วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 12:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง ตรงตามที่พุทธองค์ ทรงตรัสไว้ สัจจะในไตรลักษณ์มันคืออะไร ท่านกรัชกาย สรุปแบบย่อๆ ได้ไหมครับ มันยาวมั๊กๆๆๆ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


เมื่อทราบหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ ๒ ข้อนี้แล้ว จึงควรกำหนดคุณค่าต่างๆ ในทางจริยธรรม ของหลัก

ทุกขตา ดังต่อไป


๑) การที่สิ่งทั้งหลายถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้น การเจริญและการสลายตัว ทำให้เกิดความกดดัน

ขัดแย้ง และการที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้

ภาวะเช่นนี้แสดงว่า สิ่งทั้งหลายมีความบกพร่อง มีความไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว

ความบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์นี้ ยิ่งมีมีมากขึ้นโดยสัมพันธ์กับกาลเวลาที่ผ่านไป และความ

เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก

เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งทั้งหลายที่จะรักษาสภาพของตนไว้ หรือ ขยายตัวเข้าสู่ความสมบูรณ์

จึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงตัวอยู่ตลอดเวลา



๒) เมื่อความขัดแย้ง ดิ้นรนต่อสู้ เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยที่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง จะเป็นเหตุปัจจัย

ภายใน หรือ ภายนอกก็ตาม การฝืนแบบทื่อๆ ย่อมให้ผลร้ายมากกว่าผลดี

ไม่ว่าจะในกรณีของสิ่งต่างๆ บุคคล หรือ สถาบัน เช่น ในเรื่องของวัฒนธรรม เป็นต้น ดังนั้น

การรู้จักปรับตัวและปรับปรุงจึงเป็นเรื่องสำคัญ และข้อนี้ ย่อมเป็นการย้ำความจำเป็นของปัญญา

ในฐานะหลักจริยธรรมสำหรับรู้เท่าทัน และจัดการทุกสิ่งทุกอย่างให้ตรงตัวเหตุปัจจัย



๓) ความสุข และสิ่งที่ให้ความสุขอย่างที่เข้าใจกันในโลก ก็ตกอยู่ในหลักความจริงข้อนี้ด้วย

ความสุขเหล่านี้ ย่อมมีความไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว ในแง่ที่ว่า จะต้องแปรปรวนไปจากสภาพ

ที่เป็นความสุข หรือ จากสภาพที่จะหาความสุขนั้นได้อย่างหนึ่ง

และดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจให้ความพึงพอใจได้โดยสมบูรณ์อย่างหนึ่ง

ผู้ที่ฝากความหวังในความสุขไว้กับสิ่งเหล่านี้อย่างขาดสติ ย่อมเท่ากับทำตัวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว

กับความไม่สมบูรณ์ของสิ่งเหล่านั้น หรือ ทิ้งตัวลงไปอยู่ในกระแสความแปรปรวนของมัน

และถูกฉุดลาก

กดดันและบีบคั้นเอาอย่างควรคุมตัวเองไม่ได้ สุดแต่สิ่งเหล่านั้นจะแปรปรวนไปอย่างไร

ความหวังในความสุขมากเท่าใด เมื่อความแปรปรวนหรือผิดหวังเกิดขึ้น ความทุกข์ก็รุนแรงมากขึ้น

ตามอัตรา

เป็นการหาความสุขชนิดขายตัวลงเป็นทาส หรือเอาค่าของชีวิตเป็นเดิมพัน


ผู้หาความสุขที่ฉลาด เมื่อยังยินดีที่จะหาความสุขจากสิ่งเหล่านี้อยู่ จึงต้องมีชีวิตอยู่

อย่างรู้เท่าทันความจริง แสวงหาและเสวยความสุขอย่างมีสติสัมปชัญญะ โดยประการที่ว่า

ความแปรปรวนของมัน จะก่อโทษให้เกิดพิษภัย หรือเกิดความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ถึงจะเป็นอย่างไรก็ให้รักษาอิสรภาพของจิตใจไว้ให้ดีที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔) ความสุขแยกโดยคุณค่า มี ๒ ประเภท คือ

ความสุขในการได้สนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ และสนองความคิดอยากต่างๆ อย่างหนึ่ง

ความสุขในภาวะจิตที่ปลอดโปร่งผ่องใส ปราศจากสิ่งข้องขัด กีดกั้น จำกัดความนึกคิด เช่น

ความวิตกกังวล ความรู้สึกคับแคบ และกิเลสต่างๆ ที่พัวพันจิตใจ อย่างหนึ่ง

ความสุขประเภทแรก เป็นแบบที่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก คือ

วัตถุ และ อารมณ์สำหรับสนองความต้องการต่างๆ ลักษณะอาการของจิตในสภาพ

ที่เกี่ยวข้องกับความสุขประเภทนี้ คือ การแส่หาดิ้นรนกระวนกระวายเป็นอาการนำหน้า อย่างหนึ่ง

และความรู้สึกที่ยึดติด คับแคบ หวงแหน ผูกพันเฉพาะตัวอย่างหนึ่ง

อาการเหล่านี้ มีความสำคัญมากในทางจริยธรรม เพราะเป็นอาการของความยึดอยาก หรือ

ความเห็นแก่ตัว และในเมื่อไม่จัดการควบคุมให้ดี ย่อมเป็นที่มาแห่งปัญหาต่างๆ

การที่ต้องอาศัยอารมณ์อย่างอื่น ต้องขึ้นต่อปัจจัยภายนอกเช่นนี้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง

ที่ความสุขประเภทนี้ จะต้องทำให้ตัวบุคคลตกเป็นทาสของปัจจัยภายนอก ในรูปใดรูปหนึ่ง

ไม่มากก็น้อย

และความแปรปรวนของปัจจัยภายนอกนั้น ย่อมทำให้เกิดความกระทบกระเทือนแก่บุคคลนั้นด้วย

ความสุขประเภทนี้ ทางธรรมเรียกว่า สามิสสุข

เป็นความสุขเนื่องด้วยหาสิ่งสำหรับมาเติมความรู้สึกบางอย่างที่ขาดไป หรือพร่องอยู่ คือ

ต้องอาศัยอามิส (เหยื่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนความสุขประเภทหลัง เป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งสนองความอยาก (อารมณ์ภายนอก)

ต่างๆ มาเป็นองค์ประกอบ หรือเป็นเครื่องเสริม

เป็นภาวะของจิตใจภายใน อย่างที่เรียกได้ว่า เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีสิ่งรบกวน

โดยอาจบรรยายลักษณะได้ว่า เป็นความ

สะอาด เพราะไม่มีความรู้สึกที่เป็นกิเลสต่างๆ เข้าไปปะปนขุ่นมัว

สว่าง เพราะประกอบด้วยปัญญา มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

เห็นกว้างขวางไม่มีขีดจำกัด มีความเข้าอกเข้าใจ และพร้อมที่จะรับรู้พิจารณาสิ่งทั้งหลาย

ตามสภาววิสัย

สงบ เพราะไม่มีความกระวนกระวาย ปลอดจากสิ่งกังวลใจ ไม่ว้าวุ่นหวั่นไหว ผ่อนคลาย ราบเรียบ

เสรี เพราะเป็นอิสระ ไม่มีสิ่งที่จำกัดความนึกคิด ไม่มีความกีดกั้นข้องขัด โปร่งเบา

ไม่ยึดติด ไม่คับแคบ เปิดกว้าง แผ่ความรู้สึกรักใคร่ปรารถนาดีด้วยเมตตาไปยังมนุษย์

สัตว์ ทั่วหน้า

รับรู้ความทุกข์ของผู้อื่นด้วยกรุณา ร่วมบันเทิงใจด้วยมุทิตาในความสุขความรุ่งเรือง

สำเร็จของคนทุกคน

และ

สมบูรณ์ เพราะไม่มีความรู้สึกขาดแคลอน บกพร่อง ว้าเหว่ มีแต่ความแช่มชื่นเบิกบาน

เปรียบในทางร่างกายเหมือนการมีสุขภาพดี ย่อมเป็นภาวะที่เต็มเปี่ยมสมบูรณ์อยู่ในตัว

ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่อง

ในภาวะจิตเช่นนี้ คุณธรรมที่เป็นส่วนประกอบสำคัญก็คือ ความเป็น อิสระ ไม่เกี่ยวเกาะผูกพัน

เป็นทาส และ ปัญญา ความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง


คุณธรรมสองอย่างนี้ แสดงออกในภาวะของจิตที่เรียกว่า อุเบกขา คือ ภาวะที่จิตราบเรียบ

เป็นกลาง พร้อมที่จะเข้าเกี่ยวข้อง จัดการกับสิ่งทั้งหลายตามสภาววิสัย ตามที่ควรจะเป็น

ด้วยเหตุผลบริสุทธิ์

ความสุขประเภทนี้ มีคุณค่าสูงสุดทางจริยธรรม

ในทางจริยธรรม เรียกว่า นิรามิสสุข ไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่เป็นภาวะที่ไม่มีปัญหา

และช่วยขจัดปัญหา เป็นภาวะที่ประณีตลึกซึ้ง ซึ่งอาจเกินกว่าที่จะเรียกว่า เป็นความสุข

จึงเรียกง่ายๆว่า ความพ้นจากทุกข์ เพราะแสดงลักษณะเด่นว่า พ้นจากข้อบกพร่อง และความ

แปรปรวน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




38.jpg
38.jpg [ 79.53 KiB | เปิดดู 2975 ครั้ง ]
ในการดำรงชีวิตของชาวโลก ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับการแสวงหาความสุขประเภทที่หนึ่งอยู่ด้วย

เป็นธรรมดานั้น เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะได้รับสิ่งสนองความต้องการทุกอย่างได้ทันใจทุกครั้ง

ตลอดทุกเวลา

สมหวังเสมอไป และคงอยู่ตลอดไป เพราะเป็นเรื่องขึ้นต่อปัจจัยภายนอกและมีความแปรปรวน

ได้ตามกฎธรรมชาติ จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างสภาพจิตอย่างที่เรียกว่า ความสุข

ประเภทที่สองไว้ด้วย

อย่างน้อย พอเป็นพื้นฐานของจิตใจ ให้มีสุขภาพจิตดีพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ในโลกอย่างที่เรียกว่า

สุขสบาย มีความทุกข์น้อยที่สุด รู้จักว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไรต่อความสุขประเภทที่หนึ่งนั้น

เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาก่อให้เกิดความเดือดร้อน ทั้งแก่ตนและบุคคลอื่น

สภาพจิตเช่นนี้ จะสร้างขึ้นได้ ก็ด้วยการรู้จักมอง สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

เพื่อความมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งอาศัยการรู้เท่าทันหลักความจริงของธรรมชาติ

จนถึงขั้นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.ย. 2009, 20:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕) ในการแสวงหาความสุขประเภทที่หนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยภายนอกนั้น

จะต้องยอมรับความจริงว่า เป็นการเข้าไปสัมพันธ์กันของคู่สัมพันธ์อย่างน้อย ๒ ฝ่าย

เช่น บุคคล ๒ คน หรือ บุคคล ๑ กับ วัตถุ ๑ เป็นต้น

และแต่ละฝ่ายมีความทุกข์ มีความขัดแย้งบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ แฝงติดตัวมาด้วยกันอยู่แล้ว

เมื่อสิ่ง ที่มีความขัดแย้ง กับสิ่งที่มีความขัดแย้ง มาสัมพันธ์กัน

ก็ย่อมมีทางที่จะให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและระดับความรุนแรง

ตามอัตราการปฏิบัติผิด

ตัวอย่างง่ายๆ ในกรณีการแสวงหาความสุขนี้ เพื่อความสะดวก

ยกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสวยความสุข และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถูกเสวย

ทั้งผู้เสวยและผู้ถูกเสวย มีความบกพร่องและขัดแย้งอยู่ในตัวด้วยกันอยู่แล้ว เช่น

ตัวผู้เสวยเอง ไม่อยู่ในภาวะและอาการที่พร้อมอยู่ตลอดเวลา ที่จะถูกเสวย

ในภาวะเช่นนี้ เป็นไปไม่ได้ที่จะได้ฝ่ายเดียว โดยไม่ยอมเสียบ้างเลย

เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ไม่ตระหนักหรือไม่ยอมรับความจริงนี้

ย่อมถือเอาความยึดอยากของตนเป็นประมาณ และย่อมเกิดอาการขัดแย้งระหว่างกันขึ้น

เริ่มแต่ความขัดใจเป็นต้นไป

อนึ่ง อาการที่ผู้เสวยยึดอยากต่อสิ่งที่ถูกเสวยนั้น

ย่อมรวมไปถึงความคิดผูกหวงแหนไว้กับตน และความปรารถนาให้คงอยู่ในสภาพนั้น

ตลอดไปด้วย

อาการเหล่านี้ เป็นการขัดแย้งต่อกระบวนการของธรรมชาติ ที่เป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัยต่างๆ

จึงเป็นการนำตนเข้าไปขัดขวางความประสานกลมกลืนกันในกระบวนการธรรมชาติ

เมื่อดำรงตนอยู่ โดยไม่รู้เท่าทันความเป็นจริงเหล่านี้

ถือเอาแต่ความอยากความยึด คือ ตัณหาอุปาทานเป็นประมาณ ก็คือการเป็นอยู่อย่างฝืนทื่อๆ

ซึ่งจะต้องเกิดความกระทบกระทั่งขัดแย้ง บีบคั้น และผลสะท้อนกลับที่เป็นความทุกข์

ในรูปต่างๆ เกิดขึ้นเป็นอันมาก

ยิ่งกว่านั้น ในฐานะที่คู่สัมพันธ์ทั้งสองฝ่าย เป็นส่วนประกอบอยู่ในธรรมชาติ

ความสัมพันธ์ระหว่างกัน นอกจากจะเกี่ยวข้องไปถึงกระบวนการธรรมชาติทั้งหมด

เป็นส่วนรวมแล้ว ยังมักมีส่วนประกอบอื่นบางส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างพิเศษ

เป็นตัวการอย่างที่สามอีกด้วย เช่น บุคคลที่อยากได้ของสิ่งเดียวกัน เป็นต้น

ความยึดอยากที่ถูกขัด ย่อมให้เกิดปฏิกิริยาแสดงอความขัดแย้งออกมาระหว่างกัน เช่น

การแข่งขัน ต่อสู้ แย่งชิง เป็นต้น เป็นอาการรูปต่างๆ ของความทุกข์

ยิ่งจัดการกับปัญหาด้วยความยึดความอยากมากเท่าใด

ความทุกข์ก็ยิ่งรุนแรงเท่านั้น

แต่ถ้าจัดการด้วยปัญญามากเท่าใด ปัญหาก็หมดไปเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนัยนี้ จากอวิชชา หรือ โมหะ คือความไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น จึงอยากได้อย่างเห็น

แก่ตัวด้วยโลภะ เมื่อขัดข้องหรือถูกขัดขวาง และไม่มีปัญญารู้เท่าทัน ก็เกิดโทสะ ความขัดใจ

และความคิดทำลาย จากกิเลสรากเหง้า ๓ อย่างนี้

กิเลสรูปต่างๆ ก็ปรากฏขึ้นมากมาย เช่น ความตระหนี่ ความริษยา ความหวาดระแวง

ความฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล ความกลัว ความพยาบาท ความเกียจคร้าน ฯลฯ

เป็นการระดมสร้างปัจจัยแห่งความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในตัวมากขึ้นๆ

และกิเลสอันเป็นเครื่องหมายแห่งความขัดแย้งเหล่านี้ ย่อมกลายเป็นสิ่งสำหรับกีดกั้นจำกัด

และแยกตนเองออกจากความประสานกลมกลืนของกระบวนการแห่งธรรมชาติ ความขัดแย้งต่อ

ธรรมชาติ ย่อมส่งผลร้ายสะท้อนกลับมาบีบคั้นกดดันบุคคลนั่นเอง เป็นการลงโทษโดยธรรมชาติ

โดยนัยนี้ ทุกข์ในธรรมชาติ หรือ สังขารทุกข์ จึงแสดงออกมาเป็นความทุกข์ที่รู้สึกได้ในตัวตน

เช่น

- เกิดความรู้สึกคับแคบ มืด ขุ่นมัว อึดอัด เร่าร้อน กระวนกระวาย กลัดกลุ้ม

- เกิดผลร้ายต่อบุคลิกภาพ และก่อนอาการทางร่างกาย เช่น โรคภัยไข้เจ็บ

- ความทุกข์ที่เป็นอาการตาปกติทางร่ายกายอันเป็นธรรมดาสังขาร เช่น ความเจ็บปวด

ในยามป่วยไข้ ทวีความรุนแรงเกิดกว่าที่ควรจะเป็นตามปกติของมัน เพราะความเข้าไปยึด

ด้วยตัณหาอุปาทาน เป็นการซ้ำเติมตนเองหนักยิ่งขึ้น

- เป็นการก่อความทุกข์ ความขัดแย้ง ความคับแคบ อึดอัด ขุ่นมัว ให้เกิดแก่คนอื่นๆ

ขยายกว้างออกไป

- เมื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม แต่ละคน ต่างระดมสร้างกิเลสขึ้นมาปิดกั้นแยกตนเอง

ด้วยความเห็นแก่ตัว ความขัดแย้งต่างๆ ก็เกิดเพิ่มพูนมากขึ้น สังคมก็เสื่อมโทรมเดือดร้อน

เพราะผลกรรมร่วมกันของคนในสังคม

นี่คือกระบวนการทำให้สังขารทุกข์ เกิดกลายเป็นทุกขเวทนา หรือความทุกข์แท้ๆ (ทุกขทุกข์)

ขึ้นมา เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยอวิชชา มีชีวิตอย่างฝืนทื่อๆ ต่อกระบวนการ

ธรรมชาติ และปล่อยตัวลงเป็นทาสในกระแสของมัน เรียกสั้นๆว่า เพราะความยึดมั่นถือมั่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิถีที่ตรงข้ามจากนี้ ก็คือ

การเป็นอยู่อย่างรู้เท่าทันความจริง คือ รู้จักสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น แล้วเข้าไปเกี่ยวข้อง

ด้วยปัญญา

รู้จักที่จะปฏิบัติ โดยประการที่ว่า ทุกข์ในธรรมชาติ ที่เป็นไปตามสภาวะของมันเอง

ตามธรรมดาสังขาร จะคงเป็นแต่เพียงสังขารทุกข์อยู่ตามเดิมของมันเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิด

ความขัดแย้งเป็นพิษเป็นภัยมากขึ้น

ทั้งยังสามารถถือเอาประโยชน์จากสังขารทุกข์เหล่านั้นด้วย

โดยเมื่อรู้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดถือด้วยตัณหาอุปาทาน ก็ไม่เข้าไปยึดถือมัน

ไม่เป็นอยู่อย่างฝืนทื่อๆ ไม่สร้างกิเลสสำหรับมาขีดวงจำกัดตนเองให้กลายเป็นตัวการสร้าง

ความขัดแย้งขึ้นมาบีบคั้นตนเองมากขึ้น รู้จักที่จะอู่อย่างกลมกลืนประสานกับธรรมชาติ

ด้วยการประพฤติคุณธรรมต่างๆ ซึ่งทำใจให้เปิดกว้าง และทำให้เกิดความประสานกลมกลืน เช่น

เมตตา -ความรักความปรารถนาดีต่อกัน

กรุณา -ความคิดช่วยเหลือ

มุทิตา-ความบันเทิงใจ ในความสุขความสำเร็จของผู้อื่น

อุเบกขา-ความวางใจเป็นกลางตัดสินเหตุการณ์ตามเป็นจริง ตามเหตุปัจจัย และราบเรียบ ไม่หวั่นไหว

เพราะกระแสโลก

ความสามัคคี ความร่วมมือ การช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์แก่กัน เป็นต้น

อันเป็นการตรงข้ามกับกิเลสที่สร้างความขัดแย้ง และความคับแคบ เช่น ความเกลียดชัง

ความพยาบาท ความริษยา ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความแตกแยก เป็นต้น



นี่คือ วิถีแห่งความมีชีวิตที่ประสานกลมกลืนในธรรมชาติ

การสามารถถือเอาประโยชน์จากกฎธรรมชาติหรือใช้กฎธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ได้

การอยู่อย่างไม่สูญเสียอิสรภาพ

อย่างที่ว่า อยู่อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือ การมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นการมีชีวิตอยู่

อย่างประเสริฐสุด ตามพุทธพจน์ว่า “ปญฺญาชีวิง ชีวิตมาหุ เสฏฺฐัง”


(ขุ.สุ.25/311/360)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ความเข้าใจใน อนัตตา มีคุณค่าสำคัญทางจริยธรรม คือ


๑) ในขั้นต้น ทางด้านตัณหา ช่วยลดทอนความเห็นแก่ตัว มิให้ทำการต่างๆ โดยยึดถือ

แต่ประโยชน์ตนเป็นประมาณ ทำให้มองเห็นประโยชน์ในวงกว้าง ที่ไม่มีตัวตนมาเป็นเครื่อง

กีดกั้นจำกัด


อนึ่ง ภาวะที่สิ่งทั้งหลาย ไม่มีตัวตนของมันเอง เกิดจากส่วนประกอบและเป็นไปตามเหตุปัจจัย

นั้น สอนว่า สิ่งทั้งหลายจะปรากฏรูปเป็นอย่างไร

ย่อมแล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง ด้วยการบันดาลเหตุปัจจัย และชักโยงเชื่อมความสัมพันธ์ให้เป็นไป

ตามความมุ่งหมายและขอบเขตวิสัยความสามารถ

โดยนัยนี้ จึงเป็นการย้ำ ข้อที่ว่าบุคคลควรปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายตรงตัวเหตุปัจจัย

ด้วยท่าทีเป็นอิสระ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะให้ได้ทั้งผลสำเร็จ ตามความมุ่งหมาย และไม่เกิดทุกข์

เพราะตัณหาอุปาทาน


๒) ในขั้นกลาง ทางด้านทิฐิ ทำให้จิตใจกว้างขวางขึ้น สามารถเข้าไปเกี่ยวข้อง

พิจารณาและจัดการกับปัญหาและเรื่องราวต่างๆ โดยไม่เอาตัวตน ความอยากของตน

ตลอดจนความเห็น ความยึดมั่นถือมั่นของตนเข้าไปขัด

แต่พิจารณาจัดการไปตามตัวธรรม ตามตัวเหตุตัวผล

ตามที่มันเป็นของมันหรือควรจะเป็นแท้ๆ คือ สามารถตั้งอุเบกขา วางจิตเป็นกลาง

เข้าไปเพ่งตามที่เป็นจริง งดเว้นอัตตาธิปไตย ปฏิบัติตามหลักธรรมาธิปไตย


๓) ในขั้น การรู้หลักอนัตตา ก็คือ การรู้สิ่งทั้งหลาย ตามที่มันเป็นอย่างแท้จริง คือ

รู้หลักความจริงของธรรมชาติถึงที่สุด

ความรู้สมบูรณ์ถึงขั้นนี้ ทำให้สลัดความยึดมั่นถือมั่นเสียได้

ถึงความหลุดพ้น บรรลุอิสรภาพโดยสมบูรณ์ อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม

อย่างไรก็ดี ความรู้แจ่มแจ้งในหลักอนัตตา ต้องอาศัยความเข้าใจตามแนวปฏิจจสมุปบาท

และการปฏิบัติตามแนวมรรค


๔) กล่าวโดยทั่วไป หลักอนัตตา พร้อมทั้งหลักอนิจจตา และหลักทุกขตา เป็นเครื่องยืนยัน

ความถูกต้องแท้จริง ของหลักจริยธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะหลัก กรรม และหลักการปฏิบัติ

เพื่อความหลุดพ้น เช่น

เพราะสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน ความเป็นไปในรูปกระแสแห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์สืบต่อเนื่อง

อาศัยกัน จึงเป็นไปได้

กรรม จึงมีได้

และเพราะสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน ความหลุดพ้นจึงมีได้ ดังนี้ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี คำอธิบายในเรื่องนี้ จะต้องพิจารณาตามแนวปฏิจจสมุปบาทด้วย




(ปฏิจจสมุปบาท โดยสรุป ท่านแสดงการเกิด การดับของทุกข์เท่านั้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ม.ค. 2010, 18:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ยังอีกยาว แต่ขอแทรกตัวอย่างหนึ่งให้พิจารณาก่อน




กระผมภาวนามาเกือบ 3 เดือนแล้ว คือทำวัตรเช้า-เย็น แล้วก็นั่งสมาธิเดินจงกรมทุกวัน
ประมาณ 1-4 ชั่วโมง พึ่งมาปฏิบัติเอาจริงๆจังๆ ประมาณอาทิตย์กว่าๆ คือว่าผมเลิกจากทำงานประมาณ 16.30 น. จากนั้นผมจะทำความสะอาดบริเวณรอบบ้านให้สะอาดคือทำทุกวันถือเป็นกิจวัตร
และไม่กินข้าวเย็นถือเป็นกิจวัตรประจำวัน คือว่าจะตัดความสบายออกจากจิตไม่ติดในวัตถุต่างๆ เป็นกิจวัตร
และรูปนามต่างๆ นุ่งขาวห่มขาวทุกวัน

ช่วงที่หนึ่ง. จิตรู้จักสัมผัสธรรมชาติในรอบตัวของเรา ว่าเป็นธรรมะทุกลมหายใจทุกวินาที
ไม่ว่าจิตจะคิดอะไรก็เป็นธรรมชาติเป็นธรรมะหมดทุกอย่างเลยครับ
ผมปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็ยังติดอยู่ในอารมณ์นั้นอยู่

ช่องที่สอง. จิตผมมันไม่ยึดติดในอารมณ์นั้นแล้ว จิตดวงใหม่มันเกิดขึ้นมาแทนในอารมณ์นั้น
จิตมันนิ่งเข้าไปเรื่อยๆ จนเบาสบาย จิตมันไม่ยึดติดในทุกข์หรือว่าในสุข
ไม่ว่ารูป-นาม จิตมันพิจารณาละเอียดมาก ธาตุขันธ์ รูปนาม เหลือแค่สติที่ตั้งมั่น
อยู่ภายในจิตสติมันมีอยู่ทุกลมหายใจกำหนดรู้อย่างเดียวมันไม่เข้าไปยึดอะไรเลย

กรุณาช่วยตอบ การปฏิบัติขั้นต่อไปให้.ผมหน่อยครับ พอเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

กระผมเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายทางโลก คือการเกิด การเจ็บ การตาย การแย่งชิงดี
ชิงเด่น การหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ ต่างนาๆ ไม่ว่าจะเจอสิ่งแวดล้อมอะไรต่างๆ
ผมพิจารณาว่ามันเสื่อมเกดขึ้นแล้วก็ดับไป ยังไปหลงติดว่าเป็นตัวเป็นตนอยู่นั่นแหละ
ล้วนแล้วมันเป็นทุกข์ทั้งหมดเลย

http://larndham.net/index.php?showtopic=37133


นั่นยังไม่ใช่ธรรมที่ถูกต้อง เป็นเพียงการยึดติดถือมั่นความคิดอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 2851 ครั้ง ]
ให้ดูอีกรายหนึ่งที่เกิดเบื่อหน่ายชีวิตขณะปัจจุบัน

คือ ความรู้สึกนึกคิดยังเอนเอียงอยู่ นักปฏิบัติเมื่อเกิดอาการเบื่อเซ็งชีวิตเบื่อโลกเบื่อสังคม พึงกำหนดความคิด

นั่นตามที่รู้ หรือ ตามที่มันเป็น




อยากลาออกจากงานไปบวช

หลังจากภาวนามาได้สัก 4 ปี

เห็นว่าโลกมีแต่ทุกข์

วิบา่กที่ทำงานก็เยอะ เลยอยากบวช

http://larndham.net/index.php?showtopic=37233

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 พ.ย. 2009, 18:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โคตรภู เขียน:
เห็นไตรลักษณ์ถูกต้อง ตรงตามที่พุทธองค์ ทรงตรัสไว้ สัจจะในไตรลักษณ์มันคืออะไร ท่านกรัชกาย สรุปแบบย่อๆ ได้ไหมครับ มันยาวมั๊กๆๆๆ


ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฏแห่งปฏิจจสมุปบาท ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้น

แล้วสลายตัวไป พร้อมกับที่เป็นปัจจัยในมีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

ในภาวะเช่นนี้ ชีวิต หรือ ขันธ์ ๕ จึงเป็นไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์

สรุปก็คือรู้เห็นชีวิต หรือ กายใจนี้ตามที่มันเป็นของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ม.ค. 2010, 18:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




icon15.gif
icon15.gif [ 6.29 KiB | เปิดดู 2802 ครั้ง ]
ต่อ link นี้

viewtopic.php?f=7&t=28720

หากไปเห็นพุทธพจน์ข้างหน้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่าเพิ่งงง ท่านจำแนกออกจาก

ชีวิต หรือ กายกับใจนี่เอง

(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

รูป หรือ รูปธรรม ได้แก่ร่างกาย

ที่เหลือ เป็นนาม หรือ นามธรรม ได้แก่ จิตใจ

อนึ่ง รูปธรรม-นามธรรม ท่านยังจำแนกแจกแจงเป็น อายตนะ เป็นธาตุ เป็นอินทรีย์ อีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ม.ค. 2010, 18:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร