วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 22:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3.jpg
3.jpg [ 28.51 KiB | เปิดดู 2862 ครั้ง ]
สมสีสัฏฐญาณ


ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่ง ธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด โดยชอบและในนิโรธ เป็น “สมสีสัฏฐญาณ” อย่างไร ฯ


คำว่า ธรรมทั้งปวง หมายถึง …………

…..ขันธ์ ๕
…..อายตนะ ๑๒
…..ธาตุ ๑๘
…..กุศลธรรม
…..อกุศลธรรม
…..อัพยากตธรรม
…..กามาวจรธรรม
…..รูปาวจรธรรม
…..อรูปาวจรธรรม
…..โลกุตตรธรรม

*************************************

ขยายความ

ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่รวมกัน หรือหมายถึง ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่..........

๑. รูปขันธ์ คือ กองรูป หรือส่วนที่เป็นรูป หมายถึงร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย หรือหมายถึงส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด หรือสิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ

๒. เวทนาขันธ์ คือ กองเวทนา หมายถึง ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์ เป็นความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ

๓. สัญญาขันธ์ คือ กองสัญญา หมายถึง ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย เป็นความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์

๔. สังขารขันธ์ คือ กองสังขาร หมายถึง ส่วนที่เป็นการปรุงแต่ง เป็นสภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ หรือหมายถึงคุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

๕. วิญญาณขันธ์ คือ กองวิญญาณ หมายถึง ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ เป็นความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส และการรับรู้ทางใจ



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ (ต่อ)


อายตนะ ๑๒ หมายถึง .......

อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖


อายตนะภายใน ๖ (อชฺฌฺตติกายตน) หรืออินทรีย์ ๖ หมายถึงส่วนที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ฝ่ายใน ได้แก่

๑. จักขุ หรือจักษุ (ตา)
๒. โสตะ (หู)
๓. ฆานะ (จมูก)
๔. ชิวหา (ลิ้น)
๕. กาย (กาย)
๖. มโน (ใจ)


อายตนะภายนอก ๖ (พาหิรายตน) หรืออารมณ์ ๖ หมายถึงส่วนที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ฝ่ายนอก เป็นสิ่งให้จิตยึดเหนี่ยว ได้แก่

๑. รูปะ หรือ รูป (สิ่งที่เห็น หรือสี)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย หรือสิ่งที่ถูกต้องกาย)
๖. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจนึกคิด)


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ (ต่อ)


ธาตุ ๑๘ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ ดังนี้

๑.จักขุธาตุ (ธาตุ คือจักขุปสาท)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
๓. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
๔. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท)
๕. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์)
๖. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ)
๗. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท)
๘. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์)
๙. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ)
๑๐. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท)
๑๑. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์)
๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)
๑๓. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท)
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
๑๕. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
๑๖. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน)
๑๗. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์)
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ)



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ (ต่อ)


กุศลธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นกุศล หรือ สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ


อกุศลธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นอกุศล หรือสภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล


อัพยากตธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นผลจาก กุศล หรือ อกุศลนั้น



กามาวจรธรรม หมายถึง ธรรมของสัตว์ในกามภพทั้ง ๑๑ ชั้น ได้แก่ .....
.....นิรยะ (นรก)
.....ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน)
.....ปิตติวิสัย (แดนเปรต)
.....อสุรกาย (พวกอสูร)
.....มนุษย์ (ชาวมนุษย์)
.....จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง)
.....ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่)
.....ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์)
.....ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน)
.....นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต)
.....ปรนิมมิตวสวัตตี(แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้)



รูปาวจรธรรม หมายถึง ธรรมของผู้ที่ปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์ คือผู้ที่ได้ฌาน หรือผู้ที่อยู่ในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้น ได้แก่.........
.....พรหมปาริสัชชา
.....พรหมปุโรหิตา
.....มหาพรหม
.....ปริตตาภา
.....อัปปมาณาภา
.....อาภัสสรา
.....ปริตตสุภา
.....อัปปมาณสุภา
.....สุภกิณหา
.....เวหัปผลา
.....อสัญญีสัตว์
.....อวิหา
.....อตัปปา
.....สุทัสสา
.....สุทัสสี
.....อกนิฏฐา



อรูปาวจรธรรม หมายถึง ธรรมของผู้ที่ปรารภอรูปธรรมเป็นอารมณ์ คือผู้ที่ได้ฌาน หรือผู้ที่อยู่ในรูปภพทั้ง ๔ ชั้น ได้แก่.........
.....อากาสานัญจายตนภูมิ
.....วิญญาณัญจายตนภูมิ
.....อากิญจัญญายตนภูมิ
.... เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ



โลกุตตรธรรม หมายถึง ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก หรือสภาวะพ้นโลก
อันได้แก่.....
....โสดาปัตติมรรค
....สกทาคามิมรรค
....อนาคามิมรรค
....อรหัตตมรรค
....โสดาปัตติผล
....สกทาคามิผล
....อนาคามิผล
....อรหัตตผล
....นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าในการตัดขาดโดยชอบ ความว่า …………..

พระโยคาวจร ………..

…..ย่อมตัด “กามฉันทะ” ขาดโดยชอบ ด้วย “เนกขัมมะ”

…..ย่อมตัด “พยาบาท” ขาดโดยชอบ ด้วย “ความไม่พยาบาท”

…..ย่อมตัด “ถีนมิทธะ” ขาดโดยชอบ ด้วย “อาโลกสัญญา”

…..ย่อมตัด “อุทธัจจะ” ขาดโดยชอบ ด้วย “ความไม่ฟุ้งซ่าน”

…..ย่อมตัด “วิจิกิจฉา” ขาดโดยชอบ ด้วย “การกำหนดธรรม”

…..ย่อมตัด “อวิชชา” ขาดโดยชอบ ด้วย “ญาณ”

…..ย่อมตัด “อรติ” ขาดโดยชอบ ด้วย “ความปราโมทย์”


…..ย่อมตัด “นิวรณ์” ขาดโดยชอบ ด้วย
“....ปฐมฌาน
......ทุติยฌาน
......ตติยฌาน
......จตุตถฌาน
......อากาสานัญจายตนสมาบัติ
......วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
......อากิญจัญญายตนสมาบัติ
......เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ”


…..ย่อมตัด “กิเลสทั้งปวง” ขาดโดยชอบ ด้วย “อรหัตมรรค”



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ในนิโรธ ความว่า …………..

พระโยคาวจร ………..

…..ย่อมทำ “กามฉันทะ” ให้ดับ ด้วย “เนกขัมมะ”

…..ย่อมทำ “พยาบาท” ให้ดับ ด้วย “ความไม่พยาบาท”

…..ย่อมทำ “ถีนมิทธะ” ให้ดับ ด้วย “อาโลกสัญญา”

…..ย่อมทำ “อุทธัจจะ” ให้ดับ ด้วย “ความไม่ฟุ้งซ่าน”

…..ย่อมทำ “วิจิกิจฉา” ให้ดับ ด้วย “การกำหนดธรรม”

…..ย่อมทำ “อวิชชา” ให้ดับ ด้วย “ญาณ”

…..ย่อมทำ “อรติ” ให้ดับ ด้วย “ความปราโมทย์”


…..ย่อมทำ “นิวรณ์” ให้ดับ ด้วย
“....ปฐมฌาน
......ทุติยฌาน
......ตติยฌาน
......จตุตถฌาน
......อากาสานัญจายตนสมาบัติ
......วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
......อากิญจัญญายตนสมาบัติ
......เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ”


…..ย่อมทำ “กิเลสทั้งปวง” ให้ดับ ด้วย “อรหัตมรรค”


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ความไม่ปรากฏ" (อนุปฏฐานตา)

คำว่า “ความไม่ปรากฏ" ความว่า บุคคล………..


ผู้ได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ

ผู้ได้ความไม่พยาบาท ความพยาบาทย่อมไม่ปรากฏ

ผู้ได้ อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ

ผู้ได้ความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะย่อม ไม่ปรากฏ

ผู้ได้การกำหนดธรรม วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ

ผู้ได้ญาณ อวิชชาย่อม ไม่ปรากฏ

ผู้ได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ


ผู้ได้……
…..ปฐมฌาน
......ทุติยฌาน
......ตติยฌาน
......จตุตถฌาน
......อากาสานัญจายตนสมาบัติ
......วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
......อากิญจัญญายตนสมาบัติ
......เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นิวรณ์ย่อม ไม่ปรากฏ


ผู้ได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“สงบ" (สมํ)

คำว่า “สงบ" ความว่า บุคคล………..


เนกขัมมะเป็นธรรมสงบ เพราะท่าน ละกามฉันทะเสียแล้ว

ความไม่พยาบาทเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละความพยาบาท เสียแล้ว

อาโลกสัญญาเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละถีนมิทธะเสียแล้ว

ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอุทธัจจะเสียแล้ว

การกำหนดธรรมเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละวิจิกิจฉาเสียแล้ว

ญาณเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอวิชชาเสียแล้ว

ความปราโมทย์เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอรติเสียแล้ว


…..ปฐมฌาน
......ทุติยฌาน
......ตติยฌาน
......จตุตถฌาน
......อากาสานัญจายตนสมาบัติ
......วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
......อากิญจัญญายตนสมาบัติ
......เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
……….เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละนิวรณ์เสียแล้ว


อรหัตมรรคเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละกิเลส ทั้งปวงเสียแล้ว


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการ ตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร