อรรถธรรมผิดได้ครับ เมื่อเริ่มต้นผิด ย่อมไม่อาจเข้าใจปลายที่ถูกต้องได้ครับ




ขอเข้าใจให้ถูกต้องเสียใหม่นะคุณchalermsak



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกว่าเจริญสติ แต่ไม่เอาสติที่บริสุทธิ์ แปลกคนดีนะครับ



สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ??

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข


เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถา พระอภิธรรมปิฏก ธรรมสังคณีปกรณ์
หน้า ๖๓ อัฏฐสาลินี ธรรมสังคณี

http://larndham.org/index.php?showtopic=23396&st=16

http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=43&


ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ละกิเลสแล้ว มีมรรคอัน
เจริญแล้ว มีธรรมไม่กำเริบอันแทงตลอดแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ย่อม
เรียนปริยัติใด เพื่อรักษาประเพณี เพื่อรักษาวงศ์อย่างเดียว ปริยัตินี้ ชื่อว่า
ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบประเภท
แห่งปริยัติ ๓ อย่าง ในพระไตรปิฎกเหล่านั้น ดังที่กล่าวมาแล้ว.

ว่าด้วยสมบัติ ๓ ประเภท

อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัยอาศัยสีลสัมปทา
ย่อมบรรลุวิชชา ๓ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแหละไว้ใน
พระวินัยนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุ
อภิญญา ๖ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งสมาธิเหล่านั้นนั่นแหละไว้ในพระสูตรนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา ๔
ก็เพราะตรัสประเภทแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้นนั่นแหละไว้ ในพระอภิธรรมนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมเหล่านี้ ย่อมบรรลุสมบัติ
อันต่างด้วยวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้.


ว่าด้วยวิบัติ ๓ ประเภท

อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระวินัย เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่มีโทษใน
ผัสสะที่มีใจครองเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว โดยความเสมอ
ด้วยสัมผัสมีเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่ม มีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นที่ทรงอนุญาต
แล้ว เหมือนคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายอันกระทำอันตรายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วนี้ ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพอยู่ได้*(วินย. ๒. ๖๖๒
/๔๓๑) ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นผู้ทุศีล.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระสูตร ไม่รู้คำอธิบาย เหมือนในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้
ย่อมถือเอาผิด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า บุคคลมีอัตตาอัน
ถือเอาผิด ย่อมกล่าวตู่เราด้วย ย่อมขุด (ทำลาย) ซึ่งตนด้วย และย่อมประสบ
สิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระอภิธรรมจะวิจารธรรมเกินไป ย่อมคิดแม้สิ่งที่
ไม่ควรคิด (อจินไตย) ต่อจากนั้น ก็จะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต สมกับพระ
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ เหล่านี้
บุคคลไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อคิดอยู่ ก็พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความ
คับแค้น*(องฺ จตุกฺก. ๒๑. ๗๗/๑๐๔) ดังนี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระไตรปิฎกนี้ ย่อมถึงความวิบัติอันต่างด้วยความ
เป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ โดยลำดับ
ด้วยประการฉะนี้


--------------------------------------------------------------------------

ผมไม่เคยบอกใครที่ไหนเลยว่าผมเข้าใจพระอภิธรรมดีแล้วครับ
เพราะผู้จบพระอภิธรรมคือผู้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 4 ครับ

ผมมีแต่โลกียะปฏิสัมภิทาเล็กน้อยแค่นั้นเอง เพราะโลกียะปฏิสัมภิทาใคร ๆ ก็มีได้ครับ
และผมมีปัญญาเห็นว่าอภิธัมมัตถสังคหะ และพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกนั้นไม่เหมือนกันครับ
คุณไม่เชื่อผมก็ได้นะครับ แต่ลองศึกษาและปฏิบัติเปรียบเทียบกันดูนะครับ พิสูจน์ดูว่าจริงหรือไม่ครับ


ผมพูดอย่างนี้ครับ

ส่วนการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอรรถธรรมจากพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกผิดได้ รู้อรรถธรรมผิดได้ครับ เมื่อเริ่มต้นผิด ย่อมไม่อาจเข้าใจปลายที่ถูกต้องได้ครับ


คุณมหาราชันย์ คุณอ้างว่า

1. ผลการปฏิบัติของคุณสอดคล้องกับพระอภิธรรมปิฏก

2. พระอภิธัมมัตถสังคหะ ทำให้คนเข้าใจพระธรรมผิด

3. มีโลกียะปฏิสัมภิทา

ผมว่า คุณมหาราชันย์ มีความฟุ้งซ่านแล้วครับ ดัง อรรถกถาข้างบน ที่เข้าถึง ความวิบัติ ๓ ประการ มีจิตฟุ้งซ่าน คิดในสิ่งที่ไม่ควรคิด

คิดว่าตนเองมีปัญญาแตกฉานแล้ว แม้จะอ้างว่าเล็กน้อย แต่ก็อธิบาย พระไตรปิฏกเอง ผิด ๆถูก ๆ โดยอ้างผลการปฏิบัติของตนเอง(อัตตโนมติ)

บัญญัติศัพท์ขึ้นมาเอง มีด้วยหรือครับ โลกียปฏิสัมภิทา ผมอ่านเจอแต่ ปฏิสัมภิทา ที่ใช้กับพระอริยะบุคคล

อ้างคำพูด:
พจนานุกรมพุทธศาสน์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปฏิสัมภิทา_๔
ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน,
ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

---------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ส่วนการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอรรถธรรมจากพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกผิดได้ รู้อรรถธรรมผิดได้ครับ เมื่อเริ่มต้นผิด ย่อมไม่อาจเข้าใจปลายที่ถูกต้องได้ครับ


คุณมหาราชันย์ ยกตัวอย่างสักบทหนึ่งด้วยครับ ทำให้เข้าใจพระอภิธรรมปิฏกผิดอย่างไร ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำข้อเขียนของท่านกรัชกายมาให้เฉลิมศักดิ์อ่านเพื่อประเทีองปัญญา

จะให้ดีต้องกินปลามากๆด้วย

จะได้ไม่มองปัญหาด้านเดียว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22484&start=0&st=0&sk=t&sd=a

๑๐. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท


ความจริงวิภัชชวาทไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูดหรือการแสดงหลักการ แห่งคำสอน

แบบหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การคิดกับการพูดเป็นกรรมใกล้ชิดกันที่สุด ก่อนจะพูดก็ต้องคิดก่อน

สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น



ในทางธรรมก็แสดงหลักไว้ว่า วจีสังขาร- (สภาวะที่ปรุงแต่งคำพูด)

ได้แก่วิตกและวิจาร-

(ม.มู. 12/509/550 ฯลฯ)

ดังนั้น จึงสามารถกล่าวถึงวิภัชชวาทในระดับที่เป็นความคิดได้ ยิ่งกว่านั้น

คำว่า วาทะต่างๆ หรือ ที่เรียกว่า วาทะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความหมายลึกซึ้ง

เล็งไปถึงระบบความคิดทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาแห่งระบบคำสอนทั้งหมด

ที่เรียกกันว่าเป็นลัทธิหนึ่ง ศาสนาหนึ่ง หรือปรัชญาหนึ่ง เป็นต้น



คำว่า วาทะ จึงเป็นไวพจน์แห่งกันและกันของคำว่า ทิฏฐิ ทิฐิ หรือ ทฤษฎี เช่น

สัพพัตถิกวาท คือ สัพพัตถิกทิฏฐิ

นัตถิกวาท คือ นัตถิกทิฏฐิ

สัสสตวาท คือสัสสตวาททิฏฐิ

อุจเฉทวาท คือ อุจเฉททิฏฐิ

อเหตุกวาท คือ อเหตุกทิฏฐิ เป็นต้น


คำว่า วิภัชชวาทนี้ เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นคำสำคัญคำหนึ่ง

ที่ใช้แสดงระบบความคิดที่เป็นแบบของพระพุทธศาสนาและวิธีคิดแบบวิภัชชวาท

ก็มีความหมายคลุมถึงวิธีคิดแบบต่างๆ ที่กล่าวๆ มาแล้วได้หลายอย่าง

การกล่าวถึงวิธีคิดแบบวิภัชชวาท นอกจากทำให้รู้จักวิธีคิดแง่อื่น ๆเพิ่มขึ้นแล้ว

ยังจะช่วยให้เข้าใจวิธีคิดบางอย่างที่กล่าวๆ มาแล้วชัดเจนขึ้นอีกด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22484&start=0&st=0&sk=t&sd=a

วิภัชชวาท เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่ง ของพระพุทธศาสนา หรือเป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิด

ของพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็น วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาที -

(เช่น ม.ม.13/711/651 ฯลฯ)

และคำว่า วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาทีนั้น ก็ได้เป็นคำเรียกพระพุทธศาสนา หรือ คำเรียก

พระนามของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ใช้อ้างกันมาในประวัติการณ์แห่งพระพุทธศาสนา เช่น

ในคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราช ตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ

ประธานสงฆ์ในการสังคายนาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร

พระเถระทูลตอบว่า “มหาบพิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาที”

(วินย.อ.1/60 ฯลฯ)


วิภัชชวาท มาจาก วิภัชช+วาท วิภัชช แปลว่า แยกแยะ แบ่งออก จำแนก หรือแจกแจง

ใกล้กับคำที่ใช้ในปัจจุบันว่า วิเคราะห์

วาท แปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน

วิภัชชวาท จึงแปลว่า การพูดแยกแยะ พูดจำแนก หรือพูดแจกแจง หรือแสดงคำสอน

แบบวิเคราะห์

ลักษณะสำคัญของความคิดและการพูดแบบนี้ คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออก

ให้เห็นแต่ละแง่ละด้านครบทุกแง่ทุกด้าน

ไม่ใช่จับเอาแง่หนึ่งแง่เดียว หรือบางแง่ขึ้นมาวินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างนั้นทั้งหมด หรือ ประเมิน

คุณค่าความดีความชั่วเป็นต้น โดยถือเอาส่วนเดียวหรือบางส่วนเท่านั้นแล้วตัดสินพรวดลงไป

วาทะที่ตรงข้ามกับวิภัชชวาทเรียกว่า เอกังสวาท แปลว่า พูดแง่เดียว คิดจับได้เพียงแง่เดียว

ด้านหนึ่ง หรือส่วนหนึ่ง ก็วินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างเดียวทั้งหมด หรือพูดตายตัวอย่างเดียว

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22484&start=0&st=0&sk=t&sd=a




เพื่อให้เห็นความหมายของวิภัชชวาทชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจำแนกแนววิธีคิดของวิภัชชวาทนั้นออก

ให้เห็นในลักษณะต่างๆ ดังนี้



ก. จำแนกโดยแง่ด้านของความจริงแบ่งซอยได้เป็น ๒ อย่างคือ

-จำแนกตามแง่ด้านต่างๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้นๆ คือมองหรือแถลงความเห็นให้ตรงตาม

ที่เป็นอยู่ในแง่นั้นด้านนั้น ไม่ใช่จับเอาความจริงแง่หนึ่งด้านหนึ่งหรือแง่อื่นด้านอื่นมาตีคลุม

เป็นอย่างนั้นไปหมด เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าเขาดีหรือไม่ดี ก็ชี้ความจริงตามแง่ด้านที่เป็น

อย่างนั้นว่าแง่นั้น ด้านนั้น

กรณีนั้น เขาดีอย่างไร หรือไม่ดีอย่างไร เป็นต้น ไม่ใช่เหมาคลุมง่ายๆ ทั้งหมด

ถ้าจะประเมินคุณค่า ก็ตกลงกำหนดลงว่าจะเอาแง่ใดด้านใดบ้าง แล้วพิจารณาทีละแง่ ประมวลลง

ตามอัตราส่วน

ตัวอย่างวิภัชชวาทในแง่นี้ เช่น คำสอนเกี่ยวกับ กามโภคี หรือชาวบ้าน ๑๐ ประเภทที่จะกล่าวข้าง

หน้า


-จำแนกโดยมองหรือแสดงความจริงของสิ่งนั้นๆ ให้ครบทุกแง่ๆทุกด้าน คือ เมื่อมองหรือพิจารณาสิ่ง

ใดไม่มองแคบๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียวแง่เดียวของสิ่งนั้น หรือ วินิจฉัยสิ่งนั้นด้วยส่วนเดียว

แง่เดียวของมัน

แต่มองหลายแง่หลายด้าน เช่น จะว่าดีหรือไม่ดี ก็ว่า ดีในแง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้น ไม่ดี

ในแง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้น สิ่งนี้ไม่ดีแง่นั้น แต่ดีในแง่นี้ ส่งนั้นดีในแง่นั้น แต่ไม่ดีในแง่นี้

เป็นต้น

การคิดจำแนกแนวนี้ มองดูคล้ายกับข้อแรก แต่เป็นคนละอย่าง และเป็นส่วนเสริมกันกับข้อแรกในผล

สมบูรณ์

ตัวอย่าง เช่นคำสอนเกี่ยวกามโภคี คือ ชาวบ้าน ๑๐ ประเภทนั้น และเรื่องพระบ้านพระป่า

ที่ควรยกย่องหรือติเตียนเป็นต้น

การคิดแนวนี้ มีผลรวมไปถึงการเข้าใจในภาวะที่องค์ประกอบต่างๆ หรือลักษณะด้านต่างๆมา

ประมวลกันเข้าโดยครบถ้วน จึงเกิดเป็นสิ่งนั้นๆ หรือเหตุการณ์นั้นๆ และการมองสิ่งหนึ่งๆ

เหตุการณ์หนึ่งๆ โดยเห็นกว้างออกไปถึงลักษณะด้านต่างๆ และองค์ประกอบต่างๆของมัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หวังว่าเฉลิมศักดิ์คงจะเข้าใจศาสนาพุทธได้ถูกต้องมากขึ้น

ไม่มองเหตุปัจจัยเพียงด้านเดียวแล้วเกิดอัสมิมานะ

ไม่หลงไหลได้ปลิ้มในตนเองว่าเก่งอภิธรรม

ไม่ดูหมิ่นอาจารย์บางท่าน ขณะเดียวกันตัวเองกลับหลงใหลเสน่หาอาจารย์อีกบางท่าน

อย่างถอนตัวไม่ขึ้น

ไม่กล่าวอัตตโนมัติ โดยใส่ร้ายผู้กล่าวพระไตรปิฎกว่าเป็นอัตตโนมัติ

ขณะที่ตัวเองยึดอรรถกถาไม่ลืมหูลืมตาอย่างมัวเมา

จงยึดเหตุผล ให้มากกว่านี้

ฝากความคิกถึง กอบ กับ เอก ด้วย

สบายดีไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร