วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 02:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการปฏิบัติที่จัดเป็นระบบ


พุทธพจน์ที่แสดงหลักการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน มักเป็นไปในรูปของคำสอนให้พิจารณาสภาวธรรม

อย่างลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=27711


หากจะแสดงลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติที่จะเรียกได้ว่าเป็นระบบ ก็เป็นเพียงการแสดงขั้นตอนอย่างกว้างๆ

พุทธพจน์แนวนี้ ที่นับว่าละเอียดที่สุดและพบบ่อยที่สุดก็ คือ คำสอนแสดงความก้าวหน้าในการประพฤติ

พรหมจรรย์ ของพระภิกษุ ตั้งแต่ออกบวชจนบรรลุอาสวักยญาณ *

(*มีกระจายทั่วไปในพระสูตร ตั้งแต่เล่มแรก คือ ที.สี.9/102-138/82-112

จนจบอังคุตตรนิกาย เช่น องฺ.ทสก.24/99/217 และในอภิธรรมบางแห่ง คือ อภิ.ปุ.36/135/209)


อีกแนวหนึ่งที่นับว่าใกล้เคียง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงเองบ้าง พระสาวกแสดงบ้าง เป็นครั้งคราว

คือ แนวจรณะ ๑๕ และวิชชา ๓ นอกจากนี้ก็มี

แต่ที่แสดงเพียงลำดับหัวข้อเป็นชุดๆ เช่น วิสุทธิ ๗ วิสุทธิ ๙ เป็นต้น

การที่เป็นเช่นนี้ สันนิษฐานได้ว่า แบบแผนและรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติ

คงเป็นเรื่องที่ท่านทำและนำสืบๆกันมา ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ตามกระบวนวิธีที่อาจารย์สั่งสอน

และฝึกหัดศิษย์

นอกจากนั้น รายละเอียดปลีกย่อยก็ย่อมแตกต่างกันไปตามกลวิธีของอาจารย์ต่างสำนักกันด้วย

ประเพณีปฏิบัติคงดำเนินมาเช่นนี้ จนถึงยุคของพระอรรถกถาจารย์ ท่านจึงได้นำเอาแบบแผน

และรายละเอียดบางส่วนของขั้นตอนการปฏิบัติเหล่านั้นมาเรียบเรียงบันทึกไว้ในคัมภีร์

ดังตัวอย่างที่เด่น คือ วิสุทธิมัคค์


คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ นอกจากแสดงลำดับขั้นตอนและแบบแผนการฝึกด้านกิจกรรมภายนอกแล้ว ยังแสดลำดับขั้น

ของความเจริญก้าวหน้าภายใน คือการที่ปัญญาแก่กล้าขึ้นเป็นระดับๆ จนตรัสรู้ อย่างเรียกว่าลำดับญาณด้วย

เค้าโครงทั่วไปของการปฏิบัติ ท่านถือตามหลักการของไตรสิกขา แล้วขยายออกตามแนววิสุทธิ ๗

ส่วนขั้นตอนของความเจริญปัญญาภายใน (วิปัสสนาญาณ) ท่านขยายความจากเนื้อหาบางส่วน

ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์*

ในที่นี้ จะแสดงระบบการปฏิบัติที่สรุปตามแนวของคัมภีร์วิสุทธิมัคค์นั้น**

ซึ่งแสดงไว้เป็นขั้นตอน ดังนี้


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* ขุ.ปฏิ.31/ มาติกา/1-2; 94/72-159/109)

** วิสุทธิ.1/1-3/376)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 20:13, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จานป้อ อย่าลืมจัดระบบ link ดี ๆ ล่ะ
และถ้ามี link ดี ๆ เอาไปฝาก ไบกอน ด้วยแหละ...

:b55: :b54: :b55: :b54: :b55: :b54:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบื้องแรก พึงเข้าใจความหมายศัพท์สำคัญก่อน


-วิสุทธิ แปลว่า ความหมดจด คือ ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นเป็นขั้นๆ

หมายถึง ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย

คือนิพพาน จำแนกเป็น 7 ขั้น


ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก

หมายถึง การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยครบถ้วน หรือรอบด้าน แบ่งเป็น 3 ขั้น

(ขุ.ม.29/62/60 ฯลฯ) คือ

1) ญาตปริญญา

กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ รู้ตามสภาวะลักษณะ ได้แก่ รู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นตามสภาวะ

ของมัน เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์

นี้คือสัญญา สัญญาคือสิ่งที่มีลักษณะกำหนดได้หมายรู้ ดังนี้ เป็นต้น (= รู้ว่าคืออะไร)


2) ตีรณปริญญา

กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือ รู้ด้วยปัญญาที่หยั่งลึกซึ้งไปถึงสามัญลักษณะ ได้แก่ รู้ถึงการที่

สิ่งนั้น ๆ เป็นตามกฎธรรมดา โดยพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า

เวทนาและสัญญานั้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น (=รู้ว่า เป็นอย่างไร)


3) ปหานปริญญา

กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ รู้ถึงขั้นที่ทำให้ถอนความยึดถือ เป็นอิสระจากสิ่งนั้นๆได้

ไม่เกิดความผูกพันหลงใหล ทำให้วางใจ วางท่าที และปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง

เช่น เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสิ่งนั้นๆ ได้

(= รู้ว่าจะทำอย่างไร)


วิปัสสนาญาณ แปลว่า ญาณ หรือ ปัญญาในวิปัสสนา หรือ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา

หรือ ญาณ ที่จัดเป็นวิปัสสนา ได้แก่ ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส และ กองทุกข์ได้ แบ่งเป็น 9 ขั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 22:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คัมภีร์วิสุทธิมัคค์สงเคราะห์ ไตรสิกขา, วิสุทธิ 7, วิปัสสนาญาณ 9, โสฬสญาณ

ทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ไม่ขาดไม่เกิน


แต่เป็นที่น่าสังเกต คือ ทั้งไตรสิกขา วิสุทธิ 7 และวิปัสสนาญาณ 9 ไม่ค่อยมีผู้หยิบยกขึ้นกล่าวกันมากนัก

หรือแทบไม่มีเลย

ต่างจากญาณ หรือ ปัญญา 16 ขั้น หรือโสฬสญาณ บ้างว่าไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า

บ้างว่า เป็นของพม่า ฯลฯ

มาดูกันว่าท่านจัดยังไง เชื่อมกันได้สนิทเพียงใด

ตอนนี้ดูหมวดธรรมทั้งหมดที่จะกล่าวคร่าวๆ ก่อน



ไตรสิกขา หรือ สิกขา 3 คือ

1. อธิศีลสิกขา

2. อธิจิตตสิกขา

3. อธิปัญญาสิกขา

เรียกสั้นๆ ศีล สมาธิ ปัญญา


วิสุทธิ 7 คือ

1.สีลวิสุทธิ

2. จิตตวิสุทธิ

3. ทิฏฐิวิสุทธิ

4. กังขาวิตรณวิสุทธิ

5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

7. ญาณทัสสนวิสุทธิ


วิปัสสนาญาณ 9 คือ

1. อุทยัพพยานุปัสสนา

2. ภังคานุปัสสนาญาณ

3. ภยตูปัฏฐานญาณ

4.อาทีนวานุปัสสนาญาณ

5.นิพพิทานุปัสสนาญาณ

6. มุญจิตุกัมยตาญาณ

7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ

8. สังขารุเปกขาญาณ

9.สัจจานุโลมิกญาณ


ส่วนญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ ก็แทรกๆ อยู่ในข้อธรรมดังกล่าวนั้นทั้งหมด แทรกอย่างไร พิจารณาดู

แต่เพื่อสังเกตได้ง่าย จะแยกชื่อหมวดธรรมโดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์ (มีบางข้อ ชื่อเดียวกับวิปัสสนาญาณ)

สีน้ำเงิน ได้แก่ วิสุทธิ 7

ตัวหนา ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9

สีแดง ได้แก่ โสฬสญาณ

ส่วนไตรสิกขา ได้แก่ ข้อ ก. ข. ค.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 10:01, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก. ระดับศีล (อธิสิลสิกขา)

1. สีลวิสุทธิ

ความหมดจดแห่งศีล คือ ประพฤติดี เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีศีลตามภูมิชั้นของตน

คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวมุ่งเฉพาะการปฏิบัติของพระภิกษุ หมายเอาปาริสุทธิศีล 4

อินทรีย์สังวร (ศีล คือ ความสำรวมอินทรีย์ ได้แก่ ระวังไม่ให้อกุศลธรรมความชั่วครอบงำจิตใจ

ในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ ทั้ง ๖)

อาชีวปาริสุทธิศีล (ศีล คือ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ได้แก่ เลี้ยงชีวิตโดยทางชอบธรรม)

และปัจจัยสันนิสิตศีล

นอกจากศีล อาจเลือกสมาทานวัตร โดยเฉพาะธุดงค์ 13 บางข้อ เพื่อส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น

เป็นการขูดเกลากิเลส เกื้อกูลแก่ภาวนาต่อไป


ข. ระดับสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

2. จิตตวิสุทธิ

ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิต หรือพัฒนาคุณภาพและสมรรถภาพของจิต จนเกิดสมาธิพอเป็นบาท

หรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา

คัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติทั้ง 8 และแสดงวิธีเจริญสมาธิ

จนถึงได้ผลพิเศษ คือโลกียอภิญญาทั้ง 5

(สมาธิ หรือ อธิจิตสิกขา วิสุทธิมรรค กล่าวไว้สุดขอบเขตของสมาธิ แต่ในกรณีสมาธิ ภาคปฏิบัติยืดหยุ่นได้

เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่พึงมองข้าม หรือ หวาดกลัวสมาธิ จนไม่กล้าพูดถึงหรือเกี่ยวข้อง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค.ระดับปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)


1) ขั้นญาตปริญญา คือ รู้จักสภาวะ

-ขั้นทุกขววัฏฐาน คือ กำหนดทุกขสัจจ์

3. ทิฏฐิวิสุทธิ

ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ทำให้ระงับความเข้าใจผิดว่า

เป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด

บางทีกำหนดเรียกเป็นญาณอย่างหนึ่ง มีชื่อว่า นามรูปปริจเฉทญาณ (1)

หรือ เรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง

หมายถึง ความรู้จักรูปธรรมนามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง

ก็มีแต่รูปธรรม และ นามธรรมเท่านั้น และกำหนดได้ว่า ในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น

อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม (ตัวอย่าง เช่น เมื่อเห็นรูป หรือ สีต่างๆ เป็นรูปธรรม การเห็นเป็น

นามธรรม เป็นต้น)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โสฬสญาณ ท่านเริ่มจากวิสุทธิข้อนี้ (1)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 17:55, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นสมุทัยววัฏฐาน คือ กำหนดสมุทัยสัจ


4. กังขาวิตรณวิสุทธิ

-ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย หรือ ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ

กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ตาม ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ตาม

ตามแนวกระบวนการรับรู้ก็ตาม ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ตาม

หรือ ตามแนวอื่นก็ตามว่า นามธรรม และ รูปธรรมล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน

อาศัยกัน อันเป็นความรู้ ที่ทำให้สิ้นความสงสัยเกี่ยวกับกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต และปัจจุบัน

ความรู้นี้เป็นญาณขั้นหนึ่ง

บางทีเรียกว่า นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ (2) แปลว่า ญาณที่กำหนด

ปัจจัยของนามรูป


ญาณขั้นนี้ เรียกได้หลายชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง

ยถาภูตญาณ บ้าง

สัมมาทัสสนะ บ้าง และผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้

พระอรรถกถาจารย์ เรียกว่า “จูฬโสดาบัน” คือ พระโสดาบันน้อย

เป็นผู้มีคติ คือ ทางไปก้าวหน้าที่แน่นอน ในพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2) ขั้นตีรณปริญญา คือ รู้สามัญลักษณะ หรือ หยั่งถึงไตรลักษณ์

-ขั้นมัคคววัฏฐาน คือ กำหนดมรรคสัจ (เฉพาะข้อ 5)


5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ


-ความหมดจดแห่งญาณ ที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ ยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย

ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ทีละอย่างๆ เช่น พิจารณารูป

โดยอนิจจลักษณะ โดยทุกขลักษณะ โดยอนัตตลักษณะ แล้วพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณตามลำดับ และโดยลักษณะแต่ละลักษณะไปทีละอย่าง แล้วพิจารณาข้อธรรมอื่นๆ เช่น

ในหมวดอายตนะ 12 ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ (รวมความก็อยู่ในขันธ์ 5) จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น

และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย


เรียกว่า เกิดเป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ และในช่วงนี้ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า

วิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ ชวนให้หลงผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึดเอาวิปัสสนูปกิเลสนั้นว่า

เป็นทางที่ถูก

ถ้าหลงไปตามนั้น ก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป


แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดแยกได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 นั้นไม่ใช่ทาง

แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณ ที่ดำเนินถูกทางพ้นจากอุปกิเลสแล้วว่า นั่นแหละเป็นทาง หรือมรรคาแท้จริง

ซึ่งจะพึงเดินต่อไป


เมื่อความรู้นี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในวิสุทธิข้อนี้ (ข้อ 5) มีเนื้อหาซับซ้อนที่พึงทำความเข้าใจ คือ

-การเจริญวิปัสสนาในขั้นที่จะให้เกิดวิสุทธิข้อนี้ เรียกว่า นยวิปัสสนา

(การเจริญวิปัสสนาโดยนัย คือ พิจารณาโดยจับแง่ความหมาย ตามแนววิธีที่ท่านแสดงไว้ในพระบาลี เช่น

ว่า รูปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็ตาม ฯลฯ ล้วนไม่

เที่ยงดังนี้ เป็นต้น)


หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลาปสัมมสนะ*

(การพิจารณาเป็นหมวดๆ หรือ รวบเป็นกลุ่มๆ) และความรู้ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้ บางทีจัดกันเป็นญาณขั้นหนึ่ง

เรียกว่า สัมมสนญาณ (3) แปลว่า

ญาณที่พิจารณา หรือ ตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์)


เมื่อพิจารณา ด้วยสัมมสนญาณไปจนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไป

ของสิ่งทั้งหลาย

มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป

มองเห็นการเกิดและดับสลายทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป

ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆอยู่และญาณนี้ ตอนนี้เองที่เรียกว่า

ตรุณวิปัสสนา หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนาญาณอ่อนๆ)


ผู้ได้ตรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า อารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มเห็นแจ้ง หรือ ผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว)

และในตอนนี้เอง วิปัสสนูปกิเลส 10 อย่าง เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้น จะเกิดขึ้น

ชวนให้หลงผิดและติดใจ

ถ้ากำหนดรู้เท่าทัน ก็ผ่านพ้นไปได้


กำหนดแยกว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว ก็เป็นอันจบสิ้นวิสุทธิข้อนี้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี *

ฎีกาว่า กลาปสัมมสนะ เป็นชื่อที่ชาวชมพูทวีปใช้

ส่วน นยวิปัสสนา เป็นชื่อที่ชาวเกาะลังกานิยมใช้ แต่หมายถึงวิธีการเดียวกัน

(วิสุทธิ.ฎีกา 3/449)

กลาปสัมมสนะ หรือ นยวิปัสสนานี้เป็นวิธีตรงข้ามกับ อนุปทธรรมวิปัสสนา (พิจารณาองค์ธรรมเรียงลำดับ

เป็นรายข้อ)


วิปัสสนูปกิเลส หรือ ธรรมุธัจจ์ ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=23387

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3) ขั้นปหานปริญญา คือ รู้ถึงขั้นละความหลงผิด ถอนตัวเป็นอิสระได้


6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

-ความหมดจดแห่งญาณ อันรู้เห็นทางดำเนิน

โดยสาระแท้ๆ หมายถึงวิปัสสนา ที่ถึงจุดสุดยอด ด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ 8

กับวิปัสสนาญาณข้อที่ 9 คือ สัจจานุโลมิกญาณ


แต่พูดอย่างกว้างๆ วิสุทธิข้อนี้ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 นั่นเอง คือ นับตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ

ที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เป็นต้นไป จนสุดทางแห่งความเป็นปุถุชน หรือ สุดวิปัสสนา


วิปัสสนาญาณ 9 มีดังนี้

1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ (4)

-ญาณ หรือ ปัญญา อันตามเห็นความเกิด ดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้น และ ความดับไป

แห่งเบญจขันธ์ (ขันธ์ห้า) จนเห็นปัจจุบันธรรม ที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน

เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร

หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น

ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด

เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็น นามธรรม รูปธรรม

และตัวรู้หรือผู้รู้ ที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด

เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และ อัตตสัญญาได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ (5)

-ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้า

ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัดในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น

มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลายดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

3. ภยตูปัฏฐานญาณ หรือสั้นว่า ภยญาณ (6)

-ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย

อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว

สังขารทั้งปวงไม่ว่า จะเป็นไปในภพใดก็ตาม ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป

ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ (7)

-ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว

ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง

จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ (8)

-ญาณอันคำนึงเห็นความเบื่อหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว

ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 18:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ชื่อเดียวกับโสฬสญาณที่ 9)

-ญาณหยั่งรู้ ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว

ย่อมปรารถนา ที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:



7.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ (10)

-ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอา

สังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 19:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


8. สังขารุเปกขาญาณ (ชื่อเดียวกับโสฬสญาณที่ 11)

-ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป

ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา

หรือเป็นธรรมของมันอย่างนั้นเอง

จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย

แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท

ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย


ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด

และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรคอันเป็นที่ออกจากสิ่งยึด หรือ ออกจากสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron