วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 01:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 04:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 14:45
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย learn เมื่อ 12 ก.ค. 2014, 14:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม นานมั้ย์? ก็เออ...ตอนนี้ จขกท. อายุเท่าไร ก็ฝึกไปเท่านั้นปี ค่อยๆทำค่อยๆฝึกไป ใจเย็นๆใจร้อนไม่ได้

อ้างคำพูด:
เพราะว่า ถ้าทำอะไรที่เราชอบหรือถนัด เราจะมีสมาธิ
ถึงเราจะไม่รู้ว่า สมาธิทางโลกพวกนั้น เป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิ
แต่เรารู้อย่างนึงว่า ถ้าทำอะไรที่เราชอบ เราจะฟุ้งน้อยกว่ามาฝึกกรรมฐานแบบนี้


เริ่มต้นจากวิธีนี้ไปก่อนก็ได้ไม่เสียหายอะไร

ดูวิธีเจริญอิทธิบาทโดยใช้งานเป็นที่ฐานฝึกสมาธิที่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=48005

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พยามสร้างแรงบันดาลใจ ว่าปฏิบัติไปเพื่ออะไร อยากมีชีวิตที่ดี ก็ต้องทำ
แต่ถึงเวลาที่เบื่อขึ้นมา มันเบื่อรุนแรง แรงบันดาลใจอะไรก็ไม่ช่วย กลับกลายเป็นความกดดันอีก

พอเปลี่ยนมาสวดมนต์ ก็เจออาการคล้ายๆกัน ฟุ้ง เบื่อ

สรุปคือ เราโดนนิวรณ์หลายอย่างขัดขวาง และไม่สามารถผ่านไปได้ แม้ว่าจะใช้เวลาฝึกมานานแล้ว

อยากทราบว่า คนที่ไม่มีของเก่ามาจากอดีตชาติเลย แล้วปัจจุบันนี้ได้ถึงขึ้นฌาน
ใช้เวลาฝึกนานมั้ยคะ ?? กว่าจะผ่านขณิกสมาธิ กว่าจะกำจัดนิวรณ์ กว่าจะเข้าสู่อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
แลัวมีเทคนิคอย่างไรบ้าง



ผมเชื่อว่าผมไม่ใช่เจโตวิมุติ คือ ไม่มีญาณสมาธิที่สะสมมาแต่อดีต

ตั้งแต่นั่งสมาธิมา ผมไม่เคยเห็นนิมิตรแสงสีอะไรอย่างนั้น แม้แต่ครั้งเดียว

แต่ผมคิดว่าเป็นปัญญาวิมุติ คือ ชอบคิดพิจารณาธรรม

นั่นคือเป็นผลดีต่อการปฎิบัติธรรม วางความหวังลมๆแล้งๆว่าจะได้ญาณพิเศษ

หันหน้าพิจารณาอย่างเดียว สมาธิ หนุนปัญญาครับ แต่ต้องยกขึ้นสู่การพิจารณาธรรมครับ

จิตไม่คม นิวรณ์จึงเกิดบ่อยครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 14:45
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถาม นานมั้ย์? ก็เออ...ตอนนี้ จขกท. อายุเท่าไร ก็ฝึกไปเท่านั้นปี ค่อยๆทำค่อยๆฝึกไป ใจเย็นๆใจร้อนไม่ได้

เริ่มต้นจากวิธีนี้ไปก่อนก็ได้ไม่เสียหายอะไร

ดูวิธีเจริญอิทธิบาทโดยใช้งานเป็นที่ฐานฝึกสมาธิที่

viewtopic.php?f=1&t=48005&start=15


ขอบคุณมากค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย learn เมื่อ 12 ก.ค. 2014, 14:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 10:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 14:45
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมเชื่อว่าผมไม่ใช่เจโตวิมุติ คือ ไม่มีญาณสมาธิที่สะสมมาแต่อดีต

ตั้งแต่นั่งสมาธิมา ผมไม่เคยเห็นนิมิตรแสงสีอะไรอย่างนั้น แม้แต่ครั้งเดียว

แต่ผมคิดว่าเป็นปัญญาวิมุติ คือ ชอบคิดพิจารณาธรรม

นั่นคือเป็นผลดีต่อการปฎิบัติธรรม วางความหวังลมๆแล้งๆว่าจะได้ญาณพิเศษ

หันหน้าพิจารณาอย่างเดียว สมาธิ หนุนปัญญาครับ แต่ต้องยกขึ้นสู่การพิจารณาธรรมครับ

จิตไม่คม นิวรณ์จึงเกิดบ่อยครับ


ขอบคุณค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย learn เมื่อ 12 ก.ค. 2014, 16:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ learn
...... การเจริญอานาปานสติ ไม่ใช่การที่จิตจับเจ่าเฝ้าอารมณ์ แล้วนิ่งเหมือนแช่แป้ง
ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ ... หรือชื่ออะไรก็ตามช่างมัน ไม่ต้องสนใจ

จิตที่สงบจึงจะคิดได้เร็ว ได้คุณภาพ
การคิด หรือไม่คิด จึงขึ้นอยู่ว่า
ขณะนั้นต้องการอะไร...
เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้นได้แล้ว ก็ขยับการปฏิบัติขึ้นไปเรื่อยๆ

ทำได้อย่างนี้ ความไม่น่าเบื่อจึงจะเกิดขึ้น
เพราะมีจุดประสงค์ในการปฏิบัติ....

จิตสงบจึงไม่ใช่จิตนิ่ง
จิตนิ่งใช้ทำอะไรไม่ได้ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. ดูการฝึกลิง เทียบการฝึกจิต


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


learn เขียน:

แต่พอมาระยะนี้ สวดมนต์ก็ฟุ้งค่ะ หลายครั้งที่ปล่อยให้ปากสวดไป แต่คุมใจไม่อยู่เลย
คือมันจำบทได้น่ะค่ะ ปากเลยท่องเองอัตโนมัติได้โดยใจไม่ต้องคอยระวัง
ใจฟุ้งได้ทั้งที่ปากสวดน่ะค่ะ
กลายเป็นนั่งสมาธิก็ไม่ได้ สวดก็ไม่ได้ หมดมุขเลยค่ะ




อย่ากลัวๆ เราต้องกล้าเล่นกับความคิด มุขมีเยอะแยะไม่ต้องกลัวหมด งานประจำวันทุกอย่าง ใช้ฝึกจิตได้ เช่น กวาด ถู บ้าน ล้างถ้วยล้างจาน ซักผ้า รีดผ้า ฯลฯ ใช้สิ่งนั้นฝึก ให้จิตเกาะส่ิงที่กำลังทำได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


learn เขียน:
อ้างคำพูด:
ผมเชื่อว่าผมไม่ใช่เจโตวิมุติ คือ ไม่มีญาณสมาธิที่สะสมมาแต่อดีต

ตั้งแต่นั่งสมาธิมา ผมไม่เคยเห็นนิมิตรแสงสีอะไรอย่างนั้น แม้แต่ครั้งเดียว

แต่ผมคิดว่าเป็นปัญญาวิมุติ คือ ชอบคิดพิจารณาธรรม

นั่นคือเป็นผลดีต่อการปฎิบัติธรรม วางความหวังลมๆแล้งๆว่าจะได้ญาณพิเศษ

หันหน้าพิจารณาอย่างเดียว สมาธิ หนุนปัญญาครับ แต่ต้องยกขึ้นสู่การพิจารณาธรรมครับ

จิตไม่คม นิวรณ์จึงเกิดบ่อยครับ


ขอบคุณค่ะ :b27:

เรื่องคิดพิจารณาธรรมก็สงสัยอยู่เหมือนกัน ว่ากฏเกณฑ์ขอบเขตมันอยู่ตรงไหน
เคยคิดเรื่องการเตรียมตัวตาย เป็นมรณานุสติ คือคิดว่า
รู้ตัวว่าต้องตาย ไม่ช้าก็เร็ว ก็เลยจะเตรียมความพร้อมทางโลก สั่งเสีย เคลียร์อะไรให้เรียบร้อย
สภาพจิตสุดท้ายก่อนมันจะออกจากร่างไป มันจะได้มุ่งตรงไปนึกถึงพระ นึกถึงสุคติ จะได้ไม่มีห่วงอะไร
คนที่ยังอยู่ เค้าก็จะได้ไม่ต้องรับภาระสะสางเรื่องค้างคาที่เราทิ้งไว้
คิดไปคิดมา มันก็ออกมาเป็น list ว่า ต้องทำอะไรบ้างก่อนตาย
แล้วบางทีมันก็กระโดดเปลี่ยนเรื่อง
สรุปนั่งคิดอยู่นาน ตัดสินตัวเองไม่ได้ ว่านี่เราคิดถูกวิธีมั้ย
การคิดแบบนี้ มันต่างจากการฟุ้งอย่างไร
ถ้าฟุ้งเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ คิดเรื่องประวัติพระพุทธหรือพระสงฆ์ที่อ่านมา จะได้บุญมั้ย
อะไรเป็นตัววัดตัดสิน

ถ้ารู้หลักที่ถูกต้อง อาจจะก้าวหน้าก็ได้ เพราะมีจริตชอบคิด
แต่มันก็เสี่ยงมากที่ ยังไม่เข้าใจในอารมณ์ของสัมมาสมาธิที่แท้จริง
คิดพิจารณาธรรมอาจหลงกลายเป็นฟุ้งได้ง่ายๆ
คิดได้นานต่อเนื่องก็จริง แต่ไม่ทราบว่าเป็นมิจฉาสมาธิหรือไม่

และด้วยความที่อ่านธรรมะมาพอสมควร พอจะโยนิโสมนสิการได้
อะไรที่หลวงปู่หลวงพ่อสอนไว้ เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาตามได้
เพียงแต่อาจจะเพราะสมาธิยังไม่นิ่ง เลยได้แต่ฟังและคิดตาม
ถึงจะพอเข้าใจความหมาย แต่มันยังไม่จำฝังใจ เผลอก็ลืม ไม่นานก็ลืม
เคยคิดว่าถ้าได้ฌานจะดีมาก เพราะเหมือนกับมีปัญญาจากการฟังรออยู่แล้ว
ถ้าได้สมาธิระดับสูงมาบวกกับปัญญา คงได้ผลดีน่ะค่ะ

ส่วนเรื่องญาณพิเศษ ก็ยอมรับว่ามีความอยากได้
แต่มันยังไม่ใช่จุดประสงค์เดียวของทุกสิ่งทุกอย่างค่ะ
คือที่เล่าว่าเคยคิดว่า อยากมีชีวิตที่ดี ก็ต้องทำ
นั้นหมายความว่า อยากให้ปัญหาชีวิตคลี่คลายน่ะค่ะ :b39:


ความเห็นและอารมณ์ครับเป็นตัววัดตัดสิน
อารมณ์ต้องเป็นอารมณ์ที่จิตเข้าไปรู้
ความเห็นต้องปรับ เช่น เห็นความเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
เป็นของธรรมดาของโลก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


learn เขียน:



link กระทู้ที่ให้มา น่าสนใจมากค่ะ แต่ยังอ่านไม่จบค่ะ

(เห็นมั้ยคะว่าอาการเราหนักมาก เรามักจะเป็นแบบนี้อ่ะค่ะ คือเห็นกระทู้ยาว แล้วมันยังไม่อดทนพอที่จะมานั่งนิ่งตั้งมั่นค่อยๆอ่านทีละคำจนจบอ่ะค่ะ :b7: แต่ยังไงคิดว่าจะกลับมาอ่านค่ะ)


นำเฉพาะอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ตรงที่ต้องการให้ดูมาให้อ่านตรงนี้เลยครับ ใจเย็นๆครับ ค่อยๆทำความเข้าใจทีเล็กละน้อย เหมือนน้ำซึมบ่อทรายไงครับ ก็เท่ากับได้ฝึกสมาธิไปด้วย



อิทธิ แปลว่า ความสำเร็จ:

“คำว่า อิทธิ หมายความว่า ความสำเร็จ, ความสัมฤทธิ์, การสำเร็จ, การสำเร็จด้วยดี, การได้, การได้จำเพาะ, การถึง, สมบัติ, การถูกต้อง, การประจักษ์แจ้ง, การบำเพ็ญให้ถึงพร้อม ซึ่งธรรมเหล่านั้น”

"ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาทเป็นไฉน ? มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อการได้อิทธิ เพื่อประสบอิทธิ
มรรคา ปฏิปทานี้ เรียกว่า อิทธิบาท"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิทธิบาท แปลว่า ธรรมเครื่องให้ถึงอิทธิ (ความสำเร็จ หรือฤทธิ์) หรือธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ หรือแปลง่ายๆว่า ทางแห่งความสำเร็จ มี ๔ อย่าง คือ

ฉันทะ (ความพอใจ)

วิริยะ (ความเพียร)

จิตตะ (ความมีใจจดจ่อ) และ

วิมังสา (ความสอบสวนไตร่ตรอง)

แปลให้จำง่าย ตามลำดับว่า มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน

อิทธิบาทนั้น พระพุทธเจ้าตรัสพันไว้กับเรื่องสมาธิ เพราะอิทธิบาทเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดสมาธิ และนำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นจุดหมายของสมาธิ สมาธิเกิดจากอิทธิบาทข้อใด ก็มีชื่อเรียกตาม อิทธิบาทข้อนั้น โดยนัยนี้ จึงมีสมาธิ ๔ ข้อ คือ

๑. ฉันทสมาธิ สมาธิที่เกิดจากฉันทะ หรือสมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่

๒. วิริยสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิริยะ หรือสมาธิที่มีวิริยะเป็นใหญ่

๓. จิตตสมาธิ สมาธิที่เกิดจากจิตตะ หรือสมาธิที่มีจิตตะเป็นใหญ่

๔. วีมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิมังสา หรือสมาธิที่มีวิมังสาเป็นใหญ่


(จะค่อยๆทะยอยนำให้อ่าน วันนี้เท่านี้ก่อน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เงียบกันหมดเลย เช่นนั้นก็เงียบ :b12:

จขกท. ยังติดตามอยู่ไหมครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาของชีวิตนี้ ช่างมีมากมายท่วมหัว หมดเรื่องนี้ ก็มีเรื่องนั้นรอให้แก้ บางทีเข้ามารุมชีวิตทีละสองสามเรื่อง เรียกว่า ชั่วชีวิตนี้แก้ปัญหาไม่จบไม่สิ้น ตายเมื่อไร จบ เอวัง :b32:

อ่านข้อความที่ จขกท.ว่ามานี้แล้วเห็นใจ :b1:


อ้างคำพูด:
แต่สถานการณ์กับปัญหาชีวิตเรามันเร่ง มันบังคับน่ะค่ะ เจอเรื่องอะไรเข้ามา ติดๆกันเป็นเวลาหลายปีแล้ว ท้อจนล้ม แล้วก็ลุก แล้วก็ล้มใหม่ วนไปวนมาหลายรอบแล้ว ไม่พ้นซะที
ช่วงไหนหยุดทำบุญเมื่อไหร่ เป็นเรื่องค่ะ

เห็นมีคนที่เค้าก็มีปัญหาชีวิต แล้วพอเค้าได้เข้าปฏิบัติกรรมฐาน เคยได้ยินว่าบางคนแค่ 7 วัน กรรมก็คลาย เค้าก็รอดก็พ้นไป

แต่สำหรับเรามันหลายปีแล้ว ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่พ้น



จขกท. มีความดีอะไรที่พอเอ่ยอ้าง พอตั้งเป็นสัจจาธิษฐานได้บ้าง พึงอธิษฐานจิตให้แน่วแน่ใช้วิธีนี้ดู ท่านเรียกว่า ตั้งสัจกิริยา


สัจกิริยา "การกระทำสัจจะ" การใช้สัจจะเป็นอานุภาพ, การยืนยันเอาสัจจะ คือ ความ

จริงใจ คำสัตย์ หรือภาวะที่เป็นจริงของตนเอง เป็นกำลังอำนาจที่จะคุ้มครองรักษาหรือให้เกิดผล

อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ที่พระองคุลิมาล กล่าวแก่หญิงมีครรภ์แก่ว่า "ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่

อาตมาเกิดแล้วในอริยชาติ มิได้รู้สึกเลยว่าจะปลงใจปลงสัตว์เสียจากชีวิต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด" แล้วหญิ่งนั้นได้คลอดบุตรง่าย

ดาย และปลอดภัย (คำบาลีของข้อความนี้ ได้นำมาสวดกันในชื่อว่า อังคุลิมาลปริตร) และ

เรื่องในวัฏฏกชาดกที่ว่า ลูกนกคุ่มอ่อน ถูกไฟป่าล้อมใกล้รังเข้ามา ตัวเองยังบินไม่ได้ พ่อนก

แม่นกก็บินหนีไปแล้ว จึงทำสัจกิริยา อ้างวาจาสัตย์ของตนเองเป็นอานุภาพ ทำให้ไฟป่าไม่

ลุกลามเข้ามาในที่นั้น (เป็นที่มาของวัฏฏกปริตรที่สวดกันในปัจจุบัน) ในภาษาบาลี สัจกิริยานี้

เป็นคำหลัก บางแห่งใช้สัจจาธิษฐานเป็นคำอธิบายบ้าง แต่ในภาษาไทยมักใช้คำว่า

สัตยาธิษฐาน ซึ่งเป็นรูปสันสกฤตของ สัจจาธิฏฐาน


สัตยาธิษฐาน การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจกำหนแน่วให้เกิดผลอย่างใดอย่าง

หนึ่งโดยอ้างเอาความจริงใจของตน เป็นกำลังอำนาจ, คำเดิมในคัมภีร์ นิยมใช้ สัจกิริยา,

สัตยาธิษฐานนี้ เป็นรูปสันสกฤต รูปบาลีเป็นสัจจาธิฐาน


(ท่านให้ใช้เมื่อถึงคราวเข้าตาอับตาจน เช่น ตัวอย่่่่างนั้น )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 14:45
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากๆค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย learn เมื่อ 12 ก.ค. 2014, 16:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2014, 13:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 09:13
โพสต์: 73


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วแต่การปฏิบัติครับ มากน้อยเพียงใด ความง่วง ความเบื่อหน่ายเป็นนิวรณ์ หากคุณสามารถทำให้ถึงฌาณได้ อารมย์เหล่านั้นจะไม่มี คุณจะสวดมนต์ได้นาน ตราบที่คุณอยากจะสวด หรือนั่งสมาธิ เพิ่มเติมการปฏิบัติ ห้ามทิ้งอาณาปาณสติ การระลึกลมหายใจ เข้า ออก ในชีวิตประจำวัน สมาธิจะทรงตัว ส่วนที่จะทำให้ถึงฌาณนั้นมีไว้ในเว็บนี้เยอะแล้วลองหาดูครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร