วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 05:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
คำกล่าวข้างต้นมาจากพระสูตรใดกันคะ....กรุณาระบุที่มาด้วยค่ะ
เข้าใจเช่นนี้จริงๆ หรือ
หรือรีบร้อนคัดลอกมาจนคลาดเคลื่อนไป...น่ากลัวจังนะคะ !!!

อ้างอิงคำพูด:
มหาราชันย์ เขียน:
จิตที่เป็นพื้นฐานของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรฉานนั้น คือ อกุศลวิบากครับ และทำหน้าที่เป็นภวังค์ด้วย คือรักษาภพในอบายนั้น ๆ ด้วย สัตว์นั้นจึงอาจเกิดในอบายซ้ำแล้วซ้ำอีกได้นับชาติไม่ถ้วน

ขออภัยนะครับ แต่เดิมได้พิมพ์ตก อ.อ่างไป 1 ตัว ได้แก้ไขแล้วครับ คำที่ถูกต้องคือ อกุศลวิบาก

ลองอ่านประวัติของท่านธัมมรุจิดูนะครับ ท่านกระทำกรรมฆ่ามารดาเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัป ในศาสนาของพระพุทธทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องเที่ยวอยู่ในอบายภพตลอด 4 อสงไขยแสนกัป ไม่มีโอกาสมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสุคติภพเลย เพิ่งจะมีโอกาสครั้งแรกในศาสนาพระสมณะโคดมสัมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น และเป็นชาติสุดท้าย

ที่ผมคัดค้านคุณกุหลาบสีชา เพราะไม่ต้องการให้แสดงธรรมที่ผิด การประมาทใน บิดา มารดา ประมาทในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีผลเป็นวิบากในอบายซ้ำแล้วซ้ำอีกนับชาติไม่ถ้วนแบบท่านธรรมรุจิเถระเป็นตัวอย่างครับ อกุศลวิบากจิตจึงทำหน้าที่รักษาภพเพื่อจุติและปฏิสนธิในอบายภพ

คุณกุหลาบสีชาและท่านผู้อ่านจะเชื่อคำท้วงติงจากผมหรือไม่ ก็สุดแล้วแต่กรรมของท่านทั้งหลายครับ ผมได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรที่ดีให้แล้ว

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

ธัมมรุจิเถราปทานที่ ๙
ว่าด้วยผลแห่งความพอใจในธรรม
[๗๙] ในเวลาที่พระพุทธเจ้าผู้พิชิตมารพระนามว่าทีปังกร ทรงพยากรณ์
สุเมธดาบสว่า ในกัปจากกัปนี้ไปนับไม่ถ้วน ดาบสนี้จักเป็นพระ
พุทธเจ้า พระมารดาบังเกิดเกล้าของดาบสนี้จักทรงพระนามว่ามายา
พระบิดาจักทรงพระนามว่าสุทโธทนะ ดาบสนี้จักชื่อว่าโคดม ดาบส
นี้จักเริ่มตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยาแล้ว จักเป็นพระสัมพุทธเจ้า
ผู้มียศใหญ่ ตรัสรู้ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ พระอุปติสสะและพระ
โกลิตะจักเป็นพระอัครสาวก ภิกษุอุปัฏฐากชื่อว่าอานนท์ จักบำรุง
ดาบสนี้ ผู้เป็นพระพิชิตมาร นางภิกษุณีชื่อว่าเขมาและอุบลวรรณา
จักเป็นอัครสาวิกา จิตตคฤหบดีและเศรษฐีชาวเมืองอาฬวี จักเป็น
อัครอุบาสิกา ไม้โพธิ์ของนักปราชญ์ผู้นี้เรียกว่าอัสสัตถพฤกษ์
มนุษย์และเทวดาได้สดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะหาใครเสมอเหมือนมิได้ ต่างก็เป็นผู้เบิกบาน
ประนมอัญชลีถวายนมัสการ
เวลานั้น เราเป็นมานพชื่อเมฆะ เป็น
นักศึกษา ได้สดับคำพยากรณ์อันประเสริฐซึ่งสุเมธดาบส ของ
พระมหามุนี เราเป็นผู้คุ้นเคยในสุเมธดาบสผู้เป็นที่อยู่แห่งกรุณา
และได้บวชตามสุเมธดาบส ผู้เป็นวีรบุรุษนั้น ผู้ออกบวชอยู่ เป็นผู้
สำรวมในพระปาติโมกข์และอินทรีย์ ๕ เป็นผู้มีอาชีวะหมดจด มี
สติ เป็นนักปราชญ์ กระทำตามคำสอนของพระพิชิตมาร

เราเป็นผู้อยู่เช่นนี้ ถูกบาปมิตรบางคนชักชวนในอนาจาร ถูกกำจัดจากหน
ทางอันชอบ เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก จึงได้หลีกไปจากพระ
ศาสนา ภายหลังถูกมิตรอันน่าเกลียดนั้น ชักชวนให้ฆ่ามารดา
เรามีใจอันชั่วช้าได้ทำอนันตริยกรรมฆ่ามารดา เราจุติจากอัตภาพนั้น
แล้ว เกิดในอเวจีมหานรกอันแสนทารุณ เราไปสู่วินิบาตถึงความ
ลำบากท่องเที่ยวไปนาน ไม่ได้เห็นสุเมธดาบสผู้เป็นนักปราชญ์ผู้
ประเสริฐกว่านระอีก ในกัปนี้ เราเกิดเป็นปลาติมิงคละ อยู่ในมหา
สมุทร เราเห็นเรือในสาครเข้าจึงเจ้าไปเพื่อจะกิน พวกพ่อค้าเห็น
เราก็กลัว ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราได้ยินเสียงกึกก้อง
ว่าโคตโม ที่พ่อค้าเหล่านั้นเปล่งขึ้น จึงนึกถึงสัญญาเก่าขึ้นมาได้

ต่อจากนั้น ได้ทำกาลกิริยา เกิดในสัญชาติพราหมณ์ ในสกุลอันมั่งคั่ง
ณ พระนครสาวัตถี เราชื่อว่าธัมมรุจิ เป็นคนเกลียดบาปกรรม
ทุกอย่าง พออายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้พบพระพุทธองค์ผู้ส่องโลกให้
โชติช่วง จึงได้ไปยังพระมหาวิหารเชตวัน แล้วบวชเป็นบรรพชิต
เราเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้งต่อคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง ครั้งนั้น พระ
องค์ผู้เป็นพระมหามุนี ทอดพระเนตรเห็นเราเข้า จึงได้ตรัสว่า ดูกร
ธัมมรุจิ ท่านจงระลึกถึงเรา ลำดับนั้น เรากราบทูลบุรพกรรมอย่าง
แจ่มแจ้งกะพระพุทธเจ้าว่า
เพราะปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ในปางก่อน ข้าพระองค์จึงมิ
ได้พบพระองค์ ผู้ทรงพระลักษณะแห่งบุญตั้งร้อย เสียนาน
วันนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นแล้วหนอ ข้าพระองค์เห็นพระ
สรีระของพระองค์ อันหาสิ่งอะไรเปรียบมิได้ ข้าพระองค์
ตามหาพระองค์มานานนักแล้ว ตัณหานี้ข้าพระองค์ทำให้
เหือดแห้งไปโดยไม่เหลือด้วยอินทรีย์สิ้นกาลนาน ข้าพระ-
องค์ชำระนิพพานให้หมดมลทินได้ โดยกาลนาน ข้าแต่
พระมหามุนี นัยน์ตาอันสำเร็จด้วยญาณ ถึงความพร้อม
เพรียงกับพระองค์ได้ก็สิ้นเวลานานนัก ข้าพระองค์พินาศ
ไปเสีย ในระหว่างอีกเป็นเวลานาน วันนี้ ได้สมาคมกับ
พระองค์อีก ข้าแต่พระโคดม กรรมที่ข้าพระองค์ทำไว้
จะไม่พินาศไปเลย.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธัมมรุจิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ธัมมรุจิเถราปทาน

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

นอกจากนี้ท่านยังสามารถเลือกอ่านได้หลายเรื่อง ทั้งบุญและบาปที่ให้ผลซ้ำ ๆ นับชาติไม่ถ้วนได้ครับ

http://www.tipitaka.com/tipitaka32.htm
http://www.tipitaka.com/tipitaka33.htm


:b43: :b43: :b43:

ด้วยความเคารพในพระรัตนตรัย
ด้วยความเคารพในคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยความเคารพในธรรม
และด้วยความเคารพในพระอริยะเจ้า พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทุกท่าน

:b8: :b8: :b8:

สวัสดีค่ะ ท่านมหาราชันย์.... :b8:

ประเด็นของพระสุปฏิปัณโณ ที่กุหลาบสีชากล่าวถึงนั้น
หากท่านมหาราชันย์พิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบว่า

ผู้ที่กุหลาบสีชา ขออนุญาตอัญเชิญบทพระนิพนธ์ที่ทรงวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้

มีตำแหน่งอันเป็นพระประมุขสงฆ์สูงสุดของท่านเป็นข้อรับรองในตนเองแล้ว

หรือหากท่านยังไม่กระจ่าง
กุหลาบสีชาก็ขอแนะนำให้ท่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15226

กุหลาบสีชาจะถือว่า ผู้ไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นไม่ผิด
แต่หากรู้ ก็นับว่าเป็นการจาบจ้วงที่อุจฉกรรจ์ มากมิใช่หรือ?!?


ท่านมหาราชันย์ คะ....

แม้เราจะมีทัศนะไม่ตรงกัน
อันเนื่องมาจากการ พิจารณา “คนละเรื่องเดียวกัน” ในมุมมองที่ต่างกัน
หรือมองเฉพาะด้าน หรือด้วยเหตุปัจจัยใดใด
เช่น ทักษะการถ่ายทอดความเข้าใจ การใช้คำ การศึกษาที่ยังไม่รอบคอบ ไม่มากพอ ฯลฯ

กุหลาบสีชาก็ต้องขออนุโมทนาอย่างจริงใจ :b8:
กับบอร์ดข้างต้นของท่านมหาราชันย์เป็นอย่างยิ่ง
กุหลาบสีชาเองก็ยังเคย ผิดพลาดจากการพิมพ์คำบางคำตกไป
จนทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนเหมือนกันค่ะ

(สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้งมิใช่หรือคะ) :b8: :b1:

ขอขอบพระคุณมากที่กรุณาแสดงธรรมด้วยความเพียร
แลกเปลี่ยนความเห็นกันตลอดมา
หากเป็นไปด้วยเจตนาของกัลยาณมิตรผู้มีความปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง
ดังที่ท่านปวารณาตัวไว้

อย่างไรก็ตาม ขอเรียนให้ท่านทราบว่า

กุหลาบสีชาไม่ได้เชื่อมั่น หรือภูมิใจในปัญญาของตนเป็นยิ่งนั้นดังที่ท่านเข้าใจ
เพราะกุหลาบสีชาเองก็ยังเป็นผู้ต้องศึกษา
และปฏิบัติอีกมากจาก “กายและใจ” ของตนนี่แหละค่ะ
โดยมีคัมภีร์ ตำรา คำสอนของครูบาอาจารย์เป็นแนวทางเท่านั้น


ส่วนการวินิจฉัยว่าสิ่งที่เราท่านทั้งหลายแสดงความเห็นนั้น
อะไรบ้างถูกผิดประการใด
ขอให้แต่ละท่านที่เขามาอ่านกระทู้นี้ และที่เกี่ยวข้อง
โปรดใช้วิจารณาญาณของตนเป็นที่ตั้ง และทำการศึกษา และปฏิบัติต่อไป


กุหลาบสีชาไม่ปรารถนาให้กระทู้นี้เป็นเหตุปัจจัยใหม่
ให้เราสั่งสมอกุศลวิบากกันอีกต่อไป
จึงต้องขออภัย และขออโหสิกรรมไว้ ณ ที่นี้ด้วย
กุหลาบสีชาเองก็จะอโหสิกรรมแก่ท่านในทุกกรณีที่ผ่านมาเช่นกัน


เจริญในธรรมเช่นกันค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียน ท่านเช่นนั้น.... :b8:

กุหลาบสีชาไม่ได้เข้าใจว่า

“ภวังคจิต” กับ “จิตตกภวังค์” หรือ “จิตอยู่ในภวังค์” นั้น
เป็นคำไวพจน์กัน ดังเช่นที่ท่านเข้าใจ

(คำที่เป็นไวพจน์กันนั้น หมายถึง คำที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก
อาทิเช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง ญาณ กับ ปัญญา ก็ว่า"
อีกนัยหนึ่ง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน อาทิเช่น
ใส กับ ไส โจทก์ กับ โจทย์ พาน กับ พาล)


แต่ในทัศนะของกุหลาบสีชา นั้น มีความเห็นว่า

ทั้งสองคำนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน
ทั้งนี้ผู้ใดจะเห็นด้วยหรือไม่
ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ


(แต่หากท่านเข้าใจว่าข้าพเจ้าเข้าใจเช่นนั้น
หรือไม่เห็นด้วยแต่ประการใด ก็แล้วแต่ทิฏฐิของท่านเถิด)


ในกรณีเช่นนี้ คล้ายคลึงกับเรื่องที่กุหลาบสีชาจะได้ยกมาให้โปรดให้พิจารณา
ดังต่อไปนี้

ในสังยุตตนิกาย ท่านจิตตคหบดี ท่านเป็นอานาคามีรู้ธรรมมาก
บางทีพระกำลังคุยกัน ยังตกลงกันไม่ได้
พอดีท่านจิตตคหบดีไป ก็เขามารุมถามว่า
ท่านคหบดี เรื่องนี้ๆ หมายความว่าอย่างไร

เช่นกำลังคุยกันว่า สังโยชน์ กับสังโยชนียธรรม
เป็นอันเดียวกันหรือต่างกัน
มีอรรถอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะต่างกัน
หรือว่ามีอรรถะต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน
พระเถระเหล่านั้นก็ไม่สามารถตกลงกันได้ คือไม่รู้

ท่านจิตตคหบดี ท่านบอกพระคุณเจ้า ถ้าอย่างนั้นผมจะอุปมาให้ฟังว่า

โคดำกับโคขาวผูกติดกันอยู่ มีเชือกมามัดติดกันอยู่
จริงๆ แล้วโคดำติดกับโคขาว หรือโคขาวติดอยู่กับโคดำ คือมีเชือกมัดอยู่
แต่โคขาวกับโคดำติดกันหรือเปล่า

พระก็ตอบว่า ไม่ติดกัน คหบดี
แต่ว่าเชือกเป็นสิ่งร้อยรัดอยู่ โคดำกับโคขาวไม่ได้ติดกัน

พระคุณเจ้า ตาไม่ติดรูป รูปไม่ติดตา หูไม่ติดเสียง เป็นต้นเรื่อย
ไปจนถึงใจไม่ติดธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ติดใจ
แต่ฉันทะราคะเกิดขึ้น เพราะอาศัยทั้ง ๒ อย่างนั้น
ทำให้ตากับรูปมีเครื่องผูกมัดเป็นสังโยชน์

ท่านจิตตคหบดีอธิบาย พระเข้าใจ
ตากับรูปเป็นสังโยชนียธรรม ฉันทะราคะเป็นสังโยชน์
เหมือนกันโคดำกับโคขาวที่ไม่ติดกัน แต่อาศัยเชือกมาเชื่อมกันอยู่

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : โอวาทปาติโมกข์ : ปรารถเรื่องต่างๆ ในพระพุทธศาสนา โดย วศิน อินทะสระ, หน้า ๓๔๑
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ตอนที่ว่าด้วย จิตตคหปติสังยุต ใน พระไตรปิฎกบาลี เล่มที่ ๑๘ ฉบับภาษาไทยของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่ม ๔ ภาค ๒ ของสังยุตตนิกาย)


:b43: :b43: :b43:

ดังนั้นเนื่องเพราะมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกันจึงต้องอธิบายตามลำดับ
ดังที่ปรากฏอยู่ในกระทู้นี้ และที่เกี่ยวข้อง
แต่คิดว่าคงจะไม่จำเป็นต้องอธิบายซ้ำไปมาอีกให้เปล่าประโยชน์
ตราบใดที่การอธิบายนั้นยังไม่ถึงซึ่งประโยชน์
ตามเจตนาของท่านที่มีเพียงตนเองเท่านั้นที่รู้ดี

ส่วนประเด็นที่ท่านกล่าวหากุหลาบสีชาว่า

การที่ยกคำอธิบายเรื่อง ภวังคจิต และอื่นๆ เกี่ยวกับจิตของสมเด็จพระสังฆราช
ที่กุหลาบสีชาลิงค์ไปเพื่อนำเสนอให้ท่านๆ อื่นๆ ที่สนใจได้ศึกษาพิจารณา
เป็นการจาบจ้วง ดึงพระองค์ท่านมาเกี่ยวข้องนั้น

อันเนื่องด้วยเรื่องของจิต : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
viewtopic.php?f=2&t=25524&p=139461#p139461

กุหลาบสีชาขอถามกลับว่า...

แล้วการที่ท่านกล่าวถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เช่นนี้ เขาเรียกว่าอะไร

ท่านมีเจตนาใดที่กล่าวออกมาเช่นนี้
ลักษณะเช่นนี้มิถือว่าเป็นการยิ่งกว่าจาบจ้วง และปรามาสพระอริยะเจ้า
อันเป็นครูบาอาจารย์ที่สาธุชนให้ความเคารพนับถือหรอกหรือ

เช่นนั้น เขียน:
จิตเป็นขันธ์ ไหน
ช่วงว่าง ของจิตเป็นขันธ์ไหน
จิตปราศจากสติ เป็นกุศลวิบากหรือ อกุศลวิบาก
สมาธิปล่อยวางบริกรรม หรือ ปัญญาปล่อยวางบริกรรม

อย่าเชื่อเพราะผู้นั้นเป็นครูของเรา
กำ ไม่มีแบ
เหอๆๆ


จิ ต อ ยู่ ใ น ภ วั ง ค์ : พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
viewtopic.php?f=2&t=25096

:b43: :b43: :b43:

เพราะเพียงการ “จับคำ” อันเป็นโวหารที่ครูบาอาจารย์ท่านแสดงไว้
ที่ท่านเห็นว่าไม่ตรงกับสิ่งที่ท่านยึด

โปรดตระหนักให้ดีว่า....

สภาวธรรมนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน
ครูบาอาจารย์แต่ละท่าน
อาจมีวิธีการอธิบายสภาวธรรมด้วยลีลาโวหารที่แตกต่างกันออกไป


มีผู้รู้ท่านกล่าวว่า

แม้พระอรหันต์บางท่านอาจจะอธิบาย หรือแสดงธรรมไม่เก่ง
แต่ท่านนั้นก็ได้ละกิเลสจนหมดสิ้นแล้ว


โวหาร ถ้อยคำ ก็เป็นเพียงสมมติบัญญัติ
หากเถียงเรื่องโวหารนั้น ยากที่จะจบ หรือ ไม่มีวันจบ

บางคำเมื่อสืบค้นแล้ว
อาจพบว่ายังไม่เคยปรากฏในพระไตรปิฏก
แต่อาจปรากฏในอรรถกถา หรือคัมภีร์ต่างๆ ในชั้นหลัง

หรือในบางกรณีหากผู้สนทนาถือตำราคนละเล่ม
แม้แต่พระสูตร กับ พระอภิธรรม
ก็จะยากจะหาจุดบรรจบ หากมัวแต่ยึดกับถ้อยคำ


จึงขอเรียนมาให้ทราบว่า....

หากท่านนำทิฏฐิของตนที่แบกพระไตรปิฏกไว้ แล้วนำไปใช้ในทางที่เสื่อม
โดยเที่ยวตระเวณไปตรวจสอบภูมิรู้ของผู้อื่น
เพื่อเสริมมานะมมังการของตน
โดยปราศจากการ “โอปนยิโก” น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติด้วยแล้ว
ด้วยท่าที และวิธีการที่กระทำอยู่ขณะนี้
ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสังเวชใจยิ่งนัก
และเหล่าบัณฑิตที่แท้จริงเขาก็ไม่ได้เรียกว่าสนทนาแต่อย่างใด

เพราะหากเป็น “คฤหัสถ์” นี่ก็ถือมิใช่วิสัยของบัณฑิตที่จะเจริญรุ่งเรืองในธรรมต่อไป
และหากเป็น “สมณะ” นี่ก็ยิ่งมิใช่วิสัยของสังฆสาวกผู้ดำเนินตามรอยของพระพุทธเจ้า


นี่คือสิ่งที่กุหลาบสีชาขอกล่าวกับท่านเป็นครั้งสุดท้ายในกระทู้นี้
ในฐานะที่เราเคยเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันเท่านั้น

เพราะหากที่แห่งนี้ ไม่มีธรรมะ และกัลยาณมิตร แล้วไซร้
เราคงไม่ได้มีโอกาสมานั่งสนทนากันด้วยความเมตตา และอดทนได้ยาวนานเช่นนี้
ท่านเองก็คงไม่มีโอกาสได้มาสนทนากับผู้ใดในเว็บธรรมจักร
ตั้งแต่ไปโพสต์ข้อกังขาของท่านตั้งแต่ในกระทู้เดิมที่ถูกล้อคแล้ว...เช่นกัน


จึงขอยุติการสนทนากับท่านมาดังเหตุผลทั้งปวงที่ได้กล่าวมา ณ โอกาสนี้ :b8:

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 12 ก.ย. 2009, 21:09, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กุหลาบสีชาขออธิบายและเรียบเรียงในฐานะที่
ตนเองก็ยังเป็นผู้ต้องศึกษาและปฏิบัติอีกมาก
ตามสติปัญญาที่มีอยู่ดังนี้ค่ะ

การทำงานของจิตมี ๒ ลักษณะ คือ

๑. ภวังค์หรือภวังคจิต

เป็นภาวะจิตหยุดจากการรับรู้อารมณ์
กล่าวคือภาวะที่จิตหยุดการเสวยอารมณ์(เวทนา)จากภายนอก
อันเนื่องมาจากทวารทั้ง ๖


อ้างคำพูด:
กุหลาบสีชาไม่ได้เข้าใจว่า

“ภวังคจิต” กับ “จิตตกภวังค์” หรือ “จิตอยู่ในภวังค์” นั้น
เป็นคำไวพจน์กัน ดังเช่นที่ท่านเข้าใจ


ท่านจะอธิบายได้อย่างไร ต้น กะท้าย ไม่ตรงกัน


อ้างคำพูด:
กุหลาบสีชาขอถามกลับว่า...
แล้วการที่ท่านกล่าวถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เช่นนี้ เขาเรียกว่าอะไร
ท่านมีเจตนาใดที่กล่าวออกมาเช่นนี้
ลักษณะเช่นนี้มิถือว่าเป็นการยิ่งกว่าจาบจ้วง และปรามาสพระอริยะเจ้า
อันเป็นครูบาอาจารย์ที่สาธุชนให้ความเคารพนับถือหรอกหรือ


กาลามสูตร พระพุทธองค์ ตรัสสอนอย่างไร ธรรมอะไรที่ทนต่อการพิสูจน์ได้
สอนผิด ก็คือ สอนผิด จะให้หลับหูหลับตา เชื่อหรือ

อ้างคำพูด:
แม้พระอรหันต์บางท่านอาจจะอธิบาย หรือแสดงธรรมไม่เก่ง
แต่ท่านนั้นก็ได้ละกิเลสจนหมดสิ้นแล้ว


ผู้ใดพยากรณ์ความเป็นพระอรหันต์ นอกจากลูกศิษย์ลูกหาของท่านเท่านั้น

ถึงท่านจะปิดกะทู้ ซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไรก็ตาม ก็ไม่อาจปฏิเสธได้หรอกว่า ท่านกุหลาบสีชาไม่อาจพิสุจน์ได้ว่า คำสอนนั้น ถูกต้องตรงตามพุทธพจน์ทุกประการ

อ้างคำพูด:
หากท่านนำทิฏฐิของตนที่แบกพระไตรปิฏกไว้ แล้วนำไปใช้ในทางที่เสื่อม
โดยเที่ยวตระเวณไปตรวจสอบภูมิรู้ของผู้อื่น
เพื่อเสริมมานะมมังการของตน
โดยปราศจากการ “โอปนยิโก” น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติด้วยแล้ว
ด้วยท่าที และวิธีการที่กระทำอยู่ขณะนี้
ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสังเวชใจยิ่งนัก
และเหล่าบัณฑิตที่แท้จริงเขาก็ไม่ได้เรียกว่าสนทนาแต่อย่างใด


เมื่อท่านน้ำท่วมปาก ก็เพียงได้แต่อ้างว่า ข้อสังเกตุที่มีผู้อื่นตั้งขึ้น คือการแบกทิฐิ
นี่คือความเป็นบัณฑิตของท่าน ที่แสดงออกมา

ปริยัติ ปฏิบัติ ต้องตรงกัน
แม้แต่พระพุทธองค์ ก็ไม่ได้ปฏิเสธ คำพูดหรือภาษาที่แสดงด้วยถ้อยคำของชาวบ้าน เช่นคำพูดของวิสาขปัญจาลิบุตร หากว่าคำพูดนั้น มีพยัญชนะ และอรรถตรงกัน อิงนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ

คำสอนที่ผิด จะนำมา "โอปนยิโก" หรือ? และนำออกเผยแพร่โดยไม่อาจทนต่อการท้วงติง

แม้แต่พระพุทธองค์ ก็ทรงตรัสไว้ในพรหมชาละสูตรว่าอย่างไร

"พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม
ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง
เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม
ชมพระสงฆ์ เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือ
ชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริง
แม้เพราะเหตุนี้ นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ใน
เราทั้งหลาย."


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต วิสาขสูตร


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ

แต่คำสอนทีปรากฏออกมาว่า เป็นสภาวะธรรมที่ผิดพลาด คิดนึกเอาเอง แล้วสอนว่าถูกโดยไม่อาจนำเอาปริยัติ หรือพุทธพจน์ ไปตรวจสอบได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติยึดคำสอนนั้นไปปฏิบัติ จนวูบ วาบ ท่านกล่าวว่าถูกต้องกระนั้น?

และนี่คือมาตรฐานของ ผู้ช่วยดูแลบอร์ด

อ้างคำพูด:
นี่คือสิ่งที่กุหลาบสีชาขอกล่าวกับท่านเป็นครั้งสุดท้ายในกระทู้นี้
ในฐานะที่เราเคยเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันเท่านั้น


เช่นนั้น ไม่เคยใส่ใจว่าจะเกิดผลอะไรตามมา หากว่ามีการนำเสนอธรรมทีแหว่งๆ เว้าๆ แล้วถูกรับรองว่าเป็นธรรมที่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งไม่อาจนำพิสูจน์ให้ถูกต้องได้แม้คำอธิบายอันเป็นของชาวเมืองเพียงบรรทัดเดียว ธรรมนั้น ก็ชื่อว่า แสดงผิด
กุหลาบสีชา เขียน:
เพราะหากเป็น “คฤหัสถ์” นี่ก็ถือมิใช่วิสัยของบัณฑิตที่จะเจริญรุ่งเรืองในธรรมต่อไป
และหากเป็น “สมณะ” นี่ก็ยิ่งมิใช่วิสัยของสังฆสาวกผู้ดำเนินตามรอยของพระพุทธเจ้า


[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง
ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ
ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ
ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย
พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ
ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน
มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต สมจิตตวรรคที่ ๔)


กุหลาบสีชา เขียน:
ท่านเองก็คงไม่มีโอกาสได้มาสนทนากับผู้ใดในเว็บธรรมจักร
ตั้งแต่ไปโพสต์ข้อกังขาของท่านตั้งแต่ในกระทู้เดิมที่ถูกล้อคแล้ว...เช่นกัน


เหตุการณ์นี้จะปรากฎหรือไม่ ก็ไม่ใช่เกิดกับ เช่นนั้น เป็นคนแรก จะระงับ ยกเลิกสมาชิกของ เช่นนั้นก็ตามสบาย


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 12 ก.ย. 2009, 23:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โวหาร ถ้อยคำ ก็เป็นเพียงสมมติบัญญัติ
หากเถียงเรื่องโวหารนั้น ยากที่จะจบ หรือ ไม่มีวันจบ

บางคำเมื่อสืบค้นแล้ว
อาจพบว่ายังไม่เคยปรากฏในพระไตรปิฏก
แต่อาจปรากฏในอรรถกถา หรือคัมภีร์ต่างๆ ในชั้นหลัง

หรือในบางกรณีหากผู้สนทนาถือตำราคนละเล่ม
แม้แต่พระสูตร กับ พระอภิธรรม
ก็จะยากจะหาจุดบรรจบ หากมัวแต่ยึดกับถ้อยคำ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค



[๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้าน
ภัณฑคามแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า มาไปกันเถิดอานนท์ เรา
จักไปยังบ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร ท่านพระอานนท์ทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร
แล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
มหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้

[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส
ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน
ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึง
ทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน
พระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ
สั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ

[๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา
ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตร
ไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง
คำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระ
สูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ

[๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็น
ธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึง
คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความ
ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง
ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูก
ต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ

[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบ
สวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น
พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ
มหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. อนาคตสูตรที่ ๓
[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดใน
ปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม
จิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็
จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม
จิต ไม่อบรมปัญญาเพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้าง
ธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต
ข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอ
ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่
อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตร
เหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่
อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่
อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำ
แม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรม
กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้าง
วินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิด
ในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ
ภัยนั้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่
อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก
เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรม
ย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่
บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่
อบรมปัญญา พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง
เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรม
เหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบท
กวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต
เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ
จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้
แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการ
ลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึง
พยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วง
ละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชน
รุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง
แม้ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก
มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด
จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมี
เพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภัยในอนาคต ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาล
ต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
พยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 00:24, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:

กุหลาบสีชา เขียน:
ท่านเองก็คงไม่มีโอกาสได้มาสนทนากับผู้ใดในเว็บธรรมจักร
ตั้งแต่ไปโพสต์ข้อกังขาของท่านตั้งแต่ในกระทู้เดิมที่ถูกล้อคแล้ว...เช่นกัน



เหตุการณ์นี้จะปรากฎหรือไม่ ก็ไม่ใช่เกิดกับ เช่นนั้น เป็นคนแรก จะระงับ ยกเลิกสมาชิกของ เช่นนั้นก็ตามสบาย



---------------------------------------------------------------

ลานแห่งนี้ ยังมีกัลยาณมิตรอีกมากมาย จริงๆๆ

---------------------------------------------------------------

ทองแท้ไม่กลัวไฟ จริงๆๆ ขอชื่นชม :b4: :b4: :b17: :b12:

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไงล่ะ :b32:

กรีตัง กรีตัง !!
ถูกใจ เอิ๊กๆๆ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ไงล่ะ :b32:

กรีตัง กรีตัง !!
ถูกใจ เอิ๊กๆๆ :b32: :b32:


tongue ร่วมด้วยคนค่ะ rolleyes rolleyes rolleyes rolleyes
ชอบคำนี้น่ะค่ะ กรีตัง.....กรีตัง........
คำนี้จ๊าบ....จริงๆ :b32: :b9:
เอ้อ....
:b10: แต่เรื่องอะไรคะ.....อาสยาม :b29:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แก้ไขล่าสุดโดย O.wan เมื่อ 14 ก.ย. 2009, 18:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะ มีอะไรที่เข้าใจง่ายกว่านี้มั้ยคะ
ปัญญายังแค่หางอึ่งน่ะค่ะ :b3:

อยากทราบกระบวนการเกิด-ดับของสัตว์ในสังสารวัฏค่ะ
เห็นบางคนเรียกรวมๆกันว่าผี(ใช้แทนคำว่าวิญญาณก็มี)
ผีไม่มีในพุทธศาสนาใช่มั้ยคะ
แล้ววิญญาณก็ไม่ใช่ผี (คนละความหมายกัน)
:b23: ปวดหมอง
หาอ่านจากกระทู้ไหนได้บ้างคะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
:b8: สาธุค่ะ มีอะไรที่เข้าใจง่ายกว่านี้มั้ยคะ
ปัญญายังแค่หางอึ่งน่ะค่ะ :b3:

อยากทราบกระบวนการเกิด-ดับของสัตว์ในสังสารวัฏค่ะ
เห็นบางคนเรียกรวมๆกันว่าผี(ใช้แทนคำว่าวิญญาณก็มี)
ผีไม่มีในพุทธศาสนาใช่มั้ยคะ
แล้ววิญญาณก็ไม่ใช่ผี (คนละความหมายกัน)
:b23: ปวดหมอง
หาอ่านจากกระทู้ไหนได้บ้างคะ


หวัดดีค่ะ...
อนุโมทนาสาธุ กับทั้งผู้ตั้งและผู้พยายามตอบกท. (แมวขาวฯเลยกลายเป็น "ตาอยู่" มาคว้าพุงเพียว ๆไปกิน)

คุณ Bwitch ที่เคารพ รัก ถ้าพยายามอ่านมาได้ถึงตรงนี้
ปัญญาไม่หางอึ่ง แล้วมังคะ อิ อิ

ขอบคุณ ที่นำประเด็นนี้มาสนทนากันนะคะ
ชอบสไตล์ การสนทนาธรรม แนว ๆนี้ค่ะ

เพราะได้เห็น ..... หลาย ๆ ด้าน ทั้งจากผู้ถาม ผู้ตอบ ผู้กวน

จิตที่แบก มันหนักนัก....

:b1:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับ ประเด็น ภวังคจิต



มีบทธรรม โดย หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านกล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ

จาก วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น


http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/book_37.pdf

หน้า 53



ค่อนข้างยาว อ่านเอาเองน่ะครับ. สำหรับ ผู้ที่สนใจ เรื่องจิตตภาวนาขั้นละเอียด


.......


คห.ส่วนตัว

ปัจจุบัน เราอาจจะได้ยินการเรียกภาวะที่จิตขาดสติแล้วหลงลืมตัวไปว่า จิตตกภวังค์ หรือ วูบ....ซึ่ง จะไปตรงกับ แนวคิดที่ว่า จิตของบุคคลที่นอนหลับสนิทแล้วไม่ฝัน คือ จิตประภัสสร(ภวังคจิต)


แต่ ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านไม่นับว่า จิตของบุคคลที่นอนหลับสนิทแล้วไม่ฝันในลักษณะนั้น ว่าคือ จิตประภัสสร(ภวังคจิต)
จิตตกภวังค์ หรือ จิตที่ประภัสสร นั้น ท่านเน้นตรงที่จิตรวมตัวย้อนกลับไปสู่จิตเดิม(ใจ) ด้วยกำลังแห่งสติ และ สมาธิ


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 29 ม.ค. 2010, 20:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร