วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 13:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




37.jpg
37.jpg [ 87.79 KiB | เปิดดู 6581 ครั้ง ]

ผู้เห็นไตรลักษณ์ถูกต้องตรงทางแล้ว จะรู้เข้าใจคุณค่าชีวิตทั้งสองด้าน คือ ทางการทำจิต

และด้านการทำกิจหน้าที่

บอกว่าเห็นไตรลักษณะแล้วทิ้งหน้าที่ เบื่อหน่ายชีวิต รังเกียจชีวิต อย่างนี้น่ะของปลอม คือ ยังไม่ถึงขั้น

พุทธธรรม ที่ควรมีควรเป็น ยังไม่ถึงขั้นการเข้าถึงอย่างแท้ๆ


ศึกษาจากพุทธธรรมหน้า 70/36 ต่อไปนี้

คุณค่าทางจริยธรรม


ในด้านคุณค่าทางจริยธรรม คำสอนต่างๆ มักอ้างอิงถึง อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง มากกว่า

ลักษณะอื่นอีกสองอย่าง

ทั้งนี้เพราะความไม่เที่ยง เป็นภาวะที่ปรากฏชัด มองเห็นง่าย

ส่วนทุกขตา เป็นภาวะที่มองเห็นยากปานกลาง จัดเป็นลำดับที่สอง

และอนัตตตา เป็นภาวะที่ประณีต มองเห็นยากได้ที่สุด จัดเป็นลำดับสุดท้าย


อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวถึงอนิจจตา ที่มองเห็นได้ง่าย เพื่อเป็นพื้นฐานเบื้องต้น

ที่จะนำเข้าสู่ความเข้าใจในทุกขตาและอนัตตตา ต่อไป


พุทธพจน์สองแห่งต่อไปนี้ อาจถือได้ว่า เป็นตัวแทนที่ชี้ถึงคุณค่าทางจริยธรรม ๒ ประการ

ของไตรลักษณ์ คือ

๑. “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา

เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ความสงบแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข”

(ที.ม.10/186/226 ฯลฯ)


๒. “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาท

ให้ถึงพร้อม (หรือ จงบำเพ็ญกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่มาท)” *




* พุทธพจน์ (ข้อ ๒) นี้ เป็นปัจฉิมวาจาของพระพุทธเจ้า ถือกันว่ามีความสำคัญอย่างมาก

มาใน ที.ม.10/107/141; 143/180 ; สํ.ส.15/620/231;

พระเรวตะ และพระสารีบุตรกล่าวคล้ายกันนี้ใน ขุ.เถร. 26/382/363; 396/405)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ม.ค. 2010, 19:15, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ข้อที่ ๑ ชี้ถึงคุณค่าในด้านการวางใจต่อสังขาร คือโลกและชีวิต ให้รู้เท่าทันว่า

สิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นสภาพปรุงแต่ง ล้วนไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ต้องเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไป ไม่อาจคง

สภาพเดิมอยู่ได้ มิใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปได้ตามความปรารถนา มันเป็นไปตามเหตุ

ปัจจัย และเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก็จะมีท่าทีของจิตใจที่ถูกต้อง ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย แม้สิ่งทั้งหลาย

ที่พบเห็นเกี่ยวข้องจะแปรปรวนเสื่อมสลายพลัดพรากสูญหายไป จิตใจไม่ถูกครอบงำย่ำยีบีบคั้น

ยังคงปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบานอยู่ได้ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมดา

คุณค่าข้อนี้ เน้นความหลุดพ้น เป็นอิสระของจิตใจ เป็นระดับโลกุตระ เรียกง่ายๆว่า

คุณค่าด้านการทำจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ค. 2010, 09:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ข้อที่ ๒ ชี้ถึงคุณค่าในด้านการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความมีชีวิตที่เรียกว่า เป็นอยู่หรือดำเนินไป

อย่างถูกต้องดีงามในโลก อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ทั้งแก่ตนเองและบุคคลอื่น และเพื่อให้เข้า

ถึงบรมธรรมที่เป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต โดยให้รู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งชีวิต

และโลก ล้วนเกิดจากองค์ประกอบทั้งหลายประมวลกันขึ้น ดำรงอยู่ได้ชั่วคราว ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน

มีความบีบคั้น กดอัดขัดแย้งแฝงอยู่ทั้งภายนอกและภายใน จะต้องทรุดโทรมแตกสลายเปลี่ยน

แปลงกลายรูปไป ไม่อยู่ในอำนาจของความปรารถนา ขึ้นต่อเหตุปัจจัยและเป็นไปตามเหตุปัจจัย

กระบวนการ แห่งความเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยนี้ ดำเนินไปตลอดทุกขณะ ไม่รอเวลา

ไม่คอยความปรารถนา ไม่ฟังเสียงเรียกร้องวิงวอนของใคร เฉพาะอย่างยิ่ง ชีวิตนี้สั้นนัก

และไม่แน่นอน จะวางใจมิได้เลย เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก็จะได้กระตือรือร้นเร้าเตือน กระตุ้นตนเองให้เร่งรัด

ขวนขวายทำสิ่งที่ควรทำ และเว้นสิ่งที่ควรเว้น ไม่ละเลย ไม่รอช้า ไม่ปล่อยเวลาและโอกาสให้สูญ

เสียไปเปล่า เอาใจใส่แก้ไขสิ่งเสียหายที่ได้เกิดขึ้น ระมัดระวังป้องกันหนทาง ที่จะเกิดความเสื่อม

ทรุดเสียหายต่อไป และสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ความเจริญก้าวหน้า โดยไตร่ตรองพิจารณาและดำเนิน

การด้วยปัญญา อันรู้ที่จะจัดการตามเหตุปัจจัย ทำให้เกิดผลสำเร็จด้วยดีทั้งในแง่กิจที่ทำและจิตใจ

ของตน

คุณค่าขอนี้ เน้นด้านความไม่ประมาทเร่งรัดทำกิจ เป็นระดับโลกียะ เรียกง่ายๆว่า

คุณค่าด้านการทำกิจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ค. 2010, 09:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอบคุณสำหรับข้อความดีดีที่นำมาให้อ่านนะคะ ชอบมากเลยค่ะ
:b17: :b17: นู๋เอ

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


คุณค่าข้อที่ ๒ นี้ จะต้องใช้กับเรื่องของชีวิตและกิจต่อโลกทุกขั้นทุกระดับ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยส่วนตัว

จนถึงความเรียบร้อยดีงามของสังคมส่วนรวม ตั้งแต่ประโยชน์ขั้นต้นจนถึงประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การ

ประกอบการงานอาชีพ แสวงหาทุนทรัพย์ ของคฤหัสถ์ จนถึงการบำเพ็ญเพียรแสวงหาโพธิญาณ

ของพระพุทธเจ้า


ดังจะเห็นพุทธพจน์ต่อไปนี้ เป็นเครื่องชี้คุณค่า

ชุดที่ ๑

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ตน (อัตตัตถะ) ก็ควรทีเดียวที่จะยังประโยชน์นั้น

ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท

เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะ) ก็ควรทีเดียวที่จะยังประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม

ด้วยความไม่ประมาท

เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (อุภยัตถะ) ก็ควรทีเดียวที่จะยังประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม

ด้วยความไม่ประมาท”

(สํ.นิ. 16/67/35 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ค. 2010, 09:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชุดที่ ๒

“มหาบพิตร ธรรมเอกอันเดียวที่ยึดเอาประโยชน์ (อัตถะ) ให้ได้ทั้งสองอย่างคือทั้งประโยชน์

ในบัดนี้ (หรือ ประโยชน์สามัญที่ตาเห็น = ทิฏฐธัมมิกัตถะ) และ

ประโยชน์ในเบื้องหน้า (หรือประโยชน์ที่ลึกล้ำยิ่งขึ้นไป= สัมปรายิกัตถะ) นั้น มีอยู่ ฯลฯ นั้น

คือ ความไม่ประมาท (อัปปมาทะ) ฯลฯ

ผู้ไม่ประมาทเป็นบัณฑิต ย่อมยึดเอาได้ ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่าง คือทั้งประโยชน์บัดนี้

และประโยชน์เบื้องหน้า จะเรียกว่า ธีรชน (หรือ) บัณฑิต ก็เพราะบรรลุประโยชน์ (ทั้งสองนี้)”

(สํ.ส. 15/378/-380 ฯลฯ)



ชุดที่ ๓

-----๑. “ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ ผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล อาศัยความไม่ประมาทเป็นเหตุ

ย่อมประสบกองโภคะอันใหญ่”

(องฺ.ปญฺจก. 22/213/281 ฯลฯ)


-----๒. “ภิกษุทั้งหลาย ความตรัสรู้ (โพธิ) อันเรานั้น ได้บรรลุด้วยความไม่ประมาท

แม้นหากพวกเธอ จะพึงเพียรพยายาม อย่างไม่ระย่อท้อถอย ฯลฯ ไม่นานเลย

แม้พวกเธอ ก็จะประจักษ์แจ้งจุดหมาย ของชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เข้าถึงได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

เองในชาตินี้ทีเดียว”

(องฺ.ทุก. 20/251/64)


คุณค่าสองข้อนั้น สัมพันธ์กันและเสริมกัน เมื่อปฏิบัติให้ได้คุณค่าครบทั้งสองอย่าง จึงจะได้รับ

ประโยชน์บริบูรณ์ และคุณค่าทั้งสองนี้ยังมีรายละเอียดที่พึงทราบเพิ่มเติม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1672807riz9vk7w5v.gif
1672807riz9vk7w5v.gif [ 108.57 KiB | เปิดดู 6433 ครั้ง ]
ต่อ - ผู้ปฏิบัติกรรมฐานทำความเข้าใจข้อความ ๒ ข้อต่อไปนี้


๑. คุณค่าด้านการทำจิต หรือ คุณค่าเพื่อความหลุดพ้นเป็นอิสระ


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


คุณค่าด้านนี้ พร้อมทั้งหลักปฏิบัติ เพื่อการเข้าถึงคุณค่านั้น เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยจุดหมายสูงสุด

ของพุทธธรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ สำคัญ เป็นส่วนคลุมยอดของระบบทั้งหมดของพระพุทธศาสนา

มีขอบเขตกว้างขวาง

อีกทั้งมีรายละเอียดในการปฏิบัติ ที่พึงทำความเข้าใจโดยเฉพาะ

คัมภีร์ทั้งหลาย จึงกล่าวถึงบ่อยและมาก

บางคัมภีร์ ก็นำมาประมวลแสดงเป็นขั้นตอนตามลำดับโดยตลอด ดังเช่นคัมภีร์วิสุทธิมรรค

เป็นต้น


ตามปกติ ผู้เจริญปัญญาด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ จะพัฒนาความเข้าใจ ต่อโลกและชีวิต

ให้เข้มคมชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกับมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพจิต

เป็นขั้นตอนสำคัญ ๒ ขั้นตอน คือ



ขั้นตอนที่ ๑

เมื่อเกิดความรู้เท่าทันสังขาร มองเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่เป็นตัวตน

ชัดเจนขึ้นในระดับปานกลาง จะมีความรู้สึกทำนองเป็นปฏิกิริยาเกิดขึ้น คือรู้สึกในทางตรงข้าม

กับความรู้สึกที่เคยมีมาแต่เดิม

ก่อนนั้น เคยยึดติดหลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น มัวเมา เพลิดเพลินอยู่กับสิ่งนั้น

คราวนี้ พอมองเห็นไตรลักษณ์เข้าแล้ว ความรู้สึกเปลี่ยนไป กลายเป็นรู้สึกเบื่อหน่าย รังเกียจ

อยากหนีไปเสียให้พ้น

บางที ถึงกับรู้สึกเกลียดกลัว หรือ ขยะแขยง นับว่าเป็นขั้นที่ความรู้สึกแรงกว่าความรู้

แม้ว่า จะเป็นขั้นตอนที่ปัญญายังไม่สมบูรณ์ และ ความรู้สึกยังเอนเอียง แต่ก็เป็นขั้นตอน

ที่สำคัญ หรือ บางทีถึงกับจำเป็น ในขณะที่จะถอนตนให้หลุดออกไปได้จากความหลงใหล

ยึดติด ซึ่งเป็นภาวะที่มีพลังแรงมาก เพื่อจะสามารถก้าวต่อไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์ ในขั้นตอนที่ ๒ ต่อไป

ในทางตรงข้าม ถ้าหยุดอยู่เพียงขั้นนี้ ผลเสียจากความรู้สึกที่เอนเอียงก็จะเกิดขึ้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ต.ค. 2009, 15:37, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



(ขอแทรกตัวอย่าง จากผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง เป็นเครื่องยืนยัน ให้ผู้อ่านข้อความข้างบน

ซึ่งคิดนึกไม่ออกได้ดูเป็นตัวอย่าง ดังเขาเล่าไว้ดังนี้)
=>



ทำยังไงดีคะ

ทำไมรักถึงรู้สึกว่า ตัวเองทำไมมันสกปรกจังเลย ใจเราก็สกปรกปะปนไปด้วยกิเลสต่างๆ

รู้สึกว่า ตัวรักเองเป็นคนบาปหนามากๆ

ทั้งๆที่ก็ไม่ปรารถนาทำบาปทำชั่ว มีรักมีห่วงมีหวงมีหึง

ไม่โลภไม่อยากได้ของๆใคร

มีโกรธบ้าง แต่ก็ไม่แค้นหรือคิดอาฆาตใคร (โกรธแป๊บๆ)

ไม่ถึงกับหลงหรือมัวเมามาก..ข้อนี้ไม่กล้าจะฟันธงแต่จะใช้สติพิจารณาเพื่อไม่ให้หลงหรือมัวเมา

และก็มีพรหมวิหาร 4 อยู่กับตัว


ทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกเหล่านี้ขึ้น จะรู้สึกหดหู่ใจ รู้สึกอึดอัดขัดจิตไปหมดเลยค่ะ นึกรู้ขึ้นมาทีไรแล้ว

รู้สึกคลื่นไส้

บางทีก็นั่งร้องไห้แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเฉยเลย

(เวลาร้องไห้ด้วยอารมณ์แบบนี้รักจะร้องไปคิดถึงพระพุทธเจ้าไป เพราะรู้สึกเป็นทุกข์ใจ

และสับสนไม่รู้ว่าคืออะไร ? และต้องทำอย่างไร?)


อารมณ์แบบนี้ จะขึ้นมาเป็นพักๆค่ะ ไม่ได้เกิดขึ้นตลอด จนทำให้เกิดอาการสับสน ทำอะไรไม่ถูก

หาทางออกให้กับอารมณ์ใจของตัวเองไม่ได้

รู้แต่โดยปกติจะนึกถึงความตายไว้กับตัวตลอด หลังๆจะฝึกการภาวนานึกถึงพระนิพพานอยู่บ่อยๆ

เพราะภาวนานึกถึงพระนิพพานแล้วจะรู้สึกสงบเย็น

(มีบ้างอยู่บ่อยๆที่ลืมภาวนา พอนึกได้ก็จะภาวนา แต่เรื่องความตายจะนึกอยู่ตลอด

แล้วก็ตั้งใจจะถือศีล 5 ตลอดชีวิตมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาน่ะค่ะ)


ใคร่ขอคำแนะนำจากผู้รู้ค่ะ ว่าเมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดจนทำให้เรารู้สึก อึดอัดไม่สบายกายไม่สบายใจ

ไปหมด

รักควรทำอย่างไรดีคะ สิ่งที่เกิดนั้นคืออะไร ทำไมถึงทำให้มีความรู้สึกแบบนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.ย. 2009, 05:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1588005lhu1nq7vr7.gif
1588005lhu1nq7vr7.gif [ 27.38 KiB | เปิดดู 6365 ครั้ง ]

เมื่อผู้ปฏิบัติธรรม หรือทำกรรมฐานถึงภาวะ คห.บน พึงกำหนดอารมณ์นั้นต่ออีก รู้สึกอย่างไรกำหนด

อย่างนั้น ตามที่รู้สึก แล้วจิตจะพัฒนาถึงขั้นที่ ๒ พึงทราบขั้นที่ ๒ ต่อดังนี้



:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

ขั้นตอนที่ ๒

เมื่อความรู้เท่าทันนั้น พัฒนาต่อไป จนกลายเป็นความรู้เห็นตามความเป็นจริง

ปัญญาเจริญเข้าสู่ภาวะสมบูรณ์ เรียกว่า รู้เท่าทันธรรมดาอย่างแท้จริง

ความรู้สึกเบื่อหน่าย รังเกียจและอยากจะหนีให้พ้นไปเสียนั้น ก็จะหายไป

กลับรู้สึกเป็นกลาง ทั้งไม่หลงใหล ทั้งไม่หน่ายแสยง ไม่ติดใจ

แต่ก็ไม่รังเกียจ ไม่พัวพัน แต่ก็ไม่เหม็นเบื่อ

มีแต่ความรู้ชัดตามที่มันเป็น และความรู้สึกโปร่งโล่งเป็นอิสระ พร้อมด้วยท่าที

ของการที่จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ไปตามความสมควรแก่เหตุผล และตามเหตุปัจจัย

พัฒนาการ ทางจิตปัญญาขั้นนี้ ในระบบการปฏิบัติของวิปัสสนา ท่านเรียกว่า

สังขารุเปกขาญาณ (ญาณ อันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร)

เป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นในการที่จะเข้าถึงความรู้ ประจักษ์แจ้งสัจจะและความเป็นอิสระ

ของจิตโดยสมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ต.ค. 2009, 15:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว




00008_1.jpg
00008_1.jpg [ 25.61 KiB | เปิดดู 6336 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ อาจารย์

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับคุณกรัชกายด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณค่าด้านความเป็นอิสระหลุดพ้นของจิตนี้ โดยเฉพาะในระดับที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว

(ถึงขั้นตอนที่ ๒) จะมีลักษณะและผลข้างเคียงที่สำคัญ ๒ ประการ คือ


๑) ความปลอดทุกข์ คือ เป็นอิสระหลุดพ้นจากความรู้สึกบีบคั้นที่เกิดจากความยึดติดถือมั่นต่างๆ

มีความสุขที่ไม่อิงอาศัยอามิส หรือไม่ขึ้นต่อสิ่งล่อ ปลอดโปร่ง ผ่องใส สดชื่นเบิกบาน

ไร้กังวล ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก ไม่เหี่ยวแห้งไปตามความผันผวนปรวนแปรขึ้นลงๆที่เรียกว่า

โลกธรรม

ไม่ถูกกระทบกระแทก เนื่องจากความสูญเสียเสื่อมสลายพลัดพราก เป็นต้น

ลักษณะข้อนี้ มีผลครอบคลุมไปถึงจริยธรรมด้วย ในแง่ที่จะไม่ก่อปัญหา

เนื่องจากการระบายทุกข์ของตนแก่ผู้อื่น หรือแก่สังคม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง

ของปัญหาทางจริยธรรมโดยทั่วไป และในแง่ที่มีจิตใจซึ่งมีสภาพ ซึ่งง่ายต่อการเกิดขึ้น

ของคุณธรรม โดยเฉพาะความเมตตากรุณา ความมีไมตรีจิตมิตรภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกื้อกูล

แก่จริยธรรมเป็นอันมาก



๒) ความปลอดกิเลส คือ เป็นอิสระหลุดพ้นจากอำนาจบีบคั้นครอบงำและบงการของกิเลส

ทั้งหลาย เช่น ความโลภ ความโกรธ ความติดใคร่ ชอบชัง ความหลง ความริษยา

และความถือตัวถืออำนาจ เป็นต้น โปร่งโล่ง เป็นอิสระ สงบ และบริสุทธิ์

ลักษณะข้อนี้ มีผลโดยตรงต่อจริยธรรม ทั้งด้านภายในที่จะคิดการ หรือใช้ปัญญาอย่างบริสุทธิ์

อิสระ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบชัง รังเกียจและความปรารถนาผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นต้น

ตลอดจนสามารถทำการต่างๆ ที่ดีงามตามเหตุผลได้อย่างจริงจังเต็มที่ เพราะไม่มีกิเลสเช่น

ความเกียจคร้าน ความห่วงผลประโยชน์เป็นต้น มาคอยยึดถ่วงหรือดึงไว้ให้พะวักพะวน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี คุณค่าข้อที่ ๑ นั้น ในขั้นที่อยู่ระหว่างกำลังพัฒนา ยังไม่สมบูรณ์สิ้นเชิง

ถ้ามีแต่ลำพังอย่างเดียว ก็มีช่องทางเสียคือ อาจก่อให้เกิดโทษได้

ตามหลักที่ว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้

กล่าวคือเมื่อทำจิตได้แล้ว ใจสบายมีความสุขแล้ว ก็ติดใจเพลิดเพลินอยู่กับความสุขทางจิตเสีย

หรือพอใจในผลสำเร็จทางจิตนั้น แล้วหยุดความเพียรพยายามเสีย หรือปล่อยปละละเลย

ไม่เร่งทำกิจที่ควรทำ ไม่จัดการแก้ไขปัญหาภายนอกที่ค้างคาอยู่ เรียกว่าตกอยู่ในความประมาท

ดังตัวอย่างในพุทธพจน์ที่ว่า


“นันทิยะ อย่างไรอริยสาวกจะชื่อว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพระพุทธเจ้า...

ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะยอมรับ...อริยสาวกนั้น

พอใจ (หรือ อิ่มพอ = สันโดษ) ด้วยความเลื่อมใส...ด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะยอมรับ

เหล่านั้น ย่อมไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป ฯลฯ อย่างนี้แล นันทิยะ อริยสาวก

ชื่อว่า เป็นอยู่ด้วยความประมาท”

(สํ.ม.19/1601/500)


ทางออกที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียที่กล่าวถึงนี้ ก็คือ จะต้องปฏิบัติตามหลักการที่จะให้เกิดคุณค่า

ข้อที่ ๒ ควบคู่กันไปด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว




7515th.gif
7515th.gif [ 26.16 KiB | เปิดดู 6271 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาสาธุ ด้วยท่านกรัชกาย สำหรับข้อมูลหลักธรรมคำสอน

แต่ยังสงสัยว่า ถ้าเราไม่ละทางโลกแล้ว เราจะพบนิพพานได้อย่างไร
เช่นเวลาอ่านประวัติ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ล้วนแต่ละทางโลกทั้งสิ้น

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




158.gif
158.gif [ 12.55 KiB | เปิดดู 6263 ครั้ง ]
บัวไฉน เขียน:
แต่ยังสงสัยว่า ถ้าเราไม่ละทางโลกแล้ว เราจะพบนิพพานได้อย่างไร
เช่นเวลาอ่านประวัติ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ล้วนแต่ละทางโลกทั้งสิ้น



ทางโลกก็ดี

นิพพานก็ดี ตามความเข้าใจคุณบัวไฉนได้แก่อะไรครับ

โดยเฉพาะ "ทางโลก"
ละทางโลก ต้องอย่างไร เช่น...

ขอฟังความเห็นส่วนตัวหน่อยครับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.ย. 2009, 16:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร