วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 23:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีทำสมาธิเบื้องต้น
พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านเจ้าคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)


ในกรณีปกติให้นั่งตัวตรง
(กระดูกสันหลังจรดกันสนิทเต็มหน้าตัดของมันทุกๆ ข้อ)

๑. ศรีษะตั้งตรงตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่งจนไม่เห็น
สิ่งอื่น จะเห็นหรือไม่เห็นอะไรหรือไม่ก็ตามขอให้จ้อง
มองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวน
ง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขี้ง่วงให้ทำอย่างลืมตานี้
แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับของมันเองในเมื่อ
ถึงขั้นที่มันจะต้องหลับ หรือจะทำอย่างหลับตาเสียตั้งต่ต้น
ก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้นจะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่า
สำหรับบางคนรู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือใน
การหลับตาย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตาได้เลย

๒. มือปล่อยวางไว้บนตักซ้อนกันตามสบาย ขาขัดหรือ
ซ้อนกันโดยวิธีที่จะช่วยยันน้ำหนักตัวให้นั่งได้ถนัดและ
ล้มยาก ขาขัดอย่างซ้อนกันธรรมดา หรือจะขัดไขว้กันนั้น
แล้วแต่จะชอบหรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขาไขว้กันอย่างที่
เรียกว่า ขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยากและไม่จำเป็น ขอแต่
ให้นั่งคู้ขาเข้ามา เพื่อรับน้ำหนักตัวให้สมดุลล้มยากก็พอ
แล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจัง ยากๆแบบต่างๆ นั้น ไว้
สำหรับเมื่อจะเอาจริงอย่างโยคีเถิด

๓. ในกรณีพิเศษสำหรับคนป่วยคนไม่ค่อยสบายหรือแม้
แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิงหรือนั่งเก้าอี้หรือเก้าอี้ผ้าใบสำหรับ
เอนทอดเล็กน้อย หรือนอนเลย สำหรับคนเจ็บไข้ก็ทำได้
ทำในที่ไม่อับอากาศ หายใจได้สบายไม่มีอะไรกวนใจเกิน
ไป

๔. เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร
เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ไม่มีอุปสรรค เว้นแต่
จะไปยึดถือเอาว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง เสียงที่มีความหมาย
ต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้นเป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้า
หาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไป
ก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

๕. ทั้งที่ตามองเหม่อดูปลายจมูกอยู่ก็สามารถรวม ความ
นึกหรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนดจับ
อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ คนที่ชอบหลับตา ก็
หลับตาแล้วตั้งแต่ตอนนี้ คนที่ชอบลืมตาลืมไปได้เรื่อยจน
มันค่อยๆหลับของมันเองเมื่อเป็นสมาธิมากขึ้นๆ

๖. เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในขั้นแรกหัด ให้พยายาม
หายใจให้ยาวที่สุดที่จะยาวได้ด้วยการฝืนทั้งเข้าและออก
หลายๆครั้ง เสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเองให้ชัดเจนว่าลม
หายใจที่มันลากเข้าลากออกเป็นทางอยู่ ภายในนั้น มันลาก
ถูหรือกระทบอะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้
ง่ายๆ ว่ามันไปรู้สึกว่าสุดลงที่ตรงไหนที่ในท้อง โดยเอา
ความรู้สึกที่กระเทือนนั้นเป็นเกณฎ์พอเป็นเครื่องกำหนด
ง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้

๗. คนธรรมดาจะรู้สึกลมหายใจกระทบปลายจะงอยจมูก
ให้ถือเอาตรงนั้นเป็นที่สุดข้างนอก ถ้าคนจมูกแฟบ หน้า
หัก ริมฝีปากบนเชิด ลมจะกระทบริมฝีปากบน อย่างนี้ก็
ให้กำหนดเอาที่ตรงนั้นว่าเป็นที่สุดท้ายข้างนอก แล้วก็จะ
ได้จุดทั้งข้างนอกและข้างในโดยกำหนดเอาว่าที่ปลายจมูก
จุดหนึ่งที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจได้ลากตัวมันเองไป
มาอยู่ระหว่างสองจุดนี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ

๘. ทีนี้ทำใจของเราให้เป็นเหมือนอะไรที่คอยวิ่งตามลม
นั้นไม่ยอมพรากทุกครั้งที่ หายใจทั้งขึ้นและลงตลอดเวลา
ที่ทำสมาธินี้ จัดเป็นขั้นหนึ่งของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ
ในที่นี่ก่อนว่า ขั้น 'วิ่งตามตลอดเวลา' กล่าวมาแล้วว่าเริ่ม
ต้นทีเดียวให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุด และแรงๆ และ
หยาบที่สุดหลายๆครั้ง เพื่อให้พบจุดหัวท้ายแล้วพบเส้นที่
จะลากอยู่ตรงกลางๆให้ชัดเจน

๙. เมื่อ จิตหรือสติ จับหรือกำหนดลมหายใจที่เข้าๆ ออกๆ
ได้โดยทำความรู้สึกที่ๆ ลมมันกระทบลากไปแล้วไปสุด
ลงที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้าหรือกลับออกก็ตามดังนี้แล้ว
ก็ค่อยๆ ผ่อนให้การหายใจนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหายใจ
อย่างธรรมดา โดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้นคงกำหนดที่ลมได้
ตลอดเวลา ตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อแกล้ง หายใจหยาบ
แรงๆ นั้น เหมือนกัน คือ กำหนดได้ตลอดสายที่ลมผ่าน
จากจุดข้างในคือสะดือ หรือท้องส่วนล่างก็ตาม ถึงจุดข้าง
นอกคือปลายจมูก หรือปลายริมฝีปากบนแล้วแต่กรณี ลม
หายใจจะละเอียดหรือแผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนดได้
ชัดเจนอยู่เสมอไปโดยให้การกำหนดนั้นละเอียดเข้ามาตาม
ส่วน

๑๐. ถ้าเผอิญเป็นว่าเกิดกำหนดไม่ได้ เพราะลมหายใจ
ละเอียดเกินไปก็ให้ตั้งต้นหายใจให้หยาบ หรือแรงกันไป
ใหม่ แม้จะไม่เท่าทีแรกก็เอาพอให้กำหนดได้ชัดเจนก็แล้ว
กัน กำหนดกันใหม่จนให้มีสติรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจไม่มีขาด
ตอนให้จนได้ คือจนกระทั่งหายใจอยู่ตามธรรมดาไม่มีฝืน
อะไรก็กำหนดได้ตลอด มันยาวหรือสั้นแค่ไหนก็รู้ มัน
หนักหรือเบาเพียงไหนก็รู้พร้อมอยู่ในนั้น เพราะสติเพียง
แต่คอยเกาะแจอยู่ติดตามไปมาอยู่กับลมตลอดเวลา ทำได้
อย่างนี้เรียกว่า ทำการบริกรรมใน ขั้น 'วิ่งตามไปกับลม'
ได้สำเร็จ

๑๑. การทำไม่สำเร็จนั้นคือ สติ หรือความนึก ไม่อยู่กับลม
ตลอดเวลา เผลอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มารู้เมื่อมันไปแล้ว และก็มี
รู้มันไปเมื่อไร โดยอาการอย่างไร เป็นต้น พอรู้ก็จับตัวมัน
มาใหม่และฝึกกันไปกว่าจะได้ขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที
เป็นอย่างน้อยแล้วค่อยฝึกขั้นต่อไป

๑๒. ขั้นต่อไปซึ่งเรียกว่า ขั้นที่สอง หรือ ขั้น 'ดักดูอยู่แต่
ตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่ง' นั้น จะทำต่อเมื่อทำขั้นแรกข้างต้น
ได้แล้วเป็นดีที่สุด หรือใครจะสามารถข้ามมาทำขั้นที่สอง
นี้ได้เลยก็ไม่ว่า ในขั้นนี้จะให้ สติหรือความนึก คอยดัก
กำหนดอยู่ตรงที่ใดแห่งหนึ่งโดยเลิกการวิ่งตามลมเสีย ให้
กำหนดความรู้สึกเมื่อลมหายใจเข้าไปถึงที่สุดข้างใน คือ
สะดือ ครั้งหนึ่งแล้วปล่อยว่างหรือวางเฉย แล้วมากำหนด
รู้สึกกันเมื่อลมออกมากระทบที่สุดข้างนอก คือปลายจมูก
อีกครั้งหนึ่งแล้วก็ปล่อยว่างหรือวางเฉย จนมีการกระทบ
ส่วนสุดข้างในคือสะดืออีก ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง

๑๓. เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยวาง หรือวางเฉยนั้น จิตก็ไม่ได้
หนีไปอยู่บ้านช่องไร่นา หรือที่ไหนเลยเหมือนกัน แปลว่า
สติคอยกำหนดที่ส่วนสุดข้างในหนึ่ง ข้างนอกแห่งหนึ่ง
ระหว่างนั้นปล่อยเงียบหรือว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่
นอนแล้ว ก็เลิกกำหนดข้างในเสีย คงกำหนดแต่ข้างนอก
คือที่ปลายจมูกแห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนดอยู่แต่ที่
จะงอยจมูกไม่ว่าลมจะกระทบเมื่อหายใจเข้าหรือเมื่อหาย
ใจออกก็ตาม ให้กำหนดรู้ทุกครั้ง สมมติเรียกว่า เฝ้าแต่ตรง
ปากประตูให้มีความรู้สึกครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่านออกนั้น
ว่างหรือเงียบ ระยะกลางที่ว่างหรือเงียบนั้น จิต ไม่ได้หนี
ไปอยู่ที่บ้านช่องหรือที่ไหนอีกเหมือนกัน

๑๔. ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำบริกรรมใน ขั้น 'ดักอยู่แต่ใน
ที่แห่งหนึ่ง' นั้นได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จก็ตรงที่จิตหนีไปเสีย
เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไปในประตู หรือเข้าประตูแล้ว
ลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่างหรือ
เงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้องและทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้นของ
ขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ควรทำให้ดีหนักแน่นและแม่นยำมาตั้ง
แต่ขั้นแรก คือ ขั้น 'วิ่งตามตลอดเวลา' นั้นทีเดียว

๑๕. แม้ขั้นต้นที่สุดหรือที่เรียกว่า 'วิ่งตามตลอดเวลา' นั้น
ก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายสำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ก็มีผลเกิน
คาดมาแล้วทั้งกายและใจ จึงควรทำให้ได้และทำให้เสมอๆ
จนเป็นของเล่น อย่างการบริหารกายมีเวลาสองนาทีก็ทำ
เริ่มหายใจให้แรงจนกระดูกลั่นก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีดหรือ
ซูดซาดก็ได้ แล้วค่อยบ่อนให้เบาๆ ไปจนเข้าระดับปกติ
ของมัน

๑๖. ตามธรรมดาที่คนเราหายใจอยู่นั้นไม่ใช่ระดับปกติ
แต่ว่าต่ำกว่าหรือน้อยกว่าปกติโดยไม่รู้สึกตัว โดยเฉพาะ
เมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรืออยู่อิริยาบถที่ไม่เป็นอิสระนั้น
ลมหายใจของตัวเองอยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าปกติที่ควรจะ
เป็นทั้งที่ตนเองไม่ ทราบได้ เพราะฉะนั้นจึงให้เริ่มด้วย
หายใจอย่างรุนแรงเสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อยให้เป็นไป
ตามปกติ อย่างนี้จะได้ลมหายใจที่เป็นสายกลางหรือพอดี
และทำร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วย เหมาะสำหรับจะ
กำหนดเป็นนิมิตของอานาปานัสสติในขั้นต้นนี้ด้วย

๑๗. ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การบริกรรมขั้นต้นที่สุดนี้ ขอให้
ทำจนเป็นของเล่นปกติสำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด
จะมีประโยชน์ในส่วนสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ อย่าง
ยิ่งแล้วจะเป็นบันไดสำหรับขั้นสองต่อไปอีกด้วย แท้จริง
ความแตกต่างกันในระหว่าง ขั้น 'วิ่งตามตลอดเวลา' กับ
ขั้น 'ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ' นั้น มีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่
การผ่อนให้ประณีตเข้า คือ มีระยะการกำหนดด้วยสติน้อย
แต่คงมีผล คือ จิตหนีไปไม่ได้เท่ากัน

๑๘. เพื่อให้เข้าใจง่าย จะเปรียบกันกับพี่เลี้ยงที่ไกวเปลเด็ก
อยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรกก็จับเด็กใส่ลงในเปลแล้วเด็กยังไม่
ง่วง ยังคอยจะดิ้นหรือลุกออกไปจากเปล ในขั้นนี้พี่เลี้ยง
จะต้องคอยจับตาดูแหงนหน้าไปมา ดูเปลไม่ให้วางตาได้
ซ้ายทีขวาทีอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็กมีโอกาสตกลงมา
จากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอนคือไม่ค่อยจะดิ้นรน
แล้ว พี่เลี้ยงก็หมดความจำเป็นที่จะต้องแหงนหน้าไปมา
ซ้ายทีขวาที ตามระยะที่เปลไกวไปไกวมา พี่เลี้ยงคงเพียง
แต่มองเด็กเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนเท่านั้นก็พอแล้ว
มองแต่เพียงครึ่งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกวไปมา
ตรงหน้าตนพอดี เด็กก็ไม่มีโอกาสลงจากเปลเหมือนกัน
เพราะเด็กชักจะยอมนอนขึ้นมาดังกล่าวแล้ว

๑๙. ระยะแรกของการบริกรรม กำหนดลมหายใจในขั้น
'วิ่งตามตลอดเวลา' นี้ก็เปรียบกันได้กับระยะที่พี่เลี้ยงต้อง
คอยส่ายหน้าไปมาตามเปลที่ไกวไม่ ให้วางตาได้ ส่วน
ระยะที่สองที่กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูกหรือที่รี
ยกว่า ขั้น 'ดักอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง' นั้น ก็คือขั้นที่เด็กชักจะ
ง่วงและยอมนอนจนพี่เลี้ยงจับตาดูเฉพาะเมื่อเปลไกวมา
ตรงหน้าตนนั้นเอง

๒๐. เมื่อฝึกหัดมาได้ถึงขั้นที่สองนี้อย่างเต็มที่ ก็อาจฝึกต่อ
ไปถึงขั้นที่ผ่อนระยะการกำหนดของ สติ ให้ประณีตเข้าๆ
จนเกิด สมาธิชนิดแน่วแน่ เป็นลำดับไปจนถึง ฌานขั้นใด
ขั้นหนึ่งได้ ซึ่งพ้นไปจากสมาธิ อย่างง่ายๆในขั้นต้น
สำหรับคนธรรมดาทั่วไปและไม่สามารถนำมากล่าวรวม
กันไว้ในที่นี้เพราะเป็น เรื่องละเอียดรัดกุม มีหลักเกณฑ์ที่
ซับซ้อนต้องศึกษากัน เฉพาะผู้สนใจถึงขั้นนั้น ในขณะนี้
เพียงแต่ขอให้สนใจในขั้นมูลฐานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะ
เป็นของเคยชินเป็นธรรมดาอันอาจจะตะล่อมเข้าขั้นสูงขั้น
ไปตามลำดับในภายหลัง

สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ

ขอให้ฆราวาสทั่วไปได้มีโอกาสทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำ
ประโยชน์ทั้งทางกายและทางใจ สมความต้องการในขั้น
ต้นเสียขั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่ามี ศีล สมาธิ
ปัญญา ครบสามประการ หรือ มีความเป็นผู้ประกอบตน
อยู่ในมรรคมีองค์แปดประการได้ครบถ้วน แม้ในขั้นต้น ก็
ยังดีกว่าไม่มีเป็นไหนๆ กายระงับลงไปกว่าที่เป็นกันอยู่
ตามปกติก็ด้วยการฝึกสมาธิขั้นสูงขึ้นไปตาม ลำดับๆ เท่า
นั้น และจะได้พบ 'สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ' อีกสิ่งหนึ่งซึ่ง
ทำให้ไม่เสียทีที่เกิดมา

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร